ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งแนวข้อสอบแบบธรรมเนียมทหาร ยศ.ทบ.
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งแนวข้อสอบแบบธรรมเนียมทหาร ยศ.ทบ.

หลักราชการ 10 ประการ ของ ร.6


1. สามารถ 2. เพียร 3. ไหวพริบ 4. รู้เท่าถึงการ 5. ซื่อตรงต่อหน้าที่

6. ซื่อตรงต่อคนทั่วไป 7. รู้จักนิสัยคน 8. รู้จักผ่อนผัน 9. มีหลักฐาน 10. จงรักภักดี

ธุรการกำลังพล

- เหล่าทหารบกที่อยู่นอกความรับผิดชอบของ ทบ. คือ เหล่า ผท. และ เหล่า ธน.

ประเภทของนายทหารสัญญาบัตร แบ่งตามพื้นฐานความรู้ หรือแหล่งกำเนิด 4 ประเภท

1. สำเร็จการศึกษาจาก รร.จปร.หลักสูตรประจำ (นร.) วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ (นพท.) รร.ทหารต่างประเทศที่ กห.รับรองหลักสูตร (นรต.)

2. จากการผลิตด้วยวิธีพิเศษเร่งด่วน ได้แก่ นายร้อยสำรอง (นรส.) นายร้อยพิเศษ (นรพ.)

3. จากนายทหารประทวนเลื่อนฐานะ (นป.)

4. จากพลเรือนสอบบรรจุ (พ.)

การเลื่อนยศ ตามเกณฑ์ทั่วไปพิจารณาจากปีรับราชการ

- 3 ปี เป็น ร.ท.

- 7 ปี เป็น ร.อ.

- 10 ปี เป็น พ.ต.

- 13 ปี เป็น พ.ท.

- 16 ปี เป็น พ.อ.

- 19 ปี เป็น พ.อ.พิเศษ

- 21 ปี เป็น พล.ต.

การศึกษา

- ชั้นนายร้อย ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 7 ขึ้นไป ยกเว้น กำเนิด จปร.เรียนได้เลย

- ชั้นนายพัน ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 11 ขึ้นไป

- เสธ.ทบ. ต้องมีเวลารับราชการครบ 7 ปี ยศและเงินเดือนอยู่ระหว่าง ร.อ.เงินเดือน น.1 ชั้น 14 – พ.ต.เงินเดือน น.2 ชั้น 5

- วทบ. พ.อ. – พ.อ.พิเศษ

การทดสอบร่างกาย ปีละ 2 ครั้ง เดือน ก.พ. และ ส.ค.ของทุกปี รายงาน ทบ.(ผ่าน สบ.ทบ.) ก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

- บุคคลที่จะบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 75%



- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 70%

- นายทหารสัญญาบัตรที่ได้รับเงินค่าฝ่าอันตราย ไม่ต่ำกว่า 80% (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์)

- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา ไม่ต่ำกว่า 60%(ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์)

- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์) หากไม่ผ่านการทดสอบ 2 ครั้งติดต่อกัน ให้ถือว่าหย่อนสมรรถภาพให้ปรับย้ายเข้าประจำและหากยังไม่ผ่านในการทดสอบครั้งต่อมาหลังจากได้ปรับย้ายเข้าประจำแล้ว 1 ปี ให้ปลดเป็นกองหนุน



ระเบียบ ทบ.ว่าด้วย ประวัติ พ.ศ.2539

หน่วยส่วนกลาง

- สำนักงานเลขานุการ ทบ. - กรมฝ่ายเสนาธิการ

- กรมฝ่ายกิจการพิเศษ - กรมฝ่ายยุทธบริการ

- หน่วยข่าวกรองทางทหาร

หน่วยส่วนภูมิภาค

- ส่วนภูมิภาค

- ส่วนกำลังรบ

- ส่วนสนับสนุนการรบ (เว้นหน่วยข่าวกรอง)

ส่วนการศึกษา

- ยศ.ทบ. - กรมรักษาดินแดน - รร.จปร.

- สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง - ศสพ. - ศบบ.

- ศร. - ศม. - ศป.

การทำประวัติ

แบบประวัติรับราชการ ทบ.100-010 และผนวก ก.คำชี้แจง

- นักเรียนทหารในประเทศ ทำ 2 ชุด ให้สถานศึกษาจัดทำส่งให้ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. เจ้าของพื้นที่หน่วยต้นสังกัดของเจ้าของประวัติผู้นั้นสังกัดอยู่

- นักเรียนทหารต่างประเทศ ทำ 2 ชุด ให้ สบ.ทบ.จัดทำและเก็บไว้ที่ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. 1 ชุด

- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะ ผู้ที่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้หน่วยจัดทำประวัติเพิ่ม 1 ชุด และสำเนาจากฉบับเดิมที่ทำเพิ่ม 1 ชุด รวมเป็น 3 ชุด และให้ หน.แผนก หรือเทียบเท่าลงลายมือชื่อตรวจถูกต้อง และรับรองสำเนา แล้วส่งชุดที่ทำสำเนาแนบเรื่องขอเลื่อนฐานะให้ สบ.ทบ. ส่วนชุดที่จัดทำขึ้นใหม่ให้ส่งหน่วยต้นสังกัดใหม่หรือหน่วยที่ไปบรรจุ ผู้ที่ไม่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้ มทบ.หรือ จทบ.จัดทำประวัติเพิ่ม 1ชุด และสำเนาชุดที่ทำเพิ่ม รวมเป็น 3 ชุด ส่งชุดเดิมและสำเนาให้หน่วยต้นสังกัดที่เลื่อนฐานะ ส่วนที่ทำใหม่ให้ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ.หน่วยต้นสังกัดที่ไปบรรจุ

- การเปลี่ยน ชื่อ – สกุล ให้รายงาน ผบช.ภายใน 30 วัน และต้องแจ้งให้ สบ.ทบ.ทราบ

- เจ้าของประวัติจะต้องตรวจสอบประวัติของตนเองไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง

- การบันทึกข้อความในแบบประวัติรับราชการปกติ ให้บันทึกด้วยหมึกน้ำเงิน หรือดำ ยกเว้นยศ ตำแหน่งในหน้าแรก และในหน้าติดรูปถ่าย ให้บันทึกด้วยดินสอดำ

- การบันทึกความสามารถและผลงานดีเด่น ข้อบกพร่อง นายทหารสัญญาบัตรต้องได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ.หรือผู้รับมอบอำนาจ นายทหารประทวนต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพบก

เอกสารประกอบประวัติ

- บัญชีรับรองเวลาราชการทวีคูณ (ตัวจริง) ต้องให้ หน.แผนกประวัติเป็นผู้รับรองสำเนาเท่านั้น

- สำเนามรณบัตรของทายาท (บิดา มารดา คู่สมรส บุตร)

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของทายาท

- สำเนาทะเบียนสมรสของ บิดามารดา

- สำเนาทะเบียนสมรสของเจ้าของประวัติ

- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร

- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม

- สำเนาทะเบียนการหย่าของบิดามารดา

- สำเนาทะเบียนการหย่าของเจ้าของประวัติ

- สำเนาทะเบียนการเปลี่ยนชื่อ

- หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ

- บันทึกรับรองเวลาราชการที่ กห.ตรวจสอบไม่ได้

- ใบรับรองการเป็นทายาท

- สำเนา สด.43

- สำเนาคำสั่งบรรจุครั้งแรก

- สำเนาใบสมาชิกฌาปกิจ ทบ.

โครงสร้างหมาเลข ชกท.

