ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง

แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (เฉลยคำตอบ ข้อตัวเอียงหนา)

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
   ก. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช. )   ข. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
   ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                            ง. การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
   ก. 1 สิงหาคม 2550            ข. 17 สิงหาคม 2550
   ค. 24 สิงหาคม 2550        ง. 25 สิงหาคม 2550
3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
   ก. ฉบับที่ 16      ข.ฉบับที่ 18
   ค. ฉบับที่ 17      ง. ฉบับที่ 19
4. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
   ก. 14   หมวด   303  มาตรา         ข.   14   หมวด  309   มาตรา
   ค. 15   หมวด   303  มาตรา         ง.   15   หมวด   309   มาตรา
5. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
      ก.  17  คน   ข.  18  คน   
      ค.  19  คน   ง.  20  คน
6. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550  ไม่ถูกต้อง
      ก. การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน

          รัฐจะกระทำมิได้
      ข. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

          เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
      ค. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ

          หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น
       ง. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ

           ตามบทแห่งรัฐธรรมนูญนี้

7. การกระทำข้อใด ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ว่า  ? บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ?
      ก. พนักงานสอบสวนใช้ไฟส่องหน้าและใช้เวลาสอบสวนผู้ต้องหาติเดต่อกันถึง 8 ชั่วโมง
      ข. ประหารชีวิตนักโทษตามกฎหมาย
      ค. ตำรวจซ้อมผู้ร้ายปากแข็งเพื่อให้รับสารภาพ
      ง. ผิดทุกข้อ
8. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
      ก.     6  ปี         ข.  10  ปี             ค.  12  ปี          ง.  16  ปี

9. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรประเภทใด
      ก. หน่วยงานของรัฐ      ข. องค์กรอิสระตามกฎหมาย
      ค. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ   ง. องค์กรในทางรัฐสภา
10. ข้อใดไม่ใช่แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
      ก. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ      ข. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
      ค. แนวนโยบายด้านพลังงาน                  ง. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
11. ประธานรัฐสภามาจากข้อใด
      ก. ประธานองคมนตรี               ข. ประธานวุฒิสภา
      ค. ประธานสภาผู้แทนราษฎร      ง. ถูกทุกข้อ
12. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนกี่คน
      ก.    40  คน     ข.  80  คน         ค.  100  คน    ง.  120  คน
13. การเลือกตั้งแบบสัดส่วนกำหนดเขตเลือกตั้งไว้กี่กลุ่ม
      ก.    4  กลุ่ม      ข.   8  กลุ่ม       ค.  10  กลุ่ม    ง.  12  กลุ่ม

14. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
      ก.  200  คน    ข.  400  คน         ค.  480  คน    ง.  630  คน
15. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละจังหวัด
      ก. ใช้จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
      ข. ใช้จำนวน  400  เป็นตัวหาร
      ค. จังหวัดที่ไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อ สส. หนึ่งคน มี สส. ได้หนึ่งคน
      ง. จังหวัดที่มี สส. 2 คนขึ้นไปจะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดอย่างน้อยเป็น 2 เขต
      จ. ถูกทุกข้อ
16. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ใน ....
      ก. วันประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   ข.วันเลือกตั้ง    ค. วันเกิด     

      ง. วันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง   จ. วันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
17. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
      ก.  45  วัน      ข.   60  วัน        ค.  90  วัน      ง.  120  วัน          จ.  150  วัน
18. หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
      ก.  30  วัน      ข.  45  วัน         ค.  45  วันแต่ไม่เกิน 60 วัน   ง. 60  วัน  จ.  90  วัน
19. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ?
      ก. พระราชกำหนด         ข.พระราชบัญญัติ
      ค. พระราชกฤษฎีกา       ง. ประกาศพระบรมราชโองการ      จ. กฎกระทรวง

20. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลือกตั้งแบบสัดส่วน
      ก. พรรคการเมืองต้องส่งครบทุกเขตเลือกตั้ง      ข. พรรคการเมืองจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้
      ค. ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวน สส. เท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตเลือกตั้งนั้น
      ง. พรรคการเมืองที่จะได้คะแนนน้อยกว่าร้อย 10 จะไม่นำมารวมคำนวณจำนวน สส.
      จ .ถูกทุกข้อ
21. ใครไม่มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
   ก. กานดาแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยมาแล้ว 4 ปี
   ข. สากลมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วรวม 60 วัน
   ค. มนต์ชัยมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีเลือกตั้ง
   ง. ไม่มีสิทธิเลือกทุกคน
22. พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจำนวนอย่างน้อยที่สุด
    ก.     201  เสียง         ข.  241  เสียง        ค.  2581  เสียง          ง.  316  เสียง
23. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
   ก.    7  วัน         ข.  15  วัน       ค.  30  วัน          ง.  45  วัน
24. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
   ก.  150   คน      ข.  200  คน     ค.  250  คน        ง.  300  คน
25. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
   ก.  การแต่งตั้ง                   ข. การเลือกตั้ง
   ค. การเลือกตั้งและสรรหา      ง. ถูกทุกข้อ
26. วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
    ก.  25  ปี         ข.  30  ปี          ค.  35  ปี         ง.  40  ปี
27. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
   ก.  2  ปี         ข.  4  ปี              ค.   6  ปี         ง.  8  ปี
28. เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
   ก.  30  วัน      ข. 45  วัน           ค.  60  วัน      ง.  90  วัน
29. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆมีกำหนดกี่วัน
   ก.    60  วัน      ข.   90  วัน       ค.  120  วัน      ง.  150  วัน
30. การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และการยุบสภา  ต้องตราเป็น
   ก. พระราชบัญญัติ                   ข. พระราชกำหนด
   ค. พระราชกฤษฎีกา              ง. พระบรมราชโองการ
31. คณะกรรมการเลือกตั้งมีกี่คน
   ก.  4  คน         ข.   5  คน         ค.  7  คน         ง.  10  คน
32.กรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  4  ปี         ข.  5  ปี              ค.  6  ปี           ง.   7  ปี

