ส่วนใหญ่จะเป็นระเบียบปฏิบัติ จะค่อนข้างยากหน่อย เอาเท่าที่จำได้ ยังไม่มีเวลาไปเปิดระเบียบ ตำรา เช่น
1. แบบพิมพ์ ต่าง ๆ ของงานทะเบียนราษฎร คืออะไร อาทิเช่น แบบ ทร.31-คำร้องทั่วไป แบบ ทร.1-สูติบัตรเป็นบุคคลประเภท 1 ทร.1/1 นส.รับรองการเกิด ทร.1ตอนหน้า-ใบรับแจ้งการเกิด ทร.2-สูติบัตรเกิดเกินกำหนดเป็นบุคคลประเภท2
ทร.3-สูติบัตรของบุคคลที่เกิดโดยเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นบุคคลประเภท7 (บุตรของบุคคลประเภท6) ทร.4-มรณบัตร...... เป็นต้น
2. นายทะเบียน หมายถึงใคร ...ตอบมี นายทะเบียนกลาง นายทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น
3. งานทะเบียนราษฎร หมายถึงงานใด ...สรุปงานที่สำคัญ คือ เกี่ยวกับการรับแจ้งบ้าน การรับแจ้งการเกิด รับแจ้งการตาย รับแจ้งการย้าย การเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน
4. อำนาจใดเป็นอำนาจของนายอำเภอ ...ตอบ...นายอนุมัติแจ้งเกิดเกินกำหนดขอบุคคลสัญชาติไทยที่อายุเกินกว่า 7 ปี ...การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าร กรณีไม่มีเอกสาร...เป็นต้น
5. การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา เป็นอำนาจของใคร....ตอบ นายทะเบียนอำเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่น
6. นายทะเบียนท้องถิ่น หมายถึงใคร....ตอบ ปลัดเทศบาล...รวมถึง ปลัด กทม....พัทยา (หน.สป.)......
7. ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น แต่งตั้งจากใคร .....
8. ผู้ปฎิบัติราชการแทนนายทะเบียนท้องถิ่น แต่งตั้งจากใคร ..........
9. เลขประจำตัว 13 หลัก มีความหมายเพียงใด ....ตอบ เช่น หลักที่ 1 หมายถึงประเภทของบุคคล มีกี่ประเภท... มี 8 ประเภท.....
10. นายทะเบียนผู้รับแจ้งหมายถึงใคร ...............
11. ข้าราชการท้องถิ่นตั้งแต่ระดับใด สามารถแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยนายทะเบียนได้....ตอบ ตั้งแต่ระดับ 3
12. ความผิดตาม พรบ.การทะเบียนราษฎร ต้องระวางโทษเพียงใด.....
13. ผู้ใดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับตาม พรบ.การทะเบียนราษฎร.......
14. อาจมีคำถามเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เพราะ เทศบาลเมือง และ เทศบาลตำบลเดิม(มิใช่ประเภทยกฐานะ) จะมีงานบัตรประจำตัวประชาชนด้วย......
================================
นึกไม่ออก พอก่อน ว่าง ๆ จะนึกต่อ แต่ขอโทษครับ งานทะเบียนราษฎร และ งานบัตรประจำตัวประชาชน ต้องเปิดระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการ มากมายครับ ....เอาที่นึกได้ไปก่อน ...(ยังไม่ได้มีเวลาไปเปิดตำรา....)
ข้อสอบทะเบียน
1. บัตรประจำตัวประชาชน มีอายุใช้ดังนี้
ก.7 ปี นับแต่วันทำบัตร
ข.6 ปี นับแต่วันทำบัตร
ค. 6 ปี นับแต่วันครบวันเกิดของผู้ถือบัตร
ง. 6 ปี นับแต่วันออกบัตร
2. ช่วงอายุของบุคคลที่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน
ก. 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
ข. 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
ค. 6 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
ง. 6 ปี นับแต่วันออกบัตร
3. ประชาชนที่มีอยู่ในทะเบียนบ้าน ของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลต้องไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัว ประชาชนที่ไหน
ก. สำนักงานเทศบาล
ข. ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่เทศบาลตังอยู่
ค. ศาลากลางจังหวัดที่เทศบาลตั้งอยู่
ง. ผิดทั้ง 3 ข้อ
4. ข้าราชการต่อไปนี้ ใครมีอำนาจตรวจบัตรประชาชน
ก. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ
ข. นายทะเบียนอำเภอ ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนตำบล
ค. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ นายตำรวจสัญญาบัตร
ง. นายตำรวจสัญญาบัตร นายตำรวจชั้นประทวน นายทะเบียนอำเภอ
5. น.ส.แอนนา ลูกครึ่งไทยอเมริกัน ถูกลักพาตัวหายไปในขณะกลับจากโรงเรียน อีก 3 วันต่อมาพบว่า ถูกฆาตกรรมถึงแก่ความตาย ได้พบศพที่ป่าแสม เขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีหน้าที่ต้องการแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งคนแรก คือใคร
ก. ตำรวจท้องที่
ข. ผู้ใหญ่บ้านท้องที่
ค. ญาติผู้ตาย
ง. นาย ก. เพราะเป็นผู้พบศพคนแรก
6. นายทะเบียนจะรับแจ้งย้ายที่อยู่ได้เฉพาะบุคคลที่
ก. บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ข. บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
ค. ใครก็ได้ที่นายทะเบียนสอบถามและเชื่อถือ
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
7. บุคคลจะได้สัญชาติไทยโดย
ก. การเกิด
ข. หญิงต่างด้าวถือสัญชาติไทยตามสามี
ค. คนต่างด้าวขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
ง. ถูกทุกข้อ
8. การบริการประชาชนให้รวดเร็วที่เรียกว่า One-Stop Service หมายถึง
ก. บริการทีเดียวเสร็จ
ข. บริการที่เดียวเสร็จ
ค. บริการที่หยุดเพียงครั้งเดียว
ง. บริการครั้งหนึ่งแล้วหยุดครั้งหนึ่ง
จ. บริการแบบครบวงจร
9. การทำบัตรประจำตัวประชาชนตามโครงการเลขประจำตัวประชาชนเน้นวิธีการใดมากที่สุด
ก. การให้ความสะดวก
ข. การดำเนินการด้วยความรวดเร็ว
ค. ลดความผิดพลาดเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ
ง. ดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์
จ. เพื่อการพิสูจน์ตรวจสอบรายการบุคคล
10. การปรับปรุงการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถบริการประชาชนได้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและรัดกุม รวมอยู่ในนโยบายกรมการปกครองด้านใด
1. นโยบายการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
2. นโยบายการปกครอง การบริหารการเมือง
3. นโยบายการรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
4. นโยบายการพัฒนาสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
11. บุคคลต่อไปนี้ ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานออกบัตรตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
1. ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน 2. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน
3. ผู้อำนวยการกองการทะเบียน 4. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป
5. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายราชการบริหารส่วนภูมิภาค
12. การแจ้งความบัตรหาย เจ้าของบัตรสามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจรับแจ้ง ณ สถานที่ใด
1. ถ้าบัตรหายในท้องที่อำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
2. ถ้าบัตรหายในท้องที่กิ่งอำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่กิ่งอำเภอนั้นตั้งอยู่
3. ถ้าบัตรหายในท้องที่เขต ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานหรือสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่บัตรหาย
4. ถ้าบัตรหายในท้องที่เทศบาล ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานเทศบาลหรือที่ว่าการอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
5. ถูกทุกข้อ
13. ข้อใดต่อไปนี้ ข้อใดคือ บ้าน ตามความหมายใน พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
1. รถยนต์ 2. เรือแพ ซึ่งจอดเป็นประจำ และใช้เป็นที่อยู่ประจำ
3. ศาลารอรถประจำทาง 4. โรงเรือนสำหรับใช้เก็บสารเคมี
5. ไม่มีข้อใดถูก
14. เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขประจำบ้านภายในกี่วัน
1. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สร้างบ้านเสร็จ 2. ภายใน 15 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
3. ภายใน 30 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ 4. ภายใน 30 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
5. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
15. นายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้แก่บุคคลในข้อใด
1. ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง 2. นายทะเบียนจังหวัด
3. ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น 4. นายทะเบียนผู้รับแจ้ง
5. ถูกทุกข้อ
16. บุคคลใดต่อไปนี้ บุคคลใดคือนายทะเบียนท้องถิ่น
1. ผู้อำนวยการเขต 2. ปลัดเทศบาล
3. นายอำเภอ 4. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
5. ข้อ 1. และข้อ 3. ถูก
17. คนเกิดในบ้าน ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียน คือ
1. เจ้าบ้าน 2. บิดา
3. มารดา 4. บิดาหรือมารดา
18. บุคคลต่างด้าว มีหนังสือเดินทาง แต่หลบหนีเข้าเมือง (ไม่มีวีซ่า) ได้ถึงแก่ความตาย เมื่อมีการแจ้งการตาย นายทะเบียนท้องถิ่น จะต้องออกหลักฐานใดให้
1. มรณบัตร ทร.4
2. ใบรับแจ้งการตาย ทร.4 ตอนหน้า
3. หนังสือรับรองการแจ้งตาย ทร.4/1
4. มรณบัตร ทร.5
19. กรณีเกิดนอกบ้าน ผู้แจ้งการเกิด คือ ใคร
1. มารดา
2. ผู้พบเห็น
3. เจ้าพนักงานปกครอง หรือ ตำรวจ
4. ผู้ปกครองท้องที่
20. กรณีสูติบัตร ทร.1 สูญหาย จะดำเนินการออกหลักฐานใดแทน
1. ใบแทน ทร.1
2. หนังสือรับรองการเกิด ทร.20/1
3. ออกสำเนา ทร.1
4. ออกหนังสือรับรองสถานที่เกิดโดยนายทะเบียนฯ
21.?บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน? หมายถึง
1. บุคคลที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งในราชอาณาจักร แต่ไม่มีรายการในทะเบียนราษฎร
2. บุคคลที่จะได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดหรือสัญชาติของตน
3. รวมถึงคนไม่มีสัญชาติไทยที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓)
4. ถูกทุกข้อ
22. บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
1. ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
2. ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิวรรคคหนึ่ง
3. คำว่าบิดาให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้น จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม
4. ถูกทุกข้อ
23. บุคคลที่ได้สัญชาติไทย ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ เริ่มใช้บังคับเมื่อใด
1. 28 กพ.2551
2. 1 มค.2551
3. 1 ตค.2551
4. 1 มค.2552
24. จากข้อ 23 มีหลักการสำคัญ คือ ยกเลิกหลักการเดิมตามกฎหมายใด
1. ยกเลิก ปว.337
2. ยกเลิก พรบ.ตรวจคนเข้าเมือง
3. ยกเลิก พรบ.สัญชาติ
4. ข้อ 1 และ ข้อ 3
25. หลักฐานใดแสดงถิ่นที่อยู่
1. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 ท.ร.13)
2. ทะเบียนประวัติ (ท.ร.38 ท.ร.38/1 ท.ร.38 ก หรือ ท.ร.38 ข)
3. บัตรประจำตัวประชาชน
๒๖. สิ่งปลูกสร้างใดไม่ต้องขอเลขที่บ้าน
ก. วัด
ข. รร.
