เวอร์ชันเต็ม: [-- ประวัติ ความเป็นมาของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม --]

จำหน่ายข้อสอบ แจ้งข่าวการสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ไฟฟ้า ธกส. -> สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม -> ประวัติ ความเป็นมาของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2015-06-26 13:00

ประวัติ ความเป็นมาของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม





ประวัติกระทรวงคมนาคม
    ในระหว่าง พ.ศ.2418 ถึง พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปราชการบริหาร โดยให้มีหน่วยราชการรวมด้วยกัน 12 หน่วย แบ่งอำนาจและหน้าที่การบริหาร ดังนี้.
      1) กรมมหาดไทย สำหรับบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช
      2) กรมพระกลาโหม สำหรับบังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช 
      3) กรมท่า ว่าการต่างประเทศอย่างเดียวไม่ต้องว่าหัวเมือง 
      4) กรมวัง ว่าการในพระราชวัง และกรม ซึ่งใกล้เคียงกับราชการในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน 
      5) กรมเมือง ว่าการตำรวจและบัญชีคน 
      6) กรมนา ว่าการเพาะปลูก การค้า ป่าไม้ บ่อแร่ 
      7) กรมพระคลัง ว่าการภาษีอากร และเงินที่จะจับจ่ายในแผ่นดินทั้งสิ้น 
      8) กรมยุติธรรม ว่าการศาล ชำระความรวมกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล และอุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน 
      9) กรมยุทธนาธิการ สำหรับตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือซึ่งจะมีผู้บังคับบัญชาการทหารเรือต่างหากอีกตำแหน่งหนึ่ง
     10) กรมธรรมการ บังคับบัญชาการเกี่ยวข้องในพระสงฆ์ โรงเรียน และโรงพยาบาลทั่วราชอาณาจักร
     11) กรมโยธาธิการ ตรวจตราก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป รวมทั้งการไปรษณีย์ โทรเลข และการรถไฟ 
     12) กรมมุรธาธร รักษาพระราชลัญจการ รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง

คลิกถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร

     โดยเฉพาะกรมโยธาธิการที่จะสถาปนาเป็นกรมขึ้นก็เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า การช่าง ได้แยกย้ายกันอยู่ในกรมต่างๆ ไม่รวมอยู่เป็นหมวดหมู่ด้วยกัน จึงมีประกาศพระบรมราชโองการตั้งกรมโยธาธิการขึ้น เมื่อ ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) ครั้นในปี ร.ศ.109 
    (พ.ศ.2433) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการโยธาต่างๆ ที่อยู่ในกระทรวงต่างๆ มาตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการขึ้น และรวมกรมโทรเลข ไปรษณีย์ เข้าในกระทรวงโยธาธิการ
     ต่อมา คณะกรรมการราษฎรจึงประกาศพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหา
ประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2475 ผลัดเปลี่ยนเสนาบดีเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และรวมกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีความว่า "ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตรกับกระทรวงพาณิชย์เวนคืนตำแหน่งให้รวมกระทรวงเกษตรกับกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ที่เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ยกกรมทะเบียนที่ดิน กรมป่าไม้ กรมราชโลหกิจ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการเวลานี้ไปขึ้น กระทรวงมหาดไทย ให้มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงศาประพัทธ์เป็นเสนาบดี" ใน พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบราชการบริหารขึ้นใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พุทธศักราช 2476 ขึ้นไว้ โดยมีกระทรวงต่างๆ รวม 7 กระทรวง ดังนี้คือ.
      1) กระทรวงกลาโหม 
      2) กระทรวงมหาดไทย 
      3) กระทรวงเศรษฐการ 
      4) กระทรวงยุติธรรม 
      5) กระทรวงพระคลัง 
      6) กระทรวงธรรมการ 
      7) กระทรวงการต่างประเทศ 

