สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศ รับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ ตำแหน่ง นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน และ นักวิชาการทรัพยากรธรณีปฏิบัติการ รวมจำนวน 22 อัตรา (23 เม.ย.-15 พ.ค.55)
นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของ ก.พ.
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านช่างรังวัด ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฎิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการสำรวจ รังวัด เพื่อทำแผนที่ ในการออกเอกสารสิทธิ์ การสอบเขต การแบ่งแยก การรวมโฉนด การพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงประทานบัตร และการรังวัดทำแผนที่ประเภทอื่นๆ
(๒) สำรวจ จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพจากสภาพพื้นที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและปรับปรุงแผนที่ใช้ประกอบการประเมินราคาที่ดินให้ตรงตามสภาพการใช้ประโยชน์
(๓) รังวัดเพื่อวางโครงหมุดหลักฐานแผนที่ วางโครงหมุดบังคับภาพ จัดสร้างหรือปรับปรุงระวางแผนที่ ตรวจสอบและรับรองผลการรังวัด จัดทำบัญชีควบคุมการสร้างและการใช้ระวางแผนที่ เพื่อนำไปใช้ในการออกเอกสารสิทธิ์
(๔) รวบรวมระเบียบและวิธีการรังวัดทำแผนที่ ในการออกหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ประทานบัตร เพื่อให้เกิดความถูกต้องเหมาะสมกับทุกฝ่าย
(๕) สอบสวน ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเกี่ยวกับการรังวัดทำแผนที่ของประชาชน หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในระดับเบื้องต้น เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและประชาชน
(๖) จัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์การรังวัด และควบคุมการเบิกจ่ายหลักฐานการรังวัดต่างๆ เพื่อใช้ในการรังวัดทำแผนที่ให้มีประสิทธิภาพ
(๗) ตรวจสอบแผนผังการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในการจัดสรรที่ดิน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อที่ดินให้ได้รับความเป็นธรรม
(๘) ดำเนินการทดสอบความรู้ ตรวจสอบเครื่องมือรังวัด การปฏิบัติงานของช่างรังวัดเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเกี่ยวกับงานรังวัดทำแผนที่ จัดสร้างระวางแผนที่ แนวเขตที่ดินของรัฐที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานรังวัด และแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิชาการทรัพยากรธรณีปฏิบัติการ
๑. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทาง
- เคมี, เคมีเทคนิค, เคมีวิศวกรรม, เคมีศึกษา, เคมีอุตสาหกรรม, วิทยาศาสตร์-เคมี, เคมีเชิงพิสิกส์
- ฟิสิกส์, ฟิสิกส์(ฟิสิกส์นิวเคลียร์), ฟิสิกส์ศึกษา, ฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์, ฟิสิกส์ออปติกส์, วิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์, ฟิสิกส์เครื่องมือวัด, ฟิสิกส์พอลิเมอร์
- นิวเคลียร์เทคโนโลยี
- ธรณีวิทยา (หรือธรณีศาสตร์), ธรณีศาสตร์ปิโตรเลี่ยม, เทคโนโลยีธรณี, ธรณีฟิสิกส์
- วัสดุศาสตร์, เซรามิกส์, เทคโนโลยีเซรามิกส์, เทคโนโลยีอัญมณี, วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์,วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ, เทคโนโลยีเคมีสิ่งทอ, การจัดการเคมีสิ่งทอ, วัสดุศาสตร์-เทคโนโลยีอัญมณี, เทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์, วิทยาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
- ปิโตรเคมี, เทคโนโลยีปิโตรเคมี, ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์, เทคโนโลยีการพลังงาน, เทคโนโลยีอุณหภาพ, วิทยาศาสตร์มหโมเลกุล
- ภูมิศาสตร์, ภูมิศาสตร์กายภาพ, เทคโนโลยีภูมิศาสตร์, โลกศาสตร์, เทคโนโลยีภูมิทัศน์,เทคโนโลยีทางภาพ, การรับรู้ระยะไกล
- อุตุนิยมวิทยา, สมุทรศาสตร์, สมุทรศาสตร์สกายะและเคมี, วาริชศาสตร์, วิทยาศาสตร์ทางทะเล, อุทกวิทยา
- วิทยาศาสตร์ทั่วไป, วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
๒. สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
๓. สาขาวิชานิติศาสตร์
๔. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
และเป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีของ ก.พ.
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรธรณี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมข้อมูล จัดทำข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับงานวิชาการทรัพยากรธรณี เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี ทั้งในส่วนของการกำหนดพื้นที่ การสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรณี หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ น้ำบาดาล เชื้อเพลิงธรรมชาติ การคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำในเบื้องต้น และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิชาการทรัพยากรธรณีแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