ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ข้อ 94 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณที่ใช้ที่ใช้ถือปฏิบ ัติในขณะนี้เป็นฉบับ พ.ศ. ใด
1. พ.ศ. 2506 2. พ.ศ. 2507
3. พ.ศ. 2522 4. พ.ศ. 2526
ตอบข้อ 4. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.
ดังนั้น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ เป็นฉบับ พ.ศ. 2526 ตามข้อ 4
ข้อ 95. รหัสพยัญชนะประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ
1. กส 2. กก
3. กษ 4. กร
ตอบข้อ 3. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ภาคผนวก 1 การกำหนดเลขที่หนังสือออก
ข้อ 1.1 รหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวง ทบวง และส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง ให้กำหนดไว้ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กษ
ดังนั้น รหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ กษ ตามข้อ 3
ข้อ 96. ส่วนราชการใดที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวง
1. สำนักพระราชวัง 2. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
3. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 4. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ 4. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 1.1 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ได้แก่
สำนักพระราชวัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ดังนั้น ทั้งสำนักงานพระราชวังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานตรวจเงินดิน เป็นส่วน
ราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ตามข้อ 4
ข้อ 97. รหัสตัวพยัญชนะประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ
1. นร. 2. นธ
3. นม 4. นส
ตอบข้อ 4. เหตุผลเพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ภาคผนวก 1 การกำหนดเลขที่หนังสือออก
ข้อ 1.2 รหัสพยัญชนะประจำจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ให้กำหนดไว้ ดังนี้
นครศรีธรรมราช นศ.
ดังนั้น รหัสตัวพยัญชนะประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ นศ ตามข้อ 4
ข้อ 98. Aide – Memoire คืออะไร
1. หนังสือกลาง 2. บันทึกช่วยจำ
2. บันทึก 4. งานสารบรรณของโรงพยาบาล
ตอบข้อ 2. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ภาคผนวก 4
ข้อ 2.2.2 บันทึกช่วยจำ (Aide - Memoire )
ดังนั้น Aide - Memoire คือบันทึกช่วยจำ ตามข้อ 2.
ข้อ 99. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
1. 1 มกราคม 2526 2. 1 มิถุนายน 2526
3. 1 ตุลาคม 2526 4. 1 ธันวาคม 2526
ตอบข้อ 2. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2526 เป็นต้น
ดังนั้น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
1 มิถุนายน 2526 ตามข้อ 2.
ข้อ 100. “ บันทึกช่วยจำ “ คืออะไร
1. หนังสือที่ใช้สำหรับแถลงรายละเอียด
2. หนังสือราชการที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3
3. หนังสือที่ใช้สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญ
4. หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่สนทนา
ตอบข้อ 4. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 2.2.2 บันทึกช่วยจำ คือ หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่สนทนา
ดังนั้น บันทึกช่วยจำ คือ หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่สนทนาตามข้อ 4
ข้อ 101. เลขหนังสือ “ ที่ นม 0015 “ ตัวเลข 15 หมายถึงแผนกอะไร
1. ขนส่ง 2. ปกครอง
3. สำนักงานจังหวัด 4. ประชาสงเคราะห์
ตอบข้อ 1. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 2.2.2 ตัวเลขสองตัวหลัง หน่วยงานส่วนภูมิภาคที่สังกัดจังหวัด หรืออำเภอ โดยให้กำหนด
ดังนี้ กระทรวงคมนาคม ขนส่ง 15
ดังนั้น เลขที่หนังสือ “ ที่ นม 0015 “ ตัวเลข 15 หมายถึง ขนส่งตามข้อ 1
ข้อ 102. “ ทำการแทน “ ใช้ในกรณี
1. อธิบดีมอบหมายให้รองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดีทำการแทน
2. ปลัดกระทรวงมอบหมายให้รองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยทำการแทน
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าฯ หัวหน้าส่วนราชการประจำ
จังหวัดคนใดทำการแทน
4. ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบข้อ 1. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ภาคผนวก 3 การลงชื่อและตำแหน่ง
ข้อ 2.3 ทำการแทน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดให้ใช้คำว่า ทำการแทนในกรณีที่ตำแหน่ง
ข้าราชการฝ่ายตุลาการว่าลง หรือดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ดังนั้น “ ทำการแทน ” ใช้ในกรณีที่ อธิบดีมอบหมายให้รองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดีทำการแทน
ตามข้อ 1.
