ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้
UID: 1
สำคัญ:
4
โพส: 8407
เงิน: 8418 บาท
ความดี: 3956 แต้ม
เครดิต: 1488 แต้ม
จิตพิสัย: 0 แต้ม
ออนไลน์ล่าสุด: 1 (ช.ม.)
สมัครเมื่อ: 2010-09-11
ใช้งานล่าสุด: 2021-10-29
|
ประวัติความเป็นมา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประวัติความเป็นมา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีวิวัฒนาการจากหน่วยงานระดับเล็ก ๆ จนถึงขั้นมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับกรม เพราะทั้งนี้รัฐบาลทุกสมัยได้มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาฝีมือแรงงานว่าเห็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีการพัฒนาการบริหารงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการฝึกอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ประชากรวัยทำงาน เพื่อให้พร้อมที่จะรับการขยายตัวของความเจริญเติบโตด้านธุรกิจบริการ การพาณิชยกรรม และการอุตสาหกรรม และรัฐบาลต่อ ๆ มา เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาแรงงานซึ่งเป็นผลให้มีการสนับสนุนและปรับปรุงงานด้านบริการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ผลิตเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสู่ตลาดโลก และจากอดีตถึงปัจจุบันการพัฒนาฝีมือแรงงานมีวิวัฒนาการตามเหตุการณ์ลำดับ ต่อไปนี้ ในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อบริหารแรงงานขึ้น และได้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศไว้ประการหนึ่งคือ “จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ” วันที่ 31 สิงหาคม 2475 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475 ให้สิทธิเอกชนประกอบอาชีพรับจัดหางานให้ประชาชนโดยไม่เรียกเก็บค่าบริการ วันที่ 23 พฤษภาคม 2476 ได้จัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่บริการและดำเนินตามกฎหมายขึ้น เรียกว่า แผนกจัดหางาน ขึ้นในกองทะเบียน กรมปลัด กระทรวงมหาดไทย และวันที่ 9 ธันวาคม 2476 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติแก้ไขข้อความบางอย่าง ในพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักงานจัดหางาน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475 พร้อมทั้งออกพระราชกฤษฎีกาโอนแผนกจัดหางานไปขึ้นกับกรมพาณิชย์การทรวงเศรษฐการ เนื่องจากรัฐบาลสมัยนั้นเห็นว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ วันที่ 1 เมษายน 2478 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญของงานนี้ เพราะสามารถหางานให้คนว่างงานทำงานได้มากขึ้น จึงได้ยกฐานะแผนกจัดหางานขึ้นเป็น “กองกรรมกร” สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ปี พ.ศ. 2479 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสอบสวนภาวะกรรมกร กองกรรมกร ซึ่งมีหน้าที่เพิ่มขึ้นในการสอบสวนภาวะความเป็นอยู่ของกรรมกรด้วย วันที่ 25 ตุลาคม 2484 ปัญหาการว่างงานได้ลดน้อยลง ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นงานกองกรรมกร มีบทบาทน้อยลง รัฐบาลจึงได้ยุบกองกรรมกรเป็นแผนกกรรมกร และได้ถูกตัดโอนจากกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ไปขึ้งอยู่กับกองอาชีพสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ ปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า งานด้านกรรมกรนับวันจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ประเทศไทยได้มีความสัมพันธ์ กับองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การนี้มาตั้งแต่เริ่มตั้ง กรมประชาสงเคราะห์ ได้เสนอให้ขยายงานด้านกรรมกร ขึ้นเป็นองค์การอิสระมีฐานะเทียบเท่ากอง และเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2490 คณะรัฐมนตรี ได้จัดตั้งองค์การกรรมกรขึ้นตามข้อเสนอของกรมประชาสงเคราะห์ องค์การนี้มีหน้าที่ติดต่อกับองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ สอบสวนภาวะกรรมกรและจัดหางาน แต่องค์การนี้ดำเนินการงานได้ไม่ถึง 2 ปี ก็ถูกยุบไป ปี พ.ศ. 2492 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมประชาสงเคราะห์ ในกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งกองกรรมกรขึ้นในกองประชาสงเคราะห์ และได้โอนงานขององค์การกรรมกรที่ยกเลิกไป มาปฏิบัติในกองนี้ กองกรรมกรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 แผนกคือ แผนกคุ้มครองแรงงานและจัดหางาน แผนกสำรวจสภาวะและแผนกการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกรมประชาสงเคราะห์ใหม่ เปลี่ยนชื่อกองกรรมกร เป็นกองจัดสรรสัมมาอาชีวสงเคราะห์ แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือแผนกคุ้งครองแรงงานและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ แผนกสำรวจและค้นคว้าแรงงาน แผนกการต่างประเทศ และแผนกจัดหางาน ในระหว่างปี พ.ศ. 2496- พ.