ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบช้อย ตั่วทนายภาคปฎิบัติ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบช้อย ตั่วทนายภาคปฎิบัติ

ผมสรุปไว้ในสมัยที่ 29-31 เอาไว้อ่านเผื่อมีประโยชน์
กฎหมายทหาร
• คดีที่ต้องขึ้นศาลทหารคือ กระทำความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาซึ่งผุ้กระทำเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารขณะกระทำผิด(ไม่ต้องดูขณะฟ้อง)หรือคดีละเมิดอำนาจศาลทหาร
• ศาลทหารแบ่งออกเป็น ศาลทหารชั้นต้น(ศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ ศาลประจำหน่วยทหาร) ศาลทหารชั้นกลาง และ ศาลทหารสูงสุด
• ทุกจังหวัดให้มีศาลจังหวัดทหาร1 ศาล เว้นแต่จังหวัดนั้นจะมีศาลมลฑลทหาร และทุกมลฑลให้มีศาลมลฑลทหาร 1 ศาลเว้นแต่มลฑลนั้นเป็นที่ตั้งของศาลทหารกรุงเทพ
• คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ (ให้ศาลพลเรือนดำเนินคดี แต่ถ้ารับฟ้องแล้วต่อมากลายเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในภายหลัง ศาลพลเรือนก็สามารถดำเนินต่อไปได้)
o คดีที่ผุ้กระทำความผิดเป็นทหารและพลเรือนกระทำผิดร่วมกัน (คดีปะปน)
o คดีที่เกี่ยวพันกับคดีในศาลพลเรือน
o คดีที่ต้องดำเนินในสาลคดีเด็กและเยาวชน
• ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่กรณีที่จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร
• ศาลมลฑลทหารและศาลทหารประจำหน่วยมีอำนาจพิจารราพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่จำเลยเป็นนายพล
• ศาลทหารกรุงเทพมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ทุกบทกฎหมายไม่จำกัดยศ และ ไม่จำกัดพื้นที่
• กระทำผิดในเขตศาลจังหวัดใดให้ฟ้องที่ศาลหารจังหวัดนั้น ถ้ากระทำผิดต่อสังกัดเช่นหนีราชการให้ฟ้องต่อสังกัดมลฑลนั้น
ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
• ขั้นตอนของทนายความหลังจากที่เยาวชนถูกจับในคดีอาญา
o ดูแลเรื่องการขอปล่อยชั่วคราว (ม.50 ผอ.ได้รับคำร้องต้องรีบสั่ง
àทนายต้องทำคำร้องถึงผู้อำนวยการสถานพินิจ--àอยู่ในอำนาจของผุ้อำนวยการสถานพินิจ)----  ถ้าไม่อนุญาต ให้ทำคำร้องส่งไปศาลเยาวชนฯàอนุญาต หรือไม่อนุญาต-- ให้อธิบดีเป็นผู้สั่ง คำสั่งอธิบดีถือเป็นที่สุด
o ต้องสอบปากคำให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมงแล้วส่งตัวให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ (คุมตัวเด็กเกิน24ชั่วโมงไม่ได้)
• ม.14 “แม้จำเลยอายุครบ 18ปีบริบูรณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ศาลก็มีอำนาจพิจารณาต่อไป”
• ม.6 “ ให้นำวิ.แพ่ง วิ.อาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
• ม.11 “อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว
o 1.คดีอาญาที่เด็กกระทำความผิด
o 2. คดีแพ่ง...คดีครอบครัวเกี่ยวกับเยาว์ชนที่ต้องบังคับตามกฎหมายแพ่ง
• ม.12 “กรณีคดีใด ควรขึ้นศาลเยาวชน หรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผุ้วินิจฉัย”
• ม.13 “คดีใดอยู่ในอำนาจศาลเยาวชน ห้ามศาลอื่นรับพิจาณาคดีนั้นอีก”
• ต้องยื่นฟ้องภายใน 30 วันถ้าพ้นกำหนดห้ามฟ้อง ยกเว้นขออนุญาตจากอัยการสูงสุด
• อำนาจศาลเยาวชน ให้ถือตามที่อยู่ของเยาวชนไม่ใช่ตามภูมิลำเนา ถ้าเด็กทำผิดร่วมกับผุ้ใหญ่ให้แยกพิจารณาคนละศาล
• ผุ้อำนวยการฯเสนออัยการสั่งไม่ฟ้องได้ถ้าโทษไม่เกิน 5 ปี คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการให้เป็นที่สุด
• จำเลยจะมีทนายแก้ต่างไม่ได้แต่จะให้มีที่ปรึกษากฎหมายได้
o ไม่ต้องสวมครุย บิดามารดามีสิทธิถามพยานได้โดยผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
• กรณีเยาวชนทำร้ายผุ้ใหญ่ ห้ามมิให้ผุ้เสียหายฟ้องเยาวชนต่อศาลเยาวชนฯเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ผอ.สถานพินิจก่อนกรณีอาญาเท่านั้น คดีแพ่งไม่ต้องขออนุญาต ถ้าผอ.ไม่อนุญาตให้ร้องต่อศาล คำสั่งสาลเป็นที่สุด
• เรื่องปล่อยชั่วคราว อธิบดีศาลเยาวชนฯเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าฟ้องคดีแล้วอำนาจเป็นของศาล
• ขออนุญาตฟ้อง ศาลเป็นผุ้สั่ง…ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ต้องขออนุญาต
• คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลเยาวชนหรือไม่ ให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย

แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (องค์คณะ 9 คน ห้ามเป็นผุ้พิพากษาอาวุโสเกิน 3 คน)
• การค้นหาความจริงกระทำโดยศาลโดยวิธีไต่สวน โดย ปปช.(9คน)เป็นผู้ชี้มูลความผิด อัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดี
• คำถามที่ใช้ในคดีมีแค่ 2 ประเภท คือ คำถามของศาลและคำถามเพิ่มเติม(ไม่มีถามค้าน ถามติง)
• บุคคลผุ้นำคดีขึ้นสู่ศาลเรียกว่าผู้เสียหาย(ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือ เนื่องจากการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกระทำผิดอาญา)
• วิธีเปิดคดีโดยผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อ ปปช. หรือยื่นต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา (ถ้ายื่นต่อที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมจะส่งให้ ปปช.หรือตั้งผู้ไต่สวนอิสระทำก็ได้)
• คดีนั้นต้องผ่านการชี้มูลจาก ปปช.(ถ้าไม่ผ่านการชี้มูล ไม่มีอำนาจฟ้อง)
• ถ้าคดีมีมูลต้องส่งให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วัน อัยการสูงสุดมีเวลา 30 วันเพื่อฟ้องคดี ถ้า อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ต้องส่งกลับให้ ปปช.เพื่อตั้งกรรมการร่วม(อสส.+ปปช.) เมื่อกรรมการร่วมเห็นว่าสมบูรณ์สามารถยื่นฟ้องได้เองโดยไม่ต้องส่งไป อสส. อีก
• การพิจารณาครั้งแรก(กระทำลับหลังจำเลยได้)พิจารณาว่าควรรับฟ้องหรือไม่ โจทก์จำเลยต้องยื่นบัญชีระบุพยานให้ศาลตรวจ ถ้าไม่โต้แย้งหรือเสนอแนวทาง ในประเด็นใด ศาลจะไม่ไต่สวนเพราะจะยึดของ ปปช. เป็นหลัก
• การดำเนินคดีแพ่งเช่นเดียวกับอาญาต่างกันเพียงเมื่อศาลรับคำร้องแล้วต้องประกาศและสำเนาคำร้องให้เจ้าของทรัพย์สินที่เสียหายทราบ
• การกล่าวหาว่า ปปช.ร่ำรวยผิดปกติ (ปปช. จะชี้มูลตัวเองไม่ได้) สส+สว ไม่น้อยกว่า 1/5ของทั้งหมดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งฯโดยส่งให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่สั่ง ดดยตั้งกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คนทำหน้าที่เหมือน ปปช.
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
• ผลิตหมายความถึง แบ่ง แยก บรรจุ (กำลังบรรจุยาบ้าใส่หลอด ถือว่ามีความผิดฐานผลิตยาเสพติดโทษประหาร
• จำหน่ายหมายความถึง จ่าย แจก แลก เปลี่ยน ให้ (เอายาบ้าให้เพื่อนไปเสพมีความผิดฐานมียาเสพติดไว้เพื่อจำหน่าย)
• มาตรา 100 เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดเสียเองต้องรับโทษ 3 เท่าของโทษที่กำหนด
• มาตรา 100/2 ให้ข้อมูลสำคัญ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายก็ได้
• มาตรา 7 ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานสามารถปฎิบัติการอำพลาง(ล่อซื้อ)ได้ (ขัดกับหลักดอกผลของต้นไม่พิษ)
o การกระทำตามวรรค 1 ต้องได้รับอนุญาตจากศาลยกเว้นกรณีเร่งด่วน
• มาตรา 12 สืบพยานลับหลังจำเลยได้ในกรณีจำเป็น
• มาตรา 13ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยสารภาพศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานต่อไปก็ได้เว้นแต่ สงสัยว่าจำเลย
• ไม่ได้กระทำความผิด หรือความผิดนั้นมีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
• มาตรา 15 ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เท่านั้น
• มาตรา 17 ถ้าความผิดมีหลายกรรม ถ้ามีการอุทธรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เท่านั้น แม้
จะมีความผิดอย่างอื่นด้วยและให้สาลอุทธรณืมีอำนาจตัดสินคดีนั้นได้ด้วย
• มาตรา 19 ขออนุญาตฎีกาได้โดยทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อศาลฎีกา
• มาตรา 22 คดีที่โทษประหารหรือจำคุกตลอดชีวิต มีอายุความ 30 ปี

