ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบนิติกร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบนิติกร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

1. ชาวบ้านนำเงินไปร่วมกันทอดผ้าป่าให้สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเป็นจำนวน 150,000 บาท ต่อมาเงินจำนวนดังกล่าวสูญหายไป ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้เสียหาย 

                ถ้า ก  เป็นเจ้าคณะสงฆ์ ส่วน ดำ เขียว แดง เหลือง ขาว เป็นผู้ที่ ก  เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงินดังกล่าว

                ก. เจ้าคณะสงฆ์

                ข. ชาวบ้านที่ร่วมทำบุญ

                ค. ผู้ที่ถูกรับเลือกให้เป็นกรรมการ

                ง. ข้อ ก  และ 

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะสำนักสงฆ์มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น จึงไม่มีบุคคลใดเป็นผู้จัดการแทนหรือผู้แทนอื่นๆ ที่จะมีอำนาจจัดการแทนสำนักสงฆ์ได้ แต่เจ้าคณะสงฆ์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเงินผ้าป่าที่ชาวบ้านนำไปทอดให้สำนักสงฆ์รวมทั้งผู้ที่เจ้าคณะสงฆ์เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงิน ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสำนักสงฆ์หากเงินดังกล่าวสูญหายไป เจ้าคณะสงฆ์และกรรมการดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหาย

2. นายเสือและนายสิงห์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนายนก นายเสืออายุ 18 ปี ส่วนนายสิงห์ อายุ 16 ปี ทั้งเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ต่อมานายสิงห์ถูกนายมือทำร้ายจนตาย ต่อไปนี้ผู้ใด ไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนนายสิงห์ผู้ตาย

                ก. นายนก

                ข. นายเสือ

                ค. ถูกทุกข้อ

                ง. ไม่มีข้อถูก

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะพี่ชายของผู้ตายมิใช่บุคคลตาม ป.วิ.อ. มาตรา  5(2.) ส่วนบิดานั้นแม้จะเป็นบิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายก็มีอำนาจจัดการแทนบุตรได้ เพราะกำหมายถือตามความเป็นจริงโดยสายโลหิต

3. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา

                ก. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ

                ข. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว

                ค. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง

                ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา มีดังนี้

                1. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง 

                2. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ 

                3. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว 

                4. ต้องมีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 71 

4. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ผู้ใดเป็นผู้เสียหาย

                ก. ผู้เยาว์

                ข. บิดา

                ค. มารดา

                ง.  ถูกทั้ง ข และ ค

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยนั้น มีองคืประกอบความผิดร่วมกันระหว่างการหนึ่งว่า “ ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ... ” ซึ่งเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง คือ อำนาจปกครองของบิดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์นั่นเอง

5. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

                ก. พนักงานอัยการยื่นฟ้องแล้ว ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

                ข. ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทั้งคดีความผิดส่วนตัวและคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว

                ค. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำ       พิพากษา

                ง. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ประการหนึ่ง คือ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ซึ่งต่างกับการที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่จะยื่นระยะใดก็ได้ก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดคดีเสร็จเด็ดขาด

6. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน

                ก. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน

                ข. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน  หรือต่างศาลกัน

                ค.  ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

                ง. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ    ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน

คำตอบ :  ข้อ  ค. เพราะ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน มีดังนี้

                1. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน

                2. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน   หรือต่างศาลกัน

                3. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ    ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน 

                4. ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ หรือโดยโจทก์                ยื่นคำร้องขอ 

                5. ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใด ระหว่างพิจารณาก่อนมีคำพิพากษา 

7. ในการงดการสอบสวนคดีอาญา มีเหตุกี่กรณี

                ก.   2   กรณี

                ข.  5    กรณี

                ค.   3   กรณี

                ง.   7    กรณี

คำตอบ :  ข้อ   ก. เพราะมีเหตุ 2 กรณี คือ

                1. กรณีที่ผู้ต้องหาวิกลจริตให้งดการสอบสวนไว้ก่อนจนกว่าจะหาย 

                เมื่อสอบสวนแล้วไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนร้าย ไม่รู้ตัวผู้ร้ายให้ปฏิบัติ ดังนี้ 

                คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน 

                คดีที่มีโทษจำคุกเกิน  3 ปี ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรงดการสอบสวนแล้วส่ง                พนักงานอัยการ 

8. ข้อใดต่อไปนี้พนักงานสอบสวนไม่สามารถทำการสอบสวนได้

                ก. ท้องที่เกิดเหตุ

                ข. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่

                ค. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ

                ง. ท้องที่ที่ผู้เสียหายมีที่อยู่

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะพนักงานสอบสวนสามารถทำการสอบสวนได้ 3 ท้องที่เท่านั้น คือ