ศ. 2498 ได้มีพระราชกฤษฎีกาวางระเบียบราชการในกรมประชาสงเคราะห์ เปลี่ยนชื่อกองการจัดสรรสัมมาอาชีวสงเคราะห์ เป็นกองจัดสรรและส่งเสริมสัมมาอาชีว สงเคราะห์ และในวันที่ 15 มีนาคม 2498 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเปลี่ยนชื่อกองจัดสรรและส่งเสริมสัมมาอาชีวสงเคราะห์เป็น “กองแรงงาน” ส่วนรูปเนื้องานยังคงเดิม ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติแรงงานและพระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทยออกใช้บังคับ จึงได้มีการแบ่งส่วนราชการในกองแรงงานจาก 4 แผนก เพิ่มเป็น 16 แผนก คือ แผนกธุรการ แผนกวิทยาการและวิจัย แผนกการต่างประเทศ แผนกจัดหางาน แผนกสำรวจแรงงาน แผนกฝึกฝนอาชีพ แผนกติดต่อนายจ้าง แผนกสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย แผนกตรวจแรงงาน แผนกคนงานหญิงและเด็ก แผนกทะเบียน และสหภาพแรงงาน แผนกอุตสาหกรรม แผนกเงินทดแทน แผนกสวัสดิการคนงาน แผนกสถิติกรรมกร และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งวิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์ (ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์) ขึ้นในสังกัดกองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย โดยแบ่งงานออกเป็น 4 แผนก คือ แผนกอนุบาล แผนกประถม แผนกมัธยม และ “แผนกอาชีวศึกษา” เพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชนย่านดินแดงและบริเวณใกล้เคียงให้มีโอกาสศึกษาต่อและการฝึกอาชีพ ปี พ.ศ. 2501 ได้ริเริ่มอาชีพแก่ เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน โดยใช้โรงฝึกงาน 3 โรง ของกองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์เป็นที่ฝึกอาชีพ ปี พ.ศ. 2503 กรมประชาสงเคราะห์ ปรับปรุงขยายงานให้มีการฝึกอาชีพแก่คนงานผู้ใหญ่ จึงโอนแผนกอาชีวศึกษา กองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น ไปสังกัดกองแรงงาน และเปลี่ยนชื่อแผนกอาชีวศึกษา เป็น ศูนย์ฝึกอาชีพ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2505 กรมประชาสงเคราะห์ได้ปรับปรุงยกฐานะกองแรงงานขึ้นเป็นส่วนแรงงาน วันที่ 29 ตุลาคม 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกฐานะส่วนแรงงานจัดตั้งเป็นกรมแรงงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยแบ่งกรมแรงงานออกเป็น 5 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองการจัดหางาน กองคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ กองวิชาการและสถิติ และกองพัฒนาอาชีพ สำหรับกองพัฒนาอาชีพ ประกอบด้วย 4 งาน คือ งานฝึกอาชีพช่างฝีมือ งานช่างลูกมือ งานอบรมอาชีพระยะสั้น และงานอาชีพคนต่างด้าว วันที่ 18 เมษายน 2510 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ตั้ง สถาบันฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถทางเทคนิคและฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2510 จัดตั้งสถาบันฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถทางเทคนิคและฝีมือแรงงาน เพื่อให้การฝึกอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานทางด้านวิศวกรรมและที่มิใช่วิศวกรรม ให้แก่ เยาวชน คนงาน หัวหน้างาน ครูฝึกอาชีพและคนว่างงาน และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2510 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันฝึกและพัฒนาแรงงานฝีมือ วันที่ 25 มิถุนายน 2511 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกฐานะเป็น สถาบันฝึกและพัฒนาแรงงานฝีมือแห่งชาติ และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2511 กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ ขึ้นแทนสถาบันฝึก และพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ในสังกัดกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีภารกิจในการกำหนดนโยบายและแผนงานการฝึกและพัฒนาฝีมือแรงงานวางมาตรฐานและจัดระดับฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในระยะแรกให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กองพัฒนาอาชีพ ทำหน้าที่บริหารงานสถาบัน ฯ ไปก่อนจนกว่าจะมีอัตรากำลังและงบประมาณของตนเอง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2516 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ โดยการยกเลิกกองพัฒนาอาชีพ และเปลี่ยนสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน มีภารกิจด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานและเพิ่มบทบาทด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2511 ก่อนแล้วนั้น ถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2534 กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้ขยายการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานขึ้นในภูมิภาคอีก 8 แห่ง อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรี สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนบน จังหวัดลำปาง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดสงขลา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดนครสวรรค์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน อีก 2 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชัยภูมิ ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาฝีมือแรงงานในส่วนภูมิภาค และดูแลจังหวัดใกล้เคียงที่ยังไม่มีหน่วยงานพัฒนาฝีมือแรงงานตั้งอยู่ วันที่ 15 มีนาคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติ ยุบส่วนราชการ กรมแรงงาน พร้อมกับมีการจัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขึ้นในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และในระยะเวลาต่อมา วันที่ 19 ธันวาคม 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกเป็น 10 กอง ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกร กองการจัดหางาน กองงานคนต่างด้าว กองวิชาการและแผนงาน กองมาตรฐานฝีมือแรงงาน สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานพัฒนาแรงงานจังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค วันที่ 31 สิงหาคม 2535 กรมได้จัดตั้งกองภายในขึ้นอีก 2 กอง คือ กองคลังและกองการเจ้าหน้าที่ ในปี พ.