ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม

1.   หลักการแบ่งงานกันทำ  เป็นแนวความคิดของใคร

.  Frederick W. Taylor                                                             .  Henry L. Gantt

.  Adam Smith                                                                           .  Lilian Gibreth

ตอบ       .  Adam Smith

                Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ ในยุคคลาสสิก (ปี 1776) ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) ที่ว่าควรแบ่งงานที่มีอยู่ไปยังส่วนต่างๆ ของหน่วยงานจนถึงหน่วยเล็กที่สุดของการปฏิบัติงานซึ่งทำโดยคนงานเพียงหนึ่งคน  คนงานแต่ละคนจะได้ปฏิบัติงานเพียงหนึ่งอย่างหรือสองอย่าง  ซึ่งเมื่อปฏิบัติงานไปนานเข้าก็จะเกิดความชำนาญ  ความชำนาญจะนำไปสู่การเพิ่มปริมาณผลผลิตรวม  การเพิ่มผลผลิตย่อมจะทำให้บุคคลในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น  โดยนำสินค้าและบริการที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่นที่ตนมิได้ผลิตได้มากขึ้น

2.   ข้อใดไม่ใช่หลักการบริหารของ Taylor

.  ศึกษาองค์ประกอบของแต่ละส่วนงาน

.  นำการคัดเลือกแบบศาสตร์มาใช้

.  ให้ความร่วมือกับคนงานอย่างจริงใจ

.  การบำรุงรักษาองค์ประกอบของมนุษย์

ตอบ       .  การบำรุงรักษาองค์ประกอบของมนุษย์

                หลักการบริหาร 4 ข้อ ของ Taylor ได้แก่

1.  นำองค์ความรู้ที่เรียกว่า ศาสตร์มาใช้แทนการทำงานตามยถากรรม (Rule of Thumb) คือการศึกษาองค์ประกอบแต่ละส่วนของงาน  และค้นหาว่าวิถีทางใดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการทำงานในแต่ละงาน

2.  นำการคัดเลือกแบบ ศาสตร์มาใช้ให้ครบแล้วจึงฝึกอบรม  สอน  และพัฒนา  คนงานแทนการทำงานแต่ก่อน  ซึ่งคนงานจะเลือกทำงานและฝึกฝนด้วยวิธีการของตนเองเท่าที่สามารถจะทำได้

3.  ให้ความร่วมมือกับคนงานอย่างจริงใจ  เพื่อให้แน่ใจว่างานนั้นสามารถทำได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้วางไว้

4.  พยายามแบ่งงานและความรับผิดชอบให้เท่าเทียมกันและชัดเจนระหว่าง  ผู้บริหารกับคนงานโดยงานของผู้บริหารควรเป็นงานเฉพาะที่ทำได้ดีกว่าคนงานเท่านั้น  ซึ่งเมื่อก่อนคนงานจะต้องเป็นผู้ทำงานแทบทุกอย่างในองค์การ  ซึ่งผู้บริหารมอบหมายให้ทำ

3.   ผู้ใดมีความเชื่อว่า  ระบบการทำงานที่ดีที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับการจัดตารางเวลาของงานและการให้รางวัลแก่ผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

.  Henry L. Gantt                                                                       .  Henri Fayol

.  Max Weber                                                                             .  Ralph C. Davis

ตอบ       .  Henry L. Gantt

                Henry L. Gantt เป็นผู้สืบสารแนวความคิดต่อจาก Taylor โดยมีความเชื่อว่าระบบการทำงานที่ดีที่สุดนั้น  ขึ้นอยู่กับการจัดการตารางเวลาของงาน  และการให้รางวัลแก่ผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมซึ่งมีหลักการ  ดังนี้

                1.  การบำรุงรักษาองค์ประกอบมนุษย์  ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการ

                2.  เน้นถึงความร่วมมืออย่างกลมกลืนในระหว่างฝ่ายแรงงานและฝ่ายบริหาร

                3.  พัฒนาวิธีการใช้กราฟแสดงถึงแผนงานและงานที่จะต้องทำทั้งหมด (The Gantt Chart)

                4.  เน้นความสำคัญในเรื่องของเวลา  และต้นทุนในการวางแผน  และการควบคุม

4.   แนวความคิดของ Frank และ Lilian Gilbreth ได้แบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ คือข้อใด

