ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : มีแนวข้อสอบของสรรพสามิต
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

มีแนวข้อสอบของสรรพสามิต

ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
การที่รัฐจะออกกฎหมายจัดเก็บภาษีอากรนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องพิจารณาว่ารัฐควรจะเก็บภาษีอากรอะไร ควรจะให้ประชาชนรับภาระภาษีอากรนั้นแค่ไหนเพียงไร ภาษีอากรใดจะเหมาะสมแก่ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างไร  เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดหลักเกณฑ์หรือวางสูตรว่าภาษีอากรอะไรดีที่สุดเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เพราะต้องขึ้นอยู่กับภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ   อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ให้กฎเกณฑ์และแนวความคิดไว้   แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือแนวคิดของอาดัม สมิท (ADAMS SMITH) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ  ซึ่งได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะภาษีอากรที่ดีไว้ในหนังสือ Wealth of Nation   และถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์รุ่นหลังต่อมาจะได้วางหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอีกก็ตาม แต่ค่อนข้างยุ่งยากที่จะแยกแยะและจดจำ และก็ไม่พ้นจากหลักภาษีอากรที่ดี 4 ประการของอาดัม สมิท ไปได้  หลัก 4 ประการดังกล่าวจึงเป็นที่ยอมรับนับถือกันมาก
บัญญัติ 4 ประการของ อาดัม สมิท (Smith?s Cannons) คือ
1)   หลักความยุติธรรม (Equity Reasonable Classification) 
ประชาชนทุกคนที่อยู่ในประเทศหรือรัฐเดียวกันไม่ว่าจะแตกต่างกันในเชื้อชาติ ศาสนา ชั้นวรรณะ ความยากดีมีจน หรือตำแหน่งหน้าที่การงานก็ตาม ควรจะต้องเสียภาษีอากร
เพื่อบำรุงประเทศชาติตามกำลังความสามารถของตนโดยทัดเทียมกัน คนมีความสามารถมากควรเสียภาษีอากรมาก คนที่มีความสามารถน้อยควรเสียภาษีน้อยตามส่วน
ข้อที่น่าสังเกตว่าจะถือมาตรการใดเป็นเครื่องวัดความสามารถของบุคคลคนรวยมีรายได้ 100 ล้านบาทต่อปี กับคนจนมีรายได้เพียงหมื่นบาทต่อปี จะให้เสียภาษีเงินได้อย่างไรถึงจะยุติธรรม มีมาตรการอยู่ 2 ประการที่พอจะถือเป็นหลักพิจารณาได้คือ
(ก)   ประโยชน์ที่ผู้เสียภาษีได้รับจากรัฐ
(ข)   ความสามารถของผู้เสียภาษี (ability to pay)
ผู้มีรถยนต์ใช้ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้รถใช้ถนน ผู้นั้นก็ควรต้องเสียภาษีรถยนต์ คนที่มีทรัพย์สินหรือมีรายได้ที่มีลักษณะประจำย่อมมีความสามารถในการเสียภาษีอากรมากกว่าผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินหรือมีรายได้ไม่แน่นอน คนที่มีการจับจ่ายใช้สอยมากย่อมแสดงถึงความเป็นอยู่ในทางเศรษฐกิจดีกว่าคนที่ไม่มีจะจ่าย ดังนั้นคนที่มีรายได้สูงก็ควรจะต้องเสียภาษีมากกว่าคนที่มีรายได้ต่ำ ตามหลักอัตถประโยชน์สุดท้าย (Marginal Utility) คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสดงว่ามีความสามารถในการเสียภาษีดีกว่าคนไม่มีทรัพย์สินหรือมีทรัพย์สินน้อยกว่า
