ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย สอบ ดต.อายุ 50 ปีขึ้น
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย สอบ ดต.อายุ 50 ปีขึ้น

1. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นองค์ประกอบของรัฐ
ก. วุฒิสภา ข. ศาลรัฐธรรมนูญ
ค. องค์การพัฒนาเอกชน ง. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตอบ ค. องค์การพัฒนาเอกชน

2. ข้อใดคือเกณฑ์ที่ใช้จำแนกรัฐออกเป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม
ก. อาณาเขตของรัฐ ข. จำนวนประชากรภายในรัฐ
ค.จำนวนรัฐบาลภายในรัฐ ง. อำนาจอธิปไตยของรัฐ

ตอบ ค.จำนวนรัฐบาลภายในรัฐ

3. แนวคิดเรื่อง " โลกพระศรีอาริย์ " มีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดของชาติตะวันตกในเรื่องใด
ก. รัฐในอุดมคติ ข. รัฐสวัสดิการ
ค. เสรีนิยม ง. สังคมนิยม
ตอบ ก. รัฐในอุดมคติ

4. ข้อใดคือระบอบการปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ
ก. การปกครองระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
ข. การปกครองระบอบเผด็จการทหาร
ค. การปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
ง.การปกครองระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์
ตอบ ค. การปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์

5. รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยใกล้เคียงกับประเทศใดมากที่สุด
ก. บรูไน ข. สิงคโปร์
ค. ลาว ง. เกาหลีใต้
ตอบ ข. สิงคโปร์

6. การปกครองที่ให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการเป็นอิสระเพื่อถ่วงดุลกัน คือ การปกครองประชาธิปไตยแบบใด
ก. รัฐสภา ข. กึ่งรัฐสภา

ค. ประธานาธิบดี  ง. กึ่งประธานาธิบดี

ตอบ ค. ประธานาธิบดี


7. ข้อใดมีลักษณะของระบอบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการน้อยที่สุด
ก.  
รัฐสังคมนิยม  ข. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ค. ลัทธิฟาสซิสต์  ง. ลัทธิคอมมิวนิสต์

ตอบ ก. รัฐสังคมนิยม

8. ความสำเร็จของการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญข้อใด
ก. 
การมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ
ข. การกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม

ค. การกำหนดขอบเขตอำนาจของสถาบันการเมืองที่รัดกุม
ง. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง
ตอบ ง. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง

9. ลักษณะเด่นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยคือข้อใด
ก. 
รัฐสภาเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด  
ข. รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด

ค. ประมุขของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด 
ง. ประมุขของรัฐเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด

ตอบ ข. รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด

10. การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีหลักการที่สำคัญตามข้อใด
ก. 
 ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมีส่วนร่วมกันใช้อำนาจบริหาร
ข. ประธานาธิบดีและรัฐสภาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
ค. รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ง. เป็นการใช้ระบบการแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ

ตอบ ค. รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

11. กิจกรรมใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ก. 
 การชุมนุมเรียกร้องให้มีการเปิดบ่อนการพนันเสรี
ข. การร่วมกันซ่อมแซมสะพานที่ชำรุดจากการถูกน้ำท่วม

ค. การเข้าร่วมตักบาตรทำบุญหน้าที่ทำการอำเภอในวันขึ้นปีใหม่
ง. การแต่งกายด้วยผ้าไทยไปทำงานทุกวันตามนโยบายการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ตอบ ก. การชุมนุมเรียกร้องให้มีการเปิดบ่อนการพนันเสรี

12. ข้อความใดมีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
ก. 
ไม่มีรัฐก็ไม่มีประชาชน ข. ประชาชนคือรัฐ
ค. รัฐเพื่อประชาชน
 ง. ประชาชนเพื่อรัฐ
ตอบ ค. รัฐเพื่อประชาชน

13. ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี
ก. ฝรั่งเศส  ข. อินเดีย
ค. เปรู  ง. อินโดนีเซีย

ตอบ ก. ฝรั่งเศส

14. ข้อใดเป็นการดำเนินการตามแบบประชาธิปไตยโดยตรง
ก. 
การออกเสียงลงประชามติ  
ข. การให้ประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี
ค. การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. การสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง

ตอบ ก. 
การออกเสียงลงประชามติ

15. ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบใดเป็นการผสมผสานระหว่างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ก. 
ทุนนิยมสมัยใหม่  ข. ทุนนิยมสวัสดิการ
ค. ทุนนิยมดั้งเดิม  ง. ทุนนิยมแบบผสม

ตอบ 
ค. ทุนนิยมดั้งเดิม

16. ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของอังกฤษมีลักษณะเด่นตามข้อใด
ก. 
ให้อำนาจสูงสุดแก่รัฐสภา  
ข. มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ค. พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ง. ใช้ระบบสองสภาและมีพรรคการเมืองสองพรรค

ตอบ ก. 
ให้อำนาจสูงสุดแก่รัฐสภา

17. หลักความเสมอภาคให้ความสำคัญในเรื่องใด
ก. 
สิทธิและหน้าที่ของมนุษย์  ข. สิทธิและเสรีภาพของมนุษย์
ค. ศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์
 ง. การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ตอบ ค. ศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์

18. ปัจจัยใดแสดงความเป็นพลเมืองของรัฐได้ดีที่สุด
ก.   
เชื้อชาติ  ข. วัฒนธรรม
ค. สิทธิและหน้าที่
 ง. ภาษาประจำชาติ
ตอบ 
ค. สิทธิและหน้าที่


19. เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญในข้อใด
ก. 
เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล  ข. เป็นที่ปรึกษาของรัฐสภา
ค. เป็นตัวแทนของประชาชน  ง. เป็นผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ตอบ 
ง. เป็นผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

20. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาไว้อย่างไร
ก.
 มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 200 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
ข. มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ค. มาจากการเลือกตั้ง จำนวน
100 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี

ง. 
มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 200 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ตอบ ก.
 มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 200 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี

 

จำหน่ายเอกสารรวมแนวข้อสอบตำรวจสายจ่าดาบรุ่น 50 ปี‏

สนใจสั่งซื้อมาที่  080-604-2510 ,080-604-2504  หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
*อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย  ออมทรัพย์
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์  ชื่อบัญชี สายรุ้ง  สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่   lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอบเขตวิชาสอบข้อเขียน

 

การคัดเลือกข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศ ด.ต. ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. 2554 จำนวน 500 อัตรา

ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยวิธีสอบข้อเขียน ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 120 ข้อ(คะแนนเต็ม 120 คะแนน) ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที มีรายละเอียดขอบเขตวิชาที่สอบ ดังนี้

 

1.วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 60 ข้อ

ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่

-          สังคมและวัฒนธรรมไทย

-          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-          เศรษฐกิจประเทศไทย

-          การเมืองไทยในปัจจุบัน

-          การปกครองระบอบประชาธิปไตย

-          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-          การเสริมสร้างสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี

-          สถานการณ์ปัจจุบัน

2.วิชาความรู้ในหน้าที่ของตำรวจ จำนวน 60 ข้อ

ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตำรวจในด้านต่างๆ ที่ข้าราชการตำรวจควรรู้ ได้แก่

-          จริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

-          อุดมคติของตำรวจ

-          การบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

-          โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

-          อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช.และ ก.ตร.

-          การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด

สอบข้อเขียน 4 กันยายน 2554

 

เกณฑ์การตัดสิน

 

              เกณฑ์การตัดสินผู้ผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดลงมาตามลำดับวิชาที่สอบ ในกรณีที่ได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าในแต่ละวิชาเรียงตามลำดับวิชาจนครบ ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีกให้ผู้มีอาวุโสสูงกว่า(อายุตัว) เป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า

              ในการตอบปัญหาข้อสอบ กรณีที่ปัญหาข้อสอบไม่ถูกต้องหรือคำตอบที่ให้เลือกตอบไม่ถูกต้อง ทางคณะกรรมการดำเนินการสอบที่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบ จะพิจารณาข้อสอบในข้อนั้นๆ โดยจะตรวจให้คะแนนแก่ผู้เข้าสอบทุกคน

