ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เก็งข้อสอบตำรวจรัฐสภาปฏิบัติงาน ใหม่ล่าสุด
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เก็งข้อสอบตำรวจรัฐสภาปฏิบัติงาน ใหม่ล่าสุด

1.       บุคคลสำคัญ  หมายถึงบุคคลใด

ตอบ  บุคคลที่มีความสำคัญยิ่งในทางราชการ ซึ่งต้องให้ความคุ้มครองให้ 

เหมาะสมกับฐานะ สถานที่ และ เวลา 

2.       บุคคลสำคัญแบ่งออกได้กี่ประเภท 

ตอบ  7  ประเภท  ได้แก่ 

1.       พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ผู้แทนพระองค์ และ พระราชอาคันตุกะ 

2.  ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และ ประธานศาลฎีกา 

3.  สมเด็จพระสังฆราช และ ผู้นำทางศาสนาอื่น

4.  ประมุขรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ แขกของรัฐบาล และ หัวหน้าคณะทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย

5.  บุคคลสำคัญทางทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด

6.  บุคคลอื่นที่เดินทางเยือนประเทศไทย และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร้องขอ

7.  บุคคลสำคัญตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี 

3.       Causes of Assassination  หมายถึงอะไร

ตอบ  สาเหตุของการประทุษร้าย 

4.       สาเหตุของการประทุษร้าย  ได้แก่อะไรบ้าง 

ตอบ       1. สาเหตุทางการเมือง (Political Causes) 

2.       สาเหตุในทางเศรษฐกิจ (Economics Causes) 

3.       สาเหตุทางด้านอุดมการณ์ (Ideological Causes) 

4.       สาเหตุทางด้านจิตวิทยา (Psychological Causes) 

5.       สาเหตุทางด้านส่วนตัว (Personal Causes) 

6.       สาเหตุจากการได้รับจ้าง (Mercenary Causes) 

7.       สาเหตุจากการถูกบังคับขู่เข็ญ (Black Mail Causes) 

5.       การลอบสังหารประธานาธิบดี Augusto Pinochet แห่งประเทศชิลี เมื่อวันที่

7 กันยายน 1986 ในขณะที่กำลังเตรียมตัวจะกล่าวคำปราศรัย ในการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป  เป็นสาเหตุการประทุษร้ายใด 

                                ตอบ   สาเหตุทางการเมือง (Political Causes)

6.       ความพยายามลอบสังหารอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ George Shultz เมื่อวันที่  8 สิงหาคม 1988 ในโบลิเวีย เนื่องจากแผนการในการกำจัดยาเสพติดของรัฐมนตรีผู้นี้เป็นสาเหตุการประทุษร้ายใด

ตอบ  สาเหตุในทางเศรษฐกิจ (Economics Causes) 

7.       สาเหตุทางด้านอุดมการณ์ (Ideological Causes)  ได่แก่สาเหตุใดบ้าง

ตอบ       1. สาเหตุอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา หรือสังคมฝ่ายตรงข้ามคิดว่าถ้าตนเองสามารถเปลี่ยนระบบที่มีอยู่ขณะนั้นได้ โดยการประทุษร้ายบุคคลสำคัญทางศาสนา จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาได้ 

2. การพิพาทระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ ก็อาจเป็นต้นเหตุของการประทุษร้ายได้เนื่องจากการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน 

8.       ความรับผิดชอบของส่วนราชการได้แก่อะไรบ้าง 

ตอบ       1. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง รับผิดชอบจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ภายในขอบเขตและความเหมาะสม 

2. ส่วนราชการมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ รับผิดชอบดำเนินการ

3. ส่วนราชการเจ้าของพื้นที่ ซึ่งให้การต้อนรับบุคคลสำคัญรับผิดชอบ ดำเนินการรักษาความปลอดภัยในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

4. ให้องค์การรักษาความปลอดภัย ช่วยเหลือ ประสาน และอบรมชี้แจง เกี่ยวกับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญแก่ส่วนราชการตามที่ได้รับการร้องขอ

