ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงาน
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงาน

1. การติดต่อสื่อสารทางวิทยุของพนักงานดับเพลิง ปัจจุบันใช้รหัสวิทยุแบบใด
   ก.โค้ด ว.   ข. โค้ด คิว   ค.รหัส มอร์ส   ง. ถูกทุกข้อ
2. ไฟเกิดจากอะไร
   ก. เชื้อไฟ + ความร้อน + ออกซิเจน
   ข. ความร้อน + ออกซิเจน
   ค. เชื้อไฟ + ความร้อน
   ง. ไม่มีข้อถูก
3. เครื่องดับเพลิง แบบใดดีที่สุด
   ก. แบบ A B C
   ข. แบบ A B C D
   ค. แบบ A B C D E
   ง. แบบ A

ไฟ มีกี่ประเภท (การเกิดของไฟ)......

การฉัน้ชีพ กับ การฉัน้ภัย ต่างกันอย่างไร

ภัยคืออะไร ........

ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน คือ ................

พนักงานป้องกันภัย คือ ............

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน คือ..............


กองทุน สปสช.คือ อะไร....

ศูนย์นเรนทร คือ....

ไฟไหม้ โทรหมายเลข...(ตอบ  199)

อปพร.คืออะไร...........

ว2 ว8 หมายความว่า....

สารดับเพลิงหลักที่หาง่าย และ ดีที่สุด คือ  (ตอบ...น้ำ...)

Fire point กับ flash point ต่างกันอย่างไร.....

วิธีการดับเพลิงหลัก มีกี่วิธี  (ตอบ...4.วิธีหลัก..)

FLASHOVER และ BACKDRAFT คือ อะไร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

สาธารณภัยคือ
เจ้าพนักงานตาม พรบ.นี้เป็นเจ้าพนักงานตาม กม.ใด
การค้นหาบุคคลต้องหาจากจุดใดของห้อง
สถานีดับเพลิงควรตั้งอยู่ห่างจากที่ชุมชนหรือศูนย์การค้า กี่ ก.ม.
เมื่อเกิดไฟใหม้เจ้าหน้าที่ต้องไปถึงจุดเกิดเหตุภายในกี่นาที
เพลิง ชนิด A B C มีลักษณะอย่างไรและใช้อะไรในการดับ

พระราชบัญญัติ
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
พ.ศ.2522
1   ถาม   พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนใช้ในปีใด
   ตอบ   พ.ศ.2522
2   ถาม   พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้ไว้ ณ เมื่อใด
   ตอบ   ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2522
3   ถาม   พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
   ตอบ   วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4   ถาม   พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนมีผลให้ยกเลิก พ.ร.บ.ใด
   ตอบ   (๑)  พระราชบัญญัติป้องกันภัยทางอากาศ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (๒)  พระราชบัญญัติป้องกันภัยทางอากาศ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๗
5   ถาม   พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ?การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน? หมายถึง
   ตอบ   การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในการป้องกันและบรรเทาอันตรายหรือความเสียหายอันเนื่องจากสาธารณภัย ภัยทางอากาศหรือการก่อวินาศกรรมไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะได้กระทำก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยหรือภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว และหมายความรวมถึงการอพยพประชาชนและส่วนราชการเพื่อการนั้น
6   ถาม   ?สาธารณภัย? หมายถึง
   ตอบ   อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีมาเป็นสาธารณะไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
7   ถาม   ?ภัยทางอากาศ?  หมายความ
   ตอบ   ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ
8   ถาม   ?การก่อวินาศกรรม?  หมายความ
   ตอบ   การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวน ขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ
9   ถาม   ?หน่วยอาสาสมัคร?  หมายความ
   ตอบ   หน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
10   ถาม   ?เจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน?  หมายความ
   ตอบ   ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
11   ถาม   ?พนักงานป้องกันภัย?  หมายความ
   ตอบ   บุคคลซึ่งผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
12   ถาม   ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
   ตอบ   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
13   ถาม   คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติประกอบด้วย
   ตอบ   1. รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ 2. ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ 3. ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน 4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทน 5. ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทน 6. ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน 7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน 8. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือผู้แทน 9. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน 10. อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน 11. อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*หรือผู้แทน 12. อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย*เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
14   ถาม   ใครเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
   ตอบ   อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
รายละเอียดในไฟล์เอกสาร ประกอบด้วย
ประวัติย่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตำแหน่งเ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

