ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบพนักงาน อบต.จังหวัดพังงา ตำแหน่งพนักงานบุคลากร
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบพนักงาน อบต.จังหวัดพังงา ตำแหน่งพนักงานบุคลากร

ตั้งแต่ข้อ 1. - 10.                     ข้อใดเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงอิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ดังต่อไปนี้
        (1)  ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ                                       (2)  อุดมการณ์หรือแนวความคิด
     (3)  โครงสร้างประชากร                                          (4)  ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ เผ่าพันธ์
1.    การอนุมัติให้เปิดรับสตรีเข้ารับศึกษาในโรงเรียนเหล่าทัพได้
        ตอบ  2      อุดมการณ์หรือแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการศึกษา (Education System) หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้นและขั้นตอนการศึกษาประเภทของการศึกษา รูปแบบของการศึกษา (ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย) หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียน/นักศึกษา (เช่น การอนุมัติให้เปิดรับสตรีเข้าศึกษาในโรงเรียนเหล่าทัพได้) กระบวนการเรียน - การสอนตลอดจนการวัดผลและประเมินผล
2.    การแต่งตั้ง พล.อ.ชวลิต  ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรับผิดชอบงานด้านต่างประเทศเพื่อสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับเขมร
        ตอบ  2      อุดมการณ์หรือแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคุณธรรม (Merit System)  มีดังนี้
                            1.  ความรู้ความสามารถ        2.  ความอาวุโส                   3.  การเป็นตัวแทนของสังคม
                            4.  ความเชื่อถือศรัทธา           5.  ความรับผิดชอบ
                            6.  ความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงอิทธิพลในเรื่องดังกล่าว อาทิเช่น การแต่งตั้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี, พระราชดำรัสของในหลวงที่พระราชทานแก่ผู้พิพากษาศาลปกครอง... เป็นต้น
3.    การระงับนมปนเปื้อนสารเมลามีนจากประเทศจีนของรัฐบาลทุกประเทศซึ่งส่งผลต่อการเสียชีวิตของเด็ก
        ตอบ  3      โครงสร้างประชากร มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจำนวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกำลังศึกษา วัยทำงาน วัยเกษียณอายุ วัยชรา เป็นต้น) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ จำนวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจำนวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ
4.    ในหลวงพระราชทานเงิน 10 ช่วยประชาชนในขตประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
        ตอบ  1      ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อ HRD ได้แก่
                            1.   ภูมิประเทศ สถานที่ตั้ง ขนาดของพื้นที่ อาณเขตติดต่อ เช่น ที่ราบสูง ภูเขา ที่ราบริมทะเล ห้วย แม่น้ำ ฯลฯ
                            2.  ภูมิอากาศ เช่น สภาพอากาศหนาว ร้อน เย็น เป็นต้น
                            3.  การเกิดภัยธรรมชาติ เช่น พายุฝน น้ำท่วม ไฟป่า แผ่นดินไหว สึนามิ เป็นต้น
                            5.  การบัญญัติเรื่องการรักษาจรรยาข้าราชการ ใน พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551
        ตอบ  5      เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม ส่วนนวัตกรรม หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงอิทธิพลในเรื่องดังกล่าว อาทิเช่น การบัญญัติเรื่องการรักษาจรรยาข้าราชการขึ้นเป็นครั้งแรก ในพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551, การส่งเสริมนาโนเทคโนโลยีให้นำมาใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
6.    การส่งเสริมนาโนเทคโนโลยีให้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
        ตอบ  5      ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
7.    การขยายระบบการศึกษาให้มีการเตรียมความพร้อมให้เด็กตั้งแต่วัย 2 ขวบครึ่ง
        ตอบ  3      คำคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
8.    การเปิดกว้างให้นายจ้างรับคนต่างด้าวลงทะเบียนการจ้างได้ในธุรกิจต่าง ๆ หลากหลายด้านมากขึ้น
        ตอบ  4      การพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของมนุษย์หรือประชากร เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา ความสัมพันธ์และความขัดแย้งของบรรดาประเทศเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ต่าง ๆ รวมตลอดถึงทักษะความชำนาญหรือความสามารถเฉพาะของแต่ละเชื้อชาติ/เผ่าพันธ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้และไม่ขัดแย้งกับบริบทของมนุษย์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น
9.    นโยบายการกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมให้กับคนญวนอพยพเฉพาะใน 14 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
        ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
10.  รัฐกำหนดห้ามการตั้งรกรากหรือที่อยู่อาศัยบนเขตพื้นที่ซึ่งทำมุมเกิน 34 องศาขึ้นไป เพราะถือว่าเป็นเขตภูเขาและป่าไม้
        ตั้งแต่ข้อ 11.-20.    ข้อใดเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงอิทธิพลของหลักการของแนวความคิดดังต่อไปนี้ ซึ่งมีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
        (1)  การปฏิวัติอุตสาหกรรม                                      (2)  การจัดแบบวิทยาศาสตร์
        (3)  หลักการพื้นฐานของการจัดการ                       (4)  หลักสังคมวิทยาหรือมนุษยสัมพันธ์
        (5)  หลักการบริหารสมัยใหม่
11.  ข้อเสนอให้ข้าราชการทำงานที่บ้าน ของ ก.พ.
        ตอบ  2      ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (The Principle of  Scientific Management) มีอิทธิต่อ HRD ดังนี้
                 1.  แสวงวิธีการทำงานที่ดีที่สุด (One Best Way) โดยวิธีกานทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินผล เช่น การทดลองให้ข้าราชการทำงานที่บ้านของ ก.พ.
                            2.  การคัดเลือกพัฒนาและฝึกอบรมบุคคลอย่างมีหลักเกณฑ์แบบวิทยาศาสตร์ เช่น การเสริมสร้างสมรรถนะให้กับคนพิการเพื่อชิงชัยในกีฬาพาราลิมปิก
                       3การกำหนดคำตอบแทนรายชิ้น และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฯลฯ
12.  ข้อเสนอให้กำหนดค่าจ้างแรงงานตามอัตราค่าครองชีพที่เป็นจริงของสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย
        ตอบ  1      การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการและ HRD ดังนี้
                            1.  เน้นการผลิตในเชิงปริมาณ โดยมีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
                            2.  มีการผลิตในการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
                            3.  เน้นการประสานรอยร้าวระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อหาข้อยุติให้กับการต่อรองของสหภาพแรงงาน
13.  กรมอาชีวศึกษาเน้นการเปิดหลักสูตรสร้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องจักรกลโรงงานให้มากขึ้น
        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 12 ประกอบ
14.  ข้อกฎหมายที่กำหนดให้โรงงานใดซึ่งมีคนงานเกินกว่า 200 คนขึ้นไปให้มีนักจิตวิทยาประจำโรงงานด้วย
        ตอบ  4      ทฤษฎีสังคมวิทยาหรือทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Organization Theory) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาสังคมที่เน้นศึกษาความสัมพันธ์ของคนและกลุ่มคนโดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้  
                            1.  มีการนำพฤติการณ์ศาสตร์มาศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทำนาย และควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ เช่น การกำหนดให้มีนักจิตวิทยาประจำโรงงาน   
                             2.  เน้นหลักการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม
                            3.  กลุ่มจะเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานพฤติกรรมของกลุ่มหรือวัฒนธรรมการทำงาน และมาตรฐานของงาน  
                             4.  กลุ่มมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล
                     5.  การพัฒนาบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่และพนักงานขององค์การแบบเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม
15.  การตั้วธนาคารสมองให้เป็นศูนย์รวมของผู้บริหารอาวุโส เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานต่าง ๆ
        ตอบ  3      ทฤษฎีหลักการพื้นฐานของการจัดการ (The Principle of  Management) ของ Gulick และ Urwick เรียกว่า POSDCORD ซึ่งมีหลักการสำคัญดังนี้

