ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวข้อสอบความหมายและลักษณะของการพัฒนาชุมชน
1.    การพัฒนาชุมชน  ถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่ประเทศใด
ก.  สหรัฐอเมริกา    ข. อังกฤษ
ค.  ฝรั่งเศส    ง.  สวีเดน
คำตอบ   ข. การพัฒนาชุมชน  มีที่มาจากคำว่า “การศึกษามวลชน” (Mass Education) โดยถูกนำ มาใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
2.    การพัฒนาชุมชน มีทรัพยากรที่สำคัญสุด คือ
ก.  คนในสังคม    ข.  นายกรัฐมนตรี
ค.  กำนัน    ง.  ผู้ใหญ่บ้าน
คำตอบ  ก.  ปรัชญาในการพัฒนาชุมชนเชื่อมั่นในความสามารถของคน  การดำรงอยู่หรือล่มสลายของสังคม  การพัฒนาหรือเสี่ยมถอยของสังคม  ขึ้นอยู่กับคนในสังคมเป็นสำคัญ
3.    ใครเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชน
ก.  นายอำเภอ    ข.  ปลัดอำเภอ
ค.  กำนันผู้ใหญ่บ้าน    ง.  คนในชุมชน
คำตอบ  ง.  การพัฒนาชุมชนต้องใช้คนในสังคมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา คือพัฒนาให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและชุมชนให้มีมาตรฐานในการดำรงชีพ  มีคุณภาพที่ดี มีความพร้อมที่จะพัฒนาชุมชนของตนเอง
4.    การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาคิด  ร่วมปฏิบัติ และรับผิดชอบในทุกขั้นตอนเป็นแนวคิดความเรื่องใดในการพัฒนาชุมชน
ก.  การมีส่วนร่วมของประชาชน    ข.  การใช้ทรัพยากรในชุมชน
ค.  การร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน    ง.  การริเริ่มของประชาชนในชุมชน
คำตอบ  ก.  แนวความคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาคิด ร่วมปฏิบัติ และรับผิดชอบในทุกขั้นตอน เป็นแนวคิดความคิดในการพัฒนาชุมชน
5.    แนวคิดของการพัฒนาชุมชนข้อใด ที่นำไปสู่การพัฒนาคนโดยการให้การศึกษา
ก.  ความต้องการของชุมชน    ข.  การช่วยเหลือตนเอง
ค.  การศึกษาภาคชีวิต    ง.  การริเริ่มของประชาชน
คำตอบ  ค.  การศึกษาภาคชีวิต  (Life-Long Education) เป็นงานพัฒนาชุมชนซึ่งถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน  การให้การศึกษาต้องให้อย่างต่อเนื่องกันไป  ตราบเท่าที่ยังดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
6.    การพัฒนาชุมชนที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยประชาชนในชุมชนจะมีลักษณะอย่างไร
ก.  มีสิทธิและเสรีภาพ    ข.  มีอิสรภาพ
ค.  ความเสมอภาค    ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การพัฒนาชุมชน ต้องมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย เป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพแก่คนในชุมชน ตามระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนเป็นผู้กำหนดวิถีดำรงชีวิตของตนและชุมชนด้วยตนเอง
7.    ข้อใด มิใช่ แนวความคิดของกรมพัฒนาชุมชน
ก.  มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นคน
ข.  มนุษย์ทุกคนมีความสามารถหรือศักยภาพ
ค.  ความสามารถของมนุษย์ทุกคนพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส
ง.  มนุษย์ทุกคนต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐ จึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
คำตอบ  ง.  กรมพัฒนาชุมชน มีความเชื่อเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชนว่า
1.  มนุษย์ทุกคนมีเกรียติและศักดิ์ศรีของความเป็นคน
2.  มนุษย์ทุกคนมีความสามารถหรือศักยภาพ
3.  ความสามารถของมนุษย์ทุกคนพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส
8.    การพัฒนาชุมชนในเรื่องความร่วมมือระหว่างประชาชนกับรัฐบาล  เป็นการนำเอาเรื่องใดมาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชนให้ดีขึ้น
ก.  บริการของรัฐกับความต้องการของประชาชน
ข.  นโยบายระหว่างประเทศกับนโยบายของรัฐ
ค.  นโยบายทางเศรษฐกิจกับความต้องการของประชาชน
ง.  นโยบายสาธารณะกับความต้องการของปัจเจกชน
คำตอบ  ก.  การพัฒนาชุมชน เป็นการร่วมมือกันระหว่างประชาชนกับรัฐบาลเป็นวิถีที่นำเอาบริการของรัฐบาลกับความต้องการของประชาชนมาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
9.    ข้อใด มิใช่ พื้นฐานสำคัญของการที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพัฒนาต่อไป
ก.  การทำให้คนมีคุณภาพ    ข.  การทำให้คนมีคุณธรรม
ค.  การทำให้คนมีความสุข    ง.  การทำให้คนมีความมั่งคั่ง
คำตอบ  ง.  การทำให้คนมีคุณธรรม คุณภาพ และมีความสุข เป็นพื้นฐานสำคัญของการที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพัฒนาในลำดับต่อไป
10.    การที่สมาชิกสำนึกในตนเองว่าเป็นเจ้าของชุมชน มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมรับผิดชอบปัญหาต่างๆร่วมกับคนอื่น  อย่างเท่าเทียมกันและมีมิตรภาพเป็นสามัญสำนึกในเรื่องใด
ก.  การมีจิตสำนึกชุมชน    ข.  การมีจิตวิญญาณชุมชน
ค.  การจัดการชุมชนที่ดี    ง.  การมีภาวะผู้นำชุมชน
คำตอบ  ก.  การมีจิตสำนึกชุมชน เป็นการสำนึกว่าตนเองเป็นเจ้าของชุมชน  มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมรับผิดชอบปัญหาต่างๆร่วมกับคนอื่น มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาชุมชน
11.    การที่สมาชิกมีความจงรักภักดีต่อชุมชน  เสียสละ และหวงแหนชุมชน เป็นสามัญสำนึกในเรื่องใด
ก.  การมีจิตสำนึกชุมชน    ข.  การมีจิตวิญญาณชุมชน
ค.  การจัดการชุมชนที่ดี    ง.  การมีภาวะผู้นำชุมชน
คำตอบ  ข.  การมีจิตวิญญาณชุมชน  เป็นการที่สมาชิกมีความจงรักภักดีต่อชุมชน เสียสละทำงานเพื่อชุมชน หวงแหนชุมชน  และมีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน
12.    ข้อใดมิใช่องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชน
ก.  คนในชุมชน    ข.  สิ่งแวดล้อมในชุมชน
ค.  นักพัฒนาชุมชน    ง.  เทคโนโลยี
คำตอบ  ง.  การพัฒนาชุมชนนั้น  มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ  คนในชุมชน  สิ่งแวดล้อมในชุมชน  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  กลวิธีในการพัฒนา  กระบวนการพัฒนา  การสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐ  การบริหารและการจัดการ  นักพัฒนาชุมชน  การประสานงานและผลงานที่เกิดขึ้น
13.    ข้อใดมิใช่เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาชุมชน
ก.  การทำให้คนมีคุณภาพ    ข.  การทำให้คนมีความมั่งคั่ง
ค.  การทำให้คนมีคุณธรรม    ง.  การทำให้คนมีความสุข
คำตอบ  ข.  เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาชุมชนนั้น  ถ้าหากทำให้คนมีคุณภาพ  มีคุณธรรมและมีความสุขแล้ว  ชุมชนเข้มแข็ง  ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาชุมชน  และสามารถที่จะทำให้คนมีความพร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาในด้านอื่นๆได้

แนวข้อสอบหลักการและวิธีการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
14.    การพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ  หมายถึงข้อใด
ก.  การจัดการเรื่องใดหรือกิจกรรมใดให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว
ข.  การดำเนินงานการวางแผนโครงการโดยเร็ว
ค.  การพัฒนาโดยดำเนินการพร้อมกันไปในหลายๆด้าน
ง.  การดำเนินการโดยได้รับการพัฒนาจากภาครัฐทุกด้าน
คำตอบ  ค.  การพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ เป็นการดำเนินการพัฒนาชุมชนในทุกๆด้านไปพร้อมกันโดยไม่มุ่งเรื่องหนึ่งเพราะชุมชนมีหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกันไป
15.    ข้อใดมิใช่พื้นฐานของการพัฒนา
ก.  การสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐ    ข.  ขนบธรรมเนียมประเพณี
ค.  ทรัพยากรธรรมชาติ    ง.  ทรัพยากรในชุมชน
คำตอบ  ก.  การสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือภาคเอกชน  ไม่ใช่ความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนา เพราะทำได้แต่เฉพาะในสิ่งที่จำเป็นหรือเกินขีดความสามารถของชุมชนเท่านั้น
16.    กระบวนการที่ประชาชนได้เข้าร่วมกันในการพัฒนาชุมชนทุกขั้นตอน  เป็นหลักการพัฒนาชุมชนในเรื่องใด
ก.  การมีส่วนร่วมของประชาชน
ข.  การพึ่งพาตนเองของชุมชน
ค.  การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ง.  การประสานงาน
คำตอบ   ก.  หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน  เป็นกระบวนการที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทุกด้าน  คือ  ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมงานแผน  แก้ไขปัญหา รับผิดชอบอย่างแท้จริงและสมัครใจ ไม่ใช่เพราะความเกรงใจหรือถูกบังคับ
17.    จุดมุ่งหมายสูงสุดของหลักการและวิธีการพัฒนาชุมชนคือข้อใด
ก.  ความมั่งมีของประชาชนในชุมชน    ข.  การพึ่งตนเองของประชาชนในชุมชน
ค.  การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ    ง.  การดำรงตนอย่างมีความสุขในชุมชน
คำตอบ  ข.  หลักการพึ่งตนเองของชุมชน เป็นหลักการที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ  การพึ่งตนเองของประชาชนในชุมชน  ตามศักยภาพหรือกำลังความสามารถที่มีในชุมชน


18.    สังคมหรือชุมชน  จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจะต้องมีการค้นหาสิ่งใดก่อน
ก.  ปัญหาและอุปสรรค    ข.  ผู้นำ
ค.  การกำหนดนโยบาย    ง.  การวางแผน
คำตอบ  ก.  สังคมหรือชุมชนจะต้องทราบปัญหาภายในของตนก่อนแล้วจึงดิ้นรนหาลู่ทางพัฒนาหรือแก้ไขให้หมดสิ้นไป
19.    ตามหลักการพึ่งพาตนเองของสังคม ชุมชนจะขอการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจากภายนอกเมื่อใด
ก.  เมื่อกิจกรรมหรือการแก้ไขนั้นเกิดขีดความสามารถของชุมชน
ข.  เมื่อต้องการให้ภายนอกเข้ามาแก้ไขปัญหาชุมชนให้
ค.  เมื่อมีความต้องการให้งานที่กำลังทำอยู่นั้นสำเร็จไปโดยเร็ว
ง.  เมื่อชุมชนไม่สามารถแก้ไขปัญหาปัญหาได้แล้ว
คำตอบ  ก.  จากปรัชญาความเชื่อในเรื่องศักยภาพและพลังชุมชน  การพัฒนาชุมชนเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถให้ชุมชนในการพัฒนาตนเอง  การขอความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชนต้องเป็นเรื่องกิจกรรมหรือการแก้ไขนั้นเกินขีดความสามารถของชุมชน
20.    การกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการพัฒนาชุมชน  จะต้องสอดคล้องกับเรื่องใด
ก.  แนวพื้นฐานนโยบายของรัฐบาล
ข.  ความต้องการของประชาชนในชุมชน
ค.  ความเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของชุมชน
ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.   การพัฒนาชุมชนเป็นวิธี (Mothod) ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  จึงต้องกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการพัฒนาชุมชนให้ชัดเจนและสอดคล้องกับแนวพื้นฐานนโยบายของรัฐบาล  ความต้องการของประชาชนในชุมชน  ความเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของชุมชน
21.    การพัฒนาชุมชนโดยการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจะใช้วิธีใด
ก.  หลักการมีสิ่งตอบแทน    ข.  หลักการแรงจูงใจ
ค.  หลักการความเชื่อค่านิยม    ง.  หลักการบังคับ
คำตอบ  ข.  การพัฒนาชุมชน จะต้องใช้แรงจูงใจกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

22.    กลวิธีหรือการพัฒนาข้อใดไม่ถูกต้อง
ก.  การให้การศึกษาอบรม    ข.  การจัดระเบียบชุมชน
ค.  การสร้างผู้นำ    ง.  การพัฒนารายบุคคล
คำตอบ ง.  กลวิธีหรือวิธีการพัฒนาชุมชนมีหลายวิธี อาทิ การให้การศึกษาอบรม  การจัดระเบียบชุมชน  การสร้างผู้นำ การสร้างกลุ่มและองค์การ  การวางแผนและโครงการการผสานงาน เป็นต้น
23.    ข้อใดแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน
ก.  สหกรณ์ชุมชน    ข.  กลุ่มเครื่องทอจัดสาน
ค.  กิจกรรมชุมชน    ง.   ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนจะแสดงออกในรูปแบบของกลุ่มทางกิจกรรมต่างๆ สหกรณ์ชุมชน กลุ่มพัฒนาการเกษตร   ฯลฯ
24.    ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบทางสังคม
ก.  บุคลากรในชุมชน    ข.  ทรัพยากรต่างๆ
ค.  สิ่งแวดล้อมชุมชน    ง.  งบประมาณ
คำตอบ  ง.  ชุมชนจะประกอบไปด้วยบุคลากรในชุมชน ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน แต่ละที่  และเจตนาร่วมกันที่จะพัฒนาชุมชน
25.    ข้อใดไม่ใช่ปรัชญาหรือแนวคิดของการพัฒนาชุมชน
ก.  การจัดหางานให้ชุมชน    ข.  การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
ค.  การร่วมมือร่วมใจของชุมชน    ง.  การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
คำตอบ ก.  ปรัชญาหรือแนวคิดของพัฒนาชุมชนมีหลายประการ  อาทิ  การพัฒนาคนในชุมชน  ความร่วมมือของประชาชน  การสนับสนุนจากรัฐ  เป็นต้น
26.    หลักในการในการศึกษาชุมชนไม่ควรยึดหลักการใด
ก.  การศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ข.  ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ค.  ใช้งบประมาณในการศึกษาอย่างจำกัด
ง.  นำไปใช้พัฒนาชุมชนให้ได้มากที่สุด
คำตอบ ค.  การศึกษาชุมชน เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรค แล้วนำไปพัฒนาชุมชนต่อไป  ดังนั้นการศึกษาชุมชนจึงควร ศึกษาอย่างต่อเนื่อง  ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  และนำไปใช้พัฒนาชุมชนให้ได้มากที่สุด