ข้อ 103. ถ้าต้องการให้รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานใดที่ไม่เป็นส่วนราชการใช้รหัสตัวพยัญชนะของส่วนรา ชการ
ที่สังกัดตัวเลข 2 ตัวแรกที่จะใช้เริ่มจากเลขอะไร
1. 00 2. 15
3. 50 4. 51
ตอบข้อ 4. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าดัวยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 2.4 ในกรณีที่ประสงค์จะให้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นใด ที่มิได้เป็นส่วนราชการซึ่งอยู่ใน
สังกัด ใช้รหัสตัวพยัญชนะของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่ไม่ได้สังกัดสำนักนายก
รัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด แล้วแต่กรณีให้ใช้ตัวเลขสองตัวแรก เริ่มจาก 51
เรียงไปตามลำดับ
ดังนั้น ถ้าต้องการให้รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานใดที่ไม่เป็นส่วนราชการใช้รหัสตัวพยัญชนะของส่วน
ราชการที่สังกัดตัวเลข 2 ตัวแรกจะใช้เริ่มจาก เลข 51 เรียงไปตามลำดับ ตามข้อ 4.
ข้อ 104. ก่อนที่จะมีการใช้ระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 นั้น มีการใช้ระเบียบงานสารบรรณ
1. พ.ศ. 2505 2. พ.ศ. 2506
3. พ.ศ. 2507 4. พ.ศ. 2508
ตอบข้อ 2. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
3.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506
3.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ พ.ศ. 2507
3.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2516
ดังนั้น ก่อนที่การใช้ระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 มีการใช้ระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ. 2506
มาก่อน ตามข้อ 2.
ข้อ 105. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานใดบ้าง
1. ส่วนราชการ 2. สถานศึกษาของเอกชน
3. รัฐวิสาหกิจ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ 1. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506
ข้อ 4 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงาน
สารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ดังนั้น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าดัวยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ
ตามข้อ 1.
ข้อ 106. ส่วนราชการแห่งหนึ่งมีลักษณะการทำงานเป็นพิเศษจากหน่วยงานอื่นแ ละมีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติ
งานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำหนดไว ้ ส่วนราชการนั้น จะกระทำ
ได้หรือไม่เพียงไร
1. ย่อมกระทำได้ 2. ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ให้ความชอบ
3. กระทำมิได้ 4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบข้อ 2. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 4 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงาน
สารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ขอทำความตกลงกั บผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ดังนั้น ส่วนราชการที่มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจา กที่ระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ต้องขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ดังนี้ ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ต้องให้ความเห็นชอบ ตามข้อ 2.
ข้อ 107. ข้อใดมิใช่เป็นความหมายของ “ งานสารบรรณ ”
1. งานบริหารงานเอกสาร 2. การรับ การส่ง การรักษาเอกสาร
2. การจัดทำร่างระเบียบงานสารบรรณ 4. การยืม การทำลายเอกสาร
ตอบข้อ 3 เหตุผล เพราะระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้
“ งานสารบรรณ ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับการ
การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
ดังนั้น การจัดทำร่างระเบียบงานสารบรรณ จึงมิใช้ความหมายของ “ งานสารบรรณ ” ตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ตามข้อ 3.
ข้อ 108. งานสารบรรณตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 หมายความว่าอย่างไร
1. งานหนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการด้วยกัน
2. งานหนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งที่เป็นส่วนราชการ และมิใช่ส่วนราชการ
3. งานเกี่ยวกับการบริหารเอกสารเริ่มตั้งการจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม
จนถึงการทำลาย
4. ที่กล่าวแล้วไม่มีข้อใดถูก
ตอบข้อ 3. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ งานสารบรรณ ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
ดังนั้น งานสารบรรณ มีความหมายตามข้อ 3.
ข้อ 109. “ บรรณสาร ” หมายถึงอะไร
1. หนังสือราชการ 2. สิ่งของ
3. บรรณารักษ์ 4. ระเบียบงานสารบรรณ
ตอบข้อ 1. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ งานสารบรรณ ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่
การจัดการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
ดังนั้น “ บรรณสาร ” จึงหมายถึง หนังสือราชการ ตามข้อ 1.
ข้อ 110. ข้อใดที่ไม่เป็นส่วนราชการตามระเบียบงานสารบรรณ
1. รัฐวิสาหกิจ 2. สุขาภิบาล
3. คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ 4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตอบข้อ 1. เหคุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ ส่วนราชการ ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือ
หน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วน
ท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย
ดังนั้น รัฐวิสาหกิจไม่เป็นส่วนราชการ ตามระเบียบงานสารบรรณ ตามข้อ 1.