                            1.  การวางแผน (Planning) เช่น การวางแผนพัฒานฝีมือแรงงานของกระทรวงแรงงาน

                            2.  การจัดองค์กร (Organization) เช่น การตั้งธนาคารสมองของผู้บริหารอาวุโส

                            3.  การจัดบุคคลเข้าทำงาน (Staffing)

                            4.  การสั่งการ (Directing)                  5.  การประสานงาน (Coodinating)

                            6.  การรายงานผล (Reporting)         7.  การจัดงบประมาณ (Budgeting)

16.  การนำระบบสร้างเครือข่ายเพื่อประสานงานระหว่างกลุ่มคนพิการมาใช้ในสมาคมคนพิการ

        ตอบ  5      ทฤษฎีการบริหารองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

            1.  การบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ เช่น ระบบการจ่ายค่าตอบแทนแบบเหมาจ่าย

            2.  ทฤษฎีการสื่อสารขององค์กร เช่น การสร้างเครือข่ายหรือสายใยของการสื่อสาร

            3.  ทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการ เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) คือระบบที่รวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวข้องกันภายใต้ข้อกำหนดของเวลาที่จำกัด เพื่อใช้ในการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ คือ ระบบข่าวสารที่นำคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมาใช้งานร่วมกัน

17.  การเสริมสร้างสมรรถนะให้กับคนพิการเพื่อชิงชัยในกีฬาพาราลิมปิก

        ตอบ  2      (ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ) แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพล (อย่างชัดเจนที่สุด) ต่อมาปรากฏการณ์ดังกล่าว ก็คือ วิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความพร้อมและความสมบูรณ์สูงสุด ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เทคนิคและทักษะในการแข่งขัน ตลอดจนพัฒนาไปสู่ความสามารถสูงสุดของแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบ

18.  การสร้างคลังข้อมูลด้านแรงงานของกระทรวงแรงงานเพื่อการวางแผนพัฒนาฝีมือแรงงาน

        ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

19.  การพัฒนาประชากรไทยในปัจจุบันเน้นให้ประชาชนไทยมีทางเลือกในการรักษาพยาบาลหลาย ๆ ทางเลือก มากกว่าเดิม

        ตอบ  5      ในปัจจุบันส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับหลักการบริหารสมัยใหม่มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีปราะสิทธิภาพ ถูกต้อง ฉับไว และตรงใจผู้ใช้บริการ โดยจะจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสานสนเทศในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์การให้แก่ประชาชน และบุคคลผู้สนใจทั่วไปได้รับทราบ เช่น การปฏิบัติงาน ทางเลือกในการให้และรับบริการในด้านต่าง ๆ เป็นต้น

20.  การพัฒนาคนของระบบราชการเน้นการประสานทั้ง 3 มิติ คือ สติปัญญา ความสามารถที่จะเรียนรู้ จิตยินดีให้บริการและมีจริยธรรมซื่อสัตย์

        ตอบ  4  ดูคำอธิบายข้อ 14 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 21.-25.   ข้อใดสะท้อนถึงแนวคิดในการพัฒนาของคนไทยตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องดังต่อไปนี้