- 13 -
2)   หลักความแน่นอน (Certainly)
ภาษีอากรที่ดีนั้น จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เวลา สถานที่เสียภาษี จำนวนภาษีอากรที่จะต้องเสียโดยชัดแจ้ง แน่นอนแก่ผู้เสียภาษี และไม่คลุมเครือ
3)   หลักความสะดวก (Convenience)
ภาษีอากรที่ดีนั้น ควรจะให้ผู้เสียภาษีได้โดยสะดวก ทั้งสถานที่รับชำระมีวิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีบรรยากาศเหมาะชวนให้อยากเสียภาษี โดยทั่วไปแล้วผู้เสียภาษีอากรส่วนใหญ่จะไม่สะดวกใจในการเสียภาษีอากรเลย ฉะนั้นภาษีอากรที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะที่ลดความไม่สะดวกของผู้เสียภาษีอากรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
4)   หลักประหยัด (Economy)
ภาษีอากรที่ดีนั้น ควรจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีต่ำหรือเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีน้อยแต่เก็บภาษีได้มาก  Groves ได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่า ?Not to kill the goose that lays the golden egg.?(ไม่ควรฆ่าแม่ห่านที่กำลังวางไข่) ภาษีใดที่มีหลักเกณฑ์วิธีการสับสนยุ่งยาก หรือซับซ้อนทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มกับจำนวนภาษีที่เก็บได้ หรือผู้เสียภาษีต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มกับจำนวนภาษีที่เก็บได้ก็ไม่ควรจัดเก็บภาษีประเภทนั้น
นอกจากหลัก 4 ประการของอดัม สมิท ซึ่งมีอายุกว่า 230 กว่าปีแล้ว นัก
เศรษฐศาสตร์ภาษีอากรรุ่นต่อมาได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์เข้าไปอีกดังนี้
(1)   หลักอำนวยรายได้ (Productivity)
วัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งในการที่รัฐจัดเก็บภาษีอากรนั้น ก็คือ เพื่อนำมาซึ่งรายได้ ฉะนั้น ถ้าภาษีอากรใดสามารถทำรายได้ได้ดี ก็น่าจะได้รับเลือกพิจารณาจัดเก็บภาษีนั้นก่อน เช่นภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยในปัจจุบัน ยิ่งรัฐบาลจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นความสำคัญของหลักอำนวยรายได้ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้มากขึ้น
(2)   หลักความยืดหยุ่น (Flexibility)
ภาษีอากรที่ดีควรจะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมภาวะเศรษฐกิจได้ด้วย คือเป็นภาษีที่มีฐานภาษียืดหยุ่น สามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นในยามเศรษฐกิจรุ่งเรืองหรือสามารถลดรายได้ทางภาษีอากรลงในยามเศรษฐกิจตกต่ำ สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
(3)   หลักความเป็นกลางในทางเศรษฐกิจ (Economic Neutrality)


