ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : รู้จักกับ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ข้อสอบ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

รู้จักกับ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ข้อสอบ

รู้จักกับ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ข่าวหน้าหนึ่งของสื่อหลายฉบับ เล่นเรื่องการโยกย้ายตำแหน่ง “เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ” (สมช.) ของนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยจะมี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ซึ่งขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่มานั่งในตำแหน่งนี้แทน


หลายคนอาจสงสัยว่าหน่วยงานความมั่นคงแห่งนี้มีความสำคัญอะไร ที่ถึงกับเลขาธิการ สมช. จะฟ้องศาลปกครองหากโยกย้ายตัวเองอย่างไม่เป็นธรรม

ถูกใจเพื่อรับข้อสอบ

ทำความรู้จักกับ สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติถูกริเริ่มและจัดตั้งโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2453 แต่เดิมนั้นยังไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ แต่เรียกเป็นการทั่วไปว่า “สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร” โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานฯ

ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขและเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร” จนหลังการเปลี่ยนแปลการปกครองในปี 2475 ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป

ต่อมาได้มีการจัดตั้ง “สภาป้องกันราชอาณาจักร” ขึ้นแทน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ 10 กันยายน 2487 หลังจากนั้นเมื่อ 31 มกราคม 2499 ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่ ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม และใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2499 และประกาศใช้ พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” มาจนกระทั่งทุกวันนี้ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสมช.)

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ สมช. ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักทางด้านนโยบายความมั่นคงของประเทศที่จะทำหน้าที่การผลิตนโยบายความมั่นคง แนวทางปฏิบัติรวมทั้งประสานงานหน่วยงานความมั่นคงหน่วยต่างๆ ทั้งทหารและพลเรือน นอกจากนั้นยังเป็นที่ปรึกษาความมั่นคงให้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

ถูกใจเพื่อรับข้อสอบ

โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

หน้าที่แรก มีหน้าที่พิจารณาเสนอแนะคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายภายในประเทส นโยบายต่างประเทศ นโยบายทหาร นโยบายเศรษฐกิจ และอื่นๆอันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องกันเพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างน่วยงานทั้งด้านความมั่นคงและหน่วยงานปกติเพื่อให้เกิดการดำเนินงานทางยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ

หน้าที่ที่สอง มีหน้าที่พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ด้วยหน้าที่ให้คำปรึกษาและออกนโยบายความมั่นคง รวมทั้งวางยุทธศาสตร์ความมั่นคงในภาพรวมของประเทศในระยะสั้นถึงยาว ทำให้คณะกรรมการหลักของสมช.ประกอบด้วย

1. นายกรัฐมนตรี   เป็นประธาน

2. รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นรองประธาน

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นกรรมการ

4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นกรรมการ

5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการ

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นกรรมการ

7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ

8. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  เป็นกรรมการ

9. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเลขานุการและกรรมการ

สภาความมั่นคงแห่งชาติถือได้ว่ามีหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงของประเทศมาโดยตลอด เพียงแต่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ทำหน้าที่เพียงตัวกลางการประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ถ้าต้องการข่าวกรองรูปแบบต่างๆ ก็ต้องขอข้อมูลไปยังหน่วยข่าวกรองเช่น หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, หน่วยข่าวของกองทัพ หรือถ้าเรื่องเกี่ยวกับการก่อการร้าย ฝ่ายปฏิบัติการก็จะเป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของศูนย์รักาาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือเป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการเข้าไปยังพื้นที่
นโยบายความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ทั้งนี้นโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงที่สภาความมั่นคงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงสามารถแบ่งออกมาเป็น 6 ด้าน

1. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติจะต้องทำแผนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติออกมาโดยมีระยะเวลา 5 ปี ล่าสุดคือแผนนโนยบายความมั่นคงแห่งชาติ 2550 -2554 ซึ่งแผนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เป็นการให้ภาพกว้างของแนวโน้มของความเสี่ยงของภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆที่รัฐจะต้องเผชิญ ซึ่งนโยบายความมั่นคงแห่งชาต 2550 – 2554 ได้ให้ความสำคัญของความมั่นคงของประชาชนมากขึ้น โดยเพิ่มน้ำหนักการมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานด้านความมั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ความขัดแย้งตามแนวชายแดน  การแจ้งเตือนภัย การเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ สามารถเข้าไปดูเอกสารนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ 2550 -2554 ในหน้าเว็บไซต์ของสมช.ได้โดยตรง

2. นโยบายเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ ต้องยอมรับว่าปัญหาความมั่นคงของไทยที่มีปัญหามีมากที่สุดและยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ปัญหาได้คือปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคงมีการปะทะ การลอบก่อวินาศกรรมวางระเบิดและดักยิงเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน แต่เนื่องจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีหน่วยงานที่ดูแลโดยเฉพาะอย่างเช่น กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า , กองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า, ศอ.บต. ซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน โดยสมช. ยังทำหน้าที่ในการเสนอคณะรัฐมนตรีในการต่ออายุ “ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในทุก 3 เดือน

3. นโยบายและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับชายแดน  เนื่องจากปัญหาความมั่นคงในอดีตที่ผ่านมาจุดเริ่มต้นคือปัญหาตามแนวชายแดนทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เนื่องจากหลายพื้นที่เป้นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและมีปัญหาแนวเขตพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน บางพื้นที่เป็นพื้นที่กันชนของชนกลุ่มน้อยมาในอดีต ขณะที่บางพื้นที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเส้นทางการลำเลียงของผิดกฎหมายการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทำให้ชายแดนเป็นพื้นที่ความมั่นคงที่ต้องมีนดยบายที่ชัดเจนเพื่อการจัดการชายแดนได้เหมาะสม โดยพื้นที่ตามชายแดนจะมีกองกำลังทหารดูแลพร้อมกับตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหลัก โดยหน้าที่ของสมช.ที่ผ่านมาคือทำแผนยุทธศาสตร์ชายแดนขึ้นเพื่อให้หน่วยงานที่ทำงานในพื้นที่ปฏิบัติเป็นกรอบการทำงาน แม้จะเป็นภาพกว้างๆก็ตาม

4. นโยบายและยุทธศาสตร์สันติวิธี จากเอกสารของสมช.ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของสถาณการณ์ของประเทศพบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้ออกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีขึ้นตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2546

5. ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะปละสิทธิบุคคล หรือเรียกง่ายๆก็คือ ปัญหาคนต่างด้าว ทั้งเรื่องแรงงานต่างด้าว ปัญหาเรื่องคนหลบหนีเข้าเมือง ด้วยเหตุที่แรงงานต่างด้าวในเวลานี้ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ซึ่งตามตัวเลขที่มีการจดทะเบียนเป็นแรงงานถูกกฎหมายอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคน (เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 54 : ข่าวประชาไท) ขณะที่ผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคาดกันว่ามีอยู่อีกประมาณ 1 ล้านคนหรืออาจมากกว่านั้นซึ่งนับเป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องมีการควบคุมจำนวนและทำให้อยู่ในระบบ ด้วยปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านมาได้ก่อปัญหาต่างๆมากมายทั้ง โจรกรรม ยาเสพติด ค้าประเวณี

ถูกใจเพื่อรับข้อสอบ

สมช. ถือว่าเป็นหน้าที่หลักหน้าที่หนึ่งที่ต้องเข้ามาดูแลและจัดการให้เป็นระบบ เนื่องจากคนกลุ่มนี้นอกจากมองด้วยสายตาของความมั่นคงแล้วยังต้องต้องมองด้วยสายตาสิทธิมนุษยชนที่ต้องเคารพสิทธิของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน  ทำให้กรอบการทำงานมีหลายขั้นและหลายรูปแบบเนื่องจากเป้นปัญหาที่ซับซ้อนค่อนข้างมาก

6.นโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ  สมช. จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแผนรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินระดับชาติที่มีความรุนแรงเช่น สงคราม หรือภัยธรรมชาติที่มีขนาดรุนแรง เพื่อเป็นกรอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับมือและสามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
รายชื่ออดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

1. พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ (2502-2504)

2. พ.อ.พระยาศรีวิสารวาจา (2505-2511)

3. พล.อ.จิร วิชิตสงคราม (2511-2516)

4. พล.อ.เล็ก แนวมาลี (2516-2517)

5. พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา (2517-2523)

6. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ (2523-2529)

7. นายสุวิทย์ สุทธานุกูล (2529-2534)

8.  พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ (2534-2539)

9. พล.อ.บุญศักดิ์ กำแหงฤทธิรงค์ (2539-2541)

10. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ (2541-2545)

11. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล (2545-2549)

12. นายประกิจ ประจนปัจจนึก (2549-2550)

13. พล.ท.ศิรพงศ์ บุญพัฒน์ (2550-2551)

14. พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา (2551-2552)

15 นายถวิล เปลี่ยนศรี (2552 – ปัจจุบัน)

ที่ผ่านมา สมช. ได้ทำหน้าที่ในด้านการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงของไทยมาโดยตลอด โดยมีเลขาธิการสมช. ทั้งฝั่งทหารที่่มาจากภายนอก และพลเรือนที่โตมาจากภายในหน่วยงาน หมุนเวียนขึ้นมา

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเลขาธิการสมช.ขึ้นมาด้วยการเมืองและไปด้วยการเมือง บางช่วง ถ้าผู้ทำหน้าที่หัวเรือของ สมช. สามารถเข้าหาและทำงานกับฝ่ายการเมืองก็สามารถอยู่ได้หลายปี แต่ถ้าทำงานไม่เข้าขาก็พร้อมจะถูกเด้งออกไปได้ทุกเวลา แม้ว่าศักดิ์ศรีของเลขาธิการ สมช.จะอยู่ในระดับเดียวกับปลัดกระทรวงก็ตามที แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าเมื่อถูกย้ายจะได้เป็นปลัดกระทรวงเสมอไป

ขณะที่งานของ สมช. ในทศวรรษษหน้า มีแนวโน้มของภัยคุกคามและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจำเป็นต้องมีมากขึ้น การทำงานเพียงแค่ออกนโยบายความมั่นคงอาจไม่เพียงพอ การมีหน่วยงานที่สามารถปฏิบัติงานได้โดยตนเอง สามารถสร้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ มีเครื่องมือเครื่องไม้ที่พร้อมสรรพเพื่อรองรับงานด้านความมั่นคงที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากในศตวรรษที่ 21 ย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพในการวางนดยบายความมั่งคงได้ดีมากขึ้นในอนาคต
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้