        (1)  การพอประมาณ                  (2)  ความมีเหตุผล              (3)  การสร้างภูมิคุ้มกัน                     (4)  การมีคุณธรรม             (5)  การมีความรู้

21.  ระบบการศึกษาเน้นการสร้างคนให้มี

        ตอบ  2       ระบบการศึกษาจะเน้นการสร้างคนให้มี ความมีเหตุผลซึ่งหมายถึงการพิจารณาที่จะดำเนินชีวิตหรือหรือดำเนินงานใด ๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินชีวิตหรือการดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดสิทธิผล เกิดประโยชน์ และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

22.  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจูงใจให้คนใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด

        ตอบ  1      ความพอประมาณ หมายถึงการดำเนินชีวิตหรือการดำเนินงานด้วยความพอดี หรือ ทางสายกลางที่ไม่มากเกินไป หรือไม่น้อยเกินไป แต่เป็นไปตามอัตภาพ (คือ กำลังและฐานะของตนเอง) และสภาพแวดล้อม โดยที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง ความประหยัดในการใช้ทรัพยากรด้วย

23.  อบต.  สนับสนุนให้พนักงานได้รับทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไป

        ตอบ  3      การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์กรประกอบของการดำเนินชีวิตหรือการดำเนินงานให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทำใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป เป็นต้น

24.  การเน้นให้เยาวชนไทยมีพฤติกรรมขยัน อดออม และซื่อสัตย์

        ตอบ  4      เงื่อนไขของคุณธรรม หมายถึง เครื่องาศัยของการดำเนินชีวิตหรือการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างดีงาม ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ขยันหมั่นเพียร และความรอบคอบระมัดระวัง

25.  แนวคิดเรื่องการจัดการความรู้มาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของหน่วยราชการมากขึ้นกว่าในอดีต

        ตอบ  5      เงื่อนไขความรู้ หมายถึง เครื่องอาศัยของการดำเนินชีวิตหรือการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย ความรอบรู้ ความระลึกรู้(สติ) และความรู้ชัด(ปัญญา) ทั้งนี้จะต้องมีการจัดองค์ความรู้และระบบการเรียนรู้ของสังคม โดยเชื่อมโยงฐานความรู้ในตัวคนจากชีวิตจริงเข้ากับฐานความรู้ในหลักวิชาอย่างบูรณาการ พร้อมทั้งกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเปิดเผยต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ ๆ

ตั้งแต่ข้อ 26.-30.                     ข้อใดอธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ UN ในประเด็นดังต่อไปนี้

        (1)  เน้นผู้ด้อยโอกาส                                                 (2)  เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของโลก

        (3)  เน้นการพัฒนาแบบสมัครใจ                            (4)  เน้นความร่วมมือในระดับภูมิภาค

        (5)  เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

26.  การสร้างอาชีพให้กับสตรีที่ต้องอยู่บ้านดูแลครอบครัว

        ตอบ  1      การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเน้นไปที่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มสตรีหรือผู้หญิงซึ่งควรจะได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกในการกำหนดนโยบาย การวางแผนและโครงการต่าง ๆ สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการจ้างงานที่มีรายได้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศในฐานะที่ผู้หญิงเป็นทั้งผู้รับประโยชน์และตัวนำในการเปลี่ยนแปลง

27.  การระดมความคิดเห็นในการสร้างเขื่อนหรือฝ่ายป้องกันน้ำท่วม

        ตอบ  5      หลักการสร้างความร่วมมือในแนวระนาบ เป็นหลักการพัฒนาที่เน้นการสสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Stakeholder) ในสถานะที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและธุรกิจ ภาคชุมชน ภาคประชาชน และ NGOs โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

28.  การนำนักเรียนทุนระดับอำเภอไปศึกษาเล่าเรียนต่อในต่างประเทศ

        ตอบ  3      หลักการพัฒนาแบบสมัครใจ เป็นหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุนส่งเสริม หรือจูงใจให้คนร่วมมือด้วยความสมัครใจ มิใช่การบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งชี้แนะหรือเสนอแนะให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากหลักการดังกล่าว รวมทั้งมีการเสนอหลาย ๆ แนวทาง ให้เลือกด้วย

29.  ความพยายามให้ประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ของโลกลงนามในสัญญาลดภาวะโลกร้อน

        ตอบ  2      หลักการแก้ปัญาหาเฉพาะหน้าของโลกหรือปัญหาเร่งด่วนของมนุษยชาติ เป็นหลักการที่มุ่งแก้ไขปัญหาหลักของสังคม ซึ่งได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาวิกฤตน้ำมันและพลังงาน ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ แฮมเบอร์เกอร์และปัญหาวิกฤตอาหารโลก เป็นต้น

30.  ความพยายามเจรจากับจีนในการปล่อยแม่น้ำโขงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง 2  ฝั่ง

        ตอบ  4      หลักความร่วมมือในระดับภูมิภาค เป็นหลักการพัฒนาที่ต้องอาศัยความร่วมมือในระดับประเทศ โดยการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกที่มีอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เพื่อสร้างข้อตกลงความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันเอง รวมไปถึงกับประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ต่างภูมิภาคกัน เช่น ความพยายามเจรจากับจีนในการปล่อยแม่น้ำโขงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง 2 ฝั่ง เป็นต้น

