ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบเจ้าพนักงานบริหารทั่วไปปฏิบัติงาน  ปปช. 2554
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานบริหารทั่วไปปฏิบัติงาน  ปปช. 2554

สารบัญหนังสือแนวข้อสอบเจ้าพนักงานบริหารทั่วไปปฏิบัติงาน
-  พรบ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542   แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ชุดที่ 1
-  พรบ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542  แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ชุดที่ 2
-  ข้อสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน         
-  ข้อสอบความรู้เกี่ยวกับงานพัสดุ        
-  ข้อสอบงานสารบรรณ งานธุรการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
-  ข้อสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์   
ข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (เฉพาะที่เกี่ยวกับ ป.ป.ช.)  
-  ข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540         
-  ข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ   บ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
-  พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน  ของรัฐ พ.ศ.2542        
-  ข้อสอบพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน   2551                               สั่งซื้อที่   085-0127724กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย บิ๊กซีขอนแก่น decho pragay  ออมทรัพย์
ราคา  399แนวข้อสอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒
 ๑.ข้อใดต่อไปนี้เป็นความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ก.นายกรัฐมนตรี ข.ปลัดกระทรวง
ค.ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ ง.ถูกทุกข้อ
๒.ข้อใดต่อไปนี้มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ก.ส.ส. ข.รัฐมนตรี
ค.ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง.ส.ว.
๓.พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก.๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ข.๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
ค.๑๘ เมษายน ๒๕๔๔ ง.๑๙ เมษายน ๒๕๔๔
๔.ผู้เสียหายตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ หมายถึง
ก.ผู้เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ
ข.ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา
ค.ผู้เสียหายจากการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตรต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ง.ถูกทุกข้อ
๕.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายนี้
ก.ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาแก่ ป.ป.ช. ว่าได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่ง
ข.ผู้เป็น ตัวการหรือ ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว
ค.ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาแก่ ป.ป.ช. ว่าได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การดำเนินการทางวินัย
ง.ถูกทุกข้อ
๖.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิดเกี่ยวกับ พนักงานไต่สวน
ก.คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้แต่งโดยแต่งตั้งจาก ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ข.คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้แต่งโดยแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ช. เป็นพนักงานไต่สวนก็ได้
ค.คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้แต่งโดยแต่งตั้งจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ง.ผิดทั้งข้อ ก. และ ข.
๗.คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีทั้งหมดกี่คน
ก. ๕ คน ข. ๗ คน
ค.๙ คน ง.๑๐ คน
๘.คณะกรรมการสรรหาต้องจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกทั้งหมดกี่คน และต้องเสนอต่อใคร ภายในกี่วัน
ก.๑๕ คน เสนอต่อประธานรัฐสภา ภายใน ๓๐ วัน
ข.๙ คน เสนอต่อประธานรัฐสภา ภายใน ๔๕ วัน
ค.๙ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา ภายใน ๓๐ วัน
ง.๙ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา ภายใน ๔๕ วัน
๙.มติของคณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ในข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก.ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ข.ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ค.ลงคะแนนโดยลับ และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ง.ลงคะแนนโดยลับ และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด



๑๐.ข้อใดต่อไปนี้คือ มติของวุฒิสภาในการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ก.ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ข.ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ค.ลงคะแนนโดยลับ และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
ง.ลงคะแนนโดยลับ และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด
๑๑.ในกรณีที่วุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบด้วยกับบัญชีรายชื่อของบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา หากคณะกรรมการสรรหาไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ก.ต้องดำเนินการสรรหาใหม่เท่านั้น
ข.ประชุมเพื่อมีมติยืนยันมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์
ค.ประชุมเพื่อมีมติยืนยันมติเดิมด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสาม
ง.ถูกทั้ง ข. และ ค.
๑๒.ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ไม่สามารถสรรหาบุคคลเพื่อเสนอชื่อต่อวุฒิสภาได้ภายในกำหนด คณะกรรมการสรรหาสามารถดำเนินการในวิธีการใดได้บ้าง
ก.ขอขยายระยะเวลาการสรรหาได้อีก ไม่เกินเก้าสิบวัน
ข.ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๓ คน เป็นคณะกรรมการสรรหาแทน
ค.ให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวน ๒ คน เป็นกรรมการสรรหาแทน
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.