หมายเลข ชกท.สำหรับนายทหารสัญญาบัตร ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัว

- ตัวแรก ประเภทงานใน ทบ. มี 10 ประเภท ( 0 – 9 )

- 0 ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ งานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการขนส่ง

- 1 การบังคับบัญชาและการรบ

- 2 ธุรการ การบริการและการฝึก

- 3 การแพทย์ และสุขาภิบาล

- 4 จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง

- 5 สวัสดิภาพและสวัสดิการ

- 6 การเงิน การบัญชีและการงบประมาณ

- 7 งานทางเทคนิคด้านวิศวกรรม

- 8 งานวิชาชีพ งานด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

- 9 การป้องกันอันตราย การข่าวกรอง และการสืบสวน

- ตัวเลข 3 ตัวหลังแสดงถึงขีดความชำนาญของงานแต่ละประเภทงานนั้น ๆ

- นอกจากตัวเลข 4 ตัวดังกล่าว ยังกำหนดให้มีตัวเลขเพิ่มเติมสำหรับงานบางตำแหน่ง ซึ่งต้องบรรจุผู้มีคุณวุฒิพิเศษ

- 1 จนท.สงครามจิตวิทยา

- 2 จนท.ข่าวกรองทางเทคนิค

- 3 จนท.การรบพิเศษ

- 4 จนท.วิจัยและพัฒนาการรบ

- 5 จนท.อาวุธปรมณู

- 6 จนท.ปฏิบัติการบนเครื่องบิน

- 7 พลร่ม

- 8 ครู

ตัวอย่าง ผู้บังคับหน่วยทหารราบ ชกท.1542

นักบิน ชกท.6-1981

การให้หมายเลข ชกท. กระทำได้ 2 วิธี

1. เข้ารับการศึกษาอบรม

2. การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของ ชกท.ใหม่ ผบ.หน่วยตั้งแต่ชั้น ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ และให้มีระยะเวลาในการฝึกอย่างน้อย 3 เดือน

การหมดสภาพหมายเลข ชกท. กำลังพลผู้ใดมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งใน ชกท.ที่ได้รับติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

ผู้สำเร็จการศึกษาจาก รร.สธ.ทบ.และ วทบ.สามารถปฏิบัติงานได้ทุก ชกท.



ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502

การบรรจุ และปลด

- ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.พล หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง

- ชั้นสัญญาบัตร รมว.กห.เป็นผู้สั่ง เว้นแต่ตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่ถ้าเป็นการลาออกหรือเกษียณ รมว.กห.เป็นผู้สั่ง

การย้าย เลื่อน และลดตำแหน่ง

- ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการ ในหน้าที่ ต้องได้รับอนุมัติจาก เลขา รมว.กห. ปลัด กห. สมุหราชองครักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ.หรือเทียบเท่าก่อน

- ชั้นสัญญาบัตร

- ตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง (ยกเว้นเปลี่ยนเหล่า)

- ตั้งแต่ชั้น ผบ.กรม หรือเทียบเท่าลงไป และการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการในหน้าที่ หรือการเลื่อนหรือลดตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ปลัด กห. สมุหราชองค์รักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ. เป็นผู้สั่ง

- ตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

- การย้ายระหว่างกำลังศึกษาอยู่ ให้ผู้นั้นศึกษาให้จบหลักสูตรก่อนแล้วจึงเดินทางไปรับตำแหน่ง

- นายทหารประทวนจะทำหน้าที่นายทหารได้ ต้องผ่านการคัดเลือก และเข้ารับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่ ทบ.กำหนด เว้นบางกรณี หน่วยอาจสั่งให้ทำหน้าที่ฯ ก่อนได้แต่ผู้นั้นต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ปี และต้องเป็น จ.ส.อ.มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการลา พ.ศ.2536

- การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลาให้นับต่อเนื่องกัน โดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับลากิจ และวันพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ

- ลาป่วย

- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากไปราชการในที่กันดาร ในท้องที่ซึ่งมีโรคภัยชุกชุม หรือประสบอันตรายจากการปฏิบัติราชการ ลาได้ 180 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่อันเนื่องจากไอพิษวัตถุธาตุที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด เชื้อโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ลาได้ 270 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่ในอากาศ ใต้น้ำ ใต้ดิน กระทำหน้าที่พิเศษฝ่าอันตรายตามที่ได้รับอนุมัติหรือมอบหมายจาก รมว.กห. กระทำหน้าที่การรบการสงคราม การปราบจลาจล หรือหน้าที่ตามกฎอัยการศึก ลาได้ 365 วัน

- ผู้ป่วยต้องเสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จะให้ผู้อื่นทำใบลาเสนอแทนก็ได้ ถ้าลาเกิน 3 วัน ต้องมีใบความเห็นแพทย์แนบมาด้วย

- ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่สถานพยาบาลของทหารไม่ต้องทำใบลา ให้หน่วยต้นสังกัดของผู้ป่วยกับสถานพยาบาลทำหลักฐานการส่งผู้ป่วย และหลักฐานการส่งคืนหน่วยต้นสังกัดให้ไว้ต่อกัน

- ลาคลอดบุตร

- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์

- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- ลากิจ

- ลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ

- ลาพักผ่อนประจำปี

- ลาได้ไม่เกิน 10 วันทำการ

- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- ผู้ใดมิได้ลา หรือลาแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 20 วันทำการ

- ผู้ใดรับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี มีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 30 วันทำการ

- ลาอุปสมบท และลาไปประกอบพิธีฮัจย์

- ลาได้ไม่เกิน 120 วัน

- ผู้ลาต้องรับราชการติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันอุปสมบท

- นายทหารสัญญาบัตร ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน

- นายทหารประทวน ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.พัน. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ ผบ.พล. เป็นผู้อนุญาตก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน

- ผู้ได้ลาอุปสมบทต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา ลาสิกขาเมื่อใดต้องรายงานให้ ผบช.โดยตรงทราบ และเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน

- หากไม่สามารถอุปสมบทได้ตามที่ลา ให้ถือว่าวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ

- ผู้ใดจะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ.เพื่อวินิจฉัย เมื่อเห็นสมควรจะอนุญาตแล้ว จึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดวันลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

ตารางกำหนดอำนาจให้ลา

ผู้บังคับบัญชาชั้น ลาป่วย ลากิจ

รมว.กห. 365 วัน ตามที่เห็นควร

ผบ.ทบ. 180 วัน ตามที่เห็นควร

แม่ทัพ 90 วัน 60 วันทำการ

ผบ.พล. 60 วัน 45 วันทำการ

ผบ.กรม. 45 วัน 30 วันทำการ

ผบ.พัน. 21 วัน 15 วันทำการ

ผบ.ร้อย. 7 วัน 3 วันทำการ

ผบ.มว. 3 วัน 1 วันทำการ

ข้อบังคับว่าด้วยการเคารพ

ทหารกำลังเดินให้หยุดทำความเคารพ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี รัชทายาท พระเจ้าแผ่นดิน และพระราชินีต่างประเทศ พระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จโดยมีธงราชวงศ์ เจ้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นเอกราชและเสด็จโดยมีธงราชวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

- นายกรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาของคนทุกชั้น

- สอบ พระบรมศพและพระบรมอัฐิ พระศพและพระอัฐิพระบรมวงศ์ ศพซึ่งมีกองทหารแห่เป็นเกียรติยศ

- ธงประจำกองทหาร และกองยุวชนทหาร ธงชาติ ธงราชนาวี ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวราชและธงราชวงศ์ในขณะชักขึ้นลง

การเคารพด้วยธงประจำกอง

- ท่าเคารพด้วยธง มีดังนี้

- อยู่กับที่

- ให้ลดธงลง

- ให้ถือธงท่ายกธง

- เคลื่อนที่ ให้ถือท่ายกธง

- วิธีเคารพด้วยธง ให้ปฏิบัติดังนี้

- อยู่กับที่ ลดธงถวายความเคารพแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมศพ พระบรมอัฐิ และประมุขต่างประเทศซึ่งมาเยือนประเทศไทยเป็นทางราชการ เท่านั้น เว้นแต่ธงประจำกองเกียรติจัดสำหรับสิ่งใดหรือผู้ใด จึงให้ทำความเคารพแก่สิ่งนั้น

- เคลื่อนที่ ถือท่ายกธงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมศพ พระบรมอัฐิ เท่านั้น

- เมื่อธงแสดงการเคารพ ให้นายทหารรักษาธงทำวันทยาวุธด้วยท่ากระบี่ ผู้ช่วยผู้เชิญธงทำแลขวา (ซ้าย)