.  หลักการใช้ร่างกาย

.  หลักการเตรียมสถานที่ทำงาน

.  หลักการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้

.  ถูกทุกข้อ

ตอบ       .  ถูกทุกข้อ

                Frank และ Lilian Gilbreth เป็นวิศวกรเช่นเดียวกับ Taylor เป็นผู้ที่ชื่นชอบในผลงานของ Taylor ด้วย  และมีแนวความคิดที่คล้ายกันในด้านการขจัดความสูญเปล่าและความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานให้หมดไปหรือให้น้อยลง  โดยการศึกษาอาการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะที่คนงานทำงาน  ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด  เช่น  การศึกษาก่ออิฐของคนงานที่เพิ่มผลงานโดยลดการเคลื่อนไหวทางร่างกายลง  โดยรู้จักกันดีในนาม Therblig (ชื่อของ Gilbreth แต่สะกดถอยหลัง) และได้ดัดแปลงมาตั้งเป็นหลักของความประหยัดในการเคลื่อนไหวของร่างกาย  โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก  คือ

                1.  หลักการของการใช้ร่างกาย เช่น มือ เท้า แขน การเคลื่อนไหว จังหวะ

                2.  หลักการเตรียมสถานที่ทำงาน  เครื่องมือเครื่องใช้  ระยะยกขึ้นลง  ความสูง  ระดับสายตาและเก้าอี้

                3.  หลักการของการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่เหมาะกับงาน

5.   นักทฤษฎีการบริหารจัดการทั่วไป  ได้แก่ใครบ้าง

.  Henri Fayol                                                                             .  Max Weber

.  Ralph C. Davis                                                                       .  ถูกทุกข้อ

ตอบ       .  ถูกทุกข้อ

                นักทฤษฎีการบริหารจัดการทั่วไป  คือผู้ที่ศึกษาและมองการบริหารทั้งระบบ  แล้วนำมาพัฒนาใช้งาน  นักทฤษฎีกลุ่มนี้ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Henri Fayol,  Max Weber และ Ralph C. Davis

6.   Henri Fayol กล่าวว่า  หลักการบริหารจัดการนั้นสามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป  โดยหน้าที่หลักของฝ่ายการจัดการคือ POCCC ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของ CCC ตามลำดับ

.  การบังคับบัญชา  การควบคุมงาน  การประสานงาน

.  การบังคับบัญชา  การประสานงาน  การควบคุมงาน

.  การควบคุมงาน  การประสานงาน  การบังคับบัญชา

.  การประสานงาน  การบังคับบัญชา  การควบคุมงาน

ตอบ       .  การบังคับบัญชา  การประสานงาน  การควบคุมงาน

                Henri Fayol เชื่อว่าหลักการบริหารจัดการนั้นสามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นงานบริหารจัดการของเอกชนหรือของรัฐ  โดยมีหน้าที่หลักของฝ่ายการจัดการคือ POCCC

  การวางแผน (Planning)

  การจัดองค์การ (Organizing)

  การบังคับบัญชา (Commanding)

  การประสานงาน (Coordinating)

  การควบคุมงาน (Controling)

7.   หนังสือ “The Fundamentals of Top Managment” เป็นผลงานของผู้ใด

.  MaGregor                                                                               .  Chester Barnard

.  Ralph C. David                                                                       .  Hogo Munsterberg

ตอบ       .  Ralph C. David

                Ralph C. David เป็นผู้เสนอแนวความคิดที่พัฒนาจากแนวความคิดการจัดการของ Fayol และประสบการณ์ของเขาเองในการจัดการแบบวิทยาศาสตร์  เพื่อขยายความคิดของ Fayol การวางแผน  การจัดองค์การ  และการควบคุม  นั้นถือเป็นสากลสามารถใช้งานได้กับองค์การทุกชนิดโดยเน้นเรื่องความจำเป็นที่ต้องมีผู้บริหารมืออาชีพ (Professional manager) และได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่ออันสำคัญของความเป็นผู้นำ  โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับชุมชน  ซึ่งในปัจจุบันเรียกกันว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Social responsibility)

8.   ผลงาน “Psychology and Industrial Efficiency” เป็นผลงานของผู้ใด

.  MaGregor                                                                               .  Chester Barnard

.  Ralph C. David                                                                       .  Hogo Munsterberg

