ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบ การคลังและงบประมาณ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบ การคลังและงบประมาณ

วิชาการคลังและงบประมาณ
1. ฐานจากรายได้ คือ
2. อัตราภาษีแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
3. การบริหารตั๋วเงินคลัง
4. การ...้เงินของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ
5. รายได้ภาษีอากรมีลักษณะสำคัญ คือ
6. ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ คือ
7. ภาษีสรรพสามิตมีแหล่งรายได้ที่สำคัญคือ
8. เส้นเป็นไปได้ในการผลิต
9. ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจแบบปิด
10. สินค้าสาธารณะ คือ
11. ผลกระทบภายนอก (ทางบวก , ทางลบ)
12. ทฤษฏีทางเลือกของสังคม
13. ดุลยภาพภายใต้กฎเสียงข้างมาก
14. ระบบบริหารการคลัง หมายถึง
15. ประเภทของนโยบายการคลัง
16. การบริหารรายได้ (อัตราภาษี , ภาระภาษี)
17. การบริหารเงินคงคลัง
18. การบริหารหนี้สาธารณะ
19. อัตราภาษีแบบคงที่ ,แบบถอยหลัง ,แบบก้าวหน้า
20. ประเภทของรายได้ภาษีอากรมีอะไรบ้าง
21. วิธีในการ...้ยืมเงิน
22. การคำนวณกำไรสุทธิ
23. วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร
24. ลักษณะที่ดีของระบบภาษีอากร
25. การจำแนกประเภทภาษีอากรตามการผลักภาระภาษี
26. ฐานภาษีการบริโภค
27. การออมและการลงทุน
28. วิธีการผลักภาระภาษี
29. ภาษีที่นำรายได้เข้ารัฐมากที่สุดคือ
30. ภาษีเงินได้ คือ
31. ภาษีตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต
32. สาระของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีศุลกากร
33. ภาษีทีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง
34. การกำหนดนโยบายด้านภาษีอากรมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
35. การบริหารการจัดเก็บภาษีมีกี่วิธี อะไรบ้าง
36. ขั้นตอนการบริหารการจัดเก็บภาษีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
37. นโยบายภาษีอากรต่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
38. ปัญหาเงินเฟ้อ
39. กระบวนการงบประมาณมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
40. ลักษณะสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
41. ปีงบประมาณของประเทศไทยเริ่มวันที่เท่าไหร่
42. งบประมาณฐานศูนย์
43. การวิเคราะห์งบประมาณแบบบูรณาการ
44. การอนุมัติงบประมาณ คือ
45. กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
46. เหตุผลและความจำเป็นของการก่อหนี้สาธารณะ
47. ผลกระทบรวมของการก่อหนี้สาธารณะ
48. รายได้จากภาษีอากร
49. โครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตอบลำดับที่ 1

การเงิน การคลัง และงบประมาณ

มาตรา ๑๖๒ งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน
มาตรา ๑๖๓ ในการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการรายรับ และกำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรมแผนงาน และโครงการในแต่ละรายจ่ายงบประมาณ รวมทั้งต้องแสดงฐานะทางการคลังของประเทศเกี่ยวกับภาพรวมจากการใช้จ่ายและการจัดหารายได้ การขาดรายได้จากการยกเว้นภาษีเฉพาะรายในรูปแบบต่าง ๆ ความจำเป็นในการตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปี การก่อหนี้ของรัฐและฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
ถ้ารายจ่ายใดที่ไม่สามารถจัดสรรเป็นรายจ่ายในรายการใดได้ ให้จัดสรรไว้ในรายการรายจ่ายงบกลาง โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดงบประมาณรายจ่ายงบกลางนั้นด้วย
ให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้เป็นกรอบในการกำกับการใช้จ่ายเงินตามแนวทางการรักษาวินัยการเงิน การคลัง และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
มาตรา ๑๖๔ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนราษฎรจะต้องวิเคราะห์และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้นและให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภา
ในการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ มิได้ ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้นในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๔๖
ถ้าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าววุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจแปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้
(๒) ดอกเบี้ยเงินกู้
(๓) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย
ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอการแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้
ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้การเสนอ การแปรญัตติหรือการกระทำดังกล่าวสิ้นผลไป
รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามวรรคแปด หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง
มาตรา ๑๖๕ การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย
ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คณะรัฐมนตรีมีอำนาจโอนหรือนำรายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใด ไปใช้ในกิจการที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทันที และให้รายงานรัฐสภาทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๑๖๖ เงินรายได้ของหน่วยงานใดของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปีและให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้