สรุปแนวสอบ จนท/จพง. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภาค ข
ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
กฎหมาย/ระเบียบ
เรื่องเกี่ยวกับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน สำนักปลัดเทศบาล และการกำหนดอำนาจหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 (การบรรจุก๊าซ)
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2524) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2505) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2533
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2538
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องระเบียบงานสารบรรณ
หลักความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกันไฟ อุปกรณ์ดับเพลิง การป้องกัน  บรรเทาสาธารณภัย และการฉัน้ภัย
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ (ได้แก่ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ภัยอื่น ๆ

แนวข้อสอบงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

แนวข้อสอบการป้องกันและระงับอัคคีภัย

ถามตอบแนวข้อสอบพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการปกครอง พศ 2549

เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550

รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมากส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร

สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
สนใจสั่งซื้อมาที่  decho.by@hotmail.com

ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสารกรุณาชำระค่าสินค้าและบริการเลขที่บัญชี 491-2-00428-2

 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่decho pragay 

 ออมทรัพย์โอนเงินแล้วโทรแจ้งที่  โทร085-0127724  

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภัยทางอากาศ ภัยจากการก่อวินาศกรรม รวมทั้งการอพยพประชาชนและส่วนราชการเพื่อการนั้น ทั้งในยามสงบและยามสงคราม

การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมายความว่า การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในการป้องกันและบรรเทาอันตรายหรือความเสียหายอันเนื่องอันเนื่องจากสาธารณ ภัย ภัยทางอากาศ หรือการก่อวินาศกรรม ไม่ว่าจะได้กระทำก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยหรือภายหลังจากที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว

สาธารณภัย หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีมาเป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ

ภัยทางอากาศ หมายความว่า ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ

การก่อวินาศกรรม หมายความว่า การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว ระบบการปฏิบัติใดๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคล อันก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การเศรษฐกิจ และการสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ

คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ ประกอบด้วย รมว. มท เป็นประธานกรรมการ ปลัด มท. เป็นรองประธานกรรมการ และบุคคลในตำแหน่งดังต่อไปนี้หรือผู้แทนเป็นกรรมการ ปลัดกลาโหม ปลัดเกษตรและสหกรณ์ ปลัดสาธารณสุข ปลัดคมนาคม ผอ. สำนักงบประมาณเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ว่า กทม. ผบ.ตร. อธิบดีประชาสงเคราะห์ อธิบดีอุตุนิยมวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่ง ค.ร.ม. แต่งตั้ง เป็นกรรมการ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่ของ ปพร. ชาติ

    *
      กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
    * วางแผนหลักในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ทั้งนี้ แผนหลักจะต้องมีกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างแล้วแต่กรณีตามความจำเป็น ดังนี้ การประชาสัมพันธ์ การจัดกำลังคน การจัดระบบสัญญาณเตือนภัย การจัดที่หลบภัย การจัดพื้นที่รองรับการอพยพ การพรางและการควบคุมแสงไฟ การรักษาความสงบเรียบร้อย การจราจร การป้องกัน ทำลายล้างยุทธภัณฑ์ วัตถุระเบิด สารเคมีชีวะและรังสีที่เป็นอันตราย การโยธา การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการจัดการกับผู้เสียชีวิต การขนย้ายผู้ประสบภัย การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การสาธารณูปการ การติดต่อสื่อสาร การควบคุมคลื่นวิทยุ ฯ
    * กำหนดวิธิการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และการฝึกซ้อม
    * วางระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายอื่นในการป้องกันภัยฯ
    * พิจารณาและกำหนดกิจการอื่น เกี่ยวกับการป้องกันภัยฯ
    * แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะมอบหมาย
    * ออกคำสั่ง เรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถาม หรือชี้แจงข้อเท็จจริงในกิจการใด ๆ หรือให้ส่งเอกสารหรือวัสดุ เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

วาระการดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ 3 ปี หรือกรณีตาย ลาออก ล้มละลาย ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ถูกจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ประมาท หรือความผิดลหุโทษ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่ สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

อธิบดีกรมป้องกันฯ เป็นเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

    * เป็นกองอำนายการของ ผอ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร
    * ดำเนินการด้านธุรการของคณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ
    * ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ทางด้านวิชาการ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
    * จัดทำแผนหลักในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ทบทวนแผนทุก 3 ปี เสนอ ปพร. ชาติ
    * จัดให้มีการฝึกอบรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
    * ประสานงาน ติดตามผล และประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงาน
    * ปฏิบัติงานอื่นตามที่ ปพร. ชาติ มอบหมาย

ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร

    * ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร
    * จัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการป้องกันภัย
    * บังคับบัญชาผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เจ้าหน้าที่ป้องกันภัย และพนักงานป้องกันภัย ทั่วราชอาณาจักร
    * ประกาศกำหนดท้องที่ขึ้นเป็นภาคตามความจำเป็น
    * แต่งตั้งผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาค
    * แต่งตั้ง ผอ. ป้องกันภัยฯ เป็นกรณีพิเศษ สำหรับภัยทางอากาศ หรือการก่อวินาศกรรม
    * ให้ความเห็นชอบแผนประจำปี หรือแผนเฉพาะ ของจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้ง กทม.
    * สั่งอพยพผู้คน ส่วนราชการออกจากพื้นที่อันตราย

จัดทำโดย สมนึก พุ่มพฤกษ์ 17 ส.ค. 46
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด 2
การระงับอัคคีภัย
-----------------
มาตรา 15 ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานดับเพลิง และเจ้า
พนักงานตำรวจ มีหน้าที่ระงับอัคคีภัย โดยให้ติดเครื่องหมายและให้แสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยว
ข้องร้องขอ
มาตรา 16 ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่นมีอำนาจบังคับบัญชา เจ้าพนักงานท้องถิ่น
พนักงานดับเพลิง และเจ้าพนักงานตำตรวจในขณะเกิดเพลิงไหม้
ในกรณีที่มีผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่นมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่อำนวยการระงับ
อัคคีภัยพร้อมกัน อำนาจในการบังคับบัญชาให้เป็นไปตามประกาศที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 17 ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น
พนักงานดับเพลิง และเจ้าพนักงานตำรวจอาจขอให้อาสาดับเพลิงเข้าช่วยในการดำเนินการดังกล่าวของตน
ได้ ในการนี้ให้อาสาดับเพลิงมีอำนาจดำเนินการตามที่ได้รับการขอให้ช่วย
ในขณะปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง อาสาดับเพลิงต้องแต่งเครื่องแบบและติดเครื่องหมายและให้
แสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ
มาตรา 18 ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานดับเพลิง และเจ้า
พนักงานตำรวจ มีอำนาจใช้เครื่องดับเพลิง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้หรือยานพาหนะสำหรับระงับ
อัคคีภัยของเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้ หรือของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคารหรือสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงได้เท่าที่จำเป็นเพื่อระงับอัคคีภัย
มาตรา 19 ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานดับเพลิงและเจ้า
พนักงานตำรวจมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เพื่อทำการดับเพลิงหรือช่วยเหลือผู้
ประสบอัคคีภัย
การเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณเพลิงไหม้เพื่อทำการดับเพลิงหรือช่วยเหลือ
ผู้ประสบอัคคีภัย ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ก่อน เว้นแต่เมื่อมีเจ้า
หน้าที่ตามวรรคหนึ่งซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่
ระดับสามขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เป็นหัวหน้าควบคุมรับผิดชอบใน
การเข้าไปในอาคารหรือสถานที่นั้นอยู่ด้วย
การขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารหรือสถานที่ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้กระทำได้เมื่อเจ้า
ของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้นร้องขอ เว้นแต่ในกรณีเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้ผู้มีอำนาจเข้า
ไปในอาคารหรือสถานที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีอำนาจขนย้ายได้ตามความจำเป็นแก่การระงับ
อัคคีภัย
มาตรา 20 เพื่อประโยชน์ในการระงับอัคคีภัย ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่นมีอำนาจดำเนิน
การหรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 15 ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดสถานที่ชั่วคราวสำหรับการเคลื่อนย้ายหรือการปฐมพยาบาลผู้ประสบอัคคีภัย และการ
รักษาทรัพย์สินของผู้ประสบอัคคีภัย
(2) จัดระเบียบการจราจรชั่วคราวในบริเวณที่เป็นประโยชน์ในการระงับอัคคีภัย
(3) ปิดกั้นมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณเพลิงไหม้และบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณเพลิง
ไหม้
(4) จัดการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันเหตุโจรผู้ร้าย
(5) ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย
(6) ช่วยขนย้ายทรัพย์สินในบริเวณเพลิงไหม้และบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณเพลิงไหม้ เมื่อเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินร้องขอ
(7) ใช้บ่อน้ำ สระน้ำ ท่อน้ำ ทางระบายน้ำ และแหล่งน้ำอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลใด
มาตรา 21 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้เพลิงลุกลามต่อไป ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้อง
ถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอน ย้าย ทำลายทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนซึ่งอาคารหรือสิ่งที่จะเป็นสื่อให้เพลิงลุก
ลามต่อไปได้ ตามที่จำเป็นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
มาตรา 22 เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่อยู่ในอาคารหรือ
สถานที่ที่เป็นต้นเพลิงในขณะที่เกิดเพลิงไหม้มีหน้าที่ดับเพลิงเท่าที่สามารถกระทำได้ และต้องแจ้งให้เจ้า
หน้าที่ตามมาตรา 15 ทราบโดยด่วน
มาตรา 23 ผู้ใดพบเพลิงเริ่มไหม้ให้แจ้งต่อเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้
ดูแลรักษาอาคารหรือสถานที่ที่เป็นต้นเพลิง เพื่อทำการดับเพลิง ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าว และเพลิงนั้น
อยู่ในสภาพที่ตนสามารถดับได้ ก็ให้ทำการดับเพลิงนั้นทันที ถ้าเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ตนไม่สามารถดับได้
ให้รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 15 ทราบโดยด่วน
มาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการซ้อมระงับอัคคีภัย ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่นมีอำนาจ
ดำเนินการหรือสั่งให้พนักงานดับเพลิงหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่เห็นสมควรละจำเป็น ดัง
ต่อไปนี้
(1) กำหนดบริเวณและสถานที่สำหรับทำการซ้อมระงับอัคคีภัย
(2) จัดระเบียบการจราจรชั่วคราวในบริเวณที่เป็นประโยชน์ในการซ้อมระงับอัคคีภัย
(3) ปิดกั้นมิให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ซ้อมระงับอัคคีภัย
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด 1