33. ข้อใด มิใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
   ก. สั่งให้พนักงานของรัฐวิสาหกิจปฏิบัติการทั้งหลายอัน ตำเป็นตามกฎหมาย
   ข. ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
   ค. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
   ง. สืบสวนข้อเท็จจริงกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำความผิดทางอาญาบริเวณเขตเลือกตั้ง
34. องค์การตามรัฐธรรมนูญ ในข้อใดทีมีสถานะต่างไปจากข้ออื่น
   ก. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   ข. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
   ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง                       ง. คณะกรรมาการตรวจเงินแผ่นดิน

35. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนเสนอให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง โดยต้องมีประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อร่วมกัน
   ก. หนึ่งหมื่นคน      ข. สองหมื่นคน     ค. ห้าหมื่นคน        ง. หกหมื่นคน
36. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติไม่น้อยกว่า เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
   ก.   1  ใน  3      ข.  2  ใน  3   ค.  1  ใน  5      ง.  2  ใน  5
37. กรณีใดที่รัฐสภา ต้องประชุมร่วมกัน
   ก. การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี         ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปของรัฐบาล
   ค. การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ   ง. ถูกทุกข้อ
38. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีได้ไม่เกินกี่คน และ อยู่ในวาระคราวละกี่ปี
   ก. ไม่เกิน 2 คน : วาระละ 2 ปี       ข. ไม่เกิน 3 คน : วาระละ 6 ปี
   ค. ไม่เกิน 4 คน : วาระละ 4 ปี       ง. ไม่เกิน 5 คน : วาระละ 5 ปี
39. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีกี่คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก. 6  คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี    ข. 7  คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
   ค. 8  คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี    ง.  9  คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี

40. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกินกี่คน
   ก.  35  คน      ข.  36  คน       ค.  38  คน      ง.  48  คน
41. รัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
   ก.  25  ปี         ข.  35  ปี         ค.  40  ปี         ง.  45   ปี
42. นับแต่วันเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
   ก.  7  วัน         ข.  15  วัน        ค.  18  วัน      ง.  21  วัน
43. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือใคร
   ก. พระมหากษัตริย์                    ข. ประธานรัฐสภา
   ค. ประธานวุฒิสภา                     ง. นายกรัฐมนตรี
44. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งรัฐมนตรี คือ
   ก. ประธานสภาผู้แทนราษฎร         ข. ประธานรัฐสภา
   ค. ประธานองคมนตรี                   ง. นายกรัฐมนตรี
45. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที
       แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
   ก. พระราชกฤษฎีกา
   ข. พระบรมราชโองการ
   ค. พระราชกำหนด
   ง. พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน   
46. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานและตุลาการอื่นรวมกี่คน
   ก.  7 คน          ข.  9  คน        ค.  11  คน      ง. 13  คน
47. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลรัฐธรรมนูญต้องมีกายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
   ก.  35  ปี         ข.  40  ปี      ค.  45  ปี         ง.  50  ปี
48. องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีจำนวนกี่คน
   ก.  5  คน         ข.  7  คน      ค.  9  คน         ง.  11  คน
49. อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่าง ร.ท. น้อย  กับ  ป้าส้มลิ้ม  แม่ค้าขายปลาสดเรื่องหมิ่นประมาท
       เป็นอำนาจ
   ก. ศาลยุติธรรม         ข. ศาลปกครอง
   ค.ศาลรัฐธรรมนูญ      ง. ศาลทหาร



 

50. พนักงานไฟฟ้าปักเสาไฟฟ้าทำให้บ้านยายสาย ได้รับความเสียหาย ยายสายควรไปขอความเป็นธรรม

จากศาลใด
   ก. ศาลยุติธรรม         ข. ศาลปกครอง
   ค.ศาลรัฐธรรมนูญ      ง. ศาลทหาร
51. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
   ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง   ข. ศาลยุติธรรม
   ค. ศาลปกครอง                    ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
52.ในกรณีที่ไม่มีบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการใด
   ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
   ก. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
   ข. เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐสภาที่จะดำเนินการพิจารณาสร้างบรรทัดฐานขึ้นใหม่
   ค. ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็น

       ประมุข
   ง. ให้กรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้

53. หลักสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
   ก. จะต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
   ข. สมาชิกสภาและคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก ถ้าจำเป็นต้องมีสมาชิกประเภท

       แต่งตั้ง จะต้องมีจำนวนน้อยกว่าที่มาจารกการเลือกตั้ง
   ค.ให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ผสมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อประสาน

       ประโยชน์ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
   ง. ให้จัดการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุดทั้งระดับ จังหวัด อำเภอ

        และตำบล
54. สมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  2  ปี         ข.  3  ปี         ค.  4  ปี         ง.  5  ปี
55. ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรใดในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรม
   ก. คณะกรรมการข้าราชการท้องถิ่น         ข. คระกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น
   ค. องค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรม         ง. องค์กรคุ้มครองข้าราชการส่วนท้องถิ่น
56. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
   ก. รัฐสภา        ข. สภาผู้แทนราษฎร   
   ค. วุฒิสภา      ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
57. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน
   ก.  6  คน         ข.  7  คน       ค.  8  คน         ง.  9  คน
58. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  4  ปี         ข.  6  ปี      ค.  9  ปี         ง.  11  ปี
59. อำนาจพิจารณาพิพากษาข้าราชการการเมือง ผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติอยู่ในอำนาจของศาลใด
   ก.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
   ข. ศาลรัฐธรรมนูญ
   ค. ศาลปกครองสูงสุด
   ง. ประธานศาลฎีกา
60. ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
   ก. ตนเอง  ภริยา  บุตร  และบุตรบุญธรรม
   ข. ตนเอง  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
   ค. ตนเอง  ภริยา  แลกะบุตรทุกคน
   ง. ตนเอง  คู่สมรส  และบุตรบุญธรรม
61. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
   ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
   ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
   ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
   ง. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
62. ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
   ก. นายกรัฐมนตรี
   ข. ผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
   ค. สมาชิกวุฒิสภา
   ง. ถูกทุกข้อ
63. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
   ก. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
   ข. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
   ค. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
   ง. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับ / วันพ้นจากตำแหน่งและภายใน 30 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง

       มาแล้ว 1 ปี
64. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
   ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 9 คน
   ข. ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานธุรการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
   ค. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

       ตามคำแนะนำของรัฐสภา
   ง. ถูกทุกข้อ
65. กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด  
   ก.  6 ปี  วาระเดียว      ข.   7  ปี  วาระเดียว
   ค.  9 ปี  วาระเดียว      ง.  10  ปี ไม่จำกัดวาระ
66. ในวันเลือกตั้งต้องเปิดให้ลงคะแนนตามช่วงเวลาใด
   ก. ตั้งแต่เวลา  07.00 น. ถึง 15.00 น.   ข. ตั้งแต่เวลา  08.00 น. ถึง 15.00 น.
   ค. ตั้งแต่เวลา  08.30 น. ถึง 15.30 น.   ง. ตั้งแต่เวลา  09.00 น. ถึง 16.00 น.
67. ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้ถือจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่าใดเป็นประมาณ
   ก.  400  คน      ข.  500  คน      ค.  600  คน      ง.  800  คน
68. ห้ามการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ในช่วงเวลา
   ก. ตั้งแต่ 12.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 08.00 น. ของวันหลังการเลือกตั้ง
   ข. ตั้งแต่ 12.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง
   ค. ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 18.00 น. ของวันหลังการเลือกตั้ง
   ง. ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง
69. ในการคำนวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งแบบสัดส่วนในแต่ละเขตเลือกตั้งให้นำคะแนนรวมของทุกพรรคการเมืองหารด้วย
   ก.   8         ข.  10         ค.  จำนวนพรรคการเมือง   ง. ไม่มีข้อใดถูก
70. การคัดค้านการเลือกตั้ง จะต้องกระทำภายใน
   ก.  7  วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง   ข.  10 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
   ค.  15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง   ง.  30  วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง

 

 

 

 

 

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

1. รูปแบบของรัฐของไทยเป็นแบบ
ตอบ รัฐเดี่ยว
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ไว้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2534
โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น
ตอบ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
3. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้แก่
ตอบ ปลัดกระทรวง (ตาม ม.56 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2535 -ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทนไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทนถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส ตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน)
4. คณะกรมการจังหวัด ได้แก่
ตอบ คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวงต่าง ๆเว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

5. การมอบอำนาจของอธิบดีให้รองอธิบดีเรียกว่า …… เช่นเดียวกับกรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า ……..
ตอบ ปฏิบัติราชการแทน ……. ปฏิบัติราชการแทน
6. ลัทธิการเมืองและการปกครองของไทยเราเป็นแบบ
ตอบ ลัทธิประชาธิปไตย
7. ระบอบการปกครองของไทยเป็นแบบ
ตอบ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา



8. ถ้านายอำเภอไปราชการแทนแล้วประสบอุบัติเหตุ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ตามมาตรา 64 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน


9. ข้าราชการประเภทใดที่ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู
10.การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ การมอบอำนาจตามมาตรา 38 ให้มอบเป็นหนังสือเท่านั้น 
11. ถ้ามีกฎหมายอื่นกำหนดวิธีการมอบอำนาจเป็นอย่างอื่นแล้ว จะมอบอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
12. นายอำเภอมอบอำนาจให้เสมียนตราอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
13. ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา สามารถมอบอำนาจให้ปลัดอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะตำแหน่งปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาไม่ได้เป็นตำแหน่งตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
14.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น ส่วนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง  สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการอิสระ
15.การรวมกรมสองกรมเข้าด้วยกันโดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา ขรก.ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
16.การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการระดับกรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
17.การยุบส่วนราชการระดับกระทรวงต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

18. พัฒนาการจังหวัด เป็นกรมการจังหวัด หรือไม่
ตอบ ไม่เป็น เพราะ ตามมาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งมีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวง

ต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งคนให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
19.  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินราชการบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
ตอบ  จังหวัด  อำเภอ
20. ถ้ากฎหมายมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะให้เป็นหน้าที่ของใคร ที่จะต้อง ... ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
ตอบ นายอำเภอ รักษาการ
21. การรับราชการเป็นหน้าที่ของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบ ไม่ แต่รับราชการทหารเป็นหน้าที่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมายการเสียภาษีอากร การรับการศึกษาอบรม เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย
22. การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ
ตอบ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ
23. ราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง
ตอบ  กระทรวง ทบวง กรม
24. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึง
ตอบ จังหวัด อำเภอ
25. ราชการบริหารส่วนกลาง เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ รวมอำนาจ
26. ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ กระจายอำนาจ
27. สำนักงานอำเภอมีผู้ใดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ
ตอบ นายอำเภอ
28. จังหวัด แบ่งส่วนราชการเป็น
ตอบ สำนักงานจังหวัด และส่วนราชการประจำจังหวัด
29.การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระทำโดย
ตอบ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
30.ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการอาจมอบอำนาจให้
ตอบ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
31. อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น
32.ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วย ไม่สามารถปฏิบัติงานได้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจึงทำหน้าที่แทน การปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการจังหวัดคือประการใด
ตอบ รักษาราชการแทน
33. กฎหมายซึ่งเป็นแม่บทในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก่อนพ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันมีผล
บังคับใช้ ประเทศไทยมีกฎหมายในข้อใดเป็นแม่บท
ตอบ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218  
34. ฐานะของส่วนราชการใดที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
35. ฐานะของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนราชการที่เหมือนกับ
ตอบ กระทรวง
36. ส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นเช่นไร
ตอบ กรม
37. สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายใน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้กรณี
ตอบ 1. จัดทำนโยบายและแผน 2. กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย 3.ติดตามแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบาย
38. ใครมีอำนาจบังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และกำกับโดยทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ นายกรัฐมนตรี
39. หน่วยงานใดทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง และไม่มีฐานะเป็นกรม
ตอบ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
40. หากมีความจำเป็นต้องมีส่วนราชการทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัดและติดตามนโยบายจะต้องรับการอนุมัติจากใคร
ตอบ คณะรัฐมนตรีโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นเป็นผู้บังคับบัญชา
41. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
ตอบ ปลัดกระทรวง
42. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ จะมีตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงได้หรือไม่
ตอบ มีหรือไม่มีก็ได้
43. ในกระทรวงหนึ่ง ๆหน่วยงานใดรับผิดชอบราชการทางการเมือง
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
44. กรณีที่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
45. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
46. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่าที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
47. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
48. กรณีที่อธิบดี รองอธิบดี ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
49. ผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งต่างๆมีอำนาจหน้าที่เพียงใด
ตอบ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
50. การตั้งจังหวัดใหม่กระทำได้โดยกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ
51. ใครเป็นกรมการจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัดอัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และ หน.ส่วนราชการประจำจังหวัดกระทรวงละ 1 คน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
52. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงต่างๆถ้ามีหลายตำแหน่งจะเป็นกรมการจังหวัดได้กี่ตำแหน่ง
ตอบ เป็นได้ 1 คนตามที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
53. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงใดที่เป็นกรมการจังหวัดได้มากกว่ากระทรวงอื่น
ตอบ กระทรวงมหาดไทย



54. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคเป็นกรรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
ตอบ เพิ่มได้โดยทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ
55. การตั้งอำเภอใหม่ต้องทำอย่างไร
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
56. ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงกี่กระทรวง
ตอบ 20 กระทรวง
57. ฐานะของส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (ม.7)
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ
58. ใครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ม.13)
ตอบ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร
59. ตำแหน่งใดไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ ผู้ช่วยนายอำเภอ
60. นายอำเภออาจมอบอำนาจให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้บ้าง (ม.38)
ตอบ ปลัดอำเภอ,เกษตรอำเภอ,สาธารณสุขอำเภอ,พัฒนาการอำเภอ
61. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.43)
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง
62. ในกรมการจังหวัดจะมีข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอยู่จำนวนเท่าใด (ม.53)
ตอบ 4 คน (ผวจ. รองผวจ.ที่ ผวจ. แต่งตั้ง ปจ. หน.สนง.จว.)
63. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดอาจจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ (ม.54)
ตอบ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
64. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้ข้อใดรับผิดชอบในการวางแผน
ตอบ สำนักงานจังหวัด
65. อำเภอแบ่งส่วนราชการออกเป็น (ม.66)
ตอบ สำนักงานอำเภอและส่วนราชการประจำอำเภอ
66. การจัดการปกครองนอกจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วให้เป็นไปตาม      (ม.68)
ตอบ  พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
67. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายแบ่งเป็นกี่ประเภท (ม.70)
ตอบ 4 (อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล และการปกครองท้องถิ่นอื่น ที่ กม.จัดตั้งขึ้น)
68. “ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด” หมายถึง (ม.70)
ตอบ กรุงเทพมหานคร/พัทยา / อบต.
69. ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน ,สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
70. ส่วนราชการใดที่มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน
71. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง มีดังนี้
ตอบ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี,สำนักงานปลัดกระทรวง,กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
72. การแบ่งส่วนราชการในกรมสามารถแบ่งออกเป็น ดังนี้
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม,กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
73. การมอบอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปได้หรือไม่โดยไม่รวมเรื่องมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ไม่ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

1.     พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตาม กฎหมายข้อใด

ก.  กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539

ข.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการ
      ปกครอง พ.ศ.2539

ค.  กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  ง.  ถูกทุกข้อ

2.ในทางปฏิบัติราชการส่วนใดจะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้

ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                        ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ค.  นายกรัฐมนตรี                                                                ง.  คณะรัฐมนตรี

3.ใครมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (แก่คณะรัฐมนตรี) ก่อนจะปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดบ้าง

ก.  คณะรัฐมนตรี                                                                 ข.  ก.พ.

ค.  ก.พ.ร.                                                                               ง.  ก.พ.อ.

4.     คำว่า "ส่วนราชการ" ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด

ก.  ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ            

ข.  ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ค.  ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม

ง.  ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

5.     การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ

ก.  7 ประการ                                                                        ข.  6  ประการ

ค.  5 ประการ                                                                        ง.  4 ประการ

6.     การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด

ก.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

ข.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ค.  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

ง.  เกิดผลคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

7.     ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด

ก.  ความผาสุกของประชาชน

ข.  ความอยู่ดีของประชาชน

ค.  ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน

ง.  ถูกต้องทั้งหมด

8.     ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการ

ก.  หน่วยราชการ                                                                 ข.  ประเทศ

ค.  สังคมและชุมชน                                                            ง.  ประชาชน

9.     ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะสอดคล้องตามข้อใด

ก.  สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ก.พ.ร.กำหนด

ข.  สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ค.  สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและแนสนโยบายกระทรวง

ง.  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ

10.  ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ประการ

ก.  5 ประการ                                                                        ข.  6 ประการ

ค.  7 ประการ                                                                        ง.  8 ประการ

11.  ส่วนราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการกำหนดแนวทางการบริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

ก.  กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ

ข.  จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน

ค.  ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

12.  ในทางปฏิบัติหากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการปฏิบัติ
ตามข้อใด

ก.  แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว

ข.  แจ้งเรียนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ทราบปัญหา

ค.  แจ้ง ก.พ.ร. ให้รับทราบ

ง.  แจ้งผู้บังคับบัญชาให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับมันโดยเร็ว
13.  ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้นจะต้องดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

ก.  จัดทำแบบปฏิบัติราชการโดยมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณตลอดจน
      เป้าหมายของภารกิจนั้น

ข.  รับความฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้ว
      กำหนดภารกิจ

ค.  จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น

ง.  กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของรัฐ

14.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดิน     โดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด

ก.  2 ปี                                    ข.  3 ปี                                    ค.  4 ปี                                    ง.  5 ปี

15.  หน่วยงานใดขาดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่

ก.  สำนักงบประมาณ   ข.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ค.  ก และ ข ถูก            ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข เท่านั้น

16.  ในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นส่วนราชการจะทำตามข้อใด

ก.  กระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาตการอนุมัติให้แก่ผู้ดำเนินการเรื่องนั้นได้โดยตรง

ข.  ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มภารกิจที่บริการให้มากที่สุด

ค.  ให้ประชาชนผู้ร่วมบริการรวมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์บริการเพียงแห่งเดียว

ง.  ถูกทุกข้อ

17.  ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน  ส่วนราชการจะจัดให้มีตามข้อใด

ก.  กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน

ข.  ให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการหรือข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับ
       การปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น

ค.  ให้มีอำนาจออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อบังคับใช้

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา       

18.  ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการคือข้อใด

ก.  คณะ ก.ร.ม.         ข.  ก.พ.ร.              ค.  ก.พ.                    ง.  คณะผู้ประเมินอิสระ

19.  ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการอาจจัดให้มีการประเมินข้อใดบ้าง

ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                 ข.  หน่วยงานในส่วนราชการ

ค.  ข้าราชการ                                                       ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

20.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของภารกิจนี้     อย่างน้อยจะต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับข้อใดบ้าง

ก.  การลดขั้นตอน การปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการ
     ของประชาชน

ข.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

ค.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

21.  ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ คือ

ก.  สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ข.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  กระทรวงมหาดไทย                      ง.  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

 

22. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช้ระหว่าง พ.ศ.2550-2554  (ครม.เห็นชอบเมื่อวันอังคารที่ 15 ส.ค.49)

23. วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีสาระ  ดังนี้

       มุ่งพัฒนาสู่  “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน  คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้  รู้เท่าทันโลก  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชน

       เข้มแข็ง   สังคมสันติสุข  เศรษฐกิจมีคุณภาพและเป็นธรรม  สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้

       ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล  ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและอยู่ใน

       ประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ”

24. พันธกิจ  ในการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10  มุ่งสู่  “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ”  ภายใต้แนวปฏิบัติของ     

       “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”  ดังนี้

        1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน

        2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ  เสถียรภาพ และเป็นธรรม

        3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

        4) พัฒนาระบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข

 

25. เป้าหมาย  ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10  มี  5  ด้าน  คือ

         1) ด้านการพัฒนาคุณภาพคน 2) ด้านการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน          3) ด้านเศรษฐกิจ                 

         4) ด้านการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม        5) ด้านธรรมาภิบาล

26. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ   ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  10  มี ดังนี้

         1) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

         2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ

         3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน

          4) การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

          5) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

27. วัตถุประสงค์ ของการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10

         1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม  จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

         2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน  เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

         3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ

         4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยง

         5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม

         6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

         7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

28 . จริยธรรมที่ใช้ในการทำงานของผู้บริหารและนักพัฒนา

    อคติ    4  ประการ  คือ

                                1. ฉันทาคติ           ความลำเอียงเพราะชอบ

                                2. โทสาคติ            ความลำเอียงเพราะชั่ว

                                3. โมหะคติ           ความลำเอียงเพราะหลง

                                4. ภยาคติ               ความลำเอียงเพราะกลัว

     สังคหวัตถุ  4  ประการ  คือ

                                1. ทาน   คือ  การให้

                                2. ปิยวาจา  คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน

                                3. อัตถจริยา  คือ  ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

                                4. สมานัตตตา  คือ  การปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวสม่ำเสมอ

      พรหมวิหาร  4   ประการ  คือ

                                1. เมตตา    ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข

                                2. กรุณา     ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

                                3. มุทิตา     ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข

                                4. อุเบกขา  ความมีใจเป็นกลาง การวางเฉย

 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม

29. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

                “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้าที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน

                 การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นที่กำหนดไว้ในระเบียบ

30. “พัสดุ” หมายความ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

31. “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายถึง

                - สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและ

                  มีฐานะเป็นนิติบุคคล

                - สำหรับราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด

32. “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

        ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับพัสดุ ตามองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น

         ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี

33. “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับ

         แต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ

34. การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ 6 วิธี คือ

                1) วิธีตกลงราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท

                2) วิธีสอบราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน

                  2,000,000 บาท

                3) วิธีประกวดราคา คือการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท

                4) วิธีพิเศษ

                5) วิธีกรณีพิเศษ

                6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

35.   คณะกรรมการที่ดำเนินการตามระเบียบฯ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และ

          กรรมการอย่างน้อย 2 คน  โดยปกติเดิมให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณี

          จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการก็ได้

36. การซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่ง

         ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ

         คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

 

37. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนถ้าเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้

         ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ

         ราชการนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานของความเป็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อ

         หัวหน้าส่วนราชการให้ความเป็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดย

         อนุโลม

38. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบ

         ราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่ง

          ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น

         โดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย

         ณ ส่วนราชการนั้น

39. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับ 6  พ.ศ. 2544

40. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535คือ  ปลัดกระทรวงการคลัง

41. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งในระดับภูมิภาค

42. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.)  ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ

        ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 5 คน มีวาระคราวละ 2 ปี

43. การตรวจสอบพัสดุประจำปี  ดำเนินการ  ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี  ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่ง หรือหลายคนตามความจำเป็น  เพื่อตรวจสอบการจ่ายพัสดุ  งวดตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่  30 กันยายน ปีปัจจุบัน

ระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539

44. การลา ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539

        มี  9 ประเภท  ได้แก่    1. ลาป่วย    2. ลากิจส่วนตัว      3. ลาคลอดบุตร     4.  ลาพักผ่อน     

            5. ลาอุปสมบท   6. ลาตรวจเลือก/ระดมพลทหาร     7. ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน 

            8.  ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ            9. ลาติดตามคู่สมรส

