ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชี 3 ท้องถิ่น อปท.
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชี 3 ท้องถิ่น อปท.

1. เงินตราต่างประเทศเป็นเงินได้พึงประเมินต้องคำนวณเป็นเงินตราไทย โดยอ้างอิงคำนวณเป็นเงินตราไทย โดยอ้างอิงการคำนวณเป็นเงินตราไทยจากที่ใด

 ก. ธนาคารแห่งประเทศไทย

 ข. ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

 ค. ธนาคารกลางโลก

 ง´ ข้อ ก. และ ข. ถูกต้อง

 

2. เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินได้พึงประเมินต้องคำนวณเป็นเงินตราไทย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อใด

 ก. อัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน

 ข. อัตราการแลกเปลี่ยนในวันถัดไป

 ค. อัตราการเปลี่ยนในทุกวันจันทร์ต่อสัปดาห์ ของตลาดหลักทรัพย์

 ง. อัตราการเปลี่ยนในทุกวันศุกร์สุดสัปดาห์ ของตลาดหลักทรัพย์

 

3. กรณีที่ใช้อัตราการแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารพาณิชย์ต้องใช้เพียงธนาคารใด ธนาคารหนึ่งเพียงธนาคารเดียว หากต้องการเปลี่ยนธนาคารที่อ้างอิงอัตราการแลกเปลี่ยนต้องอนุมัติจากผู้ใด

 ก. อธิการบดีสรรพากร

 ข. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

 ค. รัฐมนตรีการกระทรวงการคลัง

 ง. ปลัดกระทรวงการคลัง

 

4. รางวัลที่ได้จากการชิงโชค เป็นเงินพึงประเมินรูปแบบใด

 ก. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้

 ข. ไม่มีการประเมินใดๆในรางวัล

 ค. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

 ง. ทรัพย์สินหรือรางวัลได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

 

 

5. บ้านพักที่จัดให้อยู่ฟรี จัดเป็นเงินได้พึงประเมินรูปแบบใด

 ก. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้

 ข. ประโยชน์ซึ่งอาจคำคำนวณได้เป็นเงิน

 ค. ทรัพย์สินหรือรางวัลได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

 ง. ถูกทุกข้อ

 

6. ได้รับค่าตอบแทนเป็น “หุ้น” จัดเป็นเงินได้พึงประเมินรูปแบบใด

 ก. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้

 ข. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

 ค. ค่าตอบแทน ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

 ง. ถูกทุกข้อ

 

7. การคำนวณเครดิตเงินปันผล เพื่อบรรเทาภาษีซ้ำซ้อนของเงินปันผลที่ส่วนหนึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้วคำนวณได้จาก

 ก. เงินปันผล x 

 

ข. เงินปันผล x 100

 

ค. เงินปันผล x 

 

ง. เงินปันผล x 

 

8. ผู้มีเงินได้จากส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม สามารถคำนวณเครดิตเงินปันผลได้โดยมีการคำนวณอย่างไร

 ก. 30% ของเงินปันผลจากกองทุน

 ข. เงินปันผล x  

 ค. 5% จากมูลค่าทั้งหมดของกองทุนรวม

 ง. เงินได้จากกองทุนไม่มีสิทธิ์ได้รับเครดิตภาษี เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว

 

9. แหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41พิจารณาอย่างไร

 ก. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ คือหน้าที่การงานกิจกรรม ทรัพย์สิน หรือ กิจการของนายจ้างที่เกิดขึ้น สืบเนื่องหรือเกิดในประเทศไทย

 ข. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศ คือหน้าที่การงาน กิจการงานหรือทรัพย์สินในต่างประเทศ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ประการ คือผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นและนำเงินได้เข้ามาในประเทศในปีภาษีนั้น

 ค. ถูกทั้งสองข้อ

 ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

 

10. ผู้อยู่ในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร หมายถึงผู้ที่อยู่ในประเทศเป็นระยะเวลานานเท่าใด

 ก. ผู้อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลา ไม่จำกัดระยะเวลา

 ข. ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเวลาหนึ่งหรือ หลายเวลารวมทั้งหมดถึง 3 เดือนขึ้นไป

 ค. ผู้ที่อยู่ในประเทศในเวลาหรือ หลายเวลารวมทั้งหมดถึง 180 วัน

 ง. ไม่มีข้อถูก

 

