ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิชาการพาณิชย์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิชาการพาณิชย์

แนวข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจการค้า  ชุด 1

 

1. ข้อใดเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดทำการผลิตโดยได้รับกำไรสูงสุด

ก.       ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ข.       ความมีประสิทธิภาพทางการผลิต

ค.       การใช้ทรัพยากรเต็มที่เพื่อการผลิต

ง.       ความเท่าเทียบกันในการกระจายรายได้

2.       เหตุใดเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อบุคคลในชีวิตประจำวัน

ก.       เป็นรากฐานในการประกอบอาชีพ

ข.       ให้รู้ปริมาณความต้องการของตลาดสินค้า

ค.       ป้องกันปัญหาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง

ง.       รู้จักพิจารณาเลือกใช้ทรัพยากรได้ถูกต้องเหมาะสม

3.       ข้อใดเป็นทรัพยากรของหน่วยครัวเรือนที่ทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่ดี

.  ทรัพยากรป่าไม้                              .  ทรัพยากรมนุษย์

.  ทรัพยากรพลังงาน                        .  ทรัพยากรธรรมชาติ

4.       เชอรี่ตกลงเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่บริษัทแห่งหนึ่งมาถ่ายทำภาพยนต์ที่บ้านพักตากอากาศของตนเป็นเวลาหลายวัน  เชอรี่ควรได้ผลตอบแทนตามข้อใด

ก.       ค่าเช่าจากการใช้สถานที่

ข.       ค่าจ้างจากการใช้บริเวณบ้าน

ค.       กำไรจากการลงทุนตกแต่งบ้าน

ง.       ค่าชดเชยจากค่าเสื่อสภาพของทรัพย์สิน

5.       ธงชัยขอกู้เงินจากจิตรา โดยมีสัญญากู้เงินถูกต้องตามกฏหมาย  จิตราควรได้ผลประโยชน์ตาม

       ข้อใด

.  กำไร                 .  ดอกเบี้ย

.  สิ่งของค้ำประกัน           .  เงินลงทุนระยะยาว

 

6.       คุณธรรมข้อใดที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการควรคำนึงถึงมากที่สุด

ก.       ความซื่อสัตย์  ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

ข.       รักษาสิ่งแวดล้อม  พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้า

ค.       ความตรงต่อเวลา  ความทันสมัยของผลผลิต

ง.       ให้สวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่ลูกจ้าง  รักษาความสะอาดสถานที่

7.       ข้อความใดแสดงถึงการเป็นผู้บริโภคที่ดีและมีส่วนช่วยเหลือประเทศชาติ

ก.       ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย

ข.       ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งมีคุณภาพดีเลิศแม้ราคาสูง

ค.       ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาถูกและคุณภาพพอใช้ได้

ง.       ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย  ตรงใจผู้ใช้และได้คุณภาพมาตรฐาน

8.       คุณลักษณะของผู้บริโภคที่ดีมีลักษณะอย่างไร

ก.       รู้จักการบริหารเงิน  โดยศึกษาข้อมูลการใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ

ข.       รู้จักการนำเงินออมไปลงทุน  เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคต

ค.       รู้จักการใช้จ่ายอย่างฉลาด  โดยการประหยัดมัธยัสถ์และหมั่นเก็บออมทรัพย์

ง.       รู้จักการวางแผนการใช้จ่ายเงิน  เข้าใจหน้าที่ของตนเอง  และการปรับตัวกับสภาพเศรษฐกิจ

9.       ท่านควรเลือกซื้อเครื่องแต่งกายตามเหตุผลข้อใด

ก.       อายุและฐานะในสังคม

ข.       รสนิยมและรายได้ของครอบครัว

ค.       ราคาและคุณภาพของเครื่องแต่งกาย

ง.       ความจำเป็นและความพร้อมของครอบครัว

10.    ข้อใดแสดงการปฏิบัติตนเป็นผู้บริโภคที่ดีมากที่สุด

ก.       จิตรา  ซื้อสินค้านำสมัยในร้านค้าที่เชื่อถือได้

ข.       จงรักษ์  วางแผนก่อนซื้อสินค้า  และจดบันทึกรายรับ  รายจ่ายเป็นประจำ

ค.       ใจกล้า  เดินสำรวจสินค้าทุกตลาดก่อนตัดสินใจซื้อ  และต่อรองราคาทุกครั้ง

ง.       จริงจัง  ทำอาหารจำนวนมากเห็บไว้ในตู้เย็น  เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

