1.ใส่แหวนพลอยหัวทับทิมขนาดใหญ่ เพื่ออวดสาว มาพบคู่อริ จึงเข้าชก ศาลริบแหวน และหัวแหวน นั้นได้หรือไม่ ตอบ ริบไม่ได้เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด / ข้อนี้ไม่มีฏีกาประกอบครับ ส่วนใหญ่คงตอบช้อยส์นี้ ไม่น่ามีปัญหา
2.ข้อใดกระทำผิดนอกราชอาณาจักรไม่สามารถลงโทษในราชอาณาจักรได้ ก.ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้าย ม.135/1 ข.การปลอมและการแปลงปลอมเงินตรา มาตรา ๒๔๐ ค.ข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ม.276/ ง.ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ตอบ ข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ม.276 (ที่ถูกคือ ความผิดเกี่ยวกับเพศตาม มาตรา ๒๘๒ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมฯ มาตรา ๒๘๓ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด มาตรา ๗ ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ (๑) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๑/๑) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๕/๑ มาตรา ๑๓๕/๒ มาตรา ๑๓๕/๓ และมาตรา ๑๓๕/๔ (๒) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๐ ถึงมาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๔ มาตรา ๒๕๖ มาตรา ๒๕๗ และมาตรา ๒๖๖ (๓) และ (๔) (๒ ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ (๓) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๙ และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๐ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง
3.นักเรียนอาชีวะขึ้นไปบนรถโดยสารชักปืนยิงคู่อริเพื่อให้ตาย กระสุนถูกเด็กชายสมบัติตาย ตอบ ผิดฆ่าเด็กชายสมบัติตายโดยเจตนา/ มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่นฯ มาตรา ๖๐ ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคล (เช่นเจ้าพนักงานฯ)หรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย(เช่น บิดา มารดา) มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น ในช้อยส์ไม่มีเจตนา โดยพลาด แต่มีฆ่าโดยเจตนาซึ่งใกล้เคียงที่สุด
4.ขว้างปารถยนต์ให้พลิกคว่ำเพื่อเอาทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในรถยนต์ถึงแก่ความตาย ตอบ ผิดฆ่าคนตายโดยเจตนา ย่อมเล็งเห็นผล / มาตรา ๕๙ บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น มีฏีกาประกอบ (เดี๋ยวหามาเพิ่มทีหลัง)
5.นายแดง นางดำ กับพวกลักลอบเล่นการพนัน ตำรวจเข้าจับกุม นายแดงยิงปืนขึ้นฟ้านางดำปิดไฟ ปล่อยให้ พวกหลบหนีไป ตอบ นายแดงผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน นางดำไม่ผิด
6.นายแดง นายดำ นายขาว ตกลงกันจะไปเอาเงินในร้านของชำ นายแดงใช้ปืนจี้เจ้าทรัพย์ นายดำเดินเข้าไปหยิบ เงินที่โต๊ะ แล้วหลบหนีมาขึ้นรถ ที่นายขาวจอดรออยู่หน้าร้าน ตอบ ผิดฐานปล้นทรัพย์ /
7.ส.ต.อ.แดง เบิกปืนเพื่อไปใช้ในราชการ ขาดเงินจึงนำไปขาย ตอบ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ 147 / มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึง ยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพัน บาทถึงสี่หมื่นบาท
8.ความผิดฐานซ่องโจรซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 210 ข้อใดไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรานี้ 1.ดูหมิ่นซึ่งหน้า 2. เปิดเผยความลับ 3.หมิ่นประมาท 4.ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ตอบ 1.ดูหมิ่นซึ่งหน้า (โทษไม่เกิน 1 ปี) มาตรา ๒๑๐ ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค ๒ นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ถ้าเป็นการสมคบเพื่อกระทำความผิด ที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท มาตรา ๓๙๓ ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9.ข้อใดไม่เป็นความผิดฐานแต่งกายใช้เครื่องหมายในศาสนาตาม 208 1.ภิกษุ 2.นักพรต 3.แม่ชี 4.บาทหลวง ตอบ 3.แม่ชี มาตรา ๒๐๘ ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น (บาทหลวงเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ ส่วนแม่ชีเป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา โกนหัว นุ่งขาวห่มขาว ถือศีล 8 ไม่ใช่นักบวช ถ้านักบวชจะเป็นภิกษุณี ซึ่งมีรูปเดียวที่พระพุทธเจ้าบวชให้ในสมัยพุทธกาล )
