ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบพนักงานคุมประพฤติ  สำนักงานคุมประพฤติ  ใหม่ล่าสุด
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบพนักงานคุมประพฤติ  สำนักงานคุมประพฤติ  ใหม่ล่าสุด

1.       พระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.  2522  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  หมายความว่าบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อไร
ก.  บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 
18  มีนาคม  พ.ศ.  2522                  
ข.  บังคับใช้ตั้งแต่วันที่  19  มีนาคม  พ.ศ.  2522
ค.  บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 
20  มีนาคม  พ.ศ.  2522
ง.  บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 
21  มีนาคม  พ.ศ.  2522

2.       คำว่า “ศาล”  พระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา  พ.ศ. 2522  หมายความว่าศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา  แต่ไม่รวมถึงศาลใด
ก.  ศาลเยาวชนและครอบครัว                                                  ข.  ศาลรัฐธรรมนูญ
ค.  ศาลยุติธรรม                                                                            ง.  ศาลปกครอง

3.       รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมลกฎหมายอาญา  พ.ศ.  2522  หมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด
ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                                 ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                                   ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

4.       พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด
ก.  สืบเสาะและพินิจเรื่องอายุ  ประวัติ  และความประพฤติของจำเลย
ข.  สืบเสาะและพินิจสติปัญญา  การศึกษาอบรม  และสิ่งแวดล้อมของจำเลย
ค.  สืบเสาะและพินิจเรื่องภาวะแห่งจิต  นิสัย  อาชีพ  และสิ่งแวดล้อมของจำเลย
ง.  พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ทุกข้อใน  ก,ข  และ 
 

5.       การที่พนักงานคุมประพฤติใช้อำนาจหน้าที่ตามข้อ 4  นั้นเพื่ออะไร
ก.  เพื่อรายงานต่อศาล                                                               
ข.  เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
ค.  เพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง.  เพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

6.       ในระหว่างเวลาใดที่เจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะเข้าไปในสถานที่ที่จำเลยหรือผู้ถูกคุมประพฤติอาศัยหรือทำงานอยู่  จะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งของศาล
ก.  ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก                ข.  ระหว่างเวลา
09.00-12.00 น.
ค.  ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น                ง.  ระหว่างเวลา
13.00-16.00 น.

7.       ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องใช้เอกสารใดแสดงต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ก.  ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข.  ต้องแสดงทะเบียนบ้านต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ค.  ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ง.  ต้องแสดงเอกสารของผู้บังคับบัญชาต่อผู้เกี่ยวข้อง
 

8.       เมื่อศาลสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริง  ให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจโดยไม่ชักช้า  และให้รายงานพร้อมกับความเห็นเสนอต่อศาลภายในเวลากี่วัน  นับตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง
ก.  ภายใน 
10  วัน  นับแต่วันที่ศาลสั่ง                                    ข.  ภายใน  15  นับแต่วันที่ศาลสั่ง
ค.  ภายใน 
20  วัน  นับแต่วันที่ศาลสั่ง                                    ง.  ภายใน  25  นับแต่วันที่ศาลสั่ง

9.       ในกรณีตามข้อ 8  ถ้าไม่อาจทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา  ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปอีกเท่าที่จำเป็นแต่ไม่เกินกี่วัน
ก.  ไม่เกิน 
20  วัน                                                                       ข.  ไม่เกิน  25  วัน
ค.  ไม่เกิน 
30  วัน                                                                       ง.  ไม่เกิน  45  วัน

10.   ผู้ใดเป็นเจ้าของหรือครอบครองสถานที่ที่จำลองหรือผู้ที่ถูกคุมประพฤติอาศัยหรือทำงาน  หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย  ขัดขืนไม่ยอมให้พนักงานคุมประพฤติเข้าไปในสถานที่นั้น  หรือไม่ยอมตอบคำถามของพนักงานคุมประพฤติ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินจำนวนเงินเท่าไร
ก.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
500  บาท                                ข.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000  บาท
ค.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
1,500  บาท                            ง.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000  บาท

11.   สมเกียรติไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานคุมประพฤติ  โดยไม่มาพบพนักงานคุมประพฤติ  หรือไม่ยอมสาบานหรือปฏิบัติตน  หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ  หรือไม่ยอมส่งวัตถุหรือเอกสารอันจะใช้เป็นพยาน  สมเกียรติต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกินจำนวนเงินเท่าไร
ก.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
1,000  บาท                            ข.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,500  บาท
ค.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
2,000  บาท                            ง.  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,500  บาท

12.   สมศรีเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  และได้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นเพราะการปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่  นำความลับนั้นไปเปิดเผยนอกอำนาจหน้าที่ของตน  โดยประการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น  สมศรีต้องระวางโทษตามข้อใด
ก.  จำคุกไม่เกิน 
6  เดือน                                                            ข.  ปรับไม่เกิน  1,000 บาท
ค.  ทั้งจำทั้งปรับ                                                                           ง.  ข้อ  ก, ข และข้อ ค  เป็นคำตอบ

