ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ขอแนวข้อสอบตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ (ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร)
dakarnda ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ขอแนวข้อสอบตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ (ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร)

นักวิทยาศาสตร์การอาหาร

นิยามอาชีพ
          วิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแปรรูปอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านคุณค่าทางอาหารไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ราคายุติธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

ลักษณะของงานที่ทำ
          ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีการอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารขึ้นในภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
 1. เลือกใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต หรือแปรรูปอาหาร
 2. บริหารและวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหาร หรือถนอมอาหาร
 3. จัดหาและเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ
 4. มีความรอบรู้เรื่องเงื่อนไขของฤดูกาลการผลิตสินค้าการเกษตร ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณค่าในการผลิต
 5. วิจัยพัฒนา ค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหาร และกระบวนการแปรรูป ถนอมอาหาร และเทคนิคการผลิตสินค้าใหม่ๆ
 6. จัดเตรียมวัตถุดิบ ตรวจบันทึก และจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการ
 7. ให้คำแนะนำดูแลและควบคุมบุคลากร ในสายงานการผลิต
 8. ควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้มีคุณค่าได้มาตรฐานทางโภชนาการ
 9. มีความรู้ด้านการตลาดและต้นทุนการผลิต

สภาพการจ้างงาน
          ในภาคราชการผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ตามข้อกำหนดของ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยผู้จบวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับอัตราเงินเดือนๆ ละ 7,260 บาท 
          ในภาคเอกชนผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับอัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆ ละประมาณ 12,000 – 20,000 บาท พร้อมทั้งสวัสดิการ และการได้รับโบนัสประจำปี

สภาพการทำงาน
          ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจทำงานทั้งในโรงงานผลิต และในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องแบบการปฏิบัติงาน และสวมอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล 
          นักวิทยาศาสตร์การอาหาร อาจต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรอาหาร และต้องปฏิบัติงานทั้งในโรงงานผลิตและ
ห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องป้องกันอนามัยและความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ หมวก ผ้ากันเปื้อน หรือเครื่องแบบที่ทางสถานประกอบกิจการจัดเตรียมไว้ให้

คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพ
 1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร
 2. มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
 3. มีความรู้ในเรื่องการควบคุมต้นทุนการผลิต
 4. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
 5. มีความรู้เรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการผลิต และกฎหมายอาหารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อาหาร Halal, Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ฯลฯ
 6. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์

ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
          ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า แล้วสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ในระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี ภาคสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพดังกล่าว

โอกาสในการมีงานทำ
          จากการที่ประเทศไทยมีนโยบาย ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก (Kitchen of the World) โดยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ตามโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
          สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ มีประมาณ 29 แห่ง ซึ่งผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผลิตไส้กรอก โรงงานผัก ผลไม้อบแห้ง โรงงานขนมปัง อาหารขบเคี้ยว โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และโรงงานผลิตไวน์ผลไม้ เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          สำหรับผู้ประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ควรค้นคว้าหาความรู้ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก และเมื่อมีความพร้อม ความสามารถ ก็อาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน จนถึงตำแหน่งสูงสุดตามเงื่อนไขและข้อตกลงขององค์กรนั้นๆ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
          อาจารย์ นักวิชาการ วิทยากรชุมชน นักธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้ผลิตอาหารอนามัย (Organic Food) ผู้แทนการขายอาหารเสริมต่างๆ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือเครื่องดื่ม ผลิตไวน์ผลไม้ ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และส่งออก ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการผลิตอาหารกับวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และโรงงานนักชิมไวน์ เป็นต้น

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.    ข้าวเจ้ามีส่วนประกอบคือ  ใน  100  กรัม มีไขมัน 0.6  กรัม คาร์โบไฮเดรต  81  กรัม
      โปรตีน 7.3  กรัม   การทดสอบข้าวเจ้าเพื่อหาสารอาหารควรใช้สารใด เพื่อทดสอบ
      คาร์โบไฮเดรต
ก.    กระดาษ
ข.    ทดสอบไบยูเรต
ค.    สารละลายเบเนตดิกต์
ง.    ทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
2.    นมวัวประกอบด้วยไขมัน 5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม โปรตีน 3.2  กรัม ในน้ำนม 100  กรัม ควรทดสอบด้วยสารใดในการทดสอบสารอาหารเพื่อตรวจโปรตีน
ก.    กระดาษ
ข.    ทดสอบไบยูเรต
ค.    สารละลายไอโอดีน
ง.    สารละลายเบเนดิกต์
3.    น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ทดสอบได้ด้วยสารละลายเบเนดิกต์คือข้อใด
ก.    ซูโครสและแล็กโทส
ข.    ซูโครสและมอลโทส
ค.    แล็กโทสและมอลโทส
ง.    ซูโครสและน้ำตาลเทียม