 

 

คลิกดาวน์โหลดรายละเอียดต่างๆ ด้านล่าง

 

หรือดาวน์โหลดลิงค์สำรองที่นี่

ปัจจุบันสถานีตำรวจในประเทศไทยกำหนดโครงสร้างไว้ 6 รูปแบบตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 655/2550

รูปแบบที่ 1 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานสูงมาก มีผู้กำกับการ เป็นหัวหน้า มีรองผู้กำกับการทำหน้าที่ช่วย 

เหลือการปฏิบัติงาน 3 ด้านได้แก่ด้านป้องกันและปราบปราม, ด้านการจราจร และ ด้าน     2) งานปกครองป้องกัน
    3) งานจราจร
    4)
(ปัจจุบันยกเลิกงานนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 และให้เจ้าหน้าที่
        สายงานนี้ไปปฏิบัติงานสายปกครองป้องกัน สำหรับรายละเอียดกรุณาอ่านข้อเขียนของผมได้ที่

http://phanpatrol.spaces.live.com 

    5) งานสืบสวนสอบสวน
    6) หน่วยปฏิบัติพิเศษ
(ในทางปฏิบัติยังไม่มีการแต่งตั้งหน่วยนี้ในสถานีตำรวจใด) 

 

รูปแบบที่ 2 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานสูง มีผู้กำกับการ เป็นหัวหน้า มีรองผู้กำกับการทำหน้าที่ช่วยเหลือ 

การปฏิบัติงาน 2 ด้านได้แก่ด้านป้องกันและปราบปรามและด้านการสืบสวนสอบสวน แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 1

 

รูปแบบที่ 3 สถานีตำรวจที่มีปริมาณงานรองลงมา มีสารวัตรใหญ่ เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับ 

รูปแบบที่  

 

รูปแบบที่ 4 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานรองลงมาอีก มีสารวัตรใหญ่ เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกัน 

กับรูปแบบที่ 2 ยกเว้นงานจราจรที่ไม่มีในรูปแบบนี้ 

 

รูปแบบที่ 5 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานน้อย มีสารวัตร เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 4

 

 

รูปแบบที่ 6 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานน้อยที่สุด มีสารวัตร เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 4

 

 

สำหรับรายละเอียดของคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติคำสั่งนี้ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ ที่นี่

 

นั่นก็คือโครงสร้างหรือการบริหารงานในสถานีตำรวจของเรา และเพื่อให้เกิดความเข้าใจกระจ่างมากขึ้นผมใคร่ขอเพิ่ม
เติมเกี่ยวกับตำแหน่ง หัวหน้าสถานีตำรวจอีกสักหน่อยนะครับคือหัวหน้าสถานีตำรวจปัจจุบันนี้ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ 

1.       ผู้กำกับการ  

2.       สารวัตรใหญ่ (ใช้เรียกรองผู้กำกับการที่ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีตำรวจ)  

3.       สารวัตร 

โดยสถานีตำรวจไหนจะมีหัวหน้าสถานีตำแหน่งใดก็ย่อมขึ้นกับรูปแบบโครง สร้างของสถานีตำรวจนั้นๆ ว่าเป็นแบบไหน
นั่นเอง แต่ก็อาจจะมีคำถามต่อไปว่าแล้วรู้ได้อย่างไรว่าสถานีตำรวจไหนมีโครงสร้าง หรือรูปแบบใดระหว่างรูปแบบที่ 1-6
ตอบยากเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้ดูง่ายๆ ผมคิดว่าให้ท่านดูดังนี้ 

 

1. สถานีตำรวจนครบาล (อยู่ในกรุงเทพมหานคร) และ สถานีตำรวจภูธร (นอกเขตกรุงเทพมหานคร)
   
ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง แทบจะร้อยทั้งร้อยมี ผู้กำกับการ เป็นหัวหน้าส่วน  จะอยู่ในรูปแบบที่ 1 หรือ 2
   
ให้สังเกตง่ายๆ โดยดูที่ว่าสถานีตำรวจนั้นมี ตำแหน่งรองผู้กำกับการจราจร หรือไม่ หากมีละก็อยู่ในรูป
   
