ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : การสร้างไฟล์เพลง midi , edit midi กับโปรแกรม Cakewalk 9
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

การสร้างไฟล์เพลง midi , edit midi กับโปรแกรม Cakewalk 9

บทนำ
      บทความนี้ผมเขียนขึ้นมาเองทั้งหมด เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจการทำ midi  โดยใช้โปรแกรม Cakewalk 9
แต่ผมมีข้อจำกัด อยู่ 2อย่าง คือ เรื่อง เวลา และ เน็ต(ที่หลุดบ่อยมาก) ซึ่งก็เป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้บทความนี้อาจจะล่าช้าไปบ้าง
เรื่องโปรแกรม หาได้จากที่ไหน ติดตั้งอย่างไร อันผมไม่ขอกล่าวถึงนะครับ


บทที่ 1  ทำความรู้จักกับ Cakewalk 9 สำหรับ ผู้ที่เริ่มต้น

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

ขยายส่วนของหน้าจอ เพื่อใช่ในการตั้งค่าต่างๆ


คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

1. ปุ่ม เปิด/ปิดการเล่นloop  การตังค่าในการเล่น loop
2. view มุมมองแบบต่างๆ สำหรับการทำ midi หรือ edit midi
3. ใช้ตั้่งค่าต่างๆ ให้กับแต่ละแทรค (จะกล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อไป)
4. ตั้งค่าความเร็วเพลง
5. เป็น ฟังค์ชั่นสำหรับการ edit midi


เรามาเริ่มต้นทำ midi กันเลยครับ
เริ่มจากการเตรียมโปรมแกรมกันก่อน (สำหรับการเริ่มทำเพลงใหม่ครับ ไม่เกี่ยวกับการโหลด midi ที่ทำเสร็จแล้วมา edit)
  1. ตั้งค่า Timebase ไว้ที่ 96 ขอขยายความเรื่อง Timebase
Timebase เป็นการกำหนด ความละเอียดของ จุดที่ตัวโน๊ตต่างๆสามารถลงไปอยู่ได้ในแต่ละห้องเพลง มีหลายค่าให้เลือก(จำนวนติ๊ก/1จังหวะ)
ถ้าเลือกค่าน้อย ก็จะได้ความละเอียดน้อย ซึ่งอาจจะไม่พอกับการบันทึกรายละเอียดของเพลงได้ทั้งหมด ทำให้เพลงออกมา ทื่อๆ ขาดความนิ่มนวล
ถ้าเลือกค่ามาก ก็จะเกินความจำเป็น แต่ไม่ได้เสียหายอะไร เพียงแค่ทำให้เรามีความยุ่งยากในการบันทึกนิดหน่อย กับค่าของตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้น
ค่า default โปรแกรม อยู่ที่ 120 แต่ผมแนะนำให้ตั้งที่ 96 ก็พอ เพราะความละเอียดที่ 96ติ๊ก/1จังหวะ ก็ครอบคลุมเพลง ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว
ดูรูปประกอบด้านล่าง
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

  2. ตั้งค่าต่างๆ ให้กับแทรก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบันทึก (เริ่มจากการทำแทรก กลอง ก่อนเพราะง่ายที่สุด และไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมใดๆ)
     เลือกแทรกไหนก็ได้ แล้วตั้งค่า ตามรูปด้านล่าง (1. ตั้งchannal=10)  (2.เลือกชุดกลอง ตั้งที่ 0 = standard) (3.ตั้งค่า volume=110)
     (4.ตั้งค่า pan=64) (5.ตั้งค่าความเร็วเพลง=ขึ้นอยู่กับเพลงที่จะทำ) (6.เข้าสู่หน้าจอ piano roll เพื่อเริ่มการบันทึก)

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

 3. สำหรับการปรับค่าในตำแหน่งอื่นๆ ก็ให้ใช้ค่า default ของโปรแกรมไปก่อน(ค่อยมาเจาะลึกกันในช่วงหลังนะครับ)