11. นายจอห์น ชาวต่างชาติ เข้ามาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 และกลับออกไปโดยได้รับเงินจำนวน 50,000 บาท เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2548 นายจอร์น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าใด

 ก. ไม่ต้องเสียภาษี

 ข. เสียภาษี 5% ของรายได้

 ค. หาข้อสรุปไม่ได้

 ง. ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจอห์น

 

12. ข้อใดไม่ใช่เป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา

 ก. บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างไทยกับต่างชาติ

 ข. สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล

 ค. บุคคลสัญชาติอเมริกาที่ปฏิบัติงานในนิติบุคคลตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา และไทยให้ความยินยอม

 ง. บุคคลในธนาคารต่างประเทศที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย

 

 

13. ข้อใด มิใช่เงินได้ที่รับยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดา

 ก. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะที่จ่ายไปโดยสุจริต เนื่องในงานของตน

 ข. เงินปันผลจากกิจการส่งเสริมการลงทุน

 ค. เงินที่ได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือมิได้มุ่งในการค้าหรือหากำไร

 ง. เงินจากการถูกล๊อตตารี่ รางวัลที่ 1

 

14. ข้อใด มิใช่แหล่งเงินได้ในประเทศไทย

 ก. แสดงทำงานต่างประเทศและถูกเงินกลับให้ภรรยา

 ข. ภรรยาของแดง ทำงานเป็นแม่บ้านของบริษัทในประเทศไทย

 ค. แม่ของแดง มีกิจการร้านอาหารในประเทศไทย

 ง. แดงมีทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

 

15. นายหม่ำ เป็นพนักงานบริษัทประเทศไทย ได้เดินทางไปใช้ชีวิตในอังกฤษ บริษัทได้จ่ายเงินเดือนในปีภาษี 2548 โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารหม่ำที่ประเทศอังกฤษ นายบอยต้องชำระภาษีหรือไม่ เพราะอะไร

 ก. ต้องชำระในปี 2548 เพราะเงินได้เกิดจากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย

 ข. ต้องชำระภาษีในปี 2548 เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยคำนวณจากวันที่ทำงานใน ประเทศไทย

 ค. ไม่ต้องชำระภาษีใด ในประเทศ เพราะไปทำงานต่างประเทศ

 ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

 

16. หากนายหม่ำ เป็นคนสัญชาติอังกฤษ แต่เป็นพนักงานบริษัทในประเทศไทย และได้เดินทางไปใช้ชีวิตในอังกฤษ บริษัทได้จ่ายเงินเดือนในปีภาษี 2548 โดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร นายหม่ำที่ประเทศอังกฤษ นายหม่าต้องชำระภาษีหรือไม่ เพราะเหตุใด

 ก. จะเสียภาษีก็ได้หรือไม่เสียก็ได้ ได้รับการยกเว้น

 ข. ต้องชำรพภาษีในปี 2548 เพราะเงินได้เกิดจากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย

 ค. ไม่ต้องชำระภาษีใดๆ ในประเทศ เพราะเป็นชาวต่างประเทศ

 ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

 

 

17. แหล่งเงินได้นอกประเทศไทย จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องชำระภาษี กรณีใดบ้าง

 ก. หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ

 ข. กิจการที่ทำในต่างประเทศ

 ค. ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

 ง. ถูกทุกข้อ

 

18. กรณีเงินได้ที่เกิดจาก หน้าที่งานที่ทำต่างประเทศ กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีต้องมีองค์ประกอบใดด้วย

 ก. เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นรวมกัน 180วัน

 ข. เงินได้เข้าประเทศในปีภาษีนั้น

 ค. ถูกทั้งสองข้อ

 ง. ผิดทั้งสองข้อ

 

19. นายสมบัติ มีกิจการอยู่ในต่างประเทศ แต่อยู่ในประเทศไทย เดือนเว้นเดือน มีระยะเวลาไม่ต่อเนื่องในปี 2548 นำเงินได้เข้ามาในประเทศในปีภาษี 2548 นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี 2548 เป็นเงิน 20 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในประเทศหรือไม่

 ก. ต้องเสียภาษี

 ข. ไม่ต้องเสียภาษี

 ค. ไม่ชัดเจน

 ง. ไม่มีข้อถูก

 

