ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2547

1. พรรคไทยรักไทยมีธุรกิจภาคใดสนับสนุนมากที่สุด – การสื่อสารโทรคมนาคม
2. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ – 4 ปี/ครั้ง
3. จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) อยู่พรรค – รีพับลีกัน (Republican)
4. ประเทศไทยมีกี่กระทรวง – 20 กระทรวง
5. กระทรวงใดเป็นกระทรวงใหม่
6. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน – ศ.เสน่ห์ จามริก
7. เลขาธิการสหประชาชาติชาวเอเชีย – อูถั่น(U Thant)
8. ผู้นำคนใดลงจากตำแหน่งหลัง APEC – มหาเธร์ (Mahathir)
9. APEC ครั้งที่ – 11
10. พันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ล่าสุด – ประเทศไทย
11. ผู้นำในภูมิภาคเอเชียคนใดกล้าโต้แย้งสหรัฐ – มหาเธร์ (Mahathir)
12. สงครามล้างเผ่าพันธุ์ในทศวรรษ 1990 – โคโซโว (Kosovo)
13. ประเทศใดขอกลับเข้าเป็นสมาชิกยูเนสโก้ใหม่ – จีน / เยอรมัน [เข้าใจว่าน่าจะเป็นจีน]
14. ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ – ญี่ปุ่น
15. อาเซียน+3 คือ – จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
16. ผู้นำหลังมหาเธร์ลงจากตำแหน่ง – บาดาวี (Badawi)
17. ใครเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2004 – ชิลี
18. ศาลไทยมีกี่ระบบ – 4 ระบบ [เข้าใจว่า คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร]
19. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน [ระบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน + ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400
คน] สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 200 คน
20. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ใน – ศาลยุติธรรม
21. กระทรวงใดลดภาระจากเดิมแล้วตั้งชื่อใหม่
22. อากาศเป็นพิษองค์กรใดรับผิดชอบ
23. ชื่อใหม่ของ 14 ตุลา – 14 ตุลาวันประชาธิปไตย
24. ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อใด – ปี 2516
25. ประเทศไทยมีการประชุมสภาเสนาบดีสม่ำเสมอเริ่มเมื่อใด – รัชกาลที่ 5
26. การปกครองส่วนท้องถิ่นมีกี่แบบ – 5แบบ [อะไรบ้าง ???]
27. รัฐธรรมนูญฉบับแรก – 27 มิถุนายน 2475
28. ไปทำพิธีฮัญจ์ที่เมืองใด – เมกกะ (Mecca)
29. กลุ่มอักษะแห่งความชั่วร้ายของสหรัฐ – อิหร่าน, เกาหลีเหนือ
30. มหาเธร์เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศ – มาเลเชีย
31. ใครเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง – ธานินท์ กรัยวิเชียร
[เข้าใจว่าทหารที่ก่อรัฐประหารให้ขึ้นมา] / สัญญา ธรรมศักดิ์ [ในหลวงทรงแต่งตั้งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา]
/ อานันท์ ปันยารชุน [ในหลวงทรงแต่งตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535] – [ไม่แน่ใจว่าโจทย์ผิดหรือเปล่า
หรือตัวเลือกที่ให้มาไม่ครบ]
32. การปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มที่
33. ผู้บริหาร WTO – [ตอนนั้นน่าจะหมายถึง] ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
34. องค์การเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่กระทรวงใด – กระทรวงการต่างประเทศ / กระทรวงพาณิชย์
[เท่าที่ได้ยินข่าวมาและจำได้น่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์]
35. ธรรมาภิบาลภาษาอังกฤษ คือ – Good Governance
36. ประเทศที่ต่อสู้อิรักร่วมกับสหรัฐ – อังกฤษ
37. ผู้ก่อตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ – วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)
38. ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) คือเรื่องอะไร – เศรษฐกิจ [มีหลักการ 4 ข้อ คือ
Liberalization, Privatization, Deregulation, Regulatory]
39. ประเทศใดเป็นสมาชิกของ WTO อันดับที่147 – จีน
40. ประเทศไทยใช้ระบบการปกครองแบบ – รัฐสภา [ต้องดูโจทย์กับตัวเลือกจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร]
41. ประเทศใดปกครองแบบเผด็จการสังคมนิยม – คิวบา [ปกครองโดยฟิเดล คาสโคร
แต่ตัวผู้นำเขาไม่ยอมรับว่าปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ต่ายโลกเสรีเขาถือว่าเป็นอย่างนั้น] / จีน
[ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้ระบบการค้าเสรีในทางเศรษฐกิจ
แต่ในด้านการเมืองยังเป็นระบบคอมมิวนิสต์อยู่] / เกาหลี [ถ้าเป็นเกาหลีใต้ไม่ใช่แน่นอน
แต่ถ้าหมายถึงเกาหลีเหนือ ปัจจุบันปกครองโดย คิมจองอิล เป็นผู้นำสูงสุดคนเดียว
และเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในกลุ่มอักษะแห่งความชั่วร้าย] – [ไม่แน่ใจว่าโจทย์จริงๆ ถามอย่างไร
และตัวเลือกที่ให้มาไม่ชัดเจน]
42. แนวคิดลัทธิดอมมิวนิสต์ – คาร์ล มาร์ก (Karl Marx)
43. สภาที่ปกครองอิรักตอนนี้ – สภาที่ปรึกษา / ประชาชน / อาวุโส [ไม่รู้เหมือนกัน]
44. “เอื้ออาทร” เรียกอีกอย่างว่า – ประชาสงเคราะห์
45. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่มีหน้าที่ใด – อภิปรายไม่ไว้วางใจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
[ก็น่าจะถูก]
46. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 แตกต่างจากฉบับอื่นยังไง – [เดาว่า]
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
ซึ่งเป็นตัวแลกจากภาคการเมือง ภาคนักวิชาการ และภาคประชาชน
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
47. ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระตรวจสอบรัฐบาล
และทำหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างองค์กร
[ปัจจุบันมีการโต้เถียงกันเรื่องว่าศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิตีความเรื่องที่เป็น “ปัญหา” (problem) หรือ