ภาษีอากรที่ดีนั้น จะต้องมีลักษณะเป็นกลางในทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด กล่าวคือจะต้องกระทบกระเทือนในทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด เช่นมีผลต่อการเลือกบริโภค ผลต่อ
การตัดสินใจเลือกปัจจัยการผลิต ผลต่อกรรมวิธีการผลิต ผลต่อการเลือกใช้แรงงานหรือเครื่องจักรในลักษณะที่เป็นกลางมากที่สุด ไม่เลือกที่รักมักที่ชังโดยเก็บภาษีสำหรับธุรกิจหนึ่ง แต่ไม่เก็บภาษีอีกธุรกิจหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการทำมาหาได้เหมือนๆ กัน หรือโดยการสร้างความเหลื่อมล้ำในการจัดเก็บภาษี เป็นต้น

แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
1.   กรมสรรพสามิต สังกัดกระทรวงใด
1.  กระทรวงการคลัง
2.  กระทรวงมหาดไทย
3.  สำนักนายกรัฐมนตรี
4.  เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง
2.   ข้อใดมิใช่ที่มาแห่งรายได้ของรัฐ
1.  เงินกู้จากต่างประเทศ         2.  ภาษีอากร
3.  เงินได้จากการบริการของรัฐ      4.  รัฐพาณิชย์
3.   แหล่งเงินได้ที่สำคัญมากที่สุดของรัฐคือ
1.  รัฐพาณิชย์            2.  เงินคงคลัง
3.  เงินได้จากค่าปรับและค่าธรรมเนียม   4.  ภาษีอากร
4.   ภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพาสามิตมีกี่ประเภท
1.  3 ประเภท            2.  4  ประเภท
3.  5 ประเภท            4.  6  ประเภท
5.   ข้อใดเป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
1.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม            2.  ภาษีสุรา
3.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ            4.  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
6.   ข้อใดไม่เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
1.  ภาษีบุหรี่            2.  ภาษีไพ่
3.  ภาษีสุรา                 4.  ภาษีโรงเรือน
7.   ประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียภาษีกับรัฐประเภทใดในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.  หลักถิ่นที่อยู่
2.  หลักแหล่งเงินได้
3.  หลักถิ่นที่อยู่และหลักสัญชาติ
4.  หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้
- 165 -
8.   นางสาวกุลสตรี ได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเจ้าพนักงานประเมิน สำนักตรวจสอบภาษีกรมสรรพสามิต แต่เห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง ได้มาปรึกษาท่านจะให้คำแนะนำอย่างไร
1.   ให้ฟ้องศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2.   ให้อุทธรณ์การประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพาสามิตภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
3.   ให้อุทธรณ์การประเมินต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
4.   ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
9.   วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐ เพื่อ
1.   เป็นรายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐ
2.   เป็นเครื่องมือของรัฐในการกระจายรายได้
3.   เป็นเครื่องมือของรัฐในการช่วยควบคุมการบริโภค
4.   ถูกทุกข้อ
10.   ข้อใดเป็นภาษีอากรประเภทภาษีทางตรงทั้งหมด
1.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.   ภาษีมรดก  และภาษีสรรพสามิต
3.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม  และภาษีนำเข้าและส่งออก
11.   ภาษีที่กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้มากที่สุดคือภาษีใด
1.  ภาษีไพ่   
2.  ภาษีน้ำมัน
3.  ภาษีสุรา   
4.  ภาษีบุหรี่
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
1.   กรมสรรพสามิต สังกัดกระทรวงใด
ก.  กระทรวงการคลัง
ข.  กระทรวงมหาดไทย
ค.  สำนักนายกรัฐมนตรี
ง.  เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง
2.   ข้อใดมิใช่ที่มาแห่งรายได้ของรัฐ
ก.  เงินกู้จากต่างประเทศ         ข.  ภาษีอากร
ค.  เงินได้จากการบริการของรัฐ      ง.  รัฐพาณิชย์
3.   แหล่งเงินได้ที่สำคัญมากที่สุดของรัฐคือ
ก.  รัฐพาณิชย์            ข.  เงินคงคลัง
ค.  เงินได้จากค่าปรับและค่าธรรมเนียม   ง.  ภาษีอากร
4.   ภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพาสามิตมีกี่ประเภท
ก.  3 ประเภท            ข.  4  ประเภท
ค.  5 ประเภท            ง.  6  ประเภท
5.   ข้อใดเป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
ก.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม            ข.  ภาษีสุรา
ค.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ            ง.  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
6.   ข้อใดไม่เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
ก.  ภาษีบุหรี่            ข.  ภาษีไพ่
ค.  ภาษีสุรา                 ง.  ภาษีโรงเรือน
7.   ประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียภาษีกับรัฐประเภทใดในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก.  หลักถิ่นที่อยู่
ข.  หลักแหล่งเงินได้
ค.  หลักถิ่นที่อยู่และหลักสัญชาติ
ง.  หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้

