ส่วนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการประปาส่วนภูมิภาค
1.การประปาส่วนภูมิภาคจัดตั้งเมื่อใด
ก. 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ข. 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
ค. 4 สิงหาคม 2502 ง. 14 สิงหาคม 2502
2. การประปาส่วนภูมิภาคสังกัดกระทรวงใด
ก. กระทรวงคมนาคม
ข. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ค. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง. กระทรวงมหาดไทย
3. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทยมีกี่หน่วยงาน
ก. 3 รัฐวิสาหกิจ ข. 4 รัฐวิสาหกิจ
ค. 5 รัฐวิสาหกิจ ง. 6 รัฐวิสาหกิจ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบันคือใคร
ก. ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง
ข. พล.ต.อ.ประชา พรมนอก
ค. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
ง. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
5. ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคคนปัจจุบัน คือใคร
ก. นายฤทธิรงค์ จัยสิน ข. นายวิเศษ ชำนาญวงษ์
ค. นายวิเศษ ชำนาญวงษ์ ง. นางรัตนา กิจวรรณ
6. การประปาส่วนภูมิภาค แบ่งพื้นที่บริการเป็นกี่ภาค
ก. 4 ภาค ข. 5 ภาค
ค. 6 ภาค ง. 7 ภาค
7. การประปาส่วนภูมิภาค มีเขตพื้นที่บริการแบ่งออกเป็นจำนวนกี่เขต
ก. 76 เขต ข. 21 เขต
ค. 30 เขต ง. 10 เขต
8. การประปาส่วนภูมิภาค มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
ก. Waterworks Authority ข. Provincial Waterworks
ค. Provincial Waterworks Authority ง. Waterworks Authority Act
9. เป็นองค์กรชั้นดี เพื่อปวงชน ที่ให้บริการน้ำประปาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
ก. วิสัยทัศน์ของ กปภ.
ข. พันธกิจของ กปภ.
ค. กลยุทธของ กปภ.
ง. เป้าหมายของ กปภ.
10. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตามนโยบายของรัฐบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ
ก. วิสัยทัศน์ของ กปภ.
ข. พันธกิจของ กปภ.
ค. กลยุทธของ กปภ.
ง. เป้าหมายของ กปภ.
เนื้อหาประกอบ
การจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาคเป็นรัฐวิสาหกิจ
การจัดหาน้ำสะอาดในรูปแบบของน้ำประปาสำหรับประปาชนใช้อุปโภคบริโภค แต่เดิมมีหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบ ในการดำเนินงาน 2 หน่วยงาน คือ
- กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบในการดำเนินการ ก่อสร้างระบบประปา และดูแลระบบการผลิตจำหน่ายน้ำประปาในเขตเมืองหรือใน ชุมนุมชน ที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป ซึ่งมีการประปาในความดูแลรับผิดชอบ ก่อนมีการจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ จำนวน 185 การประปา
- กองประปาชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ดำเนินการ และรับผิดชอบการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน หรือการประปาขนาดเล็ก ในชุมชนที่มีจำนวนประชากรไม่เกิน 5,000 คน โดยร่วมกับท้องถิ่นและเมื่อก่อสร้างระบบประปาแล้วเสร็จ ก็มอบให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งได้แก่สุขาภิบาล หรือ หมู่บ้านเป็นผู้บำรุงรักษาดูแลต่อไป ซึ่งมีอยู่จำนวน 550 แห่ง ก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ
ต่อมาความต้องการน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภค ขยายตัวเพิ่มความต้องการมากขึ้น การผลิต จำหน่ายของกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการมีข้อจำกัดในด้านระเบียบราชการ ทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว และไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นหน่วยงานธุรกิจทั่วไป ในสมัยรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มอบให้ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศึกษาวิธีการจัดรูปแบบการบริหารประปาในส่วนภูมิภาค ให้มีความคล่องตัวในการให้บริการ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติเมื่อ วันที่ 9 พค.2521 ให้มีการปรับรูปแบบ การดำเนินกิจการประปาของกองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการ ให้เป็นรูปแบบการบริหารแบบ รัฐวิสาหกิจ ตามข้อเสนอของ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาคขึ้น มีนายจำรูญ ปิยัมปุตระ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในขญะนั้นเป็นประธาน ดำเนินการจัดตั้งและตราเป็น พรบ.การประปาส่วนภุมิภาค พศ.2522 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2522 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป โดยโอนกิจการประปา ตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและกองประปาชนบท กรมอนามัย มาเป็นลูกจ้างและพนักงานของ การประปาส่วนภูมิภาค
ภารกิจ และหน้าที่ของ การประปาส่วนภูมิภาค (Provincial Waterworks Authority Act of 1979)
• สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบและ จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ
(Conducting surveys,providing sources of the water and procuring raw water for production)
• ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา ทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพฯ,นนทบุรี และสมุทรปราการ
(Producing ,delivering and distributing water supply across the country except ฺBangkok Metropolitan area Nonthaburi and Samut Prakan Province.)
• ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา
(Undertaking other businesses related to or in continuation with the water supply business.)
วิสัยทัศน์ของ กปภ.
เป็นองค์กรชั้นดี เพื่อปวงชน
ที่ให้บริการน้ำประปาอย่างมีคุณภาพ
ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
พันธกิจ
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตามนโยบายของรัฐบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ พันธกิจหลักของ การประปาส่วนภูมิภาค มี 3 ประการ ได้แก่
1. ประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปา
2. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปา
3. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจประปา
วัตถุประสงค์หลักขององค์กร
1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในกิจการประปา
2. ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศในส่วนภูมิภาค และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา
3. ให้บริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการขอติดตั้งประปาให้แก่ประชาชน
4. ขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาใช้อย่างทั่วถึง
ค่านิยม (Values)
1. การร่วมคิดร่วมทำ ( Participation ) หมายถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับรู้ เสนอความเห็น ร่วมดำเนินการหรือร่วมตัดสินใจอย่างมีเอกภาพ
2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ( Responsibility ) หมายถึง ความสำนึงฃกในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อสังคม ต่อลูกค้า เอาใจใส่ต่อปัญหา กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาขององค์กรอย่างมีเอกภาพ
3. ความประหยัด คุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม ( Effciency ) หมายถึง การบริการจัดการโดยใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม รณรงค์ให้คนในองค์กรประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง มีการดูแลปกป้อง และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในทิศทางที่ยั่งยืน
4. ความถูกต้องโปร่งใส ( Transparency ) หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา สะดวก ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้
5. ความเอื้ออาทรต่อลูกค้า ( Amity ) หมายถึง การให้ความเป็นมิตร ความเชื่อถือ ความหวังดี และความมีน้ำใจต่อผู้ใช้น้ำทุกระดับ
6. ความเชื่อถือศรัทธาต่อองค์กร ( Credibility ) หมายถึง การมุ่งมั่นดำเนินงานในเชิงสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี มีความเคารพรักศรัทธาต่อองค์กร และเชื่อมั่นว่าองค์กรจะมีความเจริญยั่งยืนสืบไป
การแบ่งเขตการบริหารของ กปภ.
PWA REGIONAL OFFICES
การประปาส่วนภูมิภาค มีภาระหน้าที่ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศ รวมทั้งดำเนินธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจประปา เพื่อประโยชน์ ในการบริการสาธารณูปโภค โดยคำนึงประโยชน์ของรัฐ และ สุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญปัจจุบันได้แบ่งสายการ
ปฎิบัติงานออกเป็น 10 เขต ดูแลรับผิดชอบ สำนักงานประปาในสังกัดทั่วประเทศ ยกเว้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ และมีหน่วยบริการ ครอบคลุมเขตเทศบาล 647 แห่ง อบต.77 แห่ง หมู่บ้าน 171แห่ง (ปี 2544)
พื้นที่รับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคเขต กระจายอยู่ในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว และปราจีนบุรี
2. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครนายก และนครราชสีมา
3. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 3 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
4. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 4 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช
5. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
6. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 6 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ และร้อยเอ็ด
7. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม และหนองบัวลำภู
8. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
9. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และลำพูน
10. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 10 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 10 จังหวัด คือ นครสวรรค์ ชัยนาท ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และพิษณุโลก
จากการดำเนินการประปามาถึงปีปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตามลำดับดังนี้
1. นายบุญเสริม วีสกุล (28 พฤษภาคม 2522 - 30 กันยายน 2522)
2. นายวิทยา เพียรวิจิตร (24 ตุลาคม 2522 - 1 มีนาคม 2525)
3. นายมีชัย วีระไวทยะ (16 กรกฎาคม 2525 - 30 มีนาคม 2528)
4. นายธวัช วิชัยดิษฐ (1 กรกฎาคม 2528 - 2 ตุลาคม 2535)
5. นายเลิศ ไชยณรงค์ (1 ธันวาคม 2535 - 15 มีนาคม 2537)
6. นายวิศิษฐ์ หล่อธีรพงศ์ (15 มีนาคม 2537 - 30 กันยายน 2539)
7. นายธันยา หาญพล ( 1 ตุลาคม 2539 - 6 กันยายน 2542)
8. ดร.วันชัย กู้ประเสริฐ ( 7 กันยายน 2542 - 30 พฤศจิกายน 2546)
9. ดร.ประเสริฐ เชื้อพานิช (23 พฤศจิกายน 2547 - 28 สิงหาคม 2548)
10. นายชวลิต สารันต์ (6 กุมภาพันธ์ 2550 - 25 มกราคม 2552)
11. นายวิเศษ ชำนาญวงษ์ (19 พฤษภาคม 2552 - ปัจจุบัน)
วิชาเฉพาะตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป 4
แนวข้อสอบทักษะการรวบรวมและจัดการข้อมูล
1. ศัพท์ในภาษาอังกฤษข้อใดหมายถึงข้อมูล
1. data 2. facts
3. Information 4. statistics
2. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูล
1. จำนวนผู้ป่วย 2. อาชีพหลักของคนไทย
3. ราคาทองคำ 4. คอมพิวเตอร์
3. ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกต และบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือข้อความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตัดสินใจปฏิบัติการต่างๆ หมายถึง
1. data 2. facts
3. Information 4. statistics
4. วิธีการทางสถิติเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย และการสรุปผลข้อมูล หมายถึง
1. Statistical Methods
2. Descriptive Statistic
3. Inferential Statistic
4. Hypothesis Testing
5. การวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาแล้วอนุมานหรือสรุปผลไปสู่ประชากร ด้วยวิธีการทางสถิติ หมายถึง
1. Statistical Methods
2. Descriptive Statistic
3. Inferential Statistic
4. Hypothesis Testing
คำสั่ง ให้ใช้คำตอบตาม ก-ง สำหรับตอบคำถามข้อ 6 และ 7
ก. ข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ เช่น เพศ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส
ข. ข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น ศาสนา กลุ่มเลือด การศึกษา
ค. ข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณ อาจเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวน รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร จำนวนบุตรในครอบครัว
ง. ข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณ ที่เป็นค่าที่ต่อเนื่อง คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ อัตราเงินเฟ้อ สถิติน้ำฝนในปีต่างๆ
6. ข้อใดหมายถึงข้อมูลเชิงคุณภาพ
1. ก 2. ค
3. ก และ ข 4. ค และ ง
7. ข้อใดหมายถึงข้อมูลเชิงปริมาณ
1. ก 2. ค
3. ก และ ข 4. ค และ ง
8. ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้วคือ
1. Source of Data 2. Primary Data
3. Secondary Data 4. ถูกทุกข้อ
9. ข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ คือ
1. Source of Data 2. Primary Data
3. Secondary Data 4. ถูกทุกข้อ
10. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ข้อใดไม่ใช่
1. Accuracy 2. timeliness
3. completeness 4. relation
11. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลสถิติมีวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปมีหลายวิธี ข้อใดไม่ใช่
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
12. การหยั่งเสียงประชามติ หรือคาดการณ์ผลการเลือกตั้ง เหมาะกับการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีใด
1. Reporting System
2. Registration
3. Census
4. Sample Survey
5. Experimental Design
13. ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโนหรือสำรวจมี 4 ขั้นตอน ข้อใดถือเป็นขั้นตอนที่สอง
1. ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน
2. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
4. ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน
14. ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโนหรือสำรวจมี 4 ขั้นตอน ข้อใดเรียงลำดับจากขั้นตอนแรกไปถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ถูกต้อง
1. ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน
2. ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน
4. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน
15. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแรงงานต่างด้าว ควรใช้วิธีใดมากที่สุด
1. วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง
2. วิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
3. วิธีการสังเกตการณ์
4. วิธีการบันทึกข้อมูลจากการวัดหรือนับ
ความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณ
1. งานสารบรรณคือข้อใด
1. งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น
2. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
3. งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกด้วย
4. งานที่ทำด้วยหนังสือนับตั้งแต่คิด ร่าง เขียน แต่งพิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่งรับบันทึก ย่อเรื่องเสนอ สั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่และค้นหา
2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดคือ
1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551
3. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสรบรรณ พ.ศ. 2526
1. นายกรัฐมนตรี 2. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
4. ใครเป็นคนกำหนดรหัสพยัญชนะประจำส่วนราชการ
1. นายกรัฐมนตรี 2. คณะรัฐมนตรี
3. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 4. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
5. Memorandum คืออะไร
1. หนังสือความจำ 2. บันทึกช่วยจำ
3. บันทึกทั่วไป 4. บันทึก
6. “บันทึกช่วยจำ” คืออะไร
1. หนังสือที่ใช้สำหรับแถลงรายละเอียด
2. หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่สนทนา
3. หนังสือที่ใช้สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญ
4. หนังสือราชการที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างไทยกับต่างประเทศ
7. “หนังสือ” ในความหมายของระเบียบงานสารบรรณหมายความว่าอย่างไร
1. หนังสือราชการ
2. หนังสือที่จัดทำโดยข้าราชการ
3. หนังสือที่มีชั้นความลับ
4. หนังสือทุกประเภท
8. ถ้าต้องการให้รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานใดที่ไม่เป็นส่วนราชการใช้รหัสตัวพยัญชนะของส่วนราชการที่สังกัดตัวเลข 2 ตัวแรกที่จะใช้เริ่มจากเลขอะไร
1. 00 2. 10 3. 35 4. 51
9. การทำสำเนาในระเบียบงานสารบรรณ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. การทำสำเนา กระทำได้หลายวิธี เช่น คัด ถ่าย อัด เป็นต้น
2. เอกสารทางราชการจำเป็นต้องมีสำเนาซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องส่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหลายคน
3. สำเนาคู่ฉบับ เป็นหลักฐานที่สำคัญในราชการ จึงให้มีสำเนาคู่ฉบับ ไว้ อย่างน้อย 1 ฉบับ
4. สำเนาที่ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นโดยปกติไม่จำเป็นต้องมีการรับรอง
10. ข้อใดเป็นหนังสือราชการทั้งหมด
1. หนังสือภายใน, หนังสือภายนอก, หนังสือที่มีไปมาระหว่างกระทรวง, หนังสือที่ส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก, หนังสือที่ส่งออก และหนังสือเกี่ยวกับการเงิน
2. หนังสือภายใน, หนังสือภายนอก, หนังสือประทับตรา, หนังสือสั่งการ, หนังสือโฆษณา และหนังสือเกี่ยวกับการเงิน
3. หนังสือภายนอก, หนังสือภายใน, หนังสือประทับตรา, หนังสือสั่งการ, หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน และหนังสือที่หนังสือเกี่ยวกับการเงิน
4. หนังสือภายนอก, หนังสือภายใน, หนังสือประทับตรา, หนังสือสั่งการ, หนังสือประชาสัมพันธ์ และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน
11. ข้อใดเป็นหลักการประชุมที่ถูกต้อง
1. จะต้องมีสถานที่ประชุม ระเบียบวาระ และผู้จดบันทึกการประชุม
2. จะต้องมีวาระการประชุม มีประธาน เลขานุการ ผู้เข้าประชุมครึ่งหนึ่งของจำนวน
3. จะต้องมีประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ และผู้เข้าประชุม 1 ใน 3 จึงจะครบองค์ประชุม
4. จะต้องมีประธานที่ประชุม เลขานุการ ผู้เข้าประชุมจะต้องมีจำนวนเกินกว่าครึ่งของจำนวนจึงจะครบองค์ประชุม
12. ข้อใดคือวิธีการบันทึกตามระเบียบงานสารบรรณ
1. บันทึกย่อเรื่อง, บันทึกรายงาน, บันทึกความเห็น, บันทึกติดต่อ และสั่งการ
2. บันทึกข้อความ, บันทึกจดหมายเหตุ, บันทึกรายวันทำการและบันทึกรายงานประจำวัน
3. บันทึกย่อความ, บันทึกเหตุการณ์ประจำวัน, บันทึกรายงานเฉพาะเรื่อง และบันทึกความเห็น
4. บันทึกรายงานประจำวัน, บันทึกย่อเรื่อง, บันทึกความเห็น และบันทึกรายงานประจำวัน
13. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด
1. ประกาศ
2. แถลงการณ์
3. การส่งสิ่งของเอกสาร หรือ บรรณสาร
4. หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ
14. หนังสือเรื่องใดที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
1. เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน
2. เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
3. เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
4. เรื่องที่มีชั้นความลับตั้งแต่ลับมากขึ้นไป
15. กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
1. 2 คน 2. 3 คน
3. 4 คน 4. 5 คน
16. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นประธานวุฒิสภาคำขึ้นต้นให้ใช้คำว่าอะไร
1. เรียน 2. เสนอ
3. กราบเรียน 4. ขอประธานกราบเรียน
17. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำลงท้ายให้ใช้คำว่าอะไร
1. ขอแสดงความนับถือ 2. ขอแสดงความเคารพนับถือ
3. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง 4. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
18. การจดบันทึกหรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
1. 1 วิธี 2. 2 วิธี
3. 3 วิธี 4. 4 วิธี
19. การรับรองรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
1. 1 วิธี 2. 2 วิธี
3. 3 วิธี 4. 4 วิธี
20. “ประกาศ” จัดเป็นหนังสือชนิดใด
1. หนังสือสั่งการ 2. หนังสือแถลงข่าว
3. หนังสือแถลงการณ์ 4. หนังสือประชาสัมพันธ์
21. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมีกี่ชนิด
1. 1 ชนิด 2. 2 ชนิด
3. 3 ชนิด 4. 4 ชนิด
22. การลงวัน เดือน ปี ของหนังสือราชการ ข้อใดผิด
1. หนังสือภายนอก ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
2. หนังสือภายในให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อย่อของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
3. หนังสือประทับตรา ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
4. หนังสือประกาศ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
23. หนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณโดยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็วนั้นจะต้องระบุตัวอักษรสีแดงให้เห็นชัดบนหนังสือและบนซองว่าอย่างไร
1. ด่วน 2. ด่วนที่สุด
3. ด่วนมาก 4. ด่วนภายใน
24. ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด
1. หนังสือภายใน 2. หนังสือสั่งการ
3. หนังสือภายนอก 4. หนังสือประทับตรา
25. หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือข้อใด
1. หนังสือโต้ตอบ และหนังสือแถลงข่าว
2. บันทึกช่วยจำ และบันทึก
3. หนังสือที่ลงชื่อ และหนังสือที่มิต้องลงชื่อ
4. หนังสือที่เป็นแบบพิธี และหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี
26. อายุของการเก็บหนังสือ วิธีการปฏิบัติข้อใดผิด
1. หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 20 ปี
3. หนังสือที่ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้น้อยกว่า 5 ปี
4. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
27. ผู้มีอำนาจพิจารณาหนังสือตามบัญชีหนังสือขอทำลายคือใคร
1. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
2. คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง
3. ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
4. คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงแต่งตั้ง
28. “คำสั่ง” คือ
1. คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร และคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
2. การสั่งด้วยการบันทึกทางจดหมาย และด้วยสื่อนำสาร
3. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละเรื่อง
29. ข้อใดเป็นวิธีการเก็บหนังสือ
1. เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อค้นหาได้สะดวก
2. เก็บโดยมิดชิดปลอดภัย และกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย
3. การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
4. เก็บรวมเข้าแฟ้มสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม เก็บเพื่อเป็นหลักฐาน และเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ
30. ข้อใดคือเหตุที่ต้องมีการร่างหนังสือ
1. เพื่อให้มีการตรวจแก้ไขให้เหมาะสมถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
2. เพื่อเรียบเรียงข้อความตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับ
3. เพื่อผู้ร่างเข้าใจในร่างโดยขึ้นต้นต่อไปเป็นความประสงค์และข้อตกลงโดยสมบูรณ์ทั้งเนื้อเรื่องและถ้อยคำ
4. เพื่อแยกประเด็นที่เป็นเหตุเป็นผลและความมุ่งหมายที่จะทำหนังสือ
31. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยเป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม จังหวัดเดียวกัน เรียกว่าอะไร
