เวอร์ชันเต็ม: [-- เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ --]

จำหน่ายข้อสอบ แจ้งข่าวการสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ไฟฟ้า ธกส. -> แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ กฎหมาย พรบ.ต่างๆ -> เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2011-12-02 21:00

เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2547

1. พรรคไทยรักไทยมีธุรกิจภาคใดสนับสนุนมากที่สุด – การสื่อสารโทรคมนาคม
2. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ – 4 ปี/ครั้ง
3. จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) อยู่พรรค – รีพับลีกัน (Republican)
4. ประเทศไทยมีกี่กระทรวง – 20 กระทรวง
5. กระทรวงใดเป็นกระทรวงใหม่
6. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน – ศ.เสน่ห์ จามริก
7. เลขาธิการสหประชาชาติชาวเอเชีย – อูถั่น(U Thant)
8. ผู้นำคนใดลงจากตำแหน่งหลัง APEC – มหาเธร์ (Mahathir)
9. APEC ครั้งที่ – 11
10. พันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ล่าสุด – ประเทศไทย
11. ผู้นำในภูมิภาคเอเชียคนใดกล้าโต้แย้งสหรัฐ – มหาเธร์ (Mahathir)
12. สงครามล้างเผ่าพันธุ์ในทศวรรษ 1990 – โคโซโว (Kosovo)
13. ประเทศใดขอกลับเข้าเป็นสมาชิกยูเนสโก้ใหม่ – จีน / เยอรมัน [เข้าใจว่าน่าจะเป็นจีน]
14. ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ – ญี่ปุ่น
15. อาเซียน+3 คือ – จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
16. ผู้นำหลังมหาเธร์ลงจากตำแหน่ง – บาดาวี (Badawi)
17. ใครเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2004 – ชิลี
18. ศาลไทยมีกี่ระบบ – 4 ระบบ [เข้าใจว่า คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร]
19. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน [ระบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน + ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400
คน] สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 200 คน
20. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ใน – ศาลยุติธรรม
21. กระทรวงใดลดภาระจากเดิมแล้วตั้งชื่อใหม่
22. อากาศเป็นพิษองค์กรใดรับผิดชอบ
23. ชื่อใหม่ของ 14 ตุลา – 14 ตุลาวันประชาธิปไตย
24. ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อใด – ปี 2516
25. ประเทศไทยมีการประชุมสภาเสนาบดีสม่ำเสมอเริ่มเมื่อใด – รัชกาลที่ 5
26. การปกครองส่วนท้องถิ่นมีกี่แบบ – 5แบบ [อะไรบ้าง ???]
27. รัฐธรรมนูญฉบับแรก – 27 มิถุนายน 2475
28. ไปทำพิธีฮัญจ์ที่เมืองใด – เมกกะ (Mecca)
29. กลุ่มอักษะแห่งความชั่วร้ายของสหรัฐ – อิหร่าน, เกาหลีเหนือ
30. มหาเธร์เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศ – มาเลเชีย
31. ใครเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง – ธานินท์ กรัยวิเชียร
[เข้าใจว่าทหารที่ก่อรัฐประหารให้ขึ้นมา] / สัญญา ธรรมศักดิ์ [ในหลวงทรงแต่งตั้งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา]
/ อานันท์ ปันยารชุน [ในหลวงทรงแต่งตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535] – [ไม่แน่ใจว่าโจทย์ผิดหรือเปล่า
หรือตัวเลือกที่ให้มาไม่ครบ]
32. การปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มที่
33. ผู้บริหาร WTO – [ตอนนั้นน่าจะหมายถึง] ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
34. องค์การเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่กระทรวงใด – กระทรวงการต่างประเทศ / กระทรวงพาณิชย์
[เท่าที่ได้ยินข่าวมาและจำได้น่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์]
35. ธรรมาภิบาลภาษาอังกฤษ คือ – Good Governance
36. ประเทศที่ต่อสู้อิรักร่วมกับสหรัฐ – อังกฤษ
37. ผู้ก่อตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ – วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)
38. ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) คือเรื่องอะไร – เศรษฐกิจ [มีหลักการ 4 ข้อ คือ
Liberalization, Privatization, Deregulation, Regulatory]
39. ประเทศใดเป็นสมาชิกของ WTO อันดับที่147 – จีน
40. ประเทศไทยใช้ระบบการปกครองแบบ – รัฐสภา [ต้องดูโจทย์กับตัวเลือกจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร]
41. ประเทศใดปกครองแบบเผด็จการสังคมนิยม – คิวบา [ปกครองโดยฟิเดล คาสโคร
แต่ตัวผู้นำเขาไม่ยอมรับว่าปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ต่ายโลกเสรีเขาถือว่าเป็นอย่างนั้น] / จีน
[ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้ระบบการค้าเสรีในทางเศรษฐกิจ
แต่ในด้านการเมืองยังเป็นระบบคอมมิวนิสต์อยู่] / เกาหลี [ถ้าเป็นเกาหลีใต้ไม่ใช่แน่นอน
แต่ถ้าหมายถึงเกาหลีเหนือ ปัจจุบันปกครองโดย คิมจองอิล เป็นผู้นำสูงสุดคนเดียว
และเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในกลุ่มอักษะแห่งความชั่วร้าย] – [ไม่แน่ใจว่าโจทย์จริงๆ ถามอย่างไร
และตัวเลือกที่ให้มาไม่ชัดเจน]
42. แนวคิดลัทธิดอมมิวนิสต์ – คาร์ล มาร์ก (Karl Marx)
43. สภาที่ปกครองอิรักตอนนี้ – สภาที่ปรึกษา / ประชาชน / อาวุโส [ไม่รู้เหมือนกัน]
44. “เอื้ออาทร” เรียกอีกอย่างว่า – ประชาสงเคราะห์
45. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่มีหน้าที่ใด – อภิปรายไม่ไว้วางใจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
[ก็น่าจะถูก]
46. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 แตกต่างจากฉบับอื่นยังไง – [เดาว่า]
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
ซึ่งเป็นตัวแลกจากภาคการเมือง ภาคนักวิชาการ และภาคประชาชน
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
47. ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระตรวจสอบรัฐบาล
และทำหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างองค์กร
[ปัจจุบันมีการโต้เถียงกันเรื่องว่าศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิตีความเรื่องที่เป็น “ปัญหา” (problem) หรือ
“ข้อขัดแย้ง” (conflict) ระหว่างองค์กรกันแน่ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหากรณีผู้ว่า สตง.
ปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติทั้งสองประเด็น]
48. ตำแหน่งข้าราชการประจำข้อใดเป็นตำแหน่งสูงสุด – ปลัดกระทรวง
49. องค์ประกอบของรัฐตามที่เรียนมา 3 อย่าง คือ – ประชาชน ดินแดน รัฐบาล [บางคำรา: อย่างที่ 4 คือ
อำนาจอธิปไตย]
50. หลักการสำคัญทางรัฐศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2548
1. ปฏิญญาพุกาม –ไทย กัมพูชา พม่า ลาว [จำง่ายๆ ว่า CML + ไทย]
2. CITES เกี่ยวกับอะไร – พันธุ์พืช + สัตว์ป่าหายาก
3. NATO มีสมาชิก กี่ประเทศ? – 26 ประเทศ / 28 ประเทศ [น่าจะเป็น 26 ประเทศ: อ้างจาก Encyclopaedia
Britannica 2005]
4. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน – บาดาวี (Badawi)
5. การปรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันครั้งที่เท่าไหร่ – ครั้งที่ 10 [คำตอบเป็นเหตุการณ์ตอนนั้น
ปัจจุบันเพิ่งเป็นรัฐบาลทักษิณสมัยที่ 2 ชุดที่ 1]
6. สมาชิกอาเซียน (ASEAN) มีกี่ประเทศ? – 10 ประเทศ [เข้าใจว่าประเทศติมอร์ตะวันออก (Timor-Leste)
ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก]
7. BIMST-EC มีสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ คือ – เนปาล ภูฏาน
8. ส่วนประกอบ [หรือองค์ประกอบ] ของรัฐ – ดินแดน ประชากร รัฐบาล อำนาจอธิปไตย
9. รัฐเดี่ยว คือ ลักษณะใด? – รวมศูนย์การปกครอง และมีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียว คือ รัฐบาลกลาง
มีอำนาจสูงสุดโดยใช้อำนาจอธิปไตยทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ได้อย่างเต็มที่
10. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของพรรคการเมือง
11. WTO ที่หารือรอบล่าสุด คือ – รอบโดฮา [เดือนพฤศจิกายน ปี 2001]
12. สนธิสัญญามาสทริกช์ (Maastricht Treaty) – สหภาพยุโรป (EU – European Union)
13. อาเซียน + 3 คือ – จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
14. WTO เกิดที่ไหน ? - - - - โมร็อคโค [ในเดือนเมษายนปี 1994]
15. APEC ประเทศใดไม่ใช่สมาชิก – อุรุกวัย [โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
16. IMF ประเทศใดไม่ได้กู้
17. NAFTA (North America Free Trade Agreement) มีประเทศใดบ้าง – สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก
18. การปกครองท้องถิ่นครั้งแรก คือ – สุขาภิบาล
19. การประชุมเสนาบดีสม่ำเสมอเริ่มเมื่อใด – รัชกาลที่ 5
20. One-Stop Service คือ – [เดาว่า] เป็นแนวคิดที่นำมาจากภาคเอกชน ซึ่งในเชิงบริหารรัฐกิจเรียกว่า
“การจัดการสาธารณะสมัยใหม่” (NPM – New Public Management)
21. ประสิทธิภาพการผลิต คือ
22. อมาตยธิปไตย คือ – การปกครองโดยมีระบบข้าราชการเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ
ซึ่งในยุครัฐบาลทหารนั้น ข้าราชการจะเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงในเชิงการบริหารงานราชการ
แต่ในเชิงการปกครองประเทศแล้ว รัฐบาลทหารนั้นจะเป็นผู้กุมอำนาจ
ในการปกครองนี้เองที่มีพวกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องในงานราชการ เรียกว่า “เทคโนแครต” (Technocrat)
23. บุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1) ท่านผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมือง
2) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
และอดีตอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานศาลฎีกา อดีตนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา
และอดีตประธานองคมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์
24. “ทักษิณานุวัตร” นักวิจารณ์คนใดกล่าว – ธีรยุทธ บุญมี [“ทักษิณานุวัตร” (Thaksinization)
แปลตรงตัวได้ความหมายว่า หมุนไปตามทักษิณ เป็นไปตามทักษิณ ทำตาม/ประพฤติตาม/ปฏิบัติตาม รัฐบาลของ
ดร.ทักษิณ ชินวัตร]
25. ประเทศไทยเสนอใครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) – ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
26. การเลือกตั้งของ USA เป็นแบบใด – Electoral Vote
27. ประชาสังคม (Civil Society) คือ [เข้าใจว่าคือ]
ลักษณะสังคมที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในทางการเมือง การออกกฎหมาย การกำหนดนโยบาย
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ
[แนะนำให้ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับประชาสังคม เช่น ของธีรยุทธ บุญมี และคนอื่น]
28. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี - การไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย
หรือปฎิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น -
การปฎิบัติหรือละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าการนั่นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม – กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
2) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
[ดูได้จากโฆษณาของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็น
presenter หรืออ่านเพิ่มเติมจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ [url]www.ombudsman.go.th[/url]]
29. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ – [ต้องดูตัวเลือก เพราะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีดังนี้ 1)
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 3) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา, 4)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, 5) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ 6)