8.   นางสาวกุลสตรี ได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเจ้าพนักงานประเมิน สำนักตรวจสอบภาษีกรมสรรพสามิต แต่เห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง ได้มาปรึกษาท่านจะให้คำแนะนำอย่างไร
ก.   ให้ฟ้องศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ข.   ให้อุทธรณ์การประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพาสามิตภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
ค.   ให้อุทธรณ์การประเมินต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
ง.   ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน
9.   วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐ เพื่อ
ก.   เป็นรายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐ
ข.   เป็นเครื่องมือของรัฐในการกระจายรายได้
ค.   เป็นเครื่องมือของรัฐในการช่วยควบคุมการบริโภค
ง.   ถูกทุกข้อ
10.   ข้อใดเป็นภาษีอากรประเภทภาษีทางตรงทั้งหมด
ก.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข.   ภาษีมรดก  และภาษีสรรพสามิต
ค.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และภาษีเงินได้นิติบุคคล
ง.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม  และภาษีนำเข้าและส่งออก
11.   ภาษีที่กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้มากที่สุดคือภาษีใด
ก.  ภาษีไพ่   
ข.  ภาษีน้ำมัน
ค.  ภาษีสุรา   
ง.  ภาษีบุหรี่
แนะแนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิตปฏิบัติการ  ใหม่ล่าสุด

1.  โดยทั่วไปฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล มาจากฐานภาษีใด 

                ก.  ฐานกำไรสุทธิ 

                ข.  ฐานรายรับรวมที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย 

                ค.  ฐานต้นทุนบริษัทต่อปี 

                ง.  ไม่มีข้อถูก 


2.  รอบระยะเวลาบัญชีปกติมีระยะเวลาเท่าใด 

                ก.  ไตรมาส 3 เดือน 

                ข.  6  เดือน 

                ค.  9  เดือน 

                ง.  12  เดือน 


3.  ข้อใดคือความหมายของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินนิติบุคคล คือ 

                ก. บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ( บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห่างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน) 

                ข.  บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (บริษัทฯ ที่มีกิจการในไทย ขนส่งประเทศไทย ได้รับเงินได้จากประเทศไทย กระทำการได้รับกำไรจากประเทศไทย) 

                ค.  กิจการร่วมค้า ( บริษัท+บริษัท หรือ บริษัท+ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคคล+ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล/ บริษัท + บุคคลธรรมดา/ คณะบุคคล) 

                ง.  ถูกทุกข้อ 


4.  กรมสรรพากร เป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีหรือไม่ และใช้ฐานใดในการคำนวณภาษี 

                ก.  ต้องเสียภาษี  และใช้ฐานกำไรสุทธิ เสมือนนิติบุคคลทั่วไป 

                ข.  ต้องเสียภาษี และใช้ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย 

                ค.  ไม่ต้องเสียภาษี  เนื่องจากเป็นหน่วยงานราชการ เป็นนิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 

                ง.  ไม่ต้องเสียภาษี เพราะไม่มีกฎหมายรับรอง 



5.  ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ คำนวณจากฐานกำไรสุทธิ นอกจากกำไรสุทธิแล้ว นอกจากกำไรสุทธิแล้วสามารถคำนวณจากฐานอะไรได้อีก 

                ก.  กำไรสุทธิ 

                ข.  รายได้ก่อนหักรายจ่าย 

                ค.  เงินได้ที่จ่ายหรือในประเทศไทย 

                ง.  ถูกทุกข้อ 


6.  กรณีใดบ้างที่รอบระยะเวลาบัญชีอาจน้อยกว่า 12 เดือน 

                ก.  กิจการตั้งใหม่/เลิกกิจการ 

                ข.  ยื่นคำร้องเปลี่ยนวันสุดท้ายรอบระยะเวลาบัญชี 

                ค.  ควบเข้ากัน 

                ง.  ถูกทุกข้อ 


7.  การคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ เรียกหลักเกณฑ์นี้ว่าอย่างไร 

                ก.  เกณฑ์สิทธิ 

                ข.  เกณฑ์ภาษีสิทธิ 

                ค.  เกณฑ์ภาษีนิติบุคคล 

                ง.  เกณฑ์กำไรสุทธิ 


8.  การหักสึกหรอ และค่าเสียมราคาของสินทรัพย์  โดยวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยหากใช้วิธีใดต้องใช้วิธีนั้นตลอดไป  หากต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดต้องขออนุมัติของใคร 

                ก.  รองอธิบดีกรมสรรพากร 

                ข.  อธิบดีกรมกรมสรรพากร 

                ค.  รมต. กระกรวงการคลัง 

                ง.  นายกรัฐมนตรี 






9.  ผลขาดทุนสุทธิที่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีย้อนหลังไปได้ไม่เกินกี่ปี 