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน
3. หนังสือสั่งการ 4. หนังสือประชาสัมพันธ์
32. เลขที่หนังสือส่งออกสำหรับส่วนราชการในส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสี่ตัวนั้นมีความหมายอย่างไร
1. สองตัวแรก หมายถึง กรม ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กอง
2. สองตัวแรก หมายถึง สำนัก ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กอง
3. สองตัวแรก หมายถึง กระทรวง หรือ ทบวง ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กรม
4. สองตัวแรก หมายถึง กรม ส่วนสองตัวหลัง หมายถึง กระทรวง หรือ ทบวง
33. เลขที่หนังสือส่งออกสำหรับส่วนราชการในส่วนกลาง ที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ให้ใช้เลขใด
1. 00 2. 01
3. 15 4. 51
34. หนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณ โดยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติจะต้องระบุตัวอักษรสีแดงให้เห็นชัดบนหนังสือและบนซองว่าอะไร
1. ด่วน 2. ด่วนที่สุด
3. ด่วนมาก 4. ด่วนภายใน
35. การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดให้ปฏิบัติอย่างไร
1. ให้หมายเหตุไว้หน้าแฟ้มที่เก็บรวมเรื่อง
2. ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่สารบรรณทราบทั่วกัน
3. ให้ประทับตราคำว่า ห้ามทำลายด้วยหมึกสีแดง เก็บใส่ตู้เอกสารแล้วทำเครื่องหมายไว้
4. ให้ประทับตราคำว่า “เก็บถึง พ.ศ….”ด้วยหมึกสีน้ำเงินและลงเลขของปี พ.ศ. ที่ให้เก็บถึงด้วย
36. ถ้าส่วนราชการใด มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่ได้กำหนดไว้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1. สามารถปฏิบัติได้เลยเนื่องจากระเบียบสารบรรณมีข้อยกเว้นให้ปฏิบัตินอกเหนือได้ตามที่เห็นสมควร
2. สามารถปฏิบัติได้เฉพาะกรณีที่ส่วนราชการนั้นมีการออกระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณของตนไว้เป็นการเฉพาะ
3. สามารถขอทำความตกลงกับปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้
4. การปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือจากที่กำหนดไว้จะกระทำมิได้
37. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ
2. การแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก และจัดทำคำอธิบาย
3. รายงานนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดระเบียบของส่วนราชการ
4. ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
38. ข้อใดไม่เป็นหนังสือราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. กรมที่ดินส่งแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศให้กรมแผนที่ทหาร
2. กรมการขนส่งทางบกได้รับหนังสือประสานขอความอนุเคราะห์จากกรมศุลกากรทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3. กรมการปกครองสั่งซื้อหนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกวันเพื่อให้บริการข้าราชการ และประชาชนที่มาติดต่อราชการอำเภอ
4. กองพิสูจน์หลักฐาน รับเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานทางคดีจากพนักงานสอบสวนไว้ทำการตรวจสอบ
39. ข้อใดเรียงลำดับหนังสือภายนอกได้ถูกต้อง
1. เรื่อง คำขึ้นต้น อ้างถึง (ถ้ามี) สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)
2. คำขึ้นต้น เรื่อง อ้างถึง (ถ้ามี) สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)
3. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ วันที่ เดือน ปี คำขึ้นต้น เรื่อง
4. ข้อความ คำลงท้าย ลงชื่อ ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
40. การอ้างถึงในหนังสือภายนอก ข้อใดถูกต้อง
1. ให้อ้างถึงหนังสือทุกฉบับที่เคยมีการติดต่อกันเพื่อสะดวกในการค้นหา ทำให้เกิดการปฏิบัติที่รวดเร็วขึ้น
2. ให้อ้างถึงหนังสือฉบับแรกที่ติดต่อกันฉบับเดียวหากมีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา สามารถอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
3. ให้อ้างถึงฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียว หากมีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา สามารถอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
4. ให้อ้างถึงเฉพาะหนังสือฉบับสำคัญที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
41. คำขึ้นต้นในหนังสือราชการที่มีถึงรองนายกรัฐมนตรี ข้อใดถูกต้อง
1. กราบเรียน ฯพณฯ 2. กราบเรียน
3. เรียนถึง 4. เรียน
สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่ lookmoo_00@hotmail.com