11.  การแลกเปลี่ยนมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

.  ทำให้สินค้ามีราคาสูง                                    .  สนองความต้องการของมนุษย์

.  การระบายสินค้าที่มีปริมาณมาก .  เกิดการหมุนเวียนของงานบริการ

 

 

12.   เงินมีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการยกเว้นข้อใด

ก.       ความสะดวกในการซื้อขาย

ข.       ความสะดวกในการวัดมูลค่า

ค.       ความสะดวกในการสะสมทรัพย์สิน

ง.       ความสะดวกในการเก็บรักษาขณะเดินทาง

13.    ข้อใดเป็นเหตุผลที่สำคัญน้อยที่สุดในการใช้บัตรเครดิตแทนการใช้เงินสดในการซื้อขายและแลกเปลี่ยน

.  ความปลอดภัย                                .  การประหยัดเวลา

.  ความสวยงามทันสมัย                    .  ความสะดวกในการพกพา

14.    ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าควยคุมการจัดสรรทรัพยากรและการดำหนดราคาหรือผลตอบแทนของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด

.  ทุนนิยม                                            .  เสรีนิยม

.  แบบผสม                                         .  แบบสังคมนิยม

15.    ข้อใดเป็นระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

ก.       การจัดสรรทรัพยากรระหว่างรัฐและเอกชนอย่างละเท่า ๆ กัน

ข.       รัฐเป็นผู้วางแผนปัจจัยการผลิตและการทำงานของกลไกราคา

ค.       เอกชนมีสิทธิดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยอิสระทุกประการ

ง.       รัฐควบคุมกิจกรราทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพและสาธารณูปโภค  เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจ

16.    ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง    ระดับราคาต่าง ๆ ที่ตลาดกำหนด  หมายถึงข้อใด

.  อุปสงค์                             .  อุปทาน

.  ราคาสินค้า                      .  การผลิตสินค้า

17.    หากราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพและปรากฏว่ามีผู้เสนอขายสินค้าปริมาณน้อยกว่าผู้ซื้อต้องการแสดงว่าสินค้านั้นอยุ่ในภาวะใด

.  สินค้าล้นตลาด                               .  สินค้าขาดตลาด

.  สินค้าควบคุมราคา                         .  สินค้าอยู่ในปริมาณดุลยภาพ

18.    ในช่วงเทศกาลสงกรานต์  ดอกมะลิจะมีราคาสูงกว่าปกติเนื่องจากสาเหตุข้อใด

.  ความต้องการสินค้าสูง                  .  เป็นสินค้าเอกลัษณ์ไทย

.  ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลง                         .  สินค้ามีคุณภาพดีในฤดูร้อน

 

19.    การดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงปัญหาตามข้อใด

ก.       ตัดสินใจผลิตสินค้าอะไรผลิตที่ไหน  เพื่อใคร

ข.       กลุ่มลูกค้าเพื่อใคร  เริ่มผลิตเมื่อใด  และได้รับประโยชน์เท่าใด

ค.       จัดสรรทรัพยากรในการผลิตอะไร  ผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อใคร

ง.       เลือกกรรมวิธีการผลิตอย่างไร  ปริมาณมากน้อยเท่าใด  และผลิตสถานที่ใด

20.    สบู่อาบน้ำเพิ่งวางจำหน่ายแม้ว่าราคสสูงแต่ยอดขายก็สูงมากเพราะมีซินดี้เป็นนางแบบ  ข้อความนี้มีปัจจัยสำคัญใดที่ส่งเสริมการบริโภค

.  ราคาสินค้า                      .  การโฆษณา

.  คุณภาพสินค้า .  ผลิตภัณฑ์ใหม่ทันสมัย

21.    สหกรณ์มีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจ

ก.       เกิดการหมุนเวียนเกี่ยวกับสินเชื่อ

ข.       ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้ประชาชนมีฐานะดีขึ้น

ค.       ขยายสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดต่างประเทศเป็นเอกลัษณ์ไทย

