ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : รวมแนวข้อสอบ พ.ร.บ. โรงรับจำนำ 2505
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

รวมแนวข้อสอบ พ.ร.บ. โรงรับจำนำ 2505

สถานธนานุบา​ล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จ.ส.ท.)

ประกาศ เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงาน ตำแหน่ง พนักงานบัญชี รวม 26 ตำแหน่ง (8-26 ส.ค.54)
http://www.sheetram.com/main/job_detail.php?id=8004

โรงรับจำนำคืออะไร

แนวข้อสอบ  พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕

1.                   พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับใด

ก.       พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๑

ข.       พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๒

ค.       พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๓

ง.       พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๔

ตอบ       ง.  พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๔

                มาตรา ๓  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พุทธศักราช ๒๔๘๐ และ พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๔

2.                   ผู้แต่งตั้งเจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำคือใคร

ก.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.       คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ

ง.       นายกรัฐมนตรี

ตอบ       ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

                มาตรา ๒๘  เจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง  มีอำนาจเข้าไปในโรงรับจำนำเพื่อตรวจทรัพย์จำนำและเอกสารที่เกี่ยวกับการรับจำนำ  และผู้รับจำนำต้องให้ความสะดวกตามสมควร

                เจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง  และต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอ

3.                   ในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕  ให้แก้ไขจากคำว่า อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เป็นข้อใด

ก.       อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ข.       อธิบดีกรมพัฒนาสังคม

ค.       อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ง.       อธิบดีกรมตำรวจ

ตอบ       ค.  อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

                มาตรา ๙๕  ในพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. ๒๕๐๕  ให้แก้ไขคำว่า อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์  เป็น  อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่  ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม นั้นแล้ว  และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ  รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดินมาเป็นของส่วนราชการใหม่  โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว  จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ  เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใด  ได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว  โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ  รัฐมนตรี  ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่  และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว  ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีนี้

4.                   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคือใคร

ก.       จอมพล ส. ธนะรัชต์

ข.       จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ค.       พล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์

ง.       พล.อ.สุจินดา  คราประยูร

ตอบ       ก.  จอมพล ส. ธนะรัชต์

5.                   พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้ไว้เมื่อวันที่เท่าใด

ก.       วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

ข.       วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

ค.       วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

ง.       วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

ตอบ       ค.  วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

                ภูมิพลอดุยเดช ป.ร.  ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕  เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

6.                   พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นปีที่เท่าใดในรัชกาลปัจจุบัน

ก.       ปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

ข.       ปีที่ ๑๖ ในรัชกาลปัจจุบัน

ค.       ปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

ง.       ปีที่ ๑๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

ตอบ       ค.  ปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

7.                   ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก.       สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ข.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.       คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ

ง.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตอบ       ข.  รัฐมนตรี

                มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้

                โรงรับจำนำ  หมายความว่า  สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของ  เป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท  และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระ  แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท  โดยมีข้อตกลงหรือเข้ากันโดยตรงหรือปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย

                ผู้รับจำนำ  หมายความว่า  ผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

                ทรัพย์จำนำ  หมายความว่า  สิ่งของที่รับจำนำ

                เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต  หมายความว่า  เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ  และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

                รัฐมนตรี  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา ๔ นิยามคำว่า โรงรับจำนำ แก้ไขโดย พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๔)

                มาตรา ๔๓  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต  เจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำ  และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้  และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

8.                   ทรัพย์จำนำหมายถึงสิ่งใด

ก.       ตู้เย็น

ข.       โทรทัศน์

ค.       วิทยุ

ง.       ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

9.                   รัฐมนตรีในพระราชบัญญัตินี้หมายถึงใคร

ก.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ค.       รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตอบ       ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

10.                เมื่อสิ่งของที่มีผู้มีนำมาจำนำเป็นสิ่งของที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำความผิด  ให้ผู้รับจำนำแจ้งต่อบุคคลใดต่อไปนี้

ก.       เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ข.       พนักงานฝ่ายกระทรวงมหาดไทย

ค.       พนักงานฝ่ายปกครอง

ง.       คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ

ตอบ       ค.  พนักงานฝ่ายปกครอง

                มาตรา ๑๙  ในกรณีมีเหตุควรสงสัยว่าสิ่งของที่มีผู้นำมาจำนำเป็นสิ่งของที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำความผิด  ให้ผู้รับจำนำแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ทันที

