ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

1.       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.. 2552 บังคับให้เมื่อใด

ก.       วันที่ 18 ธันวาคม พ.. 2552

ข.       วันที่ 19 ธันวาคม พ.. 2552

ค.       วันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2552

ง.       วันที่ 21ธันวาคม พ.. 2552

2.       ข้อใดคือความหมายของ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ก.       การออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ข.       ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ค.       ผู้ที่กำหนดให้เป็นเขตออกเสียงประชามติ

ง.       ไม่มีข้อถูก

3.       ข้อใดคือความหมายของ “จังหวัด” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ก.       กรุงเทพมหานคร

ข.       เขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัด

ค.       เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ง.       ระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก

4.       ผู้ใดคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ก.       ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ข.       รองประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ค.       รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย

ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด

5.       นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียดดังข้อใด

ก.       กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ

ข.       กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียงดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี

ค.       ถ้ากฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

ง.       ถูกทั้ง ก และ ข

6.       ประชามติตามที่มีกฎหมายบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้  ต้องดำเนินการอย่างไร

ก.       ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

ข.       ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

ค.       ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

ง.       ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

7.       เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในนับแต่วันที่มีประกาศ

ก.      30  วัน                                                            ค.  10   วัน

ข.      15  วัน                                                            ง.  7      วัน

8.       วันออกเสียงในการจัดทำประชามติต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะกี่วัน

ก.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา

ข.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง

ค.       ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา

ง.       ถูกทุกข้อ

9.       ผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถเสนอคำฟ้องภายในกำหนดระยะเวลากี่วันต่อศาลใด

ก.      60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลฎีกา

ข.      60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง

ค.      30 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง

ง.      30  วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครองสูงสุด

10.                    ข้อใดคือวิธีออกเสียงลงคะแนนออกเสียงประชามติ

ก.       แบบตรง                                        ค. แบบปกปิด

ข.       แบบลับ                                          ง. ถูกทั้ง    และ ข

11.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติ

ก.       ชื่อเรื่องที่จะจัดทำประชามติ และเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการทำประชามติ

ข.       สาระสำคัญของกิจการในเรื่องที่ทำประชามติ

ค.       ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินกิจการในเรื่องที่ทำประชามติ

ง.       ไม่ต้องประมาณการค่าใช้จ่ายและที่มาของงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายสำหรับกิจการในเรื่องที่ทำประชามติ

12.    กรณีมิได้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตออกเสียงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายแต่งตั้งคณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงไม่เกินกี่คน

ก.       10   คน                                          ค.  5  คน

ข.       8     คน                                           ง.  2   คน

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้