ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบ กรมวิชาการเกษตร ตำแหน่งวิศวกรโยธา หน่อยคับ
mao60 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบ กรมวิชาการเกษตร ตำแหน่งวิศวกรโยธา หน่อยคับ

1. ความหมายของคำว่า “อาคาร” หมายความถึงข้อใด

1) ตึก

2) คอนโด

3) เขื่อน

4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ 4

แนวความคิด “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า ลำนักงานและสิ่งที่สร้างค้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และแพความรวมถึง

(1) อัฒจันทร์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นชุมชนของประชาชน

(2) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อหรือทางระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือรั้ว  กำแพงหรือประตู ที่สร้างติดต่อหรือใกล้เคียงกับสาธารณะหรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย

(3) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้ง

 

2. ข้อใดไม่ถือว่าเป็น “อาคาร” ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

1) อัฒจันทร์

2) ป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างสำหรับติดตั้งป้าย

3) ที่จอดรถ

4) ผิดทุกข้อ

เฉลย ข้อ4

แนวความคิด

มาตรา1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

มาตรา4 ในพระราชบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าใช้สอยได้ และหมายความว่ารวมถึง

(1) อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน

                (2) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือรั่ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุลคลทั่วไปใช้สอย

                (3) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย

                                                () ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกิดหนึ่งตารางเมตร  หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม

                                (ข) ที่ติดตั้งหรือไว้ในระยะระห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว  ระยะห่างจากที่ สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน  และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

                (4) พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8 (9)

 

3. อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ฉายภาพยนตร์  แสดงดนตรี หรืองานรื่นเริง หมายถึงข้อใด

                1) โรงมหรสพ

                2) อาคารชุมนุมคน

                3) โรงละคร

                4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ 1.

แนวความคิด

                มาตรา 5 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “อาคารสูง” คำว่า “อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” คำว่า “อาคารชุมชนคน” และคำว่า “โรงมหรสพ” ระหว่างบทนิยามคำว่า “อาคาร” กับคำนิยามคำว่า “ที่สาธารณะ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

                “อาคารสูง” หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไปการวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า  สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

                “อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท  โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป

                “อาคารชุมนุมคน” หมายความว่า  อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป  หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป

                “โรงมหรสพ”  หมายความว่า  อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์  แสดงละคร  แสดงดนตรี  หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด  และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ  โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

 

4. แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง  ดัดแปลง  รื้อถอน  ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร  โดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญ  ขนาดเครื่องหมายวัสดุ  เป็นความหมายข้อใด

                1) แบบแผนผังบริเวณก่อสร้าง

                2) แบบแผนผังโครงสร้างของโครงการ

                3) แบบแปลน

                4) แบบพิมพ์เขียว

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

                “แบบแปลน” หมายความว่า แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง  ดัดแปลง  รื้อถอน  เคลื่อนย้าย  ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร  โดยมีรูปแสดง  รายละเอียดส่วนสำคัญขนาดเครื่องหมายวัสดุ  และการใช้สอยต่างๆ  ของอาคารอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้

 

5. คำว่า “ก่อสร้าง” ตามความหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

                1) การดัดแปลง  ต่อเพิ่มเติม  เพิ่มหรือลดอาคาร

                2) การสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแทนที่เดิมหรือไม่

                3) เปลี่ยนส่วนต่างๆ  ของอาคารเพื่อให้คงสภาพเดิม

                4) ถูกทั้ง ก และ ข

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

                การสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแทนที่เดิมหรือไม่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  พ.ศ.2522 “ก่อสร้าง”  หมายความว่า  สร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นแทนของเดิมหรือไม่

 

6. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 “เขตเพลิงไหม้” หมายถึงบริเวณใด

                1) บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้อาคารตั้งแต่สามสิบหลังคาเรือนขึ้นไป

                2) บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป

                3) บริเวณที่อยู่ติดกับเพลิงไหม้ภายในระยะ 30 เมตร โดยรอบที่เกิดเพลิงไหม้ด้วย

                4) ถูกเพลิงไหม้

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

                พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 “เขตเพลิงไหม้” หมายความว่า  บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้อาคารตั้งแต่  สามสิบหลังคาเรือนขึ้นไป  หรือมีเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไปรวมทั้งบริเวณที่อยู่ติดต่อภายในระยะสิบเมตร  โดยรอบบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ด้วย

 

7. ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการหรือควบคุมการก่อสร้าง  ดัดแปลงอาคาร คือ

