ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล พ.ศ. 2503
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล พ.ศ. 2503

size="2">พระราชบัญญัติ
จัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล
และสุขาภิบาล
พ.ศ. ๒๕๐๓
                       
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตเทศบาลนครกรุงเทพและเขตเทศบาลนครธนบุรี ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อจะใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับในเขตเทศบาลอื่นใดหรือในเขตสุขาภิบาลใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา
 
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“จอดยานยนต์” หมายความรวมถึงหยุดยานยนต์ เว้นแต่การหยุดนั้นจะเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย และจะนำยานยนต์นั้นเคลื่อนไปไม่ได้
“ที่จอดยานยนต์” หมายความว่า ที่ที่เทศบาลหรือสุขาภิบาลกำหนดและจัดไว้เป็นที่จอดยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๔ ให้เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติและให้สุขาภิบาลมีอำนาจตราข้อบังคับสุขาภิบาล เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการจอดยานยนต์ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดและจัดให้มีที่จอดยานยนต์ในทางหลวงหรือในที่สาธารณะสำหรับยานยนต์แต่ละชนิดหรือประเภท
(๒) กำหนดระเบียบการจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์
(๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) กำหนดระยะเวลาจอดยานยนต์ ระยะเวลาที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียม
 
มาตรา ๕ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อปฏิบัติการภายในเขตอำนาจหน้าที่ของตน
(๑) นายกเทศมนตรี และประธานกรรมการสุขาภิบาล
(๒) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓) พนักงานเทศบาลซึ่งคณะเทศมนตรีแต่งตั้ง และพนักงานสุขาภิบาลซึ่งคณะกรรมการสุขาภิบาลแต่งตั้ง
 
มาตรา ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์ให้เป็นไปตามระเบียบการจอดยานยนต์
(๒) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดไว้ในเทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาล แล้วแต่กรณี
(๓) สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์หรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการเสียค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์
(๔) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขับขี่ยานยนต์ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าได้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไปชี้แจงเกี่ยวด้วยการฝ่าฝืนนั้น ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ออกคำสั่งดังกล่าว ถ้าไม่พบตัวผู้ขับขี่ยานยนต์ ให้ติดไว้กับยานยนต์เพื่อให้ผู้ขับขี่เห็นได้เมื่อมาที่ยานยนต์
 
มาตรา ๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สอบร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท
 
มาตรา ๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงสองพันบาท
 
มาตรา ๘ ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบได้
การเปรียบเทียบความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
มาตรา ๙ เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของเทศบาลหรือสุขาภิบาลแห่งท้องถิ่นที่ความผิดได้เกิดขึ้น
 
มาตรา ๑๐ เงินค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการจอดยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานที่ดังกล่าว การบูรณะทางหลวงและสะพาน กับการชดใช้เงินกู้ในการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงและสะพาน ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลเท่านั้น
 
มาตรา ๑๑ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระทั่งอำนาจของเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกที่จะกำหนดการจราจรในที่จอดยานยนต์เป็นการชั่วคราว
 
มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ถ. กิตติขจร
รองนายกรัฐมนตรี



บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์
ในที่ที่กำหนดและจัดไว้
                  
 
(ยกเลิก)


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีผู้ใช้ยานยนต์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ย่อมมีปัญหายุ่งยากในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจราจรและสถานที่สำหรับจอดยานยนต์ นอกจากนั้นการสร้างและบูรณะถนนหนทางในขณะนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก จึงเป็นการสมควรที่จะให้อำนาจแก่เทศบาล และสุขาภิบาลจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในทางหลวงหรือในที่สาธารณะ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายได้เพิ่มขึ้น รายได้ที่ได้จากการนี้ ให้นำมาใช้จ่ายในการจัดทำที่จอดยานยนต์บูรณะทางหลวงและสะพานหรือชดใช้เงินกู้ที่กู้มาใช้จ่ายในการนี้
 
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๔ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๕]

 
พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
 
มาตรา ๘ ให้ออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบ การจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
อัตราค่าธรรมเนียมที่ได้กำหนดขึ้นและใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีข้อบัญญัติ เทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อให้การจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สมควรแก้ไขอัตราโทษปรับผู้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติหรือข้อบังคับของสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้สูงขึ้น และเพิ่มอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเปรียบเทียบได้พร้อมทั้งกำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์เพื่อให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้