10.นางแดง และนายดำ หุ้นกันซื้อบ้านหลังหนึ่งอยู่กลางทุ่ง นายดำโกรธนางแดง จึงจุดไฟเผาบ้านนั้น ก.วางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือน ม.218 ข.วางเพลิงเผาทรัพย์ ม.217 ค. ง. ผิดทำให้เสียทรัพย์ 358 ตอบ ง. มาตรา ๓๕๘ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ มาตรา ๒๑๗ ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น* ต้องระวางโทษฯ (*ไม่มีคำว่าผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย) มาตรา ๒๑๘ ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ดังต่อไปนี้ (๑) โรงเรือน เรือ หรือแพที่คนอยู่อาศัย ฯ มาตรา ๒๒๐ ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษฯ มีฏีกาประกอบ(คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๖/๒๕๑๘) การที่นางสวยวางเพลิงเผาบ้านซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ไม่เป็นความผิดฐานวางเพลิงตาม มาตรา ๒๑๗ และไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๑๘ (๑) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๗/๒๔๘๔ , ๓๖๔๓/๒๕๒๖) แต่การที่นางสวยวางเพลิงบ้านซึ่งนายสดเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม มาตรา ๓๕๘ ส่วนทองคำแท่งเป็นทรัพย์ที่นายสดได้มาทางมรดกไม่ใช่ทรัพย์ที่นายสดและนางสวยทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นทรัพย์ของนายสดแต่ผู้เดียว การที่นางสวยเอาทองคำแท่งไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา ๓๓๔ นางสวยไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสด จึงไม่ได้รับการเว้นโทษตาม มาตรา ๗๑ วรรคหนึ่ง
11.แดงใช้ปืนยิงคนในหมู่บ้าน ตำรวจไล่จับ จึงยิงต่อสู้ ตอบ แดงอ้างป้องกันไม่ได้ /
12.นายดำมีความรู้ด้านโทรศัพท์ได้ต่อพ่วงสายโทรศัพท์จากตู้สาธารณะ ไปใช้ในบ้าน เป็นค่าเสียหาย 1000 บาท ตอบ ผิดฐานลักทรัพย์ / คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสาย ลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยัง เครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็น กระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณ โทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
13.ข้อใดไม่เป็นอันตรายสาหัสตาม 297 ก.แท้งลูก ข.จิตพิการอย่างติดตัว ค.ทุพพลภาพ หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ง.ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรัง... (ซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต) ตอบ ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง (ข้อ ง.) มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส อันตรายสาหัสนั้น คือ (๑) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (๕) แท้งลูก (๖) จิตพิการอย่างติดตัว (๗) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
14.มีฐานะยากจนแต่มีรสนิยมสูง รู้ว่าไม่มีเงินแต่ไปสั่งอาหารในโรงแรม เป็นเงิน 10000 บาท เพื่อรับประทาน หลังจากรับประทานเสร็จแล้วไม่มีเงินจ่าย นายแดงมีความผิดฐานใด ก.รับผิดทางแพ่ง ข.ฉ้องโกงตาม ม. 341 3.ฉ้อโกงค่าอาหาร ม.345 4.ทำให้เสียทรัพย์ ตอบ ผิดฐานฉ้อโกงค่าอาหาร มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และ โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง มาตรา ๓๔๕ ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่า เครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น
15.ไม่พอใจจึงนำรถยนต์ไปจอดปิดถนนสาธารณะปากซอยเข้าบ้าน ตอบ ผิดฐานรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ 397 /มาตรา ๓๙๗ ผู้ใดในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น หรือ กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ไม่ได้กระทำต่อตัวบุคคล จึงไม่เข้าเรื่องเสรีภาพ