                1. ท้องที่เกิดเหตุ

                2. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่

                3. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ 

9. บุคคลใดมีอำนาจสั่งโอนในเรื่องการโอนคดีในกรณีไม่ปกติ

                ก. ประธานศาลชั้นต้น

                ข. ประธานศาลฎีกา

                ค. ประธารศาลอุทธรณ์

                ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะการโอนคดีในกรณีที่ไม่ปกตอตาม  ป.วิ.อ. มาตรา 26 คือ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจเหนือคดีนั้นก็เพื่อให้เรียบร้อยแต่เกิดเหตุพิเศษ เช่น จำนวนจำเลย ฐานะจำเลย ฝ่ายผู้เสียหายจึงดำเนินการขอโอนคดี ซึ่งในการโอนคดีในลักษณะนี้สามารถโอนไปที่ไหนก็ได้แต่ผู้มีอำนาจสั่งคือ ประมุขของตุลาการคือประธานศาลฎีกาเท่านั้น

10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป

                ก. ความตายของผู้กระทำผิด

                ข. ความผิดต่อส่วนตัวเมื่อถอนคำร้องทุกข์แล้ว ยอมความแล้ว

                ค. เมื่อผู้ต้องหายอมชำระค่าปรับอัตราสูง สำหรับคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว

                ง. ไม่มีข้อถูก

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป มีได้ดังต่อไปนี้

                1.ความตายของผู้กระทำผิด 

                2. ความผิดต่อส่วนตัวเมื่อถอนคำร้องทุกข์แล้ว ยอมความแล้ว 

                3. คดีอาญาเลิกกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 

                4. เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด้ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง 

11. กฎหมายห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน เว้นแต่

                ก. มีหมายค้นหรือมีคำสั่งของศาล

                ข. มีหมายศาล

                ค.ไม่มีข้อถูก

                ง. ถูกทั้ง ก และ ข

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลเว้นแต่จะมีหมายศาลเสียก่อน

12. ข้อใดกล่าวผิดในเรื่องการถอนฟ้อง

                ก. การถอนฟ้องต้องยื่นเป็นคำร้อง และศาลต้องมีคำสั่งอนุญาตไม่สามารถใช้ดุลยพินิจได้

                ข. ในคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ว่าโจทก์เป็นใครต้องถอนก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น

                ค. คดีอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องใหม่

                ง. ทั้งข้อ ก และ ข

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะการถอนฟ้อง คือ การสละข้อหาในฟ้อง ต้องยื่นเป็นคำร้อง ไม่สามารถถอนด้วยวาจาได้ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก้ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจ ส่วนการถอนฟ้องในคดีอาญาผ่นดิน ไม่ว่าโจทก์เป็นใครต้องถอนก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีความผิดต่อส่วนตัว การถอนฟ้องไม่ว่าผู้ใดเป็นโจทก์ย่อมถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด ในคดีอาญาแผ่นดินการที่พนักงานอัยการถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องใหม่ และเช่นเดียวกันผู้เสียหายถอนฟ้องก็ย่อมไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องใหม่

13. ข้อใดเป็นผลของการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนปากคำ

                ก. ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ

                ข. ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้แก่พนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดไม่ได้

                ค. พนักงานอัยการฟ้องคดีไม่ได้

                ง. ไม่มีผลใดๆทางกำหมาย

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะผลของการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนปากคำ ทำให้ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้แก่พนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของเขาไม่ได้ แต่ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบ พนักงานอัยการยังมีอำนาจฟ้องได้

14. ข้อใดต่อไปนี้ผิด

                ก. การเปรียบเทียบคดีเป็นอำนาจของศาล

                ข. การฟ้องให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ

                ค. การไต่สวนการตายเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน

                ง. การชันสูตรพลิกศพให้แพทย์และพนักงานสอบสวนร่วมกันชันสูตรพลิกศพ

คำตอบ :  ข้อ  ข้อ ค. เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 150 “... ถ้าเป็นกรณีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ เมื่อพนักงานสอบสวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพเสร็จก็ส่งสำเนาให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร...”

15. ข้อใดไม่ใช่เหตุที่จะไม่ทำการสอบสวน

                ก. เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยไม่ร้องทุกข์

                ข. เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือแต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ

                ค. เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์

                ง. ผู้เสียหายร้องทุกข์ด้วยวาจา

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะคำร้องทุกข์จะเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ซึ่งถ้าร้องด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกและลงวันเดือนปีและลายมือชื่อผู้บันทึกผู้ร้องทุกข์ไว้ในบันทึกนั้น

16. ข้อใดต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์

                ก. ผู้รับมอบอำนาจให้ประกันตัวจำเลยในคดีอาญาจะอุทธรณ์คำสั่งแทนนายประกัน

                ข. โจทก์ร่วมฟ้องคดีแล้วขอถอนฟ้องโดยระบุว่าเพราะโจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงกันได้แล้ว ต่อมา      พนักงานอัยการยื่นฟ้อง โจทก์ร่วมขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ร่วมอุทธรณ์คำพิพากษาศาล ชั้นต้น

