ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบ นิติกร (ข้อมูลกฎหมาย) ศาลปกครอง
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบ นิติกร (ข้อมูลกฎหมาย) ศาลปกครอง

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ นิติกร (ข้อมูลกฎหมาย) ศาลปกครอง  ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 

ประกอบด้วย
เกี่ยวกับศาลปกครอง
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ข้อสอบการเก็บรวบรวมข้อมูล
แนวข้อสอบ  พรบ.  ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  2539
แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง
แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี

โอนเงินแล้วแจ้งที่
lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1. ชาวบ้านนำเงินไปร่วมกันทอดผ้าป่าให้สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเป็นจำนวน 150,000 บาท ต่อมาเงินจำนวนดังกล่าวสูญหายไป ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้เสียหาย
    ถ้า ก  เป็นเจ้าคณะสงฆ์ ส่วน ดำ เขียว แดง เหลือง ขาว เป็นผู้ที่ ก  เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงินดังกล่าว
    ก. เจ้าคณะสงฆ์
    ข. ชาวบ้านที่ร่วมทำบุญ
    ค. ผู้ที่ถูกรับเลือกให้เป็นกรรมการ
    ง. ข้อ ก  และ  ค
คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะสำนักสงฆ์มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น จึงไม่มีบุคคลใดเป็นผู้จัดการแทนหรือผู้แทนอื่นๆ ที่จะมีอำนาจจัดการแทนสำนักสงฆ์ได้ แต่เจ้าคณะสงฆ์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเงินผ้าป่าที่ชาวบ้านนำไปทอดให้สำนักสงฆ์รวมทั้งผู้ที่เจ้าคณะสงฆ์เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงิน ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสำนักสงฆ์หากเงินดังกล่าวสูญหายไป เจ้าคณะสงฆ์และกรรมการดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหาย
2. นายเสือและนายสิงห์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนายนก นายเสืออายุ 18 ปี ส่วนนายสิงห์ อายุ 16 ปี ทั้งเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ต่อมานายสิงห์ถูกนายมือทำร้ายจนตาย ต่อไปนี้ผู้ใด ไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนนายสิงห์ผู้ตาย
    ก. นายนก
    ข. นายเสือ
    ค. ถูกทุกข้อ
    ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะพี่ชายของผู้ตายมิใช่บุคคลตาม ป.วิ.อ. มาตรา  5(2.) ส่วนบิดานั้นแม้จะเป็นบิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายก็มีอำนาจจัดการแทนบุตรได้ เพราะกำหมายถือตามความเป็นจริงโดยสายโลหิต
3. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา
    ก. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ
    ข. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว
    ค. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง
    ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา มีดังนี้
    1. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง
    2. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ
    3. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว
    4. ต้องมีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 71
4. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ผู้ใดเป็นผู้เสียหาย
    ก. ผู้เยาว์
    ข. บิดา
    ค. มารดา
    ง.  ถูกทั้ง ข และ ค
คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยนั้น มีองคืประกอบความผิดร่วมกันระหว่างการหนึ่งว่า “ ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ... ” ซึ่งเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง คือ อำนาจปกครองของบิดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์นั่นเอง
5. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
    ก. พนักงานอัยการยื่นฟ้องแล้ว ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
    ข. ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทั้งคดีความผิดส่วนตัวและคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว
    ค. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำ    พิพากษา
    ง. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด
คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ประการหนึ่ง คือ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ซึ่งต่างกับการที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่จะยื่นระยะใดก็ได้ก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดคดีเสร็จเด็ดขาด
6. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน
    ก. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน
    ข. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน    หรือต่างศาลกัน
    ค.  ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
    ง. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ    ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน
คำตอบ :  ข้อ  ค. เพราะ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน มีดังนี้
    1. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน
    2. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน    หรือต่างศาลกัน
    3. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ    ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน
    4. ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ หรือโดยโจทก์    ยื่นคำร้องขอ
    5. ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใด ระหว่างพิจารณาก่อนมีคำพิพากษา
7. ในการงดการสอบสวนคดีอาญา มีเหตุกี่กรณี
    ก.   2   กรณี
    ข.  5    กรณี
    ค.   3   กรณี
    ง.   7    กรณี
คำตอบ :  ข้อ   ก. เพราะมีเหตุ 2 กรณี คือ
