สำหรับผู้ที่ผ่านภาค ก. ของ สถ. แล้วเตรียมฝึกทำได้เลย
แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายในปี
ก. พ.ศ. 2539 ข. พ.ศ. 2540 ค. พ.ศ. 2541 ง. พ.ศ. 2542
2. ข้อใดเป็นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ก. เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ข. เพื่อกำหนดข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจน
ค. เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
3. กรณี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ขัดแย้งกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติจะ ดำเนินการตามข้อใด
ก. ใช้บังคับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
ข. ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ค. เสนอนายกรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ง. เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
4. ข้อใดคือหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. เพื่อให้ทันต่อกระแสยุคโลกาภิวัฒน์
ข. เพื่อให้เอกชนมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐ
ค. เพื่อรับรองสิทธิสาธารณชนในการรับรู้ข่าวสารของราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อใดถูกต้อง
ก. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเป็นข้อยกเว้นของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ
ข. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นข้อยกเว้นของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ
ค. กรณีมีข้อขัดแย้งในการปฏิบัติระหว่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
ง. ไม่มีข้อถูก
6. ข้อใดเป็นผลในการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลข่าวสารของทางราชการในประเทศไทย
ก. การปฏิรูปการเมือง ข. การปฏิรูประบบราชการ
ค. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ง. ถูกทุกข้อ
7. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร
ค. นายกรัฐมนตรี
ง. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
8. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นหน่วยงานอยู่ในส่วนราชการใด
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. สภาผู้แทนราษฎร ง. รัฐสภา
9. ข้อมูลข่าวสารของราชการในข้อใดที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
ก. นโยบาย และแผนงานของรัฐบาล
ข. โครงการ และงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล
ค. สัญญาร่วมทุนของรัฐบาลกับเอกชนในการจัดบริการสาธารณะ
ง. ถูกทุกข้อ
10. ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำดังกล่าวมีสิทธิ ดำเนินการอย่างไร
ก. ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค. ฟ้องร้องต่อศาล
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
11. ข้อใดไม่ใช่ "หน่วยงานของรัฐ" ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. ราชการส่วนท้องถิ่น ข. หน่วยงานอิสระของรัฐ
ค. รัฐวิสาหกิจ ง. ศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี
12. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ข้อมูลข่าวสาร หมายความรวมถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อมูล ด้วยการบันทึกโดยเครื่อง คอมพิวเตอร์
ข. ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความรวมถึง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชนที่อยู่ในความครอบครองของ รัฐ
ค. ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลที่อยู่ในความ ครอบครองของรัฐ
ง. เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
13. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารประเภทใด ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ก. โครงสร้าง และการจัดองค์การในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ
ข. รายชื่อ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ค. คำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานภายในส่วนราชการ
ง. งบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ
14. ข้อใดไม่ใช่ข่าวสารประเภทที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
ก. ผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐที่มีผลต่อเอกชน
ข. คู่มือการปฏิบัติงานของราชการ
ค. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการแต่งตั้งโดยกฎหมาย
ง. แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
15. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. ส่งข้อมูลข่าวสารของราชการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ข. จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดู
ค. จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ขอในเวลาอันสมควร
ง. จัดทำสำเนาและรับรองข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนทุกครั้งตามประสงค์ที่ขอ
16. ข้อใดเป็นข่าวสารที่กำหนดว่าห้ามเปิดเผย
ก. ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ข. ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ค. ข่าวสารที่อาจให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ง. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดเป็นข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
ก. ข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ข. ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ค. ข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข และ ค
18. กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจมีผู้มีประโยชน์ได้เสียในข้อมูลข่าวสารนั้นเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด กำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 20 วัน ง. 30 วัน
19. กรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งเปิดเผยข้อมูล และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งไม่รับฟ้องคำคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้เมื่อใด
ก. เปิดเผยได้ทันที ข. เปิดเผยเมื่อได้ล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ค. เปิดเผยได้เมื่อล่วงพ้น 30 วันไปแล้ว ง. เปิดเผยเมื่อได้ล่วงพ้น 45 วันไปแล้ว
20. การอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องอุทธรณ์ต่อใคร
ก. คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์
ข. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง. ศาลอุทธรณ์
21. ข้อใดเป็นการออกระเบียบเพื่อยกเว้นการบังคับใช้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่ถูกต้อง
ก. สำนักข่าวกรองแห่งชาติเป็นผู้ออกระเบียบ
ข. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ออกระเบียบ
ค. หน่วยงานของรัฐออกระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
22. ข้อใดเป็นการวางระบบข้อมูลข่าวสารของราชการที่ถูกต้อง
ก. ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
ข. จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ค. จัดให้มีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ง. ถูกทุกข้อ
23. ผู้ขอข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการในกรณีหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในข้อใด
ก. ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนดู
ข. ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า
ค. ไม่อำนวยความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันควร
ง. ถูกทุกข้อ
24. กรณีคณะกรรมการได้รับข้อร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการของหน่วยงาน ของรัฐ คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน
25. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปฏิบัติงานหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความ ควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ก. การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลซึ่งได้ให้ไว้ล่วงหน้า
ข. การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในเวลาที่จะเปิดเผย
ค. หน่วยงานของรัฐมีอำนาจเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความควบคุมดูแลได้ทุกรณีไม่จำเป็นต้องได้รับความ ยินยอม
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
26. กรณีหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ตรงตามคำขอของเจ้าของข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ อุทธรณ์ต่อใครภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 15 วัน
ข. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 30 วัน
ค. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ภายใน 15 วัน
ง. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน
27. หน่วยงานที่มีหน้าที่เก็บรักษาเอกสารประวัติศาสตร์ตามพระราชบัญญัตินี้ คือ บุคคลในข้อใด
ก. พิพิธภัณฑ์
ข. หอจดหมายแห่งชาติ
ค. กรมสารสนเทศ
ง. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
28. ตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ คือ บุคคลในข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ง. รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
29. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. สอดส่องการดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
ค. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ง. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน
30. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี
31. ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. ประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
32. กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
ก. 19 คน ข. 21 คน ค. 23 คน ง. 25 คน
33. คำสั่งขยายเวลาไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการของหน่วยงานของรัฐมีกำหนดคราวละเกินกี่ปีไม่ได้
ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี
34. กรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ถ้าผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงควรดำเนินการอย่างไร
ก. ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้ตรวจสอบ
ข. ร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจสอบสวนข้อเท็จจริง
ค. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง
ง. ถูกทุกข้อ
35. การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจในการแต่งตั้ง
ข. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
ง. เลือกตั้งคณะกรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
36. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ก. วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข. วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ค. วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ง. ถูกทุกข้อ
37. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แต่ละคณะจะต้องมีกรรมาการไม่น้อยกว่ากี่คน
ก. 3 คน ข. 5 คน ค. 7 คน ง. 9 คน
38. การส่งคำอุทธรณ์ จากคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารเพื่อพิจารณา จะต้องทำภายในกี่วันนับแต่วันที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้รับอุทธรณ์
ก. 3 วัน ข. 5 วัน ค. 7 วัน ง. 15 วัน
39. การไม่ปฏิบัติตามคสั่งของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่สั่งให้เรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งให้ ส่งพยานหลักฐาน มีโทษเพียงใด
ก. โทษปรับสถานเดียวไม่มีโทษจำคุก ข. มีโทษจำคุกสถานเดียว ไม่มีโทษปรับ
ค. มีทั้งโทษปรับ และ/หรือโทษจำคุก ง. ไม่มีโทษทางอาญา
40. ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 แห่งพราะราชบัญญัตินี้ หมายถึงข้อใด
ก. หมายถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ข. หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างและจัดองค์กรในการดำเนินงานของส่วนราชการ
ค. หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยแนวข้อสอบพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
1. ข 2. ง 3. ข 4. ค 5. ข 6. ง 7. ค 8. ข
9. ง 10. ง 11. ง 12. ค 13. ก 14. ข 15. ง 16. ค
17. ง 18. ข 19. ข 20. ค 21. ค 22. ง 23. ง 24. ข
25. ง 26. ข 27. ข 28. ง 29. ก 30. ข 31. ค 32. ค
33. ง 34. ก 35. ข 36. ง 37. ก 38. ค 39. ค 40. ง