                ค. คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลประทับฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาล

                ง. ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วม    เป็นโจทก์ในสำนวนหลังและอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลเฉพาะสำนวนที่ตนเป็นโจทก์ร่วม

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะ

1. ผู้รับมอบอำนาจให้ประกันตัวจำเลย ย่อมมีอำนาจเฉพาะประกันตัวและนำจำเลยส่งศาล เมื่อผู้มอบอำนาจไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีต่อศาลจึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งแทนนายประกันไม่ได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ 2922/2541) 

2. โจทก์ร่วมฟ้องคดีแล้วขอถอนฟ้องโดยระบุว่าเพราะโจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงกันได้แล้วต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง โจทก์ร่วมขอเข้า ร่วมเป็นโจทก์ เมื่อโจทก์ร่วมฟ้องคดีร่วมไม่ได้ จึงอุทธรณ์ไม่ได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ 297798/2538) 

3. คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก่อนศาลประทับฟ้อง จำเลยไม่อยู่ในฐานะจำเลย ดังนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างไร จำเลยจึงอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาลไม่ได้ 

17. ข้อใด จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

                ก. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งพันบาท

                ข. คำสั่งศาลที่ว่าคดีมีมูล

                ค. คำสั่งศาลที่เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว

                ง. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะข้อยกเว้นของ ป.วิ.อ. มาตรา  193 ทวิ ที่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้มีดังนี้

                1. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้โทษกักขังแทนโทษจำคุก 

                2. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้ 

                3. ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอกำหนดโทษไว้ หรือ 

                4. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งพันบาท 

18. ข้อใดเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

                ก. อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบ  กันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง

                ข. คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด       จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม

                ค. ไม่มีข้อใดถูก

                ง. ถูกทั้ง ก  และ 

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะ อุทธรณ์นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้

1. ต้องเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น 

2. ต้องมีลักษณะชัดแจ้ง 

3. ต้องเป็นสาระแก่คดี ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกำหมาย โดยอนุโลมตามบทบัญญัติในประมวลกำหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาไม่ได้บัญญัติไว้ 

เหตุที่ ข้อ ข. ไม่ใช่อุทธรณ์ที่ชอบเนื่องจากเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี 

19. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

                ก. คำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย

                ข. ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขอเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลย

                ค. คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว

                ง. คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้แก้ฟ้อง

คำตอบ :  ข้อ  ข.  เพราะเป็นคำสั่งภายหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้วและไม่ใช่คดีที่อยู่ในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากยังไม่ได้มีการอุทธรณ์จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา

20. การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกี่วัน

                ก. 1  เดือน

                ข.  30  วัน

                ค.  2  เดือน

                ง.  60  วัน

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะการยื่นอุทธรณ์ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือน นับจากวันที่อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง

21. การแก้ฟ้องอุทธรณ์ข้อใดต่อไปนี้ไม่สามารถทำได้

                ก. การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว

                ข. การแก้ไขชื่อผู้อุทธรณ์ซึ่งพิมพ์ผิด เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว

                ค. การแก้ไขที่เป็นการสละข้อต่อสู้ในฟ้องอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว

                ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์เป็นการแก้ไขประเด็นสำคัญจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ภายในอายุอุทธรณ์

22. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง

                ก. ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ฐานใด

                ข. ปัญหาว่าจำเลยกระทำการโดยสุจริตหรือไม่

                ค. จำเลยเถียงว่า จำเลยอายุ 16 ปี ไม่ใช่  19 ปี

                ง. จำเลยโต้เถียงดุลยพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล

คำตอบ :  ข้อ ข. เพราะปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ฐานใด  เป็นปัญหาข้อกำหมาย

23. ผู้พิพากษาที่มีอำนาจที่จะอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาสำหรับคดีซึ่งกฎหมายห้ามฎีกา คือ

                ก. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

                ข. ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นผู้พิพากษา        ศาลอื่น

                ค. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นตุลาการ        ศาลปกครอง

                ง.  ข้อ ก  และ ข ถูก 

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะผู้พิพากษาที่จะอนุญาตให้ฎีกาได้คือ

                1. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ 

                2. ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ 

                3. ผู้พิพากษาที่ทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ 

ผู้พิพากษาที่มีอำนาจอนุญาตดังกล่าวแม้ต่อมาย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่นหากยังคงรับราชการเป็นผู้พิพากษาอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในศาลยุติธรรมใด รวมทั้งผู้พิพากษาอาวุโสด้วย ก็ยังมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ แต่ถ้าไปเป็นตุลาการศาลปกครอง หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วจะอนุญาตให้ฎีกาไม่ได้ 

