ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบและเฉลยเจ้าพนักงานเกษตรปฏิบัติการ กรมพัฒนาที่ดิน ด้วยค่ะ please
kaemkoi ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบและเฉลยเจ้าพนักงานเกษตรปฏิบัติการ กรมพัฒนาที่ดิน ด้วยค่ะ please

1. ข้อมูลเกี่ยวกับชุดดินของเมืองไทย  ดินเปรี้ยว  ดินเค็ม  แก้ไขอย่างไร  องค์ประกอบของดินมีอะไรบ้าง
ดินเปรี้ยว หมายถึง ดินที่เป็นกรด ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น เช่น การย่อยสลายของอินทรียสารในดิน การใส่ปุ๋ยเคมี เป็นต้น

1.แก้ไขโดยการเติมปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) หรือดินมาร์ล (คือดินที่เกิดจากการผุพังและสลายตัวของหินปูนพบมากที่จ.สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์)

                2.ลดความเป็นกรดโดยการระบายน้ำเข้ามาขังในพื้นที่  1-2 สัปดาห์แล้วระบายน้ำทิ้งวิธีนี้จะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอ

ดินเค็มหมายถึง ดินที่มีเกลืออยู่เป็นปริมาณมาก เมื่อเกลือละลายน้ำทำให้ความเข้มข้นของเกลือในดินสูง

- แก้ไขโดยการเติมแคลเซียมซัลเฟต หรือผงกำมะถัน เพื่อปรับสภาพของเกลือในดินให้กลายเป็นเกลือโซเดียมซัลเฟต(เป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี) จากนั้นใช้น้ำชะล้างระบายน้ำทิ้ง

 ดิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ

1. อนินทรียวัตถุ 

อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่

อนินทรียวัตถุ อยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.)

2. กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.)

3.กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม)

 อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุในดินนี้ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในดินด้วย

 

2. อินทรียวัตถุ

                อินทรียวัตถุในดิน ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเซษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย

อินทรียวัตถุในดินนี้ เป็นแหล่งสำคัญของธาตุอาหารพืช และป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย

3. น้ำในดิน

น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช

4. อากาศในดิน

                หมายถึง ส่วนของก๊าซต่างๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ดินใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต

ดิน..ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

พืชส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุย มีปริมาณน้ำ อากาศ และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างเพียงพอ

ดังนั้นดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชโดยทั่วไปจึงควรมีสัดส่วนขององค์ประกอบที่เป็นของแข็ง หรืออนินทรีย์วัตถุซึ่งได้มาจากการสลายตัวของหินและแร่ อันเป็นแหล่งที่มาของธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากสิ่งมีชีวิต อยู่รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาตรทั้งหมด

 

สำหรับส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้นควรจะเป็นที่อยู่ของน้ำและอากาศ ซึ่งจะแทรกอยู่ตามช่องว่างเล็กๆ ในดิน โดยช่องว่างเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการเรียงตัวเกาะยึดกันของอนุภาคขนาดต่างๆ ในดิน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำและอากาศในดินจะมีอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของช่องว่างที่มีอยู่ในดินนั้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามในสภาพของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้น จำเป็นต้องมีน้ำและอากาศในดินในปริมาณที่สมดุลกัน เพราะถ้าช่องว่างในดินมีอากาศอยู่มากก็จะมีที่ให้น้ำเข้ามาแทรกอยู่ได้น้อย พืชที่ปลูกก็จะเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำ แต่ถ้าในช่องว่างมีน้ำมากเกินไป รากพืชก็จะขาดอากาศหายใจ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ...ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกนั้น  ในดินทั้งหมด 100 ส่วน ควรจะมีส่วนที่เป็นของแข็ง 50 ส่วน แบ่งเป็น อนินทรียวัตถุประมาณ 45 ส่วน อินทรียวัตถุ 5 ส่วน และส่วนของช่องว่าง 50 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยน้ำ 25 ส่วน และอากาศอีก 25 ส่วน หรือ มีสัดส่วนของ อนินทรียวัตถุ : อินทรียวัตถุ : น้ำ : อากาศ เท่ากับ 45 : 5 : 25 : 25

 
 

2. กรมพัฒนาที่ดินทำหน้าที่หลักอะไรบ้าง  เช่น  การผลิต  พ.ด.  มีความจำเพาะอย่างไรบ้าง  พ.ด. ไหนใช้ทำอะไรไปท่องมาเลยออกทุกครั้ง
กรมพัฒนาที่ดินทำหน้าที่
           1. สำรวจ วิเคราะห์และวิจัยดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดินเพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกร สนับสนุนงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง จำแนกประเภทที่ดิน จัดทำสำมะโนที่ดิน และเศรษฐกิจที่ดิน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินและกำหนดเขตที่ดินเพื่อให้ข้อเสนอแนะการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
           
2. ติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดินเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตพืชและเพื่อให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมกับสมรรถนะของดินรวมทั้งเพื่อความชัดเจนของสังคมในการใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดจนกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวร แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนราชการและบุคคลที่สนใน
           3. ทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดินทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การแก้ไขดินที่มีปัญหาในการทำการเกษตรเพื่อถ่ายทอดข้อมูลและความรู้ให้เกษตรกร และบุคคลที่สนใจเพื่อให้การพัฒนาการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืน

         
4. ให้บริการวิเคราะห์ดินและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิน บริการวัสดุปรับปรุง พันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน รวมทั้งการปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน และการอนุรักษ์ดินและน้ำให้แก่เกษตรกรเพื่อให้การพัฒนาการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืน"
       
  5. จัดทำและให้บริการข้อมูลระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาที่ดิน
         
6. ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนราชการ และประชาชน

อำนาจหน้าที่

     หน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2537

   1. ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และวิจัยดินและที่ดินเพื่อกำหนดนโยบาย และวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน

   2. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ  พืช ปุ๋ย และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน

   3. ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร

   4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินหรือที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 
การทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษพืชใบไม้ มีขั้นตอนการทำอย่างไร

ปุ๋ยอินทรีย์ทำจากเศษพืชผักปริมาณน้อย สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การทำปุ๋ยหมัก และการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

   ปุ๋ยหมัก: คือ การนำเศษพืชผักมากองรวมกัน ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายปกติจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ก็จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษพืชผักได้แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของจุลินทรีย์จึงมีการใส่จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายลงไป เช่น สารเร่ง พด. 1 พด. 2 พด. 3 หรือใช้ดินที่มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืช (จากแหล่งของดินที่เป็นธรรมชาติหรือสมบูรณ์มากเช่น ดินซุย ไผ่ ดินจากป่า )  มาใช้ (นำดินมาผสมกับอาหารที่จุลินทรีย์ ชอบ เช่นรำข้าวน้ำตาลทรายแดง มาคลุกเคล้ากับดิน ใส่น้ำให้มีความชื้นพอประมาณคือไม่ถึงกับแฉะพอจับตัวกันเวลากำแล้วเป็นก้อน เมื่อเคล้ากันดีแล้วนำมาห่อผ้า ให้แบนไม่หนามากนัก ทิ้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 3 - 5 วัน นำไปผสมกับเศษพืชผักแทนชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะเชื้อมาได้) ช้อดีของเชื้อธรรมชาติ คือ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในที่ดินเกษตรกร(เพาะมาจากแหล่งเดียวกัน) เชื้อมีความแข็งแรง เกษตรกรจะเพิ่มทักษะและนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและการถ่ายทอดขยายผล ทำด้วยตนเองจะเกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญ การทำปุ๋ยหมักต้องมี  การกองวัสดุเศษพืชให้มีความสูง 1 - 1.5 เมตร เพราะจะเกิดความร้อนจากกิจกรรม จุลินทรีย์ สารเร่งที่ใช้ทำปุ๋ยใช้สารเร่ง พด. 1 และจุลินทรีย์ธรรมชาติ ทำให้การย่อย สลายได้เร็ว การเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายจะต้องมีการกลับกอง การใส่ท่ออากาศ เป็นต้น แต่ถ้าวัสดุไม่มากใช้วิธีกองใต้ต้นไม้กองให้สูงเข้าไว้ ใช้พลาสติก ฟาง หรือ ใบไม้คลุมไว้ก็ได้ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นการสกัดสารที่แร่ธาตุและฮอร์โมนจากเศษพืชและสัตว์ โดยใช้สารเร่ง พด. 2

การทำเชื้อ พด. 3 ในขณะที่ปุ๋ยหมักยังไม่มีสภาพการย่อยที่สมบูรณ์ อยากทราบว่า เชื้อพด. 1 จะขัดขวางการขยายตัวของเชื้อ พด. 3 หรือไม่

            การขยายเชื้อ พด. 3 ไม่ควรใส่ในกองปุ๋ยหมักที่ยังไม่ย่อยสลายสมบูรณ์ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากกองปุ๋ยหมักจะมีผลยับยั้งการเพิ่ม จำนวนเชื้อ พด. 3 จึงต้องใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วในการ ขยายเชื้อ พด. 3

การขยายตัวของ พด. 3 เมื่อขญะกองหลังการคลุกรำข้าวเสร็จแล้ว ภายในกองปุ๋ยจะเกิดความร้อนอันเกิดจากการทำการแตกตัวของเชื้อหรือไม่ หากการเกิดความร้อนควรทำอย่างไร

1 เกลี่ยกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนลงบ้าง

                2 ปล่อยไว้เช่นเดิม เพราะไม่เกิดผลเสียแต่อย่างใด

                การใสรำข้าวในปุ๋ยหมักเพื่อขยายเชื้อ พด. 3 จำนวนเพียง 1 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยหมักจำนวน 100 กิโลกรัมไม่มีผลทำให้เกิดความร้อนภายในกองปุ๋ยหมักได้ รำข้าวเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเพิ่มจำนวนเชื้อ พด. 3 สำหรับปุ๋ยหมักเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อ พด. 3


lovekaemkoi
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้