ตอบ       .  Hogo Munsterberg

                Hogo Munsterberg ผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน  หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล  หรือแต่ละบุคคลที่ทำงาน  เพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุด  หนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 1913  ในเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาและประสิทธิภาพในโรงงาน  เขาให้เหตุผลว่า  ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์  ซึ่งจะพิสูจน์ให้เห็นโครงสร้างโดยทั่วไปและอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน  เขาแนะนำว่าการใช้จิตวิทยาในการทดสอบที่จะปรับปรุงการคัดเลือกลูกจ้าง  คุณค่าของการเรียนรู้ทางทฤษฎีในการพัฒนาวิธีการฝึกอบรมและการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์  เพื่อที่จะเข้าใจว่าเทคนิคอย่างไรจะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  สำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนงาน  ผลงานของเขาคือ “Psychology and Industrial Efficiency, 1912”

9.   ผลงาน “The Functions of the Executive” เป็นผลงานของใคร

.  MaGregor                                                                               .  Chester Barnard

.  Ralph C. David                                                                       .  Hogo Munsterberg

ตอบ       .  Chester Barnard

                Chester Barnard เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งมีความคิดในเรื่องพฤติกรรมขององค์การเช่นเดียวกับ Fayol Barnard เป็นนักปฏิบัติ  เขาเป็นประธานของ New Jersey Bell Telephone Company เขาได้ศึกษาและได้รับอิทธิพลจากข้อเขียน Weber แต่แตกต่างกับ Weber ผู้ซึ่งมีความคิดในแง่ของทัศนคติที่ถือว่าองค์การเป็นเครื่องจักรกลและไม่ใช่เป็นเรื่องของบุคคลที่เกี่ยวกับองค์การ Barnard เห็นว่าองค์การเป็นดังเช่นระบบของสังคมที่ต้องการความร่วมมือจากมนุษย์  เขาเชื่อว่าองค์การต่างๆ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์  ซึ่งมีการตอบสนองซึ่งกันและกันกับความสัมพันธ์ทางสังคม  บทบาทของผู้จัดการ คือ การถ่ายทอดการสื่อสารและการกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใช้ความพยายามในระดับที่สูงขึ้น Barnard เห็นว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ขององค์การนั้นขึ้นอยู่กับการได้มาซึ่งความร่วมมือจากมนุษย์ในองค์การนั้น  และยังให้ความเห็นองค์การเป็นระบบเปิด  ความสำเร็จทั้งหลายขึ้นอยู่กับการดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มภายนอกและสถาบันภายนอก  ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างองค์การ  โดยการให้การรับรองของความเป็นอิสระขององค์การที่เกี่ยวกับผู้ลงทุนทั้งหมาย  ผู้สนับสนุน  ลูกค้า  และสถาบันภายนอกอื่นๆ  Barnard ได้แนะนำว่าความคิดหรือทัศนคติที่ผู้จัดการจะต้องพิจารณา คือ สภาวะแวดล้อม  และการปรับปรุงองค์การให้ดำรงไว้ซึ่งความีดุลยภาพ  ทั้งนี้ปรากฎอยู่ในความคิดของเขาในหนังสือ The Functions of the Executive ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1938

10. ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y เป็นผลงานของใคร

.  MaGregor                                                                               .  Chester Barnard

.  Ralph C. David                                                                       .  Hogo Munsterberg

ตอบ       .  MaGregor

                ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ MaGregor

                Douglas Mc Gregor มีฐานคติเกี่ยวธรรมชาติของคนอยู่ 2 แบบ เรียกว่า ทฤษฎี X และทฤษฎี Y โดยมีข้อสมมติฐาน ดังนี้ ทฤษฎี X เป็นด้านลบของคนที่ว่าคนทั่วไปเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน  หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ  ถ้าอยากจะให้งานเสร็จต้องใช้ไม้แข็ง  ทฤษฎี Y เป็นด้านบวกที่คนไม่เกียจคร้าน  รับผิดชอบ  และพึงพอใจในการทำงาน  ถ้าจะให้งานเสร็จก็เพียงแค่จูงใจให้ทำงานเท่านั้น  McGregor เชื่อว่า ทฤษฎี Y สามารถนำธรรมชาติที่เป็นจริงของคนงานมาใช้งานได้