ง.       แก้ปัญหาการวางงานในชนบทลดความแออัดประชากรเมือง

22.    ข้อใดแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยของสหกรณ์

ก.       เคารพสมาชิกผู้อาวุโส

ข.       สมาชิกทุกคนออกเสียงได้หนึ่งเสียงเท่ากัน

ค.       สมาชิกผู้มีหุ้นมากจะมีสิทธิออกเสียงได้มาก

ง.       สมาชิกผู้ถือหุ้นก่อนจะมีสิทธิออกเสียงได้ก่อน

23.    การดำเนินงานสหกรณ์ในสถานศึกษาควรคำนึงถึงข้อใด

ก.       ระดมทุนให้ได้มากที่สุด

ข.       สร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกระดับชั้น

ค.       สมาชิกมีความเป็นประชาธิปไตย  ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

ง.       จัดกิจกรรมแบบวัยรุ่นสนองตอบความสนใจของสมาชิก

24.    หน่วยงานใดทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์ธนบัตรไทย

.  ธนาคารออมสิน                             .  ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

.  ธนาคารแห่งประเทศไทย            .  ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

25.    ณัฐวุฒิต้องการกู้ยืมเงินเพื่อปลูกบ้านโดยมีที่ดินเป็ฯหลักทรัพย์ค้ำประกัน  เขาควรติดต่อหน่วยงานทางการเงินในข้อใด

ก.       ธนาคารออมสิน

ข.       ธนาคารแห่งประเทศไทย

ค.       ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ง.       ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

26.    หน่วยงานใดทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์ธนบัตรไทย

.  ธนาคารออมสิน                             .  ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

.  ธนาคารแห่งประเทศไทย            .  ธนาคารอาคารสงเคราะห์

27. ข้อใดเป็นเป้าหมายท้ายสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ก.       การเพิ่มมูลค่าสินค้า

ข.       การเพิ่มขึ้นของสินค้า

ค.       การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ง.       การมีงานทำของคนในประเทศเพิ่มขึ้น

28.  ประเทศที่ต้องการความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควรให้ความสำคัญปัจจัยข้อใดมากที่สุด

.  จำนวนประชากร                           .  เครื่องมือเครื่องจักร

.  ทรัพยากรธรรมชาติ                       .  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

29.    ปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดคือข้อใด

ก.       ทรัพยากรมนุษย์และทุน           

ข.       ปริมาณเงินลงทุนและแหล่งน้ำมันเชื้อเพลิง

ค.       ทรัพยากรธรรมชาติและประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น

ง.       ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและขนาดของโรงงาน

30.    นโยบายหรือมาตรฐานทางเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวในอัตราสูงขึ้นคือข้อใด

ก.       ส่งเสริมการออม  การลงทุน  และการผลิตเพื่อส่งออก

ข.       ส่งเสริมการออม  การเพิ่มของประชากรและผลผลิตภาคเกษตรกรรม

ค.       การสะสมทุน  เร่งผลผลิตทางอุตสาหกรรมและเก็บภาษีขาเข้าเพิ่มขึ้น

ง.       ส่งเสริมการบริโภคสินค้าในประเทศและค้นหาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการพาณิชย์ ทุกหน่วยงาน  ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 

ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ) :
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่สอบ
2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจการค้า