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ตั้งแต่ข้อ 31.-35.                  ข้อใดอธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ UN ในประเด็นดังต่อไปนี้

        (1)  เน้นบริบทของประชากร                   (2)  ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

        (3)  เน้นการลงทุนในตัวมนุษย์               (4)  เน้นการให้ประโยชน์คืนกลับ

        (5)  เน้นการใช้ทรัพยากรมนุษย์

31.  การรักษาป่าห้วยขาแข้งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าได้อย่างสมบูรณ์

        ตอบ  2      หลักการพัฒนาโดยไม่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติ เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้คนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูลกัน โดยการรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และพัฒนาควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องและไม่ทำลายธรรมชาติแวดล้อม รักษาความสมดุลของระบบนิเวศ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ผ่านทางการจัดอย่างเป็นระบบ ทั้งในเรื่องของการจัดการน้ำ การปลูกป่า และการอนุรักษ์ดิน

32.  การเปิดรับสมัครผู้ขายหวยออนไลน์ทุกภูมิภาค

      ตอบ 5        การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ (Utilization from Human Resource) มีหลักการดังนี้

                            1.  ใช้ให้ตรงตามความรู้ที่ศึกษามา      2.  ใช้ให้ตรงตามความสามารถหรือทักษซึ่งเป็นความชำนาญเฉพาะด้าน     3.  ใช้ให้ครบตามช่วงเวลาหรือตรงตามช่วงอายุวัยแรงงานไม่เปิดโอกาสให้คนมีการว่างงาน (Unemployment) และทำงานน้อยกว่าความรู้ความสามารถที่มี (Underemployment) ซึ่งตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ เช่น การเปิดรับสมัครผู้ขายหวยออนไลน์ทุกภูมิภาค เป็นต้น

33.  การขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมไปถึงโรคมะเร็งและโรคเปลี่ยนถ่ายไต

        ตอบ  4      การให้ประโยชน์ (Provision) คืนกลับแก่ทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการดังนี้

                            1.  การให้ประชาชนกรทุกคนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ได้อย่างเท่าเทียมกัน      2.  การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในทุกอาชีพ ทุกช่วงอายุ และทุกพื้นที่เมื่อยามประสบภัยไม่สามารถช่วยตนเองได้     3.  การประกันความมั่นคงในเรื่องรายได้หรือเมื่อเวลาตกงาน เช่น การปรับค่าจ้างเพิ่มขั้นต่ำและเพิ่มเงินราชการ    4.  การประกันสุขภาพ เช่น การขยายประกันสังคมในครอบคลุมไปถึงโรคมะเร็งและโรคเปลี่ยนถ่ายไต   5.  เน้นคุณภาพชีวิตพื้นฐาน

34.  กรมการปกครองท้องถิ่นอนุมัติให้พนักงานท้องถิ่นสามารถรับทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้

        ตอบ  3.     การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (Investment in Human Resource) เป็นการลงทุนเรื่องดังต่อไปนี้                                       1.  การศึกษา เช่น กรมการปกครองท้องถิ่นอนุมัติให้พนักงานท้องถิ่นสามารถรับทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้    2.  สุขภาพอนามัย โดยต้องเริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย   3. ความรู้ในการดำรงชีวิตทางด้านกฎระเบียบของสังคมหรือกฎหมาย

35.  การไม่ออกใบเกิดในแผ่นดินไทยกับชาวเขมรในเขตพื้นที่จังหวัดเกาะกงของคนเขมร แม้ว่าจะมาเกิดในโรงพยาบาลของอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

        ตอบ  1      คำคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ  36.-40  เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับความหมายหรือนิยามของคำในเรื่องใด

        (1)  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)              (2)  การบริหารงานบุคคล (HRM)                (3)  การจูงใจบุคคล

        (4)  คุณภาพชีวิตมนุษย์                                             (5)  คุณภาพชีวิตการทำงาน

36.  พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

        ตอบ  2      พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบและข้อบังคับในการบริหารงานบุคคล (Human Resource Management : HRM) ในภาครัฐ นับตั้งแต่การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน ย้าย ฝึกอบรม การประเมินผล การปฏิบัติงาน การกำหนดตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การพิจารณาความดีความชอบ การักษาจรรยาของข้าราชการ วินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การคุ้มครอง ระบบคุณธรรม บำเหน็จบำนาญ ไปจนถึงการออกจากราชการ

37.  การกำหนดให้ยานพาหนะปล่อยระดับไอเสียได้ไม่เกินที่กฎหมายระบุ

        ตอบ  4      คุณภาพชีวิตของมนุษย์ (Quality of Life) หมายถึงมาตรฐานขั้นต่ำในด้านต่าง ๆ ที่รัฐจะต้องดำเนินการให้กับประชาชน เช่น ด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา ชีวิตการทำงาน สิ่งแวดล้อม ชีวิตครอบครัว ชีวิตชุมชน ชีวิตทางวัฒนธรรม จิตวิญญาณและการพักผ่อน เป็นต้น

38.  การโฆษณาชวนเชื่อให้ประชากรในกรุงเทพไปลงคะแนนเสียงเลือกผู้รับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 5 ตุลาคม 2551

        ตอบ  3      การจูงใจ (Motivation) หมายถึง กระบวนของการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงจูงใจมากระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปอย่างมีทิศทาง เพื่อการบรรลุเป้าหมายหรือเงื่อนไขที่ผู้จูงใจต้องการ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่าง เป็นต้น

