แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญ
1.ในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ผู้ที่จะได้รับการเลือกตั้ง
ตอบ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 (ส.ว.ร้อยละ 5)
2. ตำแหน่งใดที่ รธน.กำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ตอบ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (ส่วน ส.ว. ห้ามดำรงตำแหน่งในวาระติดต่อกัน)
3.เมื่ออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
ตอบ 45 วันนับแต่วันสิ้นสุดลง (ที่น่าสนใจ คือ ส.ว.ครบวาระเลือกภายใน 30 วัน ส่วนยุบสภา ว่างลงเพราะเหตุอื่น เลือกภายใน 45 วันเหมือนกัน)
4. การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือผู้ใด
ตอบ ประธานองคมนตรี
5. ตำแหน่งใดบ้างที่ ประธานรัฐสภา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือประกาศพระบรมราชโองการ
ตอบ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
6. ตำแหน่งใดบ้างที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือประกาศพระบรมราชโองการ
ตอบ ผู้นำฝ่ายค้าน และนายกรัฐมนตรี
7. ตำแหน่งใดบ้างที่ ประธานวุฒิสภา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือประกาศพระบรมราชโองการ
ตอบ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
8.บุคคลกลุ่มใดบ้าง ที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือและบริการจากรัฐตามรัฐธรรมนูญ
ตอบ เด็กและเยาวชนที่ไม่มีผู้ดูแล ผู้ยากไร้ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ
9.ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลากี่วัน
ตอบ 105 วัน (ส.ส.) และ 20 วัน (ส.ว)
10.การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีของสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีผู้เข้าชื่อจำนวนเท่าใด จึงจะเปิดอภิปรายได้
ตอบ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นรัฐมนตรี ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
11.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ในวันใด
ตอบ วันถัดจากวันที่ครบ 30 วัน นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
พระบรมราชโองการแต่งตั้ง |…… 30 วัน………| วันพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.
12.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 1 ระบุไว้ว่า
ตอบ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
13.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
ตอบ 11 ตุลาคม 2540 นับเป็นฉบับที่ 16
14.ประธานรัฐสภา มาจาก
ตอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา
15.พระราชบัญญัติจะตราขึ้นได้โดยคำแนะนำ และยินยอมของใคร
ตอบ รัฐสภา
16.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กี่คน
ตอบ 500 คน ประกอบด้วยมาจากแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 บัญชีรายชื่อ 100 คน
17. ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
ตอบ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
18.การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และการยุบสภา ต้องตราเป็น
ตอบ พระราชกฤษฎีกา
19.หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
ตอบ 60 วัน ครบวาระ 45 วัน
20.สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
ตอบ 200 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
21.วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
ตอบ 40 ปี ส.ส. ไม่ต่ำกว่า 25 ปี รมต.ไม่ต่ำกว่า 35 ปี
22.คณะกรรมการการเลือกตั้งมีกี่คน
ตอบ 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
23.การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
ตอบ 30 วัน
24.ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ตอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ คณะรัฐมนตรี
25.วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดกี่วัน
ตอบ 60 วัน (ถ้าเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 20 วัน)
26.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
ตอบ 36 คน (นายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน)
27. เมื่อเรียกประชุมสภาครั้งแรกแล้ว จะต้องตั้งนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ตอบ 30 วัน
28.เมื่อได้เข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
ตอบ 15 วัน
29.ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานและตุลาการอื่น รวมกี่คน
ตอบ 15 คน อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี ไม่เกิน 70 ปี วาระ 9 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
30.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
ตอบ 4 ปี
31.การถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องมีคะแนนเสียงเท่าไรของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนน
ตอบ ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
32.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ตอบ 9 ปี มี 9 คน อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี ไม่เกิน 70 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
33.การเข้าชื่อของประชาชนเพื่อถอดถอนข้าราชการการเมืองออกจากตำแหน่ง ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
ตอบ 50,000 คน
34.ผู้ที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 คือ
ตอบ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
35. รัฐธรรมนูญ 2540 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
ตอบ 11 ตุลาคม 2540 และประกาศใช้ในวันเดียวกัน โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
35. คณะองคมนตรี มีจำนวนเท่าใด
ตอบ 19 คน
36.ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง หรือให้พ้นจากตำแหน่งของประธานองคมนตรี คือผู้ใด
ตอบ ประธานรัฐสภา
37. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น
ตอบ พระราชกฤษฎีกา (ภายใน 30 วัน)
38. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กรณีว่างลง เลือกตั้งภายใน
ตอบ ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่มีเหตุให้ว่างลง
39. ร่างพระราชบัญญัติ จะเสนอได้โดย
ตอบ ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ คือ
1.ส.ส.(พรรคมีมติให้เสนอได้ ส.ส.20 คน ลงชื่อให้การรับรอง) /คณะ รมต.