แบบที่ 1 แน่นอน แต่หากไม่มีก็จะอยู่ในรูปแบบที่ 2   เพราะรูปแบบนี้ไม่มี รองผู้กำกับการจราจร 

2. สถานีตำรวจซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอที่มีจำนวนตำบลไม่มากนัก เช่นอาจมี 5-6 ตำบล หรือน้อยลงมาและมี
   
หัวหน้าสถานีตำรวจเป็น ผู้กำกับการ โดยที่สถานีตำรวจแห่งนั้นเคยใช้ชื่อว่า"สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ"
   
มาก่อน แบบนี้ร้อยทั้งร้อยจะมีโครงการสร้างในรูปแบบที่ 2

3. สถานีตำรวจที่เคยใช้ชื่อว่า "สถานีตำรวจภูธรตำบล" มักจะมีโครงสร้างในรูปแบบที่ 4-6

 

แต่ต้องใช้คำว่า แต่ที่บอกไปนั้นเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นง่ายๆ เท่านั้นอาจจะไม่ใช่แบบที่อธิบายเสมอไปทั้งหมด
ทางที่ดี ลองสอบถามตำรวจโรงพักนั้นๆ ดูอีกครั้งจะแน่นอนกว่า 

 

สำหรับคำถามที่ถามว่าเวลามีธุระจะไปติดต่อสถานีตำรวจนั้นจะต้องเริ่ม ที่จุดไหน อันนี้ไม่ยาก หากท่านไม่รู่ว่าจะติดต่อใคร
ก่อนดี แนะนำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของโรงพัก ทุกโรงพักจะมีเจ้าหน้าที่นี้อยู่ประจำ โดยที่ทุกโรงพักจัดไว้จะ
อยู่ที่ ชั้นล่างของอาคารที่ทำการ และเป็นจุดแรกที่พี่น้องประชาชนพบเห็นได้ทันที เมื่อเข้าโรงพัก อีกอย่างหนึ่งก็คือจะมีป้าย
คำว่า "เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์" หรือ "ประชาสัมพันธ์" ติดไว้อยู่ ให้สอบถาม 

 

 

 

 

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ส่วนที่ 1 คุณธรรม ค่านิยมหลัก และอุดมคติของตำรวจ
ข้อ 4  ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
(1)  การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
(2)  การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
(3)  การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
(4)  การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

ข้อ 5  ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด ดังนี้
(1)  การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(2)  การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(3)  การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน  และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(4)  การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(5)  การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(6)  การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(7)  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(8)  การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(9)  การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ

ข้อ 6  ข้าราชการตำรวจต้องยึดถืออุดมคติของตำรวจ 9 ประการ เป็นแนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ดังนี้
(1)  เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
(2)  กรุณาปราณีต่อประชาชน
                (3)  อดทนต่อความเจ็บใจ
(4)  ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
(5)  ไม่มักมากในลาภผล
(6)  มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชนแก่ประชาชน
(7)  ดำรงตนในยุติธรรม
(8)  กระทำการด้วยปัญญา
(9)  รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต



ส่วนที่ 2 จริยธรรมของตำรวจ
ข้อ 7  ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  จงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และไม่ยอมให้ผู้ใดล่วงละเมิด
(2)  สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยด้วยศรัทธา มีความเป็นกลางทางการเมืองไม่เป็นผู้บริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น

ข้อ 8  ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ

ข้อ 9  ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม
(2)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ กล้าหาญและอดทน
(3)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความเต็มใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
(4)  ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อ ทรัพย์สินของตนเอง
(5)  รักษาความลับของทางราชการ และความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม หรือการตรวจสอบตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ กำหนด

ข้อ 10  ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติ ราษฎร์เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  มีท่าทีเป็นมิตร  มีมนุษยสัมพันธ์อันดี และมีความสุภาพอ่อนโยนต่อประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ
(2)  ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ไม่เบียดเบียน ไม่แสดงกริยาหรือท่าทางไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติ รวมทั้งไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
(3)  เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือประชาชนเมื่ออยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือประสบเคราะห์จากอุบัติเหตุ การละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่น ๆ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
(4)  ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทาง ราชการอย่างเคร่งครัด การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ร้องขอ ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และไม่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จแก่ประชาชน

