256.โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อของแล้วไม่ชำระเงิน จำเลยต่อสู้ว่าชำระเงินแล้ว คดีนี้มีประเด็นว่า "ชำระเงินแล้วหรือยัง" ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นชนิดใด
ก. ประเด็นแห่งคดี ข. ประเด็นข้อพิพาท
ค. เป็นประเด็นแห่งคดีแล้วกลายมาเป็นประเด็นข้อพิพาท
ง. เป็นทั้งประเด็นแห่งคดีหรือเป็นประเด็นข้อพิพาท
ตอบ (ค.)
ข้อสังเกต ดูหลักในข้อสงเกตุ ข้อ 6
257. ความหมายคำว่า "ประเด็นแห่งคดี" ในกฎหมายลักษณะพยาน ข้อใดถูกที่สุด
ก. ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างเพื่อเป็นเหตุให้ศาลคุ้มครองสิทธิของตน
ข. เป็นกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างขึ้นเพื่อเป็นเหตุให้ศาลบังคับให้
ค. ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงหรือกล่าวหาและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ(ง.)
258. ในคดีอาญา ถ้าจำเลยปฏิเสธหรือเฉยถือว่าไม่ยอมรับ ผู้ใดมีหน้าที่นำสืบ
ก. จำเลย ข. โจทก์
ค. แล้วแต่ศาลสั่ง ง. แล้วแต่คู่ความจะตกลงกัน
ตอบ(ข.)
259. ในเวลาที่ ก. ข. วิวาทกัน ข. ใช้มีดแทน ก. ตาย นาย 1, 2, 3, 4 อยู่ในบริเวณนั้นและเห็น เหตุการณ์ กรณีเช่นนี้นาย 1, 2, 3, 4 เป็นพยานชนิดใด
ก. ประจักษ์พยาน ข. พยานบอกเล่า
ค. พยานคู่ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ควรตอบข้อ (ก) และ (ค)
ข้อสังเกต 1,2,3, 4 สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากประสาทสัมผัสของเขา มิได้รับข้อเท็จจริงจากการบอกเล่าจึงไม่ใช่พยานบอกเล่า
260. คำขอฝ่ายเดียว หมายความว่า
ก. ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและไม่ต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่
ข. ไม่ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและไม่ต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่
ค. ไม่ต้องส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้ามและต้องฟังว่าอีกฝ่ายจะคัดค้านหรือไม่ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
261. ตามธรรมดาความเห็นของพยานหรือของบุคคลอื่น ศาลไม่รับฟัง มีกรณีใดบ้างที่ศาลรับฟังความเห็น
ก. ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ข. ความเห็นของบุคคลธรรมดาในเรื่องลายมือเขียนหนังสือ
ค. ความเห็นของบุคคลธรรมดาในเรื่องความคล้ายคลึงของตัวบุคคลหรือวัตถุ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ (ง.)
262. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นพยานบอกเล่า
ก. พยานเห็นนาย ก. วิ่งออกจากบ้านมีบาดแผล และ นาย ก. ได้บอกพยานว่า นาย ข. ทำร้าย
ข. พยานให้การว่าขณะเกิดเหตุได้ยินเสียงตะโกนว่านาย ข. เป็นคนร้าย
ค. ถูกเฉพาะข้อ ก.
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
ตอบ(ค.)