การป้องกันอัคคีภัย
----------------
มาตรา 7 ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งเทศมนตรี
กรรมการสุขาภิบาล ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับสาม
ขึ้นไปหรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปให้เป็นนายตรวจ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ภายใน
เขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัยตามหมวดนี้ ให้นายตรวจมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อ
ไปนี้
(1) ตรวจตราสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายหรือสิ่งที่อยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
(2) ตรวจตราบุคคลผู้มีหน้าที่ในการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
นี้ ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องหรือไม่
(3) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำ
การของสถานที่นั้น เพื่อตรวจตราการเก็บรักษาสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย หรือในเวลาอื่นกรณีมีเหตุฉุก
เฉินอย่างยิ่งที่แสดงให้เห็นว่าสถานที่นั้นอยู่ในภาวะที่จะเกิดอัคคีภัย
(4) ให้คำแนะนำแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ให้ขนย้าย ทำลาย เปลี่ยนแปลง
หรือแก้ไขสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายหรือสิ่งที่อยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
(5) เคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายหรือสิ่งที่อยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัย
ได้ง่าย กรณีมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง
ให้นายตรวจรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกครั้งเมื่อได้ปฏิบัติการตามความในวรรคหนึ่ง
มาตรา 9 เมื่อได้รับรายงานจากนายตรวจว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ไม่ปฏิบัติ
ตามคำแนะนำของนายตรวจตามมาตรา 8 (4) หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพบด้วยตนเองว่ามีสิ่งที่ทำให้
เกิดอัคคีภัยได้ง่าย สิ่งที่อยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย หรือการกระทำที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้
ง่าย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่แก้ไขปรับปรุงหรือ
ปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมได้
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือและกำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติ
ให้แล้วเสร็จตามคำสั่งไว้ตามสมควร แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร เจ้า
พนักงานท้องถิ่นจะขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การส่งคำสั่งตามมาตรานี้ ให้นำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรืออาคารหรือสถานที่ของบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่ง
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือจะส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
ในกรณีที่นำส่งแล้วแต่บุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่ง ให้ผู้นำส่งขอให้พนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจไปเป็นพยานเพื่อวางคำสั่ง ณ ที่นั้น แต่ถ้าไม่พบบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่ง จะส่งให้
กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วซึ่งอยู่ในอาคารหรือสถานที่นั้นก็ได้ และถ้าไม่พบบุคคลใดหรือพบแต่ไม่
มีบุคคลใดยอมรับไว้แทน ให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่ที่เห็นง่ายต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ไป
เป็นพยาน
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคสามหรือวรรคสี่แล้ว ให้ถือว่าบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่งได้รับคำสั่งนั้น
แล้ว แต่ถ้าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยการปิดคำสั่ง ให้ถือว่าได้รับคำสั่งนั้น เมื่อ
ครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหรือวันที่ได้ปิดคำสั่งนั้นไว้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 10 ผู้ได้รับคำสั่งตามมาตรา 9 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อรัฐมนตรีได้
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือและยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าว และ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังรัฐมนตรีภายในสิบวันนับ
แต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ให้รัฐมนตรีมีคำสั่งวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์แล้วแจ้งคำสั่งพร้อม
ด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์และเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในระหว่างอุทธรณ์ให้รอการปฏิบัติการตามคำสั่งไว้ก่อน เว้นแต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสิ่งทำให้
เกิดอัคคีภัยได้ง่ายหรือสิ่งที่อยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายนั้นมีลักษณะจะเป็นอันตรายซึ่งไม่อาจ
รอได้
คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา11 ภายใต้บังคับมาตรา 10 ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีหรือไม่มีการปฏิบัติตาม
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการหรือจัดให้มีการดำเนินการเพื่อให้
เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการ
นั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับเบี้ยปรับในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปีของเงินจำนวนดังกล่าว
มาตรา 12 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายตรวจติดเครื่องหมายและให้แสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลที่
เกี่ยวข้องร้องขอ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการเข้าไปในอาคารหรือสถานที่
มาตรา 13 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ
นายตรวจตามมาตรา 8 ด้วย
การเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ให้นำความในมาตรา 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 14 ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ
ดำเนินการหรือสั่งให้พนักงานดับเพลิงหรืออาสาดับเพลิงดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดบริเวณหรือสถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้
(2) จัดระเบียบการจราจรชั่วคราวในบริเวณที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย
(3) ปิดกั้นมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณหรือสถานที่ที่กำหนด
(4) เคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
:: พ.ร.บ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 มาตราที่ 1-6