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
• แต่ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมฯถูกจำกัดไม่ให้ใช้กับธุรกรรมครอบครัวและมรดก (พรฎ.ยกเว้นมิให้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมมาใช้ พศ.2549)
• การใดที่กฎหมายให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง ให้ถือว่ามีหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงแล้ว ถ้าข้อมูลนั้น
o เป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้
o เป็นข้อมูลที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
o และความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
• เวลาการส่งข้อมูล ได้แก่เวลาเมื่อข้อมูลนั้นได้เข้าสู่ระบบที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผุ้ส่ง
• สถานที่ส่งหรือรับคือสถานที่ทำงานของผู้ส่งและรับ ถ้ามีหลายที่ให้ถือเอาที่ทำธุรกรรมมากที่สุดถ้ายังกำหนดไม่ได้อีกให้ถือเอาที่อยู่ปกติของผุ้ส่ง-รับเป็นสถานที่ส่งหรือรับ
• หลักการสำคัญของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ
o คำนึงถึงความครบถ้วนแท้จริงของข้อมูล
o ความสามารถในการระบุตัวบุคคล
o การห้ามปฏิเสธความรับผิด
o ความเป็นกลางทางเทคโนโลยี
• ศาลทรัพย์สินทางปัญญาได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปนำร่องใช้เป็นศาลแรก
• ระบบลายมือชื่อแบบกุญแจคู่(digital) มี 2 ระบบคือ กุญแจส่วนบุคคล กับ กุญแจสาธารณะ
• ระบบกุญแจชีวภาพ ได้แก่ การสแกนลายมือ สแกนม่านตาเป็นต้น

ดูรายละเอียดที่เวบ สภาทนาย 

        ข้อสอบตั๋วทนายภาคทฤษฎี : ปรนัยประมาณ 20 ข้อคับ.. ส่วนมากเป็นพรบ.ทนายความ พ.ศ. 2528 จะแจกให้ตอนซื้อใบสมัคร ซึ่งออกประมาณ 2-3 ข้อ , วิ.แพ่งจะออกเยอะหน่อย, วิ.อาญา มีออกบ้างแต่ไม่มาก, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และมีอีกหลายวิชา คับ.. 
และอัตนัย 80 คะแนน ต้องรู้หลักการเขียนและบรรยายฟ้อง ที่ออกแน่นอนและออกประจำก็คือคำฟ้องแพ่ง ประมาณ 35-40 คะแนน , พวกฟ้องอาญาก็มี คะแนนจะรองลงมาอันดับสอง และสุดท้ายคือพวกคำร้อง คำขอ คำแถลง หนังสือบอกกล่าว ต่าง ๆ ซึ่งแนวข้อสอบตั๋วทนาย    มีเนื้อหา ที่ใช้ในการสอบภาคทฤษฏี ประกอบด้วย 
  1.กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
  2.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
  3.วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง 
  4.พระราชบัญญัติทนายความ 
  5.ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 
  6.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลภาษีอากร 
  7.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลาย 
  8.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน 
  9.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว 
  10.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 
  11.การเขียนคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องคดีแพ่ง 
  12.การเขียนคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา 
  13.การเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง 
  14.การเขียนหนังสือมอบอำนาจ 
  15.หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี 
         ข้อสอบตั๋วทนาย รุ่นหลังๆ ยากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ ควรศึกษาข้อสอบเก่า หัดร่างฟ้องแพ่ง-ฟ้องอาญาให้มากๆ คับ จะได้เก่งๆ 
   
ข้อสอบตั๋วทนายภาคทฤษฎี : ปรนัยประมาณ 20 ข้อคับ.. ส่วนมากเป็นพรบ.ทนายความ พ.ศ. 2528 จะแจกให้ตอนซื้อใบสมัคร ซึ่งออกประมาณ 2-3 ข้อ , วิ.แพ่งจะออกเยอะหน่อย, วิ.อาญา มีออกบ้างแต่ไม่มาก, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และมีอีกหลายวิชา คับ.. 
และอัตนัย 80 คะแนน ต้องรู้หลักการเขียนและบรรยายฟ้อง ที่ออกแน่นอนและออกประจำก็คือคำฟ้องแพ่ง ประมาณ 35-40 คะแนน , พวกฟ้องอาญาก็มี คะแนนจะรองลงมาอันดับสอง และสุดท้ายคือพวกคำร้อง คำขอ คำแถลง หนังสือบอกกล่าว ต่าง ๆ ซึ่งแนวข้อสอบตั๋วทนาย    มีเนื้อหา ที่ใช้ในการสอบภาคทฤษฏี ประกอบด้วย 
  1.กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
  2.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
  3.วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง 
  4.พระราชบัญญัติทนายความ 
  5.ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 
  6.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลภาษีอากร 
  7.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลาย 
  8.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน 
  9.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว 
  10.วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 
  11.การเขียนคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องคดีแพ่ง 
  12.การเขียนคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา 
  13.การเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง 
  14.การเขียนหนังสือมอบอำนาจ 
  15.หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี 
         ข้อสอบตั๋วทนาย รุ่นหลังๆ ยากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ ควรศึกษาข้อสอบเก่า หัดร่างฟ้องแพ่ง-ฟ้องอาญาให้มากๆ คับ จะได้เก่งๆ


จำหน่ายเอกสารสอบติวสอบทนาย ภาคปฎิบัติ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ จากหนังสือหลายเล่มไว้ในไฟล์เดียว
สนใจสั่งซื้อมาที่   decho.by@hotmail.com
รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   350 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่น decho
pragay  ออมทรัพย์

โอนเงินแล้วโทรแจ้งที่  085-0127724



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้