การบรรเลงเพลงเคารพ

- เพลงเคารพด้วยแตรวง

- เพลงสรรเสริญ

- เพลงชาติ

- เพลงมหาไชย

- เพลงมหาฤกษ์

- เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล

- เพลงเคารพด้วยแตรเดี่ยว คือ เพลงคำนับ

- เพลงเคารพด้วยขลุ่ย กลอง คือ เพลงมหาไชย

การจัดกองเกียรติยศ

- หัวแถวต้องอยู่ทางขวาเสมอ

- ถ้ามีธงไชยเฉลิมพลไปด้วยต้องเป็นกองเกียรติสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี และองค์ยุพราชเท่านั้น

- การเคารพใช้การโรยธงสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนสมเด็จพระบรมราชินีและองค์ยุพราชใช้ยกด้ามธงจากพื้นประมาณ 1 คืบ

การแต่งกายเครื่องแบบ

นายทหารสัญญาบัตรชาย มี 11 ชนิด

- ปกติขาว - ปกติกากีแกมเขียวคอแบะ - ปกติกากีแกมเขียวคอพับ

- ปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ - ฝึก - สนาม - ครึ่งยศ

- เต็มยศ - สโมสรคอปิด - สโมสรอกแข็ง - สโมสรอกอ่อน

นายทหารสัญญาบัตรหญิง มี 12 ชนิด

- ปกติขาว - ปกติกากีแกมเขียวคอแบะ - ปกติกากีแกมเขียวคอพับ

- ปกติกากีนวลแกมเขียวคอปก - ปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ

- ฝึก - สนาม - ครึ่งยศ - เต็มยศ

- สโมสรคอปิด - สโมสรอกแข็ง - สโมสรอกอ่อน

เครื่องแบบปกติขาว ใช้ในโอกาส

- งานพระราชพิธี , เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่าง ๆ

- งานพิธีที่กำหนดให้แต่ง หรือกำหนดให้พลเรือนแต่งเครื่องแบบปกติขาว

- งานพระราชทานเพลิงศพทหาร ตำรวจ

เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ ใช้ในโอกาส

- เยี่ยมคำนับเป็นทางการ

- รายงานตนเอง

- พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงไชยเฉลิมพล

- พิธีที่เป็นเกียรติของหน่วย

- เป็นตุลาการศาลทหาร เวลาพิจารณาคดี ณ ที่ตั้งปกติ

- งานพิธีที่กำหนดให้แต่ง

ในโอกาสที่สามารถแต่งเครื่องแบบได้ทั้งชุดปกติขาว และชุดปกติกากีแกมเขียวคอแบะ ให้แต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ

ผู้ที่มีครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ให้งดการแต่งเครื่องแบบ

ป้ายชื่อ

ทำด้วยโลหะ กว้าง 2.00 ซม.ยาว 7.5 ซม.หนา 0.1 ซม.เส้นขอบสีขาวประมาณ 0.1 ซม.สลักชื่อด้วยอักษรตัวบรรจงสีขาว มีขนาดสูงประมาณ 0.7 ซม. ติดตรงกึ่งกลางเหนือกระเป๋าเสื้อด้านขวาประมาณ 1.00 ซม. พลโทขึ้นไปไม่ต้องติดป้ายชื่อ

สอบ การคาดกระบี่

- คุมหรือประจำแถวเป็นกองทหารเกียรติยศ หรือเวลาแห่นำ หรือแห่ตามเสด็จ

- คุมหรือประจำแถวรับการตรวจพลสวนสนาม ซึ่งกระทำเป็นพิเศษ

- ไปในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธีตามหมายกำหนดการหรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่าง ๆ เว้นงานสโมสรสันนิบาต

- งานพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร

- เป็นตุลาการศาลทหารเวลาพิจารณาคดี ณ ที่ตั้งศาลปกติ

- ไปในงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อแต่งเครื่องแบบปกติขาว ครึ่งยศ เต็มยศ

การจัดพี่เลี้ยง

- ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจัดพี่เลี้ยงสำหรับว่าที่ ร.ต. พ.ศ.2510

- ว่าที่ ร.ต. อยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงไม่น้อยกว่า 6 เดือน

- ผู้บังคับบัญชาชั้น ผบ.พัน. หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้สั่งจัดพี่เลี้ยง

- พี่เลี้ยงคนหนึ่งให้ทำหน้าที่ปกครองว่าที่ ร.ต. ไม่เกิน 2 คน

ระเบียบงานสารบรรณ

- ใช้ “ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2537”

- งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม และการทำลาย

- ส่วนราชการ หมายถึง หน่วยระดับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป

หนังสือ มี 6 ชนิด

- ภายนอก ใช้กระดาษตราครุฑ ไม่มีคำย่อ

- ภายใน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

- ประทับตรา

- สั่งการ

- ประชาสัมพันธ์

- หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

คำลงท้าย กรณี ผบช. มีถึง ผตบช. ไม่ต้องมีคำลงท้าย ถ้า ผตบช. มีถึง ผบช. ให้ใช้คำลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะกรุณา”

หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของ หน.ส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้ หน.ส่วนราชการชั้น

ผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา

ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราด้วย “หมึกสีแดง“ มีลักษณะวงกลม 2 วงซ้อนกัน วงนอก 4.5 ซม. วงใน 3.5 ซม. ล้อมครุฑ ระหว่างวงมีอักษร

ชื่อส่วนราชการอยู่ขอบล่าง ถ้ามีภาษาต่างประเทศ ให้อักษรไทยอยู่ขอบบน และอักษรโรมันอยู่ขอบล่าง และให้ผู้รับผิดชอบ

ลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา

หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด

คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ ผบช. สั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ

ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติงานประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ

ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ออกข้อบังคับ

หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด

ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ ขึ้นชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ

แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการ หรือเหตุการณ์ ให้ทราบทั่วกัน ทบ. เป็นผู้ออกแถลงการณ์

ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด

หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ออกให้แก่บุคคล นิติบุคคล ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ

รายงานการประชุม คือ บันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม

บันทึก คือ ข้อความที่มีระหว่าง ผบช. และ ผตบช. หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น ปกติใช้กระดาษบันทึกข้อความ

หนังสืออื่น เช่น ฟิล์ม ภาพถ่าย แถบบันทึกเสียง

หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็น 3 ประเภท ให้ระบุความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่า 32 พอยท์

ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น

ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว

ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้

การรับรองสำเนาให้ใช้ข้อความ “ สำเนาถูกต้อง” แล้วลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตร พร้อมพิมพ์ชื่อตัวบรรจง และตำแหน่ง วัน เดือน ปี ใต้ลายมือชื่อ

การเก็บรักษา การยืม และการทำลาย

- หนังสือที่จะให้เก็บไว้ตลอดไปให้ใช้คำว่า “ห้ามทำลาย” ด้วยหมึกสีแดง

- หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลาให้ประทับตราคำว่า “เก็บถึง พ.ศ………….” ด้วยหมึกสีน้ำเงิน และลงเลขของปี พ.ศ.ที่ให้เก็บถึง

- ภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอ หน.ส่วนราชการชั้น ผบ.พล. หรือเทียบเท่า เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ

- คณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยปกติแต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร

- อายุการเก็บหนังสือโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นหนังสือต่อไปนี้

- หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามระเบียบ การ รปภ. แห่งชาติ

- หนังสือทางอรรถคดี สำนวนของศาล ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่าด้วยการนั้น

- หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ให้เก็บไว้ตลอดไปหรือตามที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรกำหนด

- หนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

- หนังสือเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง 10 ปี ให้รางาน ผบช.ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอทำลายได้

- การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ระหว่างส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้ยืมและผู้อนุญาตต้องเป็น หน.ส่วนราชการชั้นผู้บังคับการกรม หรือเทียบเท่าขึ้นไป

- การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ระหว่างส่วนราชการระดับต่ำกว่ากองพลหรือเทียบเท่าลงมา ผู้ยืมและผู้อนุญาตต้องเป็น หน.ส่วนราชการระดับกองร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไป

ตราครุฑ มี 2 ขนาด ให้พิมพ์ด้วยหมึกสีดำ หรือทำเป็นครุฑดุน

- ขนาดสูง 3 ซม.

- ขนาดสูง 1.5 ซม.

กระดาษ มี 3 ขนาด

- A4 ขนาด 210x297 มม.

- A5 ขนาด 148x210 มม.

- A8 ขนาด 56x74 มม.