“ข้อขัดแย้ง” (conflict) ระหว่างองค์กรกันแน่ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหากรณีผู้ว่า สตง.
ปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติทั้งสองประเด็น]
48. ตำแหน่งข้าราชการประจำข้อใดเป็นตำแหน่งสูงสุด – ปลัดกระทรวง
49. องค์ประกอบของรัฐตามที่เรียนมา 3 อย่าง คือ – ประชาชน ดินแดน รัฐบาล [บางคำรา: อย่างที่ 4 คือ
อำนาจอธิปไตย]
50. หลักการสำคัญทางรัฐศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2548
1. ปฏิญญาพุกาม –ไทย กัมพูชา พม่า ลาว [จำง่ายๆ ว่า CML + ไทย]
2. CITES เกี่ยวกับอะไร – พันธุ์พืช + สัตว์ป่าหายาก
3. NATO มีสมาชิก กี่ประเทศ? – 26 ประเทศ / 28 ประเทศ [น่าจะเป็น 26 ประเทศ: อ้างจาก Encyclopaedia
Britannica 2005]
4. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน – บาดาวี (Badawi)
5. การปรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันครั้งที่เท่าไหร่ – ครั้งที่ 10 [คำตอบเป็นเหตุการณ์ตอนนั้น
ปัจจุบันเพิ่งเป็นรัฐบาลทักษิณสมัยที่ 2 ชุดที่ 1]
6. สมาชิกอาเซียน (ASEAN) มีกี่ประเทศ? – 10 ประเทศ [เข้าใจว่าประเทศติมอร์ตะวันออก (Timor-Leste)
ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก]
7. BIMST-EC มีสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ คือ – เนปาล ภูฏาน
8. ส่วนประกอบ [หรือองค์ประกอบ] ของรัฐ – ดินแดน ประชากร รัฐบาล อำนาจอธิปไตย
9. รัฐเดี่ยว คือ ลักษณะใด? – รวมศูนย์การปกครอง และมีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียว คือ รัฐบาลกลาง
มีอำนาจสูงสุดโดยใช้อำนาจอธิปไตยทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ได้อย่างเต็มที่
10. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของพรรคการเมือง
11. WTO ที่หารือรอบล่าสุด คือ – รอบโดฮา [เดือนพฤศจิกายน ปี 2001]
12. สนธิสัญญามาสทริกช์ (Maastricht Treaty) – สหภาพยุโรป (EU – European Union)
13. อาเซียน + 3 คือ – จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
14. WTO เกิดที่ไหน ? - - - - โมร็อคโค [ในเดือนเมษายนปี 1994]
15. APEC ประเทศใดไม่ใช่สมาชิก – อุรุกวัย [โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
16. IMF ประเทศใดไม่ได้กู้
17. NAFTA (North America Free Trade Agreement) มีประเทศใดบ้าง – สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก
18. การปกครองท้องถิ่นครั้งแรก คือ – สุขาภิบาล
19. การประชุมเสนาบดีสม่ำเสมอเริ่มเมื่อใด – รัชกาลที่ 5
20. One-Stop Service คือ – [เดาว่า] เป็นแนวคิดที่นำมาจากภาคเอกชน ซึ่งในเชิงบริหารรัฐกิจเรียกว่า
“การจัดการสาธารณะสมัยใหม่” (NPM – New Public Management)
21. ประสิทธิภาพการผลิต คือ
22. อมาตยธิปไตย คือ – การปกครองโดยมีระบบข้าราชการเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ
ซึ่งในยุครัฐบาลทหารนั้น ข้าราชการจะเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงในเชิงการบริหารงานราชการ
แต่ในเชิงการปกครองประเทศแล้ว รัฐบาลทหารนั้นจะเป็นผู้กุมอำนาจ
ในการปกครองนี้เองที่มีพวกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องในงานราชการ เรียกว่า “เทคโนแครต” (Technocrat)
23. บุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1) ท่านผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมือง
2) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
และอดีตอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานศาลฎีกา อดีตนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา
และอดีตประธานองคมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์
24. “ทักษิณานุวัตร” นักวิจารณ์คนใดกล่าว – ธีรยุทธ บุญมี [“ทักษิณานุวัตร” (Thaksinization)
แปลตรงตัวได้ความหมายว่า หมุนไปตามทักษิณ เป็นไปตามทักษิณ ทำตาม/ประพฤติตาม/ปฏิบัติตาม รัฐบาลของ
ดร.ทักษิณ ชินวัตร]
25. ประเทศไทยเสนอใครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) – ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
26. การเลือกตั้งของ USA เป็นแบบใด – Electoral Vote
27. ประชาสังคม (Civil Society) คือ [เข้าใจว่าคือ]
ลักษณะสังคมที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในทางการเมือง การออกกฎหมาย การกำหนดนโยบาย
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ
[แนะนำให้ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับประชาสังคม เช่น ของธีรยุทธ บุญมี และคนอื่น]
28. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี - การไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย
หรือปฎิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น -
การปฎิบัติหรือละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าการนั่นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม – กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
2) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
[ดูได้จากโฆษณาของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็น
presenter หรืออ่านเพิ่มเติมจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ [url]www.ombudsman.go.th[/url]]
29. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ – [ต้องดูตัวเลือก เพราะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีดังนี้ 1)
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 3) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา, 4)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, 5) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ 6)