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 บิ๊กซีขอนแก่น
decho pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
nokzaa ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
นิชา ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
นิชา ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณค่ะ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
เขตการค้าเสรี (Free trade area, FTA)
เขตการค้าเสรี หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุนด้วย
เขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบัน คือ NAFTA และ AFTA และขณะนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในระหว่างการเจรจาทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2548 รูปแบบเขตการค้าเสรีแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
1.   สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึกและกว้างกว่าเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA ) เพราะมีลักษณะที่เป็นตลาดร่วม (Single Market) ซึ่งไม่มีกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพศุลกากรเก็บภาษีศุลกากรอัตราเดียวกัน (Common Level) กับทุกประเทศนอกกลุ่ม สหภาพศุลกากรจึงทำให้ประเทศในกลุ่มมีสภาพเป็นเสมือนประเทศเดียวกันหรือตลาดเดียวกัน สหภาพศุลกากรที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป (European Union) (กำลังจะขยายสมาชิกภาพโดยรับประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศเข้าร่วมด้วย) และ MERCOSUR
2.   พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership: CEP) หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการพัฒนารูปแบบไปจากที่เคยมีมา โดยมีกรอบความร่วมมือที่กว้างขวางกว่าเขตการค้าเสรี อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับ CEP หรือขอบเขตของ CEP อาจจะแตกต่างไป โดยทั่วไป CEP (หรือศัพท์อื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน) ครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้า สินค้า บริการและการลงทุน และแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
o   CEP ที่มีเขตการค้าเสรี เป็นหัวใจสำคัญ และรวมไปถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การประสานนโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นต้น ดังกรณี CEP ระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และความร่วมมือที่อาเซียนกำลังจะเจรจากับจีน ในกรณีดังกล่าวนี้ CEP จึงเป็นกรอบความร่วมมือทั้งในเชิงลึกและกว้างกว่าเขตการค้าเสรี โดยปกติ
o   CEP ที่ไม่มีการทำเขตการค้าเสรี แต่อาจมีการลดภาษีศุลกากร (ไม่ใช่การลดถึงขั้นต่ำสุด หรือเป็น 0 ดังเช่นกรณี FTA) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าด้วย รวมทั้งมีการร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น CEP ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามทั้ง FTA และ Custom Union ต่างก็เป็นกระบวนการในการผนึกความร่วมมือ และหรือการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) และเป็นปัจจัยเร่งการเปิดเสรีที่ก้าวไปเร็วกว่าการเปิดเสรีตามข้อผูกพันของ WTO รวมทั้งเป็นการเตรียมการเปิดเสรีตามเป้าหมายภายใต้ปฏิญญาโบกอร์ของ APEC ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีอย่างเต็มที่ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และ ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
ในที่นี้ การใช้คำว่า "เขตการค้าเสรี" นั้น หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษในลักษณะที่เป็นการกล่าวอย่างกว้าง ๆ คลุมไปทั้ง FTA, Customs Union และ CEP ส่วนการใช้คำว่า FTA หรือCustom Union หรือCEPนั้น หมายถึง ความร่วมมือในรูปแบบนั้น ๆ เป็นกรณี ๆ ไป
อย่างไรก็ดี เขตการค้าเสรีนั้น ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากในระดับหนึ่ง และหากต้องการให้ได้ผลจริงจัง ก็จะต้องพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการหลบหนีภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากประเทศนอกกลุ่มจะพยายามส่งสินค้าเข้าทางประเทศที่ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่มีภาษีต่ำไปสู่ประเทศในเขตการค้าที่มีภาษีสูง ยกตัวอย่างโดยสมมติว่าประเทศไทยมีเขตการค้าเสรีกับประเทศมาเลเซีย แต่ประเทศไทยเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้าสิ่งทอเพียง 10 % ในขณะที่มาเลเซียเก็บภาษีสินค้าเดียวกันในอัตรา 30 % พ่อค้าจีนก็จะพยายามนำเข้าสิ่งทอทางประเทศไทยเพื่อเสียภาษีเพียง 10 % แล้วนำไปแปรรูปเล็กน้อย เช่น บรรจุห่อใหม่เพื่อแปลงสภาพให้เป็นสินค้าประเทศไทยแล้ว นำไปขายในประเทศมาเลเซียอันจะทำให้เขาเลี่ยงภาษีได้ 20% กล่าวคือ เขตการค้าเสรีจะต้องใช้ทรัพยากรของภาครัฐเป็นจำนวนมาก เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่รัดกุม ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือ การแปลงภาษีศุลกากรของประเทศในเขตการค้าเสรีให้เท่ากันทั้งหมด หรือแปลงให้เป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็วนั่นเอง
เป้าหมายของเขตการค้าเสรี
เขตการค้าเสรีสะท้อนแนวคิดสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า "ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อประเทศต่างๆ ผลิตสินค้าที่ตนมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วนำสินค้าเหล่านั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน" ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ประโยชน์สูงสุดดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากยังมีการเก็บภาษีขาเข้าและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ซึ่งส่งผลบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้า และทำให้การค้าขายไม่เป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ
พร้อมกันนี้ FTA ถือเป็นเครื่องมือทางการค้าสำคัญที่ประเทศต่างๆ สามารถใช้เพื่อขยายโอกาสในการค้า สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้แก่สินค้าของตน เนื่องจากสินค้าที่ผลิตใน FTA จะถูกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก FTA จึงทำให้สินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มได้ เปรียบในด้านราคากว่าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม แนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรี
การจัดทำเขตการค้าเสรีที่ดีควรมีรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1.   ทำให้กรอบกว้าง (Comprehensive) เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win) การเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกสาขา ทั้งการเปิดเสรีทางการค้า (สินค้าและบริการ) การลงทุน และการขยายความร่วมมือทั้งในสาขาที่ร่วมมือกันตลอดจนประสานแนวนโยบายและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นการทำข้อผูกพันเพิ่มเติมจากข้อผูกพันที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วในฐานะสมาชิก WTO จึงเป็นข้อผูกพันใน WTO (WTO plus)
2.   ทำให้สอดคล้องกับกฎ WTO โดยที่ WTO กำหนดเงื่อนไขให้มีการเปิดเสรีโดยคลุมการค้าสินค้า/บริการ ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทำเขตการค้าเสรีอย่างมากพอ (Substantial) และสร้างความโปร่งใสโดยแจ้งต่อ WTO ก่อนและหลังการทำความตกลงตั้งเขตการค้าเสรี รวมทั้งเปิดให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบความตกลง
3.   แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทนกัน (Reciprocity) ในกรณีที่ คู่เจรจาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลานานกว่าในการปรับตัวหรือทำข้อผูกพันในระดับที่ต่ำกว่า
4.   กำหนดกลไกและมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการใช้มาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน เช่น การเก็บภาษี การต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (CVD) และมาตรการคุ้มกัน (Safeguards) ซึ่งใช้กฎเกณฑ์ของ WTO เป็นพื้นฐาน แต่ปรับปรุงให้ตรงตามความประสงค์ของประเทศที่ร่วมเจรจา หรือบางกรณีอาจมีการตกลงที่จะระงับการใช้มาตรการ AD,CVD ระหว่างกัน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
สร้างเมื่อ 23-06-2007 โดย Benzcup

          องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) เมื่อปี พ.ศ. 2490  ซึ่งขณะนั้น ยังไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยสิ้นสุดลง และผลการเจรจาส่วนหนึ่งคือ การก่อตั้ง WTO ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ และมีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
          ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2538 เป็นสมาชิกลำดับที่ 59 มีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง ขณะนี้ มีประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ที่สำคัญ เช่น รัสเซีย เวียดนาม ลาว มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก WTO ด้วยกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของการค้าโลก และการขยายตัวของจำนวนสมาชิกจะมีผลให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบัน (ณ เดือนมกราคม 2549) WTO มีสมาชิกอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 149 ประเทศ สมาชิกล่าสุดประกอบด้วย เนปาล กัมพูชา และซาอุดิอารเบีย นอกจากนี้ ตองกา ได้เสร็จสิ้นกระบวนการเข้าสมัครเป็นสมาชิก WTO  แล้ว แต่ยังรอการภาคยานุวัติก่อนการเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 อย่างเป็นทางการ
วัตถุประสงค์ WTO

          WTO มีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ตามความพร้อมของประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก กฎกติกาต่างๆ ของ WTO ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment: S&D) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคีได้ WTO จึงเป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเจรจาเพื่อพัฒนาและสร้างกฎกติกาใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

          การเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณี (Rights and Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของ WTO นอกจากช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้ง ผู้ค้าและผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้

หน้าที่ของ WTO
          1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO รวม 28 ฉบับ โดยผ่านคณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการ (Committee) ต่างๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
          2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
          3. เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีกลไกยุติข้อพิพาทด้วย
          4. ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและจัดให้มีการทบทวนนโยบาย การค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในแนวทางการค้าเสรี
          5. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ
          6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
ความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO

ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. การเปิดตลาด

1.1 การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง)
          - ประเทศต่างๆ ลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 33 ภายใน 5 ปี (เริ่มมกราคม พ.ศ. 2538)
          - ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ หากไม่มีการเก็บอยู่แล้ว และไม่ได้แจ้งไว้

1.2 สินค้าเกษตร  
          - ทุกประเทศยกเลิกมาตรการการห้ามนำเข้า โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน
          - ลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 36 และ 24 โดยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 และ 10 ในแต่ละรายการสินค้าภายใน 5 ปี และ   10 ปี สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาตามลำดับ
          - ลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร ทั้งการอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก

1.3 สิ่งทอและเสื้อผ้า
            ให้มีการเปิดเสรีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแทนการใช้ข้อตกลงสินค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ (Multi-Fibre Arrangement: MFA) โดย
          - ให้ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าภายใต้ MFA ทั้งหมดภายใน 10 ปี
          - ให้ขยายโควตานำเข้ารายการที่ยังไม่ได้นำกลับเข้ามาอยู่ในแกตต์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538
  
