1. การจ่ายเงินชดเชยประกันสังคมจ่ายในกรณีใดต่อไปนี้
ก. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ข. กรณีคลอดบุตร
ค. กรณีชราภาพ
ง. ถูกทุกข้อ
2. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตั้งอยู่ในจังหวัดใด
ก. กรุงเทพมหานคร
ข. ปทุมธานี
ค. สมุทรปราการ
ง. นนทบุรี
3. ข้อใดคือนโยบายของกระทรวงแรงงาน
ก. การดำเนินการเพื่อให้แรงงานมีรายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท
ข. การคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายและส่งเสริมหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน
ค. พัฒนาระบบประกันสังคม
ง. ถูกทุกข้อ
4. ใครคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนปัจจุบัน
ก. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ข. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุส
ค. นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ง. นายวิสา คัญทัพ
5. ใครคือปลัดกระทรวงแรงงานคนปัจจุบัน
ก. นายนคร ศิลปอาชา ข. นายสมเกียรติ บุญทอง
ค. นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ง. นายประวิทย์ เคียงผล
6. บุคคลใดต่ไปนี้ไม่ใช่ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมในปัจจุบัน
ก. นายอำพล สิงหโกวินทร์ ข. นายจำลอง ศรีประสาธน์
ค. นายสมชาย วัฒนา ง. นายสมชาติ ศรีดารา
7. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พศ.2554 ให้ยึดตามมาตราใด
ก. มาตรา 40 ข. มาตรา 41
ค. มาตรา 50 ง. มาตรา 60
8. พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับปัจจุบันป็นฉบับที่เท่าใด
ก. ฉบับที่ 2 ข. ฉบับที่ 3
ค. ฉบับที่ 4 ง. ฉบับที่ 5
9. รัฐมนตรีว่าการคนแรกของกระทรวงแรงงานคือใคร
ก. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ข. นายชวน หลีกภัย
ค. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ง. นายบรรหาร ศิลปะอาชา
10. ข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในกรณีใด
ก. ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนด
ข. มีการเจรจากันแต่ตกลงกันไม่ได้ว่าด้วยเหตุใด
ค. ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์ที่จะเจรจาต่อไป
ง. ถูกทุกข้อ
11. ในกรณีที่ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนดหรือมีการเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ว่าด้วยเหตุใดให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อข้อพิพาทแรงงานทราบภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. 48 ชั่วโมง ข. 24 ชั่วโมง
ค. 3 วัน ง. 7 วัน
12. เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งข้อพิพาทแรงงาน ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันภายในกำหนดกี่วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง
ก. 5 วัน ข. 3 วัน
ค. 10 วัน ง. 7 วัน
13. ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างเกิดข้อพิพาทกันและตกลงกันได้ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างต้องทำอย่างไร
ก. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เข้าร่วมในการเจรจาของทั้งสองฝ่าย
ข. ทำข้อตกลงกันโดยวาจาและมีพยานของทั้งสองฝ่ายในการเจรจา
ค. นายจ้างต้องนำข้อตกลงไปประกาศให้ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทราบ
ง. ถูกทั้ง ก และ ค
14. จากข้อ 14 นายจ้างต้องนำข้อตกลงไปประกาศให้ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทราบ
โดยเริ่มประกาศภายในกี่วัน และปิดประกาศไว้เป็นเวลากี่วัน
ก. ประกาศภายใน 1 วัน และ ปิดประกาศไว้เป็นเวลา 30 วัน
ข. ประกาศภายใน 2 วัน และ ปิดประกาศไว้เป็นเวลา 30 วัน
ค. ประกาศภายใน 3 วัน และ ปิดประกาศไว้เป็นเวลา 60 วัน
ง. ประกาศภายใน 3 วัน และ ปิดประกาศไว้เป็นเวลา 30 วัน
15. จากข้อ 15 นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นไปจดทะเบียนต่อใคร
ก. อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข. ปลัดกระทรวงแรงงาน
ค. อธิบดีกรมการจัดหางาน
ง. รองปลัดกระทรวงแรงงาน
16. จากข้อ 16 นายจ้างต้องนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นไปจดทะเบียนภายในเวลากี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน
17. ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ภายใน 5 วัน กฎหมายให้ถือสถานการณ์หลังจากกี่วัน ว่ามี "ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้" เกิดขึ้น
ก. 1 วัน ข. 5 วัน
ค. 4 วัน ง. 6 วัน
18. เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นจะมีขั้นตอนที่ดำเนินการต่อไปตามข้อใด
ก. ตามประเภทงานของลูกจ้าง ข. ตามประเภทกิจการของนายจ้าง
ค. ถูกทั้ง ก และ ข ง. ไม่มีข้อถูก
19. ในกรณีถ้ากิจการของนายจ้างเป็นกิจการสำคัญต้องดำเนินการระงับข้อพิพาทแรงงานต่อไปตามขั้นตอนที่กำหนดแต่ต้องไม่ปฏิบัติอย่างไร
ก. นายจ้างจะปิดงานไม่ได้ ข. ลูกจ้างจะนัดหยุดงานไม่ได้
ค. นายจ้างและลูกจ้างหยุดงานชั่วคราว ง. ถูกทั้ง ก และ ข