ซอง มี 4 ขนาด ให้พิมพ์ตราครุฑด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้ายของซอง

- C4 ไม่ต้องพับ

- C5 พับ 2

- C6 พับ 4

- DL พับ 3

หนังสือที่ออกในนามของส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ ทบ. ผู้ลงลายมือชื่อในช่องตรวจต้องเป็น หน.กอง หรือเทียบเท่า

หมายเลขประจำกรมกอง

สำนักผู้บังคับบัญชา และกรมฝ่ายเสนาธิการ กห 040_ (อะไหล่ กห 0408 – 0420 )

กรมฝ่ายกิจการพิเศษ กห 042_ (อะไหล่ กห 0431 – 0440 )

กรมฝ่ายยุทธบริการ กห 044_ (อะไหล่ กห 0450 – 0459 )

ส่วนการศึกษา กห 046_ (อะไหล่ กห 0466 - 0480 )

ส่วนกำลังรบ กห 048_ (อะไหล่ กห 0491 – 0499 )

คำขึ้นต้น

เรียน ใช้ในกรณีมีถึง ตำแหน่ง หรือชื่อบุคคล

เสนอ ” ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน

ส่ง ” ผบช. มีถึง ผตบช. หรือหน่วยในบังคับบัญชา

ถึง ” ตำแหน่ง, ชื่อบุคคล, ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในระดับต่ำกว่าเจ้าของหนังสือ

เลขที่ของคำสั่งทั่วไป ทับด้วยเลขของปี พ.ศ.4 ตำแหน่ง 1/2547 และคำสั่งเฉพาะ ทับด้วยตัวเลขของปี พ.ศ. 2 ตำแหน่ง 1/47

การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามมียศ ให้พิมพ์ยศไว้หน้าลายมือชื่อ และพิมพ์ชื่อเต็มของผู้ลงนามไว้ใต้ลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามไม่มียศ ให้ใช้คำว่า นาย, นาง, นางสาว ไว้หน้าชื่อเต็มใต้ลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามมีบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ ให้พิมพ์คำเต็มของบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ไว้ใต้ลายมือชื่อ

รักษาราชการ ใช้ในกรณีตำแหน่งในส่วนราชการว่างลง และยังมิได้แต่งตั้งข้าราชการผู้ใดดำรงตำแหน่งนั้น ผบช.จะสั่งให้ข้าราชการที่เห็นสมควร

รักษาราชการในตำแหน่งดังกล่าวเป็นการชั่วคราวก็ได้

รักษาราชการแทน ใช้ในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ผบช. จะสั่งให้ข้าราชการที่เห็นสมควร รักษาราชการแทนเป็นการชั่วคราวก็ได้

ทำการแทน ในกรณี ทำการแทนโดยการได้รับมอบหมาย

- หน.ส่วนราชการ หรือ หน.นขต.ทบ. ที่เทียบเท่าตำแหน่งชั้นแม่ทัพ จะมอบหมายให้ ข้าราชการตำแหน่งใดในสังกัดมีอำนาจหน้าที่ทำการแทน หน.หน่วยนั้น ๆ ในบางกรณีก็ได้

- ผู้ดำรงตำแหน่ง รอง, ผู้ช่วย, เสธนาธิการ, รองเสนาธิการ หรือผู้ช่วยเสนาธิการ ของส่วนราชการหน่วยใดมีอำนาจทำการแทนในนาม ผบช. ส่วนราชการนั้น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ทำการแทน ในกรณี ตำแหน่งว่าง หรือดำรงตำแหน่งในส่วนราชการหรือหน่วยใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว และยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดรักษาราชการ ให้ รอง, ผู้ช่วย, เสนาธิการ ทำการแทนเป็นการชั่วคราวการจัดลำดับหัวเรื่อง ให้เรียงลำดับศักดิ์หัวเรื่องสูงไปต่ำ

- ภาค (Part)

- บท (Chapter)

- ตอน (Section)

- ข้อ (Paragraph)

-

การจัดลำดับตัวเรื่อง และรายละเอียดประกอบตัวเรื่อง

- ตัวเรื่อง

- ผนวก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความตัวเรื่อง ให้เรียกขานด้วยพยัญชนะไทย ตามลำดับ 26 ตัว)

- อนุผนวก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความผนวก ให้เรียกขานด้วยตัวเลข)

- ใบแทรก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความอนุผนวก ให้เรียกขานด้วยพยัญชนะไทย ตามลำดับ 26 ตัว)

- ใบแนบ (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความใบแทรก ให้เรียกขานด้วยตัวเลข)

การรายงาน มี 9 ประเภท

การรายงานด่วน เหตุที่จะต้องรายงานด่วน มี 8 ประเภท

- เรื่องความประพฤติของทหาร ในทางเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

- ทหารถึงแก่ความตายเนื่องจากทำลายชีวิตตนเอง

- เกิดโจรภัย การก่อวินาศกรรมในบริเวณสถานที่ของทหาร

- ทหารทะเลาะวิวาทกันเอง จนถึงใช้อาวุธ

- มีโรคระบาดใกล้หน่วยที่ตั้งทหาร

- เกิดอุบัติเหตุแก่ทหารจนถึงความตาย

- เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง

- เหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบในกรมกองทหาร

การรายงานตนเองเมื่อย้ายตำแหน่ง

- ผู้ที่กำลังศึกษา ให้ศึกษาจบก่อนแล้วจึงเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่

- การรับส่งหน้าที่ให้ดำเนินการภายใน 7 วัน นับจากวันรับทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาในการรับส่งหน้าที่ ผบ.มว. 2 วัน ผบ.ร้อย 3 วัน

ผบ.พัน. 4 วัน จทน.ฝกง. และ จนท.คลัง 15 วัน

การรายงานตนเองเมื่อต้องคดี

นายทหารสัญญาบัตรทุกประเภทเมื่อต้องคดีอาญา (เว้นคดีที่ขึ้นศาลทหาร) คดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย ให้รายงานตามลำดับชั้นถึง รมว.กห โดยเร็ว

สอบ รายงานการลงทัณฑ์ ถ้าผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงทัณฑ์นายทหารสัญญาบัตร ต้องส่งรายงานการลงทัณฑ์ต้องเสนอตามลำดับชั้นถึง รมว.กห

การรายงานการถึงแก่กรรม

นายทหารสัญญาบัตร รายงานถึง รมว.กห.

นายทหารประทวน รายงานถึง ผบ.พล.หรือเทียบเท่า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องยศ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดินเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายถึง สิ่งของหรือของประดับเกียรติยศของประเทศที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงไว้ซึ่งพระราช อำนาจที่จะบัญญัติหรือสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติเครื่องอิสริยาภรณ์ หมายถึง สิ่งของหรือของประดับเกียรติยศของประเทศที่มีประมุขของประเทศที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ได้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แบ่งเป็น 6 ชั้น

1. เสนางคบดี (ส.ร.)

2. มหาโยธิน (ม.ร.)

3. โยธิน (ย.ร.)

4. อัศวิน (อ.ร.)

5. เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)

6. เหรียญรามมาลา (ร.ม.)

เกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราช

- ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันที่เริ่มรับราชการ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน 60 วัน ขอพระราชทานฯ ได้ปีเว้นปี

- ยศ ร.ต. ให้พิจารณาตามระดับเงินเดือน และห้ามขอพระราชทานในระยะปีติดกัน

- การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นสายสะพายให้ขอพระราชทานได้เมื่อได้รับ ท.ช. ครบ 3 ปีบริบูรณ์แล้ว ถ้าเป็นนายทหารต้องเป็นนายทหารชั้น พ.อ.พิเศษ อัตราเงินเดือน น.5 ชั้น 7 ขึ้นไป

- วุฒิสมาชิก หรือปฏิบัติราชการการเมือง ขอพระราชทานได้ทุกปีโดยไม่ต้องคำนึงถึง 3 ปีบริบูรณ์

- เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.) พระราชทานแก่ผู้ที่มียศทหาร ต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์

- เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์

- ผู้มีสิทธิ์ขอทั้ง 2 อย่าง ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

- การขอพระราชทานตามปกติ เสนอบัญชีสรุปยอดการขอพระราชทานส่ง สบ.ทบ.เพื่อตรวจและจัดทำบัญชีขอพระราชทานเสนอ สนง.ปลัด กห.