2. กฎระเบียบการค้า

            มีการปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ เช่น

          - ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อนุญาตให้ประเทศสมาชิกกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า แต่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรฐานตามใจชอบ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้า

          - ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดให้รัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เป็นการลดโอกาสที่อาจมีประเทศผู้นำเข้าใช้มาตรการตอบโต้เพื่อกีดกันการค้าอย่างไม่เป็นธรรม

          - ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน  กำหนดประเภทของการอุดหนุนไว้อย่างชัดเจนว่าการอุดหนุนประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม ประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ทำได้และประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่เมื่อทำแล้วอาจถูกมาตรการตอบโต้ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนเพื่อการตอบโต้สินค้าเข้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อให้แต่ละประเทศถือปฏิบัติ
3. เรื่องใหม่ ๆ
  
          มีการจัดทำข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการในเรื่องที่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ของแกตต์กำกับมาก่อนหรือหากมีก็น้อยมาก ได้แก่

          - ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) กำหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทที่สำคัญ ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์การออกแบบ วงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และความลับทางการค้า

          - การค้าบริการ  กำหนดกรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ โดยมีหลักการสำคัญในทำนองเดียวกับแกตต์ เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความโปร่งใส การเปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นต้น

          - มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs)   กำหนดหลักการสำคัญคือ ทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเท่ากับการกีดกันการนำเข้าโดยประเทศพัฒนาแล้วต้องยกเลิกใน 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาใน 5 ปี มาตรการเหล่านั้น ได้แก่ มาตรการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า local content requirement ไม่ว่าข้อกำหนดนี้จะเป็นข้อบังคับหรือเป็นเงื่อนไขต่อการที่ผู้ผลิตภายในจะได้รับสิทธิพิเศษใดๆ ก็ตาม เช่น สิทธิในข้อยกเว้นไม่เสียภาษีตามนโยบายส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
โครงสร้างของ WTO

          องค์กรของ WTO ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายตลอดจนควบคุมการดำเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) คณะมนตรีใหญ่ (General Council) คณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการต่างๆ (Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของสมาชิก WTO โดยมีฝ่ายเลขานุการช่วยด้านการบริหารงานทั่วไป

          WTO กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เพื่อทบทวนปัญหาในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของสมาชิก และวางแนวทางในการเปิดเสรีภายใต้ WTO ต่อไป

          การประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 – 13 ธันวาคม 2539 ณ ประเทศสิงคโปร์ (SMC)  รัฐมนตรีมีมติให้ WTO ศึกษาประเด็นทางการค้าใหม่ๆ (new issues) ได้แก่ การค้ากับการลงทุน  การค้ากับนโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมทั้งตกลงเปิดเสรีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหลือศูนย์ภายในปี 2543 – 2548 (สำหรับประเทศกำลังพัฒนา)

          การประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 – 20 พฤษภาคม 2541 ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์    (GMC) รัฐมนตรีตกลงที่จะไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรจากการค้าผ่านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า ปฏิญญาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  
          การประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2542 ณ นครซีแอตเติล   สหรัฐอเมริกา ประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้เปิดการเจรจารอบใหม่ที่รวมเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่  การค้ากับการลงทุน นโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ การค้ากับสิ่งแวดล้อม แรงงาน แต่การประชุมล้มเหลว โดยสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้
  
          การประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 5 – 13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์  ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้เปิดเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยเน้นความสำคัญเรื่องการพัฒนา เรียกชื่อว่า Doha Development Agenda (การเจรจารอบโดฮา) และกำหนดให้การเจรจาสิ้นสุด ณ วันที่ 1 มกราคม 2548  (โดยมีข้อยกเว้นสำหรับการเจรจาเกี่ยวกับการปรับปรุง Dispute Settlement Understanding (DSU)  กำหนดให้สิ้นสุดภายในสิ้นภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2546)  นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบเอกสารสุดท้ายที่สำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ (1) แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) (2) ข้อตัดสินใจเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี (Decision on Implementation-Related Issues and Concerns) และ (3) แถลงการณ์เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและบริการสาธารณสุข (Declaration on the TRIPS Agreement and Public Health)

          การประชุมครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 10 – 14 กันยายน 2546 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ที่ประชุมหาข้อสรุปไม่ได้ โดยการเจรจาเรื่องเกษตรเป็นประเด็นใหญ่ที่สุด/มีการเจรจาอย่างเข้มข้นตลอดช่วงการประชุม แต่การที่สมาชิกตกลงกันไม่ได้ในประเด็นเรื่อง Singapore Issues ว่า จะให้เริ่มการเจรจาและรวมอยู่ในการเจรจารอบโดฮานี้หรือไม่ (Single undertaking) กลับเป็นประเด็นที่เป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการประชุมครั้งนี้

          การประชุมครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 13 – 18 ธันวาคม 2548 ที่ประชุมสามารถให้การรับรองโดยฉันทามติต่อร่าง Ministerial Declaration  ที่ยืนยันเจตนารมณ์ของสมาชิกที่จะเจรจารอบโดฮาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายภายในปี 2549 และกำหนดกรอบ / รูปแบบการเจรจารอบโดฮาที่กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลผูกพันให้สมาชิกเปิดตลาด ลดภาษีศุลกากรนำเข้า/มาตรฐานการกีดกันการค้า และลดการอุดหนุนภาครัฐสำหรับการค้าเกษตรการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (NAMA) การค้าบริการ การช่วยเหลือประเทศผู้ผลิตฝ้ายที่ยากจนและได้รับความเดือดร้อนจากการอุดหนุนของประเทศที่พัฒนาแล้ว การให้การปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่าง (S&D) กับประเทศกำลังพัฒนา ทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) การค้าและสิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกการค้า กฏเกณฑ์ทางการค้า การปรับปรุงกระบวนการระงับข้อพิพาท ความช่วยเหลือทางวิชาการ Aid for Trade เป็นต้น
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ความรอบรู้ทั่วไปและเหตุการณ์ปัจจุบัน (นักวิชาการพาณิชย์)
1.   นครดูใบอยู่ในประเทศใด::: (สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ เมืองหลวงชื่ออบูดาบี)
2.   นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนปัจจุบัน::: (นายเดวิด คาเมรอน หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมมีพรรคเสรีประชาธิปไตยเข้าร่วมเป็นรัฐบาล)
3.   ประเทศยุโรปที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกมากที่สุด ::: (อิตาลี 4 ครั้ง)
4.   ฟุตบอลโลกครั้งต่อไปจัดที่ใด::: (บราซิล ปี 2557 /2014)
5.   ประเทศกลุ่มเซป (CEP) ในอเมริกาใต้มีประเทศใด::: (ชิลี  เอกวาดอร์ และเปรู)
6.   กีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไปจัดที่ ::: (อังกฤษ ปี 2555/2012)
7.   ยูเนสโกประเทศให้อดีตเมืองหลวงของลาวแห่งใดเป็นมรดกโลก::: (หลวงพระบาง)
8.   ประเทศที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดในโลก ::: (จีน)
9.   ประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก::: (ไทย)
10.   ประเทศที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดในกลุ่มอาเซียน::: (เวียดนาม)
11.   เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน::: (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมว.ต่างประเทศไทย)
12.   เอกสารก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเรียกว่า::: (ASEAN Declaration) หรือ  Bangkok Declaration)
13.   ประเทศที่มีเกาะมากที่สุด (อินโดนีเซีย 17,508 เกาะ/ฟิลิปปินส์ 7,107 เกาะ)
14.   นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสังกัดพรรค::: (นายนาโอโตะ คัง พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น : DPJ)
15.   "เงินยูโร" เป็นของใคร::: (สหภาพยุโรป)
16.   ประเทศในเอเชียตั้งธนาคารแห่งใดเป็นธนาคารกลาง::: (ธนาคารแห่งเอเชียหรือเอดีบี)
17.   พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคของสหรัฐ คือพรรคอะไร::: (เดโมแครตและริพับลิกัน)
18.   ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐมาจากพรรคใด ::: (เดโมแครต/นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44)
19.   สำนักงานใหญ่อาเซียนอยู่ที่::: (กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย)
20.   สมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ::: (10 ประเทศ  กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกหลังสุด)