๑๓.ข้อใดต่อไปนี้ มิใช่ คุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ก.มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
ข.อายุไม่ต่ำกว่า ๔๕ ปี บริบูรณ์
ค.ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิทางกฎหมาย
ง.เคยเป็นรัฐมนตรี
๑๔.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือเป็นลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ก.เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใน ๔ ปีก่อนหน้านี้
ข.ติดยาเสพติดให้โทษ
ค.อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ง.เป็นข้าราชการการเมือง
๑๕.กรรมการ ป.ป.ช. มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
ก. ๙ ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ วาระ
ข. ๙ ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ค.๗ ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ง.๗ ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๘ ปี
๑๖.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ทำให้กรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากการดำรงตำแหน่ง
ก.ตาย
ข.อายุครบ ๗๐ ปี บริบูรณ์
ค.อายุครบ ๗๕ ปีบริบูรณ์
ง.ต้องคำพิพากษาให้จำคุก


๑๗.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นถอดถอน ป.ป.ช.
ก.ส.ส.ไม่น้อยกว่า หนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา
ข.ส.ส.ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา
ค.ส.ส.ไม่น้อยกว่า สองในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา
ง.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน
๑๙.บุคคลในข้อใดต่อไปนี้มีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากรรมการ ป.ป.ช. ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ก.ส.ส.
ข.ส.ว.
ค.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ง.ถูกทุกข้อ
๒๐.ในกรณีที่กรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งรับคำร้องตามมาตรา ๑๗ และกรรมการที่เหลืออยู่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดต้องดำเนินการอย่างไร
ก.ให้คณะกรรมการสรรหาฯดำเนินการสรรหาแทนตำแหน่งที่ว่างเพื่อเป็นกรรมการชั่วคราว
ข.ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือกบุคคลเพื่อเป็นกรรมการชั่วคราว
ค.ให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นกรรมการชั่วคราว
ง.ไม่มีข้อถูก




๒๑.ข้อใดต่อไปนี้มิใช่อำนาจหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช.
ก.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ช.
ข.กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ค.ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็น เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ
ง.ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา
๒๒.การนัดประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก.การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ
ข.การแจ้งให้กรรมการฯทราบต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน
ค.ในกรณีที่มีการแจ้งนัดในที่ประชุมแล้ว ให้ถือว่ากรรมการทุกคนทราบนัดประชุมครั้งต่อไปแล้ว
ง.ถูกทุกข้อ
๒๓.ถ้าประธาน ป.ป.ช.ไม่อยู่ ใครเป็นประธานในที่ประชุมแทน
ก.ผู้มีอาวุโสสูงสุดในกรรมการที่เหลืออยู่
ข.กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน
ค.ผิดทั้ง ก.และ ข.
ง.ถูกทั้ง ก.และข.
๒๔.ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีดังต่อไปนี้
ก.มีคำสั่งให้ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมาให้ถ้อยคำ
ข.เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ทำการ หรือสถานที่อื่นใด รวมทั้งยานพาหนะของบุคคลใดๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
ค.ขอให้ศาลออกหมายเรียกบุคคลใดๆ เพื่อมาให้ถ้อยคำ
ง.ถูกทุกข้อ

๒๕.ในการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพ.ร.บ.นี้ ป.ป.ช. มีอำนาจตามข้อใด
ก.ออกหมายจับเพื่อควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล เพื่อส่งตัวไปยังอัยการสูงสุด
ข.แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวมาฟ้องลงโทษ
ค.วางระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบนรางวัล
ง.มีหนังสือขอให้หน่วยราชการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
๒๖.ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยื่นคำร้อง หรือมีอำนาจฟ้องคดีเอง อาจมอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนได้
ก.พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานไต่สวน
ข.พนักงานไต่สวนซึ่งมีวุฒิการศึกษาในระดับเนติบัณฑิต หรือวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย
ค.ทนายความ
ง.ถูกเฉพาะข้อ ข.และค.
๒๗.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตามพ.ร.บนี้
ก.ให้พนักงานไต่สวน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ข.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ค.ให้กรรมการ ป.ป.ช. เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
ง.ให้ประธานอนุกรรมการฯ เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย

๒๘.การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก.ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ เฉพาะของตนเอง และคู่สมรสเท่านั้น
ข.รายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นนั้นต้องเป็นรายการที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่กรณี
ค.ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดงให้รวมเฉพาะที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
ง.ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง ให้ผู้นั้นยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินเพียงตำแหน่งเดียว
๒๙.การยื่นบัญชีฯ ในกรณีต่อไปนี้ข้อใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ก.ในกรณีเข้ารับตำแหน่ง ให้ยื่นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง
ข.ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ค.ในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งตายในระหว่างดำรงตำแหน่ง หรือก่อนยื่นบัญชีฯหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทางยาทหรือผู้จัดการมรดกยื่น ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันตาย
ง.ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น นอกจากการยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วให้มีหน้าที่ยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง โดยยื่นภายใน ๔๕ นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี
๓๐. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในกรณีต่อไปนี้ ไม่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะชน
ก.ประธานศาลฎีกา
ข.ส.ว.
ค.ส.ส.
ง.นายกรัฐมนตรี