- การขอพระราชทานในกรณีพิเศษ เสนอบัญชีสรุปยอดการขอพระราชทานส่ง กพ.ทบ.เพื่อตรวจและจัดทำบัญชีขอพระราชทานเสนอ สนง.ปลัด กห.

การเรียกคืนและการส่งคืน เครื่องราชฯ มี 3 กรณี ให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 15 วัน

1. การส่งคืนตาม พ.ร.บ. เครื่องราชฯ นั้น ๆ

- เมื่อผู้ได้รับถึงแก่กรรมทุกชั้นยศ ให้เรียกคืนเฉพาะตระกูลช้างเผือก และมงกุฎไทยเท่านั้น

- เมื่อได้รับเครื่องราชฯ ตระกูลเดียวกันชั้นสูงขึ้น ต้องส่งคืนของเดิมที่ได้รับ

2. กรณีโปรดเกล้าให้เรียกคืน

- กระทำความผิดถึงต้องจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือกระทำโดยประมาท

- เป็นคนล้มละลายเพราะกระทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริต

- หนีคดี

- ถูกถอดยศ

- ถูกปลดออกจากราชการ

การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ตามชั้นยศ

- ส.ต. เหรียญเงินมงกุฎไทย ร.ง.ม.

- ส.ท. เหรียญเงินช้างเผือก ร.ง.ช.

- ส.อ. เหรียญทองมงกุฎไทย ร.ท.ม.

- จ.ส.ต. - จ.ส.อ.พิเศษ เหรียญทองช้างเผือก ร.ท.ช.

- สอบ ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 1 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บ.ม.

- ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 2 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช.

- ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 3 ขึ้นไป – ร.ท. จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย จ.ม.

- ร.อ. จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช.

- พ.ต. ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ต.ม.

- พ.ท. ตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช.

- พ.อ. ทวีตริยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.

- พ.อ.พิเศษ ทวีตริยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ห้ามประดับเครื่องราชฯ นพรัตนราชวราภรณ์ไปในงานที่ไม่นิยมว่าเป็นมงคล เช่น งานศพ

- แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไม่สวมสายสะพาย และสายสร้อย

- แต่งเครื่องแบบปกติ ไม่ต้องประดับเครื่องราชฯ ยกเว้นมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ

- แต่งเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชฯ จำลอง ขนาด 1 ใน 3 ของของจริง ยกเว้นดวงตราชนิดคล้องคอจำลองไม่ได้ หากจะประดับให้ใช้ของจริง (ไม่เกิน 3 เหรียญ)

หลักการสังคม

ความต้องการของมนุษย์ แยกได้เป็น 7 ประเภท

1. ความต้องการทางสุขภาพ

2. ความต้องการทางเพศ

3. ความต้องการการศึกษา

4. ความต้องการทางเศรษฐกิจ

5. ความต้องการสิ่งประดิษฐ์กรรม

6. ความต้องการจัดระเบียบ

7. ความต้องการสันติสุข

การสมาคม (Society) คือ การคบหาวิสาสะของบุคคลซึ่งกระทำกันไม่ว่ากรณีใด ๆ

สังคมวิทยา (Sociology) คือ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของมวลมนุษย์และสังคมวิทยา

จรรยามารยาท คือ การที่บุคคลได้แสดงออกทางนิสัยใจคอด้วยความสุภาพเรียบร้อยทั้งกายและวาจา

หลักสำคัญในการแสดงออก มี 4 ประการ

1. กิริยามารยาทสุภาพอ่อนโยน

2. มีความสุภาพเรียบร้อย

3. มีไหวพริบ

4. มีอารมณ์ดี หรือมีอารมณ์ขัน

ส่วนประกอบการพูดที่สุภาพชัดถ้อยชัดคำ มี 6 ประการ

1. วิธีการสนทนา

2. เรื่องที่จะสนทนา เรื่องศาสนาและการเมืองไม่ควรสนทนา

3. น้ำเสียงในการสนทนา

4. เวลาและสถานที่ในการสนทนา

5. ข้อระมัดระวังในการสนทนา

6. การยุติการสนทนา

การแสดงการเคารพ

ความมุ่งหมาย

- แสดงถึงความรู้จักกัน

- แสดงถึงความเคารพนับถือกัน

- แสดงถึงประเพณี เช่น การเคารพธงชาติ ศาสนา กษัตริย์

- แสดงถึงคตินิยม เพื่อแสดงธรรมจรรยาแห่งหมู่คณะ สมาคม

ลักษณะการแสดงการเคารพ มี 6 วิธี

- การกราบ - การไหว้

- การโค้งคำนับ - การเปิดหมวก

- การจับมือ - การลุกยืน

สโมสรทหาร โดยปกติ ผบ.หน่วยราชการนั้นจะกระทำหน้าที่นายกของสโมสร รอง ผบ.หน่วย เป็นอุปนายก และเจ้าหน้าที่การเงินเป็นเหรัญญิก

มีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ คือ

1. เพื่อเชื่อมความสามัคคีในระหว่างสมาชิกในหน่วย

2. เพื่อบำรุงความรู้

3. ส่งเสริมการกีฬาและการบันเทิง

4. การเกื้อกูลแก่การครองชีพต่าง ๆ

ประวัติกองทัพไทย

- การจัดและการปกครองทหารสมัยน่านเจ้าแบ่งทหารออกเป็น 4 แผนก คือ ยุ้งฉาง ทหารบก ทหารม้า อาวุธยุทธภัณฑ์

- สมัยสุโขทัย มีการสร้างกำแพงเมือง 3 ชั้น คูน้ำ 2 ชั้น พร้อมด้วยป้อมประจำประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน มีเส้นทางเชื่อมราชธานีกับหัวเมืองชั้นกลาง เรียกว่า ถนนพระร่วง ยาว 250 กม.

- สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ในยามปกติแบ่งหน้าที่ราชการส่วนกลางออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร และพลเรือน

- สมัยอยุธยา มีการแบ่งเหล่าทหารออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุรงคเสนา ได้แก่ พลเท้า พลม้า พลช้าง พลช่าง

- ได้มีการค้นคิด “ตำราพิชัยสงคราม” ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2061

- สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ โปรดให้ทำการสัก (ยันต์) พวกไพร่และทาสทุกคนที่ข้อมือ เพื่อให้ทราบชื่อผู้เป็นนายและเมืองที่สังกัด

- ร.3 โปรดฯ ให้จัดหน่วยทหารราบและทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยทหารประจำการ

- สภาป้องกันพระราชอาณาจักร จัดตั้งในสมัย ร.6

- สงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพบกส่งกองทหารอาสาสมัคร ประกอบด้วย กองยานยนต์ กองบิน และกองพยาบาล

- กองทัพบกมีหน้าที่ 2 ประการ คือ การเตรียมกำลังกองทัพบกตั้งแต่ยามปกติและการป้องกันราชอาณาจักรเมื่อมีสถานการณ์

- โครงสร้างกำลัง กองทัพบกจัดหน่วยงานโดยแบ่งตามภาระหน้าที่ออกเป็น 7 ส่วน คือ บัญชาการรบ กำลังรบ สนับสนุนการรบ ส่งกำลังบำรุง ภูมิภาค การศึกษา และช่วยพัฒนาประเทศ

ระเบียบการเงิน “ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการเงิน พ.ศ.2528 (ขกง.)”