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โปรดดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปีพุทธศักราช
2540]
30. สภาที่ประชาชนทั่วไป 99 คน ให้คำแนะนำต่อรัฐบาลคือ – สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
31. บทบัญญัติใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
32. สิทธิใหม่ตามรัฐธรรมนูญ – ประชาชน 50,000
คนเข้าชื่อถอดถอนข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง [ไม่แน่ใจว่าจะมีตัวเลือกนี้หรือไม่
โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
33. การปกครองแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี – ฝรั่งเศส
34. การทุจริตใดที่ประชาชนเรียกร้องให้ตรวจสอบแต่ได้ระงับการดำเนินงานไปแล้ว – ทุจริตคลองด่าน
35. กรุงเทพฯโพลช่วงเดือนตุลาคมเรื่องใด – การเมือง การเลือกตั้ง
36. กรุงเทพฯโพลสำรวจวัยรุ่นชอบพูดคุยเรื่องใด – กิน เที่ยว ช็อปปิ้ง
37. อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งเมื่อใด สมาชิกก่อตั้งกี่ประเทศ – ก่อตั้งในปี 1967
โดยประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศไทย
38. ปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) มีสมาชิกกี่ประเทศ – 25 ประเทศ
39. วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เป็นวันอะไร – April’s fool day หรือ All fool’s day แปลภาษาไทยว่า
“วันเมษาคนโง่” [ข้อสอบถามอย่างนี้จริงๆ เหรอ เพราะไม่รู้ว่าวันนี้จะเป็นวันอะไรอย่างอื่นอีก]
40. ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ไม่เกี่ยวกับอะไร – [ต้องดูตัวเลือก
เพราะฉันทามติวอชิงตันมีหลักการ 4 ข้อ คือ Liberalization, Privatization, Deregulation, Regulatory]
41. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ไม่ได้เกี่ยวกับอะไร
42. อะไรที่ไม่มีในการจัดระเบียบการปกครองราชการ – ตำบล หมู่บ้าน
43. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่มีหน้าที่ใด – อภิปรายไม่ไว้วางใจ
44. ศาลมีกี่ระบบ – 4 ระบบ คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลรัฐธรรมนูญ
45. ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสังกัด – ศาลยุติธรรม
46. ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติคานอำนาจกันตามรัฐธรรมนูญอย่างไร –
รัฐมนตรีต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร
47. การที่รัฐบาลยกเลิกบริการรถเมล์ปรับอากาศ ขัดหลักอะไร
48. พจนานุกรม ที่บัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ของวัยรุ่น เป็นของสำนักพิมพ์ใด – มติชน
49. ประเทศใดไม่ใช่สมาชิก OPEC – บรูไน [โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
50. ข้อใดไม่ใช่ทบวงชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ (UN) – [ต้องดูตัวเลือก
เพราะทบวงชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ
มีดังนี้ 1) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO - International Labour Organisation), 2)
องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO - Food and Agriculture Organization of the United
Nations), 3) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UNESCO - United Nations
Educational, Scientific and Cultural Organization), 4) องค์การอนามัยโลก (WHO - World Health
Organization), 5) ธนาคารโลก (World Bank) และ 6) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF - International
Monetary Fund): อ้างจาก Encyclopaedia Britannica 2005 และโปรดเข้าเว็บไซต์ [url]www.un.org[/url]]
51. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 มีความแตกต่างอย่างไร
52. ประชาธิปไตย – [ไม่รู้ว่าโจทย์จริงๆ ถามว่าอะไรไม่ชัดเจน] Democracy มาจากคำ 3 คำ คือ Demos (ปวงชน
= การปกครองของประชาชน) + Kratein (ปกครอง = การปกครองโดยประชาชน) + Kratos (อำนาจ =
การปกครองเพื่อประชาชน)
53. ประเทศไทยและจีนเริ่มความสัมพันธ์ตอนไหน – เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากการ “จิ้มก้อง”
หรือส่งบรรณาการ หลักฐาน คือ พวกเครื่องชามสังคโลก แต่ความสัมพันธ์ในยุคสมัยใหม่นั้นเริ่มตั้งแต่ 1
กรกฎาคม 2518 จากการที่อดีตรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อเข้าพบท่านประธานเหมาเจ๋อตง)
54. 9/11 ปีใด – 2001 เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ก่อการร้ายใช้เครื่องบิน 4 ลำพุ่งชนสถานที่สำคัญต่างๆ
ของสหรัฐ
โดยมีลำดับเหตุการณ์ดังนี้ วันที่ 11 กันยายน 2001 เวลา 8.46 น. (เวลาในท้องถิ่น)
ผู้ก่อการร้ายได้ขับเครื่องบินลำแรกจากบอสตันพุ่งเข้าชนตึกด้านทิศเหนือของ World Trade Center
ในกรุงนิวยอร์ก อีกประมาณ 15 นาทีต่อมา เครื่องบินลำที่ 2 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนตึกด้านทิศใต้ของ
World Trade Center
โครงสร้างของอาคารทั้งสองเสียหายอย่างหนักเนื่องจากผลของการพุ่งชนและไฟที่ปะทุขึ้นมาในตัวอาคาร เวลา
9.40 น. เครื่องบินลำที่ 3 จากเขตวอชิงตัน ดี.ซี. พุ่งเข้าชนด้านทิศตะตกเฉียงใต้ของเพนตากอน
(ที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ) ซึ่งตั้งอยู่นอกตัวเมือง ทำให้ส่วนนั้นของโครงสร้างระเบิดและไฟไหม้
ในเวลาช่วงชั่วโมงต่อมา เครื่องบินลำที่ 4 จากนิวอาร์ก รัฐนิวเจอร์ซี
พุ่งตกลงในเขตชนบทของรัฐเพนซิลเวเนีย
หลังจากผู้โดยสารของเครื่องบินลำดังกล่าวได้แจ้งเหตุการณ์นั้นทางมือถือเพื่อพยายามหาทางจัดการกับผู้ก่อการร้าย
55. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปัจจุบันฉบับที่เท่าใด – ฉบับที่ 9 (2545-2549)
56. จังหวัดใดบ้างใช้กฎหมายอิสลาม – ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล

เอกสารชุดที่ 3 ตัวอย่างข้อสอบวิชาเรียงความ

วันสอบข้อเขียน: วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00 – 11.00 น. มีกระดาษมาให้ 2 แผ่น
ขอให้เขียนชื่อ เลขที่นั่งสอบ เลขประจำตัวสอบให้ครบ และตอบคำถามให้ตรงประเด็นและชัดเจน
หมายเหตุ ผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้รับการตรวจข้อสอบวิชาเรียงความ
จะต้องเป็นผู้สอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ได้คะแนนสูงสุดจำนวนสาขาละ 100 คน

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2546

สาขาการระหว่างประเทศ
ท่านคิดว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการบุกอิรักหรือไม่ ถ้าบุกผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร
และท่านคิดว่าสหรัฐอเมริกามีเหตุผลอะไรในการทำสงคราม จงแสดงความคิดเห็น [จำเนื้อความโจทย์ไม่ได้แน่ชัด
แต่จำได้ว่าเป็นคำถามในเชิงนี้]

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2547

สาขาการเมืองการปกครอง
โจทย์ถามทั้งหมด 2 ข้อใหญ่ด้วยกัน
1. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าไหร่? ปีอะไร? มีทั้งหมดกี่มาตรา?
2. ในกรณีการสลายการชุมนุมประท้วงม็อบท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ซึ่งรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปราม
คุณมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่

ตอบ
1. ฉบับที่ 16 ปี 2540 (ตราไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2540) มีทั้งหมด 336 มาตรา
2. ผมเริ่มจากการมองปัญหาโดยภาพรวม ผมคิดว่าการที่รัฐบาลใช้ความรุนแรง ผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
เพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ประชาชนจึงมีสิทธิเสรีภาพในการออกเสียงคัดค้านต่างๆ ได้
ส่วนเรื่องของผู้ชุมนุมประท้วงก็ควรจะอยู่ในขอบเขตสิทธิของตนเอง
และไม่ควรละเมิดการกระทำอันสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วไป
[ผมเขียนแนวประมาณไม่เข้าข้างรัฐบาลหรือผู้ชุมนุมประท้วงมากเกินไป แต่เป็น “กลาง” มองปัญหาให้กว้าง
และเปรียบเสมือนว่าตนเองอยู่ในเหตุการณ์ และมองดูสภาพเหตุการณ์โดยรวม – ผู้เขียน]
ในช่วงสุดท้ายหรือบทสรุปผมได้เขียนบทกลอนไว้
... [บทกลอน] … [ซึ่งตอนนี้จำไม่ได้แล้ว – ผู้เขียน]
[บทกลอนซึ่งผู้เขียนเขียนในการตอบเรียงความ
ผมเข้าใจว่าเป็นการขมวดปมความคิดเกี่ยวกับมุมมองตามที่กล่าวมาข้างต้นและสื่อให้เห็นถึงความเข้าใจของผู้เ

ขียนเอง – ผู้เรียบเรียง]
[ข้อเสนอแนะ: เมื่อเข้าใจคำถามแล้ว การตอบควรจะแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก
และควรยกเหตุผลและตัวอย่างมาประกอบ คล้ายๆ การทำข้อสอบอัตนัย – ผู้เขียน]

สาขาบริหารรัฐกิจ
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการเอื้ออาทรของรัฐบาล

ตอบ
เห็นด้วย แต่ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ถือว่าเป็นการกระจายโอกาสสู่ประชาชนในระดับรากหญ้าให้มีโอกาสมากขึ้น
[จากการคุยกับผู้เขียนมีขอแนะนำว่าให้นำไปต่อยอดทางความคิด หรือประยุกต์ตามความคิดที่เหมาะสม
ซึ่งผมเห็นว่าตัวอย่างการตอบข้างต้นนั้นเป็นการสรุปวิธีคิด
แต่ในการสอบผมเห็นว่าควรจะมีการให้รายละเอียด
แสดงความเห็น หาเหตุผลสนับสนุนหรือยกตัวอย่าง รวมทั้งสรุปประเด็น – ผู้เรียบเรียง]

สาขาการระหว่างประเทศ
สวัสดีครับพี่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พี่สอบเข้ามาได้โดยการการสอบตรงที่น้องหลายๆ คนกำลังเตรีมตัวเพื่อจะสอบเช่นกันอยู่ในขณะนี้
จากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เห็นข้อสอบเมื่อ 2 ปีที่แล้วและได้สอบผ่านเข้ามา
พี่พอจะมีแนวทางในการเตรียมตัวสอบและทำข้อสอบที่อยากแนะนำน้องๆ ดังนี้ครับ

“จงบอกนโยบายต่างประเทศที่ประเทศไทยควรมีต่อประเทศต่างๆ ในยุคปัจจุบัน พร้อมอธิบายอย่างละเอียด”

ก่อนอื่น น้องต้องตีความโจทย์ให้แตกก่อนว่า เขาต้องการสื่ออะไร และคำตอบที่เขาต้องการเป็นไปในลักษณะใด
โดยที่ประเด็นได้ดังนี้ครับ
1. นโยบายต่างประเทศ  อาศัยความรู้ที่สั่งสมมาในเรื่องลักษณะพื้นฐานทั่วไปของประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นโยบายต่างๆ ในอดีต และลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของประเทศหรือภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนิยาม
2. ประเทศไทย  น้องต้องรู้จักประเทศไทยให้ดีพอ เพื่อที่จะรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเรา
เพื่อให้เป็นการกำหนดนโยบายที่ยังประโยชน์สูงสุดต่อประเทศของเรา ภูมิภาคของเรา และสังคมโดยรวม
3. ยุคปัจจุบัน  มีสภาพเป็นเช่นไร และอะไรทำให้ปัจจุบันมีสภาพเช่นนั้น
อะไรเป็นสิ่งดีและอะไรเป็นสิ่งไม่ดี ปัจจุบันมีอะไรและอย่างไร ส่งผลกระทบอะไรต่อประเทศ ภูมิภาคเรา
และสังคมโดยรวม
ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้น เป็นประเด็นที่น้องจะต้องหาคำตอบให้ตัวน้องให้ได้ ตำตอบใครจะครอบคลุม
ละเอียดถี่ถ้วนและมีมิติเพียงใด ขึ้นอยู่กับการสั่งสมของน้องเองไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ
การดูจากโทรทัศน์ การฟังจากวิทยุ การใช้งานอินเตอร์เน็ต
โดยที่ข้อมูลที่อยู่ในหัวน้องแล้วเหล่านี้ก่อนเขียนลงไป
น้องต้องแน่ใจว่ายังเป็นจริงอยู่และถูกต้องครบถ้วนที่สุดแล้ว
ต่อจากนั้นหลังจากผ่านขั้นตอนการคิดวิเคราะห์ [คิดแบบแยกเป็นส่วนๆ แล้วพิจารณาแต่ละส่วนนั้น –
ผู้เรียงเรียง] โจทย์แล้วเราจะมี concept อยู่ในหัว ต่อจากนั้นเราค่อยเขียนออกมา
โดยลักษณะวิธีการเขียนที่พี่ใช้มีลักษณะดังนี้