9.       การรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ ใช้ระเบียบการใด 

ตอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ..2531

10.    องค์ประกอบในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญให้เกิดประสิทธิภาพประกอบด้วยอะไรบ้าง 

ตอบ       1. วางมาตรการป้องกันต่าง ๆ รอบตัวบุคคลสำคัญให้รัดกุม 

2. รวบรวมข่าวสารที่มีผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลสำคัญให้มากที่สุด ทั้งทั่วไปและในพื้นที่ที่บุคคลสำคัญจะไปเยี่ยมเยือน เพื่อนำมาประเมินค่าของข่าวสารอันจะช่วยให้การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญได้ผลดีที่สุด 

3. ต้องมีการวางแผนสำรวจล่วงหน้า

4. ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมตรวจค้น หรือกักกันบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจ

5. วางแผนการใช้ขบวนยานพาหนะของบุคคลสำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ การนำพาบุคคลสำคัญออกจากพื้นที่อันตรายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้พ้นอันตรายที่จะเกิดขึ้น

6. การได้รับความร่วมมือจากบุคคลสำคัญ

11.    การจัดกำลัง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ 

ตอบ  3  รูปแบบ  ได้แก่

1.       แบบเปิดเผย เป็นการแสดงตัวว่า เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามได้ทราบ 

2.       แบบปกปิด จะไม่เปิดเผยแสดงตัวให้บุคคลทั่วไปทราบ โดยแต่งกายคล้ายประชาชนทั่วไป ให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้น ๆ 

3.       แบบผสม เป็นการจัดกำลังโดยใช้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้ง 2 รูปแบบมาปฏิบัติงานร่วมกันในลักษณะผสมผสาน 

12.    สายตรวจเดินเท้า รถตรวจการณ์ ชุดรักษาความปลอดภัยที่วางไว้ตามจุด  เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในวงรอบใด 

ตอบ  วงรอบชั้นนอก 

การวางกำลัง จะต้องวางกำลังเป็นวงรอบอย่างน้อย 3วงรอบ  ได้แก่ 

1.       วงรอบชั้นใน เป็นการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อยู่ใกล้ชิดบุคคลสำคัญมากที่สุด 

2.       วงรอบชั้นกลาง หมายถึง วงรอบที่ล้อมรอบวงรอบชั้นใน เช่น บริเวณโดยรอบพิธีหรือรอบอาคารบ้านพัก 

3.       วงรอบชั้นนอก เป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากบุคคลสำคัญ เจ้าหน้าที่วงรอบนี้ ได้แก่สายตรวจเดินเท้า รถตรวจการณ์ ชุดรักษาความปลอดภัยที่วางไว้ตามจุดรอบนอก 

13.    Safe Haven  คืออะไร

ตอบ  พื้นที่หลบภัย พื้นที่ที่อยู่ในสถานที่ที่ให้ความปลอดภัยได้ชั่วคราวสำหรับบุคคลสำคัญและครอบครัว 

14.    หลักในการเลือกห้องที่จะกำหนดเป็นพื้นที่หลบภัยนั้น ควรพิจารณาจากปัจจัยใดบ้าง 

ตอบ       1. เส้นทางที่ไปยังพื้นที่หลบภัย ต้องไม่ผ่านพื้นที่อันตรายใด ๆ (Accessibility)

                2. สามารถให้ความคุมกันได้ (Ability to Defence)

3. สามารถดำรงการติดต่อสื่อสารได้ (Ability to Communications)

4. มีเส้นทางถอนตัวได้อย่างปลอดภัย (Ability go Escape)

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำรวจรัฐสภาปฏิบัติงาน  ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา

- แนวข้อสอบ กฎ ก.ร. ฉบับที่ 14 ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ

- แนวข้อสอบ ระบบงานของรัฐสภา และการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา

-  แนวข้อสอบกฎหมายอาญา

แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- สรุปสาระสำคัญระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

- การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

- การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

- แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ

- แนวข้อสอบการเก็บรวบรวมข้อมูล


สนใจสั่งซื้อมาที่ 080-604-2510 ,080-604-2504 หรือ ส่ง SMS / (WhatsApp , LINE)
ส่งเป็นไฟล์เอกสารส่งทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย
ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
ส่งเป็นไฟล์เอกสารทางอีเมล์ *อย่างด่วนภายใน 3 ชม. *อย่างช้าก่อน 24:00 น. ของวันที่โอนเงิน (อย่าลืม! เช็คที่ อีเมลขยะ)
(เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 24.00 น.)
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 041-2-34899-2 ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาถนนสาธุประดิษฐ์ ชื่อบัญชี สายรุ้ง สิงห์ศรี
โอนเงินแล้วแจ้งที่
lookmoo_00@hotmail.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

1.     พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่เท่าใด พ.ศ. ใด

     ก.    ฉบับที่  4, พ.ศ. 2535                                                           ข.    ฉบับที่  4 , พ.ศ. 2538

        ค.    ฉบับที่  5,  พ.ศ. 2535                                                          ง.     ฉบับที่  6 , พ.ศ. 2551

        ตอบ       ง.   ฉบับที่ 6  ,  พ.ศ. 2551

                        พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. 2551 

2.     พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551  ประกาศใช้เมื่อใด 

        ก.    วันที่  20  มกราคม พ.ศ.  2551

        ข.    วันที่  31  มกราคม  พ.ศ. 2551

        ค.    วันที่  18  มกราคม  พ.ศ. 2550

        ง.     วันที่  18  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2550

        ตอบ       ข.   31  มกราคม  พ.ศ. 2551

                ให้ไว้  ณ 31  มกราคม  พ.ศ. 2551

3.     พรบ. ระเบียบบริหารรายการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. 2551  มีผลบังคับใช้เมื่อใด

        ก.    นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา                         

        ข.    ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

        ค.    3  วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

        ง.     7  วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

        ตอบ       ข.   ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                พรบ.  ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. 2551   มาตรา  2  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

4.     บุคคลซึ่งได้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการ

        สังกัดรัฐสภา  หมายถึงผู้ใดใน พรบ.ฉบับนี้

        ก.    ข้าราชการฝ่ายนิติบัญญัติ                                                   ข.   ข้าราชการฝ่ายพลเรือน

ค.    ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา                                                         ง.    รัฐสภา

        ตอบ       ค.  ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  

                        ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  หมายความว่า  บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงิน

        งบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

5.     ผู้ใดรักษาการตาม  พรบ.  ฉบับนี้

        ก.    ประธานรัฐสภา                                                                   ข.    ประธานวุฒิสภา

        ค.    ประธานสภา                                                                        ง.     นายกรัฐมนตรี

        ตอบ       ก.   ประธานรัฐสภา
                        มาตรา  5  ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

6.     ก.ร.  หมายถึงข้อใด

        ก.    คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา

        ข.    คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

        ค.    กรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

        ง.     คณะกรรมการรัฐสภา

        ตอบ       ข.    คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

                        พรบ.  ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551  มาตรา 6  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง

        เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  เรียกโดยย่อว่า  ก.ร.  ประกอบด้วยประธาน

        รัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ.

        เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกิน

        แปดคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน ให้ประธาน

        รัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา หรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ร.