11. ข้อสมมุติฐานของ ทฤษฎี Y ของ McGregor เกี่ยวกับคน คือ

.  คนเห็นงานเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ

.  คนแสวงหาความรับผิดชอบ

.  คนโดยทั่วไปชอบและสนุกกับการทำงาน

.  ถูกทุกข้อ

ตอบ       .  ถูกทุกข้อ

                Douglas McGregor ได้ตั้งข้อสมมุติฐานที่เกี่ยวกับธรรมชาติของคนขึ้นมา 2 แบบ คือ

                1.   ทฤษฎี X เป็นการมองคนในแง่ลบ  คือถือว่าคนเกียจคร้าน  ไม่ชอบทำงาน

2.   ทฤษฎี Y เป็นการมองคนในแง่บวก  ถือถือว่าคนมีความคิดสร้างสรรค์  ชอบแสวงหาความรับผิดชอบ  พึงพอใจในการทำงาน  และสามารถควบคุมดูแลตนเองได้

12. ข้อใดเป็นผลงานของ Fayol

.  ศึกษาการเคลื่อนไหวในการทำงาน

.  เขียนหนังสือเรื่อง General and Industrail Management

.  ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน

.  ใช้หลักแบ่งงานกันทำ

ตอบ       .  เขียนหนังสือเรื่อง General and Industrail Management

                ในปี ค..1916  Fayol ได้เขียนบทความลงในวารสารของสมาคมพ่อค้าฝรั่งเศส  โดยใช้ชื่อเรื่องว่า General and Industrail Management  ซึ่งต่อมาได้มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือและมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ

13. หลักการของ Taylor และ Fayol ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน  คือ

.  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา                                   .  หลักความเสมอภาค

.  หลักความสามัคคี                                                               .  หลักเอกภาพในการอำนวยการ

ตอบ       .  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

                หลักการของ Taylor และ Fayol ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา  โดย Taylor เห็นว่าคนงานคนหนึ่งต้องขึ้นตรงต่อหัวหน้างานหลายคนตามลักษณะเฉพาะของงานและเน้นย้ำการบริหารในระดับโรงงานหรือระดับพนักงานเป็นหลัก  ในขณะที่ Fayol กลับเห็นว่าคนงานคนหนึ่งควรมีหัวหน้าโดยตรงเพียงคนเดียว  และเน้นย้ำการบริหารในระดับผู้จัดการ

14. แนวความคิดทางการบริหารสมัยใหม่  ถือว่า

.  คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่า

.  คนคือตัวปัญหา

.  คนคือตัวนำโชค

.  คนคือผู้กำหนดทิศทางขององค์การ

ตอบ       .  คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่า

                แนวความคิดของการบริหารสมัยใหม่ถือว่า คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่าหรือมีความสำคัญมากที่สุดขององค์การดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สั่งการหรือผู้ออกคำสั่ง  มาเป็นผู้ให้การช่วยเหลือหรือเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถของตน  รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงานและเน้นการกระจายอำนาจ  ซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

15. การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) คือการจัดการที่มีลักษณะแบบใด

.  แบบใช้วิชาด้านฟิสิกส์  เคมี  แบะชีววิทยา

.  แบบการจัดการในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์

.  แบบการหาหลักเกณฑ์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

.  การนำผลการทดลองมาใช้ทำงานจริง

ตอบ       .  แบบการหาหลักเกณฑ์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

                การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) คือการจัดการโดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ อันหมายถึง สามารถพิสูจน์ได้  ทำซ้ำได้  มีหลักฐานชัดเจน  มีหลักการในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นการค้นคว้าหาหลักเกณฑ์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานกิจการยุติธรรม  ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