1. เกริ่น
การเกริ่นเป็นการโยงใยความคิดของน้องจากปัญหา (หัวข้อเรียงความ)
ไปสู่เนื้อหาที่สำรองข้อมูลไว้แล้วโดนเป็น concept ที่น้องคิดลำดับขึ้นข้างต้น
น้องต้องโยงอย่างมีลำดับขั้นเข้าใจง่าย และจะมีความน่าเชื่อถือ ควรเป็นความคิดที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะ
แตกต่างจากความคิดทั่วไป โดยต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ
และควรมีตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไปเกี่ยวโยงเปรียบเทียบ
เพื่อให้ความคิดของน้องมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยหลักการนี้ที่ว่าควรมีอยู่ในทุกส่วนของบทความของน้องนะครับ

2. รายละเอียด
ในส่วนของรายละเอียดนี้น้องต้องจัดลักษณะของหัวข้อที่มีแนวทางเดียวกันไม่ขัดแย้งกันเอง
ถ้าหากขัดแย้งควรให้เหตุผลในรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร และทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น
แนวทางเดียวกันดังกล่าวนี้ ก็คือ concept ที่น้องวาดเอาไว้แล้วในสมอง
แล้วก็เกริ่นเชื่อมโยงไว้แล้วข้างต้นนั้นเอง
* ควรมีคำจำกัดความแล้วตามด้วยรายละเอียด โดยคำจำกัดความต้องเป็น concept หลักของย่อหน้านั้น เช่น
คำจำกัดความ : รายละเอียด
3. สรุป
เป็นส่วนที่รวบรวมเอาทุกอย่างที่น้องกล่าวมาโดยน้องต้องโยงใน concept ของทั้งหมด
กับสิ่งที่โจทย์ถามให้ได้ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่น้องต้องปรับแต่งสิ่งต่างๆ
ให้เข้าที่เข้าทาง
และที่สำคัญคือสามารถเป็นคำตอบที่ดีมากสำหรับโจทย์ให้ได้
และน้องควรแสดงถึงจุดยืนของน้องอีกนิดที่มีต่อปัญหาและคำตอบทั้งหมด ควรแสดงวิสัยที่กว้างไกลมากขึ้น
และให้น้ำหนักในความเป็นจริงได้ของสิ่งที่น้องต้องการนำเสนอในส่วนข้างต้น
สุดท้ายนี้พี่อย่างทิ้งท้ายไว้ว่า เป็นตัวน้องให้มากที่สุด ข้อมูลส่วนต่างๆ
ที่น้องรับมาตกผลึกมันอีกที่ด้วยทัศนคติ ความคิดเห็นของตัวน้องเอง อย่ากลัวและซีเรียสเกินไป
เป็นตัวน้องเอง เป็นผู้ที่อ่านมามาก มีเหตุมีผล และบอกได้ถึงที่มาที่ไปของความคิดของน้อง

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2548

สาขาการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันฉบับที่เท่าใด ประกาศใช้เมื่อใด มีกี่มาตรา
และการที่พรรคการเมืองเสียงข้างมากได้ที่นั่งมากกว่า 400 เสียง สำคัญหรือไม่อย่างไร?
มีผลกระทบต่อการเมืองไทยอย่างไร?

สาขาบริหารรัฐกิจ
เขียนเรื่อง “ความประทับใจในการบริการของภาครัฐ”

สาขาการระหว่างประเทศ
การที่สหรัฐอเมริกาทำการบุกอิรักเป็นเช่นไร และอำนาจอธิปไตยหมายถึงอะไร?

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
เอกสารชุดที่ 4 หลักการเขียนเรียงความ
1. ลักษณะของย่อหน้าที่ดี
1.1 มีเอกภาพ มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น กำหนดจุดมุ่งหมายเป็นประโยคใจความสำคัญ
เนื้อหาสาระของข้อความที่นำมาเขียนขยายนั้นต้องมีใจความเป็นเรื่องเดียวกันกับประโยคใจความสำคัญ
1.2 มีความสมบูรณ์ ส่วนต่างๆ ประสานเข้าหากันไม่มีส่วนใดขาดตกบกพร่อง ต้องเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
มีเนื้อหาสาระ มีรายละเอียด ส่วนขยายที่ชัดเจนไม่ออกนอกเรื่อง (ต้องเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญเท่านั้น)
ได้เนื้อความบริบูรณ์
1.3 มีสัมพันธภาพ ข้อความหรือประโยคแต่ละประโยคที่เรียงต่อกันนั้น
มีความเกี่ยวเนื่องติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน จัดลำดับความคิดให้เป็นประโยคต่อเนื่องกันด้วยเนื้อหา
โดยอาจจัดลำดับความคิดตามเวลา (เหตุการณ์ก่อนหลัง) ตามพื้นที่
(ใกล้ไปหาไกล/ข้างบนไปหาข้างล่าง/ซ้ายไปขวา/เหนือไปหาใต้) จากคำถามไปสู่คำตอบ (คำถามไว้เป็นประโยคแรก
แล้วจัดหาประโยคขยายตามลำดับเพื่อให้ได้คำตอบเป็นผลลัพธ์ตอนท้ายของย่อหน้า) จากรายละเอียดไปสู่ข้อสรุป
(หรือจากข้อสรุปไปสู่รายละเอียด) และจากเหตุไปสู่ผล
1.4 มีสารัตถภาพ ย้ำเน้นใจความสำคัญเพื่อให้ผู้อ่านทราบเจตนา
โดยอาจวางตำแหน่งประโยคใจความสำคัญในตอนต้นหรือตอนท้ายของย่อหน้า การย้ำเน้นด้วยคำวลีหรือประโยคซ้ำๆ
กันบ่อยๆ ภายในย่อหน้า
(ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายหรือความคิดสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารถึงผู้อ่าน)
รวมถึงการย้ำเน้นอย่างมีสัดส่วน
1.5 ใช้คำเชื่อมได้อย่างเหมาะสม (คำสันธานหรือวลี) ทำให้ข้อความสละสลวย ไม่ใช้ซ้ำซาก
ใช้ภาษาถูกต้องตามแบบแผน ใช้ภาษาระดับเดียวกัน ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ อ่านแล้วไม่ติดขัด
เหมือนได้อ่านเรียงความสั้นๆ หนึ่งเรื่อง