ข้อ 111. ข้อใดที่เป็นส่วนราชการ ตามความหมายของระเบียบงานสารบรรณ
1. สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกา 2. สภาตำบท
3. สุขาภิบาล 4. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ 4. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ ส่วนราชการ ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือ
หน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการภูมิภาค ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
หรือในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย
ดังนั้น สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกา สภาตำบล สุขาภิบาล เป็นส่วนราชการตามความหมายของ
ระเบียบงานสารบรรณ ตามข้อ 4.
ข้อ 112. “ หนังสือ” ในความหมายของระเบียบงานสารบรรณหมายความว่าอย่างไร
1. หนังสือราชการ 2. หนังสือทุกประเภท
3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ตอบข้อ 1. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ หนังสือ ” หมายความว่า หนังสือราชการ
ดังนั้น “ หนังสือ ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 หมายถึง
หนังสือราชการ ตามข้อ 1.
ข้อ 113. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสรบรรณ พ.ศ. 2526
1. นายกรัฐมนตรี 2. รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ตอบข้อ 3. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 8 ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
และจัดทำคำอธิบาย กับให้มีหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
ดังนั้น ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจหน้าที่ ตีความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบงาน
สารบรรณ วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณแก้ไขเพิ ่มเติมเกี่ยวกับงาน
สารบรรณ ตามข้อ 4.
ข้อ 115. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบร รณ พ.ศ. 2526
1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรี 4. ถูกทั้ง 1 , 2 และ 3
ตอบข้อ 2. เหตุผล เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ข้อ 8 ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามาระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทำคำอธิบาย
กับให้มีหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
ดังนั้น ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คือ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2.


เก็ง – แนวข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

1. การทำสำเนาในระเบียบงานสารบรรณ ประกอบด้วยอะไร
1. การทำสำเนา กระทำได้หลายวิธี เช่น คัด ถ่าย อัด เป็นต้น
2. เอกสารทางราชการจำเป็นต้องมีสำเนาซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องส่งให้ผ ู้เกี่ยวข้องทราบหลายคน
3. สำนักคู่ฉบับ หนังสือราชการเป็นหลักฐานที่สำคัญในราชการ ระเบียบงานสารบรรณจึงบังคับให้มีสำเนาคู่ฉบับ ไว้
อย่างน้อย 1 ฉบับ
4. ถูกทุกข้อ
2. หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการมี 6 ชนิด คือ ข้อใด
1. หนังสือภายใน, หนังสือภายนอก, หนังสือที่มีไปมาระหว่างกระทรวง, ส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก และหนังสือที่ส่งออก และหนังสือราชการสำคัญเกี่ยวกับการเงิน
2. หนังสือภายใน, หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ, หนังสือสั่งการและโฆษณาหนังสือราชการที่ส่งออก และหนังสือราชการสำคัญเกี่ยวกับการเงิน
3. หนังสือภายนอก, หนังสือภายใน, หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ, หนังสือสั่งการและโฆษณา และหนังสือที่ เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน
4. ผิดทุกข้อ
3. หนังสือส่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. หนังสือส่งก่อนดำเนินการ ควรผ่านหัวหน้าฝ่ายทะเบียนส่ง หรือผู้ได้รับมอบหมายก่อน
2. หนังสือส่งเป็นหนังสือภายนอกที่ทำเสร็จเรียบร้อยและมีการเซ็นตามระเบียบแล้วจะส่งไปให้ผู้รับ
3. หนังสือส่งด่วน ด่วนมาก และมีกำหนดเวลานั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชั้นหัวหน้าผู้เป็นเจ้าของเรื่องจะเป็นผู้กำหนด
4. ถูกทุกข้อ
4. ข้อใดเป็นหลักการประชุมจะต้องประกอบด้วย
1. จะต้องมีสถานที่ประชุม ระเบียบวาระ และผู้จดบันทึกการประชุม
2. จะต้องมีวาระการประชุม มีประธาน เลขานุการ ผู้เข้าประชุมครึ่งหนึ่งของจำนวน