ค. รพ.
ง. ศาลาที่พักผู้โดยสาร
๒๗. บ้านที่ก่อสร้างโดยมิได้รับอนุญาตตามระเบียบกฎหมาย จะออกหลักฐานใด
ก. ทร.๑๓
ข. ทร.๑๔
ค. ทร.๑๓ ชั่วคราว
ง. ทร.๑๔ ชั่วคราว
๒๘. ผู้ทำหน้าที่เจ้าบ้านหมายถึงใคร
ก. ผู้ที่ระบุใน ทร.ว่าเป็นเจ้าบ้าน
ข. ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน
ค. ผู้อื่นที่แสดงตนว่าเป็นเจ้าบ้าน
ง. ถูกทุกข้อ
๒๙. กรณีเกิดการฆาตกรรม จะออกหลักฐานมรณบัตรได้เมื่อใด
ก. เมื่อพนักงานสอบสวนได้ชัณสูตรพลิกศพแล้ว
ข. เมื่อนายแพทย์หรือรพ.ได้ออกหนังสือรับรองการตายแล้ว
ค. เมื่อพนักงานสอบสวนอนุญาต
ง. ถูกทุกข้อ
๓๐. นาง ก คลอดบุตร โดยไม่สามารถระบุชื่อ/สัญชาติของบิดาได้ จะลงรายการสูติบัตรอย่างไร ในรายการของบิดา
ก. รายการบิดาหากไม่ทราบ ก็ละไว้
ข. ลงรายการเท่าที่ทราบ
ค. ส่ง ตม.พิสูจน์สัญชาติก่อน
ง. ข้อ ก ข ถูก
๓๑. บุคคลออกจากถิ่นที่อยู่ไปโดยไม่ทราบที่อยู่ ไม่น้อยกว่ากี่วัน จึงสามารถย้ายเข้าทะเบียนคนบ้านกลางได้
ก. ๓๐ วัน
ข. ๖๐ วัน
ค. ๑๒๐ วัน
ง. ๑๘๐ วัน
๓๒. ทะเบียนคนบ้านกลาง คือ.... แต่ละสำนักทะเบียนฯ จะมีได้กี่เลขหมาย
ก. ทะเบียนบ้าน ที่มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการทะเบียน แต่ละสำนักทะเบียน มีได้ ๑ เลขหมาย
ข. ทะเบียนบ้าน ที่มีไว้เพื่อแจ้งเกิดกรณีเกิด รพ. แต่ละสำนักทะเบียน มีได้ ๑ เลขหมาย
ค. ทะเบียนบ้าน ที่มีไว้เพื่อแจ้งย้ายไม่ทราบที่อยู่ แต่ละสำนักทะเบียน มีได้ ๑ เลขหมาย
ง. ทะเบียนบ้าน ที่มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการทะเบียน แต่ละสำนักทะเบียน มีได้ หลายเลขหมาย
จ. ถูกข้อ ก ข ค
๓๓. มีการทุจริตทางการทะเบียน ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. นายทะเบียนรายงานนายก
ข. เทศบาลแต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
ค. ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกราย
ง. ถูกทุกข้อ
๓๔. การแจ้งการเกิด ต้องแจ้งที่ใด
ก. สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เกิด
ข. สำนักทะเบียนที่บิดามีภูมิลำเนา
ค. สำนักทะเบียนที่มารดามีภูมิลำเนา
ง. กรณีเด็กที่เกิดอายุไม่เกินกว่า ๗ ปี แจ้งเกิดต่างท้องที่ได้
จ. ถูกข้อ ก ง
๓๕. การแจ้งการตาย กรณีไม่พบศพ
ก. ไม่ต้องออก ทร.๔ เนื่องจากไม่สามารถระบุรายการต่าง ๆได้
ข. ออก ทร.๔ เท่าที่ทราบ
ค. ออกใบรับแจ้งการตายไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น โดยระบุว่า ไม่พบศพ
ง. ร้องศาลเป็นผู้สาปสูญ
๓๖. บุคคลหมายเลข ๐ (ศูนย์) ได้แก่
ก. บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ข. บุคคลสัญชาติไทยที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ค. บุคคลสัญชาติอื่นที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ง. บุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จ. ถูก ข้อ ก ข ค
๓๗. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง คือ
ก. การแจ้งย้ายโดยผู้อื่นที่มิใช่เจ้าตัว
ข. การแจ้งย้าย ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนไปอยู่
ค. การแจ้งย้าย ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่
ง. การแจ้งย้ายที่อยู่ออกจากทะเบียนบ้านกลาง
๓๘. พยาน ได้แก่
ก. พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ
ข. พยานชั้นหนึ่ง พยานชั้นสอง
ค. ประจักษ์พยาน พยานบอกเล่า
ง. ถูกทุกข้อ
๓๘. ตามมาตรา ๑๐ พรบ.การทะเบียนราษฎร กรณีปรากฏรายการทะเบียนราษฎร โดยมิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนต้องดำเนินการใด
ก. รายงานนายอำเภอเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
ข. รายงานนายเทศมนตรีเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