-  แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

-  แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ

-  แนวข้อสอบความเข้าใจด้านภาษาไทย

-  แนวข้อสอบการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

-  แนวข้อสอบงานสารบรรณ งานพัสดุ งานบุคคล

-  แนวข้อสอบการเงินบัญชีและงบประมาณ

-  การเขียนหนังสือราช การจัดทําเอกสารที่เกี่ยวกับการประชุม


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 สาคขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี 
เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หลักการบริหารจัดการสมัยใหม่
1. การคิดแบบใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนได้
ก. การคิดแบบสังเคราะห์
ข. การคิดแบบสร้างสรรค์
ค. การคิดแบบบูรณาการ
ง. การคิดแบบกลยุทธ์
2. สิทธิตามกฎหมายซึ่งใช้ทรัพยากรสำหรับการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เรียกว่าอะไร
ก. อำนาจ
ข. อำนาจหน้าที่
ค. ความรับผิดชอบ
ง. ภารกิจ
3. ข้อใดเป็นประเด็นในการศึกษาพฤติกรรมผู้นำ
ก. ความยินยอม
ข. ความผูกพัน
ค. คาวมขัดแย้ง
ง. ความสามารถในการสื่อสาร
4. ข้อใดไม่ใช้งบประมาณแบบเน้นการจัดการ
ก. Functional budget
ข. Activity budget
ค. Performance budget
ง. Line item budget
5. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์การขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของอะไร
ก. กำไรสูง
ข. ต้นทุนต่ำ
ค. ผลการปฏิบัติของบุคคล
ง. ความพึงพอใจของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ
6. หลักการบริหารที่เน้นคนและขวัญกำลังใจในการทำงานคือทฤษฎีใด
ก. คลาสสิก
ข. นีโอคลาสสิก
ค. สมัยใหม่
ง. สังคมวิทยา
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามแนวคิดการบริหารสมัยใหม่
ก. มุ่งกำไรสูงสุด
ข. เพิ่มผลผลิตโดยใช้เครื่องจักร
ค. มุ่งความสามารถในเรื่องทั่วไป
ง. จัดหน่วยงานอิสระคล่องตัว
8. การบริหารสมัยใหม่มุ่งเน้นเรื่องใด
ก. ประสิทภาพล
ข. ประสิทธิผล
ค. ความเป็นเลิศ
ง. ทรัพยากรมนุษย์
9. Empowerment เป็นแนวคิดในเรื่องใด
ก. การรวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง
ข. การกระจายอำนาจให้ผู้บริหารระดับรองลงมา
ค. การมอบอำนาจให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่
ง. การเปลี่ยนแปลงบทบาทหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
10. ตามแนวคิดธรรมมาภิบาล "Accountability" หมายถึงอะไร
ก. จิตสำนึกรับผิดชอบต่องานหรือสิ่งที่ได้กระทำไป
ข. ความพร้อมให้มีการตรวจสอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริต
ค. การรู้จักรับผิดชอบในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ง. การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
11. ข้อใดเป็นลักษณะของหลักการบริหารสมัยใหม่
ก. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข. การสร้างทีมงาน
ค. องค์การแห่งการเรียนรู้
ง. ถูกทุกข้อ
12. วิกฤตการณ์ขององค์การ เกิดจากปัจจัยใด
ก. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ข. บุคลากร
ค. ผู้บริหาร
ง. ถูกทุกข้อ
13. การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ขององค์การ ความมุ่งเน้นการบริหารแบบใด
ก. การบริหารตามหน้าที่
ข. การบริหารตามกระบวนการ
ค. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ง. การบริหารแบบมุ่งหลักกฎหมาย
14. ข้อใดคือการจัดการบุคคลในแนวใหม่
ก. มุ่งเน้นภารกิจตั้งแต่เข้าทำงานจนถึงออกจากงาน
ข. การกำหนดความต้องการ การตอบสนองความต้องการ การธำรงรักษาพัฒนาบุคลากร
ค. กระบวนการและกิจกรรมที่สอดคล้องต่อกลยุทธ์องค์การ
ง. การวางแผนกำลังคน การสรรหาคัดเลือกบุคลากร
15. แนวคิดใดมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบการทำงาน ให้ดีขึ้นเป็นสำคัญ
ก. Reengineering