27.      การพัฒนาสังคม  คือความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคมและมุ่งขจัดเรื่องใด
ก.  ปัญหาความยากจน    ข.  ปัญหาเศรษฐกิจ
ค.  ความขัดแย้งของและความเหลื่อมล้ำ    ง.  ความด้อยโอกาสทางการศึกษา
คำตอบ  ค.  การพัฒนาชุมชน คือความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคมและมุ่งขจัดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่เห็นได้ชัดในหมู่มวลชน  ซึ่งเป็นเรื่องที่อารยะธรรมทางสังคมพึงยึดมั่น
28.    การพัฒนาสังคม  เป็นการพัฒนาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานใด
ก.  พื้นฐานของการเป็นนักพัฒนา    ข.  พื้นฐานของความต้องการชุมชน
ค.  พื้นฐานของความพอเพียง    ง.  พื้นฐานของผลประโยชน์
คำตอบ  ข.  การพัฒนาสังคมให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิดตัดสินใจบนพื้นฐานของความต้องการชุมชนเอง  เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่าสังคมเป็นของประชาชนและช่วยกันดูแลรักษา
29.    ในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน  นักพัฒนาชุมชนจะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนา
ก.  เป็นผู้ดำเนินการพัฒนา    ข.  เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ
ค.  เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน    ง.  ข้อ ข. และ ข้อ ค. ถูก
คำตอบ  ง.  ในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนตามแผนและโครงการนั้น  รัฐและนักพัฒนาชุมชนจะมีบทบาท คือ เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ  เช่น  การให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานหรือเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
30.    การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถแสดงออกได้ด้วยวิธีใด
ก.  การคิดวิธีที่จะพัฒนาชุมชน    ข.  การวางแผนพัฒนาชุมชน
ค.  การดำเนินงานพัฒนาชุมชน    ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน  เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอนของการดำเนินการพัฒนา


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน อปท. อบต.อบจ. เทศบาล ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ

- แนวข้อสอบ พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม

- แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

- แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล

- แนวข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

- แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

- แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

- สรุป พรบ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ พ.ศ. 2542

- แนวข้อสอบพระราชกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542

- แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550

- แนวข้อสอบ พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545

- ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547

- รวมข้อสอบเก่านักพัฒนาชุมชน 500 ข้อ


สนใจสั่งซื้อมาที่  080-604-2510 ,080-604-2504  หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์  ชื่อบัญชี สายรุ้ง  สิงห์ศรี ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่   lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.    ถ้าดำเนินการก่อสร้างถนนดินลูกรังขนาด 6.00×100×0.15 ม. จะต้องใช้ดินลูกรังประมาณ
      (1)  90 ม.3                                                                              (2)  100 ม.3
        (3)  90 ฟ.3                                                                              (4)  0.90 ม.3
        (5)  0.90 ฟ.3
2.    ในปัจจุบันขณะนี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็น
        (1)  ปีคุณภาพชีวิต                                      (2)  ปีแห่งการท่องเที่ยว
        (3)  ปีมังกรทอง                                          (4)  ปีทองของการบริการประชาชน
        (5)  ปีเศรษฐกิจไทย  
3.    เทศบาลเมือง ได้แก่
        (1)  ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด            (2) ท้องถิ่นชุมชนราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
      (3)  มีราษฎรเฉลี่ยหนาแน่นไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร
        (4)  ข้อ 1 และ 2                                                          (5)  ข้อ 1, 2 และ 3
4.    กสนพัฒนาตามอุดมการณ์แผ่นดินทอง หมายความถึง
        (1)  การพัฒนาสมบูรณ์พร้อมด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ
      (2)  การพัฒนาด้านเทคโนโลยี                                (3)  การพัฒนาชุดค้นแหล่งทรัพยากร
        (4)  การพัฒนาทำอุตสาหกรรมแร่ทองคำ
        (5)  การพัฒนาการท่องเที่ยว
5.    ข้อใดเป็นลักษณะของชุมชนเมือง
        (1)  ยึดถือจารีตประเพณี                                            (2)  ความหนาแน่นของประชากรสูง
        (3)  ขาดสาธารณูปโภค                                              (4)  ฐานะทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน
        (5)  อาศัยพึ่งพากัน
6.    ข้อใดที่ไม่ใช่หลักการพัฒนาชุมชน
        ก.  ยึดถือประชาชนเป็นหลัก                                   (2)  ยึดหลักในการปกครองตนเอง
        (3)  ยึดหลักตัวใครตัวมัน                                           (4)  ยึดหลักประชาธิปไตย
        (5)  ยึดทรัพยากรชาวบ้านเป็นหลัก
7.    ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาชุมชนนั้น คำย่อที่เรียกว่า กรอ. นั้นหมายถึง
        (1)  คณะกรรมการรัฐบาลและองค์การ                
        (2)  คณะกรรมการราชการและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
        (3)  คณะกรรมการรัฐมนตรีและองค์การเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนา
        (4)  คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
        (5)  คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและองค์กรรัฐวิสาหกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
8.    การวางแผนที่ดีเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จ หลักสำคัญในการวางแผนได้แก่
        (1)    กำหนดปัญหาและตั้งเป้าหมาย                     (2)  ศึกษาข้อเท็จจริง
        (3)  วางแผนแก้ไขปัญหา                                        
        (4)  ปฏิบัติตามแผนและประเมินผลเพื่อทราบผลการดำเนินงาน
        (5)  ถูกทุกข้อ
9.    โครงการพัฒนาชุมชนต่างประเทศที่ได้รับความสนใจและเห็นว่าปีนี้เป็นตัวแบบที่ดี คือ โครงการ Saemual Uadong ของประเทศเกาหลีมีวิธีการพัฒนาแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
        (1)  ปรับปรุงจิตใจ พัฒนาสังคม และพัฒนาเศรษฐกิจ      
        (2)  ปรับปรุงการเกษตร พัฒนาบุคคล และพัฒนาองค์การ
        (3)  ปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงบุคคล ปรับปรุงการจัดการ
        (4)  พัฒนาการบริหารจัดการ พัฒนาการวางแผน พัฒนาการปกครอง
        (5)  พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาการเมือง และการทหาร
10.  บทบาทของคณะกรรมการชุมชนย่อยเพื่อการพัฒนาเทศบาล ได้แก่
        (1)  กำหนดนโยบายและแผนดำเนินการ              (2)  ติดตามและประเมินผลการการดำเนินงาน
        (3)  ประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง             (4)  แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
      (5)  ข้อ 1 และ 2 ถูก
11.  ที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุมชนย่อยในเขตเทศบาล คือใคร
        (1)  รองปลัดเทศบาล                                                 (2)  หัวหน้าฝ่าย/กองสาธารณสุข
        (3)  เทศมนตรีที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุข          (4)  พนักงานเทศบาลคนหนึ่งที่ถูกแต่งตั้ง
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
12.  การดำเนินการพัฒนาชุมชนในประเทศไทยนั้นทำในรูปแบบของ
        (1)  การกระจายอำนาจส่วนกลางไปยังภูมิภาค  
        (2)  การพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ โดยพัฒนากรทำหน้าที่นักพัฒนาแบบเอนกประสงค์
        (3)  การพัฒนาเกษตรกรรมแผนใหม่ โดยมุ่งพัฒนากรทำหน้าที่นักวิชาการเฉพาะอย่าง
        (4)  การประสานงานระหว่างหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับหมู่บ้าน
        (5)  ถูกทุกข้อ
13.  การดำเนินงานพัฒนาชุมชนมุ่งทำงานกับกลุ่มคนเพราะ
        (1)  ทำงานกับกลุ่มที่ง่ายกว่า                                    (2)  ไม่ต้องเสียเวลาทำงานกับรายบุคคลหลายครั้ง
        (3)  ในชุมชนมีกลุ่มต่าง ๆ ถาวรอยู่แล้ว                (4)  กลุ่มสามารถเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีของราษฎรได้
        (5)  ถูกทุกข้อ
14.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 มุ่งเน้น
        (1)  ความเป็นอยู่ของประชาชน                              (2)  โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (วัตถุ)
        (3)  วางแผนระยะยาวในการพัฒนาประเทศ        (4)  วางแผนงบประมาณ
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
15.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5-6 มุ่งเน้น
        (1)  การพัฒนาจิตใจ                                                   (2)  การส่งออก
        (3)  ทางคมนาคม                                                        (4)  การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
16.  ปัจจัยทางสังคมตามทัศนะของ Lionberger ว่าประกอบด้วย
        (1)  เพื่อนบ้าน ชุมชน ครอบครัว กลุ่มอ้างอิงและกลุ่มทางการ
        (2)  ค่านิยม ทัศนคติ                                                   (3)  อายุ การศึกษา ลักษณะทางจิตวิทยา
        (4)  รายได้ เกียรติยศ                                                  (5)  ถูกทุกข้อ
17.  ชุมชนแออัด (Slum) ในเขตเทศบาลนับว่าจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะคนในเขตชนบทอพยพเข้ามาทำมาหากินในเมืองมากขึ้น การจะปรับปรุงชุมชนแออัดในเขตเทศบาลให้ได้ประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่สุดต้องทำเป็นอันดับแรก คือ
        (1)  การไปเยี่ยมบุคคล                                               (2)  การไปให้บริการสาธารณสุข
        (3)  จัดหาสาธารณูปโภคให้                                     (4)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5
        (5)  ถูกทุกข้อ
18.  บทบาทของเทศบาลเกี่ยวกับชุมชนแออัด (Slum) ปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเทศบาลตามอะไร
        (1)  พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496                              (2)  นโยบายของคณะเทศมนตรี
        (3)  ประชาชนในเขตชุมชนแออัด                         (4)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5
        (5)  ถูกทุกข้อ
19.  สภาพปัญหาชุมชนในเขตเทศบาล คือ
        (1)  ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในชนบท                    (2)  ประชาชนย้ายออกจากชนบทเข้ามาในเมืองเพิ่มขึ้น
        (3)  ทำให้ประชาชนที่อาศัยในเขตเมืองได้รับบริการขั้นพื้นฐานมาก
        (4)  ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัยโดยมาจากหลายสาเหตุ      
        (5)  ประชาชนได้รับบริการจากสาธารณสุขไม่เพียงพอ
20.  สันนิบาตแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) มีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง
        (1)  ให้ความรู้แก่นักพัฒนาชุมชน โดยการอบรมสัมนา
        (2)  ร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อพัฒนาชุมชน     (3)  ส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ
        (4)                  แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนย่อย                     (5)  ไม่มีข้อใดถูก              
21.  แนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ที่เป็นบทบาทของเทศบาล คือ
        (1)  วิธีป้องกันภัย                                                       (2)  วิธีรื้อถอนทำลาย
        (3)  วิธีบูรณฟื้นฟู                                                        (4)  ข้อ 1 และ 3 ถูก
22.  การจัดทำแผนเป็นเรื่องสำคัญของการพัฒนาชุมชน อยากทราบว่าขั้นตอนการจัดทำแผนมีกี่ขั้นตอน
        (1)  7 ขั้นตอน                                                             (2)  8 ขั้นตอน
        (3)  9 ขั้นตอน                                                             (4)  10 ขั้นตอน
        (5)  ไม่มีข้อถูก
23.  ปัญหาขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเป็นปัญหาใหม่ปัจจุบัน หากท่านสอบเป็นนักพัฒนาชุมชนได้ท่านคิดว่าวิธีกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสมที่สุดของเทศบาลควรใช้แบบใด
        (1)  จัดทำลายโดยใช้เตาเผา                                      (2)  จัดทำโดยฝังกลบ
        (3)  จัดทำลายโดยใช้ไฟเผาวันต่อวัน                      (4)  นำไปทิ้งทะเล
        (5)  ถูกทุกข้อ
24.  ปี 2525 เทศบาลได้จัดตั้งชุมชนตามโครงการสาธารณสุขพื้นฐานในเขตเมือง ซึ่งชุมชนดังกล่าวก็ได้แก้ปัญหาของเมืองได้พอควร ต่อมาชุมชนนั้น ๆ ได้วิวัฒนาการขึ้น จนปัจจุบันเราเรียกชุมชนนั้นว่าอะไร
        (1)  ชุมชนย่อยในเขตเทศบาล                                 (2)  หมู่บ้าน อสม.
        (3)  คณะกรรมการซอย                                             (4)  หมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง
        (5)                  หมู่บ้าน อพป.                    
25.  ปัญหาสังคมปัญหาหนึ่งในการพัฒนาสังคมในเขตเทศบาลคืออะไร
        (1)  เจ้าพนักงานเทศบาลผู้รับผิดชอบไม่เอาใจใส่                (2)  คณะกรรมการชุมชนไม่มีความรู้
        (3)  ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ                                             (4)  ประชาชนไม่เชื่อถือคณะกรรมการชุมชน
        (5)  ถูกทุกข้อ
26.  การจัดแบ่งงานราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม เกิดขึ้นในสมัยใด
      (1)  รัชกาลที่ 5                                                            (2)  รัชกาลที่ 6
        (3)  รัชกาลที่ 7                                                            (4)  ไม่มีข้อใดถูก
27.  ในสมัยอยุธยาการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับกรมใด
        (1)  กรมเวียง                                                               (2)  กรมวัง
        (3)  กรมคลัง                                                                                (4)  กรมนา
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
28.  กรมพัฒนาชุมชนตั้งขึ้นเมื่อใด
        (1)  พ.ศ. 2500                                                            (2)  พ.ศ. 2505
        (3)  พ.ศ. 2510                                                            (4)  พ.ศ. 2515
        (5)  พ.ศ. 2520
29.  ข้อใดเป็นวิธีให้การศึกษาสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือรีบด่วน
        (1)  วิทยุ                                                                        (2)  โทรทัศน์
        (3)  ไปรษณีย์                                                               (4)  วีดีโอ
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
30.  กฎหมายฉบับแรกที่ได้จัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปเทศบาล คือ
        (1)  พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2473            (2)  พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2474
        (3)  พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2475            (4)  พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476
31.  อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ข้อใดที่อธิบายลักษณะของอำนาจอธิปไตยได้อย่างสมบูรณ์
        (1)  มีความเด็ดขาดไม่มีอำนาจอื่นใดมาจำกัด      
        (2)  ตามเหตุการณ์ปกติแล้วอำนาจเสื่อมสลายได้ไม่เป็นทางการ
        (3)  มีอำนาจครอบคลุมทั่วไปในรัฐ        (4)  ข้อ 1 และ 2                  (5)  ข้อ 1 และ 3
32.  ขณะนี้รายได้หลักที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่
        (1)  ข้าว                                                                         (2)  ข้าวโพด
        (3)  ยางพารา                                                               (4)  การท่องเที่ยว
        (5)  สิ่งทอ
33.  ส่วนประกอบของชุมชนในแง่สังคมวิทยา จะต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้
        (1)  กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน  
        (2)  มีอาณาบริเวณของชุมชน
        (3)  กลุ่มคนในบริเวณชุมชนมีความสนใจในผลประโยชน์ร่วมกัน
        (4)  มีวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของสมาชิก                  (5)  ถูกทุกข้อ
34.  กิจการใดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้น ขอทราบว่าองค์การที่จัดตั้งขึ้นนั้นเรียกว่า
        (1)  สหกรณ์ออมทรัพย์เทศบาล                               (2)  สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.)
        (3)  สหการ                                                                  (4)  IUAL
      (5)  ถูกทุกข้อ
35.  “สร้างพลังหมู่บ้าน ใช้พลังหมู่บ้าน ในการพัฒนาหมู่บ้าน” เป็นอุดมกรณ์ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนของ
        (1)  นายสาย  หุตะเจริญ                                            (2)  นายประสงค์ อิสรภักดี
        (3)  นายนิรุติ ไชยกูล                                                 (4)  นายสุวนัย  ทองนพ
        (5)  ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์                              
36.  การพัฒนาชุมชนทำได้ 2 ลักษณะ คือ คนในชุมชนดำเนินการเองและ
        (1)  รัฐเข้าดำเนินการ                                                                 (2)  คนภายนอกชุมชนเข้าร่วมดำเนินการ
        (3)  คนภายนอกเข้าไปร่วมโดยตัดสินใจทั้งหมด (4)  คนภายนอกเสนอแนะให้ชุมชนปฏิบัติ
        (5)  ข้อ 1 และ 2 ถูก
37.  กระบวนที่จะต้องปฏิบัติในการพัฒนาชุมชน 4 ขั้นตอน คือการวางแผน การปฏิบัติแผน ประเมินผล และ
        (1)  สำรวจชุมชน                                                       (2)  ทบทวนแผน
        (3)  เสนอแนะ                                                             (4)  ร่วมกิจกรรม
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
38.  เมื่อเราตัดสินใจที่จะทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน มีกระบวนการ ขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติคือ
        (1)  วางแผน สำรวจชุมชน ปฏิบัติตามแผน ประเมินผล
        (2)  วางแผน ปฏิบัติตามแผน สำรวจชุมชน ประเมินผล
        (3)  สำรวจชุมชน ประเมินผล วางแผน ปฏิบัติตามแผน
        (4)  สำรวจชุมชน วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินผล
        (5)  วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินผล สรุปผลงาน
39.  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ได้ระบุเรื่องการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดไว้ 2 แผนด้วยกัน คือ แผนพัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะกับ
        (1)  แผนพัฒนาคน                                                     (2)  แผนพัฒนาสังคม
        (3)  แผนพัฒนาวัฒนธรรม                                       (4)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
        (5)  ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
40.  โดยทั่วไปแล้วบทบาทของเทศบาลในการพัฒนาชุมชนแออัดอาจพิจารณาได้จากแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดซึ่งมีอยู่กี่วิธี
        (1)  6 วิธี                                                                       (2)  5 วิธี
        (3)  4 วิธี                                                                       (4)  3 วิธี
        (5)  2 วิธี
41.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) มีกี่แนวทางและกี่แผนงาน
        (1)  4 แนวทาง 20 แผนงาน                                     (2)  3 แนวทาง 10 แผนงาน
        (3)  5 แนวทาง 10 แผนงาน                                     (4)  6 แนวทาง 10 แผนงาน
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
42.  ประธานคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ คือ
        (1)  นายกรัฐมนตรี                                                     (2)  รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายพัฒนา
        (3)  เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
        (4)  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                  (5)  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
43.  ตำแหน่งใดเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล (กพท.)
        (1)  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                             (2)  ปลัดจังหวัด
        (3)  ประธานสภาเทศบาล                                         (4)  นายกรัฐมนตรี
        (5)  ปลัดเทศบาล
44.  การกำหนดนโยบายในการพัฒนาชุมชนนั้นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งอยู่ในหน้าที่ของ
        (1)  นักบริหาร                                                             (2)  นักการเมือง
        (3)  นักวางแผน                                                          (4)  นักพัฒนา
        (5)  นักเศรษฐศาสตร์
45.  ข้อใดไม่ใช่กลยุทธในการควบคุมโครงการพัฒนาที่สำคัญ 4 ชนิด
        (1)  การตรวจงาน                                                       (2)  การประเมินผลงาน
        (3)  การรายงาน                                                          (4)  การอำนวยการ
        (5)  การตรวจสอบผลงาน                        
46.  ข้อมูลสำเร็จรูปได้แก่
        (1)  ข้อมูลจากบทคัดย่อ                                             (2)  ข้อมูลจากข้อสังเกต
        (3)  ข้อมูลจากบทสรุป                                               (4)  การอำนวยการ
        (5)  ข้อมูลสารบัญ
47.  องค์กรที่ควบคุมการบริหารงานของเทศบาล คือ
        (1)  สภาเทศบาล                                                         (2)  กระทรวงมหาดไทย
        (3)  กองราชการส่วนท้องถิ่น                                   (4)  ข้อมูลนายทะเบียน
        (5)  ถูกทุกข้อ
48.  ลักษณะเค้าโครงแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี (เทศบาลทั่วไป) มีแนวทางการพัฒนาเทศบาลประจำปี
        (1)  ส่วนที่ 1                                                                                (2)  ส่วนที่ 2
        (3)  ส่วนที่ 3                                                                                (4)  ส่วนที่ 4
        (5)  ส่วนที่ 5
49.  การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลและเมืองพัทยามีผู้ใดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        (1)  ปลัดเทศบาล                                                         (2)  รองปลัดเทศบาล
        (3)  นิติกร                                                                     (4)  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนงาน
        (5)  ไม่มีข้อใดถูก
50.  ลักษณะของข้อมูลที่ดี คือ
        (1)  ถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้                                    (2)  มีความคลาดเคลื่อนน้อย
        (3)  ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน                                   (4)  ให้ข้อเท้จจริงครบถ้วน
เฉลยชุดที่ 1
1.  1                       2.  4                       3.  5                       4.  1                       5.  2
6.  3                       7.  4                       8.  5                       9.  1                       10.  4
11.  4                     12.  4                     13.  4                     14.  2                     15.  1
16.  1                     17.  4                     18.  2                     19.  2                     20.  1
21.  5                     22.  3                     23.  2                     24.  1                     25.  5
26.  1                     27.  1                     28.  2                     29.  1                     30.  4
31.  5                     32.  4                     33.  5                     34.  3                     35.  4
36.  5                     37.  1                     38.  4                     39.  5                     40.  4
41.  2                     42.  1                     43.  4                     44.  2                     45.  2
46.  4                     47.  1                    48.  3                     49.  4                     50.  5
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (เฉลยคำตอบ ข้อตัวเอียงหนา)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
            การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
            24 สิงหาคม 2550        
3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
           ฉบับที่ 17      
4. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
           15   หมวด   309   มาตรา
5. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
           19  คน  
6. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550  
      - บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
          เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
      - บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ
          หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น
       - การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
           ตามบทแห่งรัฐธรรมนูญนี้
7. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
            12  ปี          
8. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรประเภทใด
            องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ  
9. แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
      ก. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ      ข. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
      ค. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
10. ประธานรัฐสภามาจากข้อใด
             ประธานสภาผู้แทนราษฎร      
11. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนกี่คน
             80  คน        
12. การเลือกตั้งแบบสัดส่วนกำหนดเขตเลือกตั้งไว้กี่กลุ่ม
              8  กลุ่ม      
13. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
            480  คน    
14. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ใน ....
          วันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง  
15. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
            45  วัน      
16. หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
           45  วันแต่ไม่เกิน 60 วัน  
17. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ?
           พระราชกฤษฎีกา      
18. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลือกตั้งแบบสัดส่วน
           พรรคการเมืองจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้
19. พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจำนวนอย่างน้อยที่สุด
        241  เสียง        
20. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
       30  วัน          
21. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
       150   คน      
22. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
         การเลือกตั้งและสรรหา      
23. วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
        35  ปี        
24. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
       6  ปี        
25. เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
       30  วัน      
26. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆมีกำหนดกี่วัน
             120  วัน      
27. การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และการยุบสภา  ต้องตราเป็น
                    พระราชกฤษฎีกา              
28. คณะกรรมการเลือกตั้งมีกี่คน
       5  คน        
29.กรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
       7  ปี
30. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนเสนอให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง โดยต้องมีประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อร่วมกัน
       สองหมื่นคน    
31. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติไม่น้อยกว่า เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
       1  ใน  5      
32. กรณีที่รัฐสภา ต้องประชุมร่วมกัน
   ก. การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี         ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปของรัฐบาล
   ค. การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ  
33. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีได้ไม่เกินกี่คน และ อยู่ในวาระคราวละกี่ปี
       ไม่เกิน 3 คน : วาระละ 6 ปี
34. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีกี่คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
       7  คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
35. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกินกี่คน
       36  คน      
36. รัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
              35  ปี        
37. นับแต่วันเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
              15  วัน        
38. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือใคร
       พระมหากษัตริย์                    
39. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งรัฐมนตรี คือ
       นายกรัฐมนตรี
40. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที
       แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
             พระราชกำหนด
41. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานและตุลาการอื่นรวมกี่คน
       9  คน        
42. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลรัฐธรรมนูญต้องมีกายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
              45  ปี        
43. องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีจำนวนกี่คน
               9  คน        
44. อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่าง ร.ท. น้อย  กับ  ป้าส้มลิ้ม  แม่ค้าขายปลาสดเรื่องหมิ่นประมาทเป็นอำนาจ        
ศาลยุติธรรม      
45. พนักงานไฟฟ้าปักเสาไฟฟ้าทำให้บ้านยายสาย ได้รับความเสียหาย ยายสายควรไปขอความเป็นธรรมจากศาลใด
       ศาลปกครอง

46. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
                ศาลรัฐธรรมนูญ
47. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
        วุฒิสภา      
48. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน
       9  คน
49. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
       9  ปี        
50. อำนาจพิจารณาพิพากษาข้าราชการการเมือง ผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติอยู่ในอำนาจของศาลใด
      ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
51. ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
        ตนเอง  ภริยา  แลกะบุตรทุกคน
52. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
       คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
53. กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด  
             6 ปี  วาระเดียว      
54. ในวันเลือกตั้งต้องเปิดให้ลงคะแนนตามช่วงเวลาใด
       ตั้งแต่เวลา  08.00 น. ถึง 15.00 น.
55. ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้ถือจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่าใดเป็นประมาณ
       800  คน
56. ห้ามการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ในช่วงเวลา
            ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง
57. ในการคำนวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งแบบสัดส่วนในแต่ละเขตเลือกตั้งให้นำคะแนนรวมของทุกพรรคการเมืองหารด้วย                           10        
58. การคัดค้านการเลือกตั้ง จะต้องกระทำภายใน            30  วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
59. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฏร ในวันที่                 ๑๐  พฤษภาคม ๒๕๕๔
60.วันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง       ๒๔ – ๒๘ พค. ๕๔
62.ช่วงเวลาในการขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด        ๑๙ - ๒    มิย. ๕๔
63.ช่วงเวลาในการขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง  (๑๓ – ๑๗ มิย. ๕๔)
64.วันเลือกตั้ง     ( ๓    มิย.  ๕๔)
65. วันรับสมัคร สส.แบบบัญชีรายชื่อ     (๑๙  -   ๒๓    มิย.    ๕๔)



แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
1. รูปแบบของรัฐของไทยเป็นแบบ
ตอบ รัฐเดี่ยว
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ไว้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2534
โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น
ตอบ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
3. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้แก่
ตอบ ปลัดกระทรวง (ตาม ม.56 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2535 -ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส ตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน)
4. คณะกรมการจังหวัด ได้แก่
ตอบ คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวงต่าง ๆเว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
5. การมอบอำนาจของอธิบดีให้รองอธิบดีเรียกว่า …… เช่นเดียวกับกรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า ……..
ตอบ ปฏิบัติราชการแทน …….
6. ลัทธิการเมืองและการปกครองของไทยเราเป็นแบบ
ตอบ ลัทธิประชาธิปไตย
7. ระบอบการปกครองของไทยเป็นแบบ
ตอบ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา
8. ถ้านายอำเภอไปราชการแทนแล้วประสบอุบัติเหตุ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ตามมาตรา 64 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
9. ข้าราชการประเภทใดที่ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู
10.การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ การมอบอำนาจตามมาตรา 38 ให้มอบเป็นหนังสือเท่านั้น
11. ถ้ามีกฎหมายอื่นกำหนดวิธีการมอบอำนาจเป็นอย่างอื่นแล้ว จะมอบอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
12. นายอำเภอมอบอำนาจให้เสมียนตราอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
13. ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา สามารถมอบอำนาจให้ปลัดอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะตำแหน่งปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาไม่ได้เป็นตำแหน่งตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
14.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น ส่วนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง  สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการอิสระ
15.การรวมกรมสองกรมเข้าด้วยกันโดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา ขรก.ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
16.การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการระดับกรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
17.การยุบส่วนราชการระดับกระทรวงต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
18. พัฒนาการจังหวัด เป็นกรมการจังหวัด หรือไม่
ตอบ ไม่เป็น เพราะ ตามมาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งมีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวง
ต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งคนให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
19.  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินราชการบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
ตอบ  จังหวัด  อำเภอ
20. ถ้ากฎหมายมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะให้เป็นหน้าที่ของใคร ที่จะต้อง ... ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
ตอบ นายอำเภอ รักษาการ
21. การรับราชการเป็นหน้าที่ของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบ ไม่ แต่รับราชการทหารเป็นหน้าที่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมายการเสียภาษีอากร การรับการศึกษาอบรม เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย
22. การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ
ตอบ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ
23. ราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง
ตอบ  กระทรวง ทบวง กรม
24. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึง
ตอบ จังหวัด อำเภอ
25. ราชการบริหารส่วนกลาง เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ รวมอำนาจ
26. ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ กระจายอำนาจ
27. สำนักงานอำเภอมีผู้ใดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ
ตอบ นายอำเภอ
28. จังหวัด แบ่งส่วนราชการเป็น
ตอบ สำนักงานจังหวัด และส่วนราชการประจำจังหวัด
29.การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระทำโดย
ตอบ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
30.ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการอาจมอบอำนาจให้
ตอบ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
31. อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น
32.ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วย ไม่สามารถปฏิบัติงานได้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจึงทำหน้าที่แทน การปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการจังหวัดคือประการใด
ตอบ รักษาราชการแทน
33. กฎหมายซึ่งเป็นแม่บทในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก่อนพ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันมีผล
บังคับใช้ ประเทศไทยมีกฎหมายในข้อใดเป็นแม่บท
ตอบ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218  
34. ฐานะของส่วนราชการใดที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
35. ฐานะของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนราชการที่เหมือนกับ
ตอบ กระทรวง
36. ส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นเช่นไร                         ตอบ กรม
37. สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายใน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้กรณี
ตอบ 1. จัดทำนโยบายและแผน 2. กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย 3.ติดตามแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบาย
38. ใครมีอำนาจบังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และกำกับโดยทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ นายกรัฐมนตรี
39. หน่วยงานใดทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง และไม่มีฐานะเป็นกรม
ตอบ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
40. หากมีความจำเป็นต้องมีส่วนราชการทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัดและติดตามนโยบายจะต้องรับการอนุมัติจากใคร
ตอบ คณะรัฐมนตรีโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นเป็นผู้บังคับบัญชา
41. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
ตอบ ปลัดกระทรวง
42. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ จะมีตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงได้หรือไม่
ตอบ มีหรือไม่มีก็ได้
43. ในกระทรวงหนึ่ง ๆหน่วยงานใดรับผิดชอบราชการทางการเมือง
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
44. กรณีที่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
45. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
46. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่าที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
47. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
48. กรณีที่อธิบดี รองอธิบดี ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
49. ผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งต่างๆมีอำนาจหน้าที่เพียงใด
ตอบ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
50. การตั้งจังหวัดใหม่กระทำได้โดยกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ
51. ใครเป็นกรมการจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และ หน.ส่วนราชการประจำจังหวัดกระทรวงละ 1 คน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
52. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงต่างๆถ้ามีหลายตำแหน่งจะเป็นกรมการจังหวัดได้กี่ตำแหน่ง
ตอบ เป็นได้ 1 คนตามที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
53. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงใดที่เป็นกรมการจังหวัดได้มากกว่ากระทรวงอื่น
ตอบ กระทรวงมหาดไทย
54. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคเป็นกรรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
ตอบ เพิ่มได้โดยทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ
55. การตั้งอำเภอใหม่ต้องทำอย่างไร
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
56. ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงกี่กระทรวง
ตอบ 20 กระทรวง
57. ฐานะของส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (ม.7)
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
58. ใครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ม.13)
ตอบ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร
59. ตำแหน่งใดไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ ผู้ช่วยนายอำเภอ
60. นายอำเภออาจมอบอำนาจให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้บ้าง (ม.38)
ตอบ ปลัดอำเภอ,เกษตรอำเภอ,สาธารณสุขอำเภอ,พัฒนาการอำเภอ
61. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.43)
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
62. ในกรมการจังหวัดจะมีข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอยู่จำนวนเท่าใด (ม.53)
ตอบ 4 คน (ผวจ. รองผวจ.ที่ ผวจ. แต่งตั้ง ปจ. หน.สนง.จว.)
63. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดอาจจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ (ม.54)
ตอบ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
64. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้ข้อใดรับผิดชอบในการวางแผน
ตอบ สำนักงานจังหวัด
65. อำเภอแบ่งส่วนราชการออกเป็น (ม.66)
ตอบ สำนักงานอำเภอและส่วนราชการประจำอำเภอ
66. การจัดการปกครองนอกจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วให้เป็นไปตาม      (ม.68)
ตอบ  พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
67. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายแบ่งเป็นกี่ประเภท (ม.70)
ตอบ 4 (อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล และการปกครองท้องถิ่นอื่น ที่ กม.จัดตั้งขึ้น)
68. “ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด” หมายถึง (ม.70)
ตอบ กรุงเทพมหานคร/พัทยา / อบต.
69. ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน ,สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
70. ส่วนราชการใดที่มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน
71. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง มีดังนี้
ตอบ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี,สำนักงานปลัดกระทรวง,กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
72. การแบ่งส่วนราชการในกรมสามารถแบ่งออกเป็น ดังนี้
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม,กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
73. การมอบอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปได้หรือไม่โดยไม่รวมเรื่องมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ไม่ได้

























พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1.    พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตาม กฎหมายข้อใด
          กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  
2.ในทางปฏิบัติราชการส่วนใดจะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
        คณะรัฐมนตรี
3.ใครมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (แก่คณะรัฐมนตรี) ก่อนจะปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดบ้าง
        ก.พ.ร.                    
4.    คำว่า "ส่วนราชการ" ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด
        ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม
5.    การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ
        7 ประการ                    
6.    การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด
        เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
7.    ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้
-ความผาสุกของประชาชน   - ความอยู่ดีของประชาชน   - ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน
8.    ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการ
        ประชาชน
9.    ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะสอดคล้องตาม
        แนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
10.    ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ประการ
         5 ประการ    
11.    ส่วนราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการกำหนดแนวทางการบริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
ก.  กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ
12.    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดิน    โดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด
          4 ปี            
13.    ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ คือ
        กระทรวงมหาดไทย          

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช้ระหว่าง พ.ศ.2550-2554  (ครม.เห็นชอบเมื่อวันอังคารที่ 15 ส.ค.49)
2. เป้าหมาย  ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10  มี  5  ด้าน  คือ
         1) ด้านการพัฒนาคุณภาพคน 2) ด้านการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน          3) ด้านเศรษฐกิจ                
         4) ด้านการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม        5) ด้านธรรมาภิบาล
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ   ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  10  มี ดังนี้
         1) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
         2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
         3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
          4) การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
          5) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
4. วัตถุประสงค์ ของการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
         1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม  จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
         2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน  เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
         3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
         4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยง
         5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม
         6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
         7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
5 . จริยธรรมที่ใช้ในการทำงานของผู้บริหารและนักพัฒนา
    อคติ    4  ประการ  คือ
        1. ฉันทาคติ    ความลำเอียงเพราะชอบ
        2. โทสาคติ    ความลำเอียงเพราะชั่ว
        3. โมหะคติ      ความลำเอียงเพราะหลง
        4. ภยาคติ      ความลำเอียงเพราะกลัว
     สังคหวัตถุ  4  ประการ  คือ
        1. ทาน   คือ  การให้
        2. ปิยวาจา  คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
        3. อัตถจริยา  คือ  ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
        4. สมานัตตตา  คือ  การปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวสม่ำเสมอ
      พรหมวิหาร  4   ประการ  คือ
        1. เมตตา    ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
        2. กรุณา     ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
        3. มุทิตา     ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
        4. อุเบกขา  ความมีใจเป็นกลาง การวางเฉย

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
    “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้าที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
                 การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นที่กำหนดไว้ในระเบียบ
2. “พัสดุ” หมายความ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
3. “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายถึง
    - สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ
                  มีฐานะเป็นนิติบุคคล
    - สำหรับราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
        ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับพัสดุ ตามองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น
         ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี
5. “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับ
         แต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ
6. การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ 6 วิธี คือ
    1) วิธีตกลงราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท
    2) วิธีสอบราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน
                  2,000,000 บาท
    3) วิธีประกวดราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
    4) วิธีพิเศษ
    5) วิธีกรณีพิเศษ
    6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
7.   คณะกรรมการที่ดำเนินการตามระเบียบฯ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และ
          กรรมการอย่างน้อย 2 คน  โดยปกติเดิมให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณี
          จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการก็ได้
8. การซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่ง
         ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ
         คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

9. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนถ้าเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้
         ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ
         ราชการนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานของความเป็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อ
         หัวหน้าส่วนราชการให้ความเป็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดย
         อนุโลม
10. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบ
         ราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่ง
          ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น
         โดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย
         ณ ส่วนราชการนั้น
11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับ 6  พ.ศ. 2544
12. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535คือ  ปลัดกระทรวงการคลัง
13. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งในระดับภูมิภาค
14. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.)  ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
        ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 5 คน มีวาระคราวละ 2 ปี
15. การตรวจสอบพัสดุประจำปี  ดำเนินการ  ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี  ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่ง หรือหลายคนตามความจำเป็น  เพื่อตรวจสอบการจ่ายพัสดุ  งวดตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่  30 กันยายน ปีปัจจุบัน
ระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539
16. การลา ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539
        มี  9 ประเภท  ได้แก่    1. ลาป่วย    2. ลากิจส่วนตัว      3. ลาคลอดบุตร     4.  ลาพักผ่อน      
            5. ลาอุปสมบท   6. ลาตรวจเลือก/ระดมพลทหาร     7. ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน  
            8.  ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ            9. ลาติดตามคู่สมรส
17. การลาป่วย  ลาได้ดังนี้
             1. ลาได้ไม่เกิน  120 วันทำการ  เว้นแต่อันตรายจากปฏิบัติหน้าที่
        2.  ลา  30 วันขึ้นไป  ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ไม่ถึง  30 วัน ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา)
18. การลากิจส่วนตัว  ลาได้ดังนี้
      1.  ลาได้ไม่เกิน  45 วันทำการ     2. ลากิจส่วนตัวเลี้ยงดูบุตรให้ลาต่อเนื่องจากการลาคลอดได้ไม่เกิน  150 วันทำการโดยไม่ได้รับเงินเดือน
19. ลาคลอดบุตร    ลาได้ไม่เกิน  90 วัน (นับจากวันเริ่มลาทุกวันแม้วันหยุด)
20. ลาอุปสมบท/พิธีฮัจย์   ไม่เกิน  120 วัน  ส่งใบลาก่อนวันบวช/วันไป ไม่น้อยกว่า  60 วัน ต่อปลัดกระทรวง
21. ลาศึกษาต่อ  ฝึกอบรม  ดูงาน/ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ/ลาติดจามคู่สมรส  ลาได้ไม่เกิน  4 ปี
22. พัฒนาการอำเภอ  มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในฝ่าย ลาป่วยครั้งที่หนึ่งไม่เกิน  30 วัน  
        ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  15 วัน
23. นายอำเภอ มีอำนาจให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในส่วนราชการ  ลาได้ดังนี้
         1.  ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน  60 วัน   ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  30 วัน        2.  ลาคลอดบุตร   3. ลาพักผ่อน
24. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจให้ข้าราชการในสังกัด ลาได้ ดังนี้
              1.  ลาป่วย  120 วัน , ลากิจ  45 วัน         2.  ลาคลอดบุตร       3. ลาพักผ่อน     4. ลาเข้ารับการระดมพล
25.  การลาพักผ่อน มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
                 1.  ต้องเข้ารับราชการแล้ว ครบ  6 เดือน
        2.  ลาได้  10 วัน/ปี
        3.  ลาสะสมได้ไม่เกิน  20 วัน/ปี  เว้นแต่รับราชการ  10 ปี มีวันลาสะสมได้ไม่เกิน  30 วัน
26. การนับวันลาตามระเบียบนี้  ให้นับตามปีงบประมาณ
27. การลากิจส่วนตัว, ลาพักผ่อน และลาป่วย ที่มิใช่ลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการ
       ผู้ได้รับอันตราย หรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้นับเฉพาะวันทำการ
28. การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอใน
       ท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ในสังกัดจังหวัด หรืออำเภอนั้น ๆ ไปประเทศนั้นได้ โดย - ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน
       -นายอำเภอมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 3 วัน
29. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยปกติให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
        ตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันลาอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบ
        พิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความ
        จำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
30. ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือกให้รายงานการลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับ
          การตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
31. ข้าราชการทีได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง
          นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป
32. การลาตามข้อ58,59 ข้าราชการผู้นั้นให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
         ตามวัน เวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต
33. การลาติดตามคู่สมรส ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
         ตามลำดับ จนถึงปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการชั้นตรงแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้
         ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจำเป็น อาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจาก
         ราชการ















