ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบนิติกร 3 กรมปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./เทศบาล/อบต.)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบนิติกร 3 กรมปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./เทศบาล/อบต.)

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ กฎหมาย พรบ.ต่างๆ เมื่อเวลา(2013-01-12)

1.
ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรือท่าอากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลใดเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ



                ก.
ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร



                ข.
ศาลทหาร



                ค.
ศาลแพ่ง



                ง.
ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ต้องหาในกรณีที่ผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร



คำตอบ
ข้อ ค.  ป.วิ.พ.  มาตรา 3 (1) กำหนดให้
“เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง



1.
กรณีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่ในราชอาราจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
......”



2. ข้อใดไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์



                ก.
ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน



                ข.
ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน



                ค.
คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด



                ง.
ฟ้องขับไล่ออกจากบ้านพิพาท



คำตอบ
ข้อ ค. เพราะคำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด
ไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (คำพิพากษาฎีกาที่  1428-1429/2514)



3.
คำฟ้องในคดีซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร
ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ฟ้องคดีต่อศาลต่อไปนี้
ยกเว้นข้อใด



                ก.
ศาลแพ่ง



                ข.
ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา



                ค.
ศาลที่จำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้ในราชอาณาจักรอยู่ในเขต



                ง.
 ศาลที่โจทก์มีทรัพย์สินอยู่ในภูมิลำเนาอยู่ในเขต



คำตอบ
ข้อ ง. เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 4 ตรี  กำหนดว่า “ คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา
4 ทวิ
ซึ่งจำเลยมิได้ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาราจักร
ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล



                คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง
ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร
ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้



4. ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเรื่องหนึ่ง
ข้อเท็จจริงมีว่าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร
แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 
20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย
ดังนี้ถ้าผู้ร้องจะร้องของจัดการมรดก ต้องร้องต่อศาลใดจึงจะเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ



                ก.
ศาลจังหวัดพิจิตร



                ข.
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ



                ค.
ศาลแพ่ง



                ง.
ข้อ ก และ ข ถูก



คำตอบ
ข้อ  ง.
เพราะแม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร
แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 20 ปี
ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย
แสดงว่าผู้ตายมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแหล่งหนึ่งด้วย
ดังนั้น
นอกจากบ้านที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังถือได้ว่าบ้านที่จังหวัดสุมทรปราการเป็นภูมิลำเนาเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายอีกแห่งหนึ่งด้วย
เพราะในคดีร้องขอจัดการมรดกนั้นอาจจะมีศาลที่จะยื่นคำร้องขอได้หลายศาล ( คำพิพากษาฎีกาที่  5912/2539)



5. ต่อไปนี้ข้อใด
ไม่ใช่ลักษณะคดีที่เป็นคดีเดียวแต่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาลได้



                ก.
คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยุ่ในเขตศาลต่างกัน



                ข.
คดีที่มีหลายข้อหา



                ค.
คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล



                ง.
ไม่มีข้อถูก



คำตอบ
ข้อ  ง. เพราะคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้แก่



1.
คดีฟ้องจำเลยร่วมกันหลายคนที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่ละคนมีภูมิลำเต่างกัน



2.
คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลต่างกัน



3. คดีที่มีหลายข้อหา



4. คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล



ในคดีที่มีหลายศาลมีอำนาจเหนือคดีนั้น 
โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้หรือฟ้องจำเลยแต่ละคนในแต่ละเขตศาลก็ได้
แต่ในทางปฏิบัติไม่มี เพราะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยใช่เหตุ
การยื่นฟ้องต่อศาลใดที่มีเขตอำนาจนั้นเป็นสิทธิ์ของโจทก์ จึงไม่ต้องขออนุญาตศาล
และศาลที่โจทก์เสนอคำฟ้องนั้นจะเกี่ยงไปให้ฟ้องยังอีกศาลหนึ่งไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่



6. ข้อใดไม่ใช่หลักในเรื่องการขอโอนคดี



                ก.
ต้องมีศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นตั้งแต่สองศาลขึ้นไป



                ข.
จำเลยเท่านั้นมีสิทธิขอโอนคดี



                ค.
การพิจารณาคำร้องขอโอนคดีจะต้องฟังโจทก์และคู่ความอื่น ถ้ามี
ก่อนว่าจะคัดค้านอย่างไร          หรือไม่