13.       ถ้ามีใครถามท่าว่า  กรมคุมประพฤติมีภารกิจอะไรบ้าง  ท่านจะตอบอย่างไร
ก.  มีการกิจเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ข.  มีภารกิจเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นเยาวชน
ค.  มีภารกิจเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่
ง.  การประพฤติมีภารกิจทุกข้อใน ก, ข และข้อ ค
 

14.       ท่าราบหรือไม่ว่า ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมคุมประพฤติ
ก.  ดำเนินการสืบเสาะและพินิจ                                        ข.  ควบคุมและสอดส่อง แก้ไข
ค.  ตัดสินคดีผู้กระทำผิด                                                      ง.  ฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด
 

15.       ท่านทราบหรือไม่ว่า  กรมคุมประพฤติแบ่งส่วนราชการอย่างไร
ก.  ราชการบริหารส่วนกลาง                                             
ข.  ราการบริหารส่วนภูมิภาค
ค.  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น                                         
ง.  ข้อ ก และข้อ ข เป็นส่วนราชการของกรมคุมประพฤติ
 

16.       ท่านว่าข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการของกรมคุมประพฤติในส่วนกลาง
ก.  กองแผนงานและสารสนเทศ                                       ข.  สำนักงานคุมประพฤติธนบุรี
ค.  สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด                                      ง.  กองกิจการชุมชนและบริการสังคม
 

17.       ถ้าสุชาติเป็นข้าราชการในกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกรมคุมประพฤติ  สุชาติจะมีความสัมพันธ์กับงานใดน้อยที่สุด
ก.  ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหารการเงินและการบัญชีของกรม
ข.  เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่หัวหน้าส่วนราชการภายในกรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ค.  ติดตามประเมินผล  และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในกรม
ง.  ประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และส่วนราชการภายในกรม
 

18.       สุชีพทำงานอยู่ในสำนักงานเลขานุการ  ในกรมคุมประพฤติ  เข้าจะมีอำนาจหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก.  การปฏิบัติงานสารบรรณ
ข.  จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม
ค.  ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร  การเงิน  และการบัญชีของกรม
ง.  ดำเนินการเป็นศูนย์รวมด้านวิทยุและการสื่อสาร
 

19.       ในฐานะที่ท่านจะสอบบรรจุเข้ารับราชการในกรมคมประพฤติ  ท่านรู้หรือไม่ว่าหน้าที่ต่อไปนี้คือ “พัฒนาระบบและวิธีการทำงานในลักษณะการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนเครือข่ายและภาคประชาสังคมในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดและป้องกันสังคมจากอาชญากรรม”  เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด
ก.  กองกิจการชุมชนและบริการสังคม                             ข.  สำนักงานเลขานุการกรม
ค.  กลุ่มตรวจสอบภายใน                                                    ง.  กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
 

20.       สุชนเป็นข้าราชการของกองแผนและสารสนเทศ  กรมคุมประพฤติ  หน้าที่ของเขาต้องผูกพันกับงานด้านต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก.  ศูนย์กลางการบริหารจัดการฐานข้อมูลในด้านต่างๆของกรม
ข.  ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน  และโครงการของหน่วยงานในสังกัด
ค. พัฒนาระบบและวิธีการทำงานบริการสังคมในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้กระทำผิด
ง.  ประสานงานกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงและกรมอื่น
 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบพนักงานคุมประพฤติ  สำนักงานคุมประพฤติ ทุกพื้นที่ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก  

  ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร

ประกอบด้วย

- ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมคุมประพฤติ

- ข้อสอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว   และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม

- ข้อสอบพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

- ข้อสอบพระราชบัญญัติราชทัณฑ์  พุทธศักราช พ.ศ.2479  แก้ไขเพิ่มเติม

- ข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีการดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522    แก้ไขเพิ่มเติม

- ความรู้เกี่ยวกับอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา

สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 บิ๊กซีขอนแก่
decho pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ประวัติความเป็นมาของงานอาสาสมัครคุมประพฤติ

โครงการอาสาสมัครคุมประพฤติ เกิดขึ้นเนื่องจากแนวคิด ที่ว่าสังคมควรมีระบบกลไกในการป้องกันตนเอง จากปัญหาอาชญากรรม และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ได้ผลดี คือการให้ความรู้แก่ประชาชนใน การป้องกันตนเองจากอาชญากรรม และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับ หน่วยงานในภาครัฐในทุกระดับ ด้วยกลยุทธ์ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชาชน ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติ แล้วจะมีบทบาทในการช่วยเหลือเชื่อมโยง การดำเนินงานของศาลกับประชาชน โดยเป็นเสมือนตัวคูณในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งให้คำแนะนำและชี้แจงปัญหาต่าง ๆ แก่ประชาชน หรือผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน หรือผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ ที่กระทำการอันกำหมายบัญญัติว่าเป็นความ ผิดหรือหรือปัญหาอื่นในเบื้องต้น รวมทั้งคอยสอดส่องดูแลความประพฤติของบุคคล ที่ศาลกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติ ตลอดจนให้การช่วยเหลือสงเคราะห์และรายงานผลการติดตามความประพฤติของ ผู้ถูกคุมความประพฤติเป็นระยะ จึงนับได้ว่าอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นทรัพยากร บุคคลที่สำคัญยิ่งในการเชื่อมโยงผู้กระทำความผิด เพื่อให้กลับคืนสู่สังคมอีก ครั้งอันจะช่วยลดช่องว่างและความแตกแยกได้