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โปรดดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปีพุทธศักราช
2540]
30. สภาที่ประชาชนทั่วไป 99 คน ให้คำแนะนำต่อรัฐบาลคือ – สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
31. บทบัญญัติใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
32. สิทธิใหม่ตามรัฐธรรมนูญ – ประชาชน 50,000
คนเข้าชื่อถอดถอนข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง [ไม่แน่ใจว่าจะมีตัวเลือกนี้หรือไม่
โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
33. การปกครองแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี – ฝรั่งเศส
34. การทุจริตใดที่ประชาชนเรียกร้องให้ตรวจสอบแต่ได้ระงับการดำเนินงานไปแล้ว – ทุจริตคลองด่าน
35. กรุงเทพฯโพลช่วงเดือนตุลาคมเรื่องใด – การเมือง การเลือกตั้ง
36. กรุงเทพฯโพลสำรวจวัยรุ่นชอบพูดคุยเรื่องใด – กิน เที่ยว ช็อปปิ้ง
37. อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งเมื่อใด สมาชิกก่อตั้งกี่ประเทศ – ก่อตั้งในปี 1967
โดยประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศไทย
38. ปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) มีสมาชิกกี่ประเทศ – 25 ประเทศ
39. วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เป็นวันอะไร – April’s fool day หรือ All fool’s day แปลภาษาไทยว่า
“วันเมษาคนโง่” [ข้อสอบถามอย่างนี้จริงๆ เหรอ เพราะไม่รู้ว่าวันนี้จะเป็นวันอะไรอย่างอื่นอีก]
40. ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ไม่เกี่ยวกับอะไร – [ต้องดูตัวเลือก
เพราะฉันทามติวอชิงตันมีหลักการ 4 ข้อ คือ Liberalization, Privatization, Deregulation, Regulatory]
41. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ไม่ได้เกี่ยวกับอะไร
42. อะไรที่ไม่มีในการจัดระเบียบการปกครองราชการ – ตำบล หมู่บ้าน
43. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่มีหน้าที่ใด – อภิปรายไม่ไว้วางใจ
44. ศาลมีกี่ระบบ – 4 ระบบ คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลรัฐธรรมนูญ
45. ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสังกัด – ศาลยุติธรรม
46. ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติคานอำนาจกันตามรัฐธรรมนูญอย่างไร –
รัฐมนตรีต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร
47. การที่รัฐบาลยกเลิกบริการรถเมล์ปรับอากาศ ขัดหลักอะไร
48. พจนานุกรม ที่บัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ของวัยรุ่น เป็นของสำนักพิมพ์ใด – มติชน
49. ประเทศใดไม่ใช่สมาชิก OPEC – บรูไน [โปรดดูตัวเลือกประกอบ]
50. ข้อใดไม่ใช่ทบวงชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ (UN) – [ต้องดูตัวเลือก
เพราะทบวงชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ
มีดังนี้ 1) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO - International Labour Organisation), 2)
องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO - Food and Agriculture Organization of the United
Nations), 3) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UNESCO - United Nations
Educational, Scientific and Cultural Organization), 4) องค์การอนามัยโลก (WHO - World Health
Organization), 5) ธนาคารโลก (World Bank) และ 6) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF - International
Monetary Fund): อ้างจาก Encyclopaedia Britannica 2005 และโปรดเข้าเว็บไซต์ [url]www.un.org[/url]]
51. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 มีความแตกต่างอย่างไร
52. ประชาธิปไตย – [ไม่รู้ว่าโจทย์จริงๆ ถามว่าอะไรไม่ชัดเจน] Democracy มาจากคำ 3 คำ คือ Demos (ปวงชน
= การปกครองของประชาชน) + Kratein (ปกครอง = การปกครองโดยประชาชน) + Kratos (อำนาจ =
การปกครองเพื่อประชาชน)
53. ประเทศไทยและจีนเริ่มความสัมพันธ์ตอนไหน – เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากการ “จิ้มก้อง”
หรือส่งบรรณาการ หลักฐาน คือ พวกเครื่องชามสังคโลก แต่ความสัมพันธ์ในยุคสมัยใหม่นั้นเริ่มตั้งแต่ 1
กรกฎาคม 2518 จากการที่อดีตรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อเข้าพบท่านประธานเหมาเจ๋อตง)
54. 9/11 ปีใด – 2001 เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ก่อการร้ายใช้เครื่องบิน 4 ลำพุ่งชนสถานที่สำคัญต่างๆ
ของสหรัฐ
โดยมีลำดับเหตุการณ์ดังนี้ วันที่ 11 กันยายน 2001 เวลา 8.46 น. (เวลาในท้องถิ่น)
ผู้ก่อการร้ายได้ขับเครื่องบินลำแรกจากบอสตันพุ่งเข้าชนตึกด้านทิศเหนือของ World Trade Center
ในกรุงนิวยอร์ก อีกประมาณ 15 นาทีต่อมา เครื่องบินลำที่ 2 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนตึกด้านทิศใต้ของ
World Trade Center
โครงสร้างของอาคารทั้งสองเสียหายอย่างหนักเนื่องจากผลของการพุ่งชนและไฟที่ปะทุขึ้นมาในตัวอาคาร เวลา
9.40 น. เครื่องบินลำที่ 3 จากเขตวอชิงตัน ดี.ซี. พุ่งเข้าชนด้านทิศตะตกเฉียงใต้ของเพนตากอน
(ที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ) ซึ่งตั้งอยู่นอกตัวเมือง ทำให้ส่วนนั้นของโครงสร้างระเบิดและไฟไหม้
ในเวลาช่วงชั่วโมงต่อมา เครื่องบินลำที่ 4 จากนิวอาร์ก รัฐนิวเจอร์ซี
พุ่งตกลงในเขตชนบทของรัฐเพนซิลเวเนีย
หลังจากผู้โดยสารของเครื่องบินลำดังกล่าวได้แจ้งเหตุการณ์นั้นทางมือถือเพื่อพยายามหาทางจัดการกับผู้ก่อการร้าย
55. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปัจจุบันฉบับที่เท่าใด – ฉบับที่ 9 (2545-2549)
56. จังหวัดใดบ้างใช้กฎหมายอิสลาม – ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล

เอกสารชุดที่ 3 ตัวอย่างข้อสอบวิชาเรียงความ

วันสอบข้อเขียน: วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00 – 11.00 น. มีกระดาษมาให้ 2 แผ่น
ขอให้เขียนชื่อ เลขที่นั่งสอบ เลขประจำตัวสอบให้ครบ และตอบคำถามให้ตรงประเด็นและชัดเจน
หมายเหตุ ผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้รับการตรวจข้อสอบวิชาเรียงความ
จะต้องเป็นผู้สอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ได้คะแนนสูงสุดจำนวนสาขาละ 100 คน

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2546

สาขาการระหว่างประเทศ
ท่านคิดว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการบุกอิรักหรือไม่ ถ้าบุกผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร
และท่านคิดว่าสหรัฐอเมริกามีเหตุผลอะไรในการทำสงคราม จงแสดงความคิดเห็น [จำเนื้อความโจทย์ไม่ได้แน่ชัด
แต่จำได้ว่าเป็นคำถามในเชิงนี้]

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2547

สาขาการเมืองการปกครอง
โจทย์ถามทั้งหมด 2 ข้อใหญ่ด้วยกัน
1. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าไหร่? ปีอะไร? มีทั้งหมดกี่มาตรา?
2. ในกรณีการสลายการชุมนุมประท้วงม็อบท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ซึ่งรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปราม
คุณมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่

ตอบ
1. ฉบับที่ 16 ปี 2540 (ตราไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2540) มีทั้งหมด 336 มาตรา
2. ผมเริ่มจากการมองปัญหาโดยภาพรวม ผมคิดว่าการที่รัฐบาลใช้ความรุนแรง ผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
เพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ประชาชนจึงมีสิทธิเสรีภาพในการออกเสียงคัดค้านต่างๆ ได้
ส่วนเรื่องของผู้ชุมนุมประท้วงก็ควรจะอยู่ในขอบเขตสิทธิของตนเอง
และไม่ควรละเมิดการกระทำอันสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วไป
[ผมเขียนแนวประมาณไม่เข้าข้างรัฐบาลหรือผู้ชุมนุมประท้วงมากเกินไป แต่เป็น “กลาง” มองปัญหาให้กว้าง
และเปรียบเสมือนว่าตนเองอยู่ในเหตุการณ์ และมองดูสภาพเหตุการณ์โดยรวม – ผู้เขียน]
ในช่วงสุดท้ายหรือบทสรุปผมได้เขียนบทกลอนไว้
... [บทกลอน] … [ซึ่งตอนนี้จำไม่ได้แล้ว – ผู้เขียน]
[บทกลอนซึ่งผู้เขียนเขียนในการตอบเรียงความ
ผมเข้าใจว่าเป็นการขมวดปมความคิดเกี่ยวกับมุมมองตามที่กล่าวมาข้างต้นและสื่อให้เห็นถึงความเข้าใจของผู้เ

ขียนเอง – ผู้เรียบเรียง]
[ข้อเสนอแนะ: เมื่อเข้าใจคำถามแล้ว การตอบควรจะแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก
และควรยกเหตุผลและตัวอย่างมาประกอบ คล้ายๆ การทำข้อสอบอัตนัย – ผู้เขียน]

สาขาบริหารรัฐกิจ
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการเอื้ออาทรของรัฐบาล

ตอบ
เห็นด้วย แต่ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ถือว่าเป็นการกระจายโอกาสสู่ประชาชนในระดับรากหญ้าให้มีโอกาสมากขึ้น
[จากการคุยกับผู้เขียนมีขอแนะนำว่าให้นำไปต่อยอดทางความคิด หรือประยุกต์ตามความคิดที่เหมาะสม
ซึ่งผมเห็นว่าตัวอย่างการตอบข้างต้นนั้นเป็นการสรุปวิธีคิด
แต่ในการสอบผมเห็นว่าควรจะมีการให้รายละเอียด
แสดงความเห็น หาเหตุผลสนับสนุนหรือยกตัวอย่าง รวมทั้งสรุปประเด็น – ผู้เรียบเรียง]

สาขาการระหว่างประเทศ
สวัสดีครับพี่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พี่สอบเข้ามาได้โดยการการสอบตรงที่น้องหลายๆ คนกำลังเตรีมตัวเพื่อจะสอบเช่นกันอยู่ในขณะนี้
จากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เห็นข้อสอบเมื่อ 2 ปีที่แล้วและได้สอบผ่านเข้ามา
พี่พอจะมีแนวทางในการเตรียมตัวสอบและทำข้อสอบที่อยากแนะนำน้องๆ ดังนี้ครับ

“จงบอกนโยบายต่างประเทศที่ประเทศไทยควรมีต่อประเทศต่างๆ ในยุคปัจจุบัน พร้อมอธิบายอย่างละเอียด”

ก่อนอื่น น้องต้องตีความโจทย์ให้แตกก่อนว่า เขาต้องการสื่ออะไร และคำตอบที่เขาต้องการเป็นไปในลักษณะใด
โดยที่ประเด็นได้ดังนี้ครับ
1. นโยบายต่างประเทศ  อาศัยความรู้ที่สั่งสมมาในเรื่องลักษณะพื้นฐานทั่วไปของประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นโยบายต่างๆ ในอดีต และลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของประเทศหรือภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนิยาม
2. ประเทศไทย  น้องต้องรู้จักประเทศไทยให้ดีพอ เพื่อที่จะรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเรา
เพื่อให้เป็นการกำหนดนโยบายที่ยังประโยชน์สูงสุดต่อประเทศของเรา ภูมิภาคของเรา และสังคมโดยรวม
3. ยุคปัจจุบัน  มีสภาพเป็นเช่นไร และอะไรทำให้ปัจจุบันมีสภาพเช่นนั้น
อะไรเป็นสิ่งดีและอะไรเป็นสิ่งไม่ดี ปัจจุบันมีอะไรและอย่างไร ส่งผลกระทบอะไรต่อประเทศ ภูมิภาคเรา
และสังคมโดยรวม
ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้น เป็นประเด็นที่น้องจะต้องหาคำตอบให้ตัวน้องให้ได้ ตำตอบใครจะครอบคลุม
ละเอียดถี่ถ้วนและมีมิติเพียงใด ขึ้นอยู่กับการสั่งสมของน้องเองไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ
การดูจากโทรทัศน์ การฟังจากวิทยุ การใช้งานอินเตอร์เน็ต
โดยที่ข้อมูลที่อยู่ในหัวน้องแล้วเหล่านี้ก่อนเขียนลงไป
น้องต้องแน่ใจว่ายังเป็นจริงอยู่และถูกต้องครบถ้วนที่สุดแล้ว
ต่อจากนั้นหลังจากผ่านขั้นตอนการคิดวิเคราะห์ [คิดแบบแยกเป็นส่วนๆ แล้วพิจารณาแต่ละส่วนนั้น –
ผู้เรียงเรียง] โจทย์แล้วเราจะมี concept อยู่ในหัว ต่อจากนั้นเราค่อยเขียนออกมา
โดยลักษณะวิธีการเขียนที่พี่ใช้มีลักษณะดังนี้