7.     ในกรณีมีเพียงสภาเดียวนั้น  ก.ร.  จะประกอบด้วยผู้ใดบ้าง

        ก.    ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา,

                เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

        ข.    ประธานกรรมการ, เลขานุการวุฒิสภา, เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

        ค.    ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา และ

                ทรงคุณวุฒิ

ง.       ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและ

ผู้ทรงคุณวุฒิ

ตอบ      ก.   ประธานกรรมการ,  รองประธานกรรมการเลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการวุฒิสภา,

                     เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ

                คำอธิบายดังข้อข้างต้น

8.    ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียวนั้น กรรมการใน คณะกรรมการ

ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา นั้นมีจำนวนเท่าใด

        ก.    ไม่เกิน 4 คน                                                                         ข.   ไม่เกิน 6 คน

        ค.    ไม่เกิน 8 คน                                                                          ง.    ไม่เกิน 12 คน

        ตอบ       ค.   ไม่เกิน  8  คน

                คำอธิบายดังข้อข้างต้น

                                                                                                               

9.    ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา คือผู้ใด

        ก.    ประธานรัฐสภา                                                                   ข.   ประธานวุฒิสภา

ค.    นายกรัฐมนตรี                                                                      ง.    ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือก

ตอบ       ก.   ประธานรัฐสภา

                คำอธิบายดังข้อข้างต้น                                            

10.  ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา

        ก.    ประธานรัฐสภา                                                                   ข.    ประธานวุฒิสภา

        ค.    นายกรัฐมนตรี                                                                      ง.    ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือก

        ตอบ       ก.   ประธานรัฐสภา

                        คำอธิบายดังข้อข้างต้น

11.  ข้อใดมิใช่คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

        ก.    ข้าราชการการเมือง                                                             ข.    สมาชิกรัฐสภา

        ค.    เคยรับราชการในตำแหน่งอธิบดี                                     ง.     รับราชการมีเงินเดือนประจำ

        ตอบ       ค.   เคยรับราชการในตำแหน่งอธิบดี

              มาตรา 7   ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 6  ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

                (1)   เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว หรือเคย

ดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว

                (2)   ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการ

รัฐสภา ฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

12. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

     ก.    2  ปี                                                                                         ข.    3  ปี

        ค.    4  ปี                                                                                         ง.    5  ปี

        ตอบ       ข.   3  ปี

                พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2551  มาตรา 8  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี

13.  ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายในกี่วัน

        ก.    7  วัน                                                                                      ข.    15  วัน

ค.    30  วัน                                                                                    ง.    45  วัน

        ตอบ       ค.   30  วัน

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ปัจจุบันใช้ฉบับที่เท่าไร พ.ศ.อะไร


        1. ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552                                         2. ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552


        3. ฉบับที่  1 พ.ศ. 2554                                        4. ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554


ตอบ  ข้อ 4.


2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                1. 60  วัน                                                               2. 90 วัน


                3. 120 วัน                                                              4. 180 วัน


ตอบ  ข้อ 2.


3. ก่อนจะใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกระเบียบใด


1.       ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517


2.        ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2519


3.       ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2522


4.       ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535


ตอบ ข้อ 1.


4.มาตราการและการดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษาและคุ้มครองป้องกันสิ่ที่เนความลับของราชการ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ให้พ้นจากการรั่วไหลของการจารกรรม เป็นความหมายข้อใด          


                1. สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ                               2. การักษาความปลอดภัยแห่งชาติ


                3. ประมวลความลับ                                                             4. การป้องกันรั่วไหล


ตอบ ข้อ 2.


5. เหตุผลใดจึงยกเลิกฉบับเก่ามาใช้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 1. เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน


                2. ต้องการให้คนยากจนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันในปัจจุบัน


                3. มีบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมและรายละเอียดกำหนดไว้เกินความจำเป็น


4.ในปัจจุบันมีเหตุก่อการร้ายมากมาย กฎหมายที่บัญญัติไว้ไม่รัดกุมพอ


ตอบ ข้อ 3.


6.สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ คือ ข้อใด ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552            


                1. ข้อมูลข่าวสาร  บริภัณฑ์    ยุทธภัณฑ์                          


2. ข้อมูลข่าวสาร  บริภัณฑ์    ยุทธภัณฑ์  ที่สงวน


                3. ข้อมูลข่าวสาร  บริภัณฑ์    ยุทธภัณฑ์  ที่สงวน  การรหัส        


4. ข้อมูลข่าวสาร  บริภัณฑ์    ยุทธภัณฑ์  ที่สงวน   การรหัส        ประมวลลับ


ตอบ ข้อ 4.






7. ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นความหมายในข้อใด ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552


                1. ข้อมูลข่าวสาร                                   2. ประมวลลับ


                3. ยุทธภัณฑ์                                         4  ที่สงวน


ตอบ  ข้อ 1.


8.ข้อใดไม่ได้หมายถึง “บริภัณฑ์” ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552


        1. เครื่องจักร                                         2. สิ่งอุปกรณ์


        3. วัสดุใช้ไป                                         4. เครื่องกล


ตอบ ข้อ 3.


9. ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่า สิ่งของทั้งหลายที่ใช้ประจำกาย หรือประจำหน่วยกำลังถืออาวุธของทางราชการ และสิ่งอื่นใดที่ กรช.ประกาศกำหนด


                1. ข้อมูลข่าวสาร                                   2. ประมวลลับ


                3. ยุทธภัณฑ์                                         4  การรหัส


ตอบ  ข้อ 3.


10. ข้อใดไม่ได้หมายถึง “ที่สงวน” ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552


                1. ฐานทัพบก                                        2.โรงเรียน


                3. ชุมทางรถไฟ                                    4. โรงช่างแสง


ตอบ ข้อ 2.


11. .ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่า การใช้ประมวลลับ หรือรหัสแทนข้อความ หรือการส่งข่าวสารที่เป็นความลับ


1. ข้อมูลข่าวสาร                                   2. ประมวลลับ


                3. ยุทธภัณฑ์                                         4  การรหัส


ตอบ  ข้อ .4.


12. ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่า การนำตัวอักษร ตัวเลข คำพูด สัญญาณ สัญลักษณ์มาใช้แทนความหมายอันแท้จริงตามที่ตกลงกันไว้ เพื่อรักษาความลับในการส่งข่าวหรือติดต่อสื่อสารระหว่างกัน


1. ข้อมูลข่าวสาร                                   2. ประมวลลับ


                3. ยุทธภัณฑ์                                         4  การรหัส


ตอบ  ข้อ 2.


13. “กรช” หมายความว่าอะไร


                1. คณะกรรมการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ                              2.กรรมการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ


                3. คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ              4.ถูกทุกข้อ


ตอบ ข้อ 3.


14. ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่าการกระทำใด ๆ  โดยทางลับเพื่อให้ได้ล่วงรู้หรือได้ไปหรือส่งสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ โดยมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นผลร้ายต่อความมั่นคงแห่งชาติ


                1. การก่อวินาศกรรม                                           2. การจารกรรม


                3. การบ่อนทำลาย                                                4. การก่อการร้าย


ตอบ ข้อ 2.


15.ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่า การกระทำใด ๆ เพื่อทำลาย ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร อาคาร สถานที่ ยุทธปัจจัย ที่สงวน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรบกวน ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือความเสียหายทางการเมือง การทหาร


                1. การก่อวินาศกรรม                                           2. การจารกรรม


                3. การบ่อนทำลาย                                                4. การก่อการร้าย


ตอบ ข้อ 1.


16. “รั่วไหล” หมายความว่าอะไร


1.       สิ่งที่ทางราชการรักษาไว้เพื่อทางการเมืองของประเทศ


2.       สิ่งที่หน่วยงานรัฐไม่ให้ข้อมูลต่างๆของประเทศมีการไหลออกนอกประเทศ


3.       สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการได้ทราบโดยบุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่


4.       ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง


ตอบ ข้อ 3.


17. ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อใด หมายความว่า การกระทำสิ่งใดๆ  ที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง ซึ่งนำไปสู่การก่อความไม่สงบ หรือความอ่อนแอภายในชาติ ในทางการเมือง การทหาร หรือทำลายความจงรักภักดีของประชาชนต่อสถาบัน


                1. การก่อวินาศกรรม                                           2. การจารกรรม


                3. การบ่อนทำลาย                                                4. การก่อการร้าย
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้