                ง.
ถ้าศาลที่รับโอนคดีไม่ยินยอม ศาลเดิมจะต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
และคำสั่งสอน      ของประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด



คำตอบ
ข้อ  ง. เพราะ
ถ้าศาลที่รับโอนคดีไม่ยินยอม ศาลเดิมจะต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด
และคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิพ. มาตรา 8



7.
ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ของการรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลต่างกัน



                ก.
ศาลที่รับโอนคดีจะต้องมีอำนาจเหนือคดีที่รับโอน



                ข.
คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นต่างศาล    กัน
แม้กฎหมายจะใช้คำว่าคดีสองเรื่องแต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องสองเรื่องเสมอไปอาจจะมี            มากกว่าสองเรื่องก็ได้ สองศาลก็ได้



                ค. 
คู่ความในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่นั้นมีสิทธิที่จะรวมคดีได้
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคู่ความใน    คดีหนึ่งคดีใดก็ได้



                ง.
คู่ความขอดอนคดีไปรวมที่ศาลใดก็ได้และศาลที่จะโอนไปรวมนั้นต้องถามศาลที่รับโอนก่อนว่า    ยินยอมที่จะรับโอนหรือไม่



คำตอบ
ข้อ ก.
เพราะศาลที่รับดอนคดีจะมีอำนาจเหนือคดีที่รับโอนหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ
เพราะเป็นเรื่องการรวมคดีจากศาลหนึ่งไปรวมกับอีกศาลหนึ่ง
แม้จะเรียกว่าเป็นการโอนก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องการโอน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 6
เป็นการโอนไปรวมพิจารณากับอีกศาลหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 8



8.
ข้อใดต่อไปนี้เป็นสาระสำคัญในเรื่องการขอรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลซ้อนกันหรือการขอรวมคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล



                ก.
มีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นเดียวกันหรือต่างศาลกัน



                ข.
การขอรวมของคู่ความ
อาจจะขอมาในชั้นที่ยื่นคำให้การหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษาซึ่งศาลที่รับคำร้องจะต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นเสียก่อน



                ค.
ศาลที่จะรับดอนคดีไปรวมต้องเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่โอนมาด้วย
ถ้าไม่มีเขตอำนาจ     เหนือคดีนั้นจะรับโอนมาไม่ได้



                ง.
ถูกทุกข้อ



คำตอบ
ข้อ ง. เพราะตามบทบัญญัติของ ป.วิ .พ. มาตรา 28
มีสาระสำคัญในเรื่องการขอรวมคดีที่มีเขตอำนาจศาลซ้อนกันดังนี้



1. มีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นเดียวกันหรือต่างศาลกัน



2.
คดีที่ค้างพิจารณานั้นคู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกัน คือ
อาจจะเป็นโจทก์คนเดียวกันหรือจำเลยคนเดียวกันหรือทั้งโจทก์ทั้งจำเลยเป็นคนเดียวกันก็ได้หรือถ้ามีผู้ร้องสอดก้อาจจะมีผู้ร้องสอดคนเดียวกันก็ได้



3. คดีที่ค้างพิจารณานั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน



4.
การนำคดีมารวมกันนั้นจะทำให้เกิดความสะดวกในการพิจารณา



5.
คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะขอให้มีการรวมพิจารณาหรือศาลเห็นจะให้มีการรวมพิจารณาก็ได้



6. การขอรวมของคู่ความ
อาจจะขอมาในชั้นที่ยืนคำให้การหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นๆก่อนศาลมีคำพิพากษา
ซึ่งศาลที่รับคำร้องจะต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นเสียก่อน



7. เมื่อศาลที่รับคำร้องรวมเห็นสมควรให้รวม
ถ้าเป็นคดีศาลเดียวกันก็สั่งรวมพิจารณาได้เลย แต่ถ้าเป้นเรื่องต่างศาลกันแล้ว
ศาลที่โอนไปรวมต้องสอบถามศาลที่จะรับโอนไปรวมเสียก่อนถ้าศาลที่รับโอนไปรวมไม่ขัดข้องก็สั่งให้โอนไปรวมได้