2.สภาพิจารณา เมื่อสภาเห็นชอบแล้ว
3.ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาร่าง ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
4.แล้วส่งให้ นายก รมต. เสนอในหลวงภายใน 20 วัน หากไม่ทรงเห็นชอบภายใน 90 วัน หรือไม่ประทานคืนลงมา
5.สภาพิจารณาใหม่ และลงมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 แล้วเสนอเพื่อโปรดลงนามอีกครั้งหนึ่ง ถ้าพ้น 30 วันไม่ประทานคืนลงมา
6.นายก รมต.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น พ.ร.บ.ได้
40. หน่วยงานใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 มีอะไรบ้าง
ตอบ สนง.กกต. สนง.ศาล รธน. สนง.ศาลปกครอง สนง.ปปช.
41.จำนวน ส.ส. มีอัตราส่วนเท่าไร ในการเลือกตั้งทั่วไปกับระบบบัญชีรายชื่อ
ตอบ 400 : 100 1 : 4
42. คนไทยมีสิทธิการเลือกตั้ง ส.ส.กี่เสียง
ตอบ 1 เสียง
43. สิทธิของคนไทยมีอะไรบ้าง
ตอบ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ โดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
เสรีภาพในเคหสถาน การเดินทาง เลือกถิ่นที่อยู่ นับถือศาสนา
การสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย เสรีภาพในการประกอบการหรืออาชีพ
เสรีภาพในการคิดเห็น พูด เขียน พิมพ์ โฆษณา ได้รับบริการสาธารณสุขที่มาตรฐาน
เสรีภาพในวิชาการ 60 ปี ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี สิทธิได้รับข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ
ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ รวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ ฯลฯ
รวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับการคุ้มครอง
44. วิธีการเลือกตั้ง ส.ส. มีอย่างไร
ตอบ แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
45. จำนวน ส.ว. และวิธีเลือกอย่างไร
ตอบ 200 คน และใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
46. คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. มีอะไรบ้าง
ตอบ อายุ 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง จบปริญญาตรี ไทยโดยการเกิด สมาชิกพรรคการเมืองอย่างน้อย 90 วันก่อนวันสมัคร และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 1 ปี หรือเคยเป็น ส.ส.ในจังหวัดนั้น หรือเคยศึกษาไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา หรือเคยรับราชการหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดนั้นไม่น้อยกว่าสองปี
47.คุณสมบัติของรัฐมนตรีมีอะไรบ้าง
ตอบ ไทยโดยการเกิด อายุ 35 ปีบริบูรณ์ จบปริญญาตรี
48.รัฐธรรมนูญ ปี 40 กำหนดให้มีกี่ศาล อะไรบ้าง ศาลที่ตั้งใหม่คืออะไร
ตอบ 4 ศาล คือ ศาล รธน. ศาลยุติธรรม(3 ชั้น) ศาลปกครอง(2 ชั้น) และศาลทหาร
49.หน้าที่ของชนชาวไทยมีอะไรบ้าง
ตอบ -รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข -ปฏิบัติตามกฎหมาย -ใช้สิทธิเลือกตั้ง
-ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-ศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สรุปแนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
1. การพิจารณาของอธิดีกรมการปกครอง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2. การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง , การเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ, การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อออกกฎ คือวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
3. การออกระเบียบ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
4. การประกาศเตือน ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
5. พระราชบัญญัติไม่ใช่กฎ
6. การเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง คือการพิจารณาทางปกครอง
7. เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ถ้า คู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี , ญาติของคู่กรณี , นายจ้างของคู่กรณี หรือเป็นคู่กรณีเองไม่ได้
8. ถ้ากรณีเคยเป็นลูกจ้างของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองได้
9. คู่กรณีไม่มีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
10. คู่กรณีไม่มีสิทธิแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแทนตนในการพิจารณาทางปกครอง
11. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนของคู่กรณีที่ไม่ทราบข้อเท็จจร ิงในเรื่องที่พิจารณาทางปกครองอย่างพียงพอ
12. เมื่อมีการแต่งตั้งตัวแทนร่วมของคู่กรณีๆ จะยกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนมิได้
13. ในการพิจารณาทางปกครองเจ้าหน้าที่จะต้อง แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบ , ให้คู้กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ , ให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงหลักฐานของตนเอง , ไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ในกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
14. คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำสั่งด้วย
15. คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย
16. คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ
17. คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน จะไม่เสียไปถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลังถือว่าใช้ได้
18. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ไม่ออกโดยรัฐมนตรี ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน
19. คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ต้องอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง คู่กรณีสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้
20. คำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ไม่สามารถอุทธรณ์ได้แต่สามารถฟ้องศาลปกครองได้
21. หากได้รับการวินิจฉัยความผิดถึงที่สุด และเห็นว่าคำสั่งทางปกครองที่ได้รับไม่เป็นธรรม สามารถฟ้องศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง
22. เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
23. การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
24. กรณีเห็นด้วยกับอุทธร์ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตน
25. กรณีไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
26. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่รู้ถึงเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
27. ผู้ที่ไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะที่รับคำสั่งทางปกครอง สามารถอ้างความเชื่อโดยสุจริตได้เมื่อถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
28. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองต้องร้องขอค่าทดแทนภายใน 180 วันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
29. การยื่นขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่
30. เจ้าหน้าที่อาจยึดอายัดทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ชำระเงินตามกำหนดของคำสั่งทางปกครอง
31. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ละเว้นกระทำ หากฝ่าฝืนต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน
32. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำแล้วไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการด้วยตนเองได้
33. เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตราการบังคับทางปกครองได้ หากมีการต่อสู้ขัดขวาง
34. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะกระทำด้วยวาจาก็ได้
35. การแจ้งทางไปรษณีย์ต้องแจ้งโดยไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น
36. การแจ้งภายในประเทศให้ถือว่าได้รับเมื่อครบกำหนด 7 วันนับตั้งแต่วันส่ง
37. การแจ้งคำสั่งทางปกครองจะกระทำได้โดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ ในกรณี ไม่รู้ตัวผู้รับ กรณีรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนา กรณีมีผู้รับเกิน 100 คนขึ้นไป
38. ในกรณีประกาศหรือลงหนังสือพิมพ์ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันได้แจ้ง
39. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน แม้วันสุดท้ายจะเป็นวันหยุดการทำงาน
40. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่สามารถจะเป็นพยานในการส่งหนังสือเพื่อแจ้งคำสั่งทางปกครองในกรณีผู้รับไม่ยอมรับห รือไม่มีผู้รับ
41. ค่าปรับทางปกครองมี 4 ระดับคือ 20,000 บาทสำหรับคณะกรรมการ และรัฐมนตรี
42. 15,000 บาทสำหรับปลัด อธิบดี ผู้ว่าฯ
43. 10,000 บาทสำหรับนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ
44. 5,000 บาทสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ส่วนเอกชนที่ใช้อำนาจทางปกครองต้องเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายไปทั้งนี้ไม่เกิน 1.000 บาท
45. ชั้นศาลปกครองได้แก่ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
46. ศาลปกครองชั้นต้นแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองส่วนภูมิภาค
47. ในวาระแรกกฎหมายได้กำหนดให้จัดตั้งศาลปกครองในรูปภูมิภาคจำนวน 16 แห่ง
48. การเปิดทำการของศาลปกครองในภูมิภาค กฎหมายกำหนดให้เปิดทำการไม่น้อยกว่าปีละ 7 ศาล
49. คดีที่ไม่อยู่ในศาลปกครองมี ,การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร , คดีที่อยู่ในอำนาจศาลล้มละลาย
50. การฟ้องในคดีโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
51. การฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
52. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครอง
53. ผู้ที่จะได้แต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ต้องมีอายุ 35 ปี
54. ก.ศป. หมายถึงตุลาการศาลปกครอง
55. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมี 13 คน
56. องค์คณะของศาลปกครองชั้นต้นต้องมีอย่างน้อย 3 คน
57. สำนักงานศาลปกครองเป็น หน่วยงานอิสระ
58. ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธารกรรมการตุลาการศาลปกครองสูงสุด
59. การฟ้องคดีที่ศาลปกครองในกรณีขอให้ศาลปกครองสั่งให้หน่วยงานของรัฐชดใช้เงิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ร้อยละ 2.5 ไม่เกิน 200,000 บาท
60. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง จะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบ
เลื่อนจากนายสิบเป็นนายร้อยฝ่ายสืบสวยสอบสวน
สายป้องกันและปราบปราม
– ข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระเบียบปกครองปี 2539
– กฎหมาย ป.วิอาญา ป.อาญา และ กฎหมายพยาน
– พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
– พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
- VCD ติวข้อสอบตำรวจ กฏ ก.ตร.ประเมินผล และ จริยธรรม
- VCD ติวข้อสอบตำรวจ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547
- พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำรวจ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
ทั้งสอบเลื่อนจากนายสิบเป็นนายร้อยฝ่ายสืบสวยสอบสวน
สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่ lookmoo_00@hotmail.com