ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ผ่านได้ โอกาสสูง
tankun ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ผ่านได้ โอกาสสูง

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว แนวข้อสอบตำรวจ 2554 เมื่อเวลา(2011-05-08)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 1. ระเบียบนี้ใช้บังคับเมื่อ 1 มิถุนายน 2526 2. ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ครม.และคำสั่งอื่นใน ที่ขัดแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน3. ระเบียบนี้ใช้บังคับ แก่ ส่วนราชการ ถ้าส่วนราชการใด มีความจำเป็น จะปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดให้ทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบ(ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)4. ถ้าระเบียบงานสารบรรณของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ หรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการกำหนดวิธี ปฏิบัติไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย นั้น5. งานสารบรรณ หมายถึงงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่งการเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย6. หนังสือ หมายความว่า หนังสือราชการ7. อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใด ลักษณะคล้ายกัน และให้หมายถึง การประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นว่านั้น8. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์หมายความว่า การรับส่ง ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์9. ส่วนราชการหมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐทั้งในส่วนราชการบริหารส่วนกลาง บริหารราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นหรือในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการด้วย ๑10. คณะกรรมการหมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมาย จากก ทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่องใด ๆและให้หมายความถึง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน11. ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รักษาการณ์ตามระเบียบนี้ให้มีอำนาจ1. ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้2. แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก3. จัดทำคำอธิบาย. การตีความ , วินิจฉัยปัญหา , แก้ไขเพิ่มเติม , และจัดทำคำอธิบายปลัดสำนักนายกจะขอความเห็นจากคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบให้มีหน้าที่ให้มีหน้าที่1. ดำเนินการฝึกอบรม เกี่ยวกับงานสารบรรณชนิดของหนังสือ1. หนังสือราชการคือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ ได้แก่หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ(ส่วนราชการ ส่วนราชการ)1.1 หนังสือที่ ส่วนราชการ หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วน ราชการ(เช่นสภาทนายความ), บุคคลภายนอก1.2 หนังสือที่บุคคลภายนอก , หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการส่วนราชการ1.3 เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการสำคัญมาก…! 1.4 เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อบังคับ1.5 ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์2. หนังสือราชการมี 6 ชนิด1. หนังสือภายนอก2. หนังสือภายใน3. หนังสือประทับตรา4. หนังสือสั่งการ5. หนังสือประชาสัมพันธ์6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการหนังสือภายนอกคือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดย ใช้กระดาษตราครุฑเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือ ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่ส่วนราชการ หรือ มีถึง บุคคลภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้1. ที่ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของ คณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตาม ความจำเป็น2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการหรือคณะกรรมการ ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้นและโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย3. วัน เดือน ปี ๓ ๔ให้ลงตัวเลขของ วันที่ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลข ของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ4. เรื่องให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ถ้าเป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม5. คำขึ้นต้นให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่6. อ้างถึง (ถ้ามี)ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วน ราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว จะจากส่วนราชการ ใดก็ตามโดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และ เลขที่หนังสือ วันที่ เดือนปีพุทธศักราชของหนังสือนั้น การอ้างถึงให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียง ฉบับเดียวเว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมา พิจารณา จึงอ้างถึง หนังสือฉบับอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย7. สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสารหรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับ หนังสือนั้นในกรณีไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้ แจ้งด้วยว่าส่งไปในทางใด8. ข้อความให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ9. คำลงท้าย ๕ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือนั้น1. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือและให้พิมพ์ชื่อ เต็มของ เจ้าของรายมือชื่อ2. ตำแหน่งให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ3. ส่วนราชการเจ้าของเรื่องให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก หนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกระทรวงหรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการ เจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออก หนังสือ อยู่ในระดับกรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่องเพียงระดับกอง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ4. โทร ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของ เรื่องหรือหน่วยงานที่ออกกหนังสือหรือหมายเลขภายใน ตู้สาขา (ถ้ามี) ไว้ด้วย โทรสารให้ลงหมายเลขโทรสาร ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือต่อจากหมายเลขโทรศัพท์5. สำเนาส่ง (ถ้ามี)ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วน ราชการ หรือบุคคลอื่นทราบและประสงค์จะให้ผู้รับทราบ ว่าได้มีการส่งสำเนาไปให้ผู้ใดแล้วให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อ ของส่วนราชการหรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อให้เป็นที่ เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมาก ให้ พิมพ์ว่าส่งไปตามรายชื่อที่แนบ และแนบรายชื่อไปด้วยคือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึก ข้อความมีรายละเอียดดังนี้1. ส่วนราชการให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก หนังสือ โดยมีรายละเอียดพอสมควร ถ้าเป็นส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไปให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับ กรม และกองถ้าส่วนราชการอยู่ระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือถ้าต่ำกว่ากรมให้ลงส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งหมายเลข โทรศัพท์ (ถ้ามี)ที่(ลงรหัสตัวพยัญชนะ และตัวเลขประจำของเจ้าของเรื่อง /เลขทะเบียนหนังสือส่ง) ถ้าเป็นหนังสือของคณะกรรมการ กำหนดพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้วันที่ตัวเลขวันที่ ชื่อเต็มของเดือน ตัวเลขปีพุทธศักราชเรื่องย่อใจความสั้นที่สุด ถ้าเป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่องของ หนังสือฉบับเดิมคำขึ้นต้นตามฐานะผู้รับข้อความหนังสือภายใน ๗สาระสำคัญ ชัดเจน เข้าใจง่าย ถ้ามีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ และถ้ามีการอ้างถึง หรือ สิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุในข้อนี้7. ลงชื่อและตำแหน่งหากกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดใดต้องการ กำหนดแผนการเรียนโดยเฉพาะ ก็ทำได้คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ขึ้นไปโดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราหนังสือประทับตราใช้ได้กับ1. ส่วนราชการ กับ ส่วนราชการ2. ส่วนราชการกับ บุคคลภายนอก ใช้ได้เฉพาะกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่2.1 ขอรายละเอียดเพิ่มเติม2.2 การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือ บรรณสาร2.3 การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน2.4 การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องทราบ2.5 การเตือนเรื่องที่ค้าง2.6 เรื่องซึ่ง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดย ทำเป็นคำสั่ง (ให้ใช้หนังสือประทับตรา)รายละเอียดของหนังสือประทับตรา1. ที่หนังสือประทับตรา ๘2. ถึง3. ข้อความ4. ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ5. ตราชื่อส่วนราชการ ประทับด้วยหมึกสีแดงและให้ผู้รับผิดชอบลง ชื่อย่อกำกับตรา6. วัน เดือน ปี7. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง8. โทร , หรือที่ตั้ง (ถ้าไม่มีโทร , ให้ลงที่ตั้งส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ลง ที่อยู่ตามความจำเป็น รวมทั้ง แขวงและไปรษณีย์ (ถ้ามี) ) และให้ ลงโทรสาร ต่อจากเบอร์โทร เหมือนหนังสือภายนอกมี3 ชนิดคือ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับo คำสั่ง คือบรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ ให้ปฏิบัติโดยชอบ ด้วยกฎหมายo ระเบียบคือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัย อำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้o ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัย อำนาจ กฎหมายที่บัญญัติให้การลงรายละเอียดข้อของระเบียบหรือข้อบังคับ1. ให้เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบ หรือข้อบังคับ2. ให้ข้อที่ 1 เป็นชื่อของระเบียบหรือข้อบังคับ3. ให้ข้อที่ 2 เป็นวันใช้บังคับ กำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดหนังสือสั่งการ ๙1. ข้อสุดท้าย เป็นข้อผู้รักษา การณ์ ถ้าระเบียบหรือ ข้อบังคับใดมีมากข้อหรือหลายเรื่อง จะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนจะขึ้นหมวด 1 มี 3 ชนิด ได้แก่ประกาศ แถลงการณ์ และข่าวo ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือชี้แจง ให้ทราบ หรือ แนะแนวทางปฏิบัติo แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลง เพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ ทราบชัดเจนโดยทั่วกันo ข่าว คือบรรดาข้อความที่ทางราชการ เห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบคือหนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการและส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการหนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด คือ 1. หนังสือรับรอง 2. รายงานการประชุม 