11.                ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง

ก.       เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ ๓ ต่อเดือน

ข.       เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๒ ต่อเดือน

ค.       เงินต้นเกิน ๒,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๓๐ ต่อเดือน

ง.       เงินต้นเกิน ๒,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๓๕ ต่อเดือน

ตอบ       ข.  เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๒ ต่อเดือน

                มาตรา ๑๗  ห้ามมิให้ผู้รับจำนำเรียกหรือรับดอกเบี้ยเกินอัตรา  ดังต่อไปนี้

(๑)         เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๒ ต่อเดือน

(๒)       เงินต้นส่วนที่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน

การคิดดอกเบี้ยสำหรับกรณีที่ไม่ครบเดือน  ถ้าไม่เกินสิบห้าวันให้คิดเป็นครึ่งเดือน  ถ้าเกินสิบห้าวันให้คิดเป็นหนึ่งเดือน  เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง

ในกรณีผู้รับจำนำได้รับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดเนื่องจากการรับจำนำนอกจากดอกเบี้ย  ให้ถือว่าเงินหรือทรัพย์สินนั้นเป็นดอกเบี้ยด้วย

12.                การคิดดอกเบี้ยสำหรับกรณีที่ไม่ครบเดือน  ถ้าไม่เกินสิบห้าวันให้คิดเช่นไร

ก.       คิดตามจำนวนวันจริง

ข.       คิดเป็นครึ่งเดือน

ค.       คิดเป็นหนึ่งเดือน

ง.       ไม่ต้องคิด

ตอบ       ข.  คิดเป็นครึ่งเดือน

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

13.                คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำมีอำนาจสั่งพักใช้ในอนุญาตตั้งโรงรับจำนำไม่เกินกี่เดือน

ก.       ไม่เกินหนึ่งเดือน

ข.       ไม่เกินสองเดือน

ค.       ไม่เกินสามเดือน

ง.       ไม่เกินสี่เดือน

ตอบ       ค.  ไม่เกินสามเดือน

                มาตรา ๒๙  คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำมีกำหนดไม่เกินสามเดือน  หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำเมื่อปรากฏว่า

(๑)      ผู้รับจำนำ  หรือกรรมการผู้จัดการ  หรือพนักงานของผู้รับจำนำฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้  หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้  หรือ

(๒)       ผู้รับจำนำ  หรือกรรมการ  หรือผู้จัดการของผู้รับจำนำซึ่งเป็นนิติบุคคลขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๙

ในกรณีสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ  เมื่อคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำเห็นสมควร  จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตเข้าควบคุมโรงรับจำนำที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำนั้นด้วยก็ได้

14.           เมื่อคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำเห็นสมควรในการสั่งพักใช้ใบอนุญาติตั้งโรงรับจำนำหรือเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ  จะมีคำสั่งให้บุคคลใดเข้าควบคุมโรงรับจำนำ

ก.       พนักงานตำรวจ

ข.       พนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ค.       เลขานุการคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ

ง.       พนักงานฝ่ายปกครอง

ตอบ       ข.  พนักงานผู้ออกใบอนุญาต

                ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

15.                ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำให้ใช้ได้ถึงวันที่เท่าใด

ก.       วันที่ ๓๐ กันยายน ของปีที่ออกใบอนุญาต

ข.       วันที่ ๓๑ ตุลาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต

ค.       วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ของปีที่ออกใบอนุญาต

ง.       วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต

ตอบ       ง.  วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต

                มาตรา ๑๑  ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำให้ใช้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต

16.                ผู้รับจำนำผู้ใดฝ่าฝืนตาม มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษตามข้อใด

ก.       จำคุกไม่เกินสี่เดือน

ข.       จำคุกไม่เกินห้าเดือน

ค.       ปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท

ง.       ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ตอบ       ง.  ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

                มาตรา ๔๐  ผู้รับจำนำผู้ใดฝ่าฝืนตาม มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท  หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน  หรือทั้งปรับทั้งจำ

17.                ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ  ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี  ฉบับละเท่าใด

ก.       ฉบับละ  ๔๐,๐๐๐  บาท

ข.       ฉบับละ  ๓๐,๐๐๐  บาท

ค.       ฉบับละ  ๒๐,๐๐๐  บาท

ง.       ฉบับละ  ๑๐,๐๐๐  บาท

ตอบ       ค.  ฉบับละ  ๒๐,๐๐๐  บาท

                อัตราค่าธรรมเนียม

(๑)         ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี                                ฉบับละ  ๒๐,๐๐๐  บาท