เงิน หมายความว่า เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เอกสารการเงินซึ่งมีมูลค่าเป็นเงิน เช่น เช็ค ดราฟต์ ธนาณัติ

เงินในงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะต้องนำส่งคลังตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เช่น เงินภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าขายของราชการเลิกใช้ ฯลฯ กับหมายถึงเงินงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย เช่น เงินเดือน, เบี้ยเลี้ยง, ค่าเล่าเรียนบุตร, ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ

เงินนอกงบประมาณ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท

เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 1 คือ เงินที่ส่วนราชการได้รับ หรือต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น เงินทดลองราชการ, เงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน, เงินบำรุงประเภทที่ 1, เงินรายรับของสถานพยาบาล หรือสถานศึกษา หรือสถานอำนวยบริการสาธารณประโยชน์ที่เป็นของทางราชการ และเงินมัดจำซอง, เงินประกันสัญญา ฯลฯ

เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 2 คือ เงินที่ส่วนราชการได้รับ หรือต้องรับผิดชอบโดยที่ส่วนราชการนั้น ออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือคำชี้แจงไว้ให้ถือเป็นทางปฏิบัติ เช่น เงินยืมประจำส่วนราชการ, เงินบำรุงประเภทที่ 2, เงินสโมสรทหาร, เงินออมทรัพย์ข้าราชการ, เงินฌาปนกิจ, เงินทุนสวัสดิการ, เงินเหลือจากการประกอบเลี้ยง ฯลฯ

เงินบำรุง แบ่งเป็น 2 ประเภท

- ประเภทที่ 1 คือ เงินที่มีผู้บริจาค หรือมอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้น

- ประเภทที่ 2 คือ เงินที่มีผู้บริจาค หรือมอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกรณีที่เกี่ยวกับ การสวัสดิการของข้าราชการ

เงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน คือ เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 1 หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน ซึ่งจำเป็นต้องนำเงินจำนวนนั้นไปจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สิน

นายทหารการเงิน ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรเหล่าทหารการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการเงิน ควบคุมการเบิกจ่าย, รับจ่าย, การเก็บรักษา และการบัญชี

เจ้าหน้าที่รับจ่าย ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ซึ่งได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่รับจ่ายเงินเป็นครั้งคราว

เสมียนการเงิน ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ทำหน้าที่ตาม ผบช. กำหนด

พยานประจำวัน ข้าราชการสัญญาบัตร ทำหน้าที่ตรวจสอบจำนวนเงินที่นำออก และนำเข้าเก็บในกำปั่นเก็บเงินทุกครั้ง

ผู้ป้องกันอันตราย ข้าราชการสัญญาบัตร ทำหน้าที่ควบคุมการไปรับจ่ายเงินนอกบริเวณสำนักงานการเงิน เพื่อรักษาความปลอดภัย จัดเมื่อเงินที่จะไปรับหรือจ่ายเป็นเงินสด หรือเช็คที่มิได้ขีดคร่อม มีจำนวนเกินกว่า 30,000 บาทขึ้นไปการจัดเจ้าหน้าที่เฝ้ารักษากำปั่นเงิน และที่เก็บกำปั่นเงิน ถ้าเงินที่เก็บรักษาอยู่จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท ไม่รวมเช็คขีดคร่อม จะไม่จัดเจ้าหน้าที่ฯ ก็ได้

จะทำการเปิดกำปั่นเก็บเงินได้ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้

- ผู้รักษาการณ์หรือข้าราชการสัญญาบัตรที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ถือลูกกุญแจประตูที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน

- ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่ได้รับมอบหมายให้ถือกุญแจแทน

- หัวหน้านายทหารการเงิน

- พยานประจำวัน

การเก็บรักษาเงินนอกงบประมาณไว้ในที่เก็บเงินของส่วนราชการ สำหรับ ทบ.กำหนดให้หน่วยเปิดบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการที่มีเงินนอกงบประมาณไว้ในที่เก็บเงินของหน่วยให้เพียงพอที่จะใช้จ่ายหมุนเวียนภายในหน่วยได้ไม่เกิน 50,000 บาท

การตรวจเงิน และบัญชี มี 3 ประเภท

- การตรวจเงินประจำเดือน โดย สตช.ทบ.

- การตรวจเงินประจำปี โดย สตช.ทบ.

- การตรวจเงินพิเศษ เป็นการตรวจของกรมการเงินกลาโหม หรือ ผบ.สูงสุด จะแต่งตั้งกรรมการขึ้นทำการตรวจเงิน และบัญชี

เงินเดือน หมายถึง เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ของ กห. จำแนกเป็น

- อัตราเงินเดือนนายทหารสัญญาบัตร

- อัตราเงินเดือนนายทหารประทวน

- อัตราเงินเดือนพลทหารกองประจำการ (พลอาสาสมัคร) และพลทหารกองประจำการ

เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา (เงิน พ.) ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

เงินเพิ่มสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ปัจจุบัน กอ.รมน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

เงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

- ครูการบิน และนักบินลองเครื่อง

- นักบินประจำกอง หรือสำรอง

- ศิษย์การบินชั้นมัธยม และประถม

- ผู้ทำการบนอากาศยานเป็นประจำ, ต้นหน, ตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ผู้ตรวจการณ์ เจ้าหน้าที่วิทยุ ช่างอากาศ

- นักโดดร่มประจำกอง และสำรอง

- นักเรือดำน้ำประจำกอง และสำรอง

- นักทำลายใต้น้ำประจำกอง และสำรอง

- นักประดาน้ำประจำกอง และสำรอง

- ผู้ปฏิบัติงานในห้องปรับอากาศ

- ผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ

เบี้ยกันดาร เป็นเงินที่จ่ายให้ข้าราชการเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่กันดาร

ท้องที่กันดาร หมายถึง ท้องที่ซึ่งกระทรวงการคลังร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณากำหนด แล้วเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

หลักเกณฑ์การพิจารณาท้องที่กันดาร ให้ถือหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้

- มีทางคมนาคมไม่สะดวก

- ไม่มีรถยนต์หรือเรือยนต์โดยสารไปมาได้ตลอดปี

- มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม

เงินเพิ่มพิเศษค่าภาษามาลายู (พภม.) จ่ายให้ผู้มีหน้าที่ประจำอยู่ที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (พ.ข.ต.) ผู้มีสิทธิได้แก่ ข้าราชการ ภริยา หรือสามี และบุตรซึ่งติดตามไปด้วย

การจ่ายเงินเดือนกรณีต่าง ๆ

บรรจุใหม่ จ่ายตั้งแต่วันเริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่เลื่อนชั้นเงินเดือน จ่ายตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งขาดหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ขาดหรือหนีราชการพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ ให้จ่ายถึงวันสิ้นปีงบประมาณ

ระหว่างถูกควบคุม หรือพักราชการ

- มิได้กระทำความผิด และไม่มีมลทินมัวหมอง ให้จ่ายเงินที่งดจ่ายเต็มจำนวน

- มิได้กระทำความผิด แต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือพิพากษาว่ามีความผิด แต่รอลงอาญา ให้จ่ายเงินที่งดจ่ายไม่เกินครึ่งหนึ่ง แต่ค่าเช่าจ่ายเต็ม

- กระทำความผิด พิพากษาลงโทษจำคุก หรือหนักกว่า หรือถูกสั่งไล่ออก หรือถูกถอดยศ ห้ามมิให้จ่ายเงินที่งดไว้

การถอนเงินส่วนตัวทหารฝากตามอัตราที่ทางราชการกำหนด

- ปลด หรือลาพักการปลด

- ชดใช้ของหลวงที่ชำรุดหรือสูญหาย

- ตาย

เบี้ยเลี้ยงทหาร

นายสิบ พลทหาร และนักเรียนนายสิบ

เบี้ยเลี้ยงประจำ 44 บ.

เบี้ยเลี้ยงไปราชการแรมคืน, ป้องกันปราบปรามนอกที่ตั้ง 55 บ.

นชท.และ นนส. 50 บ.

นนร. และ นศท.ขณะออกฝึกภาคสนาม 62 บ.

ค่าอาหารผู้เจ็บป่วย 44 บ.

เงินค่าประกอบเลี้ยงหักจากเบี้ยเลี้ยงประจำ 29 บ. หรือ 30 บ.