2. การเขียนประโยคใจความสำคัญเป็นย่อหน้า
2.1 ให้คำจำกัดความ อธิบายคำหรือวลีให้ผู้อ่านเข้าใจ
2.2 ให้รายละเอียด เพื่อให้ได้ย่อหน้าที่เนื้อหาสาระมีความสมบูรณ์
2.3 ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจความคิดสำคัญหรือประโยคใจความสำคัญได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
2.4 เปรียบเทียบ การเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
หรืออาจจะเป็นในลักษณะอุปมาโวหารหรือยกเป็นอุทาหรณ์
2.5 แสดงเหตุและผล เหมาะสำหรับงานเขียนที่ต้องการวิเคราะห์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็น

3. การเขียนคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
3.1 คำนำ เป็นส่วนแรกของงานเขียนที่จะสร้างความน่าสนใจ
ดึงดูดและท้าทายให้ผู้อ่านอยากรู้อยากอ่านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ
ที่ผู้เขียนรวบรวมมาเสนอในเนื้อเรื่อง
เพราะคำนำที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบได้ตั้งแต่ต้นว่ากำลังจะได้อ่านเกี่ยวกับอะไร
ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเขียนคำนำให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน
สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเขียนและการเสนอเนื้อเรื่อง ประกอบกับการใช้ศิลปะการเขียนเฉพาะตน
กลวิธี: เรื่องส่วนรวมไปสู่เรื่องเฉพาะ / มุ่งตรงสู่เรื่อง / ความนำที่ตรงกันข้ามและเป็นปัญหาให้คิด /
ให้คำจำกัดความ / บอกเจตนาหรือจุดประสงค์ในการเขียน / เล่าเรื่องหรือเล่าถึงความเป็นมาพื้นฐานของเรื่อง
/ ข่าว เหตุการณ์ ปัญหาเร่งด่วนที่กำลังเป็นที่สนใจ / ข้อมูล สถิติ ข้อเท็จจริง / สุภาษิต คำคม บทกวี
คำกล่าวของบุคคลสำคัญ / คำถาม / กล่าวถึงบุคคลที่ต้องการเขียนถึง /
กล่าวถึงจุดเด่นที่น่าสนใจของสิ่งที่จะเขียนต่อไป
3.2 เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของงานเขียน
เนื่องจากเป็นส่วนที่รวบความคิดและข้อมูลทั้งหมดที่ผู้เขียนค้นคว้ารวบรวมมาเสนออย่างมีระเบียบ มีระบบ
และเป็นขั้นตอน ทำให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง
กอปรไปด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกันตลอด
3.2.1 รวบรวมข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ข้อเท็จจริง
3.2.2 วางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับประเด็นที่จะนำเสนอ
3.2.3 นำหัวข้อต่างๆ มาเขียนขยายความให้เป็นย่อหน้าที่ดี
3.2.4 มีประเด็นมากพอให้ผู้อ่านสนใจ
3.2.5 ต้องใช้ท่วงทำนองการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา ตรงตามวัยความสนใจของผู้อ่าน
3.3 การสรุป เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่าข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว (ในย่อหน้าที่ผ่านมา)
จะเป็นช่วยย้ำให้ผู้อ่านทราบว่างานเขียนที่ได้อ่านมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ได้ข้อคิดหรือแนวทางอะไรเพิ่มเติมจากการอ่านครั้งนี้บ้าง
ที่สำคัญคือการสรุปจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงจะทำให้ผู้อ่านเกิด

ความประทับใจ
กลวิธี: แสดงความเห็นของผู้เขียน (เห็นด้วย ขัดแย้ง เสนอแนะ ชักชวน ฯลฯ) / สดุดีเกียรติคุณ คุณประโยชน์
/ คำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ในคำนำ / กล่าวถึงข้อดี ข้อบกพร่อง
หรือเสนอแนะให้เห็นประโยชน์ / ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน / สาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้อ่านทราบ / บทกลอน คำคม
สุภาษิต ข้อความ หรือคำพูดของบุคคลสำคัญ

ตัดตอนและสรุปจาก:
ราตรี ธันวารชร, “การเขียนย่อหน้า” และ เจียรนัย ศิริสวัสดิ์, “การเขียนคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป” ใน
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การใช้ภาษาไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. หน้า 80-92 และ 105-112

เอกสารชุดที่ 5 วิธีการตอบข้อสอบอัตนัย
1. ข้อสอบที่มุ่งให้อธิบาย
วัตถุประสงค์ มุ่งให้อธิบายวิธีการหรืออธิบายความรู้ในเรื่องต่างๆ
ลักษณะคำถาม ให้คำจำกัดความ / ให้รายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริง / ให้เปรียบเทียบ : “คืออะไร” /
“มีความหมายว่าอย่างไร” / “จงอธิบาย” / “จงเปรียบเทียบ”
ขั้นตอนการตอบ
1) พิจารณาลักษณะของคำถามว่ามุ่งให้ตอบในประเด็นใด
2) รวบรวมความรู้ที่เป็นข้อมูลสำคัญซึ่งอาจได้จากการอ่าน การฟัง การสังเกต และการศึกษาค้นคว้า
3) จัดระเบียบความรู้ความคิดให้เป็นหมวดหมู่แล้วเรียบเรียงความคิดนั้นตามลำดับ
4) อาจมีตัวอย่าง เหตุผล หลักฐานอ้างอิง หรือการเปรียบเทียบตามความจำเป็น
5) ต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ น่าอ่าน และลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
อย่าให้วกวนสับสน
แนวการตอบ
1) การให้คำจำกัดความ อธิบายให้สั้นรัดกุมและชัดเจน
2) การยกตัวอย่าง ช่วยให้การอธิบายชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น
3) การเปรียบเทียบ ลักษณะที่เหมือนกันหรือลักษณะที่แตกต่างกัน
บางครั้งอาจต้องบอกข้อดีข้อเสียของสิ่งที่นำมาเปรียบกันเพื่อให้คำตอบกระจ่างชัด
ในบางกรณีสิ่งที่อธิบายนั้นมีลักษณะเข้าใจยาก ผู้ตอบอาจต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย
4) การแสดงเหตุผล แสดงว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล
อาจตอบอธิบายจากผลไปสู่สาเหตุหรือจากสเหตุไปสู่ผลก็ได้
5) การอธิบายตามลำดับขั้น ถามเกี่ยวกับกรรมวิธีหรือกระบวนการที่มีขั้นตอน