                1) ผู้ควบคุมงาน

                2) ผู้ดำเนินงาน

                3) ผู้ตรวจสอบ

                4) วิศวกร

เฉลย ข้อ 1

แนวความคิด  พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  พ.ศ. 2522 “ผู้ควบคุมงาน”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการหรือ  ควบคุมดูแลก่อสร้าง  ดัดแปลง  รื้อถอน  หรือเคลื่อนย้ายอาคาร

 

8. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของผู้ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มอบหมาย  เจ้าพนักงานท้องถิ่น นายช่าง  หรือนายตรวจเข้าไปตรวจสอบอาคาร  จะต้องระวางโทษ

                1) จำคุกไม่เกิน 1 เดือน

                2) ปรับไม่เกิน 1000 บาท

                3) ทั้งจำทั้งปรับตามข้อ ก,ข

                4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ4

แนวความคิด

มาตรา 68 ผู้ใด

                (1) ไม่มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารตามหนังสือเรียกของคณะกรรมการ  พิจารณษอุทธรณ์ตาม มาตรา 51 (2) โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือ

                (2) ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผู้ซึ่งคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์มอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่นนายช่างหรือนายตรวจ  ตาม มาตรา 48 มาตรา 51 มาตรา 53 หรือ มาตรา 54 หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 51 มาตรา 53 มาตรา 54 หรือ มาตรา 63 แล้วแต่กรณีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

9. กรณีที่บริษัท  นิติบุคคล  กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้  ผู้ใดจะต้องรับผิดชอบตามการกระทำนั้น

                1) กรรมกราผู้จัดการ

                2) กรรมกราของบริษัท

                3) ผู้ร่วมกระทำผิดกับบริษัท

                4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ 4

แนวความคิด

มาตรา 72 ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้  ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

10. ผู้ดำเนินหรือเจ้าของอาคารกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้  จะต้องระวางโทษเป็นกี่เท่าของโทษที่บัญญัติไว้

                1) 1.5 เท่าของโทษที่บัญญัติไว้

                2) 2 เท่าของโทษที่บัญญัติไว้

                3) เท่ากับผู้กระทำผิดนั้น

                4) ไม่มีข้อใดถูก

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

มาตรา 69 ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ  ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษเป็นสองเท่าที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ

 

11. ในกรณีที่การขออนุญาตได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลน  ดังกล่าวมีความแตกต่างไปจากการขออนุญาต  พนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ปฏิบัติตามให้ถูกต้องภายในกี่วัน

                1) 16 วัน

                2) 30 วัน

                3) 45 วัน

                4) 80 วัน

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

มาตรา 75 บรรดาคำขออนุญาตใดๆ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติ  นี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรืออธิบดี  กรมโยธาธิการ  และการอนุญาตใดๆ ที่ได้ให้ไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร  หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้  หรือการปฏิบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาต  แล้วแต่กรณี  ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม  ในกรณีที่การขออนุญาต  หรือการพิจารณาอนุญาตดังกล่าวมีข้อแตกต่างไป  จากการขออนุญาต  หรือการพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้ให้การขออนุญาต  หรือการพิจารณาอนุญาตนั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งตาม  มาตรา 27 เพื่อให้ผู้รับขอรับใบอนุญาต  ปฏิบัติตามให้ถูกต้อง  ภายในเวลาสามสิบวันถ้าขอรับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้คำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันตกไป

 

12.พื้นที่ที่มีอาคารก่อสร้าง  ทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย  ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการดังนี้

                1) มีคำสั่งให้รื้อถอนภายใน 3 เดือน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

                2) มีคำสั่งให้รื้อถอนภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

                3) มีคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขภายใน 3 เดือน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

                4) ไม่มีผลย้อนหลังสำหรับอาคารที่ก่อสร้างก่อนพระราชบัญญัติประกาศใช้

เฉลย  ข้อ2

แนวความคิด

มาตรา 77 ท้องที่ได้มีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ได้ใช้บังคับ  และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปลอดภัยในการอาศัย  การป้องกันอัคคีภัย  การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมการผังเมือง  และการอำนวยความสะอาดแก่การจราจร  เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีหลายอย่าง  ดังต่อไปนี้

                (1) มีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารนั้นภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง  แต่การสั่งรื้อถอนอาคารจะต้องกระทำเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองการพัฒนาท้องถิ่นหรือประโยชน์ในการใช้ที่สาธารณะของประชาชน

13. อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตก่อสร้างฉบับละเท่าใด

                1) 200 บาท

                2) 300 บาท

                3) 400 บาท

                4) 500 บาท

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

มาตรา 80 ท้องที่ใดได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 หรือ พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้พุทธศักราช 2476 อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องที่นั่นแล้วอัตราค่าธรรมเนียม

                (1) ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 200 บาท

                (2) ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 100 บาท

                (3) ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 50 บาท

                (4) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 50 บาท

                (5) ใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้ ฉบับละ 200 บาท

                (6) ใบรับรอง ฉบับละ 100 บาท

                                (6ทวิ) ใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ  ฉบับละ 500 บาท

                                (6ทวิ) ใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ฉบับละ 100 บาท

                (7) ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง  ฉบับละ 10 บาท

                (8) การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามอัตรา (1) ถึง (4)

                                (8ทวิ) การต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพให้เป็นไปตามอัตราใน (6ทวิ)

                (9) การตรวจแบบแปลนก่อสร้าง  หรือดัดแปลงอาคาร  ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับการก่อสร้าง  หรือสำหรับส่วนที่มีการดัดแปลง  ดังนี้

                                () อาคารซึ่งสูงไม่เกินสามชั้นหรือไม่เกิน  สิบเมตรคิดตามพื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นรวมกัน  ตารางเมตรละ 2 บาท

                                (ข) อาคารซึ่งสูงเกินสามชั้นหรือ เกินสิบห้าเมตร คิดตามพื้นที่ของพื้นอาคารละชั้นรวมกัน ตารางเมตรละ 4 บาท

                                (ค) อาคารประเภทซึ่งจะต้องมีพื้น รับบรรทุกชั้นใดชั้นหนึ่งเกินห้าร้อยกิโลกรัมต่อหนึ่ง ตารางเมตร คิดตามพื้นที่ของพื้น อาคารแต่ละชั้นรวมกัน ตารางเมตรละ 4 บาท

                                (ง) ป้าย คิดตามพื้นที่ป้ายโดยเอาส่วนกว้างที่สุด คูณด้วย ส่วนยาวที่สุด ตารางเมตรละ 4 บาท

                                (จ) อาคารประเภทซึ่งต้องวัดความยาว เช่น เขื่อนทางหรือท่อระบายน้ำรั่ว หรือ กำแพง รวมทั้งประตูรั้ว หรือกำแพง คิดตามความยาว เมตรละ 1 บาท ในการคิดค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน เศษของตารางเมตร หรือเมตรตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปให้ถือเป็นหน่วยเต็ม ถ้าต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ปัดทิ้ง

*หมายเหตุ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) รก.เล่ม 117 ตอนที่ 4215 พ.ค.2543

 

14. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือ สูงเกิน 15 เมตร คิดค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างตามพื้นที่ของอาคาร ตารางเมตรเมตรละเท่าใด

                1) 3 บาท

                2) 4 บาท

                3) 5 บาท

                4) 10 บาท

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

มาตรา 80 (9) การตรวจแบบแปลนก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับการก่อสร้าง หรือสำหรับส่วนที่มีการดัดแปลง ดังนี้

                () อาคารซึ่งสูงเกินสามชั้นหรือ เกินสิบห้าเมตร คิดตามพื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นรวมกัน ตารางเมตรละ 4 บาท

 

15. ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออบัญญัติท้องถิ่น แต่ขัดแย้งกับกฎกระทรวง เนื่องจากมีเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร

                1)  อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง

                2) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                3) คณะกรรมการควบคุมอาคาร

                4) ปลัดกระทรวงมหาดไทย

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

“มาตรา 49 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานหรือคุณวุฒิตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เป็นนายตรวจหรือนายช่างได้ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อธิบดีกรรมโยธาธิการและผังเมือง มีอำนาจแต่งตั้งวิศวกรหรือสถาปนิกเป็นนายช่างได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง”

(“มาตรา 49” แก้ไขแล้วโดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 มาตรา 21)

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบวิศวะโยธาทุกหน่วยงานที่เปิดสอบ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
 

-  ความสามารถเฉพาะนายช่างโยธา วิศวกรโยธา

-  แนวข้อสอบภาค ก.ความรู้ความสามารถทั่วไป ภาษาไทย คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ
- และภาค ข. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

- แนวข้อสอบความรอบรู้และเหตุการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง  

สนใจสั่งซื้อมาที่   decho.by@hotmail.com
ดาวน์โหลดที่   http://www.testthai1.com

ส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่น decho
pragay  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วโทรแจ้งที่  085-0127724
 

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้