1. เกริ่น
การเกริ่นเป็นการโยงใยความคิดของน้องจากปัญหา (หัวข้อเรียงความ)
ไปสู่เนื้อหาที่สำรองข้อมูลไว้แล้วโดนเป็น concept ที่น้องคิดลำดับขึ้นข้างต้น
น้องต้องโยงอย่างมีลำดับขั้นเข้าใจง่าย และจะมีความน่าเชื่อถือ ควรเป็นความคิดที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะ
แตกต่างจากความคิดทั่วไป โดยต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ
และควรมีตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไปเกี่ยวโยงเปรียบเทียบ
เพื่อให้ความคิดของน้องมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยหลักการนี้ที่ว่าควรมีอยู่ในทุกส่วนของบทความของน้องนะครับ

2. รายละเอียด
ในส่วนของรายละเอียดนี้น้องต้องจัดลักษณะของหัวข้อที่มีแนวทางเดียวกันไม่ขัดแย้งกันเอง
ถ้าหากขัดแย้งควรให้เหตุผลในรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร และทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น
แนวทางเดียวกันดังกล่าวนี้ ก็คือ concept ที่น้องวาดเอาไว้แล้วในสมอง
แล้วก็เกริ่นเชื่อมโยงไว้แล้วข้างต้นนั้นเอง
* ควรมีคำจำกัดความแล้วตามด้วยรายละเอียด โดยคำจำกัดความต้องเป็น concept หลักของย่อหน้านั้น เช่น
คำจำกัดความ : รายละเอียด
3. สรุป
เป็นส่วนที่รวบรวมเอาทุกอย่างที่น้องกล่าวมาโดยน้องต้องโยงใน concept ของทั้งหมด
กับสิ่งที่โจทย์ถามให้ได้ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่น้องต้องปรับแต่งสิ่งต่างๆ
ให้เข้าที่เข้าทาง
และที่สำคัญคือสามารถเป็นคำตอบที่ดีมากสำหรับโจทย์ให้ได้
และน้องควรแสดงถึงจุดยืนของน้องอีกนิดที่มีต่อปัญหาและคำตอบทั้งหมด ควรแสดงวิสัยที่กว้างไกลมากขึ้น
และให้น้ำหนักในความเป็นจริงได้ของสิ่งที่น้องต้องการนำเสนอในส่วนข้างต้น
สุดท้ายนี้พี่อย่างทิ้งท้ายไว้ว่า เป็นตัวน้องให้มากที่สุด ข้อมูลส่วนต่างๆ
ที่น้องรับมาตกผลึกมันอีกที่ด้วยทัศนคติ ความคิดเห็นของตัวน้องเอง อย่ากลัวและซีเรียสเกินไป
เป็นตัวน้องเอง เป็นผู้ที่อ่านมามาก มีเหตุมีผล และบอกได้ถึงที่มาที่ไปของความคิดของน้อง

ตัวอย่างข้อสอบในปี 2548

สาขาการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันฉบับที่เท่าใด ประกาศใช้เมื่อใด มีกี่มาตรา
และการที่พรรคการเมืองเสียงข้างมากได้ที่นั่งมากกว่า 400 เสียง สำคัญหรือไม่อย่างไร?
มีผลกระทบต่อการเมืองไทยอย่างไร?

สาขาบริหารรัฐกิจ
เขียนเรื่อง “ความประทับใจในการบริการของภาครัฐ”

สาขาการระหว่างประเทศ
การที่สหรัฐอเมริกาทำการบุกอิรักเป็นเช่นไร และอำนาจอธิปไตยหมายถึงอะไร?


admin 2011-12-02 21:01
เอกสารชุดที่ 4 หลักการเขียนเรียงความ
1. ลักษณะของย่อหน้าที่ดี
1.1 มีเอกภาพ มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น กำหนดจุดมุ่งหมายเป็นประโยคใจความสำคัญ
เนื้อหาสาระของข้อความที่นำมาเขียนขยายนั้นต้องมีใจความเป็นเรื่องเดียวกันกับประโยคใจความสำคัญ
1.2 มีความสมบูรณ์ ส่วนต่างๆ ประสานเข้าหากันไม่มีส่วนใดขาดตกบกพร่อง ต้องเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
มีเนื้อหาสาระ มีรายละเอียด ส่วนขยายที่ชัดเจนไม่ออกนอกเรื่อง (ต้องเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญเท่านั้น)
ได้เนื้อความบริบูรณ์
1.3 มีสัมพันธภาพ ข้อความหรือประโยคแต่ละประโยคที่เรียงต่อกันนั้น
มีความเกี่ยวเนื่องติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน จัดลำดับความคิดให้เป็นประโยคต่อเนื่องกันด้วยเนื้อหา
โดยอาจจัดลำดับความคิดตามเวลา (เหตุการณ์ก่อนหลัง) ตามพื้นที่
(ใกล้ไปหาไกล/ข้างบนไปหาข้างล่าง/ซ้ายไปขวา/เหนือไปหาใต้) จากคำถามไปสู่คำตอบ (คำถามไว้เป็นประโยคแรก
แล้วจัดหาประโยคขยายตามลำดับเพื่อให้ได้คำตอบเป็นผลลัพธ์ตอนท้ายของย่อหน้า) จากรายละเอียดไปสู่ข้อสรุป
(หรือจากข้อสรุปไปสู่รายละเอียด) และจากเหตุไปสู่ผล
1.4 มีสารัตถภาพ ย้ำเน้นใจความสำคัญเพื่อให้ผู้อ่านทราบเจตนา
โดยอาจวางตำแหน่งประโยคใจความสำคัญในตอนต้นหรือตอนท้ายของย่อหน้า การย้ำเน้นด้วยคำวลีหรือประโยคซ้ำๆ
กันบ่อยๆ ภายในย่อหน้า
(ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายหรือความคิดสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารถึงผู้อ่าน)
รวมถึงการย้ำเน้นอย่างมีสัดส่วน
1.5 ใช้คำเชื่อมได้อย่างเหมาะสม (คำสันธานหรือวลี) ทำให้ข้อความสละสลวย ไม่ใช้ซ้ำซาก
ใช้ภาษาถูกต้องตามแบบแผน ใช้ภาษาระดับเดียวกัน ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ อ่านแล้วไม่ติดขัด
เหมือนได้อ่านเรียงความสั้นๆ หนึ่งเรื่อง