เทคนิคการสร้างกลอง
1.สร้าง pattern ขึ้นมาก่อน ในแต่ละเพลงก็ต้องใช้หลาย pattern
2.นำ pattern มาเรียงกัน ให้เป็นเพลง
3.รวมคลิป pattern ต่างๆ ให้เป็นคลิปเดียวกัน
4.ปรับแต่ง บาล๊านท์ ให้กับแทรกกลอง

วิธีการสร้าง pattern กับ หน้าต่าง piano roll สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การ copy จาก
midi เพลงอื่นที่มีเสียงกลองใกล้เคียงกับเพลงที่เราจะทำ แล้วมา edit ตำแหน่งของตัวโน๊ตใหม่ ซึ่งการทำ
ด้วยวิธีนี้ จะทำได้เร็วมาก(ไม่ใช่ copy มาทั้งเพลงนะครับ copy มาแค่1ห้องหรือ2ห้องเพลง เพื่อมาสร้างpattern)
หรืออาจจะใช้ pattern สำเร็จรูปที่มีอยู่มาปรับแต่งแก้ไข(หาได้ไม่ยากครับ ถ้าท่านใช้ โปรแกรม extream karaoke
อยู่ ก็มี pattern ให้เลือกมากมาย เกือบจะทุกจังหวะเพลงอยู่แล้ว)

ในส่วนที่ผมจะกล่าวถึงนี้ เป็นการ สร้าง pattern ขึ้นมาใหม่เลย
ในแต่ละ pattern กำหนดให้มีความยาว 1 ห้อง (หรือจะ2ห้องก็ได้ ไม่ผิดอะไร ขึ้นอยู่กับบทเพลง)
1.โดยเริ่มจากการตั้งค่า loop ของการเล่นไว้ 1ห้อง    เรื่มจากตำแหน่ง 1:01:000 จบที่ 1:04:095 ตามรูปด้านล่าง
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
2.ตั้งค่าความยาวตัวโน๊ตไว้ที่ ตัวขเบ็ด2ชั้น (ควายยาวตัวโน๊ต จะไม่มีผลกับแทรกกลอง ตั้งไว้ที่ค่าเดียวก็พอ)
3.ตั้งค่า snap to grid ไว้ที่ sixteenth (คลิกขวาเม้าส์ ที่ปุ่มเพื่อตั้งค่า)แต่ถ้าในบทเพลง มีอัตตราส่วน ของโน๊ต 3พยางค์อยู่
  ก็ค่อยมาตั้งค่า snap to grid เฉพาะ แต่ละจุดไป
4.คลิกปุ่ม การเล่น loop    
5.คลิกปุ่ม play  แล้วก็เริ่มการบันทึก โดยใช้เครื่องมือ draw บันทึกกลองแต่ละชิ้นลงไปจบครบเอาให้เหมือนกับ
ต้นฉบับของเพลงที่ทำเลยนะครับ  ที่สำคัญขอให้ท่านจำคีย์ลัด ของเครื่องมือแต่ละชนิดไว้ครับ
เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน(select=S,draw=D,draw line=L,Erase(ยางลบ)=E)