(๒)       ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำในจังหวัดอื่น

นอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี                      ฉบับละ  ๑๐,๐๐๐  บาท

(๓)        ใบแทนใบอนุญาต                                                                  ฉบับละ         ๕๐  บาท

18.                ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.       ห้ามมิให้ผู้รับจำนำย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำเว้นแต่ได้รับอนุญาต

ข.       เงินต้นส่วนที่เกิน ๒,๐๐๐ บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๓๐ ต่อเดือน

ค.       สามารถรับจำนำสิ่งของจากเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีได้

ง.       สามารถนำทรัพย์จำนำออกนอกโรงรับจำนำได้

ตอบ       ก.  ห้ามมิให้ผู้รับจำนำย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำเว้นแต่ได้รับอนุญาต

                มาตรา ๑๔  ห้ามมิให้ผู้รับจำนำย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ  การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

19.                ผู้รับจำนำจะต้องทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาเท่าใด  เพื่อเสนอต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ก.       สองเดือน

ข.       สี่เดือน

ค.       หกเดือน

ง.       แปดเดือน

ตอบ       ข.  สี่เดือน

                มาตรา ๒๕  ให้ผู้รับจำนำทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่าสี่เดือนยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต  และปิดประกาศบัญชีนั้นไว้ ณ ที่เปิดเผย  ที่โรงรับจำนำนั้นตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

                เมื่อผู้รับจำนำได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามความในวรรคก่อนแล้ว  ให้บรรดาทรัพย์จำนำที่ปรากฏตามบัญชีที่ผู้รับจำนำทำขึ้นและประกาศไว้  ซึ่งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมิได้สั่งอายัดไว้  หรือผู้รับจำนำมิได้ขอไถ่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันประกาศหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนำ

20.                ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด

ก.       ผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี

ข.       เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ ๓ ต่อเดือน

ค.       ห้ามรับจำนำหรือให้ไถ่ทรัพย์จำนำในระหว่างเวลาตั้งแต่ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๘ นาฬิกา

ง.       ห้ามรับจำนำสิ่งของจากภิกษุสามเณร

ตอบ       ข.  เงินต้นไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ ๓ ต่อเดือน

21.           ผู้รับจำนำต้องจัดให้มีป้ายคำว่า โรงรับจำนำ ตามลักษณะที่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตกำหนด  แต่หน่วยงานใดสามารถใช้คำอื่นแทนโรงรับจำนำได้

ก.       สถานีตำรวจ

ข.       โรงพยาบาล

ค.       ศาลากลาง

ง.       เทศบาล

ตอบ       ง.  เทศบาล

                มาตรา ๑๒  ผู้รับจำนำต้องจัดให้มีป้ายคำว่า โรงรับจำนำ ตามลักษณะที่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตกำหนด  แสดงไว้ในที่เปิดเผยหน้าโรงรับจำนำ

                ในกรณีเทศบาลหรือทางราชการตั้งโรงรับจำนำ  เทศบาลหรือทางราชการอาจใช้คำอื่นแทนคำว่า โรงรับจำนำ ก็ได้  แต่ต้องเป็นคำที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำให้ใช้ได้

22.                เมื่อทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิแล้ว  ให้ผู้รับจำนำกระทำการใดต่อไปนี้

ก.       บันทึกวันเดือนปีที่หลุดเป็นสิทธิไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ

ข.       บันทึกชื่อผู้จำนำเป็นสิทธิไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ

ค.       บันทึกเลขประจำตัวประชาชนไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ

ง.       บันทึกรายการในบัตรประจำประชาชนไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ

ตอบ       ก.  บันทึกวันเดือนปีที่หลุดเป็นสิทธิไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ

                มาตรา ๒๖  เมื่อทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิแล้ว  ให้ผู้รับจำนำบันทึกวันเดือนปีที่หลุดเป็นสิทธิไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำ  และถ้าผู้รับจำนำได้จำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์จำนำที่หลุดเป็นสิทธิแล้ว  ก็ให้บันทึกวันเดือนปีที่ได้จำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์จำนำนั้นไว้ในต้นขั้วตั๋วรับจำนำด้วย