3. จะต้องมีประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ และผู้เข้าประชุม 1 ใน 3 จึงจะครบองค์ประชุม
4. จะต้องมีประธานที่ประชุม เลขานุการ ผู้เข้าประชุมจะต้องมีจำนวนเกินกว่าครึ่งของจำนวนจึงจะครบองค์ประชุม
5. การบันทึกคือข้อใด
1. บันทึกย่อเรื่อง, บันทึกรายงาน, บันทึกความเห็น, บันทึกติดต่อ และสั่งการ
2. บันทึกข้อความ, บันทึกจดหมายเหตุ, บันทึกรายวันทำการและบันทึกรายงานประจำวัน
3. บันทึกย่อความ, บันทึกเหตุการณ์ประจำวัน, บันทึกรายงานเฉพาะเรื่อง และบันทึกความเห็น
4. บันทึกรายงานประจำวัน, บันทึกย่อเรื่อง, บันทึกความเห็น และบันทึกรายงานประจำวัน
6. งานสารบรรณคือข้อใด
1. งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น
2. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
3. งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกด้วย
4. งานที่ทำด้วยหนังสือนับตั้งแต่คิดร่าง, เขียน, แต่งพิมพ์, จดจำ, ทำสำเนา, ส่งรับบันทึก, ย่อเรื่องเสนอ, สั่งการ, ตอบ, เก็บเข้าที่และค้นหา
7. ข้อใดคือหนังสือราชการ
1. เอกสารของทางราชการ 2. เอกสารที่ราชการทำขึ้น
3. เอกสารโต้ตอบในราชการ 4. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
8. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด
1. คำแนะนำ 2. แถลงการณ์
3. หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ 4. การส่งสิ่งของเอกสาร หรือ บรรณสารระหว่างส่วนราชการ
9. หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นให้มีสำนาคู่ฉบับไว้อย่างน้อยกี่ฉบับ
1. 1 ฉบับ 2. 2 ฉบับ 3. 3 ฉบับ 4. 4 ฉบับ
10. หนังสือเรื่องใดที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
1. เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน 2. เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
3. เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 4. ถูกทุกข้อ
11. กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่ค น
1. 2 คน 2. 3 คน 3. 4 คน 4. เท่าใดก็ได้
12. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำขึ้นต้นให้ใช้คำว่าอะไร
1. เรียน 2. เสนอ 3. กราบเรียน 4. ขอประธานกราบเรียน
13. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำลงท้ายให้ใช้คำว่าอะไร
1. ขอแสดงความนับถือ 2.ขอแสดงความเคารพนับถือ
3. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง 4.ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
14. การจดบันทึกหรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
1. 1 วิธี 2. 2 วิธี 3. 3 วิธี 4. 4 วิธี
15. สำเนาระเบียบ ข้อบังคับ หรือแจ้งความของกรมตำรวจ ให้ใครเป็นผู้ลงนามรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง
1. หัวหน้ากองวิชาการ 2.หัวหน้ากองกำลังพล
3. เลขานุการกรมตำรวจ 4.ผู้บังคับการหรือหัวหน้าหน่วย
16. หนังสือประทับตราคืออะไร
1. ไม่มีบัญญัติไว้ในระเบียบ
2. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกและภายใน
3. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับก รมขึ้นไป
4. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับก องขึ้นไป
17. “ประกาศ” จัดเป็นหนังสือชนิดใด
1. หนังสือสั่งการ 2. หนังสือแถลงข่าว 3. หนังสือแถลงการณ์ 4. หนังสือประชาสัมพันธ์
18. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมีกี ่ชนิด
1. 1 ชนิด 2. 2 ชนิด 3. 3 ชนิด 4. 4 ชนิด
19. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
1. 2 ประเภท 2. 3 ประเภท 3. 4 ประเภท 4. 5 ประเภท
20. หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับ เก็บไว้ที่ต้นเรื่องกี่ฉบับ
1. 1 ฉบับ 2. 2 ฉบับ 3. 3 ฉบับ 4. 4 ฉบับ
21. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่างานสารบรรณฉบับปัจจุบันได้ใช้บังคั บมาตั้งแต่เมื่อใด
1. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 2.วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516
3. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 4.วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2526
22. หนังสือราชการของส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบันทำสำเนากี่ชุด
1. 2 ชุด 2. 3 ชุด 3. 4 ชุด 4. 5 ชุด
23. การลงวัน เดือน ปี ของหนังสือติดต่อราชการให้ปฏิบัติดังนี้
1. หนังสือภายนอก ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
2. ส่วนหนังสือภายในให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อย่อของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