    1. กรณีที่ผู้ต้องหาวิกลจริตให้งดการสอบสวนไว้ก่อนจนกว่าจะหาย
    เมื่อสอบสวนแล้วไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนร้าย ไม่รู้ตัวผู้ร้ายให้ปฏิบัติ ดังนี้
    คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน
    คดีที่มีโทษจำคุกเกิน  3 ปี ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรงดการสอบสวนแล้วส่ง    พนักงานอัยการ
8. ข้อใดต่อไปนี้พนักงานสอบสวนไม่สามารถทำการสอบสวนได้
    ก. ท้องที่เกิดเหตุ
    ข. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่
    ค. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ
    ง. ท้องที่ที่ผู้เสียหายมีที่อยู่
คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะพนักงานสอบสวนสามารถทำการสอบสวนได้ 3 ท้องที่เท่านั้น คือ
    1. ท้องที่เกิดเหตุ
    2. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่
    3. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ
9. บุคคลใดมีอำนาจสั่งโอนในเรื่องการโอนคดีในกรณีไม่ปกติ
    ก. ประธานศาลชั้นต้น
    ข. ประธานศาลฎีกา
    ค. ประธารศาลอุทธรณ์
    ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะการโอนคดีในกรณีที่ไม่ปกตอตาม  ป.วิ.อ. มาตรา 26 คือ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจเหนือคดีนั้นก็เพื่อให้เรียบร้อยแต่เกิดเหตุพิเศษ เช่น จำนวนจำเลย ฐานะจำเลย ฝ่ายผู้เสียหายจึงดำเนินการขอโอนคดี ซึ่งในการโอนคดีในลักษณะนี้สามารถโอนไปที่ไหนก็ได้แต่ผู้มีอำนาจสั่งคือ ประมุขของตุลาการคือประธานศาลฎีกาเท่านั้น
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
    ก. ความตายของผู้กระทำผิด
    ข. ความผิดต่อส่วนตัวเมื่อถอนคำร้องทุกข์แล้ว ยอมความแล้ว
    ค. เมื่อผู้ต้องหายอมชำระค่าปรับอัตราสูง สำหรับคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว
    ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป มีได้ดังต่อไปนี้
    1.ความตายของผู้กระทำผิด
    2. ความผิดต่อส่วนตัวเมื่อถอนคำร้องทุกข์แล้ว ยอมความแล้ว
    3. คดีอาญาเลิกกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37
    4. เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด้ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง
11. กฎหมายห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน เว้นแต่
    ก. มีหมายค้นหรือมีคำสั่งของศาล
    ข. มีหมายศาล
    ค.ไม่มีข้อถูก
    ง. ถูกทั้ง ก และ ข
คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลเว้นแต่จะมีหมายศาลเสียก่อน
12. ข้อใดกล่าวผิดในเรื่องการถอนฟ้อง
    ก. การถอนฟ้องต้องยื่นเป็นคำร้อง และศาลต้องมีคำสั่งอนุญาตไม่สามารถใช้ดุลยพินิจได้
    ข. ในคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ว่าโจทก์เป็นใครต้องถอนก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
    ค. คดีอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องใหม่
    ง. ทั้งข้อ ก และ ข
คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะการถอนฟ้อง คือ การสละข้อหาในฟ้อง ต้องยื่นเป็นคำร้อง ไม่สามารถถอนด้วยวาจาได้ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก้ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจ ส่วนการถอนฟ้องในคดีอาญาผ่นดิน ไม่ว่าโจทก์เป็นใครต้องถอนก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีความผิดต่อส่วนตัว การถอนฟ้องไม่ว่าผู้ใดเป็นโจทก์ย่อมถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด ในคดีอาญาแผ่นดินการที่พนักงานอัยการถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องใหม่ และเช่นเดียวกันผู้เสียหายถอนฟ้องก็ย่อมไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องใหม่
13. ข้อใดเป็นผลของการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนปากคำ
    ก. ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ
    ข. ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้แก่พนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดไม่ได้
    ค. พนักงานอัยการฟ้องคดีไม่ได้
    ง. ไม่มีผลใดๆทางกำหมาย
คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะผลของการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนปากคำ ทำให้ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้แก่พนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของเขาไม่ได้ แต่ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบ พนักงานอัยการยังมีอำนาจฟ้องได้
14. ข้อใดต่อไปนี้ผิด
    ก. การเปรียบเทียบคดีเป็นอำนาจของศาล
    ข. การฟ้องให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ
    ค. การไต่สวนการตายเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน
    ง. การชันสูตรพลิกศพให้แพทย์และพนักงานสอบสวนร่วมกันชันสูตรพลิกศพ
คำตอบ :  ข้อ  ข้อ ค. เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 150 “... ถ้าเป็นกรณีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ เมื่อพนักงานสอบสวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพเสร็จก็ส่งสำเนาให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร...”
15. ข้อใดไม่ใช่เหตุที่จะไม่ทำการสอบสวน
    ก. เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยไม่ร้องทุกข์
    ข. เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือแต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ
    ค. เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์
    ง. ผู้เสียหายร้องทุกข์ด้วยวาจา
คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะคำร้องทุกข์จะเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ซึ่งถ้าร้องด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกและลงวันเดือนปีและลายมือชื่อผู้บันทึกผู้ร้องทุกข์ไว้ในบันทึกนั้น
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้