คุณสมบัติและการแต่งตั้ง

บุคคลที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้


1.  มีอายุตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

2.  มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน

3.  สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ ในด้านการแก้ไขฟื้นฟูสงเคราะห์และพัฒนาสังคมไม่น้อย กว่า 2 ปี หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้นำชุมชน

4.  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและมีความเสียสละอย่างสูง พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของกรมคุมประพฤติด้วยความเต็ม ใจ

5.  ประกอบอาชีพโดยสุจริตเป็นกิจจะลักษณะและมีฐานะมั่นคง

6.  มีบุคลิกภาพและความประพฤติดี ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชนหรือ ชุมชน

7.  ไม่เป็นภิกษุ นักพรต หรือนักบวช

8.  ไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ

9.  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

10.ไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ

11.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

12.ไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง

13.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดมาก่อน เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

14.ผ่าน การอบรมความรู้เกี่ยวกับงานของกรมคุมประพฤติ และกระทรวงยุติธรรมซึ่งจัด โดยกระทรวงยุติธรรมหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงยุติธรรม




บทบาทหน้าที่ของ อ.ส.ค.

1.ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติในการสืบเสาะข้อเท็จจริงของผู้ต้องขังในชั้นก่อนได้รับการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ

2.ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติ ในการสอดส่องเยี่ยมเยียนแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ ผู้ที่อยู่ระหว่างถูกคุมความประพฤติ ผู้ที่ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับและ ผู้ที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ภายหลังปล่อย

3.ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และติดตามผลผู้ติดยาเสพติด และติดตามผลผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพ.ศ.2545

4.ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ

5.ช่วยเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมคุมประพฤติ        
กรณีตาม(1)-(5) ให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมคุมประพฤติหรือกระทรวงยุติธรรมกำหนด



ระเบียบวินัยและจริยธรรม อ.ส.ค.
1.อาสาสมัครคุมประพฤติต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

2.อาสาสมัครคุมประพฤติต้องรักษาความลับของทางราชการโดยเคร่งครัด

3.อาสา สมัครคุมประพฤติต้องไม่รายงานเท็จ  หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรรายงานอันอาจ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่องานของกรมคุมประพฤติ  และกระทรวงยุติธรรม

4.อาสาสมัครคุมประพฤติต้องเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

5.อาสาสมัครคุมประพฤติพึงรักษาความสามัคคีในระหว่างผู้ร่วมงาน

6.อาสาสมัครคุมประพฤติพึงเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไป

7.อาสาสมัครคุมประพฤติพึงเป็นผู้มีคุณธรรมและเมตตาธรรม







สิทธิและประโยชน์อย่างอื่นของ อ.ส.ค.
1. อาสาสมัครคุมประพฤติมีสิทธิประดับเข็มหรือเครื่องหมายอาสาสมัครคุมประพฤติของกระทรวงยุติธรรม

2. อาสาสมัครคุมประพฤติอาจได้รับการพิจารณาเข้าร่วมสัมมนาในงานที่เกี่ยวข้อง

3. อาสาสมัครคุมประพฤติ ที่ปฏิบัติงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับการพิจารณาคัด เลือกและเสนอชื่อเพื่อเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติดีเด่นของกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.อาสาสมัครคุมประ พฤติที่ปฎิบัติงานดีเด่นของกระทรวงยุติธรรมที่มีผลงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับการพิจารณาคัดเลือก และเสนอชื่อเพื่อขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

5.อาสาสมัครคุมประพฤติอาจได้รับสิทธิหรือประโยชน์อื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นสมควร



การสิ้นสุดแห่งสถานภาพของ อ.ส.ค.
1. อาสาสมัครคุมประพฤติที่ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้มีกำหนดคราวละ  2  ปี  และอาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครคุมประพฤติได้อีก  โดยจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กรมคุมประพฤติกำหนด

2. สถานภาพแห่งการเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้

2.1. ครบกำหนดวาระ

2.2. ตาย

2.3. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลล้มละลาย

2.4.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

2.5. ได้รับอนุญาตให้ลาออก

2.6. เป็นบุคคลวิกลจริต

2.7.กระทำผิดระเบียบวินัย และจริยธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อตามความที่กำหนดไว้ในหมวด 3 หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ที่จะเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติต่อไป

กรณีตาม  (2.5) (2.6)  (2.7) สถานภาพแห่งการเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติ    จะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีคำสั่งของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

3. อาสาสมัครคุมประพฤติที่พ้นจากตำแหน่ง  ตามข้อ  (2.1 ) - ( 2.5) มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาสา
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้