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

การสร้าง pattern ด้วยวิธีนี้ จะคล้ายกับการบันทึกแบบ realtime คือเราจะได้ยินเสียงกลองอยู่ตลอดเวลา และสามารถ
เปลี่ยนตำแหน่งของโน๊ต เปลี่ยนโน๊ตที่เราบันทึกไปแล้ว ได้อย่างอิสระ โดยมีการแสดงผลออกมาแบบ realtime
ส่วนการสร้าง pattern อื่นๆ ก็ให้ใช้วิธีการเดิม แต่ให้ยึด pattern ตัวแรกเป็นแม่แบบ (เพื่อความรวดเร็ว) ด้วยวิธีการ copy,paste
โดยสลับกลับไปที่หน้าต่างหลัก หรือปิดหน้าต่าง piano roll ไปก่อนก็ได้  เราก็จะเห็นคลิปใหม่ที่เราเพิ่งสร้างมา
ให้ copyคลิปนั้น ไปวางในห้องต่อไป(อาจจะเว้นห้องไปซัก 1ห้อง เพื่อแยกคลิปให้เห็นชัดเจน) จากนั้นก็ตั้งค่าการเล่น loop
มาที่คลิปอันใหม่ เริ่มที่ 3:01:000 จบที่ 3:04:095 แล้วก็กดปุ่ม play เมื่อเรากลับมาที่หน้าจอ piano roll อีกครั้ง
เราก็จะเห็นโน๊ตที่เรา copy มา จากนั้นก็ทำการแก้ไข   ลบตัวโน๊ตที่เกินออกไป ,เพิ่มโน๊ตที่ขาดอยู่ให้ครบ,ปรับเปลี่ยนย้ายตำแหน่ง
ตัวโน๊ตให้ตรงตำแหน่งที่ต้องการ
เมื่อเสร็จแล้วก็ สร้าง pattern อื่นๆ อีกจนครบทั้งบทเพลง ด้วยวิธีการเดิม (ในเพลงๆหนึ่ง อาจจะมีซัก 4-5 pattern
หรือมากกว่านั้น ก็ขึ้นอยู่กับเพลงต้นแบบที่เราทำครับ

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
ต่อไปก็เข้าสู่ขั้นตอนการจัดเรียง  pattern
กลับมาที่หน้าจอหลักเราก็จะเห็น คลิป pattern ที่สร้างขึ้นมา ให้ copy pattern ต่างๆมาเรียงกัน ตามเพลงต้นแแบบ
เช่น ท่อน intro 8 ห้องตามด้วย pattern ส่งกลองเข้าเนื้อร้อง 1 ห้อง ต่อด้วย pattern ช่วงเนื้อร้อง 8ห้อง
ทำต่อไปเรื่อยๆจนจบเพลง
ให้ copy pattern มาไว้ที่ track 10 (เพื่อความเป็นระเบียบครับ เพราะเราต้องทำแทรกดนตรีอื่นๆอีก)
เมื่อเสร็จแล้วก็เปิดฟังดูเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยให้เลือก solo  track 10 และปิดการทำงานของ loop

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

เมื่อตรวจสอบความถูกต้องหมดแล้ว ห้องเพลงต่างๆครบถ้วน ต่อไปก็เข้าสู่ขั้นตอนการรวมคลิปทั้งหมดให้เป็นคลิปเดียวกัน

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

ต่อไปก็เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย  ปรับแต่ง บาล๊านท์ ให้กับแทรกกลอง ใส่ค่า control ต่างๆ
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เริ่มบันทึกมาจนเสร็จเป็น track กลอง เรายังไม่ได้มีการกำหนดค่า น้ำหนักของตัวโน๊ต(Velocity)เลย
สาเหตุเพราะว่า ถ้าเราใส่ Velocity ตั้งแต่ตอนแรก ถ้าหากยังไม่มีความชำนาญ จะทำให้การสร้าง pattern ทำได้ช้า เพราะต้องใส่ไปทีละตัว


sound ที่ใช้ในการปรับ บาล๊านท์ นั้น ผมแนะนำให้ใช้ ซาวด์โมดูล ครับ ถ้าไม่มีก็ใช้  vsc แทนได้ เพราะซาวด์พวกนี้ บาล๊านท์ ต่างๆ
ของซาวด์ สมบูรณ์แบบแล้ว เวลาเรานำ midi ไปเล่นกับซาวด์ตัวอื่น จะเกิดความผิดเพี้ยนน้อย
แต่ถ้าเราปรับ บาล๊านท์ กับ ซาวด์ฟอนท์ ก็จะเป็นอย่างนี้ครับ  เพลงออกมาดีมาก แน่นปึ๊ก เมื่อเล่นกับ ซาวด์ฟอนท์ ตัวที่เราใช้ปรับ แต่พอไปเล่น
กับซาวด์ตัวอื่น เสียงกลับออกมาไม่ดี สาเหตุเพราะ บาล๊านท์ ของ ซาวด์ฟอนท์ หลายๆตัวที่ใช้กันอยู่ยังไม่ สมบูรณ์แบบ เหมือนซาวด์โมดูล