39.  การจัดสภาข้าราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ของรัฐ

        ตอบ  5      คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life) เป็นแนวทางหนึ่งที่คำนึงถึง คน งาน และองค์การไปพร้อม ๆ กันซึ่งประกอบด้วย

                            1.  สภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน

                            2.  ความมีประสิทธิผลขององค์การ

                            3.  การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีบทบาทร่วมในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับงาน เช่น การจัดสภาข้าราชการในส่วนข้าราชการต่าง ๆ ของรัฐเป็นต้น

40.  การสนับสนุนให้มีการตรวจเลือดของชายหญิงก่อนสมรส

        ตอบ  1      การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Devolopment) : HRD) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะและคุณสมบัติของมนุษย์หรือประชากรนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิต จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดของชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องดูแล รักษา ลงทุนและพัฒนา รวมตลอดถึงใช้ประโยชน์และให้ประโยชน์แก่มนุษย์หรือประชากรเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การวางแผนครอบครัว การสนับสนุนให้มีการตรวจเลือดของชายหญิงก่อนการสมรส เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 41.-45.                    เป็นปรากฏการณ์อธิบายถึงอิทธิพลของปัจจัยใดดังต่อไปนี้

                                ที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

        (1)  ระบบคุณธรรม (Merit)                   (2)  ระบบการศึกษา                           (3)  ระบบราชการ

        (4)  ระบบกฎหมาย                                    (5)  ขนบธรรมเนียมประเพณี

41.  การกำหนดอัตราเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา

        ตอบ  2      ระบบการศึกษา (Education System) เป็นปัจจัยหนึ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ซึ่งจะเห็นได้จากการกำหนดคุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครสอบแข่งขัน หรือผู้สมัครเข้าทำงาน ตลอดจนการกำหนดอัตราเงินเดือนที่จะได้รับตามวุฒิการศึกษา

42.  การมีเครื่องหมายหรือสีสัญลักษณ์ขององค์กร

        ตอบ  3      ระบบราชการ (Bureaucracy) ของ Max Weber มีหลักการสำคัญดังนี้

                            1.  การมีแบบฟอร์ม (Format) ที่ถูกต้อง เช่น การมีเครื่องหมายสีสัญลักษณ์ขององค์กร

                            2.  มีสายการบังคับบัญชา (Hierachy) ที่ชัดเจน

                            3.  เน้นความเป็นทางการ โดยต้องมีกฎหมายหรือระเบียบและข้อบังคับในการปฏิบัติงาน

                            4.  เน้นความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)

                            5.  เน้นความเป็นวิชาชีพ (Professional) เช่น สภาทนายความ, คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

43.  กรทำพิธีเซ่นไหว้ศาลพระภูมิก่อนเข้ารับตำแหน่ง

        ตอบ  5      ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง แผนการประพฤติปฏิบัติในโอกาสหรือเทศกลาต่าง ๆ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงศรัทธาความเชื่อและค่านิยม เพื่อให้สามารถนำมาปฏบัติอย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ตัวอย่าง เช่น การทำพิธีเซ่นไหว้ศาลพระภูมิก่อนเข้ารับตำแหน่ง เป็นต้น

44.  การมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทายาทรับสิทธิประโยชน์ภายหลังการเสียชีวิตของข้าราชการ

        ตอบ  4      ระบบกฎหมาย (Law System) ได้แก่ โครงสร้างหรือรูปแบบ และแนวความคิดในการบัญญัติกฎหมายมาบังคับในการบริหารปกครองประเทศของรัฐ รวมตลอดถึงตัวบทกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ประมวลกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ฯลฯ เช่น ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรค 1 บัญญัติว่า “เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” เป็นต้น

45.  พระราชดำรัสของในหลวงที่พระราชทานแก่ผู้พิพากษาศาลปกครองชั้นต้นให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไป

        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 2.  ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 46.-50.    เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวความคิดหลักในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในเรื่องใดดังต่อไปนี้

        (1) การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า                  (2)  ข้าราชการเป็นมืออาชีพ

        (3)  ข้าราชการยึดจรรยาวิชาชีพและมีวินัย                            (4)  มีคุณภาพชีวิตที่สมดุลกับการทำงาน

        (5) ได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรม

46.  การสรรหาข้าราชการมาดำรงตำแหน่งเปิดกว้างมากขึ้นโดยอาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกได้

        ตอบ  2      ข้าราชการเป็นมืออาชีพ เป็นแนวคิดการบริหารโดยยึดหลักความรู้ความสามารถ กล่าวคือ ในกระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแจงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การกำหนดตำแหน่งและอื่น ๆ ทั้งกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลจะดำเนินการโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นให้มีการสรรหาแบบเปิดกว้างได้ โดยสามารถบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ทั้งจากภายในและภายนอกส่วนราชการ ในบางกรณีอาจรวมไปถึงภายนอกภาคราชการด้วย

47.  การกำหนดให้หัวหน้างานมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินงบประมาณแผ่นโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์

        ตอบ  1      การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ตามพ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีสาระสำคัญ ดังนี้

                            1.  หลักความโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้      2.  หลักความคุ้มค่า จะเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยรวม    3.  หลักความชัดเจนในการปฏิบัติราชการ (หลักความรับผิดชอบ) มีขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติราชการมีผู้รับผิดชอบต่องานที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าหรือละเลยไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายในการบริหารราชการและประชาชนได้รับความเดือดร้อน