    ในการนี้มิใช่ว่ากิจการคมนาคมจะหายไป หรือรัฐบาลจะเลิกล้มกิจการคมนาคมตามนามกระทรวงคมนาคม เนื่องจากการจัดการบริหารใหม่ แต่กิจการคมนาคมและการสื่อสารยังอยู่ในกระทรวงเศรษฐการอย่างครบถ้วน คือ การรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลข และการเจ้าท่า ตามการแบ่งส่วนราชการบริหาร กระทรวงเศรษฐการซึ่งแบ่งออกเป็นดังนี้คือ.
      1) กรมเลขานุการรัฐมนตรี 
      2) กรมปลัด 
      3) กรมเกษตร 
      4) กรมการประมง 
      5) กรมป่าไม้ 
      6) กรมที่ดินและโลหกิจ 
      7) กรมชลประทาน 
      8) กรมพาณิชย์ 
      9) กรมสหกรณ์ 
      10) กรมรถไฟ 
      11) กรมไปรษณีย์โทรเลข 
      12) กรมเจ้าท่า 
      13) กรมวิทยาศาสตร์ 

    ต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 กำหนดหน้าที่ใน กระทรวงเศรษฐการออกเป็นทบวง คือ
      1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) ทบวงเกษตราธิการ 
      4) ทบวงพาณิชย์และคมนาคม 

    โดยเฉพาะหน้าที่ราชการในทบวงพาณิชย์และคมนาคม แยกออกเป็นดังนี้
      1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) กรมการขนส่ง 
      4) กรมเจ้าท่า 
      5) กรมทะเบียนการค้า 
      6) กรมไปรษณีย์โทรเลข 
      7) กรมพาณิชย์ 
      8) กรมรถไฟ 
      9) กรมวิทยาศาสตร์ 

    ใน พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติกระทรวงทบวงกรมแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 กำหนดหน้าที่ ในกระทรวงเศรษฐการ ขึ้นใหม่ โดยยุบเลิกทบวงเกษตรพาณิชย์กับทบวงพาณิชย์และคมนาคม ให้หัวหน้าเศรษฐการมีหน้าที่แยกเป็น
      1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) กรมเจ้าท่า 
      4) กรมทะเบียนการค้า 
      5) กรมไปรษณีย์โทรเลข 
      6) กรมพาณิชย์ 
      7) กรมรถไฟ 
      8) กรมวิทยาศาสตร์ 


คลิกถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร

    ในพ.ศ. 2484 การคมนาคมก็ได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาเป็นกระทรวงคมนาคมใหม่อีกตามเดิม ตามพระราชบัญญัติกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้.
      1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) กรมการขนส่ง (กองการบินพาณิชย์เดิม สังกัดกระทรวงเศรษฐการ) 
      4) กรมเจ้าท่า (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ) 
      5) กรมไปรษณีย์โทรเลข (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ) 
      6) กรมทาง (เดิมเป็นกองทางสังกัด กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย) 
      7) กรมรถไฟ (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ) 

    ในปีพ.ศ. 2494 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2494 หน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ได้แบ่งออกเป็นดังนี้ คือ.
      1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) กรมการขนส่ง 
      4) กรมเจ้าท่า
      5) กรมไปรษณีย์โทรเลข 
      6) กรมทาง (ปีพ.ศ.2495 เรียกกรมทางหลวงแผ่นดินตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2495) 

    ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม และมีส่วนราชการในสังกัด ดังนี้.
      1) สำนักงานรัฐมนตรี 
      2) สำนักงานปลัดกระทรวง 
      3) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี 
      4) กรมการขนส่งทางบก 
      5) กรมการขนส่งทางอากาศ 
      6) กรมทางหลวง 
      7) กรมทางหลวงชนบท 
      8) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 