ค. จำหน่ายรายการนั้นออกจากทะเบียนบ้าน
ง. รายงานสำนักทะเบียนกลาง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
๔๐. องค์ประกอบของบุคคลตามมาตรา 23 พรบ.สัญชาติ ที่แก้ไขใหม่ กลุ่มบุคคลใดบ้าง เป็นบุคคลที่มาตรา 23 กำหนดและรับรองให้มีสถานะเป็น ?ผู้มีสัญชาติไทย? โดยมีผลตั้งแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 คือ
ก. บุคคลที่เกิดในรัฐไทย เกิดก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2515 ซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยโดยผลแห่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
ข. บุคคลที่เกิดในรัฐไทย เกิดตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515 ? 25 กุมภาพันธ์ 2535 และเป็นผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลแห่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 (15 ธันวาคม 2515)
ค. บุคคลที่เกิดในรัฐไทย เป็นบุตรที่เกิดจากบุคคลตามข้อ ก ข ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 จนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
ง. ถูกทุกข้อ
๔๑. จากข้อ ๓๙ ต้องมีคุณสมบัติใดเพิ่มเติม
ก. เรียนหนังสือภาษาไทย
ข. อาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร
ค. มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย
ง. ถูกข้อ ข ค
๔๒. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กไร้เอกสารพิสูจน์ตน กรณีเด็กเกิด นอก รพ. ควรดำเนินการ
ก. แจ้งการเกิดของเด็กต่อผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เพื่อรับใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร. 1 ตอนหน้า) ภายใน ๑๕ วัน
ข. จะต้องนำท.ร. 1 ตอนหน้าไปยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อขอขอแจ้งเกิด
ค. แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่นโดยตรง ภายใน ๑๕ วัน
ง. ถูกทุกข้อ
๔๓. สูติบัตร (ท.ร.) มีหลายประเภท ข้อใด ผิด
ก. เด็กที่เกิดจากพ่อ-แม่ไทย รวมถึงเด็กที่เกิดจากพ่อและแม่ซึ่งมีสิทธิอาศัยถาวร จะได้รับสูติบัตรประเภทท.ร. 1 (กรณีแจ้งเกิดภายใน 15 วัน) ท.ร. 2 (กรณีแจ้งเกิดเกิน 15 วัน)
ข. เด็กที่เกิดจากพ่อแม่มีสิทธิอาศัยชั่วคราว จะได้รับสูติบัตรประเภท ท.ร. 3
ค. เด็กของบุคคลที่ถือบัตรเลข 0 จะได้รับการออกสูติบัตรประเภท ท.ร. 031
ง, เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นแรงงานสัญชาติพม่า ลาวหรือกัมพูชาที่มีใบอนุญาตทำงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาต จะได้รับการออกสูติบัตรประเภท ท.ร. 03
จ. ถูกทุกข้อ
๔๔. กรณีเด็กที่แจ้งเกิดเกินกำหนด, เด็กแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาที่ถูกทอดทิ้ง, เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพากรีทอดทิ้ง เมื่อไปแจ้งการเกิดต่อสำนักทะเบียนฯ จะได้รับเอกสารใด
ก. ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร. 100) ให้เพื่อใช้เป็นเอกสารการเกิด
ข. หนังสือรับรองการเกิด ท.ร.๑/๑
ค. สูติบัตร ท.ร.๑ หรือ ท.ร.๒ หรือ ท.ร.๓ แล้วแต่กรณี
ง. ไม่มีข้อถูก
๔๕. กรณีตายโดยที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะต้องออกหลักฐานใด
ก. ออก ทร.๔ กรณีมีสัญชาติไทย
ข. ออก ทร.๔ กรณีเป็นบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ค. ออก ทร.๕ กรณีเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามสด ๆ แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ คงไม่ออกสอบ แต่ รู้ไว้ก็ดี..............เป็นคำถามเก่า ๆ
ปี ๔๒ ๔๓ ได้พยายามแก้ไขบ้างเล็กน้อย.....................