2. ข้อสอบที่มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
วัตถุประสงค์ ต้องการให้ผู้ตอบใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงประกอบ
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นของตนน่าเชื่อถือหรือน่านำไปปฏิบัติได้
ลักษณะคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่” / “จงแสดงความคิดเห็น” / “ทำไม”
องค์ประกอบของข้อสอบ
1) เรื่อง อ่านคำถามให้เข้าใจและพยายามจับประเด็นให้ได้ว่า
ต้องเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
แต่ถ้าลักษณะข้อสอบเป็นการตัดตอนข้อความหรือหยิบยกเรื่องราวมาประกอบคำถาม
เพื่อให้อ่านและแสดงความคิดเห็น
ผู้ตอบจำเป็นต้องจับใจความสำคัญและตีความเพื่อจับประเด็นสำคัญจากเรื่องให้ได้ครบถ้วนก่อนแล้วจึงตอบคำถาม

หรือเสนอความคิดเห็นของตน
2) ข้อมูลหรือความรู้ที่จำเป็น ต้องมีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่ตนเสนออย่างแจ่มแจ้ง
และสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
อาจจะเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วและข้อคิดเห็นของผู้อื่นซึ่งผู้ตอบใช้อ้างอิง
สิ่งสำคัญก็คือควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อได้ เพราะข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องถูกต้องและชัดเจน
3) เหตุผล มุ่งให้เกิดความคล้อยตามและยอมรับ
เหตุผลที่อ้างอิงอาจได้จากข้อเท็จจริงที่ศึกษามาหรือเป็นประสบการณ์ก็ได้ ควรจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ไม่ควรปล่อยให้อารมณ์หรืออคติครอบงำ เพราะจะทำให้ข้อเขียนขาดความเที่ยงตรงได้
4) หลักฐาน มี 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานทางตรง
(ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองจึงเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด) และหลักฐานทางอ้อม
(ได้จากเอกสารหรือคำบอกเล่าของผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการตีความประกอบแต่ก็เป็นที่นิยมกันมาก)
อาจปรากฏในรูปต่างๆ เช่น ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลย ตัวอย่างเหตุการณ์
ขั้นตอนการตอบ
1) สังเกตคำถามและพยายามจับประเด็นสำคัญจากคำถามว่า
ข้อสอบมุ่งให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดในแง่มุมใดบ้าง
2) ผู้ตอบต้องบอกได้ว่าตนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือข้อความที่ได้อ่านอย่างไร ต้องการสนับสนุน
(ควรชี้ให้เห็นคุณประโยชน์หรือผลดี) หรือโต้แย้ง (ต้องชี้ข้อบกพร่องหรือผลเสีย) ก็เขียนให้ชัดเจน
หากในข้อความที่อ่านมีการเสนอความคิดเห็นมาก่อน
ผู้ตอบต้องพยายามสนับสนุนหรือหักล้างความเห็นเหล่านั้นด้วยเหตุผลและหลักฐานให้ความถ้วนทุกประเด็น
กรณีที่ข้อความนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น
ผู้ตอบอาจจะเห็นคล้อยตามความคิดเห็นบางประเด็นและขัดแย้งบางประเด็นก็ได้
ควรเขียนเสนอให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยกับประเด็นใดและไม่เห็นด้วยกับประเด็นใดพร้อมทั้งชี้แจ้งเหตุผลด้วย
3) เสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ของผู้ตอบเอง เขียนได้อย่างอิสระ
แต่ถ้าเป็นการกำหนดข้อความหรือเรื่องราวมาแล้ว
สิ่งที่ผู้ตอบพึงระวังก็คืออย่าเสนอความคิดเห็นซ้ำซ้อนกับความคิดที่มีปรากฏอยู่แล้วในคำถามโดยไม่ได้เสนอ

ความคิดเห็นใหม่ๆ ที่เป็นของตนเพิ่มเติม
ไม่เพียงแต่ต้องใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงเพื่อเสริมให้ความคิดเห็นนั้นน่าเชื่อถือเท่านั้น
แต่ต้องจัดลำดับความคิด เพราะการรู้จัดจัดวางข้อมูล อ้างอิงเหตุผลและหลักฐานอย่างเป็นระบบ
จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความเห็นคล้อยตามได้ง่าย
4) สรุปประเด็นเกี่ยวกับความคิดเห็นที่สำคัญซึ่งต้องการเสนอไว้ตอนท้ายเรื่อง
เพื่อให้คำตอบสมบูรณ์และยังเป็นการย้ำให้ผู้อ่านได้นำข้อคิดไปพิจารณาใคร่ครวญต่อไป
5) ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการเขียนความเรียง (คำนำ ส่วนเนื้อเรื่อง
และส่วนสรุป) ใช้ในกรณีที่เป็นการเขียนเสนอความคิดเห็นที่มีหลายประเด็น
ต้องอ้างอิงเหตุผลหลายประการเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเห็นคล้อยตาม อีกลักษณะหนึ่งคือ
การเขียนแสดงความคิดเห็นโดยตรง มุ่งตอบตำถามให้ตรงประเด็น “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย”
ต้องแสดงความเห็นให้ชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องมีอารัมภบท แต่ควรสรุปในตอนท้ายอีกครั้งเพื่อย้ำประเด็นสำคัญ