เงินสวัสดิการช่วยเหลือบุตร ให้เบิกได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 – 3 คนละ 50 บ.(เกิด 1 เม.ย.35 เป็นต้นไป ไม่มีสิทธิเบิกเงินฯ )

บุตรที่จะนำมาเบิกได้จะต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่รวมถึง

- บุตรบุญธรรม

- บุตรมิได้อยู่ในอำนาจปกครองของตน

- บุตรซึ่งมีอายุเกิน 17 ปีบริบูรณ์ หรือระหว่าง 17-18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

- บุตรซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งประจำอยู่ในต่างประเทศ

หลักฐานที่ใช้ในการเบิก

- สูติบัตร

- สำเนาทะเบียนบ้าน

- ใบสำคัญสมรส หรือหลักฐานการรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาล

- กรณีขาดการสมรส ให้ใช้ใบมรณะบัตร ใบสำคัญการหย่า หรือคำพิพากษาของศาล

เงินค่ารักษาพยาบาล

ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล (ให้เบิกภายใน 1 ปีนับจากวันปรากฏหลักฐานการรับเงิน) ได้แก่

- ค่ายา ค่าเลือด ค่าส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าน้ำยา หรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจนอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม

- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์ แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ

- ค่าห้อง ค่าอาหาร

ผู้มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล

- ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ยกเว้นข้าราชการ และพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างศึกษาอบรมก่อนเข้ารับราชการ

- ลูกจ้างชาวต่างชาติ ซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง และสัญญานั้นได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้

- ผู้ได้รับบำนาญปกติ ผู้ได้รับบำนาญพิเศษ ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด

- บุคคลในครอบครัว ของบุคคลข้างต้น

- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ได้เฉพาะบุตรคนที่ 1-3 เท่านั้น

- คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

- บิดามารดา

ผู้เข้ารับรักษาในสถานพยาบาลของทางราชการทั้งผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาฯ ได้เต็มจำนวน ยกเว้น

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

- ค่าห้อง ค่าอาหาร รวมกันไม่เกิน วันละ 600 บ.

ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ให้เบิกได้เฉพาะผู้ป่วยใน โดยให้เบิกดังนี้

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

- ค่าห้อง ค่าอาหาร รวมกันไม่เกิน วันละ 600 บ.

- ค่ารักษาพยาบาล ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป แต่จะต้องไม่เกิน 3,000 บ.สำหรับระยะเวลาภายใน 30 วัน

- ในกรณีรักษาพยาบาลเกิน 30 วัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินวันละ 100 บ.

สถานพยาบาลของเอกชน

- สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกิน 25 เตียง

- ถ้าไม่มีในข้อแรก ให้หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกิน 10 เตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งก่อน 1 ม.ค.29

- ถ้าไม่มีใน 2 ข้อ ให้หมายถึงสถานพยาบาลที่สามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนกี่เตียงก็ได้ แต่ได้รับอนุญาตให้ตั้งก่อน 1 ม.ค.29

- กรณีอุบัติเหตุหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาในทันทีอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมาสถานพยาบาล

เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ให้เบิกภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเปิดภาคเรียน

เงินบำรุงการศึกษา หมายถึง เงินที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาฯ หรือส่วนราชการเจ้าสังกัด

เงินค่าเล่าเรียน หมายถึง ค่าธรรมเนียมการเรียน หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวง ศึกษาฯ หรือทบวงมหาวิทยาลัย

บุตร หมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คนที่ 1-3 อายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 1 พ.ค.ของทุกปี แต่ไม่รวมบุตรบุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ใดแล้ว

ผู้มิสิทธิ

- ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ ยกเว้นข้าราชการการเมือง

- ผู้รับบำนาญปกติ ผู้รับบำนาญพิเศษ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด

หลักเกณฑ์

- สถานศึกษาของทางราชการ ในหลักสูตรไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกจากหลักสูตรปริญญาตรีเบิกได้เต็มจำนวน

- สถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรไม่สูงกว่า ม.ปลาย หรือเทียบเท่า เบิกได้เต็มจำนวน

- สถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรสูงกว่า ม.ปลาย แต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกจากหลักสูตรปริญญาตรี เบิกได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร แบ่งเป็น 3 กรณี

- การเดินทางไปราชการชั่วคราว

- การเดินทางไปราชการประจำ

- การเดินทางกลับภูมิลำเนา

อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

ประเภท ก.

- ไปราชการต่างจังหวัดกับจังหวัดที่เป็นที่ตั้งปกติ

- ไปราชการในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดเดียวกัน

- ไปราชการในเขตอำเภอที่กระทรวงการคลังกำหนด

ประเภท ข.

- ไปราชการต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน

- ไปราชการในเขตอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานปกติ

- ไปราชการใน กทม. ซึ่งเป็นที่สำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ

การนับเวลาเดินทาง

- นับเวลา 24 ชม.เป็น 1 วัน

- ถ้าไม่ถึง 24 ชม.หรือเกิน 24 ชม.ถ้าส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินนั้น ถ้าเกิน 12 ชม.ให้นับเป็น 1 วัน

ระยะเวลาในการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

- ไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน

- กรณีมีความจำเป็นต้องเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกิน 120 วัน จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด

การเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราเกินกว่าสิทธิ

- ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขาฯ กับ ผบช. ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 9 หรือ พ.อ.พิเศษ อัตราเงินเดือนระดับ 2 ขึ้นไป

- ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่องครักษ์ หรือผู้อารักขาอย่างใกล้ชิด ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ

หลักการพิจารณาพาหนะประจำทาง

- เป็นพาหนะที่บริการแก่บุคคลทั่วไป

- เป็นพาหนะที่มีเส้นทางที่กำหนดไว้แน่นอน

- เป็นพาหนะที่มีอัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้แน่นอน

ผบ.พล หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการโดยมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายชดเชยได้

การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน

- ผู้เดินทางต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 6 หรือ รับเงินเดือนระดับ พ.ท.ขึ้นไป

- กรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว เบิกได้เฉพาะ

- เดินทางไปราชการประจำ

- เดนทางกลับภูมิลำเนาเดิม

ผู้เดินทางไปราชการประจำ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้

- เบี้ยเลี้ยงเดินทาง

- ค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง และครอบครัว

- ค่าพาหนะสำหรับตนเอง และครอบครัว

- ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว (เหมาจ่าย)

- ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น

บุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำ

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดา ของผู้เดินทางและคู่สมรส

- ผู้ติดตาม

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 6 หรือรับเงินเดือน พ.ท.ลงมา มีผู้ติดตามได้ 1 คน

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 7 หรือรับเงินเดือน พ.อ.ขึ้นไป มีผู้ติดตามได้ 2 คน

อัตราค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะในการเดินทางไปราชการประจำบุคคลในครอบครัวต่อไปนี้ เบิกค่าเช่าที่พัก และพาหนะได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดาของผู้เดินทาง และคู่สมรส

ผู้ติดตามให้เบิกเท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด

การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม (ต้องกระทำภายใน 180 วันนับแต่วันที่ออกจากราชการ)

- ออกจากราชการ

- ถูกสั่งพักราชการ

- ตาย

ผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้

- ค่าเช่าที่พัก

- ค่าพาหนะ

- ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว

บุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดา ของผู้เดินทางและคู่สมรส

- ผู้ติดตาม

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 6 หรือรับเงินเดือน พ.ท.ลงมา มีผู้ติดตามได้ 1 คน

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 7 หรือรับเงินเดือน พ.อ.ขึ้นไป มีผู้ติดตามได้ 2 คน

อัตราค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะในการเดินทางกลับภูมิลำเนา

บุคคลในครอบครัวต่อไปนี้ เบิกค่าเช่าที่พัก และพาหนะได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดาของผู้เดินทาง และคู่สมรส

ผู้ติดตามให้เบิกเท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในประเทศ

ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข.

