ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบโรคติดต่ออุบัติใหม่ นักวิชาการสาธารณสุข (บัญชี ง)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบโรคติดต่ออุบัติใหม่ นักวิชาการสาธารณสุข (บัญชี ง)

1.       โรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) หมายถึง

ตอบ โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่เพิ่งผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ 

2.       โรคติดต่ออุบัติใหม่  ได้แก่โรคติดต่อชนิดใด 

ตอบ  โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (new infectious diseases) โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (new geographical areas) และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) คือ โรคติดต่อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตและสงบไปนานหลายปีแล้ว แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก โรคจากเชื้อดื้อยา (Drug resistant pathogens) และโรคจากการก่อการร้ายด้วยเชื้อโรค(Bioterrorism)

3.       โรคติดต่ออุบัติใหม่จากสัตว์ (Emerging zoonotic diseases) หมายถึง

ตอบ  โรคติดต่อจากสัตว์ที่พบใหม่หรือเกิดจากเชื้อที่กลายพันธุ์ไป หรือโรคที่มีอยู่เดิมแล้ว แต่พบแนวโน้มของอุบัติการณ์ของโรค พื้นที่ โฮสต์ หรือพาหะนำโรคเพิ่มมากขึ้น 

4.       ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีอะไรบ้าง 

ตอบ    1. ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors) เช่น เชื้อโรค มนุษย์ โครงสร้าง ประชากร พฤติกรรมของมนุษย์ (Demographic factors) ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ (Human and animal interface)

2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์จากการกระทำของมนุษย์ (Man-made ecological changes) ภาวะโลกร้อน (Global warming)

3. ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Socioeconomic factors) เช่น การเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ (International travel and trade factors) โครงสร้างสาธารณสุข (Public health infrastructure  factors) 

5.       การที่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อ 

อุบัติใหม่ต่าง ๆ  เป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุใด

ตอบ  - การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์จากการกระทำของมนุษย์ (Man-made ecological changes) การบุกรุกและทำลายป่าในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย ทำให้เกิดความไม่สมดุลที่เอื้อต่อการเกิดและแพร่เชื้อโรค โดยมนุษย์อาจติดเชื้อจากสัตว์ป่าโดยตรง แล้วนำกลับไปแพร่ในชุมชน นอกจากนั้นยังอาจเกิดการแพร่กระจายของแมลงและสัตว์นำโรค เช่น การทำลายป่าเพื่อสร้างสนามบินนานาชาติในมาเลเซีย ทำให้ค้างคาวต้องอพยพเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมเปิดโอกาสให้เชื้อไวรัสนิปาห์แพร่ไปยังสุกรอยู่ระยะหนึ่ง และในเวลาต่อมาเชื้อก็สามารถแพร่ติดต่อมายังคนได้ในที่สุด

- อุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยการเลี้ยงสัตว์ที่ขาดการจัดการที่ดี มีส่วนทำให้เกิดเชื้อโรคชนิดใหม่เช่น กรณีโรควัวบ้า (Mad Cow disease) หรือโรคสมองฝ่อในวัว (Bovine SpongiformEncephalopathy : BSE) เกิดจากการใช้เศษเนื้อเศษกระดูกของแกะ (ซึ่งติดเชื้อสมองฝ่อScrapie) มาเลี้ยงวัว เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนม ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อแบบใหม่ (Variant  Creutzfeldt-Jacob Disease : vCJD) ในมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพริออน (prion) หรือกรณีการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างหนาแน่น เพื่อการส่งออกในหลายประเทศของเอเชีย โดยขาดการจัดการป้องกันการแพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม (Biosecurity) ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก

- ภาวะโลกร้อน (Global warming) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเกิดความกังวลต่อปัญหาภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอีก 1 - 4 องศาเซลเซียส ทำให้แมลงพาหะนำโรคต่างๆ สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น และขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปข้ามประเทศหรือทวีปได้ขณะเดียวกัน จุลชีพก่อโรคต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยอยู่กับแมลงเหล่านี้ ก็พัฒนาเติบโตได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

6.       ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่  มีอะไรบ้าง

ตอบ        - ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนานั้น ได้

นำมาซึ่งสุขภาพไม่ดี ประชากรยากจนในชนบทและสลัมในเขตเมือง รวมทั้งแรงงานต่างด้าวผิด 

กฎหมายซึ่งอาจทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้แล้ว กลับเข้ามาระบาดซ้ำในประเทศได้อีก และ 

ประชากรกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคต่าง ๆ ได้มากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ เนื่องมาจาก 

ความด้อยโอกาสในการเข้าถึงข่าวสาร ระบบบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบบบริการทาง 

การแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ไม่ทราบวิธีป้องกัน 

ตนเองจากโรคเหล่านั้น เป็นผลต่อเนื่องทำให้ขาดพฤติกรรมสุขอนามัยที่ช่วยป้องกันตนเองจาก 

โรคติดต่อ 

- การเพิ่มขึ้นของการเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ (International travel and trade factors) ปัจจุบันการเดินทางระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มและสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายของประชากรข้ามพรมแดน ตลอดจนการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้โรคติดต่ออุบัติใหม่ สามารถแพร่กระจายจากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่อื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักก่อให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงอย่างกว้างมาก ดังเช่นการแพร่ระบาดของโรคซาร์สไปยังประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ รวม 29 ประเทศภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว การแพร่ระบาดทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่ในศตวรรษที่ 20 รวม 3 ครั้งนั้นพบว่า ใช้เวลาลดลงเมื่อการคมนาคมสะดวกสบายรวดเร็วขึ้น และล่าสุดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่(H1N1) 2009 ที่แพร่ไปพร้อมกับผู้เดินทางทางอากาศ โดยใช้เวลาเพียงสองเดือนเศษก็แพร่ไปทั่วโลก

- การค้าสัตว์ระหว่างประเทศ อาจนำเชื้อใหม่แพร่ติดเข้าไปด้วย เช่น การระบาดของไข้หวัดนกในฮ่องกง เกิดจากการนำเข้าไก่จากจีน การระบาดของโรควัวบ้าในฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ที่เกิดจากการนำเข้าเศษเนื้อเศษกระดูกวัวเพื่อเป็นอาหารสัตว์จากอังกฤษ นอกจากนั้น ในกระบวนการขนส่งสินค้า หากละเลยมาตรการสุขาภิบาลที่ด่านเข้าเมือง ก็จะเป็นโอกาสเอื้อให้สัตว์ ยุง และแมลงพาหะอื่น ๆ แพร่ขยายพันธุ์ออกไปจากแหล่งพักพิงดั้งเดิม และอาจนำเอาเชื้อก่อโรคอันตรายติดไปด้วย

- การลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศเพื่อมาเป็นสัตว์เลี้ยง อาจนำโรคใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่ซึ่งไม่เคยพบเชื้อและคนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนั้นมาก่อน เช่น หนูแกมเบียนจากอาฟริกานำโรคฝีดาษลิง (Monkey pox) เข้าไปในสหรัฐอเมริกา ไทยพบเชื้อซาลโมเนลลาสายพันธุ์ใหม่ในอิกัวนาจากอาฟริกามากถึง 11 ชนิด และแมลงสาบยักษ์จากเกาะมาดากัสการ์ก็อาจก่อปัญหาในทำนองเดียวกัน หมูจิ๋วกับปัญหาไข้สมองอักเสบ เจ อี สัตว์ปีกกลุ่มนกแก้วกับโรคสิตตาโคซิส(Psittacosis) นอกจากนั้น ในประเทศไทย พบมีการนำนากหญ้าและหอยเชอรี่จากไต้หวันเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ซึ่งอาจทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เอื้อต่อการเกิดโรคระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคฉี่หนูเพิ่มขึ้น รวมถึงการนำพ่อแม่พันธุ์สัตว์เข้ามาขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ เช่น ไก่ เป็ด โค สุกร ม้า สุนัข ก็อาจเป็นการนำเชื้อเข้าแพร่กระจายได้ในทำนองเดียวกัน

- ปัจจัยด้านโครงสร้างสาธารณสุข (Public health infrastructure factors) การขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณในระบบสาธารณสุข การไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคติดต่อ รวมทั้งการละเลยมาตรการป้องกันควบคุมโรคของประเทศต่าง ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาการระบาดใหญ่ตรงกันข้าม การมีระบบและโครงสร้างสาธารณสุขที่เข้มแข็ง จะช่วยให้สามารถค้นหาการระบาดของโรคและสกัดกั้นการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เท่ากับเป็นการลงทุนด้านงบประมาณและกำลังบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับทรัพยากรที่จะต้องสูญเสียไปกับการรักษาและการแก้ไขปัญหาที่ปลายทางเมื่อเกิดการระบาดขึ้นแล้ว