263. การที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นหนังสือต่อศาลเพื่อให้ตรวจดู ข้อความนั้นเป็นพยานประเภทใด
ก. เป็นพยานเอกสาร
ข. เป็นพยานบุคคล
ค. เป็นพยานวัตถุ
ง. เป็นทั้งพยานเอกสารและพยานวัตถุ
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต หากตรวจอย่างอื่นมิใช่ข้อความ เป็นพยานวัตถุ
264. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และอ้างว่ากระทำความผิดมาก่อน ขอให้เพิ่มโทษด้วย จำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง ปัญหาว่าคำรับสารภาพเช่นนี้เป็นคำรับสารภาพอย่างไร
ก. รับสารภาพว่าลักทรัพย์จริง และรับว่าเคยกระทำผิดมาก่อน
ข. รับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ครั้งนี้เท่านั้น
ค. รับสารภาพว่าเคยกระทำความผิดมาก่อน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
265. ข้อใดเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ตาม ป.วิ. แพ่ง ม. 93
ก. เมื่อคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
ข. ต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้หรือสูญหายศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบ
ค. ต้นฉบับทำลายโดยเหตุสุดวิสัย ศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
266. ข้อใดที่ไม่ต้องปฏิบัติ ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารหรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นหรือส่งเอกสารนั้น
ก. คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารอาจยื่นคำขอ
ข. ทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดการส่งสำเนาเอกสาร
ค. ทำเป็นคำร้องขอยืดเวลาการส่งสำเนาเอกสาร
ง. ขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน
ตอบ (ง.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 90 วิแพ่ง วรรคท้าย ให้ทำเป็นคำร้อง ขออนุญาตงดยื่นสำเนา และขอยื่นต้นฉบับแทน
267. ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลจะรับฟ้องความเห็นมีชื่อเรียกต่าง ๆ คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญ (2) ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ (3) ผู้ชำนาญการพิเศษ ถามว่าผู้เชี่ยวชาญประเภทใดใน 3 ประเภทนี้ สามารถทำความเห็นเป็นหนังสือส่งมายังศาลได้ โดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น
ก. ผู้เชี่ยวชาญ
ข. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ
ค. ผู้ชำนาญการพิเศษ
ง. ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเภท ต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น
ตอบ (ก.)
ข้อสังเกต ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรณีคดีแพ่ง ตามมาตรา 130 วิแพ่ง
268. ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือเสนอต่อศาล และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือ ต้องส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเท่าใดก่อนวันเบิกความ
ก. ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันเบิกความ
ข. ไม่น้อยกว่า 5 วัน ก่อนวัน เบิกความ
ค. ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันเบิกความ
ง. ไม่น้อยกว่า 10 วัน ก่อนวันเบิกความ
ตอบ (ก.) ข้อสังเกต ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรณีคดีอาญา ตามมาตรา 243 วิอาญา
269. พยานที่ไม่เคยได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวน นั้น
ก. คู่ความอ้างเป็นพยานได้
ข. คู่ความอ้างเป็นพยานไม่ได้
ค. ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็อ้างไม่ได้
ง. แล้วแต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่
ตอบ (ก.)
270. การรับฟังพยานหลักฐาน
ก. เมื่อได้ยื่นถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานแล้วศาลต้องรับฟังทุกอย่าง
ข. เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกิดสมควรหรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น เมื่อคู่ความยื่นถูกต้องแล้วศาลต้องรับฟัง
ค. พยานหลักฐานที่ฟุ่มเพื่อยเกินไปหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
ง. พยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟื่อยเกินไปหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็นศาลมีอำนาจ
งดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้แต่ไม่มีสิทธิงดการสืบพยานหลักฐานอื่นโดยเด็ดขาด
ตอบ (ค.)
271.การท้ากันในประเด็นแห่งคดี ในคดีอาญานั้น
ก. ศาลรับฟังคำท้าในประเด็นคดีอาญาได้
ข. การท้ากันในประเด็นแห่งคดีมีเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น
ค. การท้ากันในประเด็นแห่งคดีมิได้ทั้งทางแพ่งและอาญา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
272. พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็น
ก. ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานเช่นนั้นได้ ข. ศาลต้องสืบพยานหลักฐานนั้น
ค. แล้วแต่คู่ความตกลงกัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
273. การส่งหมายเรียกพยาน ต้องให้พยานรู้ตัวล่วงหน้าอย่างน้อย
ก. 3 วัน ข. 7 วัน ค. 15 วัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ก.)
274. นายน้อยกำนันมีอาชีพทำนาและได้เลี้ยงกระบือไว้หลายตัว มีความรู้ในเรื่องลักษณะของกระบือพอสมควร ได้มาเป็นพยานเบิกความว่า กระบือพิพาท ตาเป็นฝ้าไม่ใช่ตาถั่วดังนี้ คำพยานนี้จะรับฟังได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้ ข. นายน้อยเป็นกำนันแม้จะมีกระบือหลายตัวก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
ค. รับฟังเป็นพยานได้ ง. นายน้อยไม่ใช่ผู้ที่ศาลแต่งตั้งรับฟังไม่ได้เลย
ตอบ(ค.)
275. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นพยานวัตถุ
ก. ศิลาจารึก ข. ป้ายเลขทะเบียนรถยนต์ ค. บาดแผล ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
276. คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยนั้น
ก. ใช้ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ข. ใช้ลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้เลย
ค. ถ้าคดีมีอัตราโทษไม่เกิน 3 ปี จึงจะใช้ยันลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
ง. ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธชั้นศาลจึงจะใช้ยันไม่ได้
ตอบ(ข.)
277. ศาลจะบังคับให้พยานตอบคำถามที่พยานอาจจะถูกฟ้องในคดีอาญาได้หรือไม่
ก. ได้เสมอ ข. ไม่ได้เลย
ค. ศาลบังคับไม่ได้ต้องเตือนพยานก่อน ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
ข้อสังเกต ตามมาตรา 118 วิแพ่ง
278. ผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนกันเป็นพยานนั้น โจทก์จะอ้างเป็นพยานต่อศาลในคดีที่ผู้ต้องหาดังกล่าว และจำเลยร่วมกันกระทำผิดได้หรือไม่
ก. ได้ ข. ไม่ได้ ค. แล้วแต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่
ง. ถ้าในคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูง 5 ปีขึ้นไปอ้างไม่ได้
ตอบ(ก.)
279. จำเลยในคดีอาญาทำร้ายร่างกายสาหัสให้การต่อศาลว่า "ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าได้กระทำจริงตามฟ้อง" โจทก์จึงไม่ติดใจนำพยานหลักฐานในเรื่องได้รับอันตรายสาหัสขึ้นพิสูจน์ในข้อนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะแปลคำรับของจำเลยในศาลอย่างไร
ก. จำเลยรับสารภาพฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
ข. ศาลจะพิพากษาจำเลยฐานทำร้ายร่างกายธรรมดาและทำร้ายร่างกายสาหัสเรียงกระทงความผิด
ก. จำเลยมิได้รับในข้อที่ว่าการทำร้ายร่างกายนั้นได้ทำให้เกิดบาดเจ็บสาหัสนั้นมิใช่เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบการกระทำผิดที่จำเลยรับสารภาพ เมื่อจำเลยจะรับในข้อนี้ก็ต้องให้ปรากฎชัดในคำให้การหรือคำแถลงของจำเลยและโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานพิสูจน์ในข้อนี้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายธรรมดา
ข. คำสารภาพจำเลยไม่ชัดเจน เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยประกอบพยานหลักฐานไม่มี พิพากษายกฟ้อง
ตอบ(ค.)
280. ข้อความดังต่อไปนี้ ข้อใดผิด
ก. กฎหมายไทยศาลรับรู้ ได้เองไม่ต้องสืบพยาน
ข. จังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกับจังหวัดอะไร ศาลรู้ได้เองไม่ต้องสืบพยาน
ค. ราชกิจจานุเบกษา ศาลรู้ได้เองไม่ต้องสืบพยาน ง. ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ(ง.)
281.ในระหว่างพิจารณา
ก. ศาลไม่มีอำนาจถามโจทก์ หรือจำเลยได้
ข. ศาลมีอำนาจถามโจทก์ จำเลยได้
ค. ศาลถามจำเลยเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
282. ในคดีอาญานั้น
ก. ห้ามมิให้โจทก์อ้างภริยาจำเลยเป็นพยาน ข. ห้ามมิให้โจทก์อ้างบุตรจำเลยเป็นพยาน
ค. ห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยาน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ค.)
283. ในคดีอาญานั้น
ก. จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้ ข. จำเลยอ้างโจทก์เป็นพยานได้
ค. จำเลยอ้างพยานร่วมกับโจทก์ได้ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
284. กฎหมายลักษณะพยาน เป็นกฎหมายประเภท
ก. สาระบัญญัติ ข. วิธีสบัญญัติ
ค. เป็นได้ทั้งสาระบัญญัติ และวิธีสบัญญัติ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
285. พยานหลักฐานใด ๆ ที่สามารถจะแสดงท่าทางหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้ศาลทราบได้ เรียกว่า
ก. สามัญพยาน ข. วิจักขณพยาน
ค. โมกษพยาน ง. พยานสาธิต
ตอบ(ง.)