ข้อสอบงานสารบรรณ  

1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
                   งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร**      
2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ เมื่อใด
                   1 มิถุนายน 2526**
3.หนังสือราชการคืออะไร
                    เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ**
4.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
                  หนังสือภายนอก**                              
5.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
                  อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย**
6.หนังสือภายในเป็นหนังสือ
                 -ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน       -ติดต่อภายในกรมเดียวกัน      -.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน                    
7.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
                  .แบบฟอร์ม
8.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
                  -ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม                    -การเตือนเรื่องที่ค้าง                        -ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา                        
9.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
                  ประชาสัมพันธ์ **                                
10. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย** (ข้อบังคับ)
11. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน**(แถลงการณ์)
12. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย** (คำสั่ง)
13.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน** (ประกาศ)
14.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
                  ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
15.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
                  ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก **
16.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
                   มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ**
17.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
                    หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ**
18.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
                    หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย**
19.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
                       ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ **
20.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
                      หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติหลักฐาน**  
21.ตั้งแต่ข้อ 22 ถึง 25 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วน ใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง
22.เลขที่หนังสือออก ** ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
23.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ ** ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง
24.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ** ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
25.ด่วนมาก **ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
26.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
                          10 ปี**
27.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
                       ประธานกล่าวเปิดประชุม
29.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
                        3  ประเภท
30.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
                       ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี  ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
                       ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา  
31.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
                         ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ**
32.การเสนอหนังสือคืออะไร
                         การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา**
33.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
                                   4**                    
34.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
                        หนังสือประทับตรา**
35.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
                        กระทรวง กรม กอง แผนก**
36.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง              ที่มุมบนขวา

37.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
                              แดง**                                  
38.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
                             นมัสการ**
39.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
                            1 ปี
40.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าไร
                           3  ซม.**
41.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
                              2 ขนาด















แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
    ตอบ     ROYAL-INTIATED SELF SUFFICIENT ECONOMY PROJECT
2. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทาง         มาแล้วกี่ ปี
    ตอบ  25 ปี
3. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
    ตอบ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีระบบคุ้มกันในตัว
4. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
    ตอบ    ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้
5. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
    ตอบ   ทุนทางสังคม (Social Capital)
6. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
    ตอบ     ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
7. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
    ตอบ      สนับสนุนเงินทุน   เป็นผู้ให้ความสะดวก (FACILITATOR) และสนับสนุน (SUPPORTER)
8. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
    ตอบ      คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ( กปร.)
9. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
    ตอบ       คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
10. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
    ตอบ   องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน
11. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
     ตอบ   การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
12. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
     ตอบ  เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
13. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
     ตอบ  ระดับจังหวัด และอำเภอ
14. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
     ตอบ   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
15. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
     ตอบ   แบบองค์รวม (HORISTIC APPROACH) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น
16. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
     ตอบ   โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
17. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
     ตอบ   เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
18. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ 8 ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
     ตอบ  ประชาคมจังหวัด
19. ตามแนวคิดประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) แบ่งสังคมออกเป็นส่วน ๆ กี่ส่วน อะไรบ้าง
        ตอบ 3 ส่วน คือภาครัฐหรือราชการ (PUBLICE SECTOR) ภาคธุรกิจเอกชน (BUSINESS SECTOR)และภาคประชาชน (VOLUNTARY SECTOR)
20. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
     ตอบ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบัน  ราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
21. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
     ตอบ  THE PROJECT OF COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : (CERCAP)
22. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
     ตอบ  คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
23. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
     ตอบ  UNDP – UNITED NATION DEVELOPMENT PROGRAMME
24. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
        ตอบ     การสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด
25. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ
    ตอบ     การอบรมแบบมีส่วนร่วม (PARTICITIPATORY TRAINING)
26. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ- A – I – C (APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL) F.S.C. (FUTURE SEARCH CONFERENCE)
27. F.S.C. คืออะไร
     ตอบ FUTURE SEARCH CONFERENCE หรือการสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
28. A – I – C คืออะไร
      ตอบ APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน
29. ทุนทางสังคม (SOCIAL CAPITAL) คืออะไร
      ตอบ   ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม
30. ประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) คืออะไร
      ตอบ  การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก(CIVIL CONSCIOUSNESS) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
31. องค์ประกอบของประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
      ตอบ  จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม

32. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
      ตอบ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANG AGENT)
33.  เวทีประชาคมคืออะไร
       ตอบ  คือ พื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้
34. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
       ตอบ  การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
35. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
     -องค์ประกอบ 9 ประการ คือ
     1. มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
     2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
     3. มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเอง รักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
     4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
     5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
     6. เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
     7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
     8. มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
     9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย
36.  ยูเนสโก ประกาศให้คนไทย  2  ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก คือ  ม.ร.ว ศึกฤทธิ์  ปราโมทย์ และ                สุนทราภรณ์   (เอื้อ  สุนทรสนาน)
37.  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2553  กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันอย่าง  
  ต่อเนื่อง  “รั้วชายแดน  รั้วสังคม รั้วชุมชน  รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว    ” และ กำหนดนโยบายเร่งด่วน “Clean and seal”
38.  Clean  and  seal  คือ  การกวาดล้างและการป้องกัน
39.  การประชุม ASEAN(๑๐ ประเทศ) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  เป็นครั้งที่ 15 (+๓  คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
       (+๖  ได้แก่ อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย) การประชุมครั้งที่16 ประเทศเวียตนาม เป็นเจ้าภาพ
40.  การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เน้นไปที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) 2. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) 3.การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265) 4.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266) 5.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190)  และ 6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)
41.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีใด  และมีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
ตอบ     เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี  2543  มีจำนวนทั้งสิ้น  99  คน

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้