16.ข้อใดไม่เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ก.ป้ายทะเบียนรถยนต์ ข.หนังสือรับรองสิทธิ (สค.1) ค.ตั๋วรูปพรรณโค(มั้ง) ง.ใบเสร็จรับเงินในการชำระภาษีประจำปี ตอบ ก.ป้ายทะเบียนรถยนต์ (๘) “เอกสารราชการ” หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย (๙) “เอกสารสิทธิ” หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ
17.ข้อใดเป็นความผิดฐานบุกรุกที่ยอมความไม่ได้ ตอบ บุกรุกในเวลากลางคืนตาม 365 /
18.ขอซื้อเบียร์ เจ้าของบอกว่าหมดเวลาขาย จึงหยิบเดินออกจากร้านไป ตอบ วิ่งราวทรัพย์
19.เดินผ่านป้อมตำรวจ ตำรวจถามว่า มองหน้าทำไม ตอบว่าจะมองแล้วทำไม ตำรวจโกรธจึงบังคับให้เข้าไปอยู่ ในป้อมนาน 1 ชั่วโมง จึงปล่อย ตอบ ตำรวจผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว /
20.การย้ายหรือทำลายศพ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง 1.ปิดบังการเกิด 2.ปิดบังเหตุแห่งการเกิด 3.ปิดบังเหตุแห่งการตาย 4.ปิดบังการตาย ตอบ (ข้อ ข.)มาตรา ๑๙๙ ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย
21.น.ส.เขียว ถูกข่มขืนจึงไปหานางแดงซึ่งเป็นพยาบาลผดุงครรภ์ทำแท้งให้ ข้อใดถูกก.นางสาวเขียวไม่มีความผิดฐานหญิงทำให้ตนแท้งลูก ม. 301 ข.นางสาวเขียวมีความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ม. 302 ค.นางแดงมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดย ม. 303 ง.นางแดงไม่มีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม ม. 305 ตอบ ข. มาตรา ๓๐๑ หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มาตรา ๓๐๒ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม มาตรา ๓๐๓ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม มาตรา ๓๐๔ ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา ๓๐๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๒ นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ (๑) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ (๒) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ หรือมาตรา ๒๘๔ ผู้กระทำไม่มีความผิด ต้องเป็นการกระทำของนายแพทย์ ถึงจะได้รับการยกเว้น (ม.305)
22.นายดำมีชอบเล่นการพนันเป็นอาชีพวันหนึ่งเสียการพนันหมดตัว จึงเอารถไปจำนำนายเด่นซึ่งมีอาชีพขายรถ มือสองเพื่อเอาเงินไปเล่นการพนันอีก ต่อมาเสียดายรถจึงเอากุญแจสำรองไปแอบขับเอารถออกมาจากเต็นส์ของนายเด่น ก.ลักทรัพย์ ข.วิ่งราวทรัพย์ ค.โกงเจ้าหนี้ ง.รับผิดทางแพ่ง ตอบ ผิดฐานโกงเจ้าหนี้ / มาตรา ๓๔๙ ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางโทษฯ
23. ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท 225 ข้อใดถูกต้อง ก.น่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น ข. น่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น ค.น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายของผู้อื่น ง.น่าจะเป็นอันตรายแก่ชิวิตของบุคคลอื่น ตอบ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของผู้อื่น / มาตรา ๒๑๗ ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น* ต้องระวางโทษฯ (*ไม่มีคำว่าผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย) มาตรา ๒๒๐ ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษฯ มาตรา ๒๒๕ ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น
24.ข้อใดไม่ผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม 276 ตอบ ใช้นิ้วมือแยงเข้าไปในช่องปากของผู้อื่น / มาตรา ๒๗๖ ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นฯ การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับ อวัยวะเพศหรือ ทวารหนักของผู้อื่น โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษหนักขึ้น ถ้าเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรสและคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้
25.ข้อใดไม่ใช่เจ้าพนักงาน ในหมวดความผิดต่อเจ้าพนักงานในประมวลกฎหมายอาญา ก.ประธานศาลฎีกา ข.นายกรัฐมนตรี ค.ประธานรัฐสภา ง.ประธานศาลปกครอง ตอบ ประธานรัฐสภา / (อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ (นายกรัฐมนตรี) เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้า ไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,152,157 )