1. ผู้ใดมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ในกรมราชทัณฑ์
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ง. ปลัดกระทรวง
คำตอบ ค. การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง
2. ตำแหน่งที่มีคุณลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด จะต้องมีการสับเปลี่ยน ย้าย โอน เพราะห้ามปฏิบัติ
หน้าที่เดียว ติดต่อกันเป็นเวลากี่ปี
ก. 3 ปี ข. 4 ปี
ค. 5 ปี ง. 6 ปี
คำตอบ ข. ภายใต้บังคับมาตรา 57 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60 ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ระดับ 10 และระดับ 11 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 4 ปี อ.พิพัฒน์-อ.วันนรัตน์
3. การโอนข้อใดถูกต้อง
ก. จะทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม
ข. แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม
ค. รับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าเดิม
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวง ทบวง กรม อาจทำได้เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
4. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก. คุณภาพและปริมาณ
งานข. ระยะเวลาการรับราชการ
ค. ความสามารถและความอุตสาหะในการทำงาน
ง. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
คำตอบ ข. การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
5. การกระทำผิดวินัยในข้อใด ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก. เปิดเผยความลับของทางราชการ
ข. รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
ค. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. กระทำผิดวินัย ที่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงได้แก่
1) การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ (มาตรา 82)
2) การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (มาตรา 84)
3) การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ (มาตรา 85)
4) การเปิดเผยความลับของทางราชการ (มาตรา 87)
5) การขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 88)
6) การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 90)
7) การละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 92)
8) การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 94)
9) การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (มาตรา 98)
6. ข้อใดไม่ใช่โทษสำหรับข้าราชการที่กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ก. ภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ลดขั้นเงินเดือน ง. ปลดออก
คำตอบ ง. ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน
7. การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก สามารถยับยั้งได้ไม่เกินกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
คำตอบ ง. กรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ขอลาออกก็ได้
8. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งลงโทษตัดเงินเดือน นาย ก. นาย ก. สามารถอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อ
หน่วยงานใด
ก. อ.ก.พ. กรม ข. อ.ก.พ. จังหวัด
ค. อ.ก.พ. กระทรวง ง. ก.พ.
คำตอบ ค. การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวง
9. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ข้อใดถูกต้อง
ก. อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน
ข. อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 30 วัน
ค. อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 15 วัน
ง. อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 15 วัน
คำตอบ ก. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
10. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของข้าราชการพลเรือน
ก. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ค. ข้าราชการประจำต่างประเทศ
พิเศษง. ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบ ง. ประเภทของข้าราชการพลเรือนมี 3 ประเภท ได้แก่
1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ
2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
3) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
11. การพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ก. ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ข. ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
ค. ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ เพื่อ
1) ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2) ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
3) ให้รู้บทบาทหน้าที่ของราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4) ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี
12. ข้อใดไม่สามารถจะร้องทุกข์ได้
ก. มีคำสั่งปลดออกจากราชการ
ข. ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ค. เห็นว่าผู้บังคับบัญชาให้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ง. เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
คำตอบ ก. ปลดออกเป็นโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ฉะนั้น จะต้องใช้วิธีการอุทธรณ์ ไม่ใช่การร้องทุกข์ ส่วนการร้องทุกข์จะใช้ได้ในกรณีดังนี้
1) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
2) เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
3) เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
13. การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันกี่วัน จึงจะถือว่าผิดวินัยร้ายแรง
ก. เกินกว่า 5 วัน ข. เกินกว่า 7 วัน
ค. เกินกว่า 15 วัน ง. เกินกว่า 20 วัน
คำตอบ ค. การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
14. คุณสมบัติของข้าราชการข้อใดผิด
ก. มีสัญชาติไทย
ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ค. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ง. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำตอบ ข. คุณสมบัติของข้าราชการจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
15. ข้อใดเป็นเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
16. ?บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ? หมายถึงข้อใด
ก. นักโทษเด็ดขาด ข. คนต้องขัง
ค. คนฝาก ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ ก. นักโทษเด็ดขาด หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ
17. พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มิให้ใช้บังคับในสถานที่ตามข้อใด
ก. ทัณฑสถาน ข. เรือนจำพิเศษ
ค. เรือนจำทหาร ง. เรือนจำชั่วคราว
คำตอบ ค. ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับถึงเรือนจำทหาร
18. ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี ง. ผู้บัญชาการเรือนจำ
คำตอบ ก. รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ หรือสั่งให้จัดอาณาเขตภายในเรือนจำเป็นส่วน ๆ
19. ข้อใดมิใช่เอกสารสำคัญที่จะทำให้เจ้าพนักงานเรือนจำขังบุคคลเอาไว้ได้
ก. หมายจับ ข. หมายขัง
ค. หมายจำคุก ง. หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ
คำตอบ ก. เอกสารของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้คุมขังผู้นั้นไว้ ได้แก่ หมายขัง หมายจำคุก หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ
20. ข้อใดไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรี
ก. กำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ข. สั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังเรือนจำหนึ่ง
ค. แยกประเภทหรือชั้นของผู้ต้องขัง
ง. วางเงื่อนไขในการย้ายประเภทหรือชั้นหนึ่งไปยังอีกประเภทหรือชั้นหนึ่ง
คำตอบ ข. การสั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่ง ให้เป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา 12
21. เจ้าพนักงานเรือนจำจะใช้อาวุธอื่น นอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีใดบ้าง
ก. เมื่อผู้ต้องขังกำลังจะหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
ข. เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย
ค. เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธนอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องขังกำลังหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
2) เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย หรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตูรั้ว
3) เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
22. นักโทษเด็ดขาดที่จะออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำได้ต้องเหลือโทษจำคุกกี่ปี
ก. เหลือไม่เกิน 1 ปี ข. เหลือไม่เกิน 2 ปี
ค. เหลือไม่เกิน 3 ปี ง. เหลือไม่เกิน 4 ปี
คำตอบ ข. ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้
23. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ มีกี่คน
ก. ไม่น้อยกว่า 3 คน ข. ไม่น้อยกว่า 4 คน
ค. ไม่น้อยกว่า 5 คน ง. ไม่น้อยกว่า 6 คน
คำตอบ ก. ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้
24. บุคคลใดไม่มีอำนาจสั่งใช้เครื่องพันธนาการและเพิกถอนคำสั่งใช้เครื่องพันธนาการ
ก. พัศดี ข. ผู้คุม
ค. ปลัดกระทรวง ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
คำตอบ ก. โดยปกติพัศดีเท่านั้นที่มีอำนาจ ผู้อื่นจะออกคำสั่งไม่ได้ ยกเว้นกรณีมาตรา 14 (4) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมมีอำนาจสั่ง และมาตรา 14 (5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจสั่งได้
25. เครื่องพันธนาการ ห้ามใช้กับบุคคลในข้อใด
ก. ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี ข. ผู้ต้องขังหญิง
ค. ผู้ต้องขังวิกลจริต ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
คำตอบ ง. เครื่องพันธนาการที่กำหนดในกฎกระทรวงห้ามใช้แก่
1) ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี
2) ผู้ต้องขังหญิง
26. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ต้องขัง เมื่อถูกปล่อยตัวเพราะมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
ก. กลับมายังเรือนจำ ภายใน 24 ชั่วโมง
ข. ไปรายงานตัวต่อศาล ภายใน 24 ชั่วโมง
ค. ไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ ภายใน 24 ชั่วโมง
ง. ไปรายงานตัวยังที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง
คำตอบ ข. เมื่อปล่อยตัวผู้ต้องขังไปเพราะเหตุฉุกเฉินแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ต้องขังจะต้องกลับมายังเรือนจำ หรือไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ หรือที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ปล่อยตัวไป
27. ในกรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ให้ผู้ต้องขังหญิงคนอื่นเป็นผู้ตรวจค้น
ข. ให้เจ้าพนักงานชายเป็นผู้ตรวจค้นแทน
ค. เชิญหญิงอื่นที่เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือมาช่วยทำการตรวจให้
ง. ไม่ต้องตรวจค้นผู้ต้องขังหญิงคนนั้น
คำตอบ ค. กรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง และมีความสงสัยในพฤติการณ์ของผู้ต้องขังหญิงนั้น เจ้าพนักงานมีอำนาจเชิญหญิงอื่นเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือให้มาช่วยทำการตรวจให้
28. เหตุที่ต้องแยกตัวผู้ต้องขังที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งให้แพทย์ตรวจสุขภาพเพราะเหตุใด
ก. เพื่อทำการรักษาในกรณีเจ็บป่วย
ข. เพื่อฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ
ค. เพื่อป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายออกไป
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ ง. เจ้าพนักงานเรือนจำต้องจัดแยกผู้ต้องขับที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งตัวให้แพทย์ตรวจสุขภาพต่อไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดแยกประเภทผู้ต้องขัง เพื่อทำการรักษาในกรณีที่ป่วยและฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ ตลอดจนป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายไปในเรือนจำ กรณีผู้ต้องขังป่วยเป็นโรคติดต่อ
29. เด็กตามข้อใดที่ไม่อนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำ
ก. เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
ข. เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง ซึ่งเด็กอายุ 16 ปีบริบูรณ์
ค. เด็กที่เกิดในเรือนจำ
ง. เด็กที่คลอดในโรงพยาบาลภายนอกเรือนจำในขณะที่มารดาเป็นผู้ต้องขัง
คำตอบ ข. เด็กที่จะอนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำได้ คือ
1) เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขังและเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี 2) เด็กที่เกิดในเรือนจำ
30. กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวกับอนามัยและสุขาภิบาลทุก ๆ กี่วัน
ก. 3 วัน ข. 7 วัน
ค. 10 วัน ง. 15 วัน
คำตอบ ก. กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนามัยและสุขาภิบาลของเรือนจำ ทุก ๆ 3 วัน โดยให้คำแนะนำและบันทึกลงในสมุดตรวจการสุขาภิบาลของเรือนจำแล้วพัศดีมีหน้าที่จัดดำเนินการตามคำแนะนำ
จำหน่ายเอกสารเเนวข้อสอบนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ กรมราชทัณฑ์ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ. 2482
- หลักการควบคุมและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมราชทัณฑ์
- สรุปสาระสำคัญ พ .ร.บ. พ. ศ. 2479 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
- แนวข้อสอบอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่ lookmoo_00@hotmail.com