ขอบเขตวิชาสอบข้อเขียน
การคัดเลือกข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศ ด.ต. ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. 2554 จำนวน 500 อัตรา
ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยวิธีสอบข้อเขียน ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 120 ข้อ(คะแนนเต็ม 120 คะแนน) ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที มีรายละเอียดขอบเขตวิชาที่สอบ ดังนี้
1.วิชาความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 60 ข้อ
ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่
- สังคมและวัฒนธรรมไทย
- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- เศรษฐกิจประเทศไทย
- การเมืองไทยในปัจจุบัน
- การปกครองระบอบประชาธิปไตย
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การเสริมสร้างสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี
- สถานการณ์ปัจจุบัน
2.วิชาความรู้ในหน้าที่ของตำรวจ จำนวน 60 ข้อ
ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตำรวจในด้านต่างๆ ที่ข้าราชการตำรวจควรรู้ ได้แก่
- จริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
- อุดมคติของตำรวจ
- การบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช.และ ก.ตร.
- การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด
สอบข้อเขียน 4 กันยายน 2554
เกณฑ์การตัดสิน
เกณฑ์การตัดสินผู้ผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดลงมาตามลำดับวิชาที่สอบ ในกรณีที่ได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าในแต่ละวิชาเรียงตามลำดับวิชาจนครบ ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีกให้ผู้มีอาวุโสสูงกว่า(อายุตัว) เป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
ในการตอบปัญหาข้อสอบ กรณีที่ปัญหาข้อสอบไม่ถูกต้องหรือคำตอบที่ให้เลือกตอบไม่ถูกต้อง ทางคณะกรรมการดำเนินการสอบที่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบ จะพิจารณาข้อสอบในข้อนั้นๆ โดยจะตรวจให้คะแนนแก่ผู้เข้าสอบทุกคน
คลิกดาวน์โหลดรายละเอียดต่างๆ ด้านล่าง
หรือดาวน์โหลดลิงค์สำรองที่นี่
ปัจจุบันสถานีตำรวจในประเทศไทยกำหนดโครงสร้างไว้ 6 รูปแบบตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 655/2550
รูปแบบที่ 1 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานสูงมาก มีผู้กำกับการ เป็นหัวหน้า มีรองผู้กำกับการทำหน้าที่ช่วย
เหลือการปฏิบัติงาน 3 ด้านได้แก่ด้านป้องกันและปราบปราม, ด้านการจราจร และ ด้าน 2) งานปกครองป้องกัน
3) งานจราจร
4) (ปัจจุบันยกเลิกงานนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 และให้เจ้าหน้าที่
สายงานนี้ไปปฏิบัติงานสายปกครองป้องกัน สำหรับรายละเอียดกรุณาอ่านข้อเขียนของผมได้ที่
http://phanpatrol.spaces.live.com
5) งานสืบสวนสอบสวน
6) หน่วยปฏิบัติพิเศษ (ในทางปฏิบัติยังไม่มีการแต่งตั้งหน่วยนี้ในสถานีตำรวจใด)
รูปแบบที่ 2 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานสูง มีผู้กำกับการ เป็นหัวหน้า มีรองผู้กำกับการทำหน้าที่ช่วยเหลือ
การปฏิบัติงาน 2 ด้านได้แก่ด้านป้องกันและปราบปรามและด้านการสืบสวนสอบสวน แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 3 สถานีตำรวจที่มีปริมาณงานรองลงมา มีสารวัตรใหญ่ เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับ
รูปแบบที่ 2
รูปแบบที่ 4 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานรองลงมาอีก มีสารวัตรใหญ่ เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกัน
กับรูปแบบที่ 2 ยกเว้นงานจราจรที่ไม่มีในรูปแบบนี้
รูปแบบที่ 5 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานน้อย มีสารวัตร เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 4
รูปแบบที่ 6 สถานีตำรวจที่มี ปริมาณงานน้อยที่สุด มีสารวัตร เป็นหัวหน้า แบ่งงานลักษณะเดียวกันกับรูปแบบที่ 4
สำหรับรายละเอียดของคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติคำสั่งนี้ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ ที่นี่
นั่นก็คือโครงสร้างหรือการบริหารงานในสถานีตำรวจของเรา และเพื่อให้เกิดความเข้าใจกระจ่างมากขึ้นผมใคร่ขอเพิ่ม
เติมเกี่ยวกับตำแหน่ง หัวหน้าสถานีตำรวจอีกสักหน่อยนะครับคือหัวหน้าสถานีตำรวจปัจจุบันนี้ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
1. ผู้กำกับการ
2. สารวัตรใหญ่ (ใช้เรียกรองผู้กำกับการที่ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีตำรวจ)
3. สารวัตร
โดยสถานีตำรวจไหนจะมีหัวหน้าสถานีตำแหน่งใดก็ย่อมขึ้นกับรูปแบบโครง สร้างของสถานีตำรวจนั้นๆ ว่าเป็นแบบไหน
นั่นเอง แต่ก็อาจจะมีคำถามต่อไปว่าแล้วรู้ได้อย่างไรว่าสถานีตำรวจไหนมีโครงสร้าง หรือรูปแบบใดระหว่างรูปแบบที่ 1-6
ตอบยากเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้ดูง่ายๆ ผมคิดว่าให้ท่านดูดังนี้
1. สถานีตำรวจนครบาล (อยู่ในกรุงเทพมหานคร) และ สถานีตำรวจภูธร (นอกเขตกรุงเทพมหานคร)
ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง แทบจะร้อยทั้งร้อยมี ผู้กำกับการ เป็นหัวหน้าส่วน จะอยู่ในรูปแบบที่ 1 หรือ 2
ให้สังเกตง่ายๆ โดยดูที่ว่าสถานีตำรวจนั้นมี ตำแหน่งรองผู้กำกับการจราจร หรือไม่ หากมีละก็อยู่ในรูป
แบบที่ 1 แน่นอน แต่หากไม่มีก็จะอยู่ในรูปแบบที่ 2 เพราะรูปแบบนี้ไม่มี รองผู้กำกับการจราจร
2. สถานีตำรวจซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอที่มีจำนวนตำบลไม่มากนัก เช่นอาจมี 5-6 ตำบล หรือน้อยลงมาและมี
หัวหน้าสถานีตำรวจเป็น ผู้กำกับการ โดยที่สถานีตำรวจแห่งนั้นเคยใช้ชื่อว่า"สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ"
มาก่อน แบบนี้ร้อยทั้งร้อยจะมีโครงการสร้างในรูปแบบที่ 2
3. สถานีตำรวจที่เคยใช้ชื่อว่า "สถานีตำรวจภูธรตำบล" มักจะมีโครงสร้างในรูปแบบที่ 4-6
แต่ต้องใช้คำว่า แต่ที่บอกไปนั้นเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นง่ายๆ เท่านั้นอาจจะไม่ใช่แบบที่อธิบายเสมอไปทั้งหมด
ทางที่ดี ลองสอบถามตำรวจโรงพักนั้นๆ ดูอีกครั้งจะแน่นอนกว่า
สำหรับคำถามที่ถามว่าเวลามีธุระจะไปติดต่อสถานีตำรวจนั้นจะต้องเริ่ม ที่จุดไหน อันนี้ไม่ยาก หากท่านไม่รู่ว่าจะติดต่อใคร
ก่อนดี แนะนำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของโรงพัก ทุกโรงพักจะมีเจ้าหน้าที่นี้อยู่ประจำ โดยที่ทุกโรงพักจัดไว้จะ
อยู่ที่ ชั้นล่างของอาคารที่ทำการ และเป็นจุดแรกที่พี่น้องประชาชนพบเห็นได้ทันที เมื่อเข้าโรงพัก อีกอย่างหนึ่งก็คือจะมีป้าย
คำว่า "เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์" หรือ "ประชาสัมพันธ์" ติดไว้อยู่ ให้สอบถาม