๓๑.ตำแหน่งในข้อใดต่อไปนี้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ทุก ๓ ปีที่อยู่ในตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
ก.ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
ข.ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ค.ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ง.ถูกทุกข้อ
๓๒.ห้ามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ในกรณีต่อไปนี้
ก.เรื่องที่มีการกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา ๗๕
ข.เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้วและไม่มีพยานหลักฐานใหม่อันเป็นสาระแก่กาไต่สวน
ค.ผู้ถูกกล่าวหาเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องที่อยู่ระหว่างการไต่สวนอยู่แล้ว
ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.
๓๓.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนในข้อใดต่อไปนี้ชอบด้วยกฎหมาย
ก.คณะอนุกรรมการประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า ๗ คน
ข.คณะอนุกรรมการประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ค.คณะอนุกรรมการประกอบด้วย กรรมการป.ป.ช. ๑ คน เป็นประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่เป็นเรื่องที่ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ตามมาตรา ๖๓
ง.ถูกทั้ง ข.และค.



๓๔.บุคคลในข้อใดต่อไปนี้สามารถแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงได้
ก.เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์หรือเคยสอบสวนในเรื่องดังกล่าวในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่
ข.เป็นพี่น้องร่วมมารดากับผู้กล่าวหา
ค.มีส่วนได้เสียในเรื่องที่กล่าวหา
ง.มีเรื่องฟ้องร้องกันทางธุกิจกับผู้ถูกกล่าวหา
๓๕.เมื่อปรากกฎว่าอนุกรรมการไต่สวนเป็นบุคคลต้องห้ามเพราะมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ทำกานไต่สวน ต้องดำเนินการอย่างไร
ก.อนุกรรมการผู้นั้นต้องแจ้งให้ประธานอนุกรรมการทราบโดยเร็วที่สุด
ข.อนุกรรมการผู้นั้นต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ โดยเร็วที่สุด
ค.อนุกรรมการผู้นั้นสามารถดำเนินการในเรื่องนั้นต่อไปได้จนกว่าประธานอนุกรรมการหรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ง.ถูกเฉพาะ ก.และ ค.
๓๖.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา หรือการถามปากคำของผู้ถูกกล่าวหาหรือการถามพยาน
ก.ต้องมีอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างน้อย ๓ คนร่วมในการไต่สวน
ข.ต้องมีอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างน้อย ๒ คนร่วมในการไต่สวนและในจำนวนนั้นต้องเป็นอนุกรรมการที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งสองคน
ค.ต้องมีอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างน้อย ๒ คนร่วมในการไต่สวนและในจำนวนนั้นต้องเป็นอนุกรรมการที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อยหนึ่งคน
ง.ในกรณีที่เป็นการสอบปากคำ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต้องมีอนุกรรมการที่เป็นกรรมการป.ป.ช.เข้าร่วมอย่างน้อย ๒ คน



๓๗.ข้อใดต่อไปนี้เป็นรายละเอียดที่ไม่ต้องแสดงในสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
ก.เรื่องที่ถูกกล่าวหา
ข.สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จากการไต่สวนข้อเท็จจริง
ค.เหตุผลในการพิจารณาวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ง.สรุปความเห็นส่วนตัวของคณะกรรมการไต่สวน
๓๘.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการพิจารณาสำนวนการไต่สวน
ก.ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติวินิจฉัยว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล สามารถตั้งอนุกรรมการเพื่อรวบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาอีกครั้งได้
ข.ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติวินิจฉัยว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ให้สำนักงาน ป.ป.ช.จัดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูเหตุผลที่มีมติของคณะกรรมการป.ป.ช.ดังกล่าวได้ ตามระเบียบที่กำหนด
ค.ถ้าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีผู้เสียหายยื่นคำร้องเพื่อดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาให้แจ้งผลให้ผู้เสียหายทราบโดยเร็ว
ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.
๓๙.ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่า ข้อกล่าวหาใดมีมูลและข้อกล่าวหานั้นเป็นเรื่องที่ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ตามมาตรา ๔๓(๑) มติดังกล่าวมีผลต่อผู้ถูกกล่าวหาอย่างไร
ก.ไม่มีผลต่อผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด
ข.จะมีผลต่อผู้ถูกกล่าวหาเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้น
ค.ผู้ถูกกล่าวหาจะปฎิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้
ง.ผู้ถูกกล่าวหาสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.อนุญาตเท่านั้น