45. การลาป่วย  ลาได้ดังนี้

                1. ลาได้ไม่เกิน  120 วันทำการ  เว้นแต่อันตรายจากปฏิบัติหน้าที่

                2.  ลา  30 วันขึ้นไป  ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ไม่ถึง  30 วัน ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา)

46. การลากิจส่วนตัว  ลาได้ดังนี้

          1.  ลาได้ไม่เกิน  45 วันทำการ     2. ลากิจส่วนตัวเลี้ยงดูบุตรให้ลาต่อเนื่องจากการลาคลอดได้ไม่เกิน  150 วันทำการโดยไม่ได้รับเงินเดือน

47. ลาคลอดบุตร    ลาได้ไม่เกิน  90 วัน (นับจากวันเริ่มลาทุกวันแม้วันหยุด)

48. ลาอุปสมบท/พิธีฮัจย์   ไม่เกิน  120 วัน  ส่งใบลาก่อนวันบวช/วันไป ไม่น้อยกว่า  60 วัน ต่อปลัดกระทรวง

49. ลาศึกษาต่อ  ฝึกอบรม  ดูงาน/ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ/ลาติดจามคู่สมรส  ลาได้ไม่เกิน  4 ปี

50. พัฒนาการอำเภอ  มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในฝ่าย ลาป่วยครั้งที่หนึ่งไม่เกิน  30 วัน 
        ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  15 วัน

51. นายอำเภอ มีอำนาจให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในส่วนราชการ  ลาได้ดังนี้

            1.  ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน  60 วัน   ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  30 วัน        2.  ลาคลอดบุตร   3. ลาพักผ่อน

52. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจให้ข้าราชการในสังกัด ลาได้ ดังนี้

                  1.  ลาป่วย  120 วัน , ลากิจ  45 วัน         2.  ลาคลอดบุตร       3. ลาพักผ่อน     4. ลาเข้ารับการระดมพล

53.  การลาพักผ่อน มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

                    1.  ต้องเข้ารับราชการแล้ว ครบ  6 เดือน

                    2.  ลาได้  10 วัน/ปี

                    3.  ลาสะสมได้ไม่เกิน  20 วัน/ปี  เว้นแต่รับราชการ  10 ปี มีวันลาสะสมได้ไม่เกิน  30 วัน

54. การนับวันลาตามระเบียบนี้  ให้นับตามปีงบประมาณ

55. การลากิจส่วนตัว, ลาพักผ่อน และลาป่วย ที่มิใช่ลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการ

       ผู้ได้รับอันตราย หรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้นับเฉพาะวันทำการ

56. การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอใน

       ท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค

ในสังกัดจังหวัด หรืออำเภอนั้น ๆ ไปประเทศนั้นได้ โดย - ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน

       -นายอำเภอมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 3 วัน

57. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยปกติให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา

        ตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันลาอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบ

        พิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความ

        จำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้

58. ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือกให้รายงานการลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับ

          การตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

59. ข้าราชการทีได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง

          นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป

60. การลาตามข้อ58,59 ข้าราชการผู้นั้นให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

         ตามวัน เวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต

61. การลาติดตามคู่สมรส ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา

         ตามลำดับ จนถึงปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการชั้นตรงแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้

         ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจำเป็น อาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจาก

         ราชการ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ข้อสอบงานสารบรรณ  

1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ              ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร**       ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร
2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516                            ข.1 มิถุนายน 2526**
ค.1 ตุลาคม 2526                              ง.1 ธันวาคม 2527
3.หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย      ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ**
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ      ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ
4.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก**                              ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา                              ง.หนังสือประชาสัมพันธ์
5.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง                                            ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย                          ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย**
6.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน                 ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน                    ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. **
7.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม**                                   ข.การเก็บหนังสือ
ค.ผู้ส่งและผู้รับ                                    ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง
8.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม                    ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา                        ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. **
9.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา                                      ข.สั่งการ
ค.ประชาสัมพันธ์ **                                ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น



จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 10 ถึง 13
ก.แถลงการณ์
ข.ข้อบังคับ
ค.คำสั่ง
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.
10. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย** ข
11. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน**ก
12. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย** ค
13.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน** ง
14.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา                           ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
ค.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ**                         ง.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
15.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
ก.ใต้รูปครุฑ                                         ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก **
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้          ง .ผิดทุกข้อ
16.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด                             ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา                          ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ**
17.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน                     ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์             ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ**
18.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป           ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย                          ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย**
19.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด                      ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ ** ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา
20.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ          ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติหลักฐาน**   ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน
21.ตั้งแต่ข้อ 22 ถึง 25 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วน ใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง
22.เลขที่หนังสือออก ** ก
23.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ ** ง
24.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ** ค
25.ด่วนมาก **

26.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
ก.5 ปี                          ข.10 ปี**
ค.15 ปี                         ง.20 ปี
27.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม**             ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน  ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
28.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
ก.เวลาเลิกประชุม                       ข.ผู้จดรายงานการประชุม**
ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม            ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม
29.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 4                                     ข. 3**
ค. 2                                     ง.ประเภทเดียว
30.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี  ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา   ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.**
31.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ                  ข.ประทับตรารับหนังสือ
ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร          ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ**
32.การเสนอหนังสือคืออะไร
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ                    ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา**
33.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
ก.ทะเบียนรับ                                       ข.ทะเบียนจ่าย**
ค.ทะเบียนส่ง                                        ง.ทะเบียนเก็บ
34.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
ก. 2                        ข. 3
ค. 4**                    ง. 5
35.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ**                    ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว              ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
36.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
ก.การค้นหา**                              ข.การตรวจสอบ
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ                  ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

37.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก                         ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ                            ง.หนังสือประทับตรา**
38.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง     ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก     ง.กระทรวง กรม กอง แผนก**
39.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา**                  ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย                     ง.ที่มุมล่างขวา
40.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ**
41.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายใน                         ข.หนังสือภายนอก
ค.หนังสือราชการด่วน                    ง.หนังสือราชการลับ**