20. นายสมบัติ มีกิจการอยู่ในต่างประเทศ แต่อยู่ในประเทศไทย เดือนเว้นเดือน มีระยะเวลาไม่ต่อเนื่องในปี 2548 นำเงินได้เข้ามาในประเทศในปีภาษี 2549 เป็นเงิน 20 ล้านบาท หากปี พ.ศ. 2549 นายสมบัติกลับเข้ามาประเทศไทย 1 ธันวาคม 2549 – 31 ธันวาคม 2549 จะต้องเสียภาษีหรือไม่ และต้องเสียภาษีในปีภาษีใด

 ก. ต้องเสียภาษีเฉพาะในปีงบประมาณ 2548

 ข. ต้องเสียภาษีเฉพาะในปีงบประมาณ 2549

 ค. ต้องเสียภาษีในปีงบประมาณ 2548 และปีงบประมาณ 2549

 ง. ไม่ต้องเสียภาษี

 

 

21. เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 ที่นำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีกี่ประเภท

 ก. 5 ประเภท

 ข. 6 ประเภท

 ค. 7 ประเภท

 ง. 8 ประเภท

 

22. ข้อใด คือเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) ในส่วนของเงินได้เนื่องจากจ้างแรงงาน

 ก. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จบำนาญ

 ข. เงินค่าเช่าบ้านจากนายจ้าง

 ค. เงินได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านโดยไม่ต้องเช่า

 ง. ถูกทุกข้อ

 

23. เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (2) หมายถึงเงินได้ประเภทใดบ้าง

 ก. ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด

 ข. เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส

 ค. เงิน ทรัพย์ หรือประโยชน์ที่ได้เนื่องจากหน้าที่ ตำแหน่ง หรือรับทำงาน ไม่ว่าจะเป็นประจำหรือชั่วคราว

 ง. ถูกทุกข้อ

 

24. ข้อใด คือความหมายของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(3)

 ก. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น

 ข. เงินปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรม หรือคำพิพากษาของศาล

 ค. ถูกทั้งสองข้อ

 ง. ผิดทั้งสองข้อ

 

25. ข้อใด มิใช่ เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(4)

 ก. ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

 ข. เงินปันผล เงินส่วยแบ่งกำไร

 ค. เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น

 ง. เงินที่นายจ้างชำระหนี้ให้ลูกจ้าง จากหน้าที่หรือตำแหน่งหรือรับทำงานให้

 

 

26. เงินได้พึงประเมินจากการให้เช้าทรัพย์สิน จัดว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตราใด

 ก. มาตรา 40 (1)

 ข. มาตรา 40(3)

 ค. มาตรา 40(5)

 ง. มาตรา 40(7)

 

27. รายได้จากการว่าความของทนายความ เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตราใด

 ก. มาตรา 40 (2)

 ข. มาตรา 40(4)

 ค. มาตรา 40(6)

 ง. มาตรา 40(8)

 

28. การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 หักค่าใช้จ่ายได้ประเภทที่  1 และ 2 หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ เท่าใด และไม่เกินเท่าใด

 ก. ร้อยละ 30 แต่ไม่เกิน 50,000 บ.

 ข. ร้อยละ 30 แต่ไม่เกิน 60,000 บ.

 ค. ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 50,000 บ.

 ง. ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บ.

 

29. การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ประเภทใดที่หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 70

 ก. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์

 ข. เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์

 ค. เงินได้จากการรับเหมา

 ง. เงินได้จากการประกอบโรคศิลป์

 

30. ดารา นักแสดง นักกีฬา นักร้อง หรือผู้ให้ความบันเทิงใดๆ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเท่าใด

 ก. เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราร้อยละ 60

 ข. ส่วนเกิน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราร้อยละ 40

 ค. เงินได้หักค่าใช้จ่ายแล้วรวมกันต้องไม่เกิน 600,00 บาท

 ง. ถูกทุกข้อ


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชี 3 ท้องถิ่น อปท.
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- แนวพรบ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542

- แนวข้อสอบ  พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537  และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

- แนวข้อสอบการเงินและบัญชี

แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน  การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม

- แนวข้อสอบ  ระเบียบว่าด้วยการรับเงิน  การเบิกจ่าย  การฝากเงิน  การเก็บเงิน  และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2547