ค่า control ต่างๆที่จำเป็นต้องใส่ไว้ในแต่ละ track






อธิบายเพิ่มเต็ม ในส่วนของ wheel และ  RPN(Registered Parameter Numbers)คำสั่งนี้ส่วนมากจะใช้กับ track solo
ในส่วนนี้ถ้าท่านยังเป็นมือใหม่หัดทำก็ข้ามไปก่อนครับ เพื่อไม่ให้สับสน ผมจะอธิบายแบบเจาะลึก
wheel(คำสั่งการดันสาย) เป็นคำสั่ง ที่สั่งให้ตัวโน๊ต เสียงสูงขึ้นหรือต่ำลง จากเสียงปกติ มีค่าตั้งแต่ -8192(ต่ำสุด)....0(ปกติ).....8191(สูงสุด)
โดยจะมี ค่า RPN 0(pitch bend) เป็นตัวกำกับว่าจะให้โน๊ต เสียงสูงขึ้นหรือต่ำลง เท่าไหร่ (128=ครึ่งเสียง,256=1เสียง,......,3072=12เสียง)
ค่าของ RPN 0(pitch bend) จะมีค่าตั้งแต่ 0-16383 วิธีการหาค่า RPN 0(pitch bend) ใช้ 128 เป็นตัวตั้งแล้วคูณด้วย จำนวน(สองเท่าของเสียงที่เราต้องการ)
เช่น เราต้องการให้ค่าการดันสายอยู่ที่ 12เสียง ก็ให้เอา 128คูณด้วย24 จะได้ค่า = 3072
ต่อไปเรามาเจาะลึก เจ้า   RPN(Registered Parameter Numbers) กันครับ
ตัวอย่างค่า RPN (Registered Parameter Numbers)
   -RPN 0(pitch bend)
   -RPN 1(fine tuning)
   -RPN 2(coarse tuning)
   -RPN 3(tuning program)
   -RPN 4(tuning bank Select)
RPN เป็นการรวมชุดคำสั่ง control หลายตัวเข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน (ซึ่งเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มี RPN ชุดคำสั่งเหล่านี้ ต้องมีการเรียงตัวที่ถูกต้อง ถ้าสลับตำแหน่งกันก็จะทำให้คำสั่งไม่ทำงาน)
RPN  จะประกอบไปด้วย control ต่างๆดังนี้ครับ
   1.Parameter Number MSB Controller (control  101 )
   2.Parameter Number LSB Controller  (control  100 )
   3.Data Value MSB Controller           (control  6 )
   4.Data Value LSB Controller            (control  38 )
ตัวอย่างคำสั่ง  RPN 0 256 (สั่งให้ ค่าของWheel เปลี่ยนเสียงโน๊ตได้ 1เสียง)

คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

         ในปัจจุบันนี้ คำสั่ง RPN ไม่ค่อยจะมีบทบาทในตัว MIDI ซักเท่าไหร่ (ใช้ RPN 0 แค่ตัวเดียว)แต่จะไปมีบทบาทในตัวโปรแกรม คาราโอเกะ ซะมากกว่า เพราะ โปรแกรมเมอร์ เขาจะ บรรจุคำสั่งนี้ไว้ในโปรแกรมเรียบร้อยแล้วอย่างเช่น RPN 2 การเปลี่ยคีย์เพลง อยากใช้เมื่อไหร่ก็แค่กดไปจึ๊กเดียว ก็ส่งคำสั่งไปใช้งานได้แล้ว


       ต่อไปก็ มาปรับบาล๊านท์ โดยใช้คำสั่งอัฉริยะของ cakewalk กันครับ ไม่ว่าจะมือเก่าหรือ มือใหม่ หากใช้ cakewalk ในการทำ midi, edit midi (รวมไปถึง cake ver. อื่นๆด้วย) ก็ต้องใช้คำสั่งนี้ให้เป็นนะครับ  Interpolate...