นายสิบ 120 72

ร.ต. – พ.อ.พิเศษ อันดับ 1 180 108

พ.อ.พิเศษ อันดับ 2 ขึ้นไป 240 144

อัตราค่าเช่าโรงแรมในประเทศ

นายสิบ 800

ร.ต. – พ.อ.พิเศษ อันดับ 1 1,200

พ.อ.พิเศษ อันดับ 2 ขึ้นไป 2,200

การจับกุมทหารกระทำความผิดอาญา

- ทหารมิได้สวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญาทุกกรณี ภายนอกเขตที่ตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับได้ แต่ให้ทำการจับกุมโดยละม่อม

- ทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญาฐานลหุโทษ หรือกฎหมายอื่นอันมีโทษปรับสถานเดียว ให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงให้ผู้กระทำความผิดไปสถานีตำรวจโดยดี หากไม่ยอมไปให้จด ยศ ชื่อ เครื่องหมาย และสังกัด ไปแจ้งให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการติดต่อ ผบช.ทหารให้ดำเนินการต่อไป

- นายทหารสัญญาบัตรมิได้สวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญา ภายนอกเขตที่ตั้งให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิด

- ทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญานอกจากที่กล่าวมา นอกเขตที่ตั้ง ไม่ว่าจะกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือพยายามจะกระทำผิด หรือสงสัยว่าจะกระทำความผิด หรือมีผู้บอกให้จับ หรือมีหมายจับ ถ้ามี สห. อยู่ก็บอกให้ สห. เป็นผูจับกุม แต่ถ้าไม่มี สห. ก็ให้เจ้าหน้าที่จับกุมได้โดยบอกให้ทหารไปที่ทำการพนักงานสอบสวนโดยดี “ห้ามใส่กุญแจมือ” หรือผูกมัดจำจองแต่อย่างใด หากขัดขืนไม่ยอมจึงให้จับกุมตัวไป

การควบคุมตัวทหารกระทำความผิดอาญา

- ถ้ามิได้สวมเครื่องแบบ นำตัวเข้าห้องควบคุมได้ ถ้ามีห้องควบคุมที่มิดชิดก็ให้ใช้ห้องที่มิดชิด

- ถ้าสวมเครื่องแบบ ห้ามมิให้เอาตัวเข้าห้องควบคุม เว้นแต่แสดงกริยาอาละวาด หรือพยายามหลบหนี และห้ามบังคับให้ถอดเครื่องแบบ

- นายทหารสัญญาบัตร มิได้สวมเครื่องแบบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับทหารสวมเครื่องแบบ

การแจ้งเหตุทหารกระทำความผิด

- ทบ. ผบ.มทบ.11 ณ ที่ทำการหรือบ้านพัก หรือ พัน.สห. 1 มทบ.11

- ทร. กองพันสารวัตร กรมนาวิกโยธิน (กทม.)

- ทอ. บก.ทอ. หรือกองพันสารวัตร ทอ.

การรับตัว

- ให้ จนท.ฝ่ายทหารนำหนังสือสำคัญรับตัวทหาร (แบบ 1) ของ ผบช. ชั้น ผบ.พัน. ขึ้นไปมาแสดง

- คดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้นายทหารสัญญาบัตรมารับตัว นอกนั้นให้นายทหารประทวนมารับก็ได้

การมอบตัว

- ให้ จนท. ตำรวจ ทำหนังสือมอบตัว (แบบ 2) จำนวน 2 ฉบับ ลงชื่อผู้มอบและผู้รับทั้ง 2 ฉบับ ติดสำนวนการสอบสวนมอบให้ฝ่ายทหารไป 1 ฉบับพร้อมมอบตัวทหารไป

นายทหารสัญญาบัตรประจำการต้องหาในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ สามารถประกันตัวเองได้

การตรวจค้น

- ทหารสวมเครื่องแบบ ถ้ามี สห. อยู่ให้ สห.เป็นผู้ตรวจค้น

- สถานที่ตรวจค้นให้หาที่ที่เหมาะสมเท่าที่จะหาได้

- ทหารมิได้สวมเครื่องแบบ ให้ทำการตรวจค้นเหมือนบุคคลธรรมดา

- นายทหารสัญญาบัตร การตรวจค้นต้องมีเหตุผลสมควรยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา

- รถสงคราม เครื่องบิน หรือเรือกลและเรือยนต์ซึ่งชักธงราชนาวีขณะปฏิบัติหน้าที่ จะทำการตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจาก ผบช. ยานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้น ผบ.พล ขึ้นไป

- การตรวจค้นที่รโหฐานของทหารที่ไม่ใช่สถานที่ราชการ ให้ จนท.ทำการตรวจค้นได้ แต่ให้กระทำต่อเมื่อมีเหตุอันสมควร และให้กระทำโดยละมุนละม่อม

- การตรวจค้นภายในที่ตั้งเขตทหาร หรือสถานที่ราชการ ให้ อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีฯ ผู้บัญชาการตำรวจ ผู้บังคับการตำรวจ อธิบดีกรมมหาดไทย รองอธิบดีฯ ผู้ว่าราชการภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว ทำการตกลงกับ ปลัด กห. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.มทบ. หรือ ผบช. ซึ่งเป็น หน.หน่วยนั้น ๆ ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้น ผู้บังคับการกรมขึ้นไป

คณะกรรมการสอบสวนทหารกับตำรวจมีกรณีวิวาทกัน

- ผบช.ทหารที่เป็นคู่กรณี หรือผู้แทน

- ผบช.ตำรวจที่เป็นคู่กรณี หรือผู้แทน

- พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เกิดเหตุ

ใน กทม.ให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการฝ่ายตำรวจ ในจังหวัดอื่นให้ ผู้ว่าฯ เป็นผู้แต่งตั้ง ฝ่ายทหารให้ทหารตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผบ.พัน. เป็นผู้แต่งตั้ง ให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกดเหตุเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498

ศาลทหาร ให้อยู่ในสังกัด กห. มี 3 ชั้น

- ศาลทหารชั้นต้น

- ศาลจังหวัดทหาร

- ศาลมณฑลทหาร

- ศาลทหารกรุงเทพ

- ศาลประจำหน่วยทหาร

- ศาลทหารกลาง

- ศาลทหารสูงสุด

ทุก จทบ.ให้มีศาลจังหวัดทหาร 1 ศาล เว้นจังหวัดที่ตั้ง บก.มทบ. และทุก มทบ.ให้มี ศาลมณฑลทหาร 1 ศาล ยกเว้น มทบ.ที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

- คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดด้วยกัน

- คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

- คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน

- คดีที่ศาลทหารว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ศาลทหารในเวลาปกติ

บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

- นายทหารสัญญาบัตรประจำการ

- นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

- นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ และบุคคล ที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

- นักเรียนทหารตามที่ กห.กำหนด

- ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่ง จนท.ฝ่ายทหารได้รับตัว เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร

- พลเรือนที่สังกัดในราชการทหาร เมื่อกระทำความผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำความผิดอย่างอื่นเฉพาะในบริเวณ ที่ตั้งหน่วยทหาร หรือพาหนะในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหาร

- บุคคลซึ่งต้องขังอยู่ในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย

- เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหาร

ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศชั้นสัญญาบัตรมีตุลาการ 3 นาย ผบ.จทบ.เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลมณฑลทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศชั้นนายพลหรือเทียบเท่ามีตุลาการ 3 นาย ผบ.มทบ.เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลทหารกรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย และไม่จำกัดพื้นที่มีตุลาการ 3 นาย รมว.กห. เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลทหารกลาง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้นมีตุลาการ 5 นาย ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นนายพล 1 หรือ 2 นาย

- นายทหารชั้นนายพัน 1 หรือ 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย

ศาลทหารสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารกลางมีตุลการ 5 นาย ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นนายพล 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก “ห้ามอุธรณ์”

พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476

วินัยทหาร คือ การที่ทหารต้องประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร มี 9 ข้อ

1. ดื้อดึง ขัดขืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน

2. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย

3. ไม่รักษามารยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร

4. ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร

5. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ

6. กล่าวคำเท็จ

7. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร

8. ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ

9. เสพเครื่องดองของเมาจนเสียกริยา

ทัณฑ์ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดต่อวินัยทหาร มี 5 สถาน

1. ภาคทัณฑ์ คือ ทำทัณฑ์บน

2. ทัณฑกรรม คือ ให้ทำการสุขา การโยธา

3. กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้

4. ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียว

5. จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหาร

นายทหารสัญญาบัตรถูกลงทัณฑ์ ต้องส่งรายงานการลงทัณฑ์นั้นเสนอตามลำดับชั้นจนถึง รมว.กห.

ถ้าผู้มีอำนาจลงทัณฑ์มิได้จัดการที่จะให้ผู้นั้นได้รับทัณฑ์ภายในกำหนด 3 เดือน จะสั่งลงทัณฑ์โดยอำนาจตนเองมิได้

สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี

โอนเงินแล้วแจ้งที่ lookmoo_00@hotmail.com


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้