ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบกรมประมง นักวิชาการประมง 2555
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบกรมประมง นักวิชาการประมง 2555

1.บอกข้อดี และข้อเสียของการเลี้ยงปลานิลในกระชัง



ตอบ   การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้
หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้
นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ
ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม
การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น
ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้
นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึงปริมาณและที่ตั้งของกระชัง
ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวทำให้สิ้นเปลืองในการลงทุน





2.การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ประมง



 สภาพที่มีน้ำนองขึ้นมาบนผิวดินเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสัญจร
การอยู่อาศัย หรือ ทำให้พื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติเมื่อเกิดน้ำท่วมขังขื้นในพื้นที่ก็แสดงว่าน้ำฝนไม่สามารถระบายออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที
เราสามารถป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้โดยการออกแบบสภาพทางกายภาพ


ให้เอื้ออำนวยต่อการระบายน้ำดีออกจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะประเด็นหลักอยู่
2 ประการคือ การวางระบบระบายน้ำผิวดิน
และการขุดบ่อพักน้ำ


       1.
การวางระบบระบายน้ำผิวดิน


พื้นผิว (surface) ของที่ว่างภายนอกอาคารมีผลอย่างมากต่อการระบายน้ำฝน
ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะแบ่งออกเป็น
2 แบบ คือ Hardscape
เช่นพวกพื้นที่ทำด้วยคอนกรีต, ถนนและ Softscape
เช่นพวกที่ปูหญ้า ลานดิน สำหรับงาน Hardscape นั้น
เมื่อน้ำฝนตกกระทบจะไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้เลย เพราะฉะนั้นจะต้องมีการคิดคำนวนความลาดเอียงของพื้นเพื่อที่จะให้น้ำไหลไปในทิศทางที่ต้องการ
และ จะต้องมีรางระบายน้ำเป็นตัวรวมน้ำจากพื้นผิวอีกที ส่วนสำหรับงาน
Softscape
นั้นน้ำส่วนหนึ่งจะสามารถซึมลงดินไปได้
เพราะฉะนั้นการดักน้ำจะใช้ทั้งระบบเดียวกับ
Hardscape หรือสำหรับสนามกีฬามาตรฐาน
ก็สามารถเพิ่มการดักน้ำใต้ดินได้ด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น


       



2. การขุดบ่อพักน้ำ

ในบางกรณีการระบายน้ำลงสู่ลำลางสาธารณะไม่สามารถเป็นไปได้ทันท่วงที
การขุดบ่อพักน้ำไว้รองรับน้ำภายในพื้นที่ก่อนที่ปล่อยออกสู่สาธารณะก็จะช่วยไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่ได้โครงการหลวงที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภูมิสถาปัตยกรรมในข้อนี้ก็มีจำพวกเขื่อน
และโครงการที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือ
"โครงการแก้มลิง"โครงการแก้มลิงมีขึ้นเพื่อที่จะขจัดปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล เนื่องจากเป็นที่ๆโดยธรรมชาติแล้วเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมได้ง่ายอยู่แล้ว
และยิ่งปัจจุบันที่การพัฒนาไปเป็นเมืองมีมาก พื้นที่
  Hardscapeมีมากขึ้นทำให้น้ำไม่สามารถซึมลงดินได้เลยยิ่งทำให้น้ำท่วมได้ง่ายขึ้นเมื่อฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนนั้นน้ำฝนจะไม่สามารถระบายลงทะเลได้ทำให้น้ำท่วมในหลวงท่านจึงมีพระราชดำริให้ใช้คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออกเป็นตัวรับน้ำไว้ก่อนที่จะระบายน้ำลงสู่ทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงหลักการของโครงการแก้มลิงจะคล้ายคลึงกับการขุดบ่อพักน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมของทางภูมิสถาปัตยกรรมแต่เป็นงานในระดับภูมิภาคตัวแก้มลิงก็ทำหน้าที่เหมือนบ่อพักน้ำนั่นเอง



 



3.ท่านจะส่งเสริมการประมงอะไรในพื้นที่บนดอยที่มีน้ำน้อย



ตอบ 
หน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ โครงการหลวง(โครงการประมง) มีการดำเนินงานด้านวิจัยปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ
เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรชาวไทยภูเขา ดังนี้



ปลาเรนโบว์ เทราต์ (Rainbow trout) เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในลำธารตามธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ
ปลาเรนโบว์ เทราต์ มีรสชาติดี อีกทั้งยังเป็นปลาที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
(
Omega 3) สูง ซึ่งสารนี้จะสามารถลดปริมาณคลอเรสเทอรอลในเส้นเลือด
และประจุอิสระในกระแสโลหิต จึงทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป



ปัจจุบันหน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์สามารถเพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์
เทราต์เพื่อเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ปีละ
18-20 ตัน ผลผลิตมีจำหน่ายตลอดทั้งปี



กุ้งก้ามแดง (Redclaw crayfish) Crayfish เป็นสัตว์น้ำจืดไม่มีกระดูกสันหลังในตระกูลกุ้ง,
ปู (crustaceans) เป็นกุ้งที่มีรสชาติอร่อยคล้ายเนื้อปู
พบในเขตหนาว เช่น ในทวีปอเมริกาเหนือ
, อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย
และนิวกินี



กุ้งก้ามแดง (Redclaw crayfish) ของโครงการหลวงที่ได้ทดลองเลี้ยงที่ดอยอินทนนท์เป็นชนิดขนาดกลาง
มีชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax
quadricarinatus
เป็นสายพันธุ์มาจากประเทศออสเตรเลีย



ปัจจุบันหน่วยวิจัยประมงน้ำจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเก่อญอ)
ที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาวิถีชีวิตการปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนของชาวเขาไว้ควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพ


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการประมง กรมประมง  ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

ประกอบด้วย 170 หน้า
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมประมง
- แนวข้อสอบเก่านักวิชาการประมง _อัตานัย
เอกสารเตรียมสอบนักวิชาการประมง
- แนวข้อสอบนักวิชาการประมง (เฉลยอธิบาย)
- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการประมง
- การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำให้ทนทานต่อโรค พันธุศาสตร์คุณภาพ
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่
lookmoo_00@hotmail.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ดดด
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

การรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ตาม ISO/IEC Guide 65


ISO/IEC Guide 65 คืออะไร

                ISO/IEC Guide 65 คือข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการด้านตรวจสอบและรับรอง (ISO Committee on Conformity Assessment; CASCO) ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)  ภายใต้คณะกรรมการสากลด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission; IEC) โดยได้มีการประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1996 และได้ประกาศเป็นมาตรฐาน มอก. 5065-2540 ของไทย เมื่อปี พ.ศ.2540

ข้อกำหนดของ ISO/IEC Guide 65

                ข้อ1. ขอบข่าย

                ข้อ2. เอกสารอ้างอิง

                ข้อ3. บทนิยาม

                ข้อ4. หน่วยรับรอง

                ข้อ5. บุคลากรของหน่วยรับรอง

                ข้อ6. การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการรับรอง

                ข้อ7. การอุทธรณ์ การร้องเรียน และการโต้แย้ง

                ข้อ8. การยื่นขอรับการรับรอง

                ข้อ9. การเตรียมการประเมิน

                ข้อ10. การประเมิน

                ข้อ11. รายงานการประเมิน

                ข้อ12. การตัดสินการรับรอง

                ข้อ13. การตรวจติดตามผล

                ข้อ14. การใช้การรับรอง/การอนุญาต ใบรับรอง และเครื่องหมายรับรอง/อนุญาต

                ข้อ15. ข้อร้องเรียนต่อองค์กร

 ขอบข่ายที่ให้การรับรอง

                ขอบข่ายที่จะเปิดให้การรับรอง มี  4  ขอบข่าย ได้แก่

มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) พ.ศ. 2553
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลปลานิล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลานิล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) พ.ศ. 2553
มาตรฐานโค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีการผลิตตามมาตรฐานโค้ด ออฟ คอนดัค (CoC)
มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (มกษ.7401-2552) ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

 


GAP คืออะไร และ สำคัญอย่างไร
 
 

การปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (Good Aquaculture Practice) 
        มาตรฐาน การปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (GAP สำหรับสัตว์น้ำ) เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานและหลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)        ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้ถูกประกาศไว้ใน ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อให้กระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงของผู้ประกอบการประมงเป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังนั้นกรมประมงจึงได้ประกาศกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงขึ้น

       ดังนั้นสินค้าทางการเกษตรที่ผ่านการรับรองว่า  ได้รับมาตรฐาน GAP  ก็เป็นที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อ การบริโภค  เพราะสถานที่ผลิต วิธีการและขั้นตอนการผลิต  ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้วจากทางราชการ 
 

สำหรับมาตรฐาน และหลักเกณฑ์สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประกาศโดยกรมประมงประกอบด้วย


1. มาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ(GAP ) 
มาตรฐานดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำด้านสุขอนามัยฟาร์มและวัตถุดิบซึ่งต้องไม่มียาปฏิชีวนะตกค้าง ปัจจุบันกรมประมงได้มีการจัดทำมาตรฐานGAP สำหรับสัตว์น้ำดังนี้ 
    - การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐาน GAP

2. มาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ 
มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้ผลผลิตสัตว์น้ำจากฟาร์มมีความปลอดภัย ปัจจุบันกรมประมงได้มีการจัดทำร่างมาตรฐานขั้นปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำ ดังนี้ 
    - มาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ


การตรวจสอบมาตรฐาน จีเอพี แบ่งเป็น 2 หัวข้อ

       1. สุขอนามัยฟาร์ม (พิจารณาตามหัวข้อ 1-7)
       2. การตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง
           ยาต้านจุลชีพในกลุ่มต่อไปนี้
            - เตรตร้าซัยคลิน (Tetracyclin) 
              ออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline)
            - ออกโซลินิก แอซิด (Oxolinic acid)
            - ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide)
            - คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenical)
            - ไนโตรฟูแรนส์ (Nitrofurans)
            - ฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)
            - นอฟลอกซาซิน (Norfloxacin)

 


การยื่นขอรับการรับรอง

           การยื่นขอรับการรับรองระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC สามารถแบ่งออกเป็น  3  กรณี ดังนี้

1. การขอรับการรับรองรายฟาร์มโดยผู้ผลิตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา คลอบคลุมผู้ผลิตแต่ละรายที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC
2.การขอรับการรับรองรายฟาร์มโดยนิติบุคคล คลอบคลุมนิติบุคคลแต่ละรายที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC
3.การขอรับการรับรองแบบกลุ่ม คลอบคลุมกลุ่ม/องค์กร ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP และ CoC และ/หรือมีการจัดการระบบการผลิต หรือควบคุม บริหารจัดการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกลุ่มร่วมกัน
 

การรับรอง

        ดำเนินการให้การรับรองระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ตามขอบข่ายที่กรมประมงประกาศเท่านั้น

        ก่อนการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง ผู้ยื่นคำขอรับการรับรองต้องมีการนำระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ปฏิบัติแล้ว รวมทั้งมีการดำเนินกิจกรรมในทุกข้อกำหนดในมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง ได้แก่ มาตรฐาน โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct; CoC) หรือ ซี โอ ซี หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) หรือ จี เอ พี หรือมาตรฐานอื่นๆที่กรมประมงและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติประกาศใช้ หรือให้การยอมรับ

การตรวจติดตามผล (Surveillance) และการตรวจต่ออายุการรับรอง (Re-assessment)

ผู้ตรวจประเมินจะสุ่มตรวจติดตามผลเพื่อติดตามการรักษาระบบการผลิตและผลผลิตสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC ที่ได้รับการรับรองอย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง โดยนับจากการตรวจประเมินเพื่อการรับรองครั้งแรกเสร็จสิ้น 
การตรวจต่ออายุการรับรองจะดำเนินการทุก  2  ปี โดยตรวจประเมินระบบทั้งหมด

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ตามพระราชบัญญัติในเรื่องของสัตว์น้ำและเครื่องมือทำการประมง ในอดีตยังไม่มีการรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ค่อนข้างกระจัดกระจายของตัวบทกฎหมายในลักษณะต่างๆ ข้อความยังไม่ชัดเจน   ใน ร.ศ.  120 ( ปี พ.ศ.2444 ) ได้โปรดให้มีการรวบรวมพระราชบัญญัติเหล่านี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
          การบริหารจัดการทางด้านการประมงของไทยจึงเริ่มจัดการบริหารจัดการทางการประมงขึ้น ในปี พ.ศ. 2444   โดยให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น  ได้สั่งการให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีค่าน้ำ ในปี 2457 และได้สั่งการให้มีการจัดและบริหารทางด้านการประมง  เพื่อการมุ่งประโยชน์  3  ประการ คือ  1. การสร้างผลผลิตอาหารสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพียงพอแก่ประชาชนในประเทศ 2. การสร้างผลผลิตสัตว์น้ำให้เป็นรายได้ของประเทศ  3. การเก็บภาษีอากรสัตว์น้ำ   แต่ในความเป็นจริงแล้วการบริหารจัดการทางด้านประมงเน้นทางด้านการเก็บภาษีเพียงอย่างเดียวในขณะนั้นเพราะว่าในช่วงนี้ยังขาดผู้มีความรู้ทางด้านการประมง จึงได้หาผู้มีความรู้ทางด้านนี้เข้ามาช่วยดูแลซึ่งได้แก่  ม.ร.ว.สุพรรณ  สนิทวงศ์  โดยท่านเล็งเห็นว่าสัตว์ที่ท่านได้สำรวจในพื้นที่ของเขตพื้นที่ทำนาในอำเภอรังสิตเดิมมีปลาชุกชุมมาก แต่เมื่อมีการจับอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ปลามีจำนวนลดลงและมีขนาดเล็ก ท่านจึงตระหนักว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ปลาจะสูญพันธุ์   ท่านจึงได้นำความมาปรึกษาท่านเจ้าพระยาพลเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ  เพื่อเสนอต่อคณะรัฐบาล  (ในสมัยรัชกาลที่ 6) ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นก็เห็นด้วย  จึงจัดให้มีการจัดการทางด้านการประมงขึ้น

