ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พรบ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พรบ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1.       พระราชบัญญัติ ล้มละลาย มีทั้งหมดจำนวนกี่ฉบับ

ก. 5 ฉบับ                                                               ค. 7  ฉบับ

ข. 6 ฉบับ                                                               ง. 8 ฉบับ

2.       พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันใด

ก.1  มกราคม  พ.ศ.2483                                      ค. 2  มกราคม  พ.ศ.2483

ข.1  มกราคม  พ.ศ.2484                                      ง. 2  มกราคม  พ.ศ.2484

3.       พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ มีกี่หมวด  กี่มาตรา

ก.       7  หมวด  180  มาตรา                  ค. 8 หมวด  180  มาตรา

ข.       7 หมวด   181 มาตรา                                   ง. 8 หมวด  181  มาตรา

4.       พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ให้ใช้เขตในจังหวัดใด

ก.ธนบุรี                                                                 ค. นนทบุรี

ข.สมุทรปราการ                                                   ง. ถูกทุกข้อ

5.       บุคคลล้มละลายทุจริต พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ หมายความว่าอย่างไร

ก.บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 163 ถึงมาตรา 170

ข.บุคคลที่มีความผิดเกี่ยวกับการล้มละลายฐานยักยอกหรือฉ้อโกงตามกฏหมายลักษณะอาญา

ค. การกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่า   

    ด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

ง.ถูกเฉพาะข้อ  ก และ ข

6.       พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓  มาตรา 8 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ในกรณีใด

ก.       ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่น

ข.       ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวงหรือโดยการฉ้อฉล

ค.       ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วจะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ

ง.       ถูกทุกข้อ

7.       เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อกรณีใด

ก.       ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

ข.       ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000  บาท หรือเป็นหนี้เจ้าหนี้หลายคนซึ่งเข้าชื่อกันเป็นโจทก์เป็นจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 1,000 บาท

ค.       หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

ง.       ถูกทุกข้อ

8.       เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อกรณีใด

ก.       มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้การบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน

ข.       กล่าวในฟ้องว่าถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วจะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย

ค.       ตีราคาหลักประกันในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000  บาท

ง.       ถูกทุกข้อ

9.       ในขณะยื่นคำฟ้องคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ก.       50  บาท                                                                         ค. 1,000  บาท

ข.       500  บาท                                                                       ง. 5,000  บาท

10.    เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วนและให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่ากี่วัน

ก.       3  วัน                                                                              ค. 15  วัน

ข.       7  วัน                                                                              ง. 30  วัน

11.    เมื่อศาลได้รับฟ้องคดีล้มละลายแล้วถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์มีคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องและโจทก์นำสืบได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำการ

ก.       ออกไปหรือกำลังออกไปนอกเขตอำนาจศาล หรือได้ออกไปก่อนแล้ว และคงอยู่นอกเขตอำนาจศาล โดยเจตนาที่จะป้องกันหรือประวิงมิให้เจ้าหนี้ ได้รับการชำระหนี้

ข.       ปกปิด ซุกซ่อน โอน ขาย จำหน่าย หรือยักย้ายทรัพย์สินดวงตรา สมุดบัญชี หรือเอกสาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในการดำเนินคดีล้มละลายให้พ้นอำนาจศาล หรือกำลังจะกระทำการดั่งกล่าวนั้น

ค.       กระทำหรือกำลังจะกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ หรือกระทำหรือกำลัง จะกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด

ง.       ถูกทุกข้อ

12.    จากข้อ  11  ศาลมีอำนาจอย่างไร

ก.       ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปในเคหะสถาน หรือที่ทำการ ของลูกหนี้ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจสอบ ทรัพย์สินดวงตรา สมุดบัญชีหรือเอกสารของลูกหนี้ และให้มีอำนาจสอบสวน ลูกหนี้หรือออกหมายเรียกลูกหนี้มาสอบสวนได้

ข.       ให้ลูกหนี้ให้ประกันจนพอใจศาลว่า ลูกหนี้จะไม่หลบหนีไปนอก อำนาจศาลและจะมาศาลทุกคราวที่ศาลสั่ง ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถให้ประกัน ศาลมีอำนาจสั่งขังลูกหนี้ได้มีกำหนดไม่เกินครั้งละหนึ่งเดือน แต่เมื่อรวมกัน แล้วต้องไม่เกินหกเดือน

ค.       ออกหมายจับลูกหนี้มาขังไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลาย หรือจนกว่าศาลจะยกฟ้อง หรือจนกว่าลูกหนี้จะให้ประกัน จนพอใจศาล

ง.       ถูกทุกข้อ

13.    เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจอย่างไร

ก.       จัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้ กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

ข.       เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่ง ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

ค.       ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้

ง.       ถูกทุกข้อ

14.    เมื่อลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งลูกหนี้ ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ภายในเวลาเท่าใด

ก.       12  ชั่วโมง                                                                     ค. 24  ชั่วโมง

ข.       15  ชั่วโมง                                                                     ง. 48  ชั่วโมง

15.    ลูกหนี้ต้องไป สาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์ สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์ แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และ หนี้สิน ภายในเวลากี่วัน

ก.       3 วัน                                                                               ค. 14  วัน

ข.       7  วัน                                                                              ง.  20  วัน

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้