8.
ศาลที่จะรับโอนคดีไปรวมต้องเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่โอนมาด้วยถ้าไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นจะรับโอนมาไม่ได้
ไม่เหมือนกับการโอนมารวม ตามมาตรา 8 เพราะว่าการโอนมารวมตามมาตรา 8
เป็นเรื่องต่างเขตอำนาจกัน



9.
ถ้าศาลที่รับดอนไปรวมไม่ยินยอมศาลที่จะโอนไปรวมก็ต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจะให้โอนไปรวมหรือไม่
ไม่ว่าศาลชั้นต้นที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในเขตอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาคใดก็ต้องส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด



9. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์การขอบังคับคดีนอกเขตศาล



                ก.
มีการออกหมายบังคับคดี ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา  275 แล้ว



                ข.
ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏว่าทรัพย์หรือบุคคลที่จะต้องบังคับหรือจะต้องถูกบังคับอยู่นอกเขตศาลที่     ออกหมายบังคับคดี



                ค.
เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา
ยื่นคำแถลงต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูก       บังคับ
หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์              หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น



                ง.
เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูก          บังคับ
หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์              หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น



คำตอบ
ข้อ ง. เพราะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา 
ยื่นคำแถลงต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือทรัพย์และบุคคลที่จะต้องถูกบังคับ
หรือเจ้าหน้าที่บังคับคดีรายงานให้ศาลมีเขตอำนาจทราบว่าจะต้องมีการบังคับคดีต่อทรัพย์หรือบุคคลที่อยู่ในเขตศาลนั้น



10. ในเรื่องอำนาจในการพิจารณาเนื้อหาของคำคู่ความ
ในการพิจารณาเนื้อหาศาลมีทางที่จะสั่งได้ 3 ทาง ต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด



                ก.
สั่งให้แก้ไข เอเนื้อหาไม่ถูกต้อง



                ข.
สั่งรับคำคู่ความนั้นไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่าชอบด้วยกฎหมาย



                ค.
สั่งไม่รับคำคู่ความนั้นถ้าเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย



                ง.
สั่งให้คืนไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เมื่อยื่นผิดศาล



คำตอบ
ข้อ  ก.
เพราะในกรณีที่เนื้อหาของคำคู่ความไม่ถูกต้อง ศาลไม่มีอำนาจไปสั่งแก้ไขให้ถูกต้อง
เนื่องจากการไปสั่งอย่างนั้นเป็นการทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในทางคดีซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของศาล



11. ข้อใดผิด



                ก.
คำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจน ศาลสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา



                ข.
คำฟ้องที่ไม่แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ศาลสั่งไม่รับฟ้อง



                ค.
คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264  นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ
ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนไปเพื่อแสดงเหตุผลที่เพียงพอกว่านี้ แล้วให้นำมายื่นใหม่



                ง.
คำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดตามฟ้องได้ ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง



คำตอบ
ข้อ  ง.
คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา  264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ
ศาลต้องสั่งยกคำร้องโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน (คำพิพากษาฎีกาที่ 4017/2530)



12. คู่ความหมายความถึงบุคคลดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด



                ก.
โจทก์



                ข.
จำเลย



                ค.ผู้ร้องสอด



                ง.
ผู้พิพากษา



คำตอบ
ข้อ  ง. เพราะ
ป.วิ.พ. มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น”



11 “คู่ความ ” หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง
หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกำหมายหรือในฐานะทนายความ...
“ เช่น โจทก์  จำเลย  ผู้ร้องสอด 
ผู้คัดค้าน  ผู้ร้องขอ  ผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้จัดการมรดก ทนายความของแต่ละฝ่ายที่เป็นคู่ความ ผู้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ดำเนินคดีแทน



13.
บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่ความสามารถเข้ามาเป็นคู่ความได้โดยวิธีใด



                ก.
ร้องสอดด้วยความสมัครใจเอง เพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง
คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่



                ข.
ร้องสอด ด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น



                ค.
โดยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี



                ง.
ร้องสอด โดยคำสั่งของพนักงานสอบสวน



คำตอบ
ข้อ  ง.
เพราะกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
มีดังนี้



1. ด้วยความสมัครใจเอง เพราะ เห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง
คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่
โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น