ข้อ 11  ข้าราชการตำรวจต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรม เช่น ฝ่ายอัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และกระทรวง ทบวง กรมอื่น ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 12  ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(2)  ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตน ไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น อันเป็นผลให้การตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของผู้นั้นสูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
(3)  ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และของขวัญนั้น ต้องมีมูลค่าตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกาศ กำหนด
(4)  ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(5)  ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
(6)  ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมายแม้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่หมกมุ่นในอบายมุขทั้งหลาย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา และใช้จ่ายประหยัดตามฐานะแห่งตน

ข้อ 13  ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของ ความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(2)  ไม่สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
(3)  ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วย กฎหมาย ในการนี้ให้ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาผู้สั่ง
(4)  ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
ข้อ 14  ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
(2)  หมั่นอบรมให้ผู้ใต้บังคับบัญชายึดถือปฏิบัติตามประมวล จริยธรรมและจรรยาบรรณ ว่ากล่าวตักเตือนด้วยจิตเมตตา และให้ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่
(3)  ปกครองบังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนอง คลองธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น และไม่ผลักความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
(4)  ใช้หลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างเคร่งครัด และปราศจากความลำเอียง

ข้อ 15  ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมาย
(2)  รักษาวินัยและความสามัคคีในหมู่คณะ
(3)  ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพมี น้ำใจ รักใคร่ สมานฉันท์ และมีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
(4)  อุทิศตนเอง ไม่หลีกเลี่ยงหรือเกี่ยงงาน ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติหน้าที่โดยยึดความสำเร็จของงานและชื่อเสียงของหน่วย เป็นที่ตั้ง


ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณของตำรวจ
ข้อ 16  ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวย ความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการ้องทุกข์ กล่าวโทษ ขออนุญาต ขอข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อราชการอื่น ด้วยความเต็มใจ เป็นมิตร ไม่เลือกปฏิบัติ และรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิหรือเสรีภาพตามกฎหมาย
(2)  สุภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติประชาชนเพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง ไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
(3)  ขณะที่อยู่ในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ ต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความน่า เชื่อถือและน่าไว้วางใจ
(4)  พกพาอาวุธตามระเบียบแบบแผน ไม่จับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคลโดยปราศจากเหตุอันสมควร
(5)  พกพาเอกสารหรือตราประจำตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจำตัวเมื่อมีบุคคลร้องขอ

ข้อ 17  เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
(1)  แสดงถึงการอุทิศตนและจิตใจให้แก่การปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญและมีสติปัญญา
(2)  ยืนหยัดเจตนารมณ์ในการรักษากฎหมายให้ถึงที่สุด ไม่ประนีประนอม ผ่อนปรน หรือละเลยการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ให้ระลึกเสมอว่าการใช้กฎหมายจะต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมด้วย
(3)  ไม่ใช้มาตรการรุนแรง เว้นแต่การใช้มาตรการปกติแล้ว ไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยได้

ข้อ 18  ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง เป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่นที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต
เมื่อมีการใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตหรือไม่  ข้าราชการตำรวจต้องรายงานเป็นหนังสือต่อ ผู้บังคับบัญชาตามระเบียบแบบแผนทันที

ข้อ 19  ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม  ซึ่งต้อง ประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
(2)  ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคลนั้น
(3)  ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอนบุคคลให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือปรักปรำผู้อื่น
(4)  ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย เพื่อการสอบปากคำ
(5)  ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน

ข้อ 20  ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตน อย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1)  ไม่ผ่อนปรนให้บุคคลนั้นมีสิทธิหรือได้ประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผน
(2)  ไม่รบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับทนายความตามสิทธิแห่งกฎหมาย
(3)  จัดให้บุคคลได้รับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทย์ตามสมควรแก่กรณี เมื่อบุคคลนั้นมีอาการเจ็บป่วยหรือร้องขอ
(4)  ไม่ควบคุมเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้กระทำความผิดที่เป็น ผู้ใหญ่ หรือไม่คุมขังผู้หญิงร่วมกับผู้ชาย เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมายและระเบียบแบบแผนอนุญาต