- ปัญหาการก่อการร้ายโดยการใช้เชื้อโรคมาผลิตเป็นอาวุธ (Bioterrorism) เช่น เหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกา ปี พ..2545 ผู้ก่อการร้ายใช้สปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ผสมผงแป้ง บรรจุลงในจดหมายและไปรษณียภัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เชื้อโรคอื่น ๆ กลับมาสร้างปัญหาสาธารณสุขสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เช่น เชื้อไวรัสไข้ทรพิษ ซึ่งถูกกวาดล้างไปจากโลกแล้ว

7.       โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  2009 เป็นโรคระบาดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใด 

ตอบ   ชนิด A (H1N1)

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบโรคติดต่ออุบัติใหม่ นักวิชาการสาธารณสุข (บัญชี ง) ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่

- ข้อสอบเฉพาะทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข

- แนวข้อสอบระบาดวิทยากับการป้องกันควบคุมโรค

-  ข้อสอบความรู้เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่

ถาม - ตอบ โรคติดต่ออุบัติใหม่


สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย
ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่
lookmoo_00@hotmail.com

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.    สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ขึ้นกับหน่วยงานใด
ตอบ  กระทรวงสาธารณะสุข
2.    ภาษาอังกฤษขององค์การอนามัยโลกมีว่าอย่างไร
ตอบ World Health Organization  (WHO)
3.    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ  เมื่อวันที่เท่าใด
ตอบ วันที่ 20 มีนาคม 2555
4.    ประธาน ชมรมพัฒนาระบาดวิทยา แห่งประเทศไทยท่านใหม่คือใคร
ตอบ   นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ
5.    International Emerging Infections Program (IEIP)   คือหน่วงงานใด
ตอบ  ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข
6.    โรคติดต่ออุบัติใหม่หมายถึงอะไร
ตอบ โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ยังหมายรวมถึงโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่  โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่  
7.    ภาษาอังกฤษโรคติดต่ออุบัติใหม่มีว่าอย่างไร
ตอบ  Emerging infectious diseases
8.    โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) หมายถึงอะไร
ตอบ  โรคติดต่อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตและสงบไปนานหลายปีแล้ว แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก  
9.    โรคอุบัติใหม่ได้เกิดขึ้นมากในตั้งแต่ช่วงทศวรรษใด
ตอบ 1980 เป็นต้นมา
10.    จำนวนโรคอุบัติใหม่ทั้งหมดนี้ ร้อยละ 60.3 เป็นโรคติดต่อประเภทใด
ตอบ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มักมีต้นเหตุมาจากสัตว์ป่า เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้เลือดออกอิโบลา
11.    โรคอุบัติใหม่ร้อยละ 54.3 มีสาเหตุมาจากอะไร
ตอบ  จากเชื้อแบคทีเรียหรือริกเก็ตเซีย
12.    โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่สำคัญได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ     1. โรคกาฬหลังแอ่น
             2. โรคไข้เลือดออกอีโบลา
            3. โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
            4. โรคไข้หวัดนก  
            5. ไข้เหลือง
            6. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)  
            7. โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
            8. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
            9. โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
            10. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
            11. โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
                        12. โรคเมลิออยโดซิส
            13.  โรคลิชมาเนีย
            14. โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
13.    โรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ    1.  โรคไข้หวัดใหญ่  (Seasonal influenza)
            2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
             3. โรคแอนแทรกซ์
14.    วงการแพทย์เรียกโรคกาฬหลังแอ่นว่าอย่างไร
ตอบ   Meningococcal meningitis (เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น) หรือ Meningococcemia   (การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในกระแสเลือด)
15.    ร้อยละ20 ของโรคกาฬหลังแอ่นสามารถตรวจพบได้ที่ใด
ตอบ  สามารถตรวจพบได้ในลำคอ
16.    การติดต่อของโรคกาฬหลังแอ่นเป็นอย่างไร
ตอบ เชื้อถูกถ่ายทอดได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยของน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย จากการไอ จามของผู้ป่วยแพร่เชื้อไปให้แก่ผู้ที่ใกล้ชิด เชื้อโรคจะมีระยะฟักตัวอยู่ในร่างกายคนประมาณ  2-10 วัน (โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 วัน)
17.    การติดเชื้อ Neisseria Meningitides มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ  การติดเชื้อ Neisseria Meningitides มี 3 ลักษณะคือ
1) การติดเชื้อที่ไม่รุนแรง  
2) เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) มีอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ3  และ
3) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ50
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้