สถานที่ว่าการกระทรวง
[align=start]  ในครั้งเมื่อได้รับการสถาปนฐานตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการนั้น ยังไม่มีที่ว่าการกระทรวงโดยเฉพาะ ต้องอาศัยอาคารของกรมไปรษณีย์อยู่ก่อน ซึ่งตึกที่ทำการนี้แต่เดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการ (สำรอง อมาตยกุล) ต่อเมื่อได้สร้างที่ว่าการกระทรวงขึ้นที่วังเดิมของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผล ภูลสวัสดิ์ เสร็จแล้วจึงได้ย้ายไปอยู่ ณ สถานที่นั้น และสถานที่ว่าการกระทรวงนี้คงอยู่ต่อมาจนอยู่นามกระทรวงใหม่จากกระทรวงโยธาธิการมาเป็นกระทรวงคมนาคม จนได้ยุบเลิกกระทรวงคมนาคมโอนกิจการไปรวมอยู่ในหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมและพาณิชย์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมและเมื่อปี พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐการ) และได้ใช้สถานที่กระทรวงใหม่เป็นที่ทำการ ส่วนสถานที่ว่าการกระทรวงคมนาคมเดิมนั้น ต่อมาเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมการปกครอง)
[align=start]

    ต่อมาเมื่อได้ตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้นใหม่อีกเมื่อพุทธศักราช 2484 จึงยังหาที่ว่าการ กระทรวงคมนาคมไม่ได้ แต่โดยที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันตรีหลวงโกวิท อภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงต้องอาศัยของอาคารที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข ตำบลบางรัก ในชั้น 2 ด้านเหนือ เป็นที่ทำการกระทรวงไปก่อน เมื่อได้ซ่อมแซมตึกกระทรวงยุติธรรม ตำบลท่าช้างวังหน้า (บริเวณโรงละคร แห่งชาติปัจจุบัน) ซึ่งจะใช้เป็นที่ว่าการกระทรวงคมนาคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ย้ายไปตั้ง ณ สถานที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2484

     ต่อมาเมื่อได้พิจารณาเห็นว่าตัวอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น มิได้มีแต่ที่ว่าการกระทรวงโดยเฉพาะ หากมีกรมการขนส่งรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้ว กิจการต่างๆ ของกระทรวงทั้งในด้านการคมนาคมและในด้านการสื่อสาร ได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องขยายส่วนบัญชาการให้กว้างขวางเพื่อให้พอเพียงแก่การบรรจุจำนวนเจ้าหน้าทึ่เข้าบริหารงานให้เพียงพอรับกับงานของหน่วยขึ้น และกรมการขนส่ง ได้ขยายงานในด้านการขนส่งขึ้นอีกด้วย โดยจัดตั้งกองแผนกขึ้นใหม่จึงเห็นว่าตัวตึกอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคมที่ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าช้างวังหน้านั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นที่ว่าการกระทรวงต่อไป จึงได้ดำริที่จะย้ายไปอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี และได้เริ่มลงมือซ่อมแซมไปบ้างแล้ว ยังไม่ทันเสร็จก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีใหม่ และได้มีการพิจารณาเห็นว่าการที่จะย้ายที่ว่าการกระทรวงคมนาคมไปตั้ง ณ บ้านเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ตามที่ดำริไว้ยังไม่สมควร ให้ระงับเสีย จึงได้จัดการสร้างตึกที่ว่าการกระทรวงคมนาคมขึ้นใหม่ ณ ถนนราชดำเนินนอก ตอนระหว่าง ถนนจักรพรรดิพงษ์ กับ ถนนกะออม ซึ่งพลเรือโทหลวงชำนาญ อรรถยุทธ (เอื้อน กุลไกรเวส) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์แทนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2495 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ร.ศ.1314 เวลา 9.15 น. และสร้างเสร็จเรียบร้อยได้ย้ายมาเปิดเป็นอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคม ดังที่ปรากฏอยู่ ในปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2497


คลิกถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร




เวอร์ชันเต็ม: [-- ประวัติ ความเป็นมาของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.515786 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us