ศ. 2536 กรมได้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันตกตอนบน จังหวัดสุพรรณบุรี และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 23 กันยายน 2536 รัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมโดยโอนการมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ไปสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พร้อมทั้งจัดตั้งกรมการจัดหางาน และโอนภารกิจหน้าที่ของกองการจัดหางาน กองงานคนต่างด้าว สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานพัฒนาแรงงานจังหวัด ไปสังกัดกรมการจัดหางาน และโอนภารกิจหน้าที่ของสำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม วันที่ 1 มิถุนายน 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยได้มีการจัดตั้งกองต่าง ๆ ตามภารกิจจำนวน 8 กอง ดังนี้ สำนักงานเลขานุการกรม กองมาตรฐานฝีมือแรงงาน กองวิชาการและแผนงาน กองประสานการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีและเด็ก กองพัฒนาเทคโนโลยีการฝึกและพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาบุคลากรฝึก และพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค และในเดียวกันกรมได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดขึ้นอีก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสตูล เชียงราย ฉะเชิงเทรา และยะลา พร้อมทั้งได้มีการจัดตั้งกองแบบแผนและก่อสร้าง ขึ้นเป็นกองภายใน วันที่ 27 กันยายน 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ แผนพัฒนาฝีมือแรงงานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2544) ตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเป็นแผนแม่บทของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานมีทิศทางที่แน่นอนและชัดเจนขึ้น ในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 โดยมีผลใช้บังคับภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2537 เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยมีมาตรการจูงใจลดหย่อนภาษีอากรให้แก่ผู้ดำเนินการฝึกอาชีพที่จดทะเบียนต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในปีงบประมาณ 2538 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้รับการจัดสรรให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดขึ้น 20 แห่ง ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ , นครพนม , หนองคาย , ยโสธร, กาฬสินธุ์, สุรินทร์, เลย, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, ลำพูน, พะเยา, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, ตรัง, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สมุทรสงคราม, ปราจีนบุรีและจันบุรี และในปีงบประมาณ 2539 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับการจัดสรรในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดขึ้นอีก 30 แห่ง ได้แก่ จังหวัดตาก, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, น่าน, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นครนายก, ตราด, นครปฐม, สมุทรสาคร, กาญจนบุรี,เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์,ระนอง, กระบี่, ภูเก็ต, พังงา, สระแก้ว, อำนาจเจริญ, มหาสารคาม, หนองบัวลำภู, และมุกดาหาร วันที่ 10 มกราคม 2539 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดตั้งกองภายในขึ้นอีก 2 กอง คือ กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานกองทุนเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับนโยบายทางด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ ให้แก่กำลังแรงงาน ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบการทำงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะเร่งรัดพัฒนาอาชีพที่ขาดแคลนให้ทันการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม วันที่ 2 สิงหาคม 2539 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดตั้งกองภายในขึ้นอีก 1 กอง คือ กองประชาสัมพันธ์ โดยมีภารกิจหน้าที่ สร้างความเข้าใจอันดี การนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร และภารกิจของการพัฒนาฝีมือแรงงานเผยแพร่ต่อสาธารณชน และสื่อมวลชนให้รับรู้ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน วันที่ 12 พฤษภาคม 2540 กรมฯ ได้จัดตั้งกองวิเทศสัมพันธ์ ขึ้นเป็นกองภายในเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและนานาชาติ ด้านวิชาการ ด้านทุนการอบรม สัมมนาประชุม และการดูงานต่างประเทศ ตลอดจนการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 กรมฯ ได้จัดตั้งกองพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกเพิ่มขึ้นอีก เพื่อการพัฒนาการจัดทำอุปกรณ์ช่วยฝึกประเภทต่างๆ ให้ทันต่อวิทยากรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตรงกับความต้องการของหลักสูตรและละวิชา รวมถึงการนอเทศวิธีการจัดทำการใช้สื่ออุปกรณ์ฝึก อีกทั้งงานส่งเสริมและสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยฝึกแก่ภาคเอกชนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537
ถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ
รูปภาพ: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.jpg
|