24. ต่อไปนี้เรื่องใดผิด

                ก. กรณีไม่แน่ชัดว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ ให้ผู้ว่า          ราชการจังหวัดเป็นผู้ชี้ขาด

                ข. กรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักรให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวน    ผู้รับผิดชอบ

                ค.  การสอบสวนถ้าทำโดยพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจในการที่จะสอบสวน แต่ไม่มีการ            คัดค้านจากผู้ต้องหาหรือจำเลย ก็ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ

                ง. กรณีความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายหน้าที่ให้      พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแทนก็ได้

คำตอบ :  ข้อ  ค..  การสอบสวนถ้าทำโดยพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจในการที่จะสอบสวน แต่ไม่มีการ    คัดค้านจากผู้ต้องหาหรือจำเลยการสอบสวนนั้นก็ยังไม่ชอบอยู่นั่นเอง

25. ข้อใดไม่ใช่โทษทางอาญา

                ก. ริบทรัพย์สิน

                ข. บำเพ็ญประโยชน์

                ค.  ปรับ

                ง. กักขัง

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะโทษทางอาญามีดังนี้

                1. ประหารชีวิต 

                2. จำคุก 

                3. กักขัง 

                4. ปรับ 

                5. รับทรัพย์สิน 

26. ในชั้นตรวจคำฟ้องถ้าศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องหรือมีข้อบกพร่องศาลมีอำนาจดำเนินการได้กี่ประการ

                ก.  2  ประการ

                ข.  3  ประการ

                ค.  4  ประการ

                ง. 5  ประการ

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะศาลมีอำนาจดำเนินการได้ 3 ประการ คือ

                1. ให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง 

                2. พิพากษายกฟ้อง 

                3. ไม่ประทับฟ้อง 

27. ข้อใดผิด

                ก. กรณีฟ้องของโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

                ข. กรณีโจทก์ฟ้องผิดศาลหรือฟ้องต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นศาลต้องไม่  รับฟ้อง

                ค. ในวันที่พนักงายอัยการโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลซึ่งถือว่าเป็นการยื่น    ฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ศาลต้องไม่รับฟ้อง

                ง.  คำฟ้องโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นโจทก์ หรือไม่ได้ลงชื่อผู้ร้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะ คำฟ้องที่โจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นโจทก์ หรือไม่ได้ลงชื่อผู้ร้องให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง

28. ข้อใดไม่ใช่เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง

                ก. เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวฐานทำให้เสียทรัพย์ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องกล่าวหามารดา    จำเลยว่าฉ้อโกง

                ข. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนา อ้างว่าเหตุเกิดในเวลากลางวัน จำเลยให้การต่อสู้ว่า         กระทำไปเพราะป้องกันตัว เมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จ โจทก์ขอแก้ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลา              กลางคืน

                ค.  โจทก์ขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นแต่ไม่ได้ขอมาในคำขอท้ายฟ้องต่อมาโจทก์จึงยื่นขอ                แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โดยขอให้ศาลนับโทษต่อ

                ง. โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องโจทก์พิมพ์    วันที่เกิดเหตุผิดพลาด

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะไม่ใช่เรื่องแก้ไขฟ้องเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเรื่องการฟ้องจำเลยคนใหม่เข้ามา จะฟ้องเข้ามาในคดีเดิมไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 18/2511)

29. คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องในข้อใดที่กฎหมายห้ามมิให้ศาลอนุญาต

                ก. คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการสู้คดี

                ข. คำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

                ค. คำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟ้องในประเด็นที่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือไม่ได้กล่าว       เอาไว้

                ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะ ป.วิ. อ. มาตรา  164 กำหนดไว้ว่า คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต

30. กำหนดนัดของศาลในข้อใดที่แม้ว่าโจทก์ผิดนัดแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นกำหนดนัดที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องได้

                ก. นักพร้อม

                ข. นัดสืบพยานโจทก์

                ค.  นัดไต่สวนมูลฟ้อง

                ง. นัดพิจารณา

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะนัดพร้อมไม่ถือว่าเป็นกำหนดนัดที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.  มาตรา  166  ได้

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนิติกกร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ใหม่ล่าสุดที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ
เป็นไฟล์เอกสารส่งทาง e-mail 

 ส่งทันทีรวดเร็ว ได้อ่านสอบเร็วไม่ต้องรอ รวบรวมจากหนังสือมากกว่า

 สิบเล่มและรุ่นพี่ที่สอบได้

รายละเอียดภายในไฟล์ประกอบด้วย

ความรู้ความสามารถทั่วไป

- แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- แนวข้อสอบกฎหมายอาญา

- แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

ความรู้ความเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ

- ข้อสอบ พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข 2550

- ข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

- สรุป ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ  2547

- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม พ.ศ. 2545

- สรุปประเด็นสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 2548

- กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ. 2551

- ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการจัดการร้องทุกข์ 2552

สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่
lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้