48.  การพิจารณาคดีความชอบต้องปราศจากอคติและนำการสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณาไม่ได้

        ตอบ  5      ได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42(3) กำหนดให้พิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ผลประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพและความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้

49.  การกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการให้เปรียบเทียบอัตราค่าจ้างตลาด

        ตอบ  4  การมีคุณภาพชีวิตที่สมดุลกับการทำงาน ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก็คือ ระบบค่าตอบแทนแบบใหม่ ซึ่งกำหนดให้มีบัญชีเงินเดือนหลากหลาย แยกตามประเภทตำแหน่ง โดยคำนึงถึงราคาตลาดและการบริหารผลงานและสมรรถนะของข้าราชการแต่ละประเภทให้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งสะท้อนค่างานของตำแหน่งในแต่ละประเภทได้อย่างแม้จริง

50.  การเสริมสร้างจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีและผลสัมฤทธิ์ในภารกิจมาใช้กับข้าราชการมากกว่าที่จะใช้การลงโทษตัดเงินเดือนแล้ว แต่ยังให้อยู่ในรายการต่อไป

        ตอบ  3      ข้าราชการยึดจรรยาวิชาชีพและมีวินัย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเรื่องการรักษาจรรยาข้าราชการไว้ในมาตรา 78 โดยกำหนดให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้

                            1.  การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

                            2.  ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ

                            3.  การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

                            4.  การปฏิบัติหน้าที่โดยเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

                            5.  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

ตั้งข้อ 51.-55.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  พ.ร.บ. เงินทดแทน                            (2)  พ.ร.บ. ประกันสังคม                                 (3)  พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

        (4)  พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน                   (5)  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

51.  คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 191 บาท

        ตอบ  4      พ.ร.บ.  คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)

                            เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเพิ่มมากขึ้นจากความคุ้มครองทั่วไป โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดวันเวลาทำงาน วันหยุด วันลา ข้อกำหนดในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานและค่าล่วงเวลาในวันหยุด การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง การออกระเบียบข้อบังคับในการทำงาน เป็นต้น



52.  สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง

        ตอบ  3      พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์กรนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกำหนดหรือการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการหยุดงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรม เป็นต้น

53.  กองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ้างฝ่ายเดียว คนงานและรัฐบาลไม่ต้อจ่าย

        ตอบ  1      พ.ร.บ.  เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นเพื่อทำหน้าที่ทดแทนนายจ้างแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานโดยกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแต่เพียงเดียว (คนงานและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย) ตามประเภทกิจการในอัตราร้อยละ 0.2-1.0 ของค่าจ้างของลูกจ้าง
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
54.  กำหนดเวลาทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง

        ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 51.  ประกอบ

55.  ลูกจ้างได้รับอุบัติเหตุจากเครื่องจักรขณะทำงาน

        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 53     ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ 56.-60.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ใบสมัครงาน (Application Blank)            (2)  การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

        (3)  การทดสอบ (Employment Test)                (4)  การสัมภาษณ์ (Interview)

        (5)  การตรวจร่างกาย (Physical Check)

56.  ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่รับคนที่ขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ต้น

        ตอบ  2      หน้า 65 – 66 การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทำโดยให้มีการกรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะขจัดหรือป้องกันผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมปนเข้ามาในสำนักงานตั้งแต่ต้น จะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในขั้นตอนของการคัดเลือกจริงต่อไป

57.  เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกความรู้

        ตอบ  4      หน้า 66 – 67  การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคุณสมบัติและความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับการทำงาน เช่น ความถนัดทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

58.  เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

        ตอบ  4      หน้า 67,  การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความรู้ความสามารถในเชิงปฏิภาณไหวพริบ การตัดสินใจ ตลอดจนประเมินพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้สมัครได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงวิสัยทัศน์ของตนเอง และถือเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่เก่าแก่ที่สุด เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด และเกิดความยุติธรรมได้ยากที่สุด

59.  เป็นเครื่องมือที่สามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่าคน ๆ นั้นจะอยู่กับองค์การได้นาน

        ตอบ  1      หน้า 65 – 66,   ใบสมัครงาน (Application Blank) ถือเป็นเครื่องมือคัดเลือกคนเข้าทำงานอย่างหนึ่งที่สามารถบอกได้ในระดับหนึ่งว่าผู้สมัครคนนี้จะอยู่องค์การไหนได้นานหรือไม่ เช่น คนที่แต่งงานแล้วจะอยู่องค์การได้นานมากกว่าคนโสด เป็นต้น

60.  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทำเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

        ตอบ  5      หน้า 65, 69 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) นับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก และสมควรกระทำเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทำงานด้วย

        ตั้งแต่ข้อ 61.- 65.     เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

        (1)  การดูแล                                 (2)  การป้องกัน                                   (3)  การเยียวยา

        (4)  การส่งเสริมให้มีวินัย         (5)  การดำเนินการทางวินัย              

61.  อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน

        ตอบ  5      การดำเนินการทางวินัย  แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้    1.  กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ซึ่งกรณีนี้ผู้กระทำความผิดต้องถูกลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด   2.  กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการสอบสวน ซึ่งกรณีนี้ผู้กระทำความผิดต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี เช่น อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน เป็นต้น

62.  ผู้กำกับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทำงานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

        ตอบ  1      หน้า 199 – 200  การรักษาวินัยในความหมายของการดูแล หมายถึง การสอดส่องกำกับตรวจตราโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กำกับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทำงานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน, การไปตรวจเยี่ยมกำลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