3. บันทึก 4. หนังสืออื่นหนังสือประชาสัมพันธ์หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการหนังสือรับรอง ๑๐คือ หนังสือที่ส่วนราชการกรอกให้ เพื่อรับรองแก่บุคคลนิติบุคคล หรือ หน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปไม่ จำเพาะเจาะจงรายละเอียดของหนังสือเลขที่ ลงได้2 รูปแบบ คือ1. ให้ลงเลขที่ของหนังสือรับรองโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ เลขที่ 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทินทับเลขปี พุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง2. ลงเลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกส่วนราชการเจ้าของหนังสือให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และจะลงที่ตั้งด้วยก็ได้ข้อความให้ลงข้อความขึ้นต้นว่า หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า แล้วต่อด้วยชื่อบุคคลนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่ทาง ราชการรับรอง ในกรณีที่เป็นบุคคลให้พิมพ์ชื่อเต็มโดยมี คำนำหน้านาม ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ และสังกัดหน่วยงานที่ผู้นั้นทำงานอยู่ อย่างชัดเจน แล้วจึงลง ข้อความที่รับรองให้ไว้ ณ วันที่ ลง ตัวเลขวันที่ ชื่อเต็มของเดือน ตัวเลขของปีศักราชที่ออกหนังสือรับรองลงชื่อ ให้ลงชื่อหัวหน้าส่วนราชการที่ออกหนังสือหรือผู้ได้รับ มอบหมาย และให้พิมพ์ชื่อเต็มไว้ใต้ลายมือชื่อตำแหน่งให้ลงตำแหน่งของผู้ลงลายมือชื่อรูปถ่ายและลายมือชื่อผู้ได้รับการรับรองกรณีเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้บุคคลให้ติดรูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตรหน้าตรงไม่สวมหมวกประทับตราชื่อส่วนราชการบนขอบล่างด้านขวาของรูป คาบลงบน ๑๑แผ่นกระดาษ และให้ผู้นั้นลง ลายมือชื่อไว้ใต้รูปถ่าย พร้อมพิมพ์ชื่อ เต็มไว้ใต้ลายมือชื่อคือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุมผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐานรายละเอียดรายงานการประชุม1. รายงานการประชุม (ชื่อคณะประชุม หรือชื่อการประชุม)2. ครั้งที่3. เมื่อ (วันที่ประชุม)4. ณ (สถานที่)5. ผู้มาประชุม6. ผู้ไม่มาประชุม7. ผู้เข้าร่วมประชุม (ชื่อ , ตำแหน่ง ผู้ที่ไม่ได้มีส่วนกับการประชุม แต่ เข้าร่วมประชุม)8. เริ่มประชุมเวลา (ระวังจะโดนหลอกว่าเปิดประชุมเวลา)9. ข้อความ(ข้อความที่ประชุม)10. เลิกประชุมเวลา (เขาจะหลอกว่าปิดประชุมเวลา)11. ผู้จดรายงานการประชุม (โดยปกติจะเป็น เลขานุการที่ประชุม)ลักษณะของบันทึกได้แก่1. ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา2. ผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานการประชุมบันทึก ๑๒1. ข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือ หน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรม ติดต่อกันในการปฏิบัติราชการบันทึกมี 5 ประเภท ได้แก่1. บันทึกย่อเรื่อง2. บันทึกรายงาน3. บันทึกความเห็น4. บันทึกติดต่อ5. บันทึกสั่งการการบันทึกต่อเนื่อง ให้ผู้บันทึกระบุ1. คำขึ้นต้น2. ใจความที่บันทึก3. ลงชื่อ4. ลงวันที่ใต้ลายมือชื่อคือ 1. หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียงแถบบันทึกภาพ และสื่อกลางบันทึกข้อมูล ด้วย ( แผ่นบันทึกข้อมูล , เทปแม่เหล็ก , จานแม่เหล็ก , แผ่นซีดี อ่านอย่างเดียว , แผ่นดิจิตอลเอนกประสงค์ )2. หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และ เจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว เช่น โฉนด , แผนที่ , แบบ , แผนผัง , สัญญา, หลักฐานการสืบสวน และ สอบสวน , คำ ร้อง เป็นต้นหนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติหนังสืออื่น ๑๓มี 3 ประเภท1. ด่วน ที่สุด = ปฏิบัติหน้าที่ทันทีที่ได้รับ หนังสือ2. ด่วนมาก =ปฏิบัติโดยเร็ว3. ด่วน = ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้วิธีระบุชั้นความเร็ว1. ใช้ตัวอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ ให้ เห็นเด่นชัด บนหนังสือและบนซอง2. ถ้าต้องการให้ถึงผู้รับภายในกำหนดเวลา ให้ระบุคำว่า ด่วนภายใน วัน เดือน ปีเวลาบนหน้าซองการติดต่อราชการทำได้ 2 ทาง คือ 1. หนังสือราชการ 2. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์วิธีการส่งสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งตรวจสอบผลการส่งทึกครั้งให้ผู้รับแจ้งตอบรับ (เพื่อยืนยันว่าได้รับหนังสือ )ส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องทำเป็นหนังสือตามอีกยกเว้นเป็น เรื่องสำคัญถึงทำเอกสารตามไปวิธีการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารวิทยุโทรเลข , โทรพิมพ์ , โทรศัพท์ , วิทยุสื่อสาร , วิทยุกระจายเสียง , วิทยุโทรทัศน์1. ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ (กรณีจำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ยืนยันตามไปทันที)2. การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานให้ผู้ส่งและผู้รับ บันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานสำเนาหนังสือหนังสือที่จัดทำขึ้นต้องทำสำเนา 2 ชนิด คือ1. สำเนาคู่ฉบับ (เหมือนตัวจริงมีลายมือชื่อ หรือ ลายมือชื่อ ๑๔ย่อ และที่ขอบล่างด้านขวาของหนังสือมีรายชื่อผู้ร่าง ผู้ พิมพ์และ ผู้ตรวจ )เก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ2. สำเนา เก็บไว้ที่สารบรรณกลาง 1 ฉบับการรับรองสำเนาถูกต้อง ผู้มีสิทธิ์รับรองต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไปการรับรองประกอบด้วย สำเนาถูกต้องลายมือชื่อลงชื่อตัวบรรจงตำแหน่ง

http://www.sobtid.com
 รายละเอียดเพิ่ม แจกแนวข้อสอบ

 




รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้