2. ด้วยความสมัครใจเอง
เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกำหมายในผลแห่งคดีนั้นโดยยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ
ก่อนมีคำพิพากษา
ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้นแต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม
คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย



3. เมื่อถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี



                ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้
เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน
ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี
หรือโดยคำสั่งของศาลเมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ



14. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ของการฟ้องซ้ำ



                ก.
คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว



                ข.
คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกัน



                ค.
ประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน



                ง.
คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณา



คำตอบ
ข้อ  ง.
เพราะคดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา  148  วึ่งสรุปหลักเกณฑ์สำคัญได้สามประการคือ



1. คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว



2. คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกัน



3. 
ประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน



15. เรื่องฟ้องซ้ำ
ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ



                ก.
เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล



                ข.
เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง      หรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์



                ค.เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำฟ้องมายื่นใหม่
ในศาล    เดียวกันหรือในศาลอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ



                ง.
ถูกทุกข้อ



คำตอบ
ข้อ ง. ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ มีดังต่อไปนี้ คือ



                1.
เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล



                2.
เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง       หรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์



                3.เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำฟ้องมายื่นใหม่
ในศาล     เดียวกันหรือในศาลอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนิติกร 3 กรมปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./เทศบาล/อบต.)

รวมทุกวิชาที่ใช้สอบ

 1. แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 2. แนวข้อสอบ พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
 3. ่ข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  และที่แก้ไขเพิ่มเติม
 4. แนวข้อสอบ พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
 5. แนวข้อสอบระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
 6. แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 
 7. แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ. 2526 
 8. แนวข้อสอบ พรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ.2546 
 9. แนวข้อสอบ พรบ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
 10. แนวข้อสอบ
ประมวลกฎหมายอาญา 
 11. แนวข้อสอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
 12. แนวข้อสอบ พรบ.
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 
 13. แนวข้อสอบ พรบ.
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 
 14. แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539
 15. แนวข้อสอบ
สถานการณ์โลกปัจจุบัน ( เศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง ) 

สนใจสั่งซื้อมาที่  080-604-2510 ,080-604-2504  หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์  ชื่อบัญชี สายรุ้ง  สิงห์ศรี ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่   lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
navyman34 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ตำแหน่งนิติกร   3 
             1  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน 
   2  พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน 
  3  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน 
   4  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
                      พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน 
   5  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
   6  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 
  7  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ. 2526 
   8  พระราชกฤษฎีกา  ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. 2546 
   9  พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539  และกฏกระทรวง  ( พ.ศ. 2540) 
                      ออกตามความในพระราชบัญญัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 
   10  ประมวลกฎหมายอาญา 
             11  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
   12  พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 
   13  ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547  และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
                       จนถึงปัจจุบัน 
   14  พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 
   15  พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
   16  พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 
                        พ.ศ. 2542 
   17  สถานการณ์โลกปัจจุบัน ( เศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง ) 
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

1.         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า

            ก.    องค์การบริหารส่วนจังหวัด                                       ข.    องค์การบริหารส่วนตำบล

            ค.    กรุงเทพ เมืองพัทยา                                                    ง.     ถูกทุกข้อ

            ตอบ     ง.  ถูกทุกข้อ

                            มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้

 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง

2.         บุคคลใดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

            ก.    รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย                                    ข.    อธิบดีกรมการปกครอง

            ค.    ประธานกรรมการการเลือกตั้ง                                  ง.     ผู้ว่าราชการจังหวัด

            ตอบ     ค.  ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

                            มาตรา 5  ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

3.         ในกรณีนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในกำหนดกี่วัน

            ก.    14 วัน                                                                             ข.    15 วัน

            ค.    30 วัน                                                                             ง.     45 วัน

            ตอบ     ง.  45 วัน

                            มาตรา 7  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือภายในหกสิบวัน   นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อย     แปดสิบวัน คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมีคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำเป็นเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โดยต้องระบุเหตุผลการมีคำสั่งดังกล่าวด้วย ในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง

 

4.         บุคคลใดมีหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง

            ก.    ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

            ข.    กำนัน

            ค.    ผู้ใหญ่บ้าน

            ง.     ไม่มีข้อใดถูก

            ตอบ     ก.  ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

                            มาตรา 9  ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง จากทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความจริง

5.         ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรเงินใดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            ก.    เงินช่วยเหลือ                                                               ข.    เงินจัดสรร

            ค.    เงินอุดหนุน                                                                  ง.     เงินพัฒนาท้องถิ่น

            ตอบ     ค.  เงินอุดหนุน

                            มาตรา 10 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหมด เว้นแต่ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

                            ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายใน        การเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครอง  ส่วนท้องถิ่นนั้นตามความจำเป็น

6.         บุคคลใดมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ

            ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                         ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย

            ค.    ผู้ว่าราชการจังหวัด                                                      ง.     ไม่มีข้อใดถูก

            ตอบ     ข.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย

                            มาตรา 15 วรรคสอง

                            มาตรา 15  เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 14 ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดของจำนวนราษฎรเป็น   รายจังหวัด รายอำเภอ รายเทศบาล รายองค์การบริหารส่วนตำบล รายตำบล และรายหมู่บ้าน    ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในยี่สิบวัน นับแต่วันที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศจำนวนราษฎรทั้งประเทศ

                            ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เขตอำเภอ เขตเทศบาล เขตองค์การบริหาร   ส่วนตำบล เขตตำบล หรือเขตหมู่บ้าน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

7.         จากข้อข้างต้น การแจ้งดังกล่าวต้องแจ้งภายในกำหนดระยะเวลาใด

            ก.    7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง                         ข.    15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

            ค.    30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง                      ง.     45 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

            ตอบ     ก.  7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

                            มาตรา 15 วรรคสอง

                            มาตรา 15  เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 14 ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดของจำนวนราษฎรเป็น   รายจังหวัด รายอำเภอ รายเทศบาล รายองค์การบริหารส่วนตำบล รายตำบล และรายหมู่บ้าน    ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในยี่สิบวัน นับแต่วันที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศจำนวนราษฎรทั้งประเทศ

                            ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เขตอำเภอ เขตเทศบาล เขตองค์การบริหาร   ส่วนตำบล เขตตำบล หรือเขตหมู่บ้าน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

8.         ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องกระทำการกำหนดเขตเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่วัน

            ก.    15 วัน                                                                             ข.    20 วัน

            ค.    30 วัน                                                                             ง.     45 วัน

            ตอบ     ข.  20 วัน 

                            มาตรา 17 ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งที่จะพึงมี ในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                            การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำก่อนวันเลือกตั้ง       ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน โดยให้ทำเป็นประกาศปิดไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นและสถานที่อื่นที่เห็นสมควร รวมทั้งให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยเลือกตั้งและ       ที่เลือกตั้งไว้ด้วย

                            การเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งหรือที่เลือกตั้ง ให้กระทำได้โดยประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้ง     น้อยกว่าสิบวันก็ได้ และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

9.         ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งหรือทำเลเลือกตั้งให้ประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่วัน

            ก.    10 วัน                                                                             ข.    15 วัน

            ค.    20 วัน                                                                             ง.     30 วัน

            ตอบ     ค.  20 วัน 

                            มาตรา 17 วรรค 3

                            มาตรา 17 ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งที่จะพึงมี ในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                            การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำก่อนวันเลือกตั้ง       ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน โดยให้ทำเป็นประกาศปิดไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นและสถานที่อื่นที่เห็นสมควร รวมทั้งให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยเลือกตั้งและ       ที่เลือกตั้งไว้ด้วย

                            การเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งหรือที่เลือกตั้ง ให้กระทำได้โดยประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้ง     น้อยกว่าสิบวันก็ได้ และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

10.      การกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางและหลักเกณฑ์ ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง

            ก.    ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละ 500 คน

            ข.    ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละ 800 คน

            ค.    ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละ 1000 คน

            ง.     ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละ 1200 คน

            ตอบ     ข.  ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละ 800 คน

                            มาตรา 18  วรรคสอง

                            มาตรา 18  การกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามมาตรา 17 ให้คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งของราษฎร ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                                                (2)  ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละแปดร้อยคนเป็นประมาณ     แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวก หรือไม่ปลอดภัยในการไปลงคะแนนเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ผผผผผผผผผผผ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้