++++++++++++++++++++++++++++++++
๑. ถ้าเด็กเกิดในท้องที่หนึ่งแต่จะเพิ่มชื่อในท้องที่อื่นเลยได้หรือไม่ หรือจะต้องแจ้งย้ายก่อน
คำตอบ
กรณีดังกล่าวจะเพิ่มชื่อท้องที่อื่นไม่ได้ หลักของกฎหมายเกิดที่ไหนแจ้งเกิดและขอเพิ่มชื่อ
ในทะเบียนบ้านที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเกิดตามกำหนด หรือเกินกำหนดถ้าประสงค์จะไปอยู่ที่อื่น
ก็ขอให้ไปขอแจ้งการย้ายที่อยู่ ณ สำนักทะเบียนเดิม หรือแจ้งย้ายปลายทาง
๒. การลงรายการในสูติบัตร ช่องที่ 2 รายการมารดาซึ่งระบุชื่อตัว ชื่อสกุลมารดาก่อนสมรสนั้น ในส่วนของ
คำนำหน้านามให้ใช้คำว่า นาง หรือ นางสาว จึงจะถูก
คำตอบ
การลงรายการในสูติบัตรช่องที่ 2 รายการของมารดาในส่วนของคำนำหน้านาม ให้ลงรายการตามหลักฐาน
ทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชน
๓. ขอทราบวันเดือนปีเกิด ผู้ว่าการ.....(.........ระบุชื่อตัว ชื่อสกุล........) เพราะผมต้องการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน
คำตอบ
ข้อมูลประวัติบุคคลในฐานข้อมูล ที่กรมการปกครองจัดเก็บไว้ กฎหมายกำหนดมิให้เปิดเผยแก่บุคคลที่
ไม่มีส่วนได้เสีย ดังนั้น การขอข้อมูลบุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องแสดงหลักฐานบัตรฯ และหลักฐาน
การเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาต่อไป
๔. ต้องการสำเนาสูติบัตรของตนเอง เพื่อประกอบคำร้องต่อศาล ในการทำนิติกรรม (สูติบัตรใบจริง
สูญหาย เนื่องจากไฟไหม้บ้านเมื่อ ปี 2510 ) ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา แต่จะขอ
ให้เจ้าหน้าที่ออกให้ ณ สำนักงานเขตบางเขน( ที่อยู่ปัจจุบันตามทะเบียนบ้าน ) ได้หรือไม่ ต้องใช้
หลักฐานอะไรในการขอ
คำตอบ
การขอคัดและรับรองสำเนาสูติบัตรแทนฉบับจริงที่สูญหาย สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนเดิมที่ออกสูติบัตรให้ คัดและรับรองสำเนาสูติบัตรแทนฉบับเดิม
ที่สูญหาย หรือ
2. ยื่นคำร้องขอถ่ายไมโครฟิลม์สูติบัตร ณ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง วังไชยา
นางเลิ้ง เขตดุสิต กทม โดยนำหลักฐานไปแสดง คือ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
*** สำหรับกรณีนี้ไมโครฟิลม์ ปี 2510 - 2528 ซึ่งเก็บเป็นฟิลม์ขาวดำ ทำลายแล้วไม่สามารถค้นหา
ในข้อ 2 ได้
๕. ถ้าคนไทยเกิดมีลูกที่นี่ แจ้งเกิดที่นี่แล้ว ต้องแจ้งเกิดที่เมืองไทยอีกหรือไม่และจะได้สูติบัตร
ของไทยหรือไม่
คำตอบ
1.บุตรของคนไทยที่เกิดในต่างประเทศ ถ้าได้ดำเนินการแจ้งการเกิดต่อสถานทูต หรือสถานกงศุลไทย
ในประเทศนั้น จะได้สูติบัตรและหนังสือเดินทางไทยสำหรับเด็ก เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย
สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านได้
2. ถ้าไม่ได้แจ้งการเกิดตามข้อ 1 แต่ได้แจ้งการเกิดเป็นหลักฐานการเกิด ของประเทศนั้นๆ เมื่อเดินทางกลับ
มาประเทศไทย โดยถือหนังสือเดินทางต่างประเทศ จะถือเป็นบุคคลต่างด้าว การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
จะต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติจาก ตม.(ตรวจคนเข้าเมือง) ก่อน เมื่อได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ว่า
เป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงจะดำเนินการเพิ่มชื่อได้ในการดำเนินการขอเพิ่มชื่อ ให้นำหลักฐานการเกิดของ
ต่างประเทศ และหนังสือเดินทาง แปลเป็นภาษาไทย และให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองคำแปล
ถูกต้องด้วย
๖. ผู้ที่มีวันเดือนปีเกิดในเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2483 ในทะเบียนราษฎร์ซึ่งไม่มี 3 เดือน
ในปฏิทิน เนื่องจากมีการเปลี่ยนวันขึ้น พ.ศ. ใหม่ ให้เป็นปีสากลจะถือว่าบุคคลเหล่านี้ เกิดวันเดือนปีใด
ช่วยกรุณาตอบโดยด่วน เพราะจะต้องกำหนดวันเกษียณอายุราชการให้กับบุคคลเหล่านี้
คำตอบ
พ.ร.บ. ปีปฏิทิน พ.ศ. 2483 มาตรา 4 ได้กำหนดวันเริ่มต้นปีปฏิทินใหม่ โดยกำหนดวันที่ 1 มกราคม
เป็นวันเริ่มต้นแทนวันที่ 1 เมษายน และเริ่มตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นไป จึงมีผลให้ปี 2483 ไม่มีเดือน
มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม แต่อย่างใด ดังนั้นถ้าหากบุคคลใดเกิดในปี พ.ศ. 2483 และระบุเดือนเกิด
เป็นเดือนใดเดือนหนึ่ง ในสามเดือนดังกล่าว ทางราชการจะอนุญาตให้แก้ไขปี พ.ศ. เกิด ของบุคคลนั้น
เป็นปี พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นการอนุญาตให้แก้ไขเฉพาะบุคคลที่เกิดในปีพ.ศ. 2483 ในช่วงเดือน มกราคม
กุมภาพันธ์ และมีนาคม เท่านั้น
๗. ถ้าทำใบแดง (ใบเกิด) หาย จะทราบเวลาเกิดได้อย่างไรบ้าง ต้องติดต่อที่ใด
คำตอบ
๑. ใบเกิดหรือสูติบัตรเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เป็นหลักฐาน และจะออกให้เพียงใบเดียวเท่านั้น ดังนั้น
หากสูติบัตรหรือใบเกิดชำรุดหรือสูญหายให้ผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นคำร้องขอให้นายทะเบียนแห่งท้องที่
ที่ออกสูติบัตรนั้น คัดและรับรองสำเนาสูติบัตร เพื่อใช้แทนฉบับที่สูญหายต่อไป สำหรับสูติบัตรที่ออกตั้งแต่
พ.ศ.2523 - 2540 ผู้ร้องสามารถไปยื่นคำร้องที่หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน วังไชยา
นางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ถ่ายและรับรองสำเนาไมโครฟิลม์ได้อีกทางหนึ่ง
๒. ผู้ที่ใบสูติบัตร ท.ร.๑ ท.ร.๒ ท.ร.๓ สามารถขอหนังสือรับรองการเกิด ท.ร.๒๐ ต่อนายทะเบียนแห่งใดก็ได้
๘. ใบเกิดหายของเด็กที่เกิดในปี 37 ได้ไปขอคัดสำเนาใหม่ที่ จ.ระยอง ที่เด็กเกิดแต่ไม่พบ เด็กเกิดต้นเดือนมีนาคม
ต้องการคำแนะนำ เพราะสอบถามเรื่องกับทางจังหวัดมาหลายปีแล้ว
คำตอบ
ใบเกิดหรือสูติบัตรของเด็กสูญหาย บิดา หรือมารดาสามารถยื่นคำร้องขอคัดและรับรองสำเนาแทนฉบับที่
สูญหายได้ ณ สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตร หรือที่หน่วยบริการข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน วังไชยา นางเลิ้ง เขตดุสิต
กทม. เพื่อขอถ่ายและรับรองสำเนาสูติบัตรจากระบบไมโครฟิลม์ก็ได้
ปัจุบันสามารถขอให้นายทะเบียนที่มีภูมิลำเนาออกหนังสือรับรองการเกิด ท.ร.๒๐ ให้ได้ ใช้แทนสูติบัตร ท.ร.๑ ได้
๙. เกิดวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2492 แต่เจ้าหน้าที่ทะเบียนเขตบางกะปิ ได้ลบวันเกิด และเดือนเกิด เหลือเพียงปี เกิด
จะดำเนินการคืนวันเกิด เดือนเกิด ให้ได้หรือไม่
คำตอบ
หากหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนราษฏรที่ทางราชการออกให้ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เจ้าตัวหรือ
ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ โดยนำหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง
ไปแสดง เช่น สูติบัตร หลักฐานเกี่ยวกับการศึกษา เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการ
ออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเก่าที่เคยระบุวันที่และเดือนไว้ เป็นต้น
ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๑๕ (๑)
๑๐. ถ้าสูติบัตรหรือมรณบัตรหายหรือชำรุด ต้องการจะทำใหม่ ไปติดต่ออำเภอที่ออกสูติบัตรหรือมรณบัตร
ที่ออกแล้ว แต่ทางสำนักทะเบียนอำเภอที่ออกไม่สามารถสำเนาสูติบัตรหรือมรณบัตรที่หายหรือชำรุดให้ใหม่ได้
โดยไม่ทราบเหตุผลที่ไม่สามารถออกสำเนาสูติบัตรหรือมรณบัตรให้ได้ จะให้ทำอย่างไรบ้างและมีวิธีการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว
คำตอบ
ถ้าสูติบัตรหรือมรณบัตรชำรุดหรือสูญหาย เจ้าตัวหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียน
ที่ออกสูติบัตร หรือมรณบัตร เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่คัดและรับรองสำเนาให้ เพื่อใช้แทนฉบับเดิมที่สูญหายได้
หรือไปยื่นคำร้องที่หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน วังไชยา นางเลิ้ง เขตดุสิต กทม เพื่อขอถ่ายและ
รับรองสำเนาสูติบัตรหรือมรณบัตรจากระบบไมโครพิลม์ก็ได้
๑๑. มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะตรวจสอบว่าสำนักทะเบียนอำเภอมีสำเนาสูติบัตรหรือมรณบัตรอยู่ถึงเดือนไหนและ
จะทำอย่างไรถ้าเจ้าหน้าที่งานทะเบียนไม่ยอมสำเนาสูติบัตร หรือมรณบัตรให้ผู้ร้องขอได้
คำตอบ
สูติบัตรและมรณบัตร (ตอนที่ 2) ที่เก็บไว้ที่สำนักทะเบียนเป็นเอกสารงานทะเบียนราษฏรที่สำคัญที่สำนักทะเบียนต้อง