                ก.  ย้อนหลังไปได้ 3 ปีจากปีปัจจุบัน  

                ข.  ย้อนหลังไปได้ 10 ปีจากปีปัจจุบัน  

                ค.  ย้อนหลังไปได้ 15 ปีจากปีปัจจุบัน 

                ง.  ย้อนหลังไปได้ 20 ปีจากปีปัจจุบัน 


10.  การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีคำนวณจากอะไร 

                ก.  ประมาณการกำไรสุทธิ 

                ข.  ประมาณการของทั้งปีแล้วหารด้วย 2 

                ค.  ถูกทั้ง ก. และ ข. 

                ง.  ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 


11.   โดยปกติทั่วไปอัตราภาษีเงินได้ของฐานกำไรสุทธิเป็นอัตราใด 

                ก.  ร้อยละ 50 

                ข. ร้อยละ 40 

                ค.  ร้อยละ 30 

                ง.  ร้อยละ 37 


12.  การประมาณการกำไรสุทธิหากกรณีใดต้องเสียภาษีเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 

                ก.  ประมาณการกำไรสุทธิครึ่งปี ขาดไม่เกินกว่าร้อยละ 25 

                ข.  ประมาณการกำไรสุทธิครึ่งปี ขาดไม่เกินกว่าร้อยละ 30 

                ค.  ประมาณการกำไรสุทธิประจำปี ขาดไม่เกินกว่าร้อยละ 25 

                ง.  ประมาณการกำไรสุทธิประจำปี  ขาดไม่เกินกว่าร้อยละ 30 


13.  การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีใช้แบบแสดงรายการภาษีใด และมีกำหนดยื่นแบบฯเมื่อใด 

ก.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 94 ภายใน 2 เดือน  นับแต่วันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 

ข.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือน  นับแต่วันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 

ค.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 30 ภายใน 2 เดือน  นับแต่วันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 

ง.ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 54 ภายใน 2 เดือน  นับแต่วันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 


   14.   การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีใช้แบบแสดงรายการภาษีใด  และมีกำหนดยื่นแบบฯเมื่อใด 

                ก.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 

                ข.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 120 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 

                ค.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 90 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 

                ง.  ใช้แบบฯ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 60 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 


15.  แบบฯภ.ง.ด. 55 คืออะไร 

                ก.  ภ.ง.ด. 55 เป็นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 

                ข.  ภ.ง.ด. 55 เป็นแบบแสดงรายการภาษีของธุรกิจนิติบุคคลที่มีเงินได้ 

                ค.  ภ.ง.ด. 55 เป็นแบบแสดงรายการภาษีของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีเงิน 

                ง.  ภ.ง.ด. 55 เป็นแบบแสดงรายการภาษีทุกชนิดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 


16.  ภาษีใดที่นำใช้แทนภาษีการค้า 

                ก.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

                ข.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ 

                ค.  ถูกทั้งสองข้อ 

                ง.  ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 


17.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อไร 

                ก.  1 มกราคม  2535 

                ข.  1 มกราคม  2536 

                ค.  1 มกราคม  2537 

                ง. 1 มกราคม  2538 




18.  ใครเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม 

                ก.  ผู้ขายสินค้า และผู้ซื้อสินค้า 

                ข.  ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้บริการ 

                ค.  ผู้ผลิต 

                ง.  รัฐบาล 


19.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องยื่นแบบชำระคำนวณฐานภาษีจากอะไร 

                ก.  ภาษีซื้อ ลบด้วยภาษีขาย 

                ข. ภาษีขาย ลบด้วย ภาษีซื้อ 

                ค.  ภาษีซื้อ บวกด้วยภาษีขาย 

                ง.   ภาษีขาย บวกด้วยภาษีซื้อ 


20.  การยื่นแบบฯ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย ภ.พ. 30 ชำระเมื่อ 

                ก.  ภายในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป 

                ข.  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

                ค.  ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป 

                ง.  ภายในวันที่ 30 ของเดือนถัดไป
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้