2. การเขียนประโยคใจความสำคัญเป็นย่อหน้า
2.1 ให้คำจำกัดความ อธิบายคำหรือวลีให้ผู้อ่านเข้าใจ
2.2 ให้รายละเอียด เพื่อให้ได้ย่อหน้าที่เนื้อหาสาระมีความสมบูรณ์
2.3 ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจความคิดสำคัญหรือประโยคใจความสำคัญได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
2.4 เปรียบเทียบ การเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
หรืออาจจะเป็นในลักษณะอุปมาโวหารหรือยกเป็นอุทาหรณ์
2.5 แสดงเหตุและผล เหมาะสำหรับงานเขียนที่ต้องการวิเคราะห์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็น

3. การเขียนคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
3.1 คำนำ เป็นส่วนแรกของงานเขียนที่จะสร้างความน่าสนใจ
ดึงดูดและท้าทายให้ผู้อ่านอยากรู้อยากอ่านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ
ที่ผู้เขียนรวบรวมมาเสนอในเนื้อเรื่อง
เพราะคำนำที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบได้ตั้งแต่ต้นว่ากำลังจะได้อ่านเกี่ยวกับอะไร
ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเขียนคำนำให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน
สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเขียนและการเสนอเนื้อเรื่อง ประกอบกับการใช้ศิลปะการเขียนเฉพาะตน
กลวิธี: เรื่องส่วนรวมไปสู่เรื่องเฉพาะ / มุ่งตรงสู่เรื่อง / ความนำที่ตรงกันข้ามและเป็นปัญหาให้คิด /
ให้คำจำกัดความ / บอกเจตนาหรือจุดประสงค์ในการเขียน / เล่าเรื่องหรือเล่าถึงความเป็นมาพื้นฐานของเรื่อง
/ ข่าว เหตุการณ์ ปัญหาเร่งด่วนที่กำลังเป็นที่สนใจ / ข้อมูล สถิติ ข้อเท็จจริง / สุภาษิต คำคม บทกวี
คำกล่าวของบุคคลสำคัญ / คำถาม / กล่าวถึงบุคคลที่ต้องการเขียนถึง /
กล่าวถึงจุดเด่นที่น่าสนใจของสิ่งที่จะเขียนต่อไป
3.2 เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของงานเขียน
เนื่องจากเป็นส่วนที่รวบความคิดและข้อมูลทั้งหมดที่ผู้เขียนค้นคว้ารวบรวมมาเสนออย่างมีระเบียบ มีระบบ
และเป็นขั้นตอน ทำให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง
กอปรไปด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกันตลอด
3.2.1 รวบรวมข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ข้อเท็จจริง
3.2.2 วางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับประเด็นที่จะนำเสนอ
3.2.3 นำหัวข้อต่างๆ มาเขียนขยายความให้เป็นย่อหน้าที่ดี
3.2.4 มีประเด็นมากพอให้ผู้อ่านสนใจ
3.2.5 ต้องใช้ท่วงทำนองการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา ตรงตามวัยความสนใจของผู้อ่าน
3.3 การสรุป เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่าข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว (ในย่อหน้าที่ผ่านมา)
จะเป็นช่วยย้ำให้ผู้อ่านทราบว่างานเขียนที่ได้อ่านมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ได้ข้อคิดหรือแนวทางอะไรเพิ่มเติมจากการอ่านครั้งนี้บ้าง
ที่สำคัญคือการสรุปจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงจะทำให้ผู้อ่านเกิด

ความประทับใจ
กลวิธี: แสดงความเห็นของผู้เขียน (เห็นด้วย ขัดแย้ง เสนอแนะ ชักชวน ฯลฯ) / สดุดีเกียรติคุณ คุณประโยชน์
/ คำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ในคำนำ / กล่าวถึงข้อดี ข้อบกพร่อง
หรือเสนอแนะให้เห็นประโยชน์ / ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน / สาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้อ่านทราบ / บทกลอน คำคม
สุภาษิต ข้อความ หรือคำพูดของบุคคลสำคัญ

ตัดตอนและสรุปจาก:
ราตรี ธันวารชร, “การเขียนย่อหน้า” และ เจียรนัย ศิริสวัสดิ์, “การเขียนคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป” ใน
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การใช้ภาษาไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. หน้า 80-92 และ 105-112

เอกสารชุดที่ 5 วิธีการตอบข้อสอบอัตนัย
1. ข้อสอบที่มุ่งให้อธิบาย
วัตถุประสงค์ มุ่งให้อธิบายวิธีการหรืออธิบายความรู้ในเรื่องต่างๆ
ลักษณะคำถาม ให้คำจำกัดความ / ให้รายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริง / ให้เปรียบเทียบ : “คืออะไร” /
“มีความหมายว่าอย่างไร” / “จงอธิบาย” / “จงเปรียบเทียบ”
ขั้นตอนการตอบ
1) พิจารณาลักษณะของคำถามว่ามุ่งให้ตอบในประเด็นใด
2) รวบรวมความรู้ที่เป็นข้อมูลสำคัญซึ่งอาจได้จากการอ่าน การฟัง การสังเกต และการศึกษาค้นคว้า
3) จัดระเบียบความรู้ความคิดให้เป็นหมวดหมู่แล้วเรียบเรียงความคิดนั้นตามลำดับ
4) อาจมีตัวอย่าง เหตุผล หลักฐานอ้างอิง หรือการเปรียบเทียบตามความจำเป็น
5) ต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ น่าอ่าน และลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
อย่าให้วกวนสับสน
แนวการตอบ
1) การให้คำจำกัดความ อธิบายให้สั้นรัดกุมและชัดเจน
2) การยกตัวอย่าง ช่วยให้การอธิบายชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น
3) การเปรียบเทียบ ลักษณะที่เหมือนกันหรือลักษณะที่แตกต่างกัน
บางครั้งอาจต้องบอกข้อดีข้อเสียของสิ่งที่นำมาเปรียบกันเพื่อให้คำตอบกระจ่างชัด
ในบางกรณีสิ่งที่อธิบายนั้นมีลักษณะเข้าใจยาก ผู้ตอบอาจต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย
4) การแสดงเหตุผล แสดงว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล
อาจตอบอธิบายจากผลไปสู่สาเหตุหรือจากสเหตุไปสู่ผลก็ได้
5) การอธิบายตามลำดับขั้น ถามเกี่ยวกับกรรมวิธีหรือกระบวนการที่มีขั้นตอน