3. ถูกทั้งข้อ 1. และ 2. 4. ไม่มีข้อใดถูก
24. หนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณโดยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดย เร็วนั้นจะต้องระบุตัวอักษร สีแดงให้เห็นชัดบนหนังสือแ ละบนซองว่าอย่างไร
1. ด่วน 2. ด่วนที่สุด 3. ด่วนมาก 4. ด่วนภายใน
25. ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด
1. หนังสือภายใน 2. หนังสือสั่งการ
3. หนังสือภายนอก 4. หนังสือประทับตรา



26. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมี 4 ชนิดคือข้อใด
1. หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม, บันทึก และหนังสือเวียน
2. หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม, บันทึก และหนังสืออื่น
3. รายงานการประชุม, บันทึก, หนังสือเวียน และหนังสือ
4. บันทึก, หนังสือเวียน, หนังสือรับรอง และหนังสืออื่น
27. หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือข้อใด
1. หนังสือโต้ตอบ และหนังสือแถลงข่าว 2. หนังสือช่วยจำ และบันทึกเตือนความจำ
3. หนังสือที่ลงชื่อ และหนังสือที่มิต้องลงชื่อ 4. หนังสือที่เป็นแบบพิธี และหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี
28. อายุของการเก็บหนังสือ มีวิธีการปฏิบัติแบบใด
1. หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินทุกกรณี ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
2. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
3. หนังสือที่ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้น้อยกว่า 5 ปี
4. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี
29. การพิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลายเป็นหนังส ือของใคร
1. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม 2. คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง
3. ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
4. คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง โดยการเสนอของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
30. รหัสตัวพยัญชนะสำหรับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและสำนักเลขาธิการ รัฐสภากำหนดไว้ตามลำดับดังนี้
1. สต และ สภ 2. ตง และ รส 3. ตผ และ สภ 4. สตง และ สลร
31. คำสรรพนามสำหรับเจ้าของหนังสือว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” นอกจากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
พระบรมราชินีนาถ แล้วยังใช้กับใคร
1. สมเด็จพระบรมราชชนนี 2. พระบรมวงศ์เธอชั้นพระองค์เจ้า
3. สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จเจ้าฟ้าทุกพระองค์ 4. ถูกทุกข้อ
32. คำว่า “คำสั่ง” หมายถึงอะไร
1. คำสั่งด้วยวาจา, คำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร และคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
2. การสั่งด้วยการบันทึกทางจดหมาย และด้วยสื่อนำสาร
3. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละ เรื่อง


33. หนังสือที่ต้องปฏิบัติด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือข้อใด
1. ลับด่วนมาก, ด่วนลับเฉพาะ และด่วนที่สุด 2. ด่วนที่สุด, ด่วนมาก และด่วน
3. ด่วนภายในวันเวลาที่กำหนด และด่วนลับเฉพาะ 4. ถูกทุกข้อ
34. ข้อใดคือการเรียกเก็บหนังสือ
1. เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อค้นหาได้สะดวก
2. เก็บโดยมิดชิดปลอดภัย และกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย
3. การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอ บ
4. เก็บรวมเข้าแฟ้มสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม เก็บเพื่อเป็นหลักฐาน และเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ
35. การส่งหนังสือราชการ คือข้อใด
1. เพื่อความสะดวก รวดเร็ว จะส่งที่ใดก็ได้ถ้าพบตัวผู้ดำรงตำแหน่งนั้น
2. หนังสือราชการที่มีไปถึงผู้รับในตำแหน่งที่ราชการห้ามมิให้นำส่งยังบ้านพักของผู้ดำรงตำแหน่งนั้นโดยเด็ดขาด
3. ถ้าเป็นหนังสือราชการด่วนมากหรือด่วนที่สุด ก็ไปส่งที่บ้านพักได้เป็นกรณีพิเศษแต่ต้องไปลงบัญชีรับ ณ ที่ทำการตามระเบียบ
4. ผิดทุกข้อ
36. ระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ คือข้อใด
1. การกำหนดวิธีปฏิบัติเฉพาะงานโต้ตอบหนังสือ
2. การสั่งให้เจ้าหน้าที่สารบรรณร่างโต้ตอบและเก็บรักษาหนังสือ
3. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติ
4. ผิดทุกข้อ
37. การร่างหนังสือมีความมุ่งหมายอะไร