4.    ที่เรียกว่าสารละลายเบเนดิกต์นั้น คือข้อใด สีอะไร
ก.    คอปเปอร์ซัลเฟตในกรด สีฟ้า
ข.    คอปเปอร์ซัลเฟตในเบส  สีฟ้า
ค.    คอปเปอร์ซัลเฟตในเบส สีเขียว
ง.    คอปเปอร์ซัลเฟตในกรด  สีเขียว
5.    การทดสอบน้ำมันพืชนั้นอกจากจะถูกกับกระดาษได้  กระดาษโปร่งแสงแล้ว นักเรียนเคยทดสอบอย่างไร
ก.    ผสมแอมโมเนียได้ก๊าซ
ข.    ผสมน้ำปูนใสแล้วสารจะขุ่น
ค.    ผสมโซเดียมไฮดรกไซดืได้สบู่
ง.    ผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ได้ก๊าซ
6.    คาร์โบไฮเดรต  โมเลกุลใหญ่ได้แก่ข้อใด
ก.    แล็กโทส  มอลโทส  ซูโครส
ข.    กลูโคส  ฟรักโทส   มอลโทส
ค.    แป้ง   เซลลูโลส  ไกลโคเจน
ง.    กาแล็กโทส  มอลโทส  กลูโคส
7.    คาร์โบไฮเดรตมีโมเลกุลเล็กที่สุดคือข้อใด
ก.    กลูโคส  แล็กโทส
ข.    ฟรักโทส  มอลโทส
ค.    เซลลูโลส  ฟรักโทส
ง.    ฟรักโทส  กาแล็กโทส




8.    เติมสารละลายไอโอดีนลงในพืชที่มีแป้ง จะมีสีน้ำเงินเกิดขึ้น พืชในข้อใดที่ไม่มีสีน้ำเงินเมื่อเติมสารละลายไอโอดีน
ก.    ส้ม
ข.    กล้วย
ค.    ฝรั่ง
ง.    มะม่วง

9.    ให้เลือกตอบว่าข้อใดถูกต้อง
ก.    ถ้าทดสอบไบยูเร็ตกับเต้าหู้ขาว  จะได้สีม่วง
ข.    เติ่มสารละลายเบเนดิกต์ลงในน้ำเชื่อมได้ตะกอนสีเหลือง
ค.    เติมสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ลงในน้ำขาว ถ้ามีสีน้ำเงินก็มีแป้ง
ง.    เติมสารละลายเบเนดิกต์ลงในน้ำปัสสาวะอุ่นให้ร้อน ถ้ามีสีเขียวปนเหลืองก็ไม่มีน้ำตาล
10.    สารข้อใดที่ไม่ให้สีน้ำเงินกับสารละลายไอโอดีน
ก.    แป้งมัน
ข.    แป้งผัดหน้า
ค.    แป้งข้าวโพด
ง.    แป้งข้าวเหนียว
11.    เมื่อทดสอบสารอาหารชนิดหนึ่งด้วยสารละลายเบเนดิกต์ได้สีน้ำเงิน  เมื่อทดสอบ
ไบยูเร็ตได้สีม่วง  อาหารนั้นเป็นอะไร
ก.    ไขมัน
ข.    โปรตีน
ค.    วิตามิน
ง.    คาร์โบไฮเดรต

12.    สารอาหารโปรตีน  ต่างจากคาร์โบไฮเดรตตรงไหน  เกี่ยวกับธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
ก.    มีคาร์บอน
ข.    มีไนโตรเจน
ค.    มีออกซิเจน
ง.    มีไฮโดรเจน
13.    การตรวจสอบอาหารข้อใดผิด
ก.    เทสารละลายเบเนดิกต์ลงในน้ำอ้อย  ได้ตะกอนสีส้มแดงเกิดขึ้นทันที
ข.    เติมสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ลงในน้ำแป้ง  มีสีน้ำเงินเกิดขึ้น
ค.    ทดสอบไบยูเร็ตกับน้ำเต้าหู้ได้สีม่วง
ง.    ผิดข้อ  ก  และ  ข
14.    สารอาหารที่มีธาตุต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบ คือ  C,O,H,N,S,P  น่าจะเป็นข้อใด
ก.    ไขมัน
ข.    น้ำตาล
ค.    โปรตีน
ง.    คาร์โบไฮเดรต
15.    ทิงเจอร์ไอโอดีนที่ใช้ใส่แผลสด  ถ้าหกรดปนเมล็ดข้าวสุก  น่าจะเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีใด
ก.    สีชมพู
ข.    ขาวอย่างเดิม
ค.    ม่วงแก่
ง.    สีน้ำเงินแก่เกือบดำ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้