๔๐.ในระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง หากปรากฎว่าผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตาย คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะดำเนินการเช่นใด
ก.ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปและดำเนินการตามขั้นตอนตามปกติ
ข.คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปและมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดี
ค.คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเฉพาะกรณีที่เป็นความผิดอาญาและข้อให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ง.คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น
๔๑.ตำแหน่งในข้อใดต่อไปนี้วุฒิสภาไม่มีอำนาจในการถอดถอนจากตำแหน่ง
ก.อัยการสูงสุด
ข.คณะรัฐมนตรี
ค.กรรมการการเลือกตั้ง
ง.ผู้พิพากษา
๔๒.หน่วยงานในข้อใดมีหน้าที่รับผิดชอบเสนอเรื่องการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวน
ก.ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ข.อัยการสูงสุด
ค.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ง.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม




๔๓.ตำแหน่งในข้อใดต่อไปนี้ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนได้
ก.กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ค.หัวหน้าตุลาการศาลทหาร
ง.ถูกทุกข้อ
๔๔.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด
ก.ในกรณีที่มีผู้ให้สินบนแก่กรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจฟ้องบุคคลดังกล่าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
ข.ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ค.ผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระให้คดีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ง.ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
๔๕.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ก.ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา
ข.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนสองหมื่นห้าพันคนสามารถยื่นคำร้องขอถอดถอนต่อประธานวุฒิสภาได้
ค.ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา
ง.ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา




๔๖. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องมีผู้ริเริ่มจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน และบุคคลดังกล่าวต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองใด
ข.ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อและผู้เข้าชื่อต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตาม พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.
ค.ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อต้องไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาก่อนเริ่มการรวบรวมรายชื่อ
ง.ถูกทุกข้อ
๔๗.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องยื่นคำร้องพร้อมกับรายชื่อต่อประธานวุฒิสภาภายในกี่วันนับแต่วันที่ผู้ริเริ่มไปแสดงตนต่อวุฒิสภา
ก. ๑๕๐ วัน
ข.๑๘๐ วัน
ค.๑๐๐ วัน
ง. ๒๐๐ วัน
๔๘.นายหนึ่งเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. รักษาราชการแทนผู้ว่า กทม. นายสอง เป็นผ.อ.เขตบางขุนเทียน ทั้งสองคนถูกกล่าวหาว่า ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการจัดสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองรางเข้(ตาสอง) เพื่อเชื่อมที่ดินฝั่งตรงข้ามกับที่ดินของโครงการเคหะชุมชนธนบุรี 1 ส่วน 2 ซอย 23 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าการสร้างสะพานดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลบางคนเป็นเหตุให้ กทม.ได้รับความเสียหาย ถ้าท่านเป็นอัยการสูงสุดเมื่อได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช.แล้ว ท่านจะยื่นฟ้องบุคคลทั้งสองต่อศาลใด
ก.นายหนึ่ง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, นายสองต่อศาลที่มีเขตอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒
ข.ยื่นฟ้องทั้งนายหนึ่งและนายสองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ค.สามารถฟ้องได้ทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาลที่มีเขตอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒
ง.ไม่อาจฟ้องบุคคลทั้งสองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาลที่มีเขตอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒ได้
๔๙.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้หรือไม่อย่างไร
ก.ไม่ได้เนื่องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นำเอาป.วิ.อ.มาใช้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172
ข.ได้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาหลังจากที่จำเลยมาศาลแล้วในการพิจารณาในนัดแรก
ค.ไม่ได้ เนื่องจากการดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการดำเนินคดีอาญาทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ
ง.ได้แม้จะไม่มีจำเลยมาศาล แต่ในสำนวนการพิจารณาต้องปรากฏที่อยู่และสามารถติดต่อจำเลยได้จริง
๕๐.นาย ก. เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง ร่วมกับนาย ข. ซึ่งเป็นเลขานุการคณะรัฐมนตรีว่ากการกระทรวงแห่งหนึ่ง ในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของนาย ข. ถ้าท่านเป็นอัยการสูงสุดท่านจะฟ้องบุคคลทั้งสองได้ที่ศาลใด
ก.นาย ก. ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, นาย ข.ต่อศาลที่มีเขตอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒
ข.ยื่นฟ้องทั้งนาย ก. และนาย ข. ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ค.สามารถฟ้องได้ทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาลที่มีเขตอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๒
ง.ไม่อาจฟ้องบุคคลทั้งสองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาลที่มีเขตอำนาจตาม
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้