286. พยานอัน หมายถึง พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา คือ พยานซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แต่เดิมนิยมใช้ เรียกว่า
ก. สามัญพยาน ข. วิจักรขณพยาน
ค. โมกษพยาน ง. พยานสาธิต
ตอบ(ค.)
287. ประเด็นข้อพิพาทที่ถือว่าศาลทราบได้เอง โดยไม่ต้องนำพยานหลักฐานใดมาสืบเช่น
ก. กฎหมายวิธีพิจารณา และธรรมเนียมประเพณี
ข. รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการปกครองแบบประชาธิปไตย
ค. ตราแผ่นดิน ใช้เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ(ง.)
288. ในคดีอาญา การนิ่งหรือเฉย หรือไม่ต่อสู้ของจำเลยในประเด็นที่เกิดขึ้น ถือว่าจำเลย
ก. ยอมรับ ข. ไม่ยอมรับ
ค. ไม่ปฏิเสธ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ข.)
289. พยานจะต้องตอบคำถามของศาลเสมอไปหรือไม่
ก. ต้องตอบเสมอไป เพราะฉะนั้นจะมีความผิดฐานขัดคำบังคับตาม ป. อาญา
ข. ไม่จำเป็นต้องตอบ อยู่ที่ความพอใจ
ค. ปกติต้องตอบ ยกเว้นซึ่งถ้าตอบไปแล้วพยานอาจถูกฟ้องในคดีอาญา ฐานหมิ่นประมาท
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
290. พยานเอกสารแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด คือ เอกสารมหาชน เอกสารเอกชน เอกสารราชการ
ข. 1 ชนิด คือ เอกสารสิทธิ
ค. 2 ชนิด คือ เอกสารมหาชนและเอกสารเอกชน
ง. 2 ชนิด คือ เอกสารทางอาญา และเอกสารทางแพ่ง
ตอบ (ค)
ข้อสังเกต บางทีก็แบ่งเป็น 3 ประเภทตามข้อ (ก)
291. พยานความเห็นรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้เลย เพราะไม่ได้รู้เห็น ข. รับฟังได้เสมอ
ค. รับฟังไม่ได้ เว้นแต่เป็นความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)
292. สำเนาเอกสารใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ในกรณีใด
ก. ใช้ได้เสมอ ข. ปกติศาลไม่ยอมรับฟัง เว้นแต่ต้นฉบับหาไม่ได้
ค. ปกติศาลไม่ยอมรับฟัง เว้นแต่เป็นสำเนาเอกสารราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้อง
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
ตอบ (ข.)
293. ในคดีอาญา อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ ต่อมาอัยการโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และขออ้างจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเป็นพยานฝ่ายโจทก์ ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้เพราะโจทก์จะอ้างจำเลยเป็นพยานไม่ได้
ข. ได้ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลยอีกต่อไปแล้ว
ค. ได้ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร โดยใช้ดุลพินิจ ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ข.)
294. บุคคลธรรมดาสามารถอ้างเป็นพยานได้หรือไม่
ก. อ้างได้เสมอ ถ้าสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้
ข. อ้างได้ ถ้าเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้จะไม่ได้ยินหรือเห็นหรือทราบเรื่องราวเกี่ยวกับคดีก็ตาม
ค. อ้างได้เสมอถ้าสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้และต้องได้ยินได้เห็น หรือทราบเรื่องเกี่ยวกับคดีนั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (ค.)
295. ความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษที่ทำเป็นหนังสือส่งต่อศาล ใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เพียงใด
ก. ใช้ได้เลยเพราะมีน้ำหนักพอ
ข. รับฟังได้โดยมีลายเซ็นของผู้ชำนาญการพิเศษในหนังสือเท่านั้นก็พอ
ค. รับฟังได้ เมื่อผู้ชำนาญการพิเศษได้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้นต่อศาล
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ(ค.)