ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบการประปาส่วนภูมิภาค ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า 4
khuwg ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบการประปาส่วนภูมิภาค ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า 4

แนวข้อสอบไฟฟ้า/ช่างไฟฟ้า/วิศวกรไฟฟ้า

110. คุณสมบัติในข้อใดเป็นคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

                1) ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร

                2) ผลรวมของกระแสที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของกระแสที่จ่ายให้กับวงจร

                3) กำลังไฟฟ้าคืออัตราส่วนระหว่างกระแสกับค่าความต้านทาน

                4) แรงดันแปรผันตรงกับกระแสไฟฟ้า

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

จากกฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

                ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากกฏแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

                ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร

 

111. จากกฎของโอห์มข้อใดกล่าวถูกต้อง

                1) กระแสไฟฟ้าแปรผันตรงกับค่าความต้านทาน

                2) แรงดันแปรผันตรงกับค่าความต้านทาน

                3) ความต้านทานแปรผันตรงกับกำลังไฟฟ้า

                4) กระแสไฟฟ้าแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

จากกฎของโอห์มกล่าวไว้ว่า

                V             =             IR

                I              =             V/R

                R             =             I/V

V  คือความต่างศักย์ มีหน่วยเป็น  โวลต์

I  คือกระแสในวงจร  หน่วยเป็น  แอมแปร์

R  คือความต้านทานในวงจร  หน่วยเป็น  โอห์ม

 

กล่าวคือกฎของ โอห์ม  ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้าและ ความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวใดๆ แปรพันตรงกับความต่างศักย์ (แรงดันไฟฟ้า หรือแรงดันตกคร่อน) และแปรผกผันกับความต้านทานระหว่างสองจุดนั่นที่กระแสไหลผ่าน

 

112. กฎแรงดันของเคอร์ซอฟกล่าวว่าอะไร

                1) ในวงจรไฟฟ้าปิดใด  ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้ามีค่าเท่ากับศูนย์

                2) ผลรวมของแรงดันตกคร่อมทั้งวงจร

                3) ผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้แก่วงจร

                4) ผลรวมของกระแสไฟฟ้าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในแต่ละสาขา

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

จากกฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

                ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้วงจร

                         =              

                ย้ายสมการจะได้

               

ดังนั้นกล่าวได้ว่าในวงจรไฟฟ้าปิดใด ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้ามีค่าเท่ากับศูนย์

 

113. คำกล่าวในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องตามวิธีของกระแสเมช

                1) แก้ปัญหาวงจรไฟฟ้ารวดเร็วขึ้น

                2) ง่ายต่อการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า

                3) ลดขั้นตอนในการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า

                4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ4

แนวความคำ

ทฤษฏีกระแสเมช (Mesh Current Throres)

                ทฤษฏีกระแสเมช เรียกว่า “เมชเคอร์เรนท์” (Mesh current Theores) เป็นการประยุกต์กฏของเคอร์ชอฟฟ์มาใช้แก้ปัญหาให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น  ทฤษฏีกระแสเมชจะกำหนดให้ในวงจรปิดใดๆ หนึ่งสงจรปิด จะสมมติให้มีกระแสไหลหนึ่งจำนวนและจะสมมติทิศทางของกระแสไหลไปทิศทางใดก็ได้ ดดยค่ากระแสแต่ละวงจรปิดจะเป็นอิสระต่อกัน

                โดยการแก้ปัญหาโจทย์ที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าที่ค่อนข้างยุ่งยาก สลับซับซ้อน ถ้าใช้ กฎของเคอร์ชอฟฟ์แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็ได้ทฤษฎีกระแสเมช โดยการเขียนสมการกฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ กับทุก Loop ที่มีการกำหนดกระแส สมมุติใน Loop นั้น ซึ่งจะต้องยึดหลังการ

 

114. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่

                1) ทำให้เกิดแก๊สกลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลว

                2) ทำให้น้ำยาเหลวเดือดกลายเป็นไอ

                3) อัดแก๊สความดันต่ำ  ให้มีความดันสูงขึ้น

                4) ลดความดันน้ำยาเหลว  ให้เดือดกลายเป็นไอ

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

                คอมเพรสเซอร์ หรือ อุปกรณ์อัดแก๊ส คือ ปั๊มที่ทำหน้าที่อัดแก๊สที่ได้จากน้ำยาที่กลายเป็นไอในอีวาปโปเรเตอร์ ให้มีความดันสูงขึ้น ซึ่งขณะเดียวกันอุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วยเมื่อได้แก๊สความดันสูงแล้ว  จึงจะให้ผ่านไปยังเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนออกและทำให้แก๊สเหล่านี้กลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลาอีกครั้งหนึ่ง  การอัดแก๊สดังกล่าวจะอัดจนกระทั่งอุณหภูมิของแก๊สสูงกว่าอุณหภูมิของสารตัวกลางที่ใช้หล่อเย็นคอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำงานโดยมีการสูญเสียความดันจากการรั่วของแก๊สและใช้กำลังงานในการขับคอมเพรสเซอร์น้อยที่สุด

 

115. มอเตอร์ 1 เฟสชนิดใดปรับความเร็วรอบโดยใช้ความต้านทาน

                1) สปลิตเพสมอเตอร์

                2) ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

                3) เซตเด็ดโพลมอเตอร์

                4) รีพัลชั่นมอเตอร์

เฉลย ข้อ

แนวความคิด

                มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ(Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์(A.C. MOTOR)การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบ่งออกได้ดังนี้

                มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่

                                1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกลเฟสมอเตอร์ (A.D. Sing Phase)

                                                -สปลิทเฟส มอเตอร์(Split-Phase motor)

                                                -คาปาซิเตอร์ (Capacitor motor)

                                                -รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion-type motor)

                                                -ยูนิเวอร์แวซลมอเตอร์(Universal motor)

                                                -เช็คเดดโพล มอเตอร์(Shaded-pole motor)

                                2. มอเตอร์ไฟฟ้าสลับชนิด 2 เฟสหรือเรียกว่าทูเฟสมอเตอร์ (A.D.Two phase Motor)

ดาวโหลดที่นี่

sura667 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วยครับ  ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า4  สอบครั้งแรกอยากทำให้ดีที่สุด

meme315093@hotmail.com
real_life ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอด้วย ครับ real_life_no_no@hotmail.com
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้