ขั้นตอนการทำงานของคำสั่ง Interpolate
1.เลือกพื้นที่เป้าหมาย
2.เรียกคำสั่ง
3.เลือกเป้าหมายที่ต้องการแก้ไข
4.แก้ไขข้อมูล
คำสั่ง Interpolate ครอบคลุม เกือบจะทุกอย่างที่มีอยู่ใน midi
ผมขอยกตัวอย่างซัก 1ข้อ ครับ เพื่อความเข้าใจ ที่เหลือก็ไปปรับเปลี่ยนการใช้งานเองนะครับ การทำงานก็วนอยู่ใน 4 ขั้นตอนนี้ละครับ
เช่น  ต้องการจะปรับ เสียง hi-hat (F#3) ใน track 10 ให้เบาลง เราก็แก้ไข ค่าน้ำหนักโน๊ต(Velocity) (ดูตามรูปข้างล่าง)
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

เมื่อเสร็จแล้วก็ลองมาเปิดหน้าจอ event list ดูจะเห็นว่าค่าน้ำหนักโน๊ต ของ F#3 ทุกตัว เปลี่ยนไป



เมื่อใส่ค่า control ต่างๆครบถ้วน ปรับบาล๊านท์เรียบร้อย ก็เป็นอันว่า เสร็จพิธี เราก็ได้ midi track กลอง มาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จัดการกับ
pattern ต้นแบบที่สร้างขึ้นมา จะลบทิ้ง หรือเซฟเก็บไว้ ก็ตามสบายครับ
สำหรับมือใหม่ ขอให้ฝึกการทำ track กลอง จนเกิดความชำนาญก่อนนะครับ สร้างความคุ้นเคย กับตัวโน๊ต ตำแหน่งของตัวโน๊ต เครื่องมือต่างๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ เพราะ การทำ midi ใน track ที่เหลือ จะมีความยากเป็น สองเท่า ของ track กลอง (ถ้าท่านยังทำ track กลองไม่เป็น
หรือยังต้องเปิดตำราในการทำอยู่) แต่ถ้าเกิดความชำนาญแล้ว track ต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก
การทำ midi ใน track อื่นๆ จะมีความยาวโน๊ต (duration)เข้ามาเกี่ยวข้องอีกตัวหนึ่ง


บทที่ 2
      หลังจากฝึกการทำกลองจนเกิดความชำนาญแล้ว ต่อไปก็ทำแทรค ง่ายๆอย่าง เมโลดี้,เบส,
      ในบทนี้ผมจะแนะนำเทคนิคส่วนตัวของผมเองครับ วิธีการทำ midi ให้ได้อย่างมือโปร
วิธีการนี้จะเป็นการย้อนศร ของการทำเพลงต้นฉบับ สามารถทำ midi ให้ออกมาเหมือนกับเพลงต้นฉบับ
หรือใกล้เคียงกับต้นฉบับมาก โดยไม่ผิดเพี้ยน (เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญแล้ว สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้งาน
ในการ edit เพลง midi ที่ผิดเพี้ยนได้เป็นอย่างดี) สำหรับเทคนิคนี้  มือโปร จะนำไปใช้ก็ได้ครับ ผมคิดว่า จะทำให้การทำ midi ทำได้เร็วขึ้น
  เริ่มต้นจาก หาเพลงต้นฉบับที่จะนำมาทำ midi โปรแกรม cakewalk9 จะรองรับ ไฟล์ wav,vcd(.dat),avi,mov,mpg
ส่วน mp3 ใช้ไม่ได้ครับ ต้องแปลงให้เป็น wave ก่อนจึงจะใช้ได้  ถ้าหาเพลงต้นฉบับ ที่เป็น  karaoke ได้ก็จะเป็นการดีครับ เพราะไฟล์ประเภทนี้
มีการแยก track ระหว่างดนตรีกับเสียงร้องอยู่แล้ว ทำให้เวลาเราแกะเพลง จะได้รายละเอียดของเพลงครบถ้วน  สำหรับการเตรียมไฟล์ต้นฉบับ ถ้าท่านชำนาญในการใช้ โปรแกรม wave edit อื่นๆ ก็ทำก่อนได้เลย เช่น ตัดหัวเพลงส่วนเกินออก หาความเร็วของเพลง(โดยใช้โปรแกรมช่วยหาความเร็วเพลง ซึ่งก็มีอยูมากมายให้ใช้)
แต่ในส่วนที่ผมสอนนี้จะใช้แค่โปรแกรม cakewalk9 แค่ตัวเดียวในการทำทั้งหมด โดยใช้เพลงต้นแแบบ เป็น ไฟล์ คาราโอเกะ
- insert video file...
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