:: บทนิยาม
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
(2) พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ป้องกันอัคคีภัย" หมายความว่า การดำเนินการเพื่อมิให้เกิดเพลิงไหม้ และให้ หมายความรวมถึงการเตรียมการเพื่อรองรับเหตุการณ์เมื่อเกิดเพลิงไหม้ด้วย
"ระงับอัคคีภัย" หมายความว่า การดับเพลิงและการลดการสูญเสียชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้
"สิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย" หมายความว่า เชื้อเพลิง สารเคมี หรือวัตถุอื่นใด ไม่ว่าจะมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ ที่อยู่ในภาวะพร้อมจะเกิดการสันดาปจากการ จุดติดใด ๆ หรือการสันดาปเอง ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
"เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า
(1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(3) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(4) ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(5) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล
(6) ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การ บริหารส่วนตำบล
(7) หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ในท้องถิ่นที่มีความจำเป็นรัฐมนตรีจะแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรให้เป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
"ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น" หมายความว่า ผู้อำนวยการป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีหน้าที่อำนวยการป้องกันภัย ระงับอัคคีภัย และซ้อมระงับอัคคีภัย
"พนักงานดับเพลิง" หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้มีหน้าที่ ป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
"อาสาดับเพลิง" หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ ช่วยเหลือพนักงานดับเพลิงในการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ในการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยให้ผู้อำนวยการดับเพลิง ประจำท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีเครื่องดับเพลิง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และยานพาหนะ สำหรับป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
(2) จัดให้มีสถานที่สำหรับเก็บรักษาสิ่งของดังกล่าวใน (1) โดยแยกเป็นหน่วย ตามความจำเป็น เพื่อใช้ป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยได้ทันท่วงที
(3) จัดให้มีอาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(4) จัดการบรรเทาทุกข์ และจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
(5) จัดให้มีการอบรมและดำเนินการฝึกซ้อมป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
(6) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรม และข้อปฏิบัติของอาสา ดับเพลิง
(7) แต่งตั้งพนักงานดับเพลิงและอาสาดับเพลิงตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
(1) เงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษาและการมีไว้ในครอบครองซึ่งสิ่งที่ทำให้
เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
(2) กิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ ดังกล่าวมีไว้ซึ่งบุคคลและสิ่งจำเป็นในการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยตามสมควรแก่สภาพ แห่งอาคารหรือกิจการนั้น
(3) อาณัติสัญญาณหรือเครื่องหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
(4) เครื่องหมายของผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น นายตรวจพนักงานดับเพลิงและอาสาดับเพลิง
(5) เครื่องแบบและบัตรประจำตัวของนายตรวจ พนักงานดับเพลิงและอาสา ดับเพลิง
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ และให้ รัฐมนตรีมีอำนาจออกระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้