เก็บรักษาไว้ตลอด ไม่สามารถทำลายได้ ดังนั้น สูติบัตร และมรณบัตรที่สูญหาย จึงสามารถขอคัดและรับรองจากสำนักทะเบียนนั้น ๆ ได้
เมื่อยื่นคำร้องแล้วเจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้ กรมการปกครองได้สั่งการให้ชี้แจงเหตุผลให้ผู้ติดต่อราชการทราบทุกครั้ง
จึงขอให้ขอทราบเหตุผลจากเจ้าหน้าที่ หากไม่ได้รับความสะดวกให้เข้าพบนายอำเภอท้องที่ได้ตลอดเวลา เพื่อพิจารณาช่วยเหลือต่อไป
๑๒. ต้องการทราบว่าสูติบัตรของบุตรชายออกให้ตามเลขที่ประชาชน 1-1037-02168-09-2 ถูกต้องหรือไม่
ที่ออกนามสกุลตามบิดาและเป็นไปตามกฎหมายที่บุตรต้องใช้นามสกุลบิดาหรือไม่ บิดาต้องไปทำเอกสาร
รับรองบุตรที่อำเภออีกหรือไม่ เพราะพ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรสกัน
คำตอบ
บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว
ดังนั้น การจะให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยจะต้อง
1. บิดามารดาจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน หรือ
2. บิดาจะต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตร
สำหรับการใช้ชื่อสกุลของเด็กในการรับแจ้งการเกิด ถ้าเด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน
ตามกฎหมาย แต่บิดาได้แสดงต่อสาธารณชนทั่วไปว่าเป็นบุตร และสูติบัตรได้ระบุชื่อบิดา เด็กนั้นมีสิทธิ
ใช้ชื่อสกุลของบิดา
๑๓. แจ้งเกิดเท็จ มีผลอย่างไรบ้างและจะแก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างไร
คำตอบ
พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มีบทกำหนดโทษ กรณีผู้ใดทำให้หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ
หรือกระทำการเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นมีชื่อหรือรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้าน หรือเอกสาร
การทะเบียนราษฎรอื่นโดยมิชอบ ซึ่งมีโทษจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น การแจ้งเกิดเท็จ ผู้แจ้งจึงมี
ความผิดตามกฎหมาย สำหรับการแก้ไขรายการในสูติบัตรให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ให้เจ้าตัวหรือผู้มีส่วน
ได้เสียยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง โดยนำหลักฐานเอกสาร
ที่ทางราชการออกให้ที่ถูกต้องไปแสดง หากไม่มีเอกสารราชการไปแสดง ให้นำพยานหลักฐาน เช่น พยาน
บุคคลไปให้นายทะเบียนสอบสวน หากพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องน่าเชื่อถือ ก็จะแก้ไขให้ต่อไป
๑๔. ใบสูติบัตร วันเกิด (วันที่) ตรงกับวัน (เสาร์) แต่เมื่อมาดูในปฏิทิน 100ปี เป็นวันศุกร์ จะใช้วันไหนดี
คำตอบ
เอกสารการทะเบียนราษฎร หากไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการให้ถูกต้องได้ โดย
1. กรณีมีเอกสารราชการที่ถูกต้องมาแสดง เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเชื่อถือได้
จะแก้ไขเอกสารการทะเบียนราษฎรให้
2. กรณีที่ไม่มีเอกสารราชการที่ถูกต้องมาแสดงนายทะเบียนจะดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอ
นายอำเภอพิจารณา เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเชื่อถือได้ จะสั่งการให้นายทะเบียนแก้ไขเอกสาร
การทะเบียนราษฎรให้ ดังนั้น จึงขอให้นำเอกสารราชการหรือพยานหลักฐานที่มีไปยื่นคำร้องขอแก้ไข ณ สำนักทะเบียนที่ตนเองมีชื่ออยู่
๑๕. การแจ้งเกิดหากเกิดที่ ร.พ. วันที่ 25 ก.ค. 43 และนำมาแจ้งเกิดที่อำเภอวันที่ 17 พ.ย. 43 แต่ผู้แจ้งได้แจ้งไว้
ที่บ้านผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ได้ออก ท.ร. 1 ตอนหน้าไว้ ลงวันที่ 25 ก.ค. 43 หากเป็นเช่นนี้จะออกสูติบัตรให้เลข
รหัส 1 หรือ รหัส 2
คำตอบ
การแจ้งการเกิดไว้กับนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน) และได้ออกใบ ท.ร. 1 ตอนหน้าให้แล้ว
การแจ้งนั้นเป็นการแจ้งภายในกำหนดแล้ว สามารถนำไปเป็นหลักฐานในการออกสูติบัตร (ประเภท 1) ได้
๑๖. บุตรซึ่งไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของบิดาทางด้านพฤตินัย แต่บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาภายหลังคลอดบุตร
เพื่อเป็นการรับรอง แต่ต่อมาภายหลังบิดามารดาได้หย่าขาดจากกันและบุตรอยู่ในความดูแลของมารดาโดยเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลของมารดาด้วย ต่อไปบุตรจะสามารถเรียกร้องทางด้านนิติกรรมได้ไหม
คำตอบ
การแจ้งการเกิดโดยแจ้งบุคคลอื่นที่มิใช่บิดาที่แท้จริงเป็นบิดาของบุตร เป็นการแจ้งความเท็จมีความผิดตาม
กฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง จึงควรไปดำเนินการยื่นคำร้องขอแก้ไขรายการในสูติบัตรให้ตรงกับข้อเท็จจริง
****
ตามแนวทางหนังสือสั่งการฉบับใหม่
กรณีเกิดการแจ้งเท็จ ให้สอบสวนข้อเท็จจริง , แจ้งความดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด , ยกเลิกสูติบัตรฉบับนั้น
(เพื่อออกใหม่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง)
๑๗. การแจ้งเกิดต้องแจ้งภายในกี่วัน และต้องนำใบสำคัญอะไรไปบ้าง
คำตอบ
1. เด็กเกิดในบ้าน ผู้แจ้ง คือ เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรืออาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นแจ้งแทนโดยทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ
สถานที่แจ้ง ถ้าเกิดนอกเขตเทศบาลหรือ กทม. หรือเมืองพัทยา แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน (ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้ง)
แต่ถ้าเกิดในเขตเทศบาลหรือ กทม. หรือเมืองพัทยา แจ้งได้ที่เทศบาล หรือเขต หรือเมืองพัทยาโดยตรง
เอกสารที่ใช้
1) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
3) บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
4) หนังสือรับรองการเกิดที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลออกให้ (ถ้ามี)
ต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด - ถ้าเกินกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2. เด็กเกิดนอกบ้าน ผู้แจ้ง ได้แก่ บิดา หรือมารดา
สถานที่แจ้ง ท้องที่ที่เด็กเกิด (เหมือนกรณีเกิดในบ้าน)
เอกสารที่ใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
2) บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา (ถ้ามี)
ต้องแจ้งภายใน 15 วัน กรณีจำเป็น แจ้งภายหลังได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเกิด ถ้าเกินกำหนด
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
๑๘. อยากทราบ วัน เดือน ปี เกิด ของบุคคล
คำตอบ
ข้อมูลทะเบียนประวัติของบุคคล เป็นข้อมูลส่วนตัว กฎหมายกำหนดมิให้เปิดเผยแก่บุคคลอื่น ยกเว้นแต่
บุคคลที่เป็นเจ้าของประวัติเอง หรือบุคคลที่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การขอคัดและ
รับรองข้อมูลทะเบียนประวัติ สามารถกระทำได้โดยบุคคลนั้น จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
กับบุคคลที่จะขอตรวจสอบ โดยยื่นคำร้องขอตรวจสอบพร้อมหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย บัตรประจำตัว
ประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใดก็ได้ที่ได้ทำการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์แล้ว คือ
- หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง วังไชยา นางเลิ้ง เขตดุสิต กรุงเทพฯ
- ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัด ทุกจังหวัด
- สำนักงานเขตทุกเขตของ กทม.
- สำนักทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น ใน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ชลบุรี
นครปฐม สุราษฏร์ธานี และสงขลา
- อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
๑๙.ตรวจสอบในทะเบียนบ้าน ปี พ.ศ. 2509 ที่เกิดไม่ตรงกับปีเกิดจริง พ.ศ. 2503 จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร
คำตอบ
หลักฐานเอกสารที่ทางราชการออกให้ หากไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงให้เจ้าตัว หรือผู้มีส่วนได้เสีย
นำหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง เช่น สูติบัตร เป็นต้น พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน
ไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนที่ตนมีชื่ออยู่ เพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่ [email=lookmoo_00@hotmail.com]lookmoo_00@hotmail.com[/email]