- แนวข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

- แนวข้อสอบ ระเบียบมหาดไทยว่าด้วยการงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

- แนวข้อสอบการบัญชีเบื้องต้น

- แนวข้อสอบพระราชกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542

- แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบภายในของ อปท.2545


สนใจสั่งซื้อมาที่  080-604-2510 ,080-604-2504  หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์  ชื่อบัญชี สายรุ้ง  สิงห์ศรี ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่   lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
อำภา ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ตอบกลับโพสของ (admin)
1.       ใครเป็นผู้เก็บรักษาลูกกุญแจตู้นิรภัย
1. รองนายก อบต.                   2.  กรรมการเก็บรักษาเงิน       3.  ปลัด อบต.                            4.  หัวหน้าส่วนการคลัง
2.       คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. ฉิ่ง                                       2.  ซอ                                  3.  กลอง                                4.  ระนาด
3.       ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถรับเงินด้วยตนเองได้จะมอบฉันทะให ้ผู้อื่นเป็นผู้รับแทนจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
1. นายก  อบต.                       2.  ปลัด  อบต.                   3.  หัวหน้าหน่วยงานคลัง    4. นายอำเภอ
4.       การกำหนดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณราย จ่ายประจำปี  ต้องพิจารณาในเดือนใด
1. กุมภาพันธ์               2.  มิถุนายน                      3.  สิงหาคม                      4. แล้วแต่สภา  อบต.  กำหนด
5.       ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบกรณีที่ อบต. ทำกิจการนอกเขตสภา อบต. หรือกรณีร่วมกับสภาตำบล อบต.
หรือ อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อทำกิจการร่วมกัน ได้
1.  สภา อบต.                                                       2.  นายก  อบต.  โดยมติสภา                                                                
3.  นายอำเภอ                                                       4.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
6.       การเก็บเอกสารที่ดีที่สุดควรปฏิบัติอย่างไร
1.  เก็บเอกสารที่มีระบบเดียวตลอด                      2.  เก็บเอกสารที่มีอุปกรณ์พร้อม
3.  เก็บเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ                                        4.  เก็บเอกสารให้เป็นอย่างปัจจุบัน
7.       การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1.  5  ปี                                    2.  10 ปี                            3.  15  ปี                            4.  ไม่มีข้อถูก
8.       คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1.  มะขาม                                2.  มะยม                            3.  มะปราง                       4.  มะนาว
9.       ข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง
1.  เลขานุการนายกรัฐมนตรี      2.   เลขานุการคณะรัฐมนตรี              3.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี              4.  ปลัดกระทรวง
10.    คณะกรรมการการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  มีประธานกรรมการคือ
1.  ประธานสภา  อบต.                           2.  ปลัด อบต.                    3.  นายก  อบต.                 4.  ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือก
11.  ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภา อบต. หรือประธานสภา  อบต.  ไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย  บุคคลใดเป็นผู้เรียก
 และเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
1.  ผู้ว่าราชการจังหวัด              2.  นายอำเภอ                   3.  นายก  อบต.                4.  ประธานสภา  อบต.
12.    จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมี
1.  500  คน                             2. 400 คน                         3. 200 คน                       4. 700 คน
13.    การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริการส่วนตำบลข้อใด  ถูกต้อง
1. การเสนอญัตติร่างองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ต่อประธานสภา  อบต.  จะต้องมีสมาชิดสภา อบต. รับรอง
อย่างน้อย  2  คน
2.  การเสนอญัตติร่างองค์การบริหารส่วนตำบลใด ถ้าคณะผู้บริหาร  อบต.เป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง
3.  ถ้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เสนอร่างข้อบังคับตำบ ลเกี่ยวด้วยการเงินต้องให้นายก  อบต.
รับรอง
     4.  ถูกทุกข้อ
14.    ใครมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
1.  นายอำเภอ                                                       2.  ผู้ว่าราชการจังหวัด      
3.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                   4.  อธิบดีกรมการปกครอง
15.    ในกรณีที่สภา อบต.  ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย  ประจำปีของ  อบต.  ให้นายอำเภออนุมัติ  แต่ปรากฏ 
ล่วงเลยมา  20  วัน  แล้วยังไม่มีคำตอบ  จากนายอำเภอ  ข้อบัญญัติดังกล่าวจะมีผลอย่างไร
1. ให้ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างขอบัญญัติดังกล่าว               2. สภา  อบต.  ทวงถามขอส่งร่างข้อบัญญัตินั้นคืนมาให้สภาทบทวน
3. ร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
4. สภา อบต. นำร่างข้อบัญญัตินั้นมาทบทวนถ้ายืนยันตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสีย ง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิก
    สภา  อบต. เท่าที่มอยู่ให้ส่งให้นายก  อบต.  ประกาศใช้ข้อบัญญัตินั้นได้เลย
 