ตัดหัวเพลงส่วนที่ไม่ต้องการออกไป
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

การหาความเร็วของเพลง
ให้ยึดจังหวะที่ 1 ของห้องเพลงที่ 1 เป็นหลัก แต่ถ้า จังหวะที่ 1 ของห้องเพลงที่ 1 ว่าง ก็ให้ยึดจังหวะที่ 1 ของห้องเพลงที่ 2 แทน แล้วให้เลื่อน คลิป
มาวางให้ตรงตำแหน่งจังหวะและห้องเพลง ในการวางคลิปให้ขยายคลิปให้ใหญ่ขึ้นนะครับ เพื่อจะได้วางได้ง่ายและไม่ผิดพลาด
วิธีการสังเกตุคลื่นเสียง ให้สังเกตุ จุดพีคของคลื่น(จุดแหลมๆที่ยื่นออกมา)ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สูง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสียง hi-hat
ต่อไปก็ให้หาจังหวะที่ 1-2-3-4 ของคลิปดูว่าอยู่ตรงไหน โดยการเปิดฟังดู จำไอ้ยอดแหลมๆของคลื่นเสียงเอาไว้ซัก1ห้องก็พอ ถ้าใน 1ห้องของคลิป สั้นกว่า1 ห้องของ midi ก็ให้เพิ่มความเร็ว แต่ถ้ายาวกว่าก็ให้ลดความเร็ว
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

การปรับเปลี่ยนความเร็วของ midiเพื่อให้เข้ากับเพลงต้นฉบับ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)


