ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย และอัตนัย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย และอัตนัย

1. เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย การทำข้อสอบปรนัยของ มสธ. มีตัวเลือก 5 ตัวเลือก (ชุดวิชามี 15 หน่วย ออกข้อสอบ หน่วยละ 8 ข้อ รวมเป็น 120 ข้อ) การทำข้อสอบในแต่ละข้อ นักศึกษาจะต้องใช้ความคิด พิจารณาอ่านอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
ข้อควรปฏิบัติในการทำข้อสอบทุกครั้ง
   1.1 อ่านและทำความเข้าใจกับข้อคำถามแต่ละข้ออย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะคำว่า ไม่ใช่ มากที่สุด น้อยที่สุด
   1.2 อ่านข้อคำตอบที่เป็นตัวเลือกทั้งหมดทุกข้อ ก่อนตัดสินใจเลือกว่าข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.3 ไม่ควรใช้เวลานานกับคำถามข้อใด ข้อหนึ่งโดยเฉพาะถ้าติดขัด ยังคิดไม่ได้ นึกไม่ออก ก็ควรเว้นไว้ก่อน แต่ต้องทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต
เพื่อกลับมาทำ
   1.4 ควรตรวจสอบเวลาสอบที่เหลือ และข้อสอบที่ทำ หากเวลาเหลือน้อย แต่ข้อสอบมีเยอะควรรีบทำให้เร็วขึ้นในแต่ละข้อ แต่ถ้าเวลาเหลือเยอะ แต่
ข้อสอบเหลือน้อย ควรใช้เวลาที่เหลือพิจารณาข้อสอบที่ค่อนข้างยากอีกครั้ง
   1.5 กรณีจำเป็นต้องตอบคำถามในข้อที่ไม่แน่ใจ นักศึกษาควรพิจารณาข้อคำตอบที่เป็นตัวเลือกที่เห็นว่า ไม่ถูก หรือ ผิดอย่างแน่นอน ตัดออกก่อน แล้วพิจารณาข้อคำตอบที่เหลืออย่างรอบคอบ และเลือกข้อคำตอบที่ตรงกับข้อคำถามมากที่สุด
   1.6 ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ อย่าปล่อยกระดาษคำตอบว่างไว้ ทำไม่ได้ คิดไม่ทัน เมื่อใกล้หมดเวลาก็ให้ฝนคำตอบให้ครบ ถึงแม้จะเป็นการเดาข้อสอบก็ควรทำ (ต้องเป็นกรณีสุดท้ายจริง ๆ)
1.7 ข้อคำถามที่จำเป็นต้องมีการคิดคำนวณ นักศึกษาสามารถคิดคำนวณ และทดเลขลงในกระดาษคำตอบของแบบทดสอบได้

2. เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย เป็นข้อสอบที่นิยมใช้วัดพฤติกรรม การเรียนรู้ในระดับสูง เช่น การคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์
การสังเคราะห์ นักศึกษาจะต้องใช้ความรู้ในหลาย ๆ เรื่อง มาประสมประสานกัน เพื่อตอบประเด็นปัญหาที่ถามให้ได้ความชัดเจน
ลักษณะการตอบข้อสอบอัตนัยที่ดี ดังนี้
   1. ให้เริ่มต้นด้วยประโยคที่เป็นคำตอบที่ตรง และถูกที่สุด
   2. การตอบในย่อหน้าแรกให้เสนอเหตุผลสำคัญที่สุด
   3. การตอบในย่อหน้าต่อมา เป็นเหตุผลรอง
   4. ย่อหน้าต่อมา เป็นเนื้อหาย่อย ๆ
   5. ควรมีตัวอย่าง ประกอบเหตุผล
   6. ให้ข้อคิด หรือการวิเคราะห์ของตัวเองเสริม

*หมายเหตุ ไม่ควรส่งกระดาษเปล่า ถ้าทำข้อสอบไม่ได้ หรือ ไม่รู้คำตอบจริง ๆ ควรเขียนคำตอบที่ดีที่สุด ที่ตัวเองรู้ลงไปในกระดาษคำตอบ

ข้อควรระวังในการทำข้อสอบอัตนัย
   1. ใช้ปากการเขียนตอบในการทำข้อสอบอัตนัย โดยเขียนคำตอบให้อ่านง่าย ชัดเจน เป็นระเบียบ
   2. อ่านและทำความเข้าใจกับโจทย์ โจทย์ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง มีกี่ประเด็น โดยกำหนดคำตอบเป็นหลักการสำคัญของแต่ละประเด็นก่อน แล้วค่อยเขียนคำตอบพยายามตอบให้ครบถ้วนทุกประเด็น และเมื่อขึ้นประเด็นใหม่ควรย่อหน้าใหม่
   3. เมื่อตอบข้อใหม่ ควรใช้กระดาษคำตอบแผ่นใหม่
   4. ต้องเขียนชื่อ – ชื่อสกุล เลขประจำตัวนักศึกษาลงในกระดาษคำตอบทุกแผ่น

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้