63.  ผู้กำกับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

        ตอบ  2      หน้า 200 การรักษาวินัยในความหมายของการป้องกัน หมายถึง การกระทำในทางที่จะขจัดเหตุที่ทำให้ข้าราชการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องคอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะทำผิดวินัยให้กลัว เช่น ผู้กำกับจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันใยเขตพื้นที่ เป็นต้น

64.  การตรวจเยี่ยมกำลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ  62.  ประกอบ

65.  การให้ผู้ที่กระทำผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทำความสะอาดตู้โทรศัพท์

        ตอบ  3      หน้า 200 – 201   การรักษาวินัยในความหมายของการเยียวยา หมายถึง การแก้ไขและบำรุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องเยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทำผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทำความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

        ตั้งแต่ข้อ 66. – 70.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-job-Training)

        (2)  ฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

        (3)  ฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

        (4)  การฝึกแบบจำลอง (Simulation Training)                (5)  การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

66.  เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

        ตอบ  5      หน้า 167  การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นเทคนิคที่นิยมที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทำการศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกำหนดปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงาน

67.  ใช้ฝึกอบรมนักบิน

        ตอบ  4      หน้า 165 – 166 การฝึกอบรมแบบจำลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจำลองซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการทำงานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบิน การฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

68.  บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

        ตอบ  3      หน้า 164 การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือ

                            1.  สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ     2.  สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

69.  ต้องมีการแนะนำประวัติขององค์การ

        ตอบ  2      หน้า 155 – 156  การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมแบะนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทำงานใหม่ เป็นโปรแกรมที่จัดให้พนักงานใหม่ ได้รับความรู้ทางสารสนเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  และได้รับทราบเกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทำงาน เช่น ประวัติองค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน ความก้าวหน้าในงานเงื่อนไขการจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสะดวกในการทำงานร่วมกันเป็นทีม

70.  แจ้งถึงเงื่อนไขการว่างงาน

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 69 ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ 71. - 75.    จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  การจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ (Rank Classification : R.C.)

        (2)  การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Position  Classification : P.C.)

        (3)  การจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศทางวิชาการ (Academic Rank Classification : A.R.C.)

        (4)  การจำแนกตำแหน่งแบบผสมระหว่าง R.C. และ A.R.C

      (5)  การจำแนกตำแหน่งแบบผสมระหว่าง P.C. และ A.R.C

71.  เหมาะกับการศึกษาแบบ Specialist

      ตอบ  2      หน้า 72 – 73, หลักการสำคัญของการกำหนดหรือจำแนกตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Position  Classification : P.C.) คือ   1.  ถือหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งหรืองานเป็นหลัก    2.  รับเงินเดือนเป็นอันดับตามระดับตำแหน่งที่ได้จากการประเมินค่างาน (Job Evaluation) ฯลฯ ซึ่งข้อดีของระบบนี้ประการหนึ่ง คือ เหมาะสมกับการศึกษาแบบ Specialist

72. ข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

        ตอบ  ไม่มีข้อใดถูก     พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ยกเลิกระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification : P.C.) หรือระบบ “ซ” (Common Level) และกำหนดประเภทตำแหน่งใหม่โดยจำแนกกลุ่มตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป ซึ่งเรียกวิธีการกำหนดตำแหน่งแบบใหม่นี้ว่า ระบบ “แท่ง” (Broadbanding)

73.  รับเงินเดือนตามการประเมินค่างาน (Job Evaluation)

      ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ  71. ปะกอบ

74.  ความก้าวหน้าไม่ติดโครงสร้างแบบพีระมิด

        ตอบ  3      หน้า 74     หลักการสำคัญของการจำแนกตำแหน่งตามคุณวุฒิหรือชั้นยศทางวิชาการ (Academic Rank Classification : A.R.C.) คือการยึดคุณวุฒิ ความชำนาญ และประสบการณ์ของบุคคลเป็นหลัก ซึ่งข้อดีระบบนี้ปะการหนึ่งคือ การไม่ติดอยู่ในกรอบหรือโครงสร้างแบบพีระมิด

75.  ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจในปัจจุบัน

        ตอบ  4      การกำหนดตำแหน่งข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจของไทยในปัจจุบันนั้น จะมีลักษณะผสมระหว่างระบบชั้นยศ (R.C.) กับระบบคุณวุฒิของบุคคล (A.R.C.)



        ตั้งแต่ข้อ 76. – 80.    สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

        (1)  กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน                              (2)  กำหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

        (3)  กำหนดตัวผู้ประเมิน                                                          (4)  กำหนดวิธีการประเมิน

      (5)  การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

76.  รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตำรวจให้นายตำรวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทำงานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

        ตอบ  4      หน้า 190 – 191       การกำหนดวิธีการประเมินผลงาน มีหลายวิธีแตกต่างกัน ตามวัตถุระสงค์ที่ใช้ดังนี้           1.  การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ       2.  การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทำงาน รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น การรักษาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตำรวจ ให้ตำรวจทุกนายใส้เกียร์ห้าทำงาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

77.  คณบดีรัฐศาสตร์ ทำหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงนักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