42.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใ ด
ก.คำขึ้นต้น                               ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ                               ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.**
43.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง**                                  ข.ดำ
ค.น้ำเงิน                                   ง.เขียว
44.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
ก.คำสั่ง                                   ข.ระเบียบ
ค.ข้อบังคับ                                ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.**
45.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ                               ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย**
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้                        ง.ไม่มีคำตอบถูก
46.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน                                          ข.กราบเรียน
ค.ถึง                                             ง.นมัสการ**
47.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน                         ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน                 ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน**
48.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ**
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง
49.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
ก.ทรงเครื่อง**                  ข.แต่งพระองค์
ค.ทรงเครื่องใหญ่               ง.ทรงพระสุคนธ์
50.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
ก.ไม่สบาย                     ข.ประชวร
ค.อาพาธ**                     ง.ทรงพระประชวร



51.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง                      ข.ฟังเทศน์
ค.ทำบุญ**                     ง.ไปวัด
52.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก. พระรูป                       ข.กระจกส่อง**
ค.หวี                             ง.ช้อนส้อม
53.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
ก.ถึงแก่กรรม                      ข.มรณกรรม
ค.อสัญกรรม **                    ง.พิราลัย
54.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแหงชาติ**
55.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ                       ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก                       ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย**
56.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.1 ปี**                             ข.1 ปี 6 เดือน
ค.2 ปี                                ง.3 ปี
57.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
ก. 2 คน                              ข. 3 คน**
ค. 4 คน                               ง. 5 คน
58.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
ก.อธิบดี                              ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
ค.ปลัดกระทรวง                       ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี**
59.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด                           ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด                ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด**



60.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าไร
ก.2.5 ซม.                               ข.3.0 ซม.**
ค.3.5 ซม.                                ง.4.0 ซม.
61.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม.               ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
ค. 4.5 ซม. และ 3.5 ซม.**             จ.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้
62.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
ก. 2 ขนาด**                              ข. 3 ขนาด
ค. 4 ขนาด                                 ง. 5 ขนาด
63.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก**                        ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง                             ง.รองอธิบดี
64.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราช การตลอดไป
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์              ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า   ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.**
65.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
ก.อธิบดี                                           ข.ปลัดกระทรวง
ค.นักวิชาการ ชำนาญการ                        ง.ถูกหมดทุกข้อ**

พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

66. พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

                “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใด ๆ

                  ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งของนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และ

                  ไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม

                    การบันทึกภาพหรือเสียงการบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทำไว้ปรากฏได้

                “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ

                   ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน

                “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานการเงิน

                   ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมายรหัส

                   หรือสิ่งของบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์ลายนิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะ เสียงของคน

                    หรือรูปถ่ายและให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย

67. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชการกิจจานุเบกษา คือ

1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน

2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ และวิธีการดำเนินงาน

3) สถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ

4) กฎ มติครม. ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ

5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

68. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้

69. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่  
          ของรัฐ อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของ
          รัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน คือ

                1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่าง
                 ประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ

                2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับให้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตาม
                 วัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การ
                 ตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม

                3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานองรัฐในการดำเนินการเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง
                 รายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการนำความเห็นหรือ
                 การแนะนำภายในดังกล่าว

                4) การเปิดเผย จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด

                5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล
                 โดยไม่สมควร

                6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดย
                 ไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำมาเปิดเผยต่อผู้อื่น

70. “บุคคล” ตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หมายความว่าบุคคลธรรมดาที่มี

สัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทย

71. “ บุคคลในครอบครัว” ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526

         หมายถึง        1) คู่สมรส

                                2) บุตร

                                3) บิดา มารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส

                                4) ผู้ติดตาม



72. “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุ

          เป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

73. การเดินทางไปราชการชั่วคราวได้แก่

                1) การปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกสถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่ง

                 ผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการ

                2) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือก ตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา

                3) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน

                4) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำ

                 ในต่างประเทศ

                5) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศ ตามข้อตกลง

                 ระหว่างประเทศ

74. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้แก่

                1) ค่าเบี้ยเลี้ยง

                2) ค่าเช่าที่พัก

                3) ค่าพาหนะ  รวมถึงการเช่ายานพาหนะ หรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก

                    ค่าจ้างคนหาบหามและอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน

                4) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อในการเดินทางไปราชการ

75. การนับเวลาเดินทางไปราชการ เพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่

         หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนถึงกลับสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการแล้วแต่กรณี

          เวลาเดินทางไปราชการให้นับ 24ชั่วโมง เป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึง 24 ชั่วโมง หรือเกิน 24 ชั่วโมง

         และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชั่วโมง ถ้านับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งวัน

76. การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ เบิกค่าเช่าที่พักได้ดังนี้

                ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าให้พักแรมรวมกัน 2 คนต่อห้อง โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้

                เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว

                เว้นแต่กรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้

                 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว

77. ในกรณีที่เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายวันละไม่เกิน 1,000 บาท

78. การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก หรือการเดินทางไปราชการในกรณีนำบุคคลไม่มี

          สิทธิไปด้วย ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างไป กลับ ระหว่างสถานที่พักไม่ได้

79. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายใยการฝึกอบรม ใช้ระเบียบ พ.ศ.2549 โดยยกเลิก

          ระเบียบเดิมทั้งหมด



80. การฝึกอบรมระดับต้น หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลกรของรัฐ

          ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 1 ถึงระดับ 2 หรือมีระดับตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 1 และ 2

81. การฝึกอบรมระดับกลาง หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลกรของรัฐ

          ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ  3  ถึงระดับ 8

82. บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ตามระเบียบฯ ได้แก่

                1) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติและผู้ติดตาม

                2) เจ้าหน้าที่

                3) วิทยากร

                4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

                5) ผู้สังเกตการณ์

83. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรเป็นดังนี้

                1) ชั่วโมงฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกิน 1 คน

                2) ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการอภิปราย หรือสัมมนาเป็นหมู่คณะ ให้จ่ายค่าสมนาคุณ

                 วิทยากรได้ไม่เกิน 5 คน โดยรวมถึงผู้ดำเนินการอภิปราย

84. การนับชั่วโมงการฝึกอบรมให้นับตามเวลาที่กำหนดในตารางการฝึกอบรม โดยไม่ต้องหักเวลาที่พัก

         รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม แต่ละชั่วโมงของการฝึกอบรมต้องมีกำหนดเวลาการฝึกอบรม

         ไม่น้อยกว่า 50 นาที กรณีกำหนดเวลาการฝึกอบรมไม่ถึง 50 นาที แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาทีให้เบิก

         ค่าสมนาคุณวิทยากรได้ครึ่งหนึ่ง

85. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร

                1) วิทยากรที่เป็นบุคคลของรัฐ ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรสำหรับการฝึกอบรม ระดับต้น

                 ระดับกลางและบุคคลภายนอก ไม่เกิน ชั่วโมงละ 600 บาท สำหรับการฝึกอบรมระดับสูง

                 ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท

                2) วิทยากรที่ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมระดับต้น

                 ระดับกลาง และบุคคลภายนอก ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท สำหรับการฝึกอบรมระดับสูง

                 ไม่เกินชั่วโมงละ 1,600 บาท

86. การจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอก

                1) การจัดฝึกอบรมที่ไม่จัดอาหารทั้ง 3 มื้อ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 120 บาท/วัน

                2) การฝึกอบรมมีจัดอาหารให้ 2 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 80 บาท/วัน

                3) การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้ 1 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 40 บาท/วัน

87. อัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม

                1) การฝึกอบรมระดับต้น ระดับกลางและการฝึกอบรมบุคคลภายนอก

                                - ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 500 บาท

                                - ถ้าจัดไม่ครบทุกมื้อไม่เกิน 300 บาท

                2) การฝึกอบรมระดับสูง

                                - ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 700 บาท

                                - ถ้าจัดไม่ครบทุกมื้อไม่เกิน 500 บาท

88. ตามระเบียบของทางราชการ “รถยนต์ราชการ” มีกี่ประเภท และหมายถึงรถยนต์ในลักษณะใด

                ตอบ        4 ประเภท รถประจำตำแหน่ง รถส่วนกลาง รถรับรอง และรถอารักขา

แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง

1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
    ตอบ    ROYAL-INTIATED SELF SUFFICIENT ECONOMY PROJECT
2. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทาง         มาแล้วกี่ ปี
    ตอบ  25 ปี
3. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
    ตอบ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีระบบคุ้มกันในตัว
4. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
    ตอบ    ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้
5. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
    ตอบ   ทุนทางสังคม (Social Capital)
6. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
    ตอบ   ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
7. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
    ตอบ     สนับสนุนเงินทุน   เป็นผู้ให้ความสะดวก (FACILITATOR) และสนับสนุน (SUPPORTER)
8. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
    ตอบ     คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ( กปร.)
9. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
    ตอบ      คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
10. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
    ตอบ   องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน

11. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
                ตอบ   การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
12. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
                ตอบ  เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
13. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
                ตอบ  ระดับจังหวัด และอำเภอ
14. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
                ตอบ   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
15. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
                ตอบ   แบบองค์รวม (HORISTIC APPROACH) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น
16. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
                ตอบ   โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

17. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
                ตอบ   เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
18. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ 8 ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
                ตอบ  ประชาคมจังหวัด
19. ตามแนวคิดประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) แบ่งสังคมออกเป็นส่วน ๆ กี่ส่วน อะไรบ้าง
        ตอบ 3 ส่วน คือภาครัฐหรือราชการ (PUBLICE SECTOR) ภาคธุรกิจเอกชน (BUSINESS SECTOR)และภาคประชาชน (VOLUNTARY SECTOR)
20. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
                ตอบ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบัน  ราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
21. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
                ตอบ  THE PROJECT OF COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : (CERCAP)



22. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
                ตอบ  คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
23. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
                ตอบ  UNDP – UNITED NATION DEVELOPMENT PROGRAMME
24. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

        ตอบ     การสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด
25. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ
    ตอบ     การอบรมแบบมีส่วนร่วม (PARTICITIPATORY TRAINING)
26. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ- A – I – C (APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL) F.S.C. (FUTURE SEARCH CONFERENCE)
27. F.S.C. คืออะไร
     ตอบ FUTURE SEARCH CONFERENCE หรือการสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ

28. A – I – C คืออะไร
      ตอบ APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน
29. ทุนทางสังคม (SOCIAL CAPITAL) คืออะไร
      ตอบ   ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม
30. ประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) คืออะไร
      ตอบ  การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก(CIVIL CONSCIOUSNESS) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
31. องค์ประกอบของประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
      ตอบ  จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม



32. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
      ตอบ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANG AGENT)
33.  เวทีประชาคมคืออะไร
       ตอบ  คือ พื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้
34. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
       ตอบ  การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
35. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
                -องค์ประกอบ 9 ประการ คือ
                1. มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
                2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
                3. มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเอง รักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
                4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
                5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
                6. เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
                7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
                8. มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
                9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย
36.  ยูเนสโก ประกาศให้คนไทย  2  ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก คือ  ม.ร.ว ศึกฤทธิ์  ปราโมทย์ และ                สุนทราภรณ์   (เอื้อ  สุนทรสนาน)

37.  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2553  กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันอย่าง  

  ต่อเนื่อง  “รั้วชายแดน  รั้วสังคม รั้วชุมชน  รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว    ” และ กำหนดนโยบายเร่งด่วน “Clean and seal”

38.  Clean  and  seal  คือ  การกวาดล้างและการป้องกัน

39.  การประชุม ASEAN(๑๐ ประเทศ) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  เป็นครั้งที่ 15 (+๓  คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี

       (+๖  ได้แก่ อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย) การประชุมครั้งที่16 ประเทศเวียตนาม เป็นเจ้าภาพ

40.  การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เน้นไปที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) 2. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) 3.การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265) 4.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266) 5.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190)  และ 6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)

41.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีใด  และมีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน

ตอบ     เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี  2543  มีจำนวนทั้งสิ้น  99  คน


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้