ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติความเป็นมาของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติความเป็นมาของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน


ประวัติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน




ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิดเป็นอย่างมาก ที่สำคัญได้แก่ ยารักษาโรค และสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ความคิดที่จะสร้างอุตสาหกรรมให้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา จึงได้เกิดขึ้นภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ในขั้นแรกรัฐบาลได้เป็นผู้บุกเบิกลงทุนและบริหารเอง แต่ก็ไม่ประสบผมสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ ในระยะต่อมาได้มี “พระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ.2497” ขึ้น แต่บทบัญญัติที่จะส่งเสริมมีไม่เพียงพอ

ต่อมาในปี พ.ศ.2503 รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีเจตนาแน่วแน่ที่จะสนับสนุนให้เอกชนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการลงทุนและบริหารงานอุตสาหกรรม จึงได้ประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนขึ้นเรียกว่า “พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2503”

ปีพุทธศักราช 2503 จึงถือเป็นปีเริ่มต้นใช้ พรบ.ส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พรบ.ฉบับนี้จึงเป็นเสมือนเสาเอกของงานส่งเสริมการลงทุนซึ่งยาวนานจวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 29 ปี

สาระสำคัญของ พรบ.ส่งเสริมฯปี 2503 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายแม่บทของงานส่งเสริมในระยะต่อๆมา สรุปได้ว่ารัฐให้หลักประกันว่าจะไม่โอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐ และจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขันกับผู้ได้รับการส่งเสริม รัฐจะให้สิ่งจูงใจในด้านภาษีอากรทั้งเครื่องจักร วัตถุดิบ และภาษีรายได้ อนุญาตให้นำช่างฝีมือจากต่างประเทศเข้ามาได้ นอกเหนืออัตราควบคุมคนเข้าเมือง และให้บริษัทต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการอุตสาหกรรมได้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2505 บัญญัติให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม” มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าการบริหารงานส่งเสริมการลงทุนในรูปคณะกรรมการบริหาร ไม่มีฐานะเป็นกรมในราชการ เป็นเหตุให้เกิดความไม่สะดวกแก่การบริหารราชการ ซึ่งต่อมา รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2509 และในปี พ.ศ. 2511 ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอีกครั้งหนึ่งเพื่อกำหนดให้กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2508 ขึ้นเป็นหน่วยราชการในระดับกรม ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี และมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นหัวหน้าส่วนราชการ โดยในระยะแรกได้ใช้ชื่อสำนักงานว่า "สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม" แม้ว่าก่อนปี พ.ศ. 2509 จะมีการบริหารงานส่งเสริมการลงทุนอยู่ก่อนแล้ว แต่กระทำในรูปคณะกรรมการ และอาศัยการยืมตัวเจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการอื่นๆ มาทำงาน

ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา การพัฒนาอุตสาหกรรมได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง โรงงานทันสมัยต่างๆเริ่มเกิดมากขึ้น โครงสร้างอุตสาหกรรมในช่วง 12 ปีแรกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง รัฐจึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฯ ให้มีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2515 รัฐบาลได้ประกาศใช้ พรบ.ส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ โดยออกเป็นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 227 สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นคือ กำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่กิจการส่งออก และการลงทุนในส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ได้ขยายขอบเขตเรื่องการลงทุนให้กว้างขวางกว่าเดิม โดยตัดคำว่า “เพื่อกิจการอุตสาหกรรม” ออก ดังนั้นการลงทุนจึงคลุมกว้างขวางขึ้น โดยรวมสาขาการเกษตร เหมืองแร่ และการบริการ ไว้ด้วย

ในช่วงปลายปี 2516 จนถึงปี 2520 สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งภายในประเทศและประเทศข้างเคียงได้เปลี่ยนแปลงค่อนข้างรุนแรง ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนอีกครั้ง และประกาศใช้ พรบ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สาระสำคัญของกฎหมายลงทุนฉบับนี้ ได้เพิ่มมาตรการด้านการจูงใจ ด้านการลงทุน เพื่อการส่งออก การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศมากกขึ้น และเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวก และการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการลงทุนเข้าไว้ด้วย ซึ่ง พรบ.ฉบับนี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2534 และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 และได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

อาคารที่ทำงานของคณะกรรมการส่งเสริมฯ ได้มีขึ้นครั้งแรกที่อาคาร 2 ถนนราชดำเนิน ต่อมางานได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก อาคารเดิมมีความคับแคบไม่เพียงพอ จึงได้ย้ายสำนักงานโดยเช่าบางส่วนของอาคารธนาคารกสิกรไทย เป็นที่ทำการชั่วคราวในปี 2526 และในปี 2532 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้จัดซื้ออาคารส่วนหนึ่งจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นสำนักงานถาวรของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป

เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้ผลมากยิ่งขึ้น ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้ง "สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (การลงทุน)” ในต่างประเทศขึ้น 2 แห่ง คือ ที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่นครแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เพื่อทำหน้าที่โฆษณา เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ลู่ทางการลงทุน บรรยากาศการลงทุน ชักจูงให้เกิดการลงทุน และอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างประเทศที่สนใจลงทุนในประเทศไทย

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีสำนักงานฯต่างประเทศ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ นิวยอร์ค แฟงค์เฟิร์ต โตเกียว ปารีส เซี่ยงไฮ้ ลอสแอนเจลีส และโอซากา ทำหน้าที่เผยแพร่ด้านการลงทุนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในภูมิภาค โดยให้สิทธิประโยชน์แก่โครงการที่ตั้งในภูมิภาคให้ได้รับมากขึ้น และได้จัดตั้งสำนักงานสาขาในส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นแห่งแรก เมื่อปลายปี 2531 และในปัจจุบัน สำนักงานฯมีศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภูมิภาค 7 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นครราชสีมา และ อุบลราชธานี ภาคใต้ที่สงขลา และสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ และพิษณุโลก และภาคตะวันออก ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ชลบุรี ทำหน้าที่เผยแพร่การลงทุนในส่วนภูมิภาค

ถูกใจเพจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ
รูปภาพ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.jpg
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้