ข. Total Quality management
ค. Result - based management
ง. Work simplification
16. "โครงการสาธารณะ" ควรใช้แนวทางการตัดสินใจแบบใด จึงจะเหมาะสม
ก. การตัดสินใจเชิงเหตุผล
ข. การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
ค. การตัดสินใจเชิงปริมาณ
ง. การตัดสินใจเชิงคุณภาพ
17. "CIPP Model" คือตัวแบบที่ใช้ในการประเมินผลงานโครงการ ตัวแบบดังกล่าว C หมายถึงอะไร
ก. เนื้อหาสาระ
ข. กระบวนการ
ค. สภาพแวดล้อม
ง. การเปลี่ยนแปลง
18. การตัดสินใจในเรื่องใดที่นักบริหารมืออาชีพควรหมั่นฝึกฝนพัฒนาให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ
ก. การตัดสินใจในแผนงานโครงการ
ข. การตัดสินใจในงานวิกฤติ
ค. การตัดสินใจในงานริเริ่มสร้างสรรค์
ง. การตัดสินใจในงานเชิงนโยบาย
19. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของผู้บริหารในการตัดสินใจ (decisional roles)
ก. ผู้ประกอบการ
ข. ผู้ติดตามงาน
ค. ผู้เจรจาต่อรอง
ง. ผู้จัดการความขัดแย้ง
20. การพัฒนาการบริหาร ควรเริ่มที่การพัฒนาในเรื่องใดจึงจะทำให้องค์การประสบความสำเร็จ
ก. พัฒนาคน
ข. พัฒนาโครงสร้าง
ค. พัฒนาสภาพแวดล้อม
ง. พัฒนาวิชาการและเทคโนโลยี
21. องค์ประกอบของการบริหารสำคัญ
ก. เงิน ที่ดิน อุปกรณ์
ข. คน เงิน วัสดุ การจัดการ
ค. ทุน บุคลากร องค์การ อุปกรณ์
ง. ถูกทุกข้อ
22. การพัฒนาองค์การคืออะไร
ก. การเลื่อนระดับตำแหน่งของผู้บริหารให้สูงขึ้น
ข. การเพิ่มความรู้ให้สมาชิกในองค์การ
ค. การขยายองค์การ
ง. การทำให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางที่ปรารถนา โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
23. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) มีลักษณะอย่างไร
ก. ใช้ได้ในทุกองค์การ
ข. ใช้ได้กับคนทุกประเภท
ค. ป้องกันหน่วยงานที่ผู้บริหารเผด็จการ
ง. การใช้ต้องคำนึงถึงคนและองค์การ
จ. ผู้บริหารมอบหมายงานทั้งหมด
24. ผู้นำที่ไม่เคยประเมินผลงาน เป็นผู้นำแบบใด
ก. อัตตนิยม
ข. เสรีนิยม
ค. อนุรักษ์นิยม
ง. ประชาธิปไตย
ง. ประสานประโยชน์
25. ความสำคัญระดับชั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานหมายถึง
ก. สายการบังคับบัญชา
ข. เอกภาพการบังคับบัญชา
ค. การสื่อสาร
ง. การประสานงาน
จ. การจัดองค์การ
26. การบริหารงานโดยยึดหลักวัตถุประสงค์ (MBO) เริ่มจากข้อใดก่อน
ก. การประเมินผลงานที่เคยทำไว้
ข. การจัดกำลังคนลงงานให้เรียบร้อย
ค. การกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผน
ง. มอบหมายงานตามถนัด
จ. กำหนดเวลาปฏิบัติ
27. การบริหารงานบุคคลข้อใดไม่ใช่ลักษณะระบบคุณธรรม
ก. หลักความเสมอภาค
ข. หลักความสามารถ
ค. หลักความมั่นคง
ง. หลักเสรีประชาธิปไตย
จ. หลักความเป็นกลางทางการเมือง
28. การทำงานเป็นทีมข้อใดผิด
ก. ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์
ข. มีการวางแผนร่วมกันต่อเนื่อง
ค. มีการบำรุงขวัญอย่างดี
ง. ผลงานเป็นของกลุ่ม
จ. ไม่มีข้อใดถูก
29. ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่หนึ่งคือ การประชุม ซึ่งหมายถึง การให้บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาพบกันโดยมีวัยถุ ประสงค์ ถามว่าข้อข้างล่างนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการประชุม
ก. เพื่อชี้แจง
ข. เพื่อทำความเข้าใจ
ค. เพื่อแสดงความคิดเห็น
ง. เพื่อหาข้อยุติ
จ. ถูกทุกข้อ
30. การประชุมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารงานและในการประชุม ผู้ทำหน้าที่ประธานถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วน สำคัญสูงสุด ดังนั้น ประธานควรปฏิบัติต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด
ก. เตรียมสถานที่ให้พร้อม
ข. ศึกษาและวางแผนการประชุม
ค. สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
ง. นำให้ที่ประชุมตัดสินใจ
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้