16.    ในเขต  อบต. บุคคลใดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีละเมิดข้อบัญญัติ
1.  ประธานสภา  อบต.            2.  สมาชิกสภา  อบต.             3.  นายก  อบต.                       4.  เลขานุการสภา  อบต. 
17.    ข้อใดเป็นรายได้ที่  อบต.  จัดเก็บเอง
1.       ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีป้าย  อากรฆ่าจ๋าจ๊ะและค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอัน
เกิดจากการฆ่าจ๋าจ๊ะ
2.  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน  ภาษีธุรกิจเฉพาะ
3.  ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน                       4.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
18.    ข้อใดไม่ใช้รายจ่ายประจำ  ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น
1.  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ                      2.  หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3.  หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ               4.  หมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
19.    บุคคลใดเป็นผู้เรียกประชุมสภา  อบต.  ตามสมัยประชุม  และเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
1.  ผู้ว่าราชการจังหวัด              2.  นายอำเภอ                   3.  นายก  อบต.                      4.  ประธานสภา  อบต.
20.  ผู้ใดมีอำนาจในการถอนเงินฝากขององค์การบริหารส่วนตำบล
             1.  นายก อบต.  กับ  ปลัด  อบต.                                2.  นายก อบต. กับ หัวหน้าส่วนการคลัง
             3.  นายก  อบต.  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  กับ  ปลัด อบต.  หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
             4.  นายก  อบต.  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  กับ รองนายก  อบต.  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
21.  หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ   มีกี่ชนิด
             1.  1  ชนิด                         2.  2  ชนิด                         3.  3  ชนิด                         4.  4 ชนิด
22.  ข้อใดมิได้เป็นเงินรายได้ของ  อบต.
             1.  เงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้                                     2.  รายได้จากทรัพย์สินของ  อบต.
             3.  เงินค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้มาพักโรงแรม                4.  เงินค่าบริการน้ำประปาแก่ประชาชน
23.  การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป  คือ 
             1.  ให้เก็บโดยมิดชิด  ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในการขนย้าย
             2.  เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ
             3.  ให้ประทับตราคำว่า “ห้ามทำลาย” ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น
             4.  เก็บให้เป็นระเบียบ  แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน
24.       ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ  อบต.  เมื่อสภา  อบต. เห็นชอบแล้วต้องเสนอบุคคลใดเป็นผู้อนุมัติก่อน  อบต. 
นำไปประกาศใช้
             1.  ผู้ว่าราชการจังหวัด       2.  นายอำเภอ                   3.  นายก  อบต.                 4.  ประธานสภา  อบต.
25.  บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหา รส่วนตำบล  พ.ศ.  2537
             1.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                           2.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย
             3.  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                                 4.  นายกรัฐมนตรี
26.  การจ่ายเงินในข้อใดต่อไปนี้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงิ นโดยไม่ต้องทำบันทึกแจ้งเหตุผล
             1.  การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเงินไม่ถึงสิบบาท
             2.  การจ่ายเงินค่ารถ  หรือเรือนั่งรับจ้าง
             3.  การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ  รถยนต์ประจำทางหรือเรือยนต์ประจำทาง
             4.  ถูกทุกข้อ
27.  แผนปฏิบัติการให้จัดทำแล้วเสร็จภายในเดือนใดของปีงบประมาณนั้น
             1.  มิถุนายน                      2.  ตุลาคม                         3.  สิงหาคม                      4.  ธันวาคม
28.  การจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาสามปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนใดก่อนงบป ระมาณประจำปี
             1.  มิถุนายน                      2.  ตุลาคม                         3.  สิงหาคม                      4.  ธันวาคม
29.  ข้อไดมิได้เป็นรายได้ของ อบต.
             1.  เงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้                                         2.  รายได้จากทรัพย์สินของ  อบต.
             3.  เงินค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้มาพักโรงแรม               4.  เงินค่าปริการน้ำประปาแก่ประชาชน
30.  การยกฐานะ  อบต.  เป็นเทศบาลต้องตราเป็นกฎหมายใด
             1.  พระราชกฤษฎีกา         2.  พระราชบัญญัติ              3.  ระเบียบกระทรวงมหาดไทย        4.  ประกาศกระทรวงมหาดไทย
 
31.  คณะรัฐมนตรีตามธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่คน
             1.  34                                2.  35                                3.  36                                4.  40
32.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถามในการประชุมสภา  อบต.
             1.  กระทู้ถามไม่มีการอภิปรายและไม่มีการลงมติ
             2.  ห้ามไม่ให้สมาชิกสภา  อบต.  ตั้งกระทู้ถามกันเอง
             3.  คณะผู้บริหารจะต้องตอบกระทู้กระทู้ถามนั้นทุกครั้ง
             4.  กระทู้ถามต้องทำเป็นหนังสือเสนอล่วงหน้าต่อประธานสภา  อบต.
33.       ในกรณีตำแหน่งประธานสภา  อบต.  ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกครบวาระให้เลือกตั้งประธาน สภา
อบต.  ขึ้นแทนภายในกี่วัน  นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
             1.  15  วัน                         2.  30  วัน                         3.  45  วัน                         4.  60  วัน
34.  การบริหารงานในรูปแบบ  อบต.  นายก อบต.  อาจแต่งตั้งรองนายก  อบต.  ได้ไม่เกินกี่คน
             1.  1  คน                            2.  2  คน                            3.  3  คน                            4.  4  คน
35.  การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป  คือ
             1.  ให้เก็บโดยมิดชิด  ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในหารขนย้าย
             2.  เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ
             3.  ให้ประทับตราคำว่า  “ห้ามทำลาย” ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น
             4.  เก็บให้เป็นระเบียบ  แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน
36.       นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว  เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่  อบต.  บุคคลใดสามารถทำคำร้องขอ
ให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญได้
             1.  ประธานสภา  อบต.                                               2.  นายก  อบต.
             3.  สมาชิกสภา  อบต.  จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา  อบต.  เท่าที่มีอยู่     4.  ถูกทุกข้อ
37.  ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน   ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น
             1.  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ                             2.  หมวดค่าจ้างชั่วคราว
             3.  หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ                     4.  หมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
38.  การกำหนดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณราย จ่ายประจำปี  ต้องพิจารณาในเดือนใด
             1.  กุมภาพันธ์                    2.  มิถุนายน                      3.  สิงหาคม                      4.  แล้วแต่สภา  อบต. กำหนด
39.  หนังสือที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป  เช่น
             1.  เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน   2.  เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ  3.  เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์      4.  ถูกทุกข้อ
40.  คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา  ใช้คำขึ้นต้นว่าอย่างไร
             1.  เรียน                            2.  ขอประทานเสนอ          3.  ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล       4.  ถึง
41.  คำตอบในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
             1.  น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า       2.  ลิ้นกับฟัน                     3.  ขิงก็ราข่าก็แรง                            4.  เกลือจิ้มเกลือ
42.  บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราย โดยทั่วไป  เรียกว่าอะไร
             1.  เมื่อพนักงานส่วนตำบลเป็นหนี้                                2.  มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว
             3.  ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ  ข้อบังคับหรือคำสั่งที่ได้กำหนดไว้สำหรับ
     เรื่องนั้น 
             4.  ข้อ ข และ ค ถูก
43.  บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทร ายโดยทั่วไป  เรียกว่าอะไร
             1.  แถลงการณ์                   2.  ประกาศ                       3.  คำสั่ง                            4.  ข่าว
44.  หนังสือราชการมีกี่ชนิด
             1.  3  ชนิด                         2.  4  ชนิด                         3.  5  ชนิด                         4.  6  ชนิด
45.  การเบิกตัดปีจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขใด
1.       เป็นรายจ่ายงบกลาง  หมวดค่าตอบแทน  ใช้สอยและวัสดุเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวกับการบำรุงดูแลรักษาที่ดิ น
และสิ่งก่อสร้างและหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
             2.  ต้องทำสัญญากันไว้เรียบร้อยแล้วและมีกำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญาน ั้นไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
             3.  ให้วางฎีกาเบิกตัดปี  ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดก่อนวันสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน                           4.  ถูกทุกข้อ
 