          เมื่อได้จัดแบ่งหน้าที่กันเรียบร้อยร้อยแล้ว (เฉลิม  โกมาลากุล ณ นคร)   ได้จัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์ปลาหรือหน่วยงานบำรุงและรักษาสัตว์น้ำ ขึ้นในปี  2464 โดยให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงเกษตราธิการ   และพระยาเมธีธิบดีได้เสนอ     กระทรวง      เกษตราธิการว่าจะทาบทาม  Dr Hugh M. smith, MD.,LL.D  ผู้เคยเป็น Commissioner   of   fisheries  U.S.A     ให้เข้ามาเป็น   Adviser  in  fisheries  to  His  Siamese  Majesty's   Govermment  ในปี 2466 โดยจัดสำนักงานให้ที่วังสุริยง  (นางเลิ้ง) งานขั้นแรกที่ต้องทำคือการสำรวจว่าสัตว์น้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยมีมากน้อยเท่าใด  เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์  การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป  ซึ่งผลในการสำรวจจะจำแนกในทางชีววิทยา  โดยมีภาพประกอบและจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่  โดยการสำรวจในน่านน้ำจืด  และในน่านน้ำทะเล  ทั่วราชอาณาจักรไทย และจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่  พร้อมทั้งบังได้เขียนหนังสือที่กล่าวถึงทรัพยากรในประเทศไทยซึ่งรู้จักในนามของหนังสือ " อนุกรมวิธาน "  และยังเขียนบทวิจารณ์ถึงทรัพยากรของประเทศไทยพร้อมทั้งให้คำอธิบายและรายละเอียดและข้อแนะนำในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย โดยเขียนหนังสือที่ชื่อ  A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam,with Plans and Recommendation for the Administration,Conservation and Development   เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการและได้นำเสนอทูลเกล้าฯและอนุมัติให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่  หลังจากนั้นก็มีการบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ  สมเด็จพระราชบิดามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร  ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนให้กระทรวงเกษตราธิการจัดส่งข้าราชการหรือนักเรียน  จำนวน 2 ทุนเพื่อให้ไปศึกษาเล่าเรียนทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดระยะเวลา 6 ปี  เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ   ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้นำความในโครงการเพาะพันธุ์ปลาขึ้นกราบบังคมทูลพร้อมทั้งนำพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร  (สมเด็จพระ       มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ในเรื่องที่ประทานพรกรุณาอุดหนุนการศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลา ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรม      ราชานุญาตให้กระทรวงเกษตราธิการ รับฉลองพระเดชพระคุณตามประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร กระทรวงเกษตราธิการ จึงประกาศคัดเลือกบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกทุนในการไปศึกษาทางด้านการประมง ในชุดแรกเพื่อศึกษา ณ. ประเทศสหรัฐอเมริกา  ใน ปี 2469 มีผู้รับทุนในครั้งแรก 2 ทุนคือหลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) และ      นายบุญ อินทรัมพรรย์  ในนามของทุน " มหิดล"  แต่ทุนยังเหลืออยู่จึงเปิดคัดเลือกเพิ่มอีก  และผู้ที่สอบคัดเลือกผ่านคือ       นายโชติ สุวัตถิ  และต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ สำหรับที่ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำก็ยังคงต้องอยู่ ณ  ที่เดิม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2471 หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) นักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้สำเร็จการศึกษามา  กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ

็และได้มีพระบรมโองการ  ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ  เมื่อรัฐบาลได้ประกาศตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำ ในปีเดียวกัน ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ   ต่อมา  หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์)  ได้สำเร็จการศึกษาและดูงานเสร็จได้เดินทางกลับมากระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ     ส่วนนายบุญ อินทรัมพรรย์ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม   ได้สำเร็จการศึกษาและเสร็จสิ้นการดูงาน ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย  กระทรวงเกษตราธิการได้มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมชั้น  2  กรมรักษาสัตว์น้ำ  เมื่อเจ้าพระยาพลเทพได้กราบบังคมลาออก จากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ  ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ  (ดั่น บุนนาค)  เป็นเสนาบดี  กระทรวงเกษตราธิการสืบต่อไป   ส่วนราชการกระทรวงเกษตราธิการเมื่อ พ.ศ.2473 ได้แบ่งออกเป็น 10 กรม และยังคงมีกรมรักษาสัตว์น้ำรวมอยู่ด้วย    ในปี พ.ศ. 2474  ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นเจ้ากรมรักษา สัตว์น้ำ         และย้ายกรมรักษาสัตว์น้ำจากวังสุริยา (นางเลิ้ง) ไปตั้งอยู่ในอาคารที่เคยเป็นกรมเพาะปลูก บริเวณกระทรวงเกษตราธิการ

          ปี พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  เป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์  (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์)  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ  โดยให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ   แบ่งส่วนราชการเป็น 13 กรม มีกรมประมงรวมอยู่ด้วย  ในปี พ.ศ.2477 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงจุลชีพพิชชาธร (จุล วัจนคุปต์) เป็นอธิบดีกรมการประมง   ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม          แยกกระทรวงเกษตราธิการเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหากจากกระทรวงเศรษฐการ     ในปี พ.ศ. 2487  นายจุล         วัจนคุปต์  ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง เพื่อไปเป็นผู้จัดการบริษัท ประมงไทย จำกัด  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   แต่งตั้งนายบุญ  อินทรัมพรรย์   ข้าราชการชั้นพิเศษ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการประมง  ตั้งแต่วันที่  10  ตุลาคม พ.ศ.  2487

          ในปี พ.ศ. 2896  กรมการประมงได้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยได้เพิ่มกองคุ้มครองขึ้นอีก 1 กอง  ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2496       กระทรวงเกษตรได้เปลี่ยนนามกรมต่างๆ คือ      กรมกสิกรรม        กรมประมง กรมปศุสัตว์  ในปี พ.ศ.2500 กรมประมงได้ย้ายที่ตั้งจากที่ทำการเดิมในขณะนั้น คือตึกกระทรวงศึกษาธิการเดิม  ไปตั้งรวมอยู่กับกระทรวงเกษตร ณ ถนนราชดำเนิน   จากการประเมินผลของการพัฒนาการประมงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติทำให้ทราบว่า ยังเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การพัฒนาการประมงไม่อาจบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนและการช่วยเหลือ โครงการพัฒนาการประมงให้สามารถดำเนิน   ได้อย่างราบรื่นและ         สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ      เมื่อวันที่  7 กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2518   ตราพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมประมงขึ้นใหม่ อันเป็นผลให้กรมประมงต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบกว้างขวางมายิ่งขึ้น  กล่าวคือได้รัยมอบหมาย ให้มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    ค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การรวบรวมข้อมูล สถิติ ความรู้เกี่ยวกับการประมง การอนุรักษ์ชลสมบัติ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์การประมง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ รวมทั้งการสำรวจแหล่งประมง    ตลอดจนการส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ งานอาชีพการประมงอื่นๆ  และการควบคุมกิจการประมงให้เป็นไปตามกฏหมายและ         สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ชื่อตำแหน่ง :นักวิชาการประมง
อัตราเงินเดือน :11,680 - 12,850 บาท
ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง :15 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี
รายละเอียดวุฒิ :1. วุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา เกษตรศาสตร์ ทางการจัดการประมง ทางการประมง ทางประมง ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทางวิทยาศาสตร์การประมง หรือวทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางเทคโนโลยีทางทะเล ทางพันธุศาสตร์ หรือทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางวาริชศาสตร์ หรือทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยกากรธรรมชาติ ทางเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ทางการประมง หรือทางเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
2. เป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.ในระดับปริญญาตรี
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ :ปฏิบัติ งานในฐานผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการประมง ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารที่แนบ)
ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ) :ทดสอบ วิชากความรู้เกี่ยวกับงานด้านการประมง ด้านบริหารจัดการประมง กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการประมง ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมงและพันธุศาสตร์สัตว์น้ำ
ทักษะ/สมรรถนะ :1. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม 100 คะแนน
2. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม 100 คะแนน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารที่แนบ)
  
เปิดรับสมัคร :วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ประกาศรับสมัคร :

 

เปิดดูรายละเอียด : คลิก Download เอกสาร   ( ขนาด 6.23 MB )
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้