        ตอบ  1      หน้า 187 – 188     การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการบอกถึงสาเหตุของการประเมินว่ามีการประเมินเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ผู้ถูกประเมินและผู้ทำการประเมินทราบถึงสาเหตุหรือวัตถุประสงค์ของการประเมินก่อนทำการประเมิน เช่น คณบคณะรัฐศาสตร์ ทำหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

78.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการโดยลงคะแนนลับ

        ตอบ  3      หน้า 190,   การกำหนดตัวผู้ประเมิน โดยให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมินผล (Peer Appraisal) เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานประเมินซึ่งกันและกัน มักจะใช้กับเพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันมานานพอสมควร และมีความคุ้นเคยในเรื่องที่จะประเมินเป็นอย่างดี เช่น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมการธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกอาจารย์นรนิติ เป็นประธาน สสร. เป็นต้น

79.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

        ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 78.  ประกอบ

80.  การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทำปีละ 2 ครั้ง

      ตอบ  5      หน้า 191   การวิเคราะห์และนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการพิจารณาวิเคราะห์จากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ แล้วนำผลการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทำปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

        ตั้งแต่ข้อ 81. – 85.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ผู้บังคับบัญชา                      (2)  เพื่อนร่วมงาน                              (3)  ประเมินตนเอง

        (4)  ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน      (5)  ผู้ใต้บังคับบัญชา                          

81.  มหาวิทยาลัยรามคำแหงให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

        ตอบ  4      การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน การประเมินผลโดยให้บุคลากรภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น การให้นักศึกษาทำการประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอน, การประเมินผลการทำงานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลพนักงาน เป็นต้น

82.  ผู้ประเมินบางคนไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความจริง

        ตอบ  5      ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้ที่สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชาของเขามีความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสารกับพวกเขาอย่างไร เคยมอบอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่ข้อเสียของการประเมินด้วยวิธีนี้ก็คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชาหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาเกินความเป็นจริง

83.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกอาจารย์นรนิติ เป็นประธาน สสร.

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

84.  การประเมินผลการทำงานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

        ตอบ  1      การประเมินผลงานที่ต้องทำในสายการบังคับบัญชาส่วนใหญ่นั้นจะให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมากในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลงานทำงานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

85.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกรรมาธิการ 35 คน

        ตอบ  2      ดูคำอธิบาข้อ  78.  ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ  86. – 95.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

      (1)  การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)                 (2)  คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

        (3)  การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specificstion)

        (4)  การประเมินค่างาน (Job Evaluation)        (5)  การออกแบบงาน (Job Design)

86.  สามารถความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

        ตอบ  5      หน้า 17  การออกแบบงาน (Job Design)  ที่ดีจะทำให้บุคคลทำงานได้อย่างเต็มความสามารถรวมทั้งสามารถลดความเมื่อยล้า และลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานลงได้

87.  จ่ายเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

        ตอบ  4      หน้า 16 – 17, 76, 82    การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการทที่ทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงาน ตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกำหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน

88.  ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

        ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

89.  เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

        ตอบ  1      หน้า 15 – 18  ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน ((Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

                    1.  ให้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์  

                    2.  ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

                    3.  ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  

                    4.  ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทำงาน

                           5.  ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดค่าตอบแทน  

                            6.  ใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน  7.  ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน ฯลฯ

90.  ข้อมูลที่ต้องใช้ทำ คือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐาน การปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

        ตอบ  1      หน้า 14 – 15  ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ (Job Analysis) มีดังนี้

                            1.  กิจกรรมของงาน   2.  พฤติกรรมของบุคคล   3.  เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทำงาน   4.  มาตรฐานการปฏิบัติงาน   5. เนื้อหาของงาน   6. ความต้องการของบุคลากร

91.  ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตำรวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

        ตอบ  3      หน้า 14   การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specificstion) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานทางด้านความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ซึ่งใช้ในการทำงานเฉพาะอย่างเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ เช่น ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายตำรวจต้องปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น

92.  การอธิบายรายละเอียดของงานว่า มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง

        ตอบ  2      หน้า 13 – 14   คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นรายละเอียดที่ระบุถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ในสายงาน สภาพการทำงาน และความรับผิดชอบในการบังคับบัญชาของงานใดงานหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตำแหน่งงาน คำสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ

93.  ได้ข้อมูลมาจาก ความรู้ ทักษะ และความสามารถ

        ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 91.  ประกอบ

94.  เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

        ตอบ  1      หน้า 12  ศิริโสภาคย์  บูรพเดชะ  กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง  กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทำงานนั้นสำเร็จลงได้

95.  ได้ข้อมูลมาจาก งาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ  92. ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ  96. – 100.  จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

        (2)  อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

        (3)  ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

        (4)  ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

        (5)  ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอำนาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

96.  ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

        ตอบ  3      หน้า 86  ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ, รัฐบาลขิงแก่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

97.  ปีนี้ธนาคารกรุงเทพจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 18 เดือน

        ตอบ  4      หน้า 86 – 87  ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึงความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัทมักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะของภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารกรุงไทยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 18 เดือน เป็นต้น

98.  รัฐบาลขิงแก่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

        ตอบ  3  ดูคำอธิบายข้อ 96  ประกอบ

99.  สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอำนาจกำหนดค่าจ้าง

        ตอบ  5      หน้า 87  อำนาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อำนาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอำนาจการเจรจาต่อรองในการกำหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

100.    บริษัทหลายแห่งได้กำหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับ อัตราเงินเดือนข้าราชการ ระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

                ตอบ  2  หน้า 85 – 86  อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่าย
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้