ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบ พนักงานขององค์การเภสัชกรรม
worathep ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบ พนักงานขององค์การเภสัชกรรม

ข้อสอบส่วนใหญ่ออกในนี้คับ
พระราชบัญญัติ องค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังวาลย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2509
เป็นปีที่ 21 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งองค์การเภสัชกรรม พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติองค์การ เภสัชกรรม พ.ศ. 2509" มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2509/69/1พ./11 สิงหาคม 2509] มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติ ไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "พนักงาน" หมายความว่า พนักงานขององค์การเภสัชกรรม "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
การจัดตั้ง ทุนและเงินสำรอง
_________
มาตรา 6 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า "องค์การเภสัชกรรม" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ผลิตยาและเวชภัณฑ์ (2) ส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัยการผลิตยาและเวชภัณฑ์ (3) ส่งเสริมการวิเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการ ผลิตยาและเวชภัณฑ์ (4) ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนและให้ซึ่งยาและเวชภัณฑ์ (5) ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์ มาตรา 7 ให้องค์การเภสัชกรรมเป็นนิติบุคคล มาตรา 8 ให้องค์การเภสัชกรรมตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัด พระนคร และจะตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่ใดก็ได้ ถ้าจะตั้ง สำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ต่างประเทศจะต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีก่อน มาตรา 9 ให้องค์การเภสัชกรรมมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 อำนาจเช่นว่านี้ ให้รวมถึง
(1) มีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง สร้าง ซื้อ เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม จัดหา จำหน่าย ทำการแลกเปลี่ยน โอนและ รับโอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น และมีสิทธิรับทรัพย์สิน ที่มีผู้อุทิศให้ (2) ร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลหรือส่วนราชการอื่นเพื่อ ประโยชน์แห่งกิจการองค์การเภสัชกรรม รวมทั้งการเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือ ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลใด ๆ (3) กู้ ยืม ให้กู้ ให้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือด้วย ทรัพย์ มาตรา 10 ให้กำหนดทุนขององค์การเภสัชกรรมเป็นจำนวน หนึ่งร้อยล้านบาท โดยถือเอาเงินทุนหมุนเวียนเวชภัณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กับเงินทุนของโรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับ ตามมาตรา 11 เป็นทุนประเดิม และรัฐบาลจะจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลพิจารณาเห็นสมควร มาตรา 11 ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สินและความรับผิดชอบ ของกองโอสถศาลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และของโรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนเวชภัณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์กับเงินทุนของโรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ให้แก่ องค์การเภสัชกรรม มาตรา 12 ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เกี่ยวกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี
มาตรา 13 เงินสำรองขององค์การเภสัชกรรม ให้ประกอบด้วย เงินสำรองเผื่อขาด เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ และเงินสำรองอื่น ๆ ตามแต่ คณะกรรมการจะเห็นสมควร มาตรา 14 เงินสำรองจะนำออกใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี มาตรา 15 ให้องค์การเภสัชกรรมปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยวิธีการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินขององค์การ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ วางไว้
หมวด 2
การกำกับ การควบคุมและการบริหาร
___________
มาตรา 16 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ องค์การเภสัชกรรม เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้องค์การเภสัชกรรมชี้แจง
ข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่ง ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรีตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่ง สอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้ มาตรา 17 เรื่องที่จะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีนั้น ให้รัฐมนตรีเป็น ผู้เสนอ
มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการขององค์การเภสัชกรรมคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม" ประกอบด้วยประธานกรรมการ หนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบสี่คน ทั้งนี้ รวมถึง ผู้อำนวยการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานกรรมการและ กรรมการ มาตรา 19 ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการและ ผู้อำนวยการจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และต้องมีความรู้ความจัดเจนเพียงพอ เกี่ยวกับการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์หรือ การบริหารธุรกิจ มาตรา 20 ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้ เป็นประธานกรรมการ กรรมการหรือผู้อำนวยการ
(1) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การเภสัชกรรมหรือในกิจการ ที่กระทำให้แก่องค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดที่ ระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (2) เป็นพนักงาน มาตรา 21 ภายใต้บังคับมาตรา 31 และมาตรา 32 ให้ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการของ องค์การเภสัชกรรม อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (1) ดำเนินกิจการตามมาตรา 9 (2) วางข้อบังคับการประชุม และการดำเนินกิจการของ คณะกรรมการ (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน พนักงาน ระเบียบวินัย การลงโทษพนักงาน และการร้องทุกข์ (4) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การเภสัชกรรม
(5) วางข้อบังคับว่าด้วยจำนวนอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน บำเหน็จของผู้อำนวยการและพนักงาน (6) วางข้อบังคับว่าด้วยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงาน (7) วางข้อบังคับเกี่ยวกับลูกจ้าง (8) วางข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานที่คณะกรรมการวางขึ้นตาม (4) นั้น ถ้ามีข้อความจำกัดอำนาจผู้อำนวยการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ ที่ คณะกรรมการวางขึ้นตาม (8) นั้น เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แล้ว ให้ใช้บังคับได้ มาตรา 22 ให้ประธานกรรมการและกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งห้าปี ประธานกรรมการและกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจ ได้รับแต่งตั้งอีกก็ได้
มาตรา 23 ประธานกรรมการและกรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่ง ก่อนถึงวาระตามมาตรา 22 เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก (4) ขาดคุณสมบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งประธาน กรรมการหรือกรรมการเข้าแทน แล้วแต่กรณี ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้ย่อม อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา 24 ประธานกรรมการและกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา 25 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และได้รับเงินเดือนตามที่ คณะกรรมการกำหนด ผู้อำนวยการย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออกหรือ คณะกรรมการให้ออกจากตำแหน่ง การแต่งตั้ง การกำหนดเงินเดือนและการให้ออกจากตำแหน่งตาม มาตรานี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา 26 ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การเภสัชกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด และมี อำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่งและลูกจ้าง ผู้อำนวยการต้องรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินงานขององค์การ เภสัชกรรม มาตรา 27 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้อำนวยการเป็น ผู้กระทำการในนามขององค์การเภสัชกรรม และเป็นผู้กระทำการแทนองค์การ เภสัชกรรม และเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนขององค์การ เภสัชกรรมที่ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 8 หรือบุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่าง แทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการวางไว้ ในกรณีที่มีข้อบังคับซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 21 วรรคสอง กำหนดว่านิติกรรมใดผู้อำนวยการจะทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการก่อน บรรดานิติกรรมที่ผู้อำนวยการทำขึ้นโดยมิได้รับความ เห็นชอบดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันองค์การเภสัชกรรม เว้นแต่คณะกรรมการจะให้ สัตยาบัน
มาตรา 28 ผู้อำนวยการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดหรือตัดเงินเดือนตลอดจน ลงโทษพนักงานและลูกจ้าง ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการวางไว้ แต่ถ้าเป็นพนักงานชั้นหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการก่อน (2) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานขององค์การเภสัชกรรมโดย ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับที่คณะกรรมการวางไว้ มาตรา 29 เมื่อผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใด เหตุหนึ่ง หรือเมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการว่างลง และในระหว่างที่ยังมิได้ แต่งตั้งผู้อำนวยการ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานขององค์การเภสัชกรรม คนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนผู้อำนวยการหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ แล้วแต่กรณี เป็นการชั่วคราว และให้นำมาตรา 20(1) มาใช้บังคับโดย อนุโลม ให้ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ
มาตรา 30 ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการและ พนักงานอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
หมวด 3
ความสัมพันธ์กับรัฐบาล
__________
มาตรา 31 ในการดำเนินกิจการขององค์การเภสัชกรรมให้ คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน มาตรา 32 องค์การเภสัชกรรมจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ได้ (1) เพิ่มหรือลดทุน (2) กู้ยืมเงินครั้งหนึ่งเป็นจำนวนเกินกว่าสามล้านบาท (3) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 33 ให้องค์การเภสัชกรรมจัดทำงบประมาณประจำปี แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ ทราบ มาตรา 34 รายได้ที่องค์การเภสัชกรรมได้รับจากการดำเนินงาน ให้ตกเป็นขององค์การเภสัชกรรม สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการ
ดำเนินงาน ค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของ ผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวตามมาตรา 21 ประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา 24 โบนัสตามมาตรา 30 เงินสำรองตามมาตรา 13 และเงินลงทุนตามงบลงทุน ที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา 33 รายได้ที่ได้รับในปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายดังกล่าวในวรรคหนึ่ง แล้ว เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ มาตรา 35 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วขององค์การเภสัชกรรม และ คำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการและแผนงานที่จะจัดทำ ในภายหน้า
หมวด 4
การร้องทุกข์และการสงเคราะห์
________
มาตรา 36 ให้พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามข้อบังคับ ที่คณะกรรมการวางไว้ มาตรา 37 ให้องค์การเภสัชกรรมจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือ การสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานในองค์การเภสัชกรรม
และครอบครัวตามข้อบังคับที่คณะกรรมการวางไว้
หมวด 5
การบัญชี การสอบและการตรวจ
__________
มาตรา 38 ให้องค์การเภสัชกรรมวางและรักษาไว้ซึ่งระบบการ บัญชีอันถูกต้อง แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการสอบบัญชีภายในเป็น ประจำ และมีสมุดบัญชีลงรายการ (1) การรับและจ่ายเงิน (2) สินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควรตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นเหตุที่มาของรายการนั้น ๆ
มาตรา 39 ทุกปี ให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้สอบบัญชีและตรวจบัญชีรวมทั้งการเงินขององค์การเภสัชกรรม มาตรา 40 ผู้สอบบัญชีและตรวจบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ขององค์การเภสัชกรรม เพื่อการนี้ให้มี อำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ พนักงาน ลูกจ้าง
และผู้อื่นซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การเภสัชกรรม มาตรา 41 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชีของ องค์การเภสัชกรรม ให้องค์การเภสัชกรรมโฆษณารายงานประจำปีของปี ที่สิ้นสุดไปนั้น แสดงบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน พร้อมกับ รายงานของผู้สอบบัญชีและตรวจบัญชีตามมาตรา 39
หมวด 6
บทเฉพาะกาล
________
มาตรา 42 ในระหว่างที่การโอนเงินทุน กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และความรับผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 มาตรา 11 ยังไม่ เสร็จสิ้น ให้กองโอสถศาลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงงาน เภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินกิจการเช่นเดิมไปพลางก่อน มาตรา 43 นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ลูกจ้าง เงินทุนหมุนเวียนเวชภัณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และพนักงานโรงงาน เภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างเท่าที่ได้รับอยู่เดิม
ไปพลางก่อน จนกว่าผู้อำนวยการจะได้บรรจุและแต่งตั้งพนักงานหรือลูกจ้าง ดังกล่าวตามมาตรา 28 (1) ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
_______________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การ ดำเนินการผลิตยาและจำหน่ายยาในปัจจุบันได้แยกดำเนินการโดยโรงงาน เภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข กับกองโอสถศาลา กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและปฏิบัติงาน ล่าช้า ฉะนั้น เพื่อเป็นการประหยัดและให้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว จึงเห็น สมควรที่จะปรับปรุงกิจการผลิตยาและจำหน่ายยาให้แก่หน่วยราชการ องค์การ เทศบาล และประชาชนเสียใหม่โดยรวมโรงงานเภสัชกรรมกับกองโอสถศาลา และจัดตั้งเป็นองค์การเภสัชกรรมขึ้น เพื่อผลิตและจำหน่ายยาในราคาที่ถูกลง และกว้างขวางยิ่งขึ้น

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้