2. ข้อสอบที่มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
วัตถุประสงค์ ต้องการให้ผู้ตอบใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงประกอบ
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นของตนน่าเชื่อถือหรือน่านำไปปฏิบัติได้
ลักษณะคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่” / “จงแสดงความคิดเห็น” / “ทำไม”
องค์ประกอบของข้อสอบ
1) เรื่อง อ่านคำถามให้เข้าใจและพยายามจับประเด็นให้ได้ว่า
ต้องเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
แต่ถ้าลักษณะข้อสอบเป็นการตัดตอนข้อความหรือหยิบยกเรื่องราวมาประกอบคำถาม
เพื่อให้อ่านและแสดงความคิดเห็น
ผู้ตอบจำเป็นต้องจับใจความสำคัญและตีความเพื่อจับประเด็นสำคัญจากเรื่องให้ได้ครบถ้วนก่อนแล้วจึงตอบคำถาม

หรือเสนอความคิดเห็นของตน
2) ข้อมูลหรือความรู้ที่จำเป็น ต้องมีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่ตนเสนออย่างแจ่มแจ้ง
และสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
อาจจะเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วและข้อคิดเห็นของผู้อื่นซึ่งผู้ตอบใช้อ้างอิง
สิ่งสำคัญก็คือควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อได้ เพราะข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องถูกต้องและชัดเจน
3) เหตุผล มุ่งให้เกิดความคล้อยตามและยอมรับ
เหตุผลที่อ้างอิงอาจได้จากข้อเท็จจริงที่ศึกษามาหรือเป็นประสบการณ์ก็ได้ ควรจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ไม่ควรปล่อยให้อารมณ์หรืออคติครอบงำ เพราะจะทำให้ข้อเขียนขาดความเที่ยงตรงได้
4) หลักฐาน มี 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานทางตรง
(ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองจึงเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด) และหลักฐานทางอ้อม
(ได้จากเอกสารหรือคำบอกเล่าของผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการตีความประกอบแต่ก็เป็นที่นิยมกันมาก)
อาจปรากฏในรูปต่างๆ เช่น ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลย ตัวอย่างเหตุการณ์
ขั้นตอนการตอบ
1) สังเกตคำถามและพยายามจับประเด็นสำคัญจากคำถามว่า
ข้อสอบมุ่งให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดในแง่มุมใดบ้าง
2) ผู้ตอบต้องบอกได้ว่าตนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือข้อความที่ได้อ่านอย่างไร ต้องการสนับสนุน
(ควรชี้ให้เห็นคุณประโยชน์หรือผลดี) หรือโต้แย้ง (ต้องชี้ข้อบกพร่องหรือผลเสีย) ก็เขียนให้ชัดเจน
หากในข้อความที่อ่านมีการเสนอความคิดเห็นมาก่อน
ผู้ตอบต้องพยายามสนับสนุนหรือหักล้างความเห็นเหล่านั้นด้วยเหตุผลและหลักฐานให้ความถ้วนทุกประเด็น
กรณีที่ข้อความนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น
ผู้ตอบอาจจะเห็นคล้อยตามความคิดเห็นบางประเด็นและขัดแย้งบางประเด็นก็ได้
ควรเขียนเสนอให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยกับประเด็นใดและไม่เห็นด้วยกับประเด็นใดพร้อมทั้งชี้แจ้งเหตุผลด้วย
3) เสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ของผู้ตอบเอง เขียนได้อย่างอิสระ
แต่ถ้าเป็นการกำหนดข้อความหรือเรื่องราวมาแล้ว
สิ่งที่ผู้ตอบพึงระวังก็คืออย่าเสนอความคิดเห็นซ้ำซ้อนกับความคิดที่มีปรากฏอยู่แล้วในคำถามโดยไม่ได้เสนอ

ความคิดเห็นใหม่ๆ ที่เป็นของตนเพิ่มเติม
ไม่เพียงแต่ต้องใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงเพื่อเสริมให้ความคิดเห็นนั้นน่าเชื่อถือเท่านั้น
แต่ต้องจัดลำดับความคิด เพราะการรู้จัดจัดวางข้อมูล อ้างอิงเหตุผลและหลักฐานอย่างเป็นระบบ
จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความเห็นคล้อยตามได้ง่าย
4) สรุปประเด็นเกี่ยวกับความคิดเห็นที่สำคัญซึ่งต้องการเสนอไว้ตอนท้ายเรื่อง
เพื่อให้คำตอบสมบูรณ์และยังเป็นการย้ำให้ผู้อ่านได้นำข้อคิดไปพิจารณาใคร่ครวญต่อไป
5) ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการเขียนความเรียง (คำนำ ส่วนเนื้อเรื่อง
และส่วนสรุป) ใช้ในกรณีที่เป็นการเขียนเสนอความคิดเห็นที่มีหลายประเด็น
ต้องอ้างอิงเหตุผลหลายประการเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเห็นคล้อยตาม อีกลักษณะหนึ่งคือ
การเขียนแสดงความคิดเห็นโดยตรง มุ่งตอบตำถามให้ตรงประเด็น “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย”
ต้องแสดงความเห็นให้ชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องมีอารัมภบท แต่ควรสรุปในตอนท้ายอีกครั้งเพื่อย้ำประเด็นสำคัญ