3. ข้อสอบที่มุ่งให้อภิปราย
วัตถุประสงค์ ผู้ตอบต้องแยกแยะประเด็นของเรื่องที่จะเขียนอภิปรายได้ชัดเจน
และวิเคราะห์ได้ครบถ้วนทุกประเด็น ต้องชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ตลอดจนข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์
ลักษณะคำถาม “จงอภิปราย”
องค์ประกอบของข้อสอบ
1) เรื่อง มี 2 ลักษณะ คือ
ก. เรื่องที่เป็นข้อมูลทั่วๆ ไป เพื่อให้ผู้ตอบได้เสนอทัศนะและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายๆ
ด้านพร้อมทั้งเหตุประกอบ
ในขณะเดียวกันการได้อ่านนานาทัศนะย่อมทำให้ผู้อ่านมีความรู้และมีทัศนะที่กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ข. เรื่องที่เป็นปัญหาในสังคม ซึ่งผู้ตอบต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนทัศนะหรือเปลี่ยนนโยบายใหม่
มักเป็นปัญหาส่วนรวมที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไข ทั้งยังมุ่งพิจารณาปัญหาเรื่องนั้นๆ
ทุกด้านเพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลดี
2) ข้อมูล หรือความรู้ที่ได้จากหลักฐานหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปราย
3) ความคิดเห็นของผู้ตอบ
ควรเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้อื่น
4) ข้อเสนอแนะ เสนอแนวทางในการปฏิบัติ หรือวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
5) เหตุผล ช่วยเพิ่มน้ำหนักทำให้คำตอบน่าสนใจยิ่งขึ้น
เหตุผลที่ใช้ในการเขียนอภิปรายจะมีทั้งเหตุผลประกอบความคิดเห็นและเหตุผลประกอบข้อเสนอแนะ
6) หลักฐานอ้างอิง ใช้สนับสนุนการเสนอเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปรายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการตอบ
1) อารัมภบท นำเข้าสู่เรื่อง เนื้อหาส่วนนี้จะเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ความสำคัญ
หรือความเป็นมาของเรื่องที่จะเขียนอภิปราย
ในกรณีที่เป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวมผู้ตอบอาจจะกล่าวถึงผลกระทบจากปัญหานั้น
2) เนื้อเรื่อง ในการนำเสนอผู้ตอบจำเป็นต้องแยกแยะประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน
ถ้าเป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวม ควรเสนอสาเหตุของปัญหา วิธีแก้ไข รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ
ให้ครบถ้วน
ควรพิจารณาปัญหาทุกด้านอย่างรอบคอบ
การเขียนอภิปรายแต่ละประเด็นต้องละเอียดมีเหตุผลมีหลักฐานอ้างอิงเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาและรู้จักวิธ

ีแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ส่วนการใช้ข้อมูลประกอบอาจเขียนอ้างอิงโดยการให้รายละเอียด การยกตัวอย่าง
หรือการเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความคิดเห็นคล้อยตามได้ง่าย
3) ข้อเสนอแนะในช่วงท้ายของเนื้อเรื่อง อาจจะเป็นข้อคิดหรือแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม
ในการเขียนอภิปรายมักมีประเด็นที่ต้องกล่าวถึงมากมาย
ดังนั้นผู้ตอบจึงควรจัดลำดับข้อความให้เหมาะสมตามหลักการใช้เหตุผลและจัดเป็นประเด็นใหญ่ประเด็นย่อยให้ชั

ดเจน ประเด็นใดมีความสำคัญควรกล่าวถึงก่อน ส่วนประเด็นที่สำคัญรองลงมาก็กล่าวถึงในลำดับถัดไป
ส่วนการเขียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาส่วนรวม มีวิธีจัดลำดับประเด็นที่น่าสนใจ 2 วิธี คือ วิธีแรก
กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาทั้งหมด ต่อจากนั้นจึงเสนอวิธีแก้ไขปัญหานั้นทุกปัญหา ส่วนวิธีที่สอง
เป็นการเสนอสาเหตุของปัญหากับวิธีแก้ไขปัญหาเป็นข้อๆ ไปจนกระทั่งพิจารณาปัญหาได้ครบทุกข้อ
การรู้จักลำดับประเด็นจะช่วยให้ผู้อ่านไม่สับสนและสามารถอ่านข้อเขียนได้เข้าใจยิ่งขึ้น
4) บทสรุป ควรย้ำประเด็นสำคัญที่ต้องการเสนอหรือชี้ให้เห็นว่า
ถ้าสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่เสนอแนะได้ย่อมก่อให้เกิดผลดี
5) สิ่งสุดท้ายที่ผู้ตอบควรคำนึงก็คือ การจัดสัดส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสม
ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องค้องมีมากกว่าส่วนที่เป็นคำนำและบทสรุป

4. ข้อเสนอแนะในการตอบข้อสอบอัตนัย
1) ก่อนตอบข้อสอบทุกครั้ง จะต้องอ่านคำถามแล้วตีความคำถามนั้นให้กระจ่างว่า ถามเรื่องอะไร มีกี่ประเด็น
ลักษณะคำถามมุ่งให้อธิบาย แสดงความคิดเห็น หรืออภิปราย
2) ระดมความรู้ ความคิด เหตุผล เพื่อตอบให้ตรงคำถาม
3) วางโครงเรื่อง เพื่อจัดระเบียบเนื้อเรื่องเป็นขั้นตอนและเพื่อให้ครอบคลุมทุกประเด็นของคำถาม
4) เรียบเรียงและจัดลำดับความคิดในแต่ละย่อหน้าให้เหมาะสม
5) ควรนำเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือประสบการณ์
ความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาประมวลกันเข้าเพื่อให้คำตอบนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุด
6) การใช้ภาษา ในการตอบข้อสอบต้องใช้ภาษาแบบแผนหรือกึ่งแบบแผน ไม่ควรใช้ภาษาปาก อักษรย่อหรือตัดคำ
และต้องใช้คำที่สื่อความหมายตรง สั้น กระชับ แต่ได้ใจความ
นอกจากนี้ในการตอบข้อสอบประเภทแสดงความคิดเห็นและอภิปราย
ควรใช้ภาษาโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้ายความคิดของผู้ตอบด้วย
7) ควรเขียนทวนคำถามเสียก่อนแล้วจึงตอบ ยกเว้นการตอบข้อสอบที่มุ่งให้อภิปรายเป็นความเรียง
ควรเขียนด้วยหมึกสีเข้ม ใช้ลายมือที่อ่านง่าย ไม่ควรมีรอยขูด ลบ ขีดฆ่า ถ้าจำเป็นก็ทำอย่างเรียบร้อย
9) ต้องคำนึงถึงเวลาซึ่งมีจำกัด ควรแบ่งเวลาให้ถูกจะได้ตอบครบทุกข้อ
10) ควรตรวจทาน ถึงแม้จะวางแผนการเขียนตอบอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม
แต่การตรวจทานจะช่วยให้เพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขข้อบกพร่องทั้งด้านเนื้อหาและการใช้ภาษาซึ่งรวมทั้งเรื่

องตัวสะกดด้วย
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้