23.           ภายในระยะเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนปฏิทิน  ผู้รับจำนำจะต้องทำเอกสาประเภทใดเพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานงานผู้ออกใบอนุญาต

ก.       บัญชีงบกำไร-ขาดทุน

ข.       บัญชีรายชื่อผู้จำนำ

ค.       บัญชีงบเดือน

ง.       บัญชีประจำเดือน

ตอบ       ค.  บัญชีงบเดือน

                มาตรา ๒๗  ให้ผู้รับจำนำทำบัญชีงบเดือนยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้ภายในระยะเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนปฏิทิน

24.                ผู้รับจำนำมีสิทธิอุทธรณ์ในเรื่องใด

ก.       คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

ข.       คำสั่งพักใช้โรงรับจำนำ

ค.       คำสั่งพักผู้รับจำนำ

ง.       คำสั่งเพิกถอนใช้โรงรับจำนำ

ตอบ       ก.  คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

                มาตรา ๓๐  ผู้รับจำนำมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำที่คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำได้สั่งตาม มาตรา ๒๙ ต่อรัฐมนตรีได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

                คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

25.                ผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำต้องมีคุณสมบัติใดต่อไปนี้

ก.       อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี

ข.       ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ค.       ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต

ง.       ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

                มาตรา ๙  ผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑)         มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี

(๒)       ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

(๓)        ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๔)        ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕)     ไม่เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษ  หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(๖)         ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

(๗)        ไม่มีพฤติการณ์อันจะก่อกวนทำลายการเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ

ในกรณีผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำเป็นนิติบุคคล  กรรมการและผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติตามมาตรานี้ด้วย


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบพนักงานบัญชีสถานธนานุบาล ของ จ.ส.ท. กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น

ใหม่ล่าสุด ใช้สอบทั่วประเทศ
ที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ

เป็นไฟล์เอกสารส่งทาง e-mail
ส่งทันทีรวดเร็ว ได้อ่านสอบเร็วไม่ต้องรอ รวบรวมจากหนังสือมากกว่า สิบเล่ม

เนื้อหาภายในไฟล์และวิชาที่ใช้สอบ
- ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

- ข้อสอบวิชาภาษาไทย

- ข้อสอบหลักการบริหารงาน งานสารบัญ และเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ปัจจุบัน

- สรุปความรู้เกียวกับ พรบ. โรงจำนำ พศ. 2505

- ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่น

- ข้อสอบความรู้หลักการบัญชี
สนใจสั่งซื้อมาที่ 
decho.by@hotmail.com

สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท  

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่น decho pragay  ออมทรัพย์

โอนแล้วโทรแจ้งที่  085-0127724  


- 
จอมพล ส. ธนะรัชต์ 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

โรงรับจำนำ หมายความว่า สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้ เงินกู้เป็นปกติธุระ
แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท
และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับ
สิ่งของนั้นเป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงิน
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดย
ปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๔

การตั้งโรงรับจำนำ
การตั้งโรงรับจำนำจะต้องได้รับอนุญาตตั้งโรงรับจำนำจากคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำเท่านั้น
(
การขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำและการอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
ในกฎกระทรวง) หากผู้ใดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องได้รับโทษปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาท ถึง
๒๐,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕
มาตรา ๘ , มาตรา ๓๙
การรับจำนำสิ่งของ
ในการรับจำนำ ให้ผู้รับจำนำจดแจ้งรายการเกี่ยวกับบัตรประชาชนของผู้จำนำไว้ให้ชัดแจ้งใน
ต้นขั้วของตั๋วรับจำนำ
ด้วยในกรณีที่ผู้จำนำไม่ต้องมีบัตรประชาชนตามกฎหมายให้จดแจ้งรายการเกี่ยวกับ
เอกสารแสดงชื่อที่อยู่
ของผู้จำนำแทนบัตรประชาชน
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๑๘ ทวิ
อัตราดอกเบี้ยที่โรงรับจำนำมีสิทธิเรียกจากผู้จำนำ
ห้ามมิให้ผู้รับจำนำเรียกหรือรับดอกเบี้ยเกินอัตราดังต่อไปนี้
(๑) เงินต้น
ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ร้อยละ ต่อเดือน
(๒) เงินต้น
ส่วนที่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน
การคิดดอกเบี้ยสำหรับกรณีที่ไม่ครบเดือน
ถ้าไม่เกินสิบห้าวันให้คิดเป็น
ครึ่งเดือน
ถ้าเกินสิบห้าวันให้คิดเป็น
หนึ่งเดือน เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง
หากโรงรับจำนำใดคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ต้องระวางโทษ
ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึง
สองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๑๗ ,มาตรา ๔๐
การไถ่สิ่งของที่จำนำ โรงรับจำนำต้องให้ไถ่ทรัพย์จำนำเมื่อมีผู้นำตั๋วรับจำนำมาขอไถ่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ เว้นแต่
(ผู้รับจำนำต้องไม่ยอมให้ไถ่ทรัพย์จำนำ)
(๑) ผู้รับจำนำได้รับแจ้งจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจว่าทรัพย์จำนำหรือตั๋วรับจำนำเป็นของได้มาโดย
การกระทำความผิด
หรือ
(๒) ผู้รับจำนำมีเหตุควรสงสัยว่าทรัพย์จำนำหรือตั๋วรับจำนำเป็นของได้มาโดยการกระทำความผิด
เมื่อผู้รับจำนำไม่ยอมให้ไถ่ทรัพย์จำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ทันที
และต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตโดยไม่ชักช้า
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๒๓

ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักไปทราบว่าทรัพย์ดังกล่าวคนร้ายนำไปจำนำไว้กับ
โรงรับจำนำ เจ้าของทรัพย์ดังกล่าวจะมีสิทธิดำเนินการอย่างไร

ผู้รับจำนำต้องคืนทรัพย์จำนำให้แก่เจ้าของ โดยจะเรียกให้เจ้าของชำระหนี้ที่เกิดจากการรับจำนำทรัพย์นั้น มิได้ ในกรณีต่อไปนี้
(๑) ได้รับจำนำสิ่งของที่เห็นได้ว่าเป็นของที่ใช้ในราชการ
(๒) ได้รับจำนำทรัพย์หรือสิ่งของภายหลังจากที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ
ตำรวจหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกประกาศตำหนิรูปพรรณของหายได้แจ้งเรื่องของหายต่อผู้รับจำนำทราบแล้ว
(๓) ได้รับจำนำทรัพย์ไว้โดยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าทรัพย์จำนำนั้นได้มาโดยการกระทำความผิด
(๔) ได้รับจำนำทรัพย์ไว้โดยมิได้จดแจ้งรายการเกี่ยวกับบัตรประชาชนของผู้จำนำไว้ให้ชัดแจ้งในต้นขั้วของ
ตั๋วรับจำนำ
แต่ ไม่ตัดสิทธิของผู้รับจำนำที่จะเรียกชำระหนี้ที่เกิดจากการรับจำนำเอาจากผู้จำนำ
แต่ ถ้าได้รับจำนำไว้โดยถูกต้องตามกฎหมายไม่เข้าข้อยกเว้นทั้ง ๔ข้อดังกล่าวผู้รับจำนำไม่ต้องคืนของหรือ
ทรัพย์จำนำให้แก่เจ้าของทรัพย์ เว้นแต่ เจ้าของทรัพย์นั้นจะได้ชดใช้เงินที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำ
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๒๔
ข้อควรปฏิบัติเมื่อทรัพย์ของตนหายไป ถ้าบุคคลใดถูกคนร้ายลักทรัพย์ไปต้องรีบไปแจ้งความต่อตำรวจท้องที่ทันที โดยระบุตำหนิรูปพรรณ
ของทรัพย์ดังกล่าวให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ตำรวจจะได้ดำเนินการแจ้งตำหนิรูปพรรณทรัพย์หายดังกล่าว
ไปให้โรงรับจำนำทุกแห่งทราบต่อไปเพื่อจะได้ใช้สิทธิตามทรัพย์สินคืนจากโรงรับจำนำ หากคนร้ายได้นำทรัพย์นั้น
ไปจำนำไว้กับโรงรับจำนำได้ในภายหลัง
การขาดส่งดอกเบี้ย ถ้าผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า ๔ เดือนแล้ว ผู้รับจำนำจะต้องทำบัญชีทรัพย์ดังกล่าว ไปยื่นต่อ
เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และปิดประกาศไว้ที่หน้าโรงรับจำนำโดยเปิดเผย หากผู้จำนำไม่ไปไถ่ถอนคืน
ภายใน
๓๐ วัน
นับแต่วันที่ประกาศแล้วทรัพย์ที่จำนำหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนำทันทีโดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาด
เหมือนอย่างกรณีการรับจำนำของบุคคลทั่วไป
* พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๒๕

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้