3. ข้อสอบที่มุ่งให้อภิปราย
วัตถุประสงค์ ผู้ตอบต้องแยกแยะประเด็นของเรื่องที่จะเขียนอภิปรายได้ชัดเจน
และวิเคราะห์ได้ครบถ้วนทุกประเด็น ต้องชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ตลอดจนข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์
ลักษณะคำถาม “จงอภิปราย”
องค์ประกอบของข้อสอบ
1) เรื่อง มี 2 ลักษณะ คือ
ก. เรื่องที่เป็นข้อมูลทั่วๆ ไป เพื่อให้ผู้ตอบได้เสนอทัศนะและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายๆ
ด้านพร้อมทั้งเหตุประกอบ
ในขณะเดียวกันการได้อ่านนานาทัศนะย่อมทำให้ผู้อ่านมีความรู้และมีทัศนะที่กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ข. เรื่องที่เป็นปัญหาในสังคม ซึ่งผู้ตอบต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนทัศนะหรือเปลี่ยนนโยบายใหม่
มักเป็นปัญหาส่วนรวมที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไข ทั้งยังมุ่งพิจารณาปัญหาเรื่องนั้นๆ
ทุกด้านเพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลดี
2) ข้อมูล หรือความรู้ที่ได้จากหลักฐานหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปราย
3) ความคิดเห็นของผู้ตอบ
ควรเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้อื่น
4) ข้อเสนอแนะ เสนอแนวทางในการปฏิบัติ หรือวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
5) เหตุผล ช่วยเพิ่มน้ำหนักทำให้คำตอบน่าสนใจยิ่งขึ้น
เหตุผลที่ใช้ในการเขียนอภิปรายจะมีทั้งเหตุผลประกอบความคิดเห็นและเหตุผลประกอบข้อเสนอแนะ
6) หลักฐานอ้างอิง ใช้สนับสนุนการเสนอเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปรายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการตอบ
1) อารัมภบท นำเข้าสู่เรื่อง เนื้อหาส่วนนี้จะเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ความสำคัญ
หรือความเป็นมาของเรื่องที่จะเขียนอภิปราย
ในกรณีที่เป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวมผู้ตอบอาจจะกล่าวถึงผลกระทบจากปัญหานั้น
2) เนื้อเรื่อง ในการนำเสนอผู้ตอบจำเป็นต้องแยกแยะประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน
ถ้าเป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวม ควรเสนอสาเหตุของปัญหา วิธีแก้ไข รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ
ให้ครบถ้วน
ควรพิจารณาปัญหาทุกด้านอย่างรอบคอบ
การเขียนอภิปรายแต่ละประเด็นต้องละเอียดมีเหตุผลมีหลักฐานอ้างอิงเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาและรู้จักวิธ

ีแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ส่วนการใช้ข้อมูลประกอบอาจเขียนอ้างอิงโดยการให้รายละเอียด การยกตัวอย่าง
หรือการเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความคิดเห็นคล้อยตามได้ง่าย
3) ข้อเสนอแนะในช่วงท้ายของเนื้อเรื่อง อาจจะเป็นข้อคิดหรือแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม
ในการเขียนอภิปรายมักมีประเด็นที่ต้องกล่าวถึงมากมาย
ดังนั้นผู้ตอบจึงควรจัดลำดับข้อความให้เหมาะสมตามหลักการใช้เหตุผลและจัดเป็นประเด็นใหญ่ประเด็นย่อยให้ชั

ดเจน ประเด็นใดมีความสำคัญควรกล่าวถึงก่อน ส่วนประเด็นที่สำคัญรองลงมาก็กล่าวถึงในลำดับถัดไป
ส่วนการเขียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาส่วนรวม มีวิธีจัดลำดับประเด็นที่น่าสนใจ 2 วิธี คือ วิธีแรก
กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาทั้งหมด ต่อจากนั้นจึงเสนอวิธีแก้ไขปัญหานั้นทุกปัญหา ส่วนวิธีที่สอง
เป็นการเสนอสาเหตุของปัญหากับวิธีแก้ไขปัญหาเป็นข้อๆ ไปจนกระทั่งพิจารณาปัญหาได้ครบทุกข้อ
การรู้จักลำดับประเด็นจะช่วยให้ผู้อ่านไม่สับสนและสามารถอ่านข้อเขียนได้เข้าใจยิ่งขึ้น
4) บทสรุป ควรย้ำประเด็นสำคัญที่ต้องการเสนอหรือชี้ให้เห็นว่า
ถ้าสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่เสนอแนะได้ย่อมก่อให้เกิดผลดี
5) สิ่งสุดท้ายที่ผู้ตอบควรคำนึงก็คือ การจัดสัดส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสม
ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องค้องมีมากกว่าส่วนที่เป็นคำนำและบทสรุป

4. ข้อเสนอแนะในการตอบข้อสอบอัตนัย
1) ก่อนตอบข้อสอบทุกครั้ง จะต้องอ่านคำถามแล้วตีความคำถามนั้นให้กระจ่างว่า ถามเรื่องอะไร มีกี่ประเด็น
ลักษณะคำถามมุ่งให้อธิบาย แสดงความคิดเห็น หรืออภิปราย
2) ระดมความรู้ ความคิด เหตุผล เพื่อตอบให้ตรงคำถาม
3) วางโครงเรื่อง เพื่อจัดระเบียบเนื้อเรื่องเป็นขั้นตอนและเพื่อให้ครอบคลุมทุกประเด็นของคำถาม
4) เรียบเรียงและจัดลำดับความคิดในแต่ละย่อหน้าให้เหมาะสม
5) ควรนำเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือประสบการณ์
ความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาประมวลกันเข้าเพื่อให้คำตอบนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุด
6) การใช้ภาษา ในการตอบข้อสอบต้องใช้ภาษาแบบแผนหรือกึ่งแบบแผน ไม่ควรใช้ภาษาปาก อักษรย่อหรือตัดคำ
และต้องใช้คำที่สื่อความหมายตรง สั้น กระชับ แต่ได้ใจความ
นอกจากนี้ในการตอบข้อสอบประเภทแสดงความคิดเห็นและอภิปราย
ควรใช้ภาษาโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้ายความคิดของผู้ตอบด้วย
7) ควรเขียนทวนคำถามเสียก่อนแล้วจึงตอบ ยกเว้นการตอบข้อสอบที่มุ่งให้อภิปรายเป็นความเรียง
ควรเขียนด้วยหมึกสีเข้ม ใช้ลายมือที่อ่านง่าย ไม่ควรมีรอยขูด ลบ ขีดฆ่า ถ้าจำเป็นก็ทำอย่างเรียบร้อย
9) ต้องคำนึงถึงเวลาซึ่งมีจำกัด ควรแบ่งเวลาให้ถูกจะได้ตอบครบทุกข้อ
10) ควรตรวจทาน ถึงแม้จะวางแผนการเขียนตอบอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม
แต่การตรวจทานจะช่วยให้เพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขข้อบกพร่องทั้งด้านเนื้อหาและการใช้ภาษาซึ่งรวมทั้งเรื่

องตัวสะกดด้วย


เวอร์ชันเต็ม: [-- เก็งข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.023072 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us