46.  การจดบันทึก  หรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
             1. 1 วิธี                              2.  2  วิธี                          3.  3  วิธี                                          4.  4 วิธี
47.  ในปีหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีสมัยประชุมสามัญไม่เกินกี่ส มัย
1.  2  สมัย                         2.  3 สมัย                           3. 4 สมัย                            4.  5  สมัย
48.  ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้สมาชิดสภาอบต. ซึ่งได้รับการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าขา ดคุณ
      สมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย  หรือมิได้ประจำในหมู่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันเ กิน  6 
      เดือน  หรือขาดประชุมสภา  อบต.  ติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
             1.  ประธานสภา  อบต.      2.   นายก  อบต.  โดยมติสภา         3.  นายอำเภอ     4.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
49.  การบริหารงานในรูปแบบ  อบต.  นายก  อบต.  อาจแต่งตั้งรองนายก  อบต.  ได้ไม่เกินกี่คน
             1.  1  คน                            2.  2  คน                           3.  3  คน                            4.  4 คน
50.  ซองที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณมีกี่ขนาด
             1.  4  ขนาด                      2.  5  ขนาด                      3.  6  ขนาด                      4. 7  ขนาด
51.  การจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาสามปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนใดก่อนงบป ระมาณประจำปี
             1.  มิถุนายน                      2.  ตุลาคม                         3.  สิงหาคม                     4.  ธันวาคม
52.  ผู้มีอำนาจขยายเวลาจัดทำแผลพัฒนาสามปี  คือผู้ใด
             1.  นายอำเภอ                   2.  ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก      3.  สภาท้องถิ่น     4.  ผู้ว่าราชการจังหวัด     
53.  คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีประธานกรรมการคือ
             1.  นายอำเภอ                                                             2.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
             3.  ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก                                   4.  หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับแต่งตั้ง
54.  ข้อใดคือคำย่อของกระทรวงมหาดไทย
             1.  มห.                               2.  มท.                               3.  มหท.                                         4.  มด.
55.  “หนังสือภายใน” หมายถึง
             1.  หนังสือที่ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน                     2.  หนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
             3.  หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน                 4.  ถูกทุกข้อ
56.       สมาชิกสภา  อบต.  จำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่  มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิด
อภิปรายทั่วไปในการประชุมสภา  อบต.  เพื่อให้นายก  อบต.  แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร  อบต.  โดยไม่มีการลงมติ
             1.  หนึ่งในสอง                   2.  หนึ่งในสาม                   3.  สามในสี่                       4.  สองในสาม
57.  ในเขต  อบต.  บุคคลใดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีละเมิดข้อบัญญัติ
             1.  ประธานสภา  อบต.      2.  สมาชิกสภา  อบต.       3.  นายก  อบต.                 4.  เลขานุการสภา  อบต.
58.  คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา  ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
             1.  เรียน                             2.  ขอประทานเสนอ          3.  ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล       4.  ถึง
59.       พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2546  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ
ใด  และมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
             1.  2  กุมภาพันธ์  2546  มีผลบังคับใช้  2  พฤษภาคม  2546
             2.  22  กุมภาพันธ์ 2546  มีผลบังคับใช้  22  กุมภาพันธ์  2546
             3.  2  ธันวาคม  2546  มีผลบังคับใช้  3  ธันวาคม  2546
             4.  22  ธันวาคม  2546  มีผลบังคับใช้  23  ธันวาคน  2546
60. “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององ ค์กรปก
      ครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ไม่ได้หมายถึงข้อใด
             1.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล
             2.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  เมืองพัทยา
             3.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล  องคุการบริหารส่วนตำบล  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มี
    กฎหมายจัดตั้ง
             4.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  เมืองพัทยา  กรุงเทพ
อำภา ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
มีเฉลยหรือปล่าวคะ
utumpon_ni ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ไม่มีเฉลยให้หรอค่ะ
pichsee ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณ
poo ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ II
รายละเอียดผู้ใช้ 
อยากได้แนวข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีจ้า
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
0000000000
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้