21.   ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่กำลังจะได้เป็นสมาชิก WTO ::: (ลาว)
22.   คนไทยที่เคยเป็นผู้อำนวยการ WTO คือ::: (นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
23.   ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก UN  ปีใด::: (1946 หรือ 2489 เป็นลำดับที่ 54)
24.   ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อใด::: (28/12/2537 ลำดับที่ 59)
25.   ประเทศสมาชิกก่อตั้ง UN ในปีแรก (2488) มีกี่ประเทศ::: (51 ประเทศ)
26.   ประเทศสมาชิก UN มีกี่ประเทศ::: (192/สมาชิกล่าสุด Montenegro  2006)
27.   ประเทศสมาชิก WTO มีกี่ประเทศ::: (153 /ล่าสุด Ukraine 16 May 2008)
28.   คนไทยที่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) :::  (นายศุภชัย พานิชภักดิ์)
29.   คนไทยที่ได้รับเลือกเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Human Rights Council) ::: (นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ
ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
30.   รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2009::: (ประธานาธิบดีโอบาม่า จากผลงานที่ "ได้พยายามอย่างเด่นชัดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการทูตระหว่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างประชาชน" โดยคณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลเน้นถึงความพยายามของนายโอบาม่าในการเข้าสู่โลกของชาวมุสลิมและความพยายามที่จะลดการผลิตนิวเคลียร์ที่กำลังแพร่ขยายไปทุกมุมของโลก)
31.   อันดับโลกผลิตทองคำมากที่สุด 3 ลำดับแรก::: (แอฟริกาใต้ รัสเซีย และออสเตรเลีย)
32.   คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่นับถือนิกายใด (ซุนนี)
หมายเหตุ  นิกายต่างๆ ของศาสนาอิสลามมีดังนี้
๑) นิกายซุนนีหรือซุนนะห์ เคร่งครัดการปฏิบัติตาม คัมภีร์อัล-กุรอาน และซุนนะห์เท่านั้น และยอมรับผู้นำ 4 คนแรก ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดท่านศาสดา มุสลิมส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยนับถือนิกายนี้
๒) นิกายชีอะห์ ชีอะห์ แปลว่า พรรคพวก หมายถึง พรรคพวกท่านอาลีนั่นเอง นิกายนี้ถือว่าท่านอาลี บุตรเขยของศาสดามูฮัมมัดคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้ที่ถูกต้อง ผู้ถือนิกายนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอิหร่าน อิรัก เยเมน อินเดีย และประเทศในทวีปแอฟริกาด้านตะวันออก
๓) นิกายคอวาริจญ์ ถือว่าผู้จะเป็นคอลีฟะห์นั้น ต้องมาจากการเลือกตั้งเสรี นิกายนี้มีผู้นับถือมากในแอลจีเรีย โอมาน คาบสมุทรอาระเบียตอนใต้
๔) นิกายวาฮาบี ตั้งขึ้นกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถือว่า พระคัมภีร์อัล-กุรอานศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่ยอมรับการตีความ ในเรื่องศาสนาของผู้ใดเคารพพระอัลลอฮ์องค์เดียว ไม่นับถือใครอื่น ไม่เชื่อว่าท่านศาสดามูฮัมมัด เป็นผู้แทนพระอัลลอฮ์ ไม่มีการฉลองวันประสูติของท่านศาสดา ห้ามของฟุ่มเฟือยทุกชนิด นิกายนี้เป็นกลุ่มเล็กๆ มีอยู่บ้างในอินเดีย และแอฟริกาตะวันออก
33.   อินโดจีนหมายถึงประเทศใด::: (กัมพูชา ลาว เวียดนาม)
34.   กลุ่มประเทศเขตการค้าเสรีอาเซียนมีชื่อย่อว่าอะไร::: (อาฟต้า AFTA)
35.   ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของโลกคือประเทศใด::: (จีน)
36.   ผู้อำนวยการองค์การค้าโลกคนปัจจุบัน ::: (นายปาสคัล เรมี่ Pascal Lamy ชาวฝรั่งเศส)
37.   เลขาธิการสหประชาชาติคนแรก ::: (นายทริก เวลี Tryg velie)
38.   เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน ::: (นายบัน คี มูน Bun Ki Moon ชาวเกาหลีใต้)
39.   แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศใด ::: (ผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม)
40.   ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ::: (สหรัฐ อันดับ 2 ญี่ปุ่น อันดับ 3 จีน)  
41.   เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า ::: (เนย์ปิดอร์)
42.   ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ::: (จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว)  
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้