1. เพื่อให้มีการตรวจแก้ไขให้เหมาะสมถูกต้องตามระเบียบ
2. เพื่อเรียบเรียงข้อความตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับ
3. เพื่อผู้ร่างเข้าใจในร่างโดยขึ้นต้นต่อไปเป็นความประสงค์และข้อ ตกลงโดยสมบูรณ์ทั้งเนื้อเรื่อง
และถ้อยคำ
4. ถูกทุกข้อ
38. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารเริ่มแต่การจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืมจนถึงการทำลาย เรียกว่างานอะไร
1. งานเลขานุการ 2. การบริหารงาน 3. งานสารบรรณ 4. การอำนวยการ

39. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
1. เลขาธิการ ก.พ. 2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 4. ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี
40. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบบังคับ เรียกว่าอะไร
1. เอกสารราชการ 2. หนังสือราชการ 3. หนังสืออำนวยการ 4. ถูกทุกข้อ
41. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยเป็นหนังสือติดต่อภายในก ระทรวง ทบวง กรม จังหวัดเดียวกัน เรียกว่าอะไร
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน 3. หนังสือสั่งการ 4. ถูกทุกข้อ
42. หนังสือที่ปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติแบ่งออกเป็น
1. 2 ประเภท 2. 3 ประเภท 3. 4 ประเภท 4. ไม่มีข้อใดถูก
43. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมี 4 ชนิด คืออะไร
1. หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม, บันทึก และหนังสืออื่น
2. หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม, บันทึก และหนังสือเวียน
3. รายงานการประชุม, บันทึก, หนังสือเวียน และหนังสืออื่น
4. บันทึก, หนังสือเวียน, หนังสือรับรอง และหนังสืออื่น
44. เลขที่หนังสือส่งออกสำหรับส่วนราชการในส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสี่ตัวนั้นมีความหมายอย่างไร
1. สองตัวแรก หมายถึง กรม ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กอง
2. สองตัวแรก หมายถึง ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง ประเภทของหนังสือ
3. สองตัวแรก หมายถึง กระทรวง หรือ ทบวง ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กรม
4. ไม่มีข้อใดถูก
45. หนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณ โดยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว จะต้องระบุตัวอักษรสีแดงให้เห็นชัดบนหนังสือและบนซองว่าอะไร
1. ด่วน 2. ด่วนที่สุด 3. ด่วนมาก 4. ด่วนภายใน
46. คำสรรพนามสำหรับเจ้าของหนังสือที่ว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” นอกจากจะใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีแล้วยังใช้กับใคร
1. สมเด็จเจ้าฟ้า 2. สมเด็จพระบรมราชชนนี
3.พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า 4.ถูกทุกข้อ
47. บันทึกช่วยจำ คือ หนังสือที่ใช้สำหรับอะไร
1. ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น 2. ขอร้องหรือประท้วงในบางเรื่อง
3. ยืนยันข้อความในเรื่องที่ได้สนทนาไว้แล้ว 4. ถูกทุกข้อ

48. ข้อใดกล่าวถึงการส่งหนังสือราชการถูกต้อง
1. เพื่อความสะดวกและรวดเร็วจะส่งที่ใดก็ได้ถ้าพบตัวผู้ดำรงตำแหน่งนั้น
2. หนังสือราชการที่มีไปถึงผู้รับในตำแหน่งหน้าที่ราชการห้ามมิให้ นำส่งยังบ้านพักโดยเด็ดขาด
3. ถ้าเป็นหนังสือราชการด่วนมากหรือด่วนที่สุด ก็ไปส่งที่บ้านพักได้เป็นกรณีพิเศษ แต่ต้องไปลงบัญชีรับ ณ ที่ทำการ
ตามระเบียบ
4. ผิดทุกข้อ
49. การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดให้ปฏิบัติอย่างไร
1. ให้หมายเหตุไว้หน้าแฟ้มที่เก็บรวมเรื่อง 2. ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่สารบรรณทราบทั่วกัน
3. ให้เก็บใส่ตู้เอกสารแล้วทำเครื่องหมายไว้
4. ให้ประทับตราคำว่า “เก็บถึง พ.ศ….”ด้วยหมึกสีน้ำเงินและลงเลขของปี พ.ศ. ที่ให้เก็บถึงด้วย
50. คำว่า “คำสั่ง” คืออะไร
1. การสั่งด้วยบันทึกทางจดหมายและด้วยพลนำสาร
2. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
3. การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละ เรื่อง
4. คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ

สนใจสั่งซื้อมาที่  080-604-2510 ,080-604-2504  หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย  ออมทรัพย์
สาขาถนนสาธุประดิษฐ์  ชื่อบัญชี สายรุ้ง  สิงห์ศรี 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  
lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้