ข้อ 21  ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม ข้อ 19 หรือจากการปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียงของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิด
ข้าราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติ หน้าที่หรือเพื่อประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น

...............................................................
หมายเหตุ  :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ คือ โดยที่ตำรวจเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชนในด้านอำนวยความปลอดภัยและความ ยุติธรรม เที่ยงตรง  ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างมี คุณธรรม จริยธรรม บรรลุวัตถุประสงค์นโยบายของทางราชการ และเป็นตำรวจของประชาชนอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้



บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ              ตร.                 โทร.   0-2205-3738
ที่    0001(ผบ.)/ 151                         วันที่       12   พฤศจิกายน  2551
เรื่อง   แนวทางการรายงานตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2551
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จตช., รอง ผบ.ตร., ผู้ช่วย ผบ.ตร. และผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
ผบช., ผบก.ใน สง.ผบ.ตร. และผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า

                ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2551 ข้อ 8  กำหนดให้จเรตำรวจแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ  จัด ทำคู่มือและคำอธิบายแนวทางปฏิบัติและสอดส่องดูแลการรักษาประมวลจริยธรรมและ จรรยาบรรณของตำรวจในภาพรวมระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และในข้อ 10 วรรคสาม ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดยการเสนอแนะของจเรตำรวจแห่งชาติวาง ระเบียบเกี่ยวกับการรายงานตามข้อ 10 วรรคแรก ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่กฎ ก.ตร. นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั้น
                ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับ การรายงานกรณีมีการพบข้าราชการตำรวจละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจตามนัยกฎ ก.ตร. ดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการรายงานไว้ดังนี้
                1.  กรณีจเรตำรวจแห่งชาติพบว่าหน่วยงานตำรวจและหรือข้าราชการ ตำรวจใดละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ให้จเรตำรวจแห่งชาติดำเนินการดังนี้
                1.1  ในกรณีที่พบข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับ ผู้บังคับการ ขึ้นไปให้รายงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อทราบ
                1.2  แจ้งผู้บังคับบัญชาในระดับกองบัญชาการหรือหน่วยงานเทียบเท่า กองบัญชาการ หรือ ผู้บังคับการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสอบข้อเท็จจริงเพื่อ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
                1.3  ในกรณีที่จเรตำรวจแห่งชาติเห็นสมควร อาจมอบหมายให้ รองจเรตำรวจแห่งชาติ , จเรตำรวจ  รองจเรตำรวจ  ไปกำกับและติดตามการพิจารณาข้อ เท็จจริง หรือตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระจากกองบัญชาการหรือหน่วยงาน เทียบเท่ากองบัญชาการ หรือ กองบังคับการในสังกัด สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ได้
                2.  กรณีข้าราชการตำรวจพบว่าผู้บังคับบัญชาของตน ข้าราชการตำรวจหรือหน่วยงานตำรวจใดละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ตามข้อ 10 วรรคแรกให้สามารถรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเหนือหน่วยงานที่ตนสังกัดได้อย่าง น้อยสามลำดับชั้น

                3.  เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับรายงานตามข้อ 2 แล้ว  ให้ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงหรือตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จ จริงภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับการรายงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
                4.  หากผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานมิได้ดำเนินการใด ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้สามารถรายงานถึงจเรตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน

                ทั้งนี้ การรายงานกรณีมีการพบข้าราชการตำรวจละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้รายงานพร้อมทั้งแสดงพยานหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งยืนยันว่ามีการละเมิน ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจให้ผู้รับรายงานทราบ ด้วย
                5.  เมื่อดำเนินการสอบข้อเท็จจริง หรือตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วมีมูล ฟังได้ว่าข้าราชการตำรวจหรือหน่วยงานตำรวจใดกระทำละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจให้ดำเนินการทางวินัย ไปตามอำนาจหน้าที่

                จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป


                                        พล.ต.อ.   พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ
                                                   ( พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ )
                                                          ผบ.ตร.
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
kannapat ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
เตรียมตัวคับ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้