ข้อควรจำ ของวิธีการนี้   ถ้าท่านใช้ซาวด์ ที่มีการ ดีเลย์ เช่น roland vsc จะทำให้เสียงของ midi และไฟล์ต้นฉบับ
ออกมาไม่พร้อมกัน ให้ท่านเลื่อนคลิปไฟล์ต้นฉบับออกไปอีกนิดหน่อย เพื่อชดเชยกับค่าการ ดีเลย์ ของซาวด์ midi
โดยใช้ กลอง midi ที่ทำไว้ก่อน(ตามบทที่ 1)เป็นตัวหลัก แล้วลองเปิดฟังดู (ให้ฟังเฉพาะเสียงอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงถึงอย่างอื่น)
ปรับให้ กลองของไฟล์ต้นฉบับ ทับกันได้สนิท กับกลองของ midi โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำกัน
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่
เมื่อเตรียมเพลงต้นฉบับพร้อม เราก็มาเริ่มทำ midiกัน
เริ่มจากทำแทร็ก เมโลดี้(เสียงร้อง) จาฉันปจะเห็นได้ว่ามีคลิปเข้ามา 2 คลิป แทร็กที่ 1 จะเป็นเสียงดนตรีอย่างเดียว ไม่มีเสียงร้อง
ส่วน แทร็กที่ 2 จะมีเสียงร้อง และเสียงดนตรีรวมกัน(ในเพลงต้นฉบับบางเพลง อาจจะมีแค่เสียงร้องอย่างเดียว)
ในขั้นตอนนี้ให้ทำการ  mute(ปิด) แทร็กอื่นที่ไม่ได้ใช้ไปก่อน ให้เหลือไว้เฉพาะ แทร็ก ที่มีเสียงร้องไว้แค่แทร็กเดียว
ต่อไปก็เริ่มบันทึกกันได้เลย
การบันทึกก็ใช้วิธีการเหมือนกับการทำกลอง ในบทที่ 1 ครับ การตั้งค่าแทร็กที่จะบันทึก ก็เหมือนกับตั้งค่าการบันทึกกลอง
 เสียงเครื่องดนตรี ตั้งตามใจชอบ แชลนอล ของแทร็ก(Chn)ตั้งไว้ที่  9 แต่คราวนี้ เราจะตั้งค่าการเล่น loop ให้มากกว่า 1ห้อง
อาจจะเป็น 4 หรือ8 ห้อง ก็ตามใจชอบครับ จากนั้นก็ กด play โปรแกรมจะเล่น loop ที่เราตั้งไว้ ด้วยวิธีการอย่างนี้
ในเวลาที่เราบันทึกโน๊ตลงไป ก็จะมีเสียงของไฟล์ต้นฉบับเล่นไปด้วย ทำให้เวลาเราบันทึกสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องมานั่งนับจังหวะ
นับห้องเพลงให้เสียเวลา ซึ่งถ้าเราใส่ โน๊ต ผิดคีย์ ผิดจังหวะ ความยาวโน๊ตไม่ได้ เราก็รู้ได้ทันที เพราะมีไฟล์ต้นฉบับเล่นเปรียบเทียบ
ไปตลอดเวลา  การควบคุมความดังของเพลงต้นฉบับ ให้ ใส่ค่าโวลลุ่ม ในช่อง vol ของแทร็กต้นฉบับ
ถ้าหากท่านฝึกขั้นตอนนี้ได้คล่องแล้ว ทำแทร็ก เมโลดี้ได้แล้ว หนทางข้างหน้า มันไม่มืดตึ๊บอีกต่อไปแล้วครับ มีปัญหาข้อสงสัยก็ฝากข้อความไว้ได้ครับ
คลิกที่นี่เพื่อแสดงรูปภาพที่ซ่อนอยู่

เมื่อทำ เมโลดี้เสร็จแล้ว ก็ให้ลบ แทร็กต้นฉบับที่เป็นเสียงร้องไปได้เลย เพื่อลดภาระการทำงานของครื่อง(กรณี เครื่องไม่แรง)
มาถึงตอนนี้เราก็เหลือเพลงต้นฉบับแค่แทร็กเดียว ซึ่งจะเป็นเสียงดนตรีอย่างเดียว เมื่อเราลองเปิดฟังดู จะเห็นได้ว่า รายละเอียด ของเครื่องดนตรี แต่ละชิ้น
มีความชัดเจนมาก เพราะไม่มีเสียงร้องมากลบรายละเอียดของเครื่องดนตรี  เราจะใช้แทร็กนี้ในการ การทำ midi ที่เหลือทั้งหมด
ขั้นตอนการทำก็ใช้วิธีการเดียวกับ การทำแทร็ก เมโลดี้
แต่ถ้าใช้ไฟล์ต้นฉบับที่ไม่ใช่คาราโอเกะ ก็ให้ใส่ Effect ให้กับแทร็กต้นฉบับ เพื่อเน้นรายละเอียดของเครื่องดนตรีที่จะทำ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
และลดเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆลง เพื่อไม่ให้มากลบเสียงของเครื่องดนตรีที่เราจะทำ โดยใช้ Effect EQ เป็นตัวปรับแต่ง ซึ่งเมื่อเราใส่
Effect ไปแล้ว เสียงของไฟล์ต้นฉบับจะเปลี่ยนไป หากต้องการให้เสียงกลับมาเหมือนเดิม ก็ให้ลบ Effect ออก
ขอยกตัวอย่างการปรับแต่ง EQ เพื่อทำแทร็ก เบส

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)



(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
micyarab ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ดูภาพไม่ได้ครับ งงจัง
ronnie ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ทำไมคลิ๋กเพื่อดูภาพไม่ได้ครับ
zupzip ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
อยากได้มั่งค่ะ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้