ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติการรถไฟในประเทศไทย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติการรถไฟในประเทศไทย

ประวัติการรถไฟในประเทศไทย

ความสนใจในกิจการรถไฟในประเทศไทยเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ คณะราชทูตจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ได้นำเครื่องราชบรรณาการ และพระราชสาส์นมาถวาย พร้อมทั้งนำสนธิสัญญาฉบับแก้ไขใหม่มาแลกเปลี่ยนกับรัฐบาลไทย ส่วนหนึ่งของเครื่องราชบรรณาการที่นำมาถวายในครั้งนั้น เป็นรถไฟจำลองซึ่งย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วยรถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน สามารถแล่นบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียว กับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ ปรากฏว่า เป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในประเทศไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์ก เพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์ จึงมิได้ดำเนินการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง และได้เสด็จพระราชดำเนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ กับได้เปิดทางรถไฟ ณ สถานีสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้า ทางรถไฟสายนี้ได้ยุบเลิกกิจการไป เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟ อยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์เป็นเสนาบดี และนาย เค. เบธเก (K. Bethge) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดฯ ให้มีการเปิดประมูลสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ และในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ การก่อสร้างได้สำเร็จลงบางส่วน พอที่จะเปิดการเดินรถได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟ ระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา ระยะทาง ๗๑ กม. เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ การรถไฟ จึงได้ถือเอาวันที่ ๒๖ มีนาคม เป็นวันสถาปนาของรถไฟ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การก่อสร้างระยะที่ ๒ จากอยุธยาผ่านชุมทางบ้านภาชีถึงสถานีแก่งคอย ระยะทาง ๕๓ กม. และจากสถานีแก่งคอยถึงสถานีนครราชสี มาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๔๓

เพื่อเป็นการสะดวกในการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมรถไฟออกเป็น ๒ กรม คือ กรมรถไฟหลวงสายเหนือ และกรมรถไฟหลวงสายใต้

การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือจากชุมทางบ้านภาชีถึงเชียงใหม่ ระยะทาง ๖๖๑ กม. ได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ 

การก่อสร้างทางรถไฟไปสู่ภาคใต้ของประเทศ ซึ่งเริ่มต้นจากสถานีธนบุรี (บางกอก น้อย) ไปถึงจังหวัดเพชรบุรีนั้น ได้ดำเนินการเป็นตอนๆ และได้สร้างท่าเรือขึ้นรวม ๓ แห่ง คือที่กันตัง สงขลา และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) พร้อมทั้งได้สร้างโรงงานชั่วคราวขึ้นที่สงขลาและกันตัง เพื่อประกอบรถจักรและล้อเลื่อน ซึ่งได้ลำเลียงมาจากต่างประเทศโดย ทางเรือ การก่อสร้างทางสายใต้จึงสร้างจากเพชรบุรีลงไปทางใต้ และจากสงขลา กันตัง ขึ้นมาทางเหนือบรรจบกันที่ชุมพร และได้สร้างทางต่อจากสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีปาดังเบซาร์และสุไหงโก-ลก พร้อมกับได้เปิดการเดินรถเป็นตอนๆ การก่อสร้างทางประธาน สายใต้จากธนบุรี-สุไหงโก-ลก ระยะทาง ๑,๑๔๔ กม. เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ปลายทางของทางรถไฟสายนี้ต่อเชื่อมกับรถไฟมลายาที่สถานีร่วมสุไหงโก-ลก และปาดังเบซาร์ 

ถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯ ไปอยุธยา

เนื่องจากทางรถไฟสายเหนือที่สร้างขึ้นเป็นทางขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร อันเป็นขนาดมาตรฐานสากลที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในโลก (Standard Gauge) ส่วนทางสายใต้เป็นทางขนาดกว้าง ๑ เมตร (Meter Gauge) จึงก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการจะเดินทางติดต่อร่วมกัน ทำให้ต้องขนถ่ายสับเปลี่ยน แทนที่จะขนส่งได้ทอดเดียวถึง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนทางจากขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร เป็น ๑ เมตร เหมือนกันทั้งหมด แล้วให้สร้างทางแยกจากสถานีบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม ๖ ไปบรรจบกับทางสายใต้ที่สถานีตลิ่งชัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้การคมนาคมทางรถไฟสามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้โดยสะดวก ทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งให้ความสะดวก ในการเดินรถติดต่อกับการรถไฟของประเทศใกล้เคียง เช่น การรถไฟมลายา การรถไฟสิงคโปร์ การรถไฟกัมพูชา ซึ่งมีขนาดของทางกว้าง ๑ เมตร เช่นเดียวกันด้วย

ตึกบัญชาการของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ในระหว่างที่การก่อสร้างทางสายเหนือและสายใต้ใกล้จะเสร็จ ก็ได้เริ่มทำการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายตะวันออกต่อไปอีก คือ จากนครราชสีมา ถึงสถานีอุบลราชธานี และสถานีขอนแก่น และจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีอรัญประเทศ 

ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมในสายต่างๆ อีก คือ สายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีขอนแก่น ถึงสถานีหนองคาย ระยะทาง ๑๗๕ กม. สาย ตะวันออกจากสถานีจิตรลดา ถึงสถานีมักกะสัน ระยะทาง ๓ กม. สายเหนือสร้างเพิ่ม เป็นทางคู่จากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีชุมทางบ้านภาชี และสายใต้ ถึงสถานีวังโพและสุพรรณบุรี กับจากสถานีทุ่งโพธิ์ ถึงสถานีคีรีรัฐนิคม รวมทางประธานที่เปิดการเดินรถทั่ว ประเทศตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นระยะทางทั้งสิ้น ๓,๘๕๕ กม. 

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งองค์การรถไฟขึ้น เรียกว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" โดยให้โอนกิจการของกรม รถไฟให้องค์การนี้ทั้งหมด โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตัวคณะกรรมการรถไฟขึ้น ดูแลควบคุมกิจการขององค์การ และรัฐได้มอบเงินจำนวน ๓๐ ล้านบาท ให้เป็นเงินสมทบทุนประเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย 

การบริหารกิจการรถไฟเกี่ยวกับด้านเดินรถและด้านพาณิชย์ได้ก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ การรถไฟได้รับการติดต่อจากการรถไฟกัมพูชา และจากการรถไฟมลายา ขอให้เปิดการประชุม เพื่อเจรจาหารือทำความตกลงกัน เกี่ยวกับการเดินขบวนรถเชื่อมต่อกัน ผลของการประชุม คือ 

ก. คณะผู้แทนรถไฟกัมพูชาได้เจรจาเรื่อง การเชื่อมทางรถไฟกัมพูชากับรถไฟ ไทยในทางรถไฟสายตะวันออก (สายอรัญประเทศ) และได้เปิดการเดินรถไฟติดต่อระหว่าง ประเทศ ในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้หยุดการเดินรถไฟไประยะหนึ่งตั้งแต่ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ แล้วเปิดการเดินรถใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ แต่ก็ได้ยุติการเดินรถอีก เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๗ 

ข. รัฐบาลมาเลเซียได้เจรจาขอเปิดการเดินรถไฟเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศมาเลเซียขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ระงับการเดินรถร่วมกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ คณะผู้แทนรถไฟมลายาได้เจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับ การเดินรถไฟติดต่อร่วมทางผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ตามนัยแห่งสัญญาเดิมที่ทำไว้ต่อกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยแก้ไขบ้างบางประการ และได้ตั้งต้นปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้ตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